[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 ธันวาคม 2567 18:37:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำรับอาหารของท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร จากอิทธิพลอาหารชาววัง  (อ่าน 226 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2492


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 19 ตุลาคม 2566 15:20:48 »



ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร หนังสือกับข้าวสอนลูกหลานของท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร

ตำรับอาหารของท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร
จากอิทธิพลอาหารชาววัง คลุ้งกลิ่นอาย ไทย จีน แขก ฝรั่ง


ผู้เขียน - กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ - www.silpa-mag.com วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2566


ท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร เป็นธิดาของหมื่นนรารักษ์ (ปิ่น บางยี่ขัน) กับนางหุ่น เกิดในตระกูลสนธิรัตน์ ได้สมรสกับพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) เมื่อ พ.ศ.2419 ท่านผู้หญิงกลีบได้เขียนตำราอาหารชื่อ “หนังสือกับข้าวสอนลูกหลานของท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร” ซึ่งเป็นหนังสือที่ถ่ายทอดความรู้เรื่องอาหารแก่ลูกหลาน ถือเป็นตำราอาหารมรดกตกทอดของตระกูลไกรฤกษ์และตระกูลที่เกี่ยวข้อง

ในวัยเด็กท่านผู้หญิงกลีบ ได้เข้าออกในพระบรมมหาราชวังมาโดยตลอด ได้รับการเลี้ยงดูจากเจ้าจอมพุ่มในรัชกาลที่ 3 ต่อจากนั้นก็ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจามรี, เจ้าจอมมารดาดวงคำ ในรัชกาลที่ 4 ตามลำดับ ช่วงเวลาที่อยู่ในวังนี้เองที่ท่านผู้หญิงกลีบได้เรียนรู้วิถีกุลสตรีชาววังทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ผึกหัดกิริยามารยาท เย็บปักถักร้อย จัดดอกไม้ ทำขนม และทำอาหาร

ต่อมาเมื่อมีครอบครัวแล้ว จึงได้เขียนตำราขึ้น ตำราอาหารของท่านผู้หญิงกลีบมีลักษณะเป็นตำราอาหารชาววังที่ไม่ต่างกับตำราอาหารของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ (ผู้เขียนตำรา “แม่ครัวหัวป่าก์”) แต่ตำราอาหารของท่านผู้หญิงกลีบมีกลิ่นอายของความเป็นจีนที่ถูกปรับให้เป็นอาหารไทย

นั่นเป็นเพราะตระกูลไกรฤกษ์สืบเชื้อสายมาจากชาวจีนตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา มีฐานะมั่นคง รับราชการมีบรรดาศักดิ์สูง จึงสามารถรักษาวัฒนธรรมและประเพณีแบบจีนไว้ในสายตระกูลมาอย่างยาวนาน คุ้นเคยการรับประทานอาหารจีน ทำอาหารในพิธีตรุษสารทและการบูชาบรรพบุรุษ ดังนั้น ตำราอาหารของท่านผู้หญิงกลีบจึงมีกลิ่นอายของอาหารจีนค่อนข้างสูง ประกอบกับท่านผู้หญิงกลีบเติบโตมาในสังคมไทยช่วงที่อิทธิพลจากตะวันตกเข้ามาอย่างเด่นชัดแล้ว ทำให้ตำราอาหารของท่านผู้หญิงกลีบได้รับอิทธิพลจากอาหารตะวันตกอยู่ด้วยเช่นกัน

ยกตัวอย่างเมนูประเภทข้าว เช่น ข้าวต้ม มีข้าวต้มกุ้ง. ข้าวต้มปลา. ข้าวต้มเนื้อไก่. (เซ่งจี๊ ตับเหล็ก) ข้าวต้มโจ๊ก, ข้าวผัด มีข้าวผัดชาววัง ใส่หมูต้มเค็ม กุ้ง ไข่. ข้าวผัดตลาด ใส่เนื้อวัวหรือไก่ ปรุงรสด้วยน้ำเต้าหู้ยี้กับซอสมะเขือเทศ. ข้าวผัดอย่างไทย ใส่กุ้งแห้ง เต้าหู้เหลือง หัวผักกาดเค็ม. ข้าวผัดกะปิ. ข้าวผัดกุ้งใส่น้ำพริกเผา. โดยเฉพาะข้าวผัดเต้าหู้ยี้กับข้าวผัดหนำเลี๊ยบหรือหนำพ๊วย ซึ่งมีกลิ่นอายของจีนชัดเจน

นอกจากนี้เมนูประเภทข้าวอีกหลายเมนูที่กลิ่นอายของอาหารนานาชาติ เช่น ข้าวบุหรี่ (อย่างแขก) ผัดข้าวกันเนย ใส่หญ้าฝรั่น แล้วใส่ไก่หุงรวมกัน คล้ายข้าวหมกไก่, ข้าวบุหรี่ (อย่างไทย) หุงด้วยน้ำกะทิ ใส่ลูกกระวานและกานพลู, ข้าวต้มฝรั่ง ข้าวจะน้อยกว่าผัก คล้ายซุปผักของฝรั่ง ซึ่งใส่ข้าวเป็นส่วนผสม

สุนทรี อาสะไวย์ อธิบายว่า “ข้อน่าสังเกตก็คือ การใช้วัตถุดิบประเภทเนื้อหมูและปลาทะเลได้มีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการให้ความสำคัญกับการต้มน้ำแกงแบบจีน ตำรับของท่านผู้หญิงกลีบมีอาหารประเภทแกงจืดที่มีอิทธิพลจากอาหารจีนเพิ่มขึ้นจากของท่านผู้หญิงเปลี่ยน…”

เช่น แกงไข่นกกระสา แกงจืดเอ็นปลา หนังแรดเอ็นกวาง แกงจืดเซ่งจี๊ แกงไก่เจ๊ก แกงจืดลูกกรอก แกงจืดปลาแดง แกงจืดตะพาบน้ำ และอีกตำรับที่น่าสนใจ อันเป็นการผสมผสานระหว่าง ไทย จีน แขก คือ แกงจีจ๋วน เป็นแกงกะทิใส่ไก่ ใส่เครื่องแกงแดง โป๊ยกั๊ก (จีน) ขมิ้นผง (แขก) ส้มซ่า (ไทย) และพริกหยวก

ส่วนอาหารประเภทเครื่องว่างหรือของว่างก็มีความหลากหลาย ตั้งแต่อาหารจีนประเภทหมี่พะเยา ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่ปู เกี๊ยวลูก ไปจนถึงเนื้อสะเต๊ะ ข้าวตังหน้าตั้ง ข้าวตังบรรดาศักดิ์ ข้าวเม่าหมี่ และเมี่ยงหลายชนิด เช่น เมี่ยงฝรั่ง เมี่ยงกระท้อน เมี่ยงเด็ก เมี่ยงชูชก และเมี่ยงปลาทู

สุนทรี อาสะไวย์ สรุปว่า “ในตำรับของท่านผู้หญิงกลีบ พบว่าอาหารประเภทกับข้าวของจานเริ่มมีมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นอาหารจีนที่ทำง่าย และขั้นตอนไม่ซับซ้อนเท่าอาหารไทย อาจจะเป็นเพราะสังคมกำลังเริ่มเปลี่ยนแปลง คนจีนมีฐานะในสังคมเพิ่มมากขึ้น อาหารจีนจึงได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมมากขึ้นด้วย“

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.221 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 20 พฤศจิกายน 2567 11:39:28