[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 ธันวาคม 2567 23:17:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การละเล่นพื้นบ้านของไทย  (อ่าน 6710 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5797


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 02 เมษายน 2560 14:51:12 »


การละเล่นพื้นบ้านของไทย  เป็นการละเล่นที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น
ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสืบต่อๆ กันมา  แต่ในปัจจุบันการละเล่นพื้นบ้านของไทยนับวันจะเลือนหาย
ไปตามกาลเวลา  เนื่องจากวัฒนธรรมชาติต่างๆ ได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย  เด็กรุ่นหลัง
หันมาสนใจการละเล่นแปลกใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาแทนที่  ทำให้การละเล่นพื้นบ้าน
แบบไทยๆได้หายสาปสูญไปในยุคสมัยนี้ ดังนั้น ควรที่เยาวชนรุ่นหลังจักได้เรียนรู้ และเห็นคุณค่า
และร่วมจรรโลงสืบทอดมรดกภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างไว้สืบไป  

---------------------------


การเล่นรีรีข้าวสาร ภาพจากพิพิธภัณฑ์หุ่นขึ้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐม

รีรีข้าวสาร

รีรีข้าวสาร เป็นการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยในสมัยก่อน ซึ่งในปัจจุบันนี้อาจจะไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยหนัก

สถานที่เล่น บริเวณสนามหญ้าหรือลานกว้างทั่วไป

กติกาการเล่น การละเล่นชนิดนี้ เป็นการเล่นของเด็กอายุระหว่าง ๔-๖ ปี เล่นได้ทั้งผู้ชาย ผู้หญิง จำนวนตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป โดยจับไม้สั้นไม้ยาวตกลงกันให้ผู้เล่น ๒ คนทำหน้าที่เป็นซุ้มประตู โดยหันหน้าเข้าหากันแล้วจับมือประสานกันเหนือศีรษะเป็นประตูโค้ง คนอื่นๆ เกาะไหล่กันลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ สองคนที่เป็นประตูจะร้องเพลงประกอบเวลาแถวลอดใต้โค้ง หัวแถวจะต้องเดินอ้อมหลังคนที่เป็นประตูครั้งละหน เมื่อจบเพลงสองคนที่เป็นประตูจะกระดุกแขนลงกั้นคนสุดท้ายให้อยู่ระหว่างกลาง คัดออกไป คนข้างหลังต้องระวังตัวให้ดี ไม่เช่นนั้นตัวเองจะต้องออกจากการเล่น ต้องผ่านให้ได้หมดทุกคนจึงจะจบ

ส่วนผู้เล่นคนอื่นๆ ที่เหลือให้เข้าแถวเอามือจับเอวคนข้างหน้าต่อๆ กันเป็นแถวตอนเพื่อรอเดินลอดใต้ซุ้มประตู

เริ่มเล่นโดยการให้ผู้เล่นที่อยู่หัวแถวพาเดินลอดใต้ซุ้มประตู ซึ่งในจังหวะที่เดินลอดซุ้มประตู ผู้เล่นทั้งหมดต้องร้องเพลงไปพร้อมๆ กันด้วย ดังเนื้อร้องต่อไปนี้

เนื้อเพลง

รีรีข้าวสารสองทะนานข้าวเปลือก
เลือกท้องใบลาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้

ผู้เล่นที่อยู่หัวแถวจะพาวนมาลอดซุ้มประตูใหม่จนกว่าจะจบเพลง  

เมื่อร้องเพลงถึงวรรคของ "พานเอาคนข้างหลังไว้" ให้ผู้เล่น ๒ คนที่เป็นซุ้มประตูกระตุกมือลงมาคล้องตัวผู้เล่นที่เดินลอดทันที ซึ่งถ้าใครโดนคล้องจะต้องถูกตัดออกจากการเล่น  ผู้เล่นคนอื่นที่ไม่โดนคล้องก็กลับมาต่อแถวจับเอวกันเป็นแถวยาวใหม่ และเริ่มเล่นโดยการเดินลอดประตูพร้อมกับร้องเพลง เหมือนกับขั้นตอนที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นแล้วไปเรื่อยๆ จนเหลือผู้เล่นคนสุดท้ายที่ไม่โดนคล้องตัว และถือเป็นผู้ชนะในการเล่นครั้งนี้

ดังนั้น ผู้เล่นที่เดินลอดซุ้มประตูจะต้องคอยระวังตัว คอยหลบไม่ให้โดนคล้องตัว ส่วนผู้ที่จะเป็นซุ้มประตูต้องผลัดเปลี่ยนกัน แต่ต้องมีการรู้ผลแพ้ชนะก่อน

ประโยชน์และคุณค่าจากการเล่นรีรีข้าวสาร
- เพลิดเพลิน จิตใจร่าเริง แจ่มใส ซึ่งจะทำให้เด็กๆยอมรับในกฎเกณฑ์กติกาในการเล่น
- ได้ออกกำลังกายพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายให้แข็งแรง
- หัดให้เด็กมีไหวพริบ ปฏิภาณ และรู้จักใช้กลยุทธที่จะให้ตนรอดจากการถูกคล้องตัวไว้
- หัดให้เด็กรู้จักทำงานเป็นกลุ่มโดยหัวแถวต้องพยายามพาแถว โดยเฉพาะคนสุดท้ายให้รอดพ้นจากการถูกกักตัวให้ได้





การแมงมุม ภาพจากพิพิธภัณฑ์หุ่นขึ้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐม

แมงมุม

สถานที่เล่น ภายในบ้าน ห้องเรียน ใต้ร่มไม้ หรือบริเวณต่างๆ

ผู้เล่น เล่นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง จำนวนผู้เล่นประมาณ ๒-๔ คน

อุปกรณ์  ไม่มี

วิธีเล่น
- มีวิธีการเล่นเหมือนกัน โดยผู้เล่นทุกคนยื่นมือข้างหนึ่งออกมาแล้วคว่ำมือวางกับพื้น อีกข้างหนึ่งใช้นิ้วโป้ง กับนิ้วชี้หยิกหลังมือข้างที่วางเบาๆ กรีดนิ้วให้กระจาย คนอื่นก็หยิกต่อๆ ซ้อนกันขึ้นไป  เช่น ให้คนที่ ๒ หยิกหลังมือซ้ายของคนที่ ๑ คนที่ ๓ หยิกหลังมือซ้ายคนที่ ๒ และคนที่ ๔ หยิกหลังมือซ้ายคนที่ ๓ ต่อจากนั้นคนที่ ๑ นำมือขวาหยิกหลังมือซ้ายของคนที่ ๔ หลังจากนั้นก็ต่อด้วยคนที่ ๒, ๓, ๔ ตามลำดับต่อกันสูงขึ้นไปข้างบน

-เมื่อต่อมือกันเรียบร้อยแล้วก็เริ่มด้วยการให้ทุกคนยกมือขยุ้มขึ้นลงเบาๆ พร้อมกับร้องเพลงไปด้วย ดังเนื้อเพลงว่า"แมงมุมขยุ้มหลังคา แมวกินปลาหมากัดกระพุ้งก้น" หรือ “แมงมุมเอย ขยุ้มหลังคา ลูกเจ็บหนักหนา วางลูกเสียเถิด”  

- พอจบเพลงปล่อยมือทั้งหมดลงอย่างเร็ว ความสนุกสนานอยู่ที่บทร้อง แล้วเริ่มเล่นใหม่

แต่ในภาคใต้มีอีกวิธีหนึ่งคือเมื่อจบบทร้องแล้วปล่อยมือที่อยู่ล่างสุด กลับมาหยิกหลังมือที่อยู่บนสุดอีก เล่นอยู่อย่างนี้จนกว่าจะเบื่อและเลิกเล่นไปเอง มีบทร้องว่า “แมงมุมขยุ้มหลังคา ลูกเจ็บหนักหนา วางเหวี่ยงขึ้นเขา” หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือการเล่นจ้ำจี้ในภาคกลาง จ้ำมู่มี่ในภาคอีสาน จุ้มจี้ในภาคใต้ ซึ่งมีวิธีการเล่นเหมือนกัน แต่บทร้องประกอบการเล่นแตกต่างกัน ในบางถิ่นอาจมีบทร้องหลายสำนวน เช่น ภาคกลางมีบทร้องว่า “จ้ำจี้มะเขือเปราะ กระเทาะหน้าแว่น พายเรืออกแอ่น กระแท่นต้นกุ่ม สาวสาวหนุ่มหนุ่ม อาบน้ำท่าไหน อาบน้ำท่าวัด เอาแป้งที่ไหนผัด เอากระจกที่ไหนส่อง เยี่ยมๆ มองๆ นกขุนทองร้องวู้” หรือ “จ้ำจี้เม็ดขนุน ผู้ใดมีบุญ ได้กินสำรับ ผู้ใดผลุบผลับ กินรางหมาเน่า ส้มมะลิ้น ส้มมะแป้น มะปราง ออกดอก มะกอกออกฝัก ผัวไม่รัก จะโทษเอาใคร” และ “จ้ำจี้จ้ำจวด พาลูกไปบวช ถึงวัดถึงวา ครั้นสึกออกมา สัพพะลุ่นจุนจู๋”




การเล่นขี่ม้าเข้าเมือง ภาพจากพิพิธภัณฑ์หุ่นขึ้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐม

ขี่ม้าเข้าเมือง

ขี่ม้าชนกันเป็นกีฬาพื้นเมืองของภาคกลางในสมัยเก่านิยมเล่นกันในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา เป็นต้น บางท้องถิ่นเรียกว่า “ขี่ม้าชนช้าง” การเล่นขี่ม้าชนกันสันนิษฐานว่าน่าจะดัดแปลงมาจากการฝึกต่อสู้กันบนหลังม้า ซึ่งพบว่ามีการเล่นต่อสู้กันบนหลังม้าแล้วอย่างน้อยในสมัยกรุงธนบุรี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ต่อเนื่องถึงรัชกาลที่ ๖ พบว่ามีการเล่นกีฬาประเภทขี่ม้าสมมติคือการขี่หลังคนแทนม้าเกิดขึ้นหลายอย่าง เช่น การแข่งขันขี่ม้าวิ่งเปรี้ยว ขี่ม้าตาบอด ขี่ม้าชิงหมวก และขี่คอประจัญบาน เป็นต้น ซึ่งการขี่คอประจัญบานน่าจะมีลักษณะการเล่นเช่นเดียวกับขี่ม้าชนกัน เพียงแต่ตางยุคต่างสมัยก็จะมีชื่อเรียกต่างกันเท่านั้น กีฬาขี่ม้าชนกันเป็นกีฬาที่เล่นกันในหมู่ผู้ชาย เป็นการเล่นลองกำลังเพื่ออกกำลังกาย และเพื่อความสนุกสนานในหมู่เด็กๆโดยมากนักชอบเล่นกันในโรงเรียนเมื่อมีเวลาว่าง ปัจจุบันยังมีการเล่นกีฬาในหมู่เด็กๆ อยู่โดยทั่วไป

ผู้เล่น
เล่นกันในหมู่เด็กผู้ชาย โดยผู้เล่นจะจับกันเป็นคู่ๆ แต่ละคู่จะมีผู้เล่นคนตัวโตกว่าสมมติว่าเป็นม้า คนตัวเล็กกว่าสมมติว่าเป็นคนขี่ จะเล่นกันกี่คู่ก็ได้ไม่จำกัด แต่ควรมีมากกว่า ๒ คู่ขึ้นไป

อุปกรณ์การเล่น
ไม่ใช้

สถานที่เล่น
บริเวณสนามหญ้าหรือพื้นดินที่มีความอ่อนนุ่มทั่วไป เช่น สนามที่มีหญ้าปกคลุม บริเวณหาดทราย ริมแม่น้ำ หรือบริเวณท้องนาที่มีพื้นดินอ่อนนุ่ม เพื่อป้องกันอันตรายเมื่อเกิดมีการหกล้มขึ้นกำหนดสนามเล่นรูปสี่เหลี่ยมหรือวงกลม มีความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ ๔ – ๖ เมตร

วิธีเล่น
๑.ผู้เล่นแต่ละคู่จะยืนจับคู่กันอยู่ภายในเขตสนามเล่น ในแต่ละคู่สมมติให้ผู้เล่นคนหนึ่งที่มีรูปร่างใหญ่โตกว่าเป็นม้า และอีกคนหนึ่งที่มีรูปร่างเล็กกว่าเป็นคนขี่ ให้คนขี่ขึ้นขี่คนเป็นม้ายืนเตรียมพร้อมไว้

๒.เมื่อได้สัณญาณเริ่มเล่น โดยผู้เล่นคนใดก็ได้เป็นผู้บอกเริ่มเล่นให้แต่ละคู่วิ่งชนกัน พยายามดึงหรือดันเพื่อให้คู่อื่นๆ ล้มลงหรือคนขี่หลุดหือหล่นจากหลังม้า ซึ่งแต่ละคู่จะต้องระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา เพราะต่างฝ่ายต่างสามารถชนคู่ใดก็ได้

๓.คู่ที่คนขี่หล่นจากหลังม้าหรือม้าลงล้งจะถือว่าแพ้ คู่ที่สามารถยืนอยู่ได้โดยไม่ล้มจนเหลือเป็นคู่สุดท้ายในการเล่นจะเป็นผู้ชนะ

กติกา
๑.ในการชนกันผู้เล่นแต่ละคู่สามารถใช้ทุกส่วนของร่างกายชนกันได้ เช่น ใช้ลำตัวหรือใช้เท้ายันกันได้ แต่การดึง ดัน หรือผลักคู่ต่อสู้ให้หลุดจากหลังม้า หรือหล่นจากหลังม้าอนุญาติให้ผู้เล่นที่เป็นคนขี่เท่านั้นที่มีสิทธิดึง ดัน หรือผลักได้

๒.ผู้เล่นแต่ละคู่จะต้องเล่นอยู่ภายในขอบเขตของสนามเล่นที่กำหนดให้เท่านั้น จะออกนอกสนามเล่นไม่ได้

๓.ผู้เล่นคู่ที่คนขี่หลุดหรือหล่นจากหลังม้า หรือม้าล้มลงจะถือว่าแพ้และต้องออกจากการเล่นอยู่นอกวง

๔.ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกติกาจะถือว่าแพ้และต้องออกจากการเล่น

๕.ให้ผู้เล่นตัดสินกันเอง แต่ถ้าเป็นการแข่งขันจะมีกรรมการอย่างน้อย ๑ คน ทำหน้าที่ควบคุมมิให้เกิดอันตรายจากการเล่นและตัดสินผลการแข่งขัน


ที่มาข้อมูล : site thaifolksport.wordpress.com



การเล่นหัวล้านชนกัน ภาพจากพิพิธภัณฑ์หุ่นขึ้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐม

หัวล้านชนกัน

สถานที่เล่น  บริเวณลานกว้าง เช่น ลานบ้าน ลานวัด สนามกีฬา เป็นต้น

ผู้เล่น  นิยมเล่นกันในหมู่ผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น แต่ต้องเล่นเป็นคู่ๆ

อุปกรณ์  ไม่มี

วิธีเล่น
- กำหนดพื้นที่ที่ทำการเล่น ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายนั่งลง โดยให้มือ เข่า และเท้าทั้งสองข้างสัมผัสอยู่กับพื้นตลอดเวลา
-ใช้กำลังของหัวชนหัวของฝ่ายตรงข้ามให้หลุดออกจากพื้นที่ที่ได้กำหนดไว้ ห้ามใช้ห้ามใดส่วนหนึ่งของร่างกายนอกจากใช้หัวดันหัวของอีกฝ่ายเท่านั้น แต่ขณะเล่นห้ามผู้เล่นใช้อวัยวะส่วนอื่น นอกจากหัวดันคู่ต่อสู้ ส่วนมือ เข่า และเท้าต้องแนบพื้นตลอดเวลา

-หากฝ่ายใดถูกดันออกนอกพื้นที่ ถือว่าเป็นฝ่ายแพ้และฝ่ายที่ใช้หัวดันหัวฝ่ายตรงข้ามหลุดออกนอกพื้นที่ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 สิงหาคม 2561 15:23:23 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5797


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 21 สิงหาคม 2561 16:08:31 »


การเล่นกงจักร

การเล่นกงจักร

กงจักร  เป็นการเล่นของเด็ก นิยมเล่นกลางแจ้ง การเล่นชนิดนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น

ผู้เล่น  ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น

อุปกรณ์  ฝาขวดเบียร์ หรือฝาน้ำอัดลมชนิดโลหะ ทุบให้แบนเจาะรูตรงกลาง หรือลูกบอลเล็กเจาะรู หรือสตางค์แดงมีรู (สมัยรัชกาลที่ ๗ มีสตางค์แดง ราคา ๑ สตางค์) เชือกขนาดเชือกป่านหรือเชือกมนิลา ๑ เส้น ความยาวประมาณ ๒๕ นิ้ว สิ่งเหล่านี้ผู้เล่นหามาเอง

วิธีเล่น
- ก่อนเล่นใช้เชือกร้อยในรูตรงกลางฝาขวดเบียร์ หรือฝาน้ำอัดลม หรือรูในลูกบอลเล็ก หรือรูสตางค์แดง ผู้เล่นถือเชือกด้วยมือทั้งสองตรงปลายเชือก เว้นะรยะพอให้พ้นนิ้วชี้ได้เพื่อมิให้เชือกหลุดจากมือ ฝาขวดเบียร์ หรือลูกบอล หรือสตางค์แดงจะห้อยอยู่ตรงกลางเชือก ผู้เลช่นแกว่งเชือกหมุนไปข้างหน้าเร็วๆ ให้เป็นเกลียวมากที่สุดเท่าจะมากได้จนได้เกลียวมากพอ ต่อจากนั้น ก็ดึงเชือกให้ดึงหลายๆ ครั้ง ฝาขวดเบียร์ ฝาน้ำอัดลม หรือลูกบอลหรือสตางค์แดงก็จะหมุนอย่างไรเร็วเหมือนกงจักร จึงเรียกการเล่นชนิดนี้ว่า "กงจักร"

ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสารานุกรม วัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์




การเล่นกระโดดเชือก

การเล่นกระโดดเชือก

กระโดดเชือก  เป็นการเล่นกลางแจ้งของเด็กๆ ชนิดหนึ่ง การเล่นกระโดดเชือกมี ๓ แบบ คือ การกระโดดเชือกเดี่ยว การกระโดดเชือกคู่ และการกระโดดเชือกหมู่

๑. การเล่นกระโดดเชือกเดี่ยว ใช้เชือกยาวขนาดพอดีที่ตัวผู้เล่นจะลอดได้ เวลาเล่น ผู้เล่นจะจับปลายเชือกทั้งสองข้างแกว่งไปข้างหน้า แล้วกระโดดข้าม จะกระโดดทีเดียวทั้งสองขาหรือกระโดดทีละขาก็ได้ ถ้ากระโดดไปจนเหยียบเชือกก็ถือว่าหมดรอบ ในการกระโดดเชือกนี้อาจแกว่งเชือกไปข้างหลังก็ได้

๒. การเล่นกระโดดเชือกคู่ อาจเล่นกี่คู่ก็ได้ แล้วแต่ความพอใจของผู้เล่น เวลาเล่นผู้เล่นคนแรกแกว่งเชือกไปข้างหน้าและกระโดดไปด้วยสัก ๑ หรือ ๒ ครั้ง ส่วนผู้เล่นอีกคนหนึ่งจะกระโดดเข้าไปในวงเชือกขณะที่เชือกกระทบพื้นอาจหันหน้าเข้าหากันหรือหันหน้าออกก็ได้ ผู้เล่นทั้งสองกระโดดในจังหวะเดียวกัน กระโดดไปเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้กระโดดนั้นสะดุดเชือก ก็ถือว่า "ตาย" ต้องออกไปแล้วผลัดให้ผู้แกว่งเชือกมากระโดดแทน

๓. การเล่นกระโดดเชือกหมู่ ผู้เล่นจะมีจำนวนเท่าใดก็ได้ ให้พอดีกับความยาวของเชือก ก่อนเล่นมีการจับไม้สั้นไม้ยาว ใครได้ไม้สั้นเป็นคนถือปลายเชือกทั้งสองข้าง ข้างละคน ผู้แกว่งเชือกทั้งสองคนจะแกว่งพร้อมกัน ส่วนผู้เล่นคนอื่นๆ ก็ยืนรออยู่ทางด้านซ้ายเพื่อสะดวกในการกระโดดเข้าไปในวงเชือก ถ้าเข้าทางซ้ายซึ่งเข้าได้ง่าย เรียกว่า "ลอด" ถ้าเข้าทางขวาซึ่งต้องกระโดดข้าม เรียกว่า "ข้าม" ส่วนมากคนที่เล่นเก่งจะเข้าทางข้าม เมื่อกระโดดไปได้สักพักแล้วเชือกหยุดแสดงว่ามีคนสะดุด ผู้เล่นที่ทำให้เชือกหยุดก็ถือว่า "ตาย" ใครทำให้เชือกหยุดก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นผู้แกว่งเชือกแทน เพื่อให้ผู้แกว่งเดิมมีโอกาสเล่นบ้าง

การเล่นชนิดนี้ฝึกความว่องไว และการรู้จักพยุงตัว ปัจจุบันนี้ยังเป็นที่นิยม

ผู้เล่น  ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น

อุปกรณ์  เชือกยาวตามความต้องการแต่ละแบบ

ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสารานุกรม วัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 ตุลาคม 2562 11:17:12 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5797


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2562 11:23:58 »



ภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องในวรรณคดี เรื่อง "ขุนช้างขุนแผน"
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร  อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี



การเล่นอีกุบอีกับ

อีกุบอีกับ

อีกุบอีกับ เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็กในชนบทสมัยก่อน  ใช้กะลามะพร้าวส่วนที่มีรูจำนวน ๒ อัน สอดปลายเชือกจากด้านนอกเข้าด้านในรูกะลา ขอดปมเชือกด้านในกะลาให้เป็นปมใหญ่ ขมวดมัดให้ติดแน่นอยู่ข้างในกะลานั้น แล้วคว่ำกะลาทั้งสองลงบนพื้น จับเชือกยกดึงขึ้นให้ตรง ตึง ใช้ง่ามหัวแม่เท้าทั้งสองข้างคีบเชือกไว้ให้แน่น วางเท้าลงบนกะลาข้างละเท้า ยกเชือกพาเท้าก้าวเดิน

ผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น เล่นได้ทั้งเด็กชายเด็กหญิง

อุปกรณ์ : กะลามะพร้าวด้านที่มีรู จำนวน ๒ อัน เชือกมะนิลา (เชือกที่ทำจากป่านนารายณ์ มีสีน้ำตาล) หรือเชือกเขา (เถาวัลย์) หรือเชือกที่มีความเหนียวอื่นๆ ยาวประมาณ ๒ เมตร จำนวน ๑ เส้น

วิธีทำ : สอดปลายเชือกจากด้านบนนอกกะลาเข้าด้านในรูกะลาอันหนึ่ง ขอดปมเชือกด้านที่สอดนั้นให้เป็นปมใหญ่ ดึงให้ติดแน่นอยู่ข้างในกะลาอันนั้น แล้วเอาปลายเชือกที่เหลือสอดเข้ารูกะลาอีกอันหนึ่ง ขอดปมให้ติดแน่นอยู่ข้างใน ลักษณะเดียวกันกับวิธีอันแรก แล้วคว่ำกะลาทั้งสองลงบนพื้น

วิธีเล่น : จับเชือกดึงขึ้นในแนวตรง ใช้ง่ามหัวแม่เท้าทั้งสองข้างคีบเชือกไว้ วางเท้าลงบนกะลาข้างละเท้า ดึงเชือกให้ขึ้นตรงและตึง ยกเชือกพาเท้าก้าวเดินไปข้างหน้าเป็นขบวน หรือควบวิ่งไล่ตามกัน เสียงดังกุบกับ เหมือนฝูงม้าวิ่ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 พฤษภาคม 2565 17:51:29 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5797


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 03 สิงหาคม 2564 20:35:43 »



ปลาหมอตกกระทะ

ปลาหมอตกกระทะ เป็นการเล่นกลางแจ้งของเด็ก การเล่นชนิดนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น แบ่งผู้่เล่นเป็น ๒ ฝ่าย แล้วให้ผู้แทนแต่ะฝ่ายจับไม้สั้นไม้ยาวว่าใครจะเล่นก่อน  ผู้ชนะคือผู้ที่จับได้ไม้ยาว ส่วนผู้แพ้ที่ได้ไม้สั้นต้องนั่งจับมือกันเป็นวงกลม ผู้ชนะต้องกระโดดเข้าไปในวงตรงที่มือของผู้แพ้จับกันอยู่ ถ้ากระโดดเข้าได้ พวกของตนก็มีสิทธิ์ได้เข้าไปหมดทุกคน  ขณะที่คนหนึ่งกระโดดอยู่ คนอื่นๆ ก็ไปกระโดดด้วยแล้วก็ต้องพยายามกระโดดออก (เหมือนปลาหมอกระโดดออกจากกระทะ) ฝ่ายที่นั่งจับมือต้องคอยกั้นโดยวัดมือขึ้นไม่ให้อีกฝ่ายเข้าไปได้ ฝ่ายที่กระโดดต้องช่วยกันหลอกล่อ ถ้าขณะที่กระโดดนั้น ฝ่ายผู้กั้นวัดมือถูกก็ถือว่าตาย  หลังจากนั้นก็เปลี่ยนข้างให้ฝ่ายที่นั่งก้นเป็นวงนั้นกลับมาเป็นฝ่ายกระโดด และฝ่ายกระโดดกลับมากั้นบ้าง ผลัดกันเล่นตามความพอใจจนกว่าจะเลิก 

ที่มา : สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง มูลนิธิธนาคารไทยพาณิชย์ พิมพ์/เผยแพร่
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5797


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2565 17:48:23 »



ภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องในวรรณคดี เรื่อง "ขุนช้างขุนแผน"
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร  อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

    
ขี่ม้าก้านกล้วย

ขี่ม้าก้านกล้วย เป็นการละเล่นเด็กไทย โดยอาศัยก้านกล้วยที่ปลูกไว้ตามบริเวณข้างบ้านและในสวน ซึ่งผู้ใหญ่มักทำให้เด็กๆ เล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลิน และเป็นการฝึกความแข็งแรงไปในตัว

ประโยชน์
๑.การทำท่าเหมือนม้า ทำให้เด็กมีจินตนาการและกล้าแสดงออก
๒.เป็นการออกกำลังกายอย่างดี
๓.รักษาประเพณีพื้นบ้านของไทย

ผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น เล่นได้ทั้งเด็กชายเด็กหญิง

อุปกรณ์/วิธีการทำ : สิ่งที่ต้องใช้ก็คือ "ใบกล้วย" นำมาเลาะส่วนใบออกทิ้ง เอาแต่ก้านกล้วย แต่ให้เหลือส่วนปลายของใบไว้ทำเป็นหางม้าพอสวยงาม ตัดแต่งก้านกล้วยให้เป็นรูปตัว Y นำไปเสียบกับก้านกล้วย สมมติให้เป็นหัวม้า (มีใบหูตั้งชี้ ๒ ข้าง)  

วิธีการเล่น : ขึ้นขี่บนก้านกล้วย แล้วออกวิ่ง จากนั้นส่งเสียงร้อง ฮี้ฮี้ โดยฝ่ายไหนวิ่งเร็วที่สุด ก็จะเป็นผู้ชนะ

ปัจจุบันนี้ การขี่ม้าก้านกล้วยเริ่มเลือนหายไปจากสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสภาพสังคมและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปจากแต่ก่อน จึงทำให้การละเล่นเด็กไทยต่างๆ ลดลงไปมาก แต่การขี่ม้าก้านกล้วยก็ยังสามารถพบได้ตามงานวัฒนธรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว และยังกลายเป็นสัญลักษณ์นงานต่างๆ ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย เช่น ตัวนำโชคของการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ ๒๐ หรือ สุโขไทเกมส์ เป็นเด็กชายผมจุกเล่นขี่ม้าก้านกล้วย


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ตุลาคม 2565 15:06:10 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5797


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 106.0.0.0 Chrome 106.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2565 15:21:45 »

   

ดีดลูกหิน/ลูกแก้ว

ดีดลูกหิน-ลูกแก้ว คือ กีฬาแห่งศักดิ์ศรีของลูกผู้ชาย สมัยก่อนจะเป็นลูกหิน ต่อมาพัฒนาเป็นลูกแก้วซึ่งสีสันจะแตกต่างกันไป ถือได้ว่าเป็นกีฬาการแข่งขันชนิดหนึ่ง  

วิธีการเล่น : ทุกคนต้องขุดหลุ่มก่อน กำหนดเส้นในการโยนลูกแก้ว ถ้าใครโยนใกล้หลุมจะได้ดีดเป็นคนแรก  ในกรณีที่โยนมีระยะที่ใกล้เคียงกันมากจะใช้นับเป็นคืบจากตัวลูกแก้วไปยังหลุม ผู้เล่นที่ดีดโดนลูกแก้วผู้เล่นคนอื่นก็จะได้ดีดต่ออีกครั้ง ผู้เล่นที่ดีดลงหลุมจะกลายเป็น “เสือ” โดยสามารถใช้ ๑ คืบ ในการยิงผู้เล่นคนอื่นได้ไกลขึ้นอีกด้วย ผู้เล่นที่โดนยิงก็จะแพ้ไป





เป่ากบ

เป่ากบ เรียกได้ว่าฮอตฮิตมาก เป่าจนปวดแก้ม นิยมเล่น ๒ คนขึ้นไป

อุปกรณ์ในการเล่น : ได้แก่หนังยางวง หรือยางรัดถุงกับข้าว ก่อนจะแข่งก็ต้องทดลองเป่าก่อนว่ากระโดดได้ดีไหม เพื่อที่จะทับยางของฝ่ายตรงข้าม ใครมียางมากที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะ



ที่มาข้อมูล - ภาพ : หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ตุลาคม 2565 15:24:14 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5797


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 106.0.0.0 Chrome 106.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 17 ตุลาคม 2565 15:42:03 »



กระโดดยาง

กระโดดยาง เล่นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ไม่ว่าจะยางคู่ หรือยางเดี่ยว

กระโดดยางจะเป็นการกระโดดไล่ระดับความสูงเริ่มตั้งแต่เรี่ยดินไปจนสูงสุดมือชู แต่ละด่านจะเรียกว่า ตา หรือ อี การเล่นกระโดดยางจะมีกติกาต่างกันไปเล็กน้อยในแต่ละพื้นที่ ตาแรก อีพื้น มือข้างนึงจับหนังยางให้ติดพื้น ผู้กระโดดกระโดดข้าม บางพื้นที่จะยกหนังยางตอนกระโดด

วิธีเล่น : นำหนังยางมาต่อกันคล้ายๆ โซ่ เวลาเล่นจะต้องมีผู้เล่น ๒ คนถือยางคนละข้าง ดึงให้ตึงพอสมควร แล้วให้ผู้เล่นที่เหลือกระโดดข้าม แต่ละเกมการเล่นจะแบ่งเป็นระดับตามความสูงของการถือยาง คือจากต่ำไปจนถึงสูง หากผู้กระโดดไม่สามารถกระโดดข้ามได้ในความสูงระดับใดถือว่าแพ้ ต้องหยุดเล่นแล้วนั่งดูผู้ที่เหลือเล่นจนจบเกม




หมากเก็บ

หมากเก็บ เป็นการเล่นพื้นบ้านของไทย นิยมเล่นในภาคกลาง โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง อายุราว ๘ – ๑๔ ปี ปกติจะใช้ผู้เล่น ๒-๔ คน เชื่อว่ามีการเล่นหมากเก็บมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา การเล่นหมากเก็บจะใช้วัสดุ ก้อนหินเล็กๆ ที่เก็บได้ตามกองหิน กองทราย แถวๆ บ้าน กะเทาะให้ค่อนข้างกลม ลบเหลี่ยมเพื่อไม่ให้เจ็บมือ ใช้ก้อนหินจำนวน ๕ ก้อน ขนาดหัวแม่มือ

วิธีการเล่น : ใครจะได้เล่นก่อน ขึ้นอยู่กับฝีมือในการขึ้นร้าน ให้ได้ลูกหมากจำนวนมาก โดยหงายมือถือลูกหมากแล้วโยนขึ้น พร้อมกับพลิกเอาหลังมือรับ แล้วพลิกกลับเอาหน้ามือรับทุกคนที่เล่น จะขึ้นร้านให้ได้ลูกหมากมากที่สุด เป็นผู้เล่นก่อน โดยเริ่มเล่นจากหมากหนึ่ง ผู้เล่นจะโยนอีตัวขึ้นไปบนอากาศแล้วโปรยลูกหมากอีก ๔ ลูก ลงบนพื้น จากนั้นจะโยนอีตัวขึ้น แล้วเก็บลูกหมากทีละตัวจนครบ ๔ ลูก ขึ้นหมากสอง จะโยนอีตัวขึ้นแล้วรีบวางลูกหมาก

อีก ๔ ลูก ให้เป็นคู่ละสอง แล้วโยนอีตัวพร้อมกับเก็บลูกหมากทีละสองลูก ขึ้นหมากสามจนถึงหมากสี่ หมากอีจุ๊บ หมากอีเขี่ย ถ้าระหว่างเล่นพลาดเมื่อใด ให้คนอื่นเล่นต่อ ใครถึงหมากสุดท้ายก่อนเป็นผู้ชนะ ให้ขึ้นร้านแล้วเขกเข่าผู้แพ้

การเล่นหมากเก็บเป็นการฝึกทักษะในการขึ้นร้าน ถ้ามืออ่อนก็จะรับหมากได้มาก เป็นการฝึกการโยน อีตัวและเก็บลูกหมาก โดยคาดคะเนจังหวะความสูงของอีตัว กับการเก็บลูกหมาก ให้สามารถรับได้ทันท่วงที ปัจจุบันยังมีเด็กหญิงเล่นกันอยู่ในชนบท แต่อาจะมีการเปลี่ยนจากลูกหมากเป็นก้านธูปหรือตะเกียบก็ได้


ที่มาภาพ : หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
650.
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5797


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 12 กรกฎาคม 2566 15:24:48 »


การละเล่นของเด็กไทยสมัยโบราณ "ตีลูกล้อ" และ "ขี่ม้าก้านกล้วย"
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดสุวรรณดารามราชวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา


ตีลูกล้อ

การละเล่น : ตีลูกล้อ

อุปกรณ์การเล่น : คือ “ลูกล้อ”อาจจะเป็นยางรถจักรยานหรือวงล้อไม้ เป็นซี่ๆ ขนาดเหมาะมือ หรือขอบของกระด้งที่ไม่ใช้แล้ว   พร้อม“ไม้ส่ง”เป็นไม้ท่อนตรงขนาดเหมาะมือ กำหนดจุดเริ่มต้นและเส้นชัย ผู้เล่นทุกคนนำลูกล้อของตนมายังจุดเริ่มต้น วิ่งเอาไม้ส่งตีลูกล้อให้กลิ้งไปข้างหน้า ระวังไม่ให้ลูกล้อสะดุดพลิกคว่ำหรือหลุดจากการควบคุม ใครถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ

จำนวนผู้เล่น : ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น

วิธีการเล่น : นำลูกล้อมายังจุดเริ่มต้น หรือเตรียมยางรถจักรยานหรือวงล้อเป็นซี่ๆ และไม้ขนาดเหมาะมือประมาณ ๑ ฟุต จากนั้นกำหนดจุดเริ่มต้นและเส้นชัยไว้แต่ละคนนำลูกล้อของตนเองมาที่จุดเริ่ม ต้น และวิ่งเอาไม้ตีลูกล้อให้กลิ้งไป คอยเลี้ยงลูกล้อไว้ให้กลิ้งไปข้างหน้าโดยไม่ให้ลูกล้อสะดุดพลิกคว่ำ แข่งว่าใครจะถึงเส้นชัยก่อนกัน ผู้ที่ใช้วงล้อ จะได้เปรียบเพราะวงล้อมีร่องสำหรับใส่ยาง เอาไม้ต้นได้สะดวกและตรงกว่า ไม่แกว่งไปแกว่งมา ใครถึงเส้นชัยก่อน คนนั้นก็ชนะ



ขอขอบคุณเว็บไซต์ http://nithikan.blogspot.com/ (ที่มาข้อมูล)
700-25
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กรกฎาคม 2566 15:27:00 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.514 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 18 ธันวาคม 2567 00:21:06