[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 20:50:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สุรพศ ทวีศักดิ์: เมื่อ ‘พระ AI’ ท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ของ ‘พระคน’  (อ่าน 269 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2566 03:07:02 »

สุรพศ ทวีศักดิ์: เมื่อ ‘พระ AI’ ท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ของ ‘พระคน’
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-11-08 22:05</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สุรพศ ทวีศักดิ์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>หลังจากโลกโซเชียลมีการเผยแพร่และแชร์ภาพพระที่วาดโดย AI หรือที่เรียกกันเล่นๆ ว่า “พระ AI” ในเชิงเปรียบเทียบกับ “พระคน” พระ AI ห่มจีวรถูกระเบียบเหมือนพระคนทุกอย่าง แต่แสดงออกตรงกันข้ามกับ “ภาพจำ” เกี่ยวกับพระคนตามความเชื่อที่สืบทอดกันมา เช่น พระ AI แข่งรถ เล่นคอนเสิร์ต ร้องคาราโอเกะ นั่งดื่มกินกับสาวๆ และอื่นๆ ที่ล้วนแต่ท้าทายหรือ “สลาย” ความเชื่อเรื่องความสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ของพระคนโดยสิ้นเชิง </p>
<p>ต่อปรากฏการณ์ดังกล่าว โฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แถลงว่า “อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ภาพลักษณ์ของทางคณะสงฆ์ และอาจทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความไม่สบายใจ” พศ. จึงทำหนังสือถึงตำรวจไซเบอร์ เพื่อให้ตรวจสอบ ดำเนินการนำภาพที่ไม่เหมาะสมออกไป และ พศ. เองก็กำลังตรวจสอบแหล่งที่มาของภาพ AI พระสงฆ์แข่งจักรยานยนต์ เพื่อประสานตำรวจไซเบอร์ดำเนินการต่อไป</p>
<p>ผมเองไม่แน่ใจว่าตำรวจไซเบอร์จะใช้อำนาจดำเนินการเรื่องนี้ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์หรือกฎหมายฉบับใด แต่ถ้าพูดในทาง “หลักการ” ของการใช้เสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออก จะผิดหลักเสรีภาพดังกล่าวก็ต่อเมื่อเป็นการ “ทำอันตรายต่อคนอื่น” เช่น มีการใช้ AI วาดภาพพระ ก พระ ข ซึ่งเป็นพระคนที่มีตัวตนอยู่จริง โดยวาดภาพพระ ก พระ ข แข่งรถ เล่นคอนเสิร์ต หรือกระทำสิ่งอื่นๆ ในทางเสียหาย โดยที่พระ ก พระ ข ไม่เคยทำแบบนั้นจริงๆ หรือเป็นการละเมิด “สิทธิส่วนบุคคล” ในกรณีอื่นๆ แบบนี้ถึงจะถือได้ว่า “ขัดหลักเสรีภาพ” และรัฐสามารถใช้กฎหมายยับยั้งหรือเอาผิดได้ </p>
<p>แต่ข้ออ้างที่ว่า “อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ภาพลักษณ์ของทางคณะสงฆ์” ยังไม่ใช่ข้ออ้างที่ “สมเหตุสมผล” พอที่จะใช้กฎหมายยับยั้งการใช้เสรีภาพในการแสดงออกได้ เพราะเป็นข้ออ้างบนพื้นฐานของ “ความเชื่อ” สองระดับ คือ </p>
<p>1. ความเชื่อระดับการคาดเดา คือเชื่อว่า “อาจส่งผลให้เกิดความเสียหาย...” ซึ่งเป็นความเห็นหรือดุลพินิจส่วนบุคคลที่เป็นเรื่อง “อัตวิสัย” (subjective) ของแต่ละคน ซึ่งย่อมจะเห็นไม่ตรงกัน เพราะบางคนอาจเห็นว่าภาพพระ AI อาจส่งผลเสียหายต่อภาพลักษณ์ของคณะสงฆ์ แต่บางคนอาจเห็นว่าไม่ได้ส่งผลเสียหายเช่นนั้น เพราะคนดูภาพเขาแยกแยะได้อยู่แล้วว่าแบบไหนคือ “พระ AI” แบบไหนคือ “พระคน” ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับภาพลักษณ์ของพระคนได้จริงเกิดจากการกระทำหรือความประพฤติของพระคนตามที่เป็น “ข่าวฉาว” ต่างๆ มากกว่า </p>
<p>ดังนั้น ความเชื่อที่ว่า “อาจส่งผลให้เกิดความเสียหาย...” จึงไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงอย่างเป็น “ภาววิสัย” (objective) ที่มีหลักฐานเชิงประจักษณ์ให้ทุกคนเห็นร่วมกันได้ หรือมีหลักฐานแสดงรูปธรรมของความเสียหายเพียงพอที่รัฐจะใช้กฎหมายเอาผิดได้</p>
<p><strong>2. ความเชื่อระดับศรัทธา</strong> (faith) คือความศรัทธาในภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ที่สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์กว่าคนธรรมดาทั่วไป เพราะถูกสอนมาว่าพระสงฆ์คือผู้ละกิเลสแล้ว หรือเป็นผู้ฝึกตนเพื่อละกิเลส พระสงฆ์จึงต้องมีภาพลักษณ์ของผู้สงบ สำรวม สมถะ เรียบง่าย ปล่อยวาง ไม่ยึดติดเรื่องใดๆ ในทางโลก จึงกระทำหรือแสดงออกแบบโลกย์ๆ อย่างภาพพระ AI ไม่ได้ ประเด็นความเชื่อระดับศรัทธานี้มีข้อพิจารณาอย่างน้อย 2 ด้าน คือ </p>
<p>ด้านแรก ในสังคมสมัยใหม่ที่มีลักษณะเป็น “สังคมโลกวิสัย” (secular society) ถือว่าความเชื่อหรือศรัทธาทางศาสนาใดๆ เป็น “ความเชื่อส่วนบุคคล” ดังนั้น จึงเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ที่ใครๆ จะเลือกศรัทธาในภาพลักษณ์ที่สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์เหนือคนธรรมดาของพระสงฆ์หรือไม่ก็ได้ </p>
<p>คนที่ศรัทธาก็มีเสรีภาพในการนำเสนอ, เผยแพร่, ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ที่ดีงามน่าเลื่อมใสของพระสงฆ์ได้เต็มที่อยู่แล้ว และทำเช่นนั้นกันมายาวนานอยู่แล้ว ส่วนผู้ที่ไม่เชื่อหรือไม่ศรัทธาก็มีการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ภาพลักษณ์ที่ไม่ดี หรือล้อเลียนเสียดสีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของพระสงฆ์ในรูปแบบของคำพูด ข้อเขียน ภาพวาด และอื่นๆ มาตลอดประวัติศาสตร์ยาวนานอยู่แล้ว </p>
<p><strong>แม้แต่ในคัมภีร์ไตรปิฎกเองก็มีเรื่องเหล่านี้ พุทธะเองก็ไม่เคยเรียกร้องให้ใช้ “อำนาจรัฐ” มาจัดการกับผู้ที่ไม่เชื่อ หรือไม่ศรัทธาที่โจมตี วิจารณ์ หรือล้อเลียนเสียดสีตัวท่านเองและพระสงฆ์ แต่กลับสอนให้มีสติ มีขันติธรรม เผชิญการท้าทายเหล่านั้นด้วยจิตใจเปิดกว้าง หนักแน่น และโต้ตอบด้วยเหตุผล</strong></p>
<p>ด้านที่สอง คือด้านที่เป็น “ความจริง” ว่าแม้จะมีการนำเสนอ, เผยแพร่, ประชาสัมพันธ์เพื่อปลูกฝังศรัทธาในภาพลักษณ์ของพระสงฆ์ที่สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์กว่าคนธรรมดาทั่วไปผ่านการสร้าง “เรื่องเล่าหลัก” (grand narrative) ต่างๆ ทั้งในระดับคัมภีร์ และด้วยวิธีอื่นๆ ว่า “พระสงฆ์คือผู้ละกิเลสแล้ว หรือเป็นผู้ฝึกตนเพื่อละกิเลส พระสงฆ์จึงต้องมีภาพลักษณ์ของผู้สงบ สำรวม สมถะ เรียบง่าย ปล่อยวาง ไม่ยึดติดเรื่องใดๆ ในทางโลก ปฏิบัติตนมุ่งสู่นิพพานหรือความหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์เท่านั้น”  แต่ตาม “ข้อเท็จจริง” แล้ว พระสงฆ์ยังมี “ยศช้างขุนนางพระ” รับเงินนิตยภัตจาก “ภาษีประชาชน” นอกเหนือจากเงินทำบุญ พระสงฆ์อยู่ใต้ระบบ “มหาเถรสมาคม” ซึ่งเป็น “ศาสนจักรของรัฐ” ที่ทำหน้าที่สนับสนุนอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีอำนาจทางกฎหมาย และรับงบประมาณจากภาษีประชาชน ซึ่งระบบศาสนจักรดังกล่าวขัดแย้งกับหลักการรัฐโลกวิสัย (secular state) ที่ต้อง “แยกศาสนจักรกับรัฐ” (separation of church and state) </p>
<p>กล่าวคือ โดยทั่วไปรัฐที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ มักจะเป็นรัฐโลกวิสัยที่แยกสถาบันหรือองค์กรศาสนาออกจากการเป็นสถาบันหรือองค์กรของรัฐ ปล่อยให้องค์กรทุกศาสนาเป็นเอกชนทั้งหมด และแยกหลักความเชื่อทางศาสนาออกจากอุดมการณ์รัฐ หรือหลักการปกครองทั้งหมด ปล่อยให้เรื่องศาสนาเป็น “ความเชื่อส่วนบุคคล” ของแต่ละคน, ของกลุ่มศาสนา นิกายศาสนา หรือชุมชุนผู้ศรัทธานั้นๆ โดยรัฐไม่ก้าวก่าวแทรกแซงกิจการภายในขององค์กรศาสนาใดๆ ไม่อุปถัมภ์หรือส่งเสริมศาสนาใดๆ เพียงแต่ให้หลักประกันเสรีภาพ ความเสมอภาคทางศาสนา และความเชื่ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ศาสนา และส่งเสริมการมีความอดกลั้น (tolerance) ระหว่างศาสนาและความเชื่อต่างๆ เท่านั้น </p>
<p>แต่ระบบคณะสงฆ์ไทยเป็นระบบที่ขัดแย้งกับหลักการรัฐโลกวิสัยดังกล่าว พระสงฆ์เองยังมียศศักดิ์ (สมณศักดิ์ หรือฐานันดรพระ) มีอำนาจทางกฎหมาย และใช้งบประมาณต่างๆ จากภาษีประชาชนอยู่ มี “บัญญีเงินฝากส่วนตัว” และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ “ทางโลก” ที่สวนทางกับภาพลักษณ์สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์เหนือคนธรรมดาตามที่ประชาสัมพันธ์กัน จึงเป็นเหตุให้บรรดาคนที่ไม่ศรัทธาในภาพลักษณ์ดังกล่าว (แต่พวกเขาต้องจ่ายภาษีที่ถูกนำไปสนับสนุนความเชื่อเช่นนั้น) ตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ และล้อเลียนเสียดภาพลักษณ์เช่นนั้น ด้วยวิธีการต่างๆ จนกระทั่งมาถึงยุคภาพวาดพระ AI อย่างที่เห็น</p>
<p>ส่วนประเด็นว่าภาพวาดพระ AI เป็นงานศิลปะหรือเป็นการนำเสนอที่ “สร้างสรรค์” หรือไม่? เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่คงวิพากษ์วิจารณ์กันไป แต่การล้อเลียนเสียดสีเช่นนั้นอยู่ในขอบเขตของการใช้ “เสรีภาพ” หรือไม่ หรือขัดหลักเสรีภาพหรือไม่? เราก็ต้องตอบตามหลักเสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การแสดงออกในหลักสิทธิมนุษยชนว่า “ยังอยู่ในขอบเขตการใช้เสรีภาพ” หรือ “ไม่ขัดหลักเสรีภาพ” หากไม่เป็นการ “ทำอันตราย” ต่อทรัพย์สิน สิทธิ เสรีภาพ ร่างกาย ชีวิต และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น หรือไม่ทำอันตรายในลักษณะเดียวกันต่อสถาบันทางสังคมหรือองค์กรใดๆ ที่พิสูจน์ได้อย่างเป็นภาววิสัย </p>
<p><strong>ดังนั้น เราจึงอ้าง “ความเชื่อส่วนบุคคล” หรือ “ความรู้สึกส่วนตัว” ที่ไม่ชอบใจ ไม่สบายใจ ไม่พอใจการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การแสดงออกใดๆ มาเรียกร้องให้ใช้กฎหมายเอาผิดไม่ได้ ถ้าทำได้ก็เท่ากับเรายินยอมให้ใช้อำนาจรัฐละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนได้</strong></p>
<p>ปัญหาใหญ่จริงๆ ของบ้านเราคือ เรายินยอมให้มีการใช้อำนาจรัฐละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนได้ เช่น ยอมให้มีการใช้มาตรา 112, 116 ละเมิดเสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด การเขียน การแสดงออก การชุมนุมทางการเมือง การเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้เป็นประชาธิปไตย หรือการแก้ไขและยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ เพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้จริง มีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองและอื่นๆ ได้จริงอย่างที่สังคมประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าเขามีกัน </p>
<p>พูดอีกอย่างคือ เราถูกปลูกฝังให้ “รู้สึกอ่อนไหว” ต่อการตั้งคำถาม วิพากษ์ วิจารณ์ หรือการล้อเลียนเสียดสีบุคคลสาธารณะ หรือสถาบันต่างๆ ที่ใช้ภาษีประชาชนซึ่งมีอำนาจที่ศักดิ์สิทธิ์เข้มแข็งมั่นคงอยู่แล้ว ไม่สั่นคลอนเพียงเพราะถูกตั้งคำถาม วิจารณ์ หรือล้อเลียนเสียสีอยู่แล้ว และเราถูกลวงให้ “ไม่รู้สึกอ่อนไหว” ต่อการใช้อำนาจรัฐละเมิดเสรีภาพทางความคิดเห็น การพูด และการแสดงออกของประชาชนที่เห็นชัดๆ ว่าพวกเขาเหล่านั้นถูกขังคุก และได้รับความทุกข์ทรมานอื่นๆ เพียงเพราะใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นในทางที่ผู้มีอำนาจ หรือคนบางกลุ่มไม่ชอบ</p>
<p>พูดให้ชัดคือ สังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่เคารพหลักเสรีภาพ มักจะสร้าง “รูปปฏิมาศักดิ์สิทธิ์” ของชนชั้นปกครองและนักบวชตามคติความเชื่อแบบยุคก่อนสมัยใหม่ขึ้นมาให้คนในยุคสมัยใหม่ต้องเคารพสักการะ โดยมีกฎหมายบังคับศรัทธาลงโทษประชาชนที่ถูกมองว่าไม่เคารพสักการะ หรือหาทางใช้กฎหมายอื่นๆ ลงโทษประชาชนที่มีความคิดแบบยุคสมัยใหม่ที่ยึดถือ “ความเป็นคนเท่ากัน” ว่าไม่มีใครสูงส่งศักดิ์สิทธิ์เหนือเสรีภาพในการวิจารณ์ตรวจสอบ ถามว่าพุทธศาสนาและสถาบันหรือองค์กรทางพุทธศาสนามีไว้เพื่อสร้างสังคมให้ล้าหลังเช่นนี้หรือ </p>
<p>แต่ความท้าทายของสถาบันศาสนาและผู้ศรัทธาศาสนาในยุคที่อำนาจใดๆ ไม่สามารถควบคุมโลกของการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าได้จริง ก็คือสถาบันศาสนาและผู้ศรัทธาเหล่านั้นจะมีวิธีอยู่ร่วมกับการแสดงออกหลากรูปแบบที่ “ไม่ถูกใจ” หรือ “ไม่ชอบใจ” เพราะขัดกับ “ความเชื่อ” หรือความศรัทธาของสถาบันตนหรือของพวกตนอย่างเปิดกว้างหรือมีความอดกลั้นได้อย่างไร ในเมื่อคุณไม่สามารถขจัดสิ่งตรงข้ามกับศรัทธา หรือสิ่งที่คุณไม่ชอบให้หมดไปได้</p>
<p><strong>หรือพูดในเชิงสร้างสรรค์คือ คุณจะพิสูจน์ “คุณค่า” ของศรัทธาทางศาสนา บทบาทของพระสงฆ์และอื่นๆ อย่างไรให้สังคมร่วมสมัยยอมรับได้ว่า หลักคำสอนพุทธศาสนา บทบาทของพระสงฆ์และสถาบันสงฆ์ยังมีคุณค่า หรือมีประโยชน์ต่อการสนับสนุน “ความเป็นมนุษย์” ของประชาชนในยุคปัจจุบันที่ต้องมีศักดิ์ศรี มีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคตามมาตรฐานของหลักสิทธิมนุษยชนและระบอบประชาธิปไตยแบบประเทศที่เจริญแล้วเขามีกัน นี่ต่างหากคือปัญหาท้าทายต่อพระสงฆ์ ชาวพุทธ และสถาบันสงฆ์อย่างถึงราก ไม่ทราบว่า พ.ศ. มีคำตอบให้กับปัญหาท้าทายเช่นนี้อย่างไร!</strong></p>
<p> </p>
<p><strong>ที่มาภาพ:</strong> https://prachatai.com/journal/2023/11/106699</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทควhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106720
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.553 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 03 พฤศจิกายน 2567 17:14:36