[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 21:47:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เอกวาดอร์ลงประชามติต้านการขุดเจาะน้ำมัน เพื่ออนุรักษ์พื้นที่อุทยานยาสุนี  (อ่าน 134 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 04 กันยายน 2566 18:31:53 »

เอกวาดอร์ลงประชามติต้านการขุดเจาะน้ำมัน เพื่ออนุรักษ์พื้นที่อุทยานยาสุนี
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-09-04 18:03</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นับเป็นประชามติครั้งประวัติศาสตร์สำหรับชาวเอกวาดอร์ ที่ออกเสียงประชามติเลือกที่จะปกปักษ์รักษาอุทยานแห่งชาติยาสุนีเอาไว้ ไม่ให้มีการเข้าไปขุดเจาะน้ำมัน ซึ่งสื่อ NACLA ที่รายงานเรื่องเกี่ยวกับละตินอเมริการะบุว่านับเป็นขัยขนะครั้งใหญ่ของชนพื้นเมืองรากหญ้าและนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในการต่อต้านเชื้อเพลิงพลังงานฟอสซิล พวกเขาต่อสู้ท่ามกลางวิกฤตทางการเมืองในประเทศ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53162703522_5dc576b287_k.jpg" /></p>
<p><span style="color:#2980b9;">ผู้แทนจากชนพื้นเมืองเวารานีร่วมประชุมที่สมัชชาแห่งชาติเอกวาดอร์ นำเสนอปัญหาของอุทยานแห่งชาติยาสุนี เมื่อปี 2562 (ที่มา: Fernando Sandoval/Asamblea Nacional/ CC BY-SA 2.0)</span></p>
<p>เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2566 เอกวาดอร์ได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการออกเสียงประชามติสนับสนุนร้อยละ 59 ในการลงประชามติยับยั้งไม่ให้มีการขุดเจาะน้ำมันที่อุทยานแห่งชาติยาสุนี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก อเล็กซานดรา อัลไมดา จากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมในกรุงควิโต ประเทศเอกวาดอร์ ที่ชื่อ 'แอ็กซิอง อิโคโลจิกา' (Acción Ecológica) กล่าวว่า "มันไม่ใช่แค่เป็นตัวอย่างสำหรับเอกวาดอร์เท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างสำหรับทั้งโลกด้วย"</p>
<p>ย้อนไปเมื่อปี 2551 เอกวาดอร์กลายเป็นประเทศแรกที่มีการระบุถึงสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมไว้ในรัฐธรรมนูญ มาถึงตอนนี้เอกวาดอร์ก็กลายเป็นประเทศแรกอีกครั้งในการที่ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของชาวเอกวาดอร์สามารถเอาชนะนักการเมืองที่สนับสนุนการขุดเจาะทรัพยากรด้วยการทำประชามติไม่ให้มีการขุดเจาะน้ำมันจากพื้นที่ "บล็อก 43" หรือที่รู้จักในนาม การเคลื่อนไหว "ยาสุนี ไอทีที"</p>
<p>ขบวนการดังกล่าวนี้เป็นการพร้อมใจกันคุ้มครองที่ป่าลึกของอเมซอน ที่เรียกว่าอุทยานแห่งชาติยาสุนี ไม่ให้มีสัมปทานขุดเจาะน้ำมัน ถึงแม้ว่าทั่วโลกจะมีขบวนการอื่นๆ ที่ทำในเรื่องการยับยั้งการขุดเจาะทรัพยากรได้สำเร็จอยู่ด้วยเช่นกัน แต่นี่ก็นับเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ที่สำคัญสำหรับสิ่งแวดล้อมและนักกิจกรรมด้านสิทธิชนพื้นเมือง</p>
<p>เจอมัน อาฮัว ประธานขององค์กรชนชาติเวารานีแห่งออเรลลานา ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ของยาสุนี บอกว่า ผลการทำประชามติได้เปิดทางให้กับยุคใหม่ของชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและอนาคตที่จะส่งผลต่อชุมชนชาวอเมซอนทั้งหมด</p>
<p>อาฮัวบอกว่า "50 ปีของการดำเนินการด้านปิโตรเลียมทำให้พวกเราเหลือแต่ซากปรักหักพัง" ซึ่งเน้นพูดถึงผลกระทบที่สร้างปัญหาด้านสุขภาวะและการขาดแคลนทรัพยากรทางเศรษฐกิจและการศึกษา อาฮัวบอกอีกว่า "ภาครัฐได้ทำให้เราเผชิญกับอะไรมากมายโดยที่พวกเราไม่ได้ยินยอมพร้อมใจโดยการตัดสินใจอย่างเสรี โดยบอกเอาไว้ก่อนล่วงหน้า และโดยได้รับการบอกกล่าว"</p>
<p>การยกเลิกขุดเจาะพื้นที่ยาสุนี จะสามารถยับยั้งไม่ให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 410 ล้านเมทริกตัน ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1 ปีจากฝรั่งเศสทั้งประเทศ</p>
<p>การลงประชามติในครั้งนี้ยังนับเป็นชัยชนะของขบวนการต่อต้านการขุดเจาะทรัพยากร ขบวนการด้านสิ่งแวดล้อม และขบวนการของชนพื้นเมือง พวกเขาได้รับชัยชนะหลังจากต้องฝ่าฟันเส้นทางความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองที่ยาวนานนับทศวรรษในเรื่องนโยบายขุดเจาะทรัพยากร อีกทั้งยังเป็นชัยชนะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สถานการณ์กำลังเลวร้ายลงกว่าเดิม หลังจากที่ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีถูกลอบสังหาร 10 วันก่อนหน้าการเลือกตั้งวันที่ 20 ส.ค. ที่ผ่านมา กลุ่มนักกิจกรรมที่เป็นกองหน้าต่างก็ต่อสู้ต่อไปในสภาพที่มีความรุนแรงและความไม่ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">สาเหตุที่ปกป้องผืนป่ายาสุนี</span></h3>
<p>อุทยานแห่งชาติยาสุนีส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่อาณาเขตของบรรพบุรุษชนพื้นเมืองเวารานี นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพื้นที่ที่เต็มไปด้วยพิชพรรณ, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ จนกลายเป็นแหล่งที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุดของโลกเมื่อเทียบเป็นพื้นที่ต่อตารางเมตร มีสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามหรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อยู่มากกว่า 150 สปีชีส์ มีกลุ่มชนชาติเวารานีอยู่ 3 กลุ่มคือ Tagaeri, Taromenane, และ Dugakeaeri ที่ยังคงแยกตัวเองออกจากโลกภายนอกโดยสมัครใจ และถูกนับเป็น "กลุ่มคนที่ไม่ประสงค์จะติดต่อกับโลก" แต่การขุดเจาะน้ำมันก็ได้สร้างความเจ็บป่วย, ความไม่มั่นคงด้านอาหาร และการสังหารหมู่ในพื้นที่</p>
<p>ซิลวานา นิฮัว ประธานองค์กรเวารานีแห่งปาสตาซาพูดถึงผลกระทบที่เธอประสบมาโดยตรงในฐานะผู้หญิงที่ทำงานหนักเพื่อเลี้ยงเด็กๆ จากในป่า เธอบอกว่าก่อนหน้านี้ไม่มีปัญหาน้ำมันรั่วไหลและดินถล่มมากขนาดนี้ แต่เมื่อราว 70 ปีที่ผ่านมา การขุดเจาะน้ำมันก็ส่งผลต่อแหล่งอาหารของเวารานีและสร้างผลกระทบทางสังคมและทางวัฒนธรรมอย่างรุนแรง ผู้คนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำมันต้องอาศัยอาหารและยาที่บริษัทน้ำมันแจกให้แต่การแจกจ่ายก็ไม่ใช่ว่าจะพึ่งพาได้เสมอไป บางทีก็มีการหาข้ออ้างเลิกแจกอาหารให้ กลายเป็นว่าบริษัทน้ำมันเหล่านี้ไม่ได้ช่วยพวกเขาให้มีงานหรือมีข้าวกินแล้วยังทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมของพวกเขาโดยไม่มีการชดเชยด้วย</p>
<p>การที่มีสัมปทานน้ำมันมากขึ้นเรื่อยๆในพื้นที่ยาสุนีในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาทำให้เกิดการโจมตีพื้นที่เขตแดนและละเมิดสิทธิของชนพื้นเมืองชาวเวารานีเพิ่มมากขึ้น</p>
<p>จนกระทั่งในปี 2562 ขบวนการ รากหญ้า "ป่าฝนของพวกเราไม่ได้มีไว้เพื่อขาย" นำโดย เนมอนเต เนนกีโม นักกิจกรรมที่ได้รับรางวัลสิ่งแวดล้อมโกลด์แมนก็ทำให้เวารานีได้รับชัยชนะในคดีครั้งประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการยุติการขุดเจาะน้ำมันในพื้นที่ "บล็อก 22"</p>
<p>แต่การขุดเจาะในพื้นที่ใกล้เคียงอื่นๆ ก็ยังคงดำเนินต่อไป มีการปิดถนนประท้วงในพื้นที่ของเวารานีเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และในปีที่แล้ว (2565) กลุ่มชาวเวารานีก็ทำการยึดโรงกลั่นน้ำมันใกล้กับยาสุนีเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการประท้วงทั่วประเทศของขบวนการชนพื้นเมืองระดับชาติ</p>
<p> </p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ประวัติศาสตร์การกดขี่และความรุนแรง</span></h3>
<p>นับตั้งแต่ที่บริษัทน้ำมันเชลล์ร่วมมือกับมิชชันนารีในการติดต่อกับเวารานี ทำให้เกิดการขูดรีดโดยการขุดเจาะน้ำมันที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของชาวเวารานีไปอย่างสิ้นเชิง จากที่ก่อนหน้านี้ประชากรชาวเวารานีมีอยู่ประมาณ 60,000 ราย แต่เมื่อราว 40 ปีที่แล้วมีชาวเวารานีเหลืออยู่แค่ประมาณ 2,500 ราย เท่านั้น การผลิตน้ำมันส่งผลกระทบให้เกิดการเคลื่อนย้ายชุมชน มีการทำให้เป็นเมืองเกิดขึ้นที่ป่าอเมซอน ทำให้เกิดความแตกแยกและความขัดแย้งในกระบวนการตัดสินใจ และผลักดันให้เยาวชนละทิ้งถิ่นฐานของตัวเองเพื่อไปหางานทำ</p>
<p>มีกรณีที่บริษัทน้ำมันสังหารชาวเวารานีเกิดขึ้นหลายครั้ง ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา มีชาวเวารานี 4 รายถูกสังหารใกล้กับแหล่งติดตั้งปิโตรเลียมแห่งใหม่</p>
<p>ยาสุนีได้รับการระบุว่าเป็น "พื้นที่คุ้มครอง" มาตั้งแต่ปี 2522 แต่นิยามคำว่า "คุ้มครอง" ก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา</p>
<p>เช่นกรณีปี 2550 ประธานาธิบดี ราฟาเอล คอร์เรีย เคยมีแผนการจะระดมทุน 3,000 ล้านดอลลาร์เพื่อ "คุ้มครอง" พื้นที่ยาสุนี ITT ที่เรียกว่า "บล็อก 43" เพื่อให้ได้เงินทุนจากนานาชาติมาทดแทนการสูญเสียรายได้จากพลังงานฟอสซิล แต่หลังจากที่ล้มเหลวในการระดมทุน คอร์เรียก็หันมาวางแผนหาผลประโยชน์จากอุทยานยาสุนีแทน โดยการเสนอแก้นิยามของพื้นที่ยาสุนี เนื่องจากในรัฐธรรมนูญปี 2551 ที่ระบุให้เป็นพื้นที่คุ้มครองจึงเข้าไปทำเหมืองไม่ได้ คอร์เรียจึงแก้นิยามให้กลายเป็นพื้นที่ "ผลประโยชน์แห่งชาติ" แทนในปี 2556 จนได้รับการงดเว้นจากการคุ้มครองของรัฐธรรมนูญ</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">การต่อสู้ของ 'ยาสุนีดอส' ที่นำทางไปสู่ชัยชนะ</span></h3>
<p>ทันทีที่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็มีขบวนการทางสังคมเกิดขึ้นโดยทันทีจากการรวมกลุ่มแนวร่วมที่เรียกว่า "ยาสุนีดอส" พวกเขาล่ารายชื่อเพื่อขอทำประชามติให้มีการแบนกิจการน้ำมันออกจากบล็อก 43 สมาชิกกลุ่มยาสุนีดอสต่างก็ถูกจับกุมคุมขัง และมีการใช้กำลังปราบปรามจนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนยางและแก็สน้ำตา อีกทั้งรายชื่อครึ่งหนึ่งที่พวกเขาล่ามาได้ก็ไม่ได้รับการยอมรับจากกระบวนการที่ยาสุนีดอสเรียกว่าเป็นกระบวนการที่ฉ้อฉล</p>
<p>หลังจากที่มีการต่อสู้ทางกฎหมายเป็นเวลา 10 ปี ในวันที่ 9 พ.ค. 2566 ศาลก็ตัดสินว่ารายชื่อของยาสุนีดอสสามารถนำมาใช้ได้ จนทำให้เกิดการลงประชามติเกี่ยวกับบล็อก 43 ในที่สุด</p>
<p>แต่หนึ่งสัปดาห์หลังจากที่ศาลตัดสินในเรื่องนี้ ประธานาธิบดีฝ่ายขวา กิลเลอร์โม ลาสโซ ก็ประกาศให้มีการจัดเลือกตั้งอย่างกระทันหัน หลังจากที่เขาสั่งยุบสภาก่อนหน้าที่จะถูกโหวตถอดถอนเพราะกำลังเผชิญเรื่องอื้อฉาวจากการฟอกเงินและการมีส่วนเกี่ยวข้องกับแก็งค์ค้ายาเสพติด มีการตั้งวันเลือกตั้งไว้ 20 ส.ค. ซึ่งจะส่งอิทธิพลต่อการเรียกร้องเรื่องยาสุนีด้วย</p>
<p>ดูเหมือนว่านักการเมืองทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่่ายขวาของเอกวาดอร์จะต้องการให้มีการขุดเจาะน้ำมันเกิดขึ้น มีอดีตประธานธนาคารกลางเอกวาดอร์ที่เป็นพวกสนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันประเมินการสูญเสียรายได้ที่จะเกิดขึ้นถ้าหากไม่ขุดเจาะน้ำมันเอาไว้ในแบบที่เกินจริง ทั้งๆ ที่ในงานศึกษาวิจัยด้านธรณีวิทยาระบุว่าต่อให้มีการขุดเจาะน้ำมันที่ยาสุนีจริงแต่แหล่งน้ำมันสำรองเอกวาดอร์ก็ยังจะหมดไปโดยส่วนใหญ่ภายในปี 2572 อยู่ดี</p>
<p>ฝ่ายนักกิจกรรมยาสุนีดอสก็พยายามใช้วิธีการรณรงค์สนับสนุนจากรากหญ้าให้เกิดการสนับสนุนในระดับประชาชนแทนนักการเมือง มีการใช้โซเชียลมีเดีย, การเดินขบวน, ศิลปะในที่สาธารณะ, บทเพลง และวิดีโอ โดยอาศัยชื่อการรณรงค์ว่า #SialYasuni (โหวตใช่ให้ยาสุนี) ที่พยายามสร้างความตระหนักในเรื่องผลกระทบจากมลภาวะและความสำคัญในการรักษาป่าอเมซอนที่มีต่อคนรุ่นต่อไปของโลก</p>
<p>ถึงแม้ว่าประชากรในเขตอเมซอนจะเป็นประชากรร้อยละ 5 ของเอกวาดอร์ และผู้คนจำนวนมากก็ไม่มีเอกสารตัวตนทางกฎหมายในการที่จะโหวตลงมติได้ แต่ในช่วงวันก่อนลงประชามติพวกเขาก็พากันส่งคาราวานไปที่เมืองใหญ่ๆ เพื่อส่งสารถึงประชาชนให้ "โหวตใช่ให้ยาสุนี" เพื่อลูกหลานในอนาคต</p>
<p>ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาไม่มีใครได้เสียงข้างมาก ทำให้การเมืองในเอกวาดอร์อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อและต้องมีการโหวตรอบตัดสินในเดือน ต.ค. ที่จะถึงนี้ ในขณะเดียวกันการทำประชามติของยาสุนีก็เกิดขึ้นในช่วงที่มีความรุนแรงจากกลุ่มแก็งค์อาชญากรรมค้ายาและการลอบสังหารทางการเมืองที่สะเทือนขวัญ ซึ่งผลการลงประชามติในครั้งนี้จะส่งผลสะเทือนไปถึงทั้งการเลือกตั้งรอบตัดสิน และเป็นการสร้างมาตรฐานให้กับเรื่องประชาธิปไตยทางตรงและการแก้ปัญหาโลกร้อนในระดับโลก</p>
<p>ถึงแม้ว่าฝ่ายปกป้องยาสุนีจะได้รับชัยชนะในการลงประชามติ แต่ขบวนการเคลื่อนไหวก็ยังไม่นิ่งนอนใจ พวกเขาบอกว่ายังจะต้องคอยจับตามองการนำหลักการจากประชามติมาปฏิบัติใช้ นอกจากนี้ยังต้องคุ้มครองพื้นที่อื่นๆ ที่เหลือของยาสุนีและโดยรอบยาสุนีด้วย</p>
<p>อย่างไรก็ตามแรงสนับสนุนจากมวลชนในการคุ้มครองทรัพยากรทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติของเอกวาดอร์ก็เป็นสิ่งที่ดูเบาไม่ได้เลย นิฮิวบอกว่า "พวกเรามีเด็กๆ ที่ควรจะได้รับประสบการณ์แบบเดียวกับที่พวกเราเคยได้รับ สรรพสัตว์, ปลา, ต้นไม้, น้ำสะอาด และน้ำตก ... น้ำมันยังคงอยู่ใต้พื้นดิน นี่คือสิ่งที่พวกเราเป็นคนตัดสิน"</p>
<p><span style="color:#2980b9;">เรียบเรียงจาก</span></p>
<p><span style="color:#2980b9;">Ecuador Votes to Keep Yasuní Oil in the Ground in Historic Referendum, </span><span style="color:#2980b9;">NACLA,</span><span style="color:#2980b9;"> 23-08-2023</span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/105765
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ชาวแม่สะเรียงคัดค้านเหมืองแร่และโรงโม่หิน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 327 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 17:06:12
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - แนะขยายโอกาสการศึกษาแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่น
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 257 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 03:32:28
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - งานวิจัยชี้คนทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงด้านความจำและการรับรู้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 342 กระทู้ล่าสุด 28 สิงหาคม 2566 14:19:50
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - รพ.มิตรประชาพร้อมรับส่งต่อผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 329 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2566 11:02:13
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เอกวาดอร์ลงประชามติต้านการขุดเจาะน้ำมัน เพื่ออนุรักษ์พื้นที่อุทยานยาสุนี
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 134 กระทู้ล่าสุด 04 กันยายน 2566 20:01:57
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.505 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 17 พฤศจิกายน 2567 22:01:58