เข็ญใจสู่ธรรม ท่านพระอาจารย์
มั่น ภูริทัตโต ผู้สนใจศึกษาปฏิบัติธรรม คือ ผู้สนใจหาความรู้ความฉลาด เพื่อคุณงามความดีทั้งหลายที่โลกเขาปรารถนากัน เพราะคนเราจะอยู่และไปโดยไม่มีเครื่องป้องกันตัวย่อมไม่ปลอดภัยต่ออันตรายทั้งภายนอกภายในเครื่องป้องกันตัวคือหลักธรรม มีสติปัญญาเป็นอาวุธสำคัญ จะเป็นเครื่องมั่นคงไม่สะทก สะท้าน มีสติปัญญาแฝงอยู่กับตัวทุกอิริยาบถ จะคิด-พูด-ทำ อะไรไม่มีการยกเว้น มีสติปัญญาสอดแทรกอยู่ด้วยทั้งภายในและภายนอกมีความเข้มแข็งอดทน มีความเพียรที่จะประกอบคุณงามความดี คนอ่อนแอโง่เง่าเต่าตุ่นวุ่นวายอยู่กับอารมณ์เครื่องผูกพันด้วยความนอนใจ และเกียจคร้านในกิจการที่จะทำตัวให้พ้นภัย
* * * * * * * * * * * * * * * * *
การตำหนิติเตียนผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วยความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดตำหนิผู้อื่นจนไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดแลบาปกรรม ไม่มีดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน
การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรองเป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียด น่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง
* * * * * * * * * * * * * * * * *
ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่นว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ ไปในสุคติในโลกสวรรค์ ไม่ตกต่ำ
เพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์ ธรรมก็สั่งสอนแล้ว ควรจดจำให้ดี ปฏิบัติให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน
* * * * * * * * * * * * * * * * *
เมื่อเกิดมาอาภัพชาติแล้ว อย่าให้ใจอาภัพอีก ผู้เกิดมาชาตินี้อาภัพแล้ว อย่าให้ใจอาภัพ คิดแต่ผลิตโทษทำบาปอกุศลเผาผลาญตน ให้ได้ทุกข์ เป็นบาปกรรมอีกเลย
* * * * * * * * * * * * * * * * *
คนชั่วทำชั่วได้ง่าย และติดใจไม่ยอมลดละและแก้ไขให้ดี คนดีทำดีได้ง่ายและติดใจกลายเป็นคนรักธรรมตลอดไป
* * * * * * * * * * * * * * * * *
เราต้องการของดี คนดี ก็จำต้องฝึก ฝึกจนดี จะพ้นการฝึกไปไม่ได้ งานอะไรก็ต้องฝึกทั้งนั้น ฝึกงาน ฝึกคน ฝึกสัตว์ ฝึกตน ฝึกใจ นอกจากตายแล้วจึงหมดการฝึก คำว่า ดี จะเป็นสมบัติของผู้ฝึกดีแล้วแน่นอน
* * * * * * * * * * * * * * * * *
ศีลนั้นอยู่ที่ไหน มีตัวตนอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่า ผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนาคือจิตใจ คนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะทำอะไรได้ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่าง ๆ มีโทษต่าง ๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลงทางหลงขอ คนที่หาคนที่ขอต้องเป็นทุกข์ ขอเท่าไหร่ยิ่งไม่มี ยิ่งอดอยากยากเข็ญ กายกับจิตเราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้มาจากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์แล้ว จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เรานี้แล้ว รักษาได้ไม่มีกาล ได้ผลไม่มีกาล
ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ผู้มีศีลย่อมมีความสุข ผู้จักมั่งคั่งบริบูรณ์ สมบูรณ์ ไม่อด ไม่ยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลได้สมบูรณ์ จิตดวงเดียวเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ผู้มีศีลแท้เป็นผู้หมดเวรหมดภัย คุณธรรมยังผู้เข้าถึงให้เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องเลื่องระบือ มีความฉลาด กว้างขวางในอุบายวิธี ไม่มีความคับแค้นจนมุม
* * * * * * * * * * * * * * * * *
การปฏิบัติธรรมเป็นการทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ตรัสสอนเรื่อง กาย วาจา จิต มิได้สอนเรื่องอื่น ทรงสอนให้ปฏิบัติฝึกหัดจิตใจ ให้เอาจิตพิจารณากาย เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หัดสติให้มากในการค้นคว้า เรียกว่า ธัมมวิจยะ พิจารณาให้พอทีเดียว เมื่อพิจารณาพอจนเป็น สติสัมโพชฌงค์ จิตจึงจะเป็นสมาธิรวมลงเอง การประกอบความพากเพียรทำจิตให้ยิ่งเป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
* * * * * * * * * * * * * * * * *
ความไม่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และแน่นอน ความยิ่งใหญ่คือความไม่ยั่งยืนชีวิตที่ยิ่งใหญ่คือชีวิตที่อยู่ด้วย ทาน ศีล เมตตา และกตัญญูชีวิตที่มีความดีอาจมิใช่ความยิ่งใหญ่ แต่ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ต้องอาศัยคุณธรรมความดีเท่านั้น
* * * * * * * * * * * * * * * * *
วาสนานั้นเป็นไปตามอัธยาศัย
คนที่มีวาสนาในทางที่ดีมาแล้ว แต่คบคนพาล วาสนาก็อาจเป็นเหมือนคนพาลได้ บางคนวาสนายังอ่อน เมื่อคบบัณฑิต วาสนาก็เลื่อนขั้นขึ้นเป็นบัณฑิต
ฉะนั้น บุคคลควรพยายามคบแต่บัณฑิตเพื่อเลื่อนภูมิวาสนาของตนให้สูงขึ้น
* * * * * * * * * * * * * * * * *
ปัญจะมาเร ชิโนนาโถ ปัตโต สัมโพวิมุตตะมังจะตุสัจจัง ปะกาเสติ ธัมมะจักกัง
ปะวัตตะยิ เอเตนะ สัจจะวัจเชนะโหตุเม ชะยะมังคะลัง
ผู้มีปัญญาไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงแล้วตามมา ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
ผู้มีปัญญาได้เห็นในธรรมซึ่งเป็นปัจจุบัน ควรเจริญความเห็นนั้นไว้เนือง ๆ
ควรรีบทำเสียผู้มีปัญญา ซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่
มีความเพียรแยกกิเลสให้หมดไป จะไม่เกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียร
ทั้งกลางวันและกลางคืนที่มา :
เข็ญใจสู่ธรรม (คัดจากจากหนังสือ ขันธวิมุติสมังคีธรรม)
ขอบพระคุณที่มาจาก :
http://buddhakhun.org/main//index.php?PHPSESSID=3e4869e678884306167c879c2e629a20&topic=13301.0Pics by :
Googleอกาลิโกโฮม *
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ตสุขใจดอทคอมอนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ