[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 18:38:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เล่าเรื่องพระอริยกวี (ทิง อิสิทตฺโต)  (อ่าน 1736 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5800


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 มกราคม 2564 13:29:39 »



ภาพ : พระอุโบสถวัดราชาธิวาสวิหาร (หลังเดิม)

เล่าเรื่องพระอริยกวี (ทิง อิสิทตฺโต)
เณรโต

เล่าเรื่องพระอริยกวี (ทิง อิสิทตฺโต) พระมหาเถระนับแต่เมื่อครั้งตั้งวงศ์ธรรมยุตอีกรูปหนึ่ง ตอนที่ ๑

"เจ้าคุณอริยกวีองค์นี้ ท่านเกิดปีมะเส็งศกเท่าไรจำไม่ได้ [ผู้เขียน – พ.ศ.๒๓๖๔] โยมผู้ชายของท่านชื่อเนียม โยมผู้หญิงชื่อสมบุญ ตั้งบ้านอยู่คลองส้มป่อย เมื่อท่านยังเป็นเด็ก ได้ไปอยู่กับพี่ชายของท่านซึ่งบวชอยู่ ณ วัดสระเกศ  ครั้นพี่ชายสึกแล้ว ท่านจึงไปอยู่กับท่านอาจารย์อะไรจำชื่อไม่ได้ เป็นผู้รู้มูลดี ที่วัดมหาธาตุ ได้เรียนมูลในสำนักท่านผู้นี้  (ท่านเล่าว่า พอท่านจับเล่าสูตรก็เผอิญสูตรตกน้ำ จะเป็นนิมิตรบอกความลำบากแก่ท่านหรืออย่างไร เมื่อเรียนหนังสือกว่าจะรู้ก็ลำบาก เมื่อเข้าแปลสนามกว่าจะได้ก็ลำบาก)  

ภายหลังท่านมาอยู่กับเจ้าคุณอริยมุนี (ทับ) [พุทฺธสิริ – ภายหลังดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวันรัต] ที่วัดราชาธิวาส ได้บรรพชาเป็นสามเณร แลเรียนพระคัมภีร์ปริยัติธรรมในสำนักเจ้าคุณอริยมุนี  ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ยังเสด็จประทับอยู่ที่วัดราชาธิวาส ได้ทรงใช้สอยท่านคล้ายกับมหาดเล็ก ตรัสเรียกว่า เณรใหญ่ (เพราะร่างกายท่านสูงใหญ่)  จึงได้คุ้นเคยในพระองค์ นับเข้าเป็นศิษย์ข้าหลวงเดิมองค์หนึ่ง  ซึ่งท่านบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ชะรอยจะรับบรรพชาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ หรืออย่างไร ข้อนี้ไม่แจ้งชัด  ..."





สัทธิวิหาริกในรัชกาลที่ ๔

เล่าเรื่องพระอริยกวี (ทิง อิสิทตฺโต) พระมหาเถระนับแต่เมื่อครั้งตั้งวงศ์ธรรมยุตอีกรูปหนึ่ง ตอนที่ ๒

...ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จลงมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศแล้ว ภายหลังท่าน [พระอริยกวี (ทิง อิสิทตฺโต)] สึกจากสามเณรไปอยู่บ้าน  เมื่อกาลใกล้จะอุปสมบท ท่านได้มาเยี่ยมเจ้าคุณอริยมุนี [ทับ พุทฺธสิริ – ภายหลังดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระวันรัต] ครั้งหนึ่งเป็นคราวไล่พระปริยัติธรรม  

เจ้าคุณท่านบอกว่า “เอ็งไม่พอที่จะสึกเสียเลย ถ้าเอ็งยังอยู่ก็จะได้เข้าแปลหนังสือกับเขาคราวนี้ บวชเสียอีกเถอะวะ” ท่านก็ไม่ยอมบวช เพราะจวนจะอุปสมบทอยู่แล้ว  

ครั้นถึงกาลกำหนดจะอุปสมบทเข้า ท่านจึงมาหาเจ้าคุณอริยมุนีอีก เรียกว่าจะขออุปสมบท เจ้าคุณท่านจึงพาลงไปเฝ้า ทูลขออุปสมบทที่วัดบวรนิเวศ ครั้นได้อุปสมบทแล้วขึ้นไปอยู่กับอาจารย์ที่วัดราชาธิวาสตามเดิม ...




ภาพ : วัดราชบูรณะ ก่อนโดนระเบิดสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒

เข้าแปลพระปริยัติธรรม

เล่าเรื่องพระอริยกวี (ทิง อิสิทตฺโต) พระมหาเถระนับแต่เมื่อครั้งตั้งวงศ์ธรรมยุตอีกรูปหนึ่ง ตอนที่ ๓

...เมื่อถึงคราวไล่หนังสืออีก ท่าน [พระอริยกวี (ทิง อิสิทตฺโต)] ได้ ๕ พรรษา ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุ หรือวัดราชบูรณะ (ไม่แน่) ได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค  

ภายหลังได้เข้าแปลที่วัดราชบูรณะได้อีกประโยคหนึ่ง เป็น ๔ ประโยค

แล้วเข้าแปลที่วัดพระเชตุพนได้อีกประโยคหนึ่ง เป็นเปรียญ ๕ ประโยคในรัชกาลที่ ๓ ๆ เมื่อครั้งสอบไล่ที่วัดราชบูรณะนั้น พระสังกิจ์จ (หลิน) [ภายหลังดำรงสมณศักดิ์ที่พระสังกิจคุณมุนี วัดบรมนิวาส] เข้าแปลได้ ๔ ประโยค พระสุมิต์ต (เหมือน) [ภายหลังดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี] ก็เข้าแปลแต่ว่าตกไม่ได้ เมื่อครั้งสอบไล่ที่วัดพระเชตุพนนั้น พระมหาสังกิจ์จเข้าแปลได้อีก ๓ เป็น ๗ ประโยค พระสุมิต์ตเข้าแปลได้ ๖ ประโยค พระวารณ (ต่าย) [ภายหลังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมราชานุวัตร] เข้าแปลเป็นเพื่อนพระเหมือน ซึ่งเรียกว่า ทับผี คือไม่ใช่ผู้ที่จะต้องการ แต่เฉพาะถูกประโยคที่ชำนาญ ผู้ไล่กักไว้ไม่อยู่ จึงพลอยได้ ๓ ประโยค สามเณรเขียว [ภายหลังดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดราชาธิวาส] อายุ ๑๗ เข้าแปลได้ ๓ ประโยค…

อธิบายเพิ่มเติม : คำว่า “ทับผี” หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้ตั้งใจจะเข้าสอบพระปริยัติธรรม แต่มีเมื่อสอบจับสลากได้ประโยคที่ชำนาญอยู่แล้ว จึงสอบผ่าน

ด้วยการสอบพระปรยัติธรรมในสมัยก่อนนั้น มิได้มีการจัดสอบทุกปี บางรัชสมัยมีการสอบเพียง ๓ ครั้งเท่านั้น การสอบแต่ละครั้งจะเป็นการจับสลากหัวข้อแล้วสอบปากเปล่า และหากพระภิกษุรูปใดมีความชำนาญก็สามารถสอบได้หลายประโยคในคราวเดียว  




ภาพ : พระเต้าศิลาจารึกอักษร ที่สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๔.

หม้อน้ำมนต์ตก

เล่าเรื่องพระอริยกวี (ทิง อิสิทตฺโต) พระมหาเถระนับแต่เมื่อครั้งตั้งวงศ์ธรรมยุตอีกรูปหนึ่ง ตอนที่ ๔

...ครั้นรัชกาลที่ ๕ พระอมราภิรักขิต [เกิด อมโร] วัดบรมนิวาสถึงมรณภาพ [พ.ศ.๒๔๑๒] ไม่มีเจ้าอาวาส จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ย้ายพระอริยมุนี [เหมือน สุมิตฺโต] ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส แล้วทรงตั้งพระมหาสังกิจ์จ (หลิน) ๗ ประโยคให้เป็นพระสังกิจ์จคุณมุนี ที่สมภารรองแทน อยู่ได้ประมาณ ๗-๘ เดือนก็ถึงมรณภาพ จึงทรงตั้งให้พระปลัดทิง [อิสิทตฺโต] เป็นพระอริยกวี เมื่อท่านได้รับตำแหน่งพระราชาคณะแล้ว สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เห็นจะทรงพระโสมนัส ด้วยทรงพระกรุณาโปรดว่าเป็นคนเก่า ได้ทรงคุ้นเคยมานาน จึงได้เสด็จมาเยี่ยม แลให้มหาดเล็กเชิญหม้อน้ำมนต์ศิลาสำหรับพระเถระมาประทานด้วย เมื่อเสด็จมานั้น เรือพระที่นั่งติดน้ำ เสด็จขึ้นที่หน้าวัดมงกุฎกษัตริย์ ทรงพระดำเนินมา เผอิญมหาดเล็กที่เชิญหม้อน้ำมนต์มานั้น จะสะเพร่าหรือพลาดพลั้งอย่างไรไม่ทราบ ทำหม้อน้ำมนต์พลัดตก น้ำมนต์หก หม้อหูหัก ท่านจะทรงถือว่าเป็นนิมิตฤๅอย่างไร จึงมาทรงแสดงอาการเสียพระทัย รับสั่งอิดออดว่า “ฉันดีใจที่ได้เห็นราชาคณะขึ้น จะได้เป็นเถระองค์หนึ่งในวงศ์นี้ จึงเอาหม้อน้ำมนต์สำหรับพระเถระมาให้ จำเพาะมาถูกน้ำแห้งเรือมาไม่ถึงต้องขึ้นเดินมาแต่วัดมงกุฎกษัตริย์ เจ้ามหาดเล็กก็ทำหม้อน้ำมนต์พลัดตกหูหักเสียด้วย รับไว้ใช้ไปอย่างนั้นเถอะนะ” แล้วรับสั่งปรารภอะไรต่ออะไรไปมาก แล้วจึงเสด็จกลับ (ข้อซึ่งว่า สมเด็จกรมพระยาฯ [ปวเรศวริยาลงกรณ์] เสด็จมานี้ เกล้ากระหม่อมไม่ได้เห็น เพราะอยู่ต่างคณะ เป็นแต่ทราบแต่ผู้บอกเล่า แต่ว่าได้เห็นหม้อน้ำมนต์หูหักจริง)
  
แต่นั้นมาโรคของท่านที่เป็นมาแต่ก่อนก็เจริญขึ้นๆ ได้เข้ารับราชการพิธีรับเทียนเข้าพรรษา ได้เปลี่ยนตาลปัตรแฉกใหม่ครั้งเดียวเท่านั้น  วันเมื่อกลับจากวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้นให้มีอาการหนาวแลร้อนคล้ายกับเป็นไข้ ด้วยพิษโรคที่เสียภายในนั้นให้เป็นไป  แต่ท่านใจแข็งยังทนไปลงอุโบสถแลประชุมเข้าพรรษา นำให้พระเณรอัจ์จโยได้ ภายหลังไข้ก็ทรุดลงทุกที ไม่มีอาการฟื้น ถึงแก่ลุกนั่งไม่ได้ อุบาสิกาทรัพย์เป็นผู้รักษา ชลอมาจนถึงเดือน ๑ หรือเดือน ๒ หรือเดือน ๓ ดิถีวาระขึ้นแรมจำไม่ได้ เพราะเกล้ากระหม่อมยังเป็นเณร ความคิดยังน้อยไม่รอบคอบ จึงมิได้จดไว้…


ที่มา : เพจ เล่าเรื่อง วัดบวรฯ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มกราคม 2564 13:35:30 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5800


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 27 มกราคม 2564 20:28:03 »


ภาพ : พระจันทโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี)

มรณภาพ

เล่าเรื่องพระอริยกวี (ทิง อิสิทตฺโต) พระมหาเถระนับแต่เมื่อครั้งตั้งวงศ์ธรรมยุตอีกรูปหนึ่ง ตอนที่ ๕

วันเมื่อกลับจากวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้นให้มีอาการหนาวแลร้อนคล้ายกับเป็นไข้ ด้วยพิษโรคที่เสียภายในนั้นให้เป็นไป แต่ท่านใจแข็งยังทนไปลงอุโบสถแลประชุมเข้าพรรษา นำให้พระเณรอัจ์จโยได้ ภายหลังไข้ก็ทรุดลงทุกที ไม่มีอาการฟื้น ถึงแก่ลุกนั่งไม่ได้ อุบาสิกาทรัพย์เป็นผู้รักษา ชลอมาจนถึงเดือน ๑ หรือเดือน ๒ หรือเดือน ๓ ดิถีวาระขึ้นแรมจำไม่ได้ เพราะเกล้ากระหม่อมยังเป็นเณร ความคิดยังน้อยไม่รอบคอบ จึงมิได้จดไว้

ภายหลังเมื่อพระอริยกวีกลับจากการพระราชทานพุ่มเทียน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เมื่อกลับถึงวัดโสมนัสวิหารแล้ว มีอาการหนาวร้อนคล้ายกับเป็นไข้ แต่ท่านก็ยังใจแข็งลงพระอุโบสถร่วมประชุมอธิษฐานจำพรรษา ครั้นแล้วอาการก็ทรุดหนักมาโดยลำดับ โดยมีอุบาสิกาทรัพย์เป็นผู้รักษา มาจนถึงช่วงเดือนอ้ายถึงเดือน ๓ ของปีเดียวกันนั้น ท่านก็ถึงมรณภาพ

ดังความในเอกสาร ซึ่งสันนิษฐานว่ามีที่มาจากความทรงจำของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรโต) ที่ว่า

“...จำได้แต่ว่าท่าน [พระอริยกวี (ทิง อิสิทตฺโต)] ถึงมรณภาพเวลา ๒ ทุ่ม เพราะว่ามันเมื่อท่านจะถึงมรณภาพนั้น ท่านมีสติสัมปัชญญะอดกลั้นทุกขเวทนา ไม่อาดูรกระสับกระส่าย แลกำหนดเวลาได้ด้วย ท่านได้สั่งให้เตรียมดอกไม้ธูปเทียนใส่พานไว้ สำหรับที่จะลาเจ้าคุณ




ภาพ : ภาพถ่ายเก่าพระเถรานุเถระวัดโสมนัสวิหาร พ.ศ.๒๔๓๓


ตู้หนังสือวัดโสมนัสล้มแล้ว
เล่าเรื่องพระอริยกวี (ทิง อิสิทตฺโต) พระมหาเถระนับแต่เมื่อครั้งตั้งวงศ์ธรรมยุตอีกรูปหนึ่ง ตอนที่ ๖

...ท่านผู้นี้ [พระอริยกวี ทิง อิสิทตฺโต] เป็นศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ในสมเด็จพระวันรัต [ทับ พุทฺธสิริ] ได้เรียนมูลแตกฉาน ชำนาญในมคธภาษา ปรากฏว่าเป็นผู้รู้มูลดีแลฉลาดในวิธีแปลหนังสือดีกว่าศิษย์ทั้งปวงในยุคนั้น แลชำนาญในฉันทพฤติ์ด้วย (วิชานี้ท่านได้แต่พี่ชายใหญ่ของท่าน เพราะว่าพี่ชายของท่านเป็นจินตกวี ชำนาญในจินดามณี แลวุตโตทัย แลตำราแต่งโคลงฉันท์กาพย์กลอนทุกอย่าง ท่านได้รับมรดกไว้) แลเป็นผู้ฉลาดในการสอนศิษย์ ได้คิดแต่บทมาลามูลเนติปกรณ์ขึ้นไว้ เพื่อสอนศิษย์ให้รู้มคธภาษาง่ายด้วย บรรดาศิษย์สมเด็จต่อมา ผู้ใดที่จะไม่ได้เรียนหนังสือในสำนักของท่านไม่ใคร่จะมี จนถึงเจ้าคุณสังกิจ์จคุณมุนี [หลิน สงฺกิจฺโจ วัดบรมนิวาส] เป็นชั้นใหญ่ ก็ได้ความรู้แต่ท่าน

เมื่อเวลาท่านถึงมรณภาพแล้วนั้น เจ้าคุณฯ ท่านได้นั่งประกาศคุณว่า “ตู้หนังสือวัดโสมนัสล้มแล้ว ข้าเจ้าเหมือนกับคนมีแขนอันขาดเหลือแต่ตัว เพราะเขาเป็นคนมีความรู้มากหาตัวเปรียบเขายาก แลเป็นผู้เพาะศิษย์ดีด้วย ในวัดนี้ที่เป็นมหาบาเรียน ล้วนเป็นศิษย์ของเขาท้องนั้น ข้าเจ้าเป็นคนชุบมือเปิบ เขาฝึกกันไว้แล้ว ข้าก็ตะครุบเอาเท่านั้น” แลพรรณนาคุณอื่นๆ แสดงความอาลัยมาก จนเกล้ากระหม่อมกลั้นน้ำตาไม่ได้ อุบาสิกาทรัพย์ก็ร้องไห้โฮในเวลานั้น เมื่อเวลาท่านกลับกุฎี ก็เดินบ่นไปว่า “ตู้หนังสือแตกเสียแล้วๆ” ดังนี้



การเรียนวิชาแปลภาษาชั้นต้น จะเอามาลบล้างการไหว้พระสวดมนต์ท่องบ่นภาวนาเสียไม่ได้
เล่าเรื่องพระอริยกวี (ทิง อิสิทตฺโต) พระมหาเถระนับแต่เมื่อครั้งตั้งวงศ์ธรรมยุตอีกรูปหนึ่ง ตอนที่ ๗

...อนึ่งท่านผู้นี้ [พระอริยกวี ทิง อิสิทตฺโต] ไม่เป็นแต่ผู้รู้เปล่า เป็นผู้ปฏิบัติจริงด้วย รักษาอินทรีย์สงบแบบเดียวกันกับเจ้าคุณจันทโคจรคุณ ไม่เห็นท่านมีนิสัยนักเลงเลย มีแต่ฝึกศิษย์ให้สวดมนต์ไหว้พระ แลเรียนพระปริยัติธรรมเป็นนิตย์ สอนศิษย์ว่าการเรียนหนังสือนั้น เป็นการเรียนวิชาแปลภาษาชั้นต้น จะเอามาลบล้างการไหว้พระสวดมนต์ท่องบ่นภาวนาเสียไม่ได้ การไหว้พระสวดมนต์เจริญภาวนานี้เป็นกิจธุระของตนเป็นบุญกุศลแท้ อย่าให้ขาดเสียได้ สอนอยู่เช่นนี้เนืองๆ ส่วนท่านก็หมั่นไหว้พระเจริญภาวนาไม่ขาดเหมือนกัน ท่านชอบนั่งในกุฏิองค์เดียวมืดๆ ไม่จุดไฟเป็นปรกติ จุดแต่เวลาไหว้พระแลมีกิจธุระจะต้องใช้ไฟเท่านั้น [/size]

ที่มา : เพจ เล่าเรื่อง วัดบวรฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มกราคม 2564 20:32:10 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5800


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 28 มกราคม 2564 19:04:28 »

.



“คนรู้ทำเป็นคนโง่ จะให้เป็นสมเด็จเจ้ากะเข้าบ้างก็ไม่อยากเป็น ชอบแต่เป็นขรัวอยู่นั่นแหละ”

เล่าเรื่องพระอริยกวี (ทิง อิสิทตฺโต) พระมหาเถระนับแต่เมื่อครั้งตั้งวงศ์ธรรมยุตอีกรูปหนึ่ง ตอนที่ ๘

“...อนึ่งท่าน [พระอริยกวี ทิง อิสิทตฺโต] มีอัธยาศัยถ่อมตน ไม่พอใจอวดความรู้แก่ใครๆ ตั้งอยู่ในมักน้อยสันโดษ ดำเนินตามอริยวังสปฏิปทาอยู่เสมอ ไม่เห็นปรากฏว่า มีอิจฉาจารอาการดิ้นรนขวนขวานเพื่อลาภแลยศ แลไม่ปรากฏว่า ท่านกล่าวเสียดสีกระทบผู้ใดให้ได้ความเดือดร้อนรำคาญใจเลย
 
จนถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อทอดพระเนตรเห็นท่านเข้าแล้ว ก็มักตรัสประปรายอยู่เนืองๆ ว่า “คนรู้ทำเป็นคนโง่ จะให้เป็นสมเด็จเจ้ากะเข้าบ้างก็ไม่อยากเป็น ชอบแต่เป็นขรัวอยู่นั่นแหละ” ท่านก็นิ่งเฉย ไม่แสดงอาการให้แปลกผิดปรกติ แลยังได้ยกเรื่องนี้มาเล่าให้ศิษย์ฟัง แล้วสั่งสอนชี้โทษแห่งความมักใหญ่ใฝ่สูงแลพรรณนาคุณแห่งความมักน้อยสันโดษ แลอปัจจายนนิวาตวุตติ แลชี้ตัวอย่างให้เห็นโดยนัยต่างๆ หมั่นตักเตือนให้ศิษย์มีสติรู้ระลึกถึงชาติแลเพศของตนเนืองๆ แลคอยปราบปรามไม่ให้กำเริบเพราะความรู้แลความสรรเสริญ ให้ดำเนินตามทสธรรมสูตร์ แลกำชับว่าพระสูตรนี้ดีนัก สมควรแก่เราผู้บรรพชิตจะปฏิบัติตาม อุตส่าห์เล่าทรงจำไว้ จะได้กันความจองหอง แลความคะนอง ความประพฤติชั่ว แลกันความเมามัวอาลัยในสิ่งที่ตนรักใคร่ แลเป็นเครื่องเตือนใจให้คิดหาประโยชน์ตน ไม่ให้เป็นคนเก้อ-เดือดร้อนภายหลังได้ ท่านประพฤติอย่างนี้เป็นปรกติ จึงเห็นว่าท่านตั้งอยู่ในอริยวังสปฏิบัติเต็มที่...”
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.316 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 20 ธันวาคม 2567 02:50:34