กสม.หารือ รมว.ยุติธรรม ดันแก้ปมสิทธิฯ ย้ำหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และไม่เลือกปฏิบัติ
<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-09-28 00:38</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหารือรัฐมนตรีและผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาสิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ย้ำหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และหลักการไม่เลือกปฏิบัติ</p>
<p> </p>
<p>27 ก.ย.2566 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รายงานต่อสื่อมวลชนว่า วันนี้ (27 ก.ย.) เวลา 14.00 น. ที่ห้องประชุม 704 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุ<wbr></wbr>ษยชนแห่งชาติ (สำนักงาน กสม.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม. ) ได้ประชุมร่วมกับพันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) และคณะโดยมีประเด็นสำคัญเกี่<wbr></wbr>ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนู<wbr></wbr>ญและหลักสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการสันนิษฐานไว้ก่อนว่<wbr></wbr>าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริ<wbr></wbr>สุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่<wbr></wbr>สุดว่าได้กระทำความผิด และหลักความเสมอภาค ที่จะต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ<wbr></wbr>ต่อบุคคล ทุกคนจะต้องได้รับการคุ้<wbr></wbr>มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน</p>
<p>กสม. ได้หารือเรื่องการแก้กฎกระทรวง กำหนดสถานที่อื่นที่ใช้ในการขัง จำคุก หรือควบคุมผู้ต้องหา จำเลย หรือผู้ซึ่งต้องจำคุกตามคำพิ<wbr></wbr>พากษาถึงที่สุด พ.ศ. 2552 เพื่อให้ศาลออกคำสั่งควบคุมตั<wbr></wbr>วในสถานที่อื่นซึ่งมิใช่เรือนจำ หรือการคุมขังที่บ้าน การจัดประเภทเรือนจำโดยการแยกคุ<wbr></wbr>มขังผู้ต้องขังระหว่างพิ<wbr></wbr>จารณาคดี ผู้ต้องขังเด็ดขาด และผู้ต้องขังคดีทางการเมือง เพื่อให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุ<wbr></wbr>ษยชนและหลักทัณฑวิทยา การตรวจเยี่ยมและการพั<wbr></wbr>ฒนามาตรฐานการตรวจเยี่ยมสถานที่<wbr></wbr>ควบคุมตัว/คุมขัง เพื่อรองรับการเป็นกลไกป้องกั<wbr></wbr>นการทรมานระดับชาติ (NPM) ซึ่ง กสม. พร้อมเป็นองค์กรหลักในการดำเนิ<wbr></wbr>นการ</p>
<p>กสม. ยังได้หารือถึงการดำเนินงานร่<wbr></wbr>วมกันกับทางกระทรวงยุติธรรมเพื่อขับเคลื่อนในเรื่<wbr></wbr>องอนาคตกระบวนการยุติ<wbr></wbr>ธรรมทางอาญาของประเทศไทยเพื่<wbr></wbr>อให้เป็นหลักประกันความยุติ<wbr></wbr>ธรรมสำหรับทุกคน เช่น การผลักดันการออกกฎหมายลำดั<wbr></wbr>บรองตามพระราชบัญญัติป้องกั<wbr></wbr>นและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 การเร่งรัดให้ไทยเข้าเป็นภาคี<wbr></wbr>ในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้<wbr></wbr>วยการคุ้มครองบุคคลทุ<wbr></wbr>กคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (CED) ซึ่งทางกระทรวงยุติธรรม แจ้งว่าอยู่ระหว่างการเสนอรั<wbr></wbr>ฐบาลพิจารณาเข้าเป็นภาคี การผลักดันร่างพระราชบัญญัติ<wbr></wbr>ทะเบียนประวัติอาชญากรเพื่อเป็<wbr></wbr>นกฎหมายกลางในการกำหนดรูปแบบศู<wbr></wbr>นย์กลางข้อมูลทะเบียนประวัติ<wbr></wbr>อาชญากรซึ่งจะนำไปสู่การคุ้<wbr></wbr>มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา รวมไปถึงผู้พ้นโทษ นอกจากนี้ กสม. ยังเสนอให้กระทรวงยุติธรรมเร่งรัดผลักดันร่างกฎหมายอื่นๆ เช่น ร่างพระราชบัญญัติขจัดการเลื<wbr></wbr>อกปฏิบัติต่อบุคคล และร่างพระราชบัญญัตินิ<wbr></wbr>รโทษกรรมแก่ราษฎรซึ่งได้รั<wbr></wbr>บความเสียหายหรือได้รั<wbr></wbr>บผลกระทบจากการดำเนิ<wbr></wbr>นการตามนโยบายของรัฐด้วย</p>
<p>ที่ประชุมยังได้หารือถึงการพั<wbr></wbr>ฒนากระบวนการยุติธรรมและเสริ<wbr></wbr>มสร้างสันติภาพในพื้นที่จังหวั<wbr></wbr>ดชายแดนภาคใต้ และกรณีการปฏิบัติต่อผู้ต้องขั<wbr></wbr>งสูงอายุที่เจ็บป่วย ที่จะต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้<wbr></wbr>ต้องขังที่มีสถานภาพทางสั<wbr></wbr>งคมแตกต่างกัน โดย กสม.ได้เน้นย้ำถึงการปฏิบัติต่<wbr></wbr>อผู้ต้องขังอย่างเสมอภาคและเท่<wbr></wbr>าเทียมกัน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/09/106114