[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 ธันวาคม 2567 13:14:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามรอยพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดเขานางบวช อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี  (อ่าน 566 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5793


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2566 21:05:17 »








วัดเขาขึ้น (วัดเขานางบวช)
ตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

วัดเขานางบวช หรือวัดเขาขึ้น ตั้งอยู่ตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

มีตำนานเล่าว่า ราว พ.ศ.๑๘๒๖ มีหญิงชื่อชบา เป็นสนมแห่งพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ได้ลาบวช รักษาศีลอยู่ในถ้ำบนยอดเขาแห่งนี้ จึงเป็นที่มาของชื่อวัดเขานางบวช เล่ากันว่าภายในถ้ำมีข้าวของ เครื่องประดับจำนวนมาก สันนิษฐานว่าเป็นของพวกที่ติดตามนางสนมชบา ของเหล่านั้นได้สูญหายไปเมื่อ พ.ศ.๒๔๐๒ เครื่องประดับชิ้นสุดท้ายที่พบบริเวณปากถ้ำ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ เป็นกำไลหยกหัวพญานาค แต่ผู้พบมิได้ถวายเป็นสมบัติวัด

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติระบุว่าตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๕ บ้างว่าเป็นวัดที่พระอาจารย์ธรรมโชติใช้จำพรรษา สร้างขึ้นในสมัยพระอาจารย์ธรรมโชติ ประมาณปี พ.ศ.๒๓๐๘

อาคารเสนาสนะทีสำคัญ ได้แก่ อุโบสถพระอาจารย์ธรรมโชติ ได้บูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินทราย ล้วนแต่ถูกคนร้ายตัดเศียรไปหมดแล้ว ได้บูรณะสร้างเศียรขึ้นมาใหม่ หน้าอุโบสถมีเสมาธรรมจักร หินสีเขียวขนาดใหญ่ ๕ แผ่น สูง ๓๗ นิ้ว กว้าง ๒๒ นิ้ว ไม่มีลวดลายใดๆ ทั้งสิ้น แต่เดิมอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อแก่นจันทร์ พระพุทธรูปไม้ที่สร้างขึ้นในสมัยพระอาจารย์ธรรมโชติ แต่ปัจจุบันนี้ได้มีการสร้างมณฑปขึ้นใหม่เพื่อเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นพระอาจารย์ธรรมโชติ จึงได้ย้ายหลวงพ่อแก่นจันทร์เข้าไปประดิษฐาน ณ มณฑปใหม่ด้วย วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ ภายในเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖ นิ้ว เจดีย์สร้างติดกับผนังวิหาร ก่อนที่ค่ายบางระจันแตก ศาลาหลวงปู่ธรรมโชติ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ปางห้ามสมุทร บางแบบเป็นพระทรงเครื่อง สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น อายุประมาณ ๖๐๐-๗๐๐ ปี

บริเวณวัดตั้งอยู่บนเขานางบวช มีทั้งทางลาดยางและบันไดขึ้นไปจนถึงยอดเขา มีทิวทัศน์ที่สวยงาม และเป็นวัดสำคัญที่มีเรื่องราวราวเล่าขานที่น่าสนใจ เป็นวัดของพระอาจารย์ธรรมโชติ พระสงฆ์ผู้มีวิทยาอาคมสูงและเป็นศูนย์รวมขวัญและกำลังใจให้ชาวบ้านบางระจันทำการสู้รบกับพม่า





ประวัติพระอาจารย์ธรรมโชติ
พระอาจารย์ธรรมโชติ เดิมชื่อ โชติ ขณะบวชได้ฉายาทางพระว่า ธรรมโชติรังษี พื้นเพเป็นชาวเมืองสุพรรณ ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บวชเรียนแล้วจำพรรษา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ณ วัดเขาขึ้นหรือเขานางบวช ท่านมีความรู้ด้านวิชากสิณ ด้านวิชาอาคมที่แก่กล้า ด้วยทั้งพรรษาและวิชาต่างๆ ที่ได้ศึกษาฝึกพร่ำร่ำเรียนมา ใครเห็นล้วนแต่เกิดศรัทธา

ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนาไปพำนักอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น จังหวัดสิงห์บุรี ด้วยเหตุที่พระอาจารย์ธรรมโชติมีวิทยาอาคมสูง และได้ลงวิทยาอาคมกับผ้าประเจียด ตะกรุดพิสมร แจกจ่ายให้กับนักรบค่ายบางระจัน  สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ในหนังสือไทยรบพม่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นได้หายสาบสูญไป หรือจะมรณภาพในเวลาเสียค่ายแก่พม่า หรือหนีรอดไปได้หาปรากฏไม่ แต่ตามความเชื่อและตำนานท้องถิ่นของชาวจังหวัดสุพรรณบุรีเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อค่ายบางระจันมีทีท่าว่าจะแตก ลูกศิษย์ใกล้ชิดพระอาจารย์ธรรมโชติก็ได้นิมนต์ท่านหลบหนีออกจากค่าย สุดท้ายลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง (ซึ่งไม่มากนัก เพื่อไม่ให้เป็นการแลดูน่าสงสัยแก่ผู้พบเห็นทั่วไป) ได้พาท่านออกมาจากค่ายบางระจัน ชั่วครู่ก่อนค่ายจะแตก แล้วลี้ภัยข้าศึกอยู่ในป่าเขาลำนำไพรจวบจนสงครามสงบจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขานางบวช บ้างก็ว่าหลังจากออกจากค่ายบางระจันมา ท่านก็ไม่ไปหลบอยู่ที่ไหน แต่ขอกลับมาอยู่วัดเขานางบวช วัดเดิมที่ท่านเคยจำพรรษาอยู่ โดยลูกศิษย์ทำช่องลับไว้ให้ท่านหลบอยู่บริเวณวิหารของท่าน (ซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่) ไว้ให้ท่านนั่งเจริญสมาธิกรรมฐาน บำเพ็ญกุศล บำเพ็ญเพียรโปรดแก่เหล่าสรรพสัตว์ วิญญาณวีรชน และชาวบ้านบางระจัน

บางข้อมูลอ้างว่า เมื่อครั้งค่ายบางระจันแตก ท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดนครจำปาศักดิ์อยู่สามปี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กู้ชาติกลับคืนได้ ท่านได้เดินทางกลับมายังสำนักเขาขึ้น และได้รับสมณศักดิพัดยศเป็น พระครูธรรมโชติรังษี จากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระอาจารย์ธรรมโชติ มรณะภาพเมื่ออายุ ๘๒ พรรษา หลายคนยังเชื่อว่าท่านหายสาบสูญไปกับค่ายบางระจัน ด้วยเหตุที่ท่านเก็บตัวไม่รับแขก จึงเป็นที่มาว่าท่านถูกข้าศึกฆ่าตาย






อุโบสถพระอาจารย์ธรรมโชติ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก รัชกาลที่ ๕ มีรับสั่งให้บูรณปฏิสังขรณ์ เปลี่ยนหลังคาจากมุงแฝกเป็นมุงกระเบื้อง ภายในมีเสาขนาดใหญ่ ข้างละ ๔ เสา ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทราย รวม ๑๓ องค์ ล้วนแต่ถูกคนร้ายตัดเศียรไปหมดแล้ว ได้บูรณะสร้างเศียรขึ้นมาใหม่โบสถ์หลังนี้ถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์แปลกกว่าโบสถ์ทั่วไป คือมีประตูเข้าออกเพียงประตูเดียว และไม่มีหน้าต่างเลยแม้แต่บานเดียว สมัยโบราณเรียกกันว่า “โบสถ์มหาอุตม์” ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นเสมาธรรมจักร หินสีเขียวขนาดใหญ่ ๕ แผ่น สูง ๓๗ นิ้ว กว้าง ๒๒ นิ้ว ไม่มีลวดลายใดๆ ทั้งสิ้น ถัดจากเสมาธรรมจักรมีหินวางเป็นแนวสันนิษฐานว่าเป็นแนวกำแพง แต่เดิมนี้นภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อแก่นจันทร์ พระพุทธรูปไม้ที่สร้างขึ้นในสมัยพระอาจารย์ธรรมโชติ แต่ปัจจุบันนี้ได้มีการสร้างมณฑปขึ้นใหม่เพื่อเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นพระอาจารย์ธรรมโชติ จึงได้ย้ายหลวงพ่อแก่นจันทร์เข้าไปประดิษฐาน ณ มณฑปใหม่ด้วย




วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ ภายในเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท มีหลุมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖ นิ้ว เพื่อให้ประชาชนได้โยนเหรียญลงไปทำบุญ ในวิหารด้านหลังมีร่องรอยการเจาะผนังวิหารทะลุไปยังองค์เจดีย์ที่ก่อด้วยแผ่นหินบางๆ วางซ้อนเป็นรูปเจดีย์ขนาดไม่สูงมาก เจดีย์สร้างติดกับผนังวิหาร ก่อนที่ค่ายบางระจันแตก ชาวบ้านนิมนต์พระอาจารย์ธรรมโชติให้หนีไป แต่ท่านไม่หนี จนในที่สุดหัวหน้าชาวบ้านบางระจันบอกว่า มีอาจารย์คนเดียวเป็นพระ จะได้กลับมาทำศพพวกเรา ท่านถึงยอมออกจากหลังค่ายหนีไป หลังจากนั้น ๓ วัน ค่ายบางระจันก็แตก พระอาจารย์ธรรมโชติ ก็นำคนมาช่วยเก็บศพทำบุญให้ หลายคนเข้าใจว่า ท่านใช้วิชากสิณชั้นสูง กลับไปวัดเขานางบวชแล้วหลบซ่อนอยู่ในอุโมงค์ใต้วิหาร เป็นอุโมงค์ที่กว้างพอจะเข้าไปอยู่ได้สัก ๕-๖ คน เรื่องเหล่านี้อาจารย์ธรรมโชติท่านบันทึกไว้ทั้งหมด เพราะท่านเป็นพระที่รู้หนังสือ]




อุโมงค์ที่พระอาจารย์ธรรมโชติ ใช้ซ่อนตัวและหลบหนีจากทหารพม่า
หลังจากค่ายบางระจันแตก  ปัจจุบันอุโมงค์ทรุดตัวลงไม่สามารถลงไปได้แล้ว
ตามคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่า ปลายทางอุโมงค์นี้ไปโผล่ที่กลางทุ่งนาหลังเขา


วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดเขานางบวช อำเภอเดิมบางนวช จังหวัดสุรรณบุรี
(ภาพจาก หนังสือประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณโดย มนัส โอภากุล สำนักพิมพ์มติชน)


ชื่อ “พระอาจารย์ธรรมโชติ” ถูกบันทึกในพงศาวดารเล่มที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยหลายสมัยอย่าง “ไทยรบพม่า” โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งมีเนื้อหาระบุว่า หลังค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติก็หายไป ปมที่ทิ้งไว้แบบคาใจนี้กลายเป็นอีกหนึ่งคำถามชวนค้นหาต่อว่าพระอาจารย์ธรรมโชติหายไปไหนกันแน่

หากพิจารณาจากฐานข้อมูลในพงศาวดารที่มีเขียนถึงค่ายบางระจันและตัวตนของพระอาจารย์ธรรมโชติอยู่บ้าง นักประวัติศาสตร์และคนเก่าแก่ในท้องถิ่นต่างมีตำนานเรื่องเล่าที่แตกต่างกันออกไปหลายทฤษฎี ไม่ว่าจะเป็นกลับมาอยู่ที่วัดนางบวช หรือแม้แต่คำบอกเล่าเรื่องไปอยู่ในถ้ำแถบนครราชสีมา

สำหรับกรณีวัดนางบวช มนัส โอภากุล นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุพรรณเป็นหนึ่งในผู้ที่ค้นหาหลักฐานและข้อมูลสนับสนุนสันนิษฐานนี้ บทความ “พระอาจารย์ธรรมโชติหายไปไหน?” ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๖ มนัส เล่าว่า ระหว่างร่วมงานในชุดคณะกรรมการอนุรักษ์และปรับปรุงโบราณสถานในจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ คณะได้ลงสำรวจโบราณสถานบนภูเขาวัดเขานางบวช  พื้นที่ซึ่งคณะลงสำรวจคือวิหารที่เล่ากันว่าเป็นวิหารของพระอาจารย์ธรรมโชติใช้นั่งวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อเอ่ยถามขึ้นตามข้อมูลในพงศาวดารว่า “หลังค่ายบางระจันแตก ไม่ทราบว่าพระอาจารย์ธรรมโชติหายไปไหน” ผู้ที่เอ่ยตอบคำถามนี้คือ ลุงยันต์ อิงควระ ทายกวัดเขานางบวช ผู้นำคณะกรรมการสำรวจในวัย ๗๕ ปี (ณ ขณะนั้น)

“พระอาจารย์ธรรมโชติ ท่านไม่ได้หายไปไหน ท่านกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขานางบวชตามเดิม” มนัส เล่าคำตอบของลุงยันต์ ซึ่งเป็นชาวบ้านอำเภอเดิมบางนางบวช

ลุงยันต์ อ้างว่า ปู่ย่าตาทวดเล่าให้ฟังต่อๆ กันมาว่า หลังค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติหลบหนีมาอยู่ที่วัดเขานางบวช ทหารพม่าไล่ติดตามมาด้วย เมื่อถึงวัดก็หาตัวไม่พบทั้งที่พระอาจารย์ธรรมโชติอยู่ที่วัดเขานางบวช

ท่านจะหายไปไหนได้อย่างไร ท่านก็หายตัวลงไปอยู่ภายใต้อุโมงค์ของวิหารนี้ที่ท่านเคยนั่งวิปัสสนากรรมฐาน…” ลุงยันต์ตอบพร้อมยืนยันว่าไม่ได้พูดเท็จ และกล่าวตามที่ปู่ย่าตาทวดเล่ามา

เมื่อได้ยินเรื่องอุโมงค์เช่นนี้ มนัส โอภากุล ระบุว่า เขานึกถึงอุโมงค์ในพื้นที่ซึ่งเคยขึ้นมาเที่ยวเล่นทันที นอกจากนั้น ยังมีข้อมูลจากชาวบ้านที่เล่ากันว่า มีอุโมงค์ใต้วิหาร ทางลงอุโมงค์อยู่ด้านหลังพระประธาน ผู้เขียนบทความเองก็เคยเดินเข้าไปดูพื้นที่ และเห็นปากทางอุโมงค์ด้วย

หลักฐานที่จะมายืนยันข้อมูลนี้ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอ้างอิงคำบอกเล่าของอาจารย์พิณ โสขุมา ผู้อำนวยการโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย ลูกบ้านนางบวช หนึ่งในคณะกรรมการชุดเดียวกันที่มนัส โอภากุล ทำงานด้วยว่า เคยขึ้นมายิงแย้บนภูเขาลูกนี้สมัยวัยเด็ก และเคยลงไปเล่นในอุโมงค์นั้น จำได้ว่ามีพื้นที่พอให้คนอยู่ได้ ๕-๖ คน
...silpa-mag.com/




แท่นหินที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้นวัดเขานางบวช ๑๙ ตุลาคม ๒๔๕๑









ทิวทัศน์ด้านล่างเมื่อมองจากบนเขา "วัดเขานางบวช"

850

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 กุมภาพันธ์ 2566 21:16:34 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.461 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้