[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 18:50:15 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่อเกษม เขมโก รำลึก ๒๕ ปี อาจาริยบูชาคุณ  (อ่าน 2385 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5800


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 มกราคม 2564 20:30:39 »


หลวงพ่อเกษม เขมโก ภาพขณะยังเด็ก




พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการหลวงพ่อเกษม เขมโก ณ สุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๖



หลวงพ่อเกษม เขมโก
วัด : สุสานไตรลักษณ์ ต.ต้นธงชัย อ.เมือง จ.ลำปาง


วันนี้วันที่ ๑๕ มกราคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพของหลวงพ่อเกษม เขมโก รำลึก ๒๕ ปี อาจาริยบูชาคุณ ท่านเป็นพระเถราจารย์ผู้เคร่งครัดในธุดงควัตร ปลีกวิเวกอยู่ตามป่าช้า ถืออริยบท ๓ ยืน เดิน นั่ง งดเว้นการนอนโดยไม่ให้หลังติดพื้น จนทำให้บั้นปลายชีวิตท่านกระดูกเสื่อม ต้องนั่งงอหลังอยู่ตลอด และเมื่อมีการผ่าตัดกระดูกท่านได้สั่งหมอว่าไม่ต้องใช้ยาสลบ โดยท่านได้เข้าสมาธิแทน ในช่วงผ่าตัดท่านนอนนิ่งไม่แสดงอาการเจ็บปวดใดๆ และเมื่อผ่าตัดเสร็จ ฉันจะออกจากสมาธิตามเวลาที่กำหนดพอดี

ท่านเป็นพระภิกษุที่พุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้านายในราชวงศ์ทิพย์จักร ที่ออกผนวชอีกด้วย

หลวงพ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง เกิดเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๕๕ ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ.๑๓๑ เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

สมัยตอนเด็กๆ มีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง) เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศีรษะ

เมื่อท่านอายุได้ ๑๓ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว ๗ วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ ๑๕ ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมีพระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย
ปี พ.ศ.๒๔๗๙ ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูงๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น

เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่งท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านได้ตามครูบาแก่น สุมโน ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา

ต่อมา เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันเห็นควรว่า พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านเห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้งเนื่องจากท่านอยากจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทานพร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย

วาระสุดท้ายแห่งชีวิตของหลวงพ่อเกษม เขมโก
สืบเนื่องจากการที่ท่านได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่ม มุ่งหน้าเข้ามาบำเพ็ญเพียรในป่าช้ามีเพียงอัฐบริขาร ๘ อย่าง ตามพุทธบัญญัติ จริยวัตรหนึ่งที่ท่านได้ถือปฏิบัติตั้งแต่นั้นมาคือการอยู่ในอิริยาบถ ๓ โดยละเว้นอิริยาบถที่ ๔ คือ การนอน เรียกกันว่า “หลังของท่านไม่เคยแตะถูกพื้นเลย” โดยการนอนของท่านจะอยู่ในท่าที่เรียกว่า “มูบ” คือ นั่งบนเก้าอี้หรือตั่ง ก้มหน้าลงบนฝ่ามือที่วางหงายอยู่บนหัวเข่าทั้งสอง การนอนและปฏิบัติสมาธิภาวนาในท่านี้เป็นเวลานาน ประกอบกับการฉันจังหันน้อยทำให้ท่านมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังในวัยชรา

หลวงพ่อเริ่มอาพาธด้วยโรคปวดหลังอย่างมาก ถึงกระนั้นหลวงพ่อก็คงปฏิบัติภาวนา และอนุเคราะห์ต่อผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอมามิได้ขาด เมื่ออาการอาพาธของหลวงพ่อมีอาการหนักมากขึ้น บรรดาคณะศิษยานุศิษย์จึงได้นำนายแพทย์เข้าไปตรวจ นายแพทย์ได้นิมนต์ให้หลวงพ่อเข้าพักรักษาที่โรงพยาบาล แต่หลวงพ่อไม่ยอม จนกระทั่งความได้ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้นายแพทย์จากกรุงเทพ ฯ มาถวายการรักษาและผ่าตัด หลวงพ่อจึงยินยอมเข้าโรงพยาบาล นับตั้งแต่บัดนั้นมา หลวงพ่อจึงมีการเอนกายกับพื้น แต่ก็ยังไม่ยอมให้หลังแตะถูกพื้น โดยการใช้วิธีนอนตะแคงบ้างเป็นครั้งคราว

เรื่องนี้ เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ได้เล่าไว้ในหนังสือที่ระลึกหลวงพ่อเกษม เขมโก ไว้ดังนี้... “เมื่อกล่าวถึงความอดทนอันเนื่องมาจากการปฏิบัติธุดงควัตรอย่างเคร่งครัดของท่าน จะเห็นได้จากการที่หลวงพ่ออาพาธด้วยโรคกระดูกสันหลังผุ ไม่สามารถจะลุกไปไหนได้ เรื่องนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ให้หมอรับมารักษาที่โรงพยาบาลลำปาง ในหลวงทรงห่วงใย และทรงโปรดพระราชทานหมอที่เชี่ยวชาญด้านกระดูกมาทำการรักษา

กล่าวกันว่า ตอนที่หมอจะทำการผ่าตัดเอากระดูกผุออกและใส่พลาสติกแทน ในขณะที่นำท่านเข้าห้องผ่าตัด ท่านได้ถามหมอว่าจะใช้เวลาผ่าตัดกี่ชั่วโมง หมอบอกว่าหนึ่งชั่วโมงก็เสร็จ

ท่านบอกว่าไม่ต้องวางยาสลบ

หมอบอกว่า ไม่ได้ เพราะตอนผ่าตัดจะเจ็บปวดมาก กลัวจะทนไม่ไหว

ท่านบอก ไม่ต้อง ถ้าจะผ่าตัดเมื่อไรบอกด้วย

เมื่อหมอทำความสะอาดร่างกายเรียบร้อยแล้วได้บอกท่านว่า หมอเตรียมพร้อมจะทำการผ่าตัดแล้ว

ท่านก็บอกลงมือได้ จากนั้นท่านก็นอนนิ่งไม่ไหวติงคล้ายคนไข้ถูกวางยาสลบ

เมื่อหมอทำการผ่าตัดเย็บบาดแผลเสร็จเป็นระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงเต็ม ท่านก็ฟื้นขึ้นมาตรงเวลา ไม่แสดงอาการเจ็บปวดหรือมีอาการเพ้อแบบคนไข้ทั่วไป พอท่านลืมตาขึ้นมาก็เรียกหมอให้เข้าไปพบพร้อมกับเป่าหัวให้ทุกคน ยังความอัศจรรย์ใจแก่หมอทั้งหลายยิ่งนัก

นับว่าเป็นคนไข้รายแรกก็ว่าได้ที่มีสมาธิจิตเข้มแข็งยิ่ง ซึ่งเรื่องนี้ถ้าจะกล่าวกันในด้านธรรมะ หลวงพ่อเกษมสามารถแยกกายกับจิตได้ในขณะผ่าตัด ท่านถอดกายทิพย์ออก ก็คงไว้ซึ่งร่างกายที่ไร้วิญญาณ ใครจะทำอย่างไรก็ไม่มีอาการเจ็บปวดนั่นเอง”

และต่อมา ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ หลวงพ่อก็ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัดลำปางอีกเพื่อผ่าตัดต้อกระจก ซึ่งต้องผ่าตัดทำการรักษาดวงตาทั้ง ๒ ข้าง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสอาราธนาขอให้หลวงพ่อเข้ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล โดยทรงรับเป็นพระราชภาระในการรักษาทุกอย่างให้และทรงรับหลวงพ่อไว้เป็นคนไข้ใน “พระบรมราชานุเคราะห์”

หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนาธุระ ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง

ท่านเป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ หรือแม้กระทั่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก็ทรงมีความเคารพศรัทธาในความที่ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และได้เคยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการท่านเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๖

หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๙ เวลา ๑๙.๔๐ น. ซึ่งตรงกับวันจันทร์ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๒ ปีกุน ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่สานุศิษย์ทั่วประเทศ ส่วนสรีระของท่านนั้นก็ยังความอัศจรรย์ด้วยเนื่องจากไม่เน่าเปื่อยเหมือนอย่างสังขารทั่วไป ทั้งยังเขียนป้ายบอกผู้ที่มาเคารพสรีระ ท่านด้วยว่าให้พนมมือไหว้ที่หน้าอกเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างศพของพระเถระทั่วไปนับว่าท่าน นั้นถือสมถะเป็นอย่างมาก

















ขอขอบคุณ เพจพระพุทธศาสนา (ที่มาภาพ/เรื่อง)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มกราคม 2564 20:36:35 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.459 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 16 ธันวาคม 2567 05:51:04