[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 กันยายน 2567 20:04:11 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'การศึกษาสามัญ' ที่ตกต่ำภายใต้บริบทอันซับซ้อน ท่ามกลาง 'การศึกษาทางเลือก  (อ่าน 107 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 28 พฤศจิกายน 2566 23:10:50 »

'การศึกษาสามัญ' ที่ตกต่ำภายใต้บริบทอันซับซ้อน ท่ามกลาง 'การศึกษาทางเลือก' ที่กำลังเติบโตในชายแดนใต้
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-11-28 17:01</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>มูฮำหมัด ดือราแม : รายงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ผลการศึกษาสามัญที่ตกต่ำต่อเนื่อง ภายใต้บริบทอันซับซ้อนของการศึกษา ศาสนาและอัตลักษณ์ในชายแดนใต้ กับ 3 วิถีการศึกษาของนักเรียนมุสลิม เมื่อเด็กประถมและตาดีกาคือคนเดียวกัน รวมเกือบ 20 วิชาที่ต้องเรียน กำแพงภาษาที่กว่าจะข้ามไปได้ แต่เด็กบางคนก็ไม่อดทนพอ รัฐจะแก้ปัญหาอย่างไร จะบูรณาการวิชาสามัญกับศาสนาได้หรือไม่ เมื่อ “มลายูกับอิสลาม คือจิตวิญญาณของคนที่นี่” โรงเรียนรัฐจะดึงเด็กไว้ได้แค่ไหน ท่ามกลางการศึกษาทางเลือกที่กำลังเติบโต ข้อเสนอ 4 ข้อเพื่อพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับพื้นที่ รัฐจะสนใจหรือไม่</p>
<p>เป็นที่รู้กันว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา(สายสามัญ)ในชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ต่ำที่สุดของประเทศต่อเนื่องมาเป็นสิบๆ ปีแล้ว แต่ยังไม่เห็นรัฐบาลปัจจุบันจะมุ่งมั่นแก้ปัญหาอย่างจริงจังเป็นการเฉพาะ ทั้งที่เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของพื้นที่ และเป็นเงื่อนไขสำคัญของความขัดแย้งมาตั้งแต่อดีต</p>
<p>อีกทั้ง ในโอกาสของความพยายามสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในพื้นที่จากฝ่ายต่างๆ การแก้ปัญหาการศึกษาจึงเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการสร้างสันติภาพด้วยเช่นกัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผลสอบ O-NET ที่ตกต่ำต่อเนื่อง</span></h2>
<p>ผลคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ครั้งล่าสุดในปีการศึกษา 2564 ในวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ทั้งระดับชั้น ป.6 และ ม.3 และ วิชาภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ระดับชั้น ม.6 ของทั้ง 3 จังหวัดอยู่อันดับสุดท้ายทั้งหมด</p>
<p>บางทีได้ หากให้นักเรียนใน 3 จังหวัดโดยเฉพาะเด็กมลายูมุสลิมเรียนแค่ 4-5 วิชาข้างต้น และไม่มี“กำแพงภาษา” ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษานี้อาจจะดีขึ้นมากๆ ก็เป็นได้ แต่ความจริงอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น</p>
<p>เพราะระบบการศึกษาดั้งเดิมของพื้นที่มีอยู่แล้ว ประกอบกับปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม ทำให้ความต้องการทางการศึกษาของคนในพื้นที่มีความหลากหลาย ไม่เฉพาะวิชาสามัญเท่านั้น ปัจจัยหลายๆ อย่างเหล่านั้น จึงกลายเป็นอุปสรรคด้านในการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานและการเรียนรู้ในแบบเรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ศาสนา-อัตลักษณ์ บริบทอันซับซ้อนในชายแดนใต้</span></h2>
<p>ด้วยความทับซ้อนของโครงสร้างอัตลักษณ์พื้นฐานของสังคม “มุสลิม” “มลายู” “ปาตานี” ใน 3 จังหวัดนั้น ระบบการศึกษาดั้งเดิมของพื้นที่จึงให้ความสำคัญกับการศึกษาศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามลายูในการเรียนการสอนอย่างแนบแน่นจนถึงปัจจุบัน</p>
<p>สำคัญถึงขนาดระบบการศึกษาของรัฐยังต้องนำหลักวิชาอิสลามศึกษามาสอนเพิ่มด้วย เพื่อตอบสนองความต้องการทางการศึกษาของผู้ปกครองที่ต้องการให้เด็กมีความรู้ทั้งศาสนาและทางโลกไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เด็กสามารถดำรงตนเป็นศาสนิกที่ดีของสังคม</p>
<p>ขณะที่สถานศึกษาศาสนาควบคู่สามัญที่จัดตั้งโดยคนในพื้นที่เอง มักใช้ภาษามลายูในการถ่ายทอดวิชาความรู้ศาสนา โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม</p>
<p>ส่วนสถานศึกษาที่สอนศาสนาอย่างเดียว เช่น ตาดีกา (ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด) และ สถาบันศึกษาปอเนาะ ใช้ภาษามลายูอย่างเดียว ซึ่งเป็นภาษาหลักที่ใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวันของคนในพื้นที่</p>
<p>แต่ก็มี ตาดีกา บางแห่ง ที่อยู่ในเขตเมืองที่เริ่มใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอนศาสนาควบคู่กับภาษามลายูแล้ว เพราะเด็กในเมืองเริ่มใช้ภาษามลายูลดลง ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน</p>
<p>สถานศึกษาเหล่านี้ ยังสอนภาษาอาหรับด้วย ซึ่งเป็นภาษาทางศาสนาเพื่อให้เด็กสามารถศึกษาคัมภีร์อัลกุรอานได้อย่างถูกต้อง</p>
<p>ทั้ง 3 สถาบันการศึกษา คือ ตาดีกา ปอเนาะและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ยังถ่ายทอดความรู้ที่ครอบคลุมไปถึงจารีต ประเพณี และวัฒนธรรมมลายูปาตานีด้วย</p>
<p>ทว่า เนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ “ปาตานี” ด้านการเมืองการปกครองซึ่งอาจเสี่ยงต่อภัยความมั่นคงจากรัฐ ไม่ถูกนำมาถ่ายทอดผ่านระบบการเรียนการสอนในสถานศึกษา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">3 วิถีการศึกษาของนักเรียนมุสลิม</span></h2>
<p>ระบบการศึกษาของไทยภายใต้ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ระบุว่า เด็กและเยาวชนไทยต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบโรงเรียนของรัฐทุกสังกัด ไม่น้อยกว่า 12 ปี ซึ่งก็คือการเรียนระดับประถม 6 ปี และมัธยมศึกษา 6 ปี ในเวลาเวลาเรียนปกติ ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 ถึง 15.30 น.</p>
<p>ทว่าสำหรับ เด็กมลายูมุสลิมในระดับชั้นประถม นอกจากต้องเรียนในโรงเรียนประถมของรัฐแล้ว พวกเขายังต้องเรียนตาดีกาในวันเสาร์-อาทิตย์ (บางแห่งสอนตาดีกาในช่วงค่ำทุกวัน ยกเว้นวันพฤหัส)</p>
<p>หลังเลิกเรียนประถมและตาดีกาเด็กจะมีเวลาเล่นนิดหน่อย จนถึงช่วงค่ำเด็กก็จะต้องไปเรียนการฝึกอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านจากครูในชุมชนใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง (ในช่วงคั่นเวลาระหว่างละหมาดมัฆริบ และละหมาดอีชา) ซึ่งระบบหรือรูปแบบการสอนก็จะมีหลากหลายเช่นกัน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53360553577_04cd6af5c5_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพนักเรียนศาสนา</span></p>
<p>การเรียนและการฝึกทักษะการอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านนั้น เป็นเรื่องสำคัญสำหรับมุสลิมเพราะเป็นที่มาหนึ่งของหลักศาสนาอิสลาม การเริ่มต้นเรียนศาสนาของเด็กมุสลิมที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะสอนลูกหลานตั้งแต่เล็กๆ คืออัลกุรอ่าน</p>
<p>สรุปคือ วิถีการเรียนในระดับขั้นพื้นฐานของเด็กมลายูมุสลิมในพื้นที่โดยทั่วไปจะต้องใช้เวลาเรียน 3 ระบบพร้อมๆ กัน คือ สายสามัญ สายศาสนาและอัลกุรอ่าน เพราะฉะนั้นวันเสาร์-อาทิตย์ไม่ใช่วันหยุดสำหรับพวกเขา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เด็กประถมและตาดีกาคือคนเดียวกัน</span></h2>
<p>เมื่อเด็กเรียนจบชั้นประถมไปแล้ว เด็กก็จะเรียนจบตาดีกาไปพร้อมกัน เพราะมีการจัดลำดับชั้นเรียนให้เด็กจบพร้อมกัน เพราะเด็กประถมกับเด็กตาดีกาคือคนเดียวกัน ยกเว้นเด็กที่เรียนในโรงเรียนระดับประถมของเอกชนที่สอนศาสนาอิสลามควบคู่สามัญก็จะไม่เรียนตาดีกา เพราะได้เรียนวิชาศาสนาขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว</p>
<p>เมื่อเด็กเรียนจบชั้นประถม ส่วนใหญ่ก็จะเข้าเรียนต่อระดับมัธยมในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามก็จะได้เรียนทั้งวิชาสามัญและศาสนาในระดับที่สูงขึ้นไปพร้อมกันด้วยเช่นกัน</p>
<p>แน่นอนว่า เมื่อเด็กต้องเรียนทั้งสายสามัญและสายศาสนาไปพร้อมกัน จำนวนวิชาที่เรียนก็ต้องเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย บางโรงเรียนโดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามต้องใช้เวลาสอนตั้งแต่ 8 โมงถึง 5 โมงเย็นก็มี</p>
<p>ด้วยเหตุนี้ ทำให้เด็กมุสลิมในพื้นที่ต้องใช้เวลาไปกับการเรียนมากกว่าเด็กทั่วๆ ไปในประเทศไทย รวมๆ แล้วอาจสูงถึง 20 วิชา คือ วิชาในโรงเรียนประถมกับวิชาเรียนในตาดีกา และ วิชาศาสนากับสามัญในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำไมต้องมีอิสลามศึกษาควบคู่สามัญ</span></h2>
<p>เหตุใด จึงต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาศาสนาพร้อมกับสายสามัญ ก็เพราะ “ในบ้านเราศาสนาเป็นเรื่องสำคัญ เป็นเป้าหมายและแบบแผนของชีวิต เรามองความสำเร็จอยู่ที่การดำเนินชีวิตตามหลักศาสนา นี่คือคติ ค่านิยมและความเชื่อของมุสลิม”</p>
<p>นั่นคือคำอธิบายของ “ดิเรก เหมนคร” ผู้อำนวยการโรงเรียนรักษ์อิสลาม อ.เทพา จ.สงขลา</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53361885000_16d78be698_b.jpg" /></p>
<p>เขายืนยันว่า “เด็กควรได้เรียนเรื่องจิตวิญญาณก่อนคือวิชาศาสนา เพราะเกี่ยวข้องกับความเป็นพลเมือง ความสัมพันธ์ของคนและความยุติธรรม ไม่ใช่เรื่องพิธีกรรมอย่างเดียว”</p>
<p>คำกล่าวนี้สะท้อนเป้าหมายของผู้ปกครองส่วนใหญ่ที่อยากให้ลูกหลานได้เรียนศาสนาขั้นพื้นฐานตั้งแต่เด็กๆ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันตามควรลองของอิสลามก่อนจะเรียนวิชาในทางโลกตามมา</p>
<p>อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน โรงเรียนประถมของรัฐได้ยืดหยุ่นมากขึ้น และปรับการเรียนการสอนให้สอดรับกับบริบทของแต่ละพื้นที่มากขึ้น หลายโรงเรียนได้ออกแบบหลักสูตรให้เข้ากับข้อตกลงทางศาสนาและข้อตกลงของชุมชนท้องถิ่น เช่น มีการสอนวิชาอิสลามศึกษาในชั้นประถม ให้มีช่วงเวลาละหมาดและจัดห้องละหมาดให้นักเรียน รวมถึงปรับกฎระเบียบด้านการแต่งกายให้สอดคล้องกับคำสอนทางศาสนา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กำแพงภาษา กว่าจะข้ามไปได้</span></h2>
<p>การที่ต้องเรียนเยอะ อาจไม่ได้ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีเหตุผลอื่นๆ อีกหลายอย่างด้วย หนึ่งในนั้นคือ “กำแพงภาษา”</p>
<p>เนื่องจากผู้ปกครองและเด็กนักเรียนส่วนใหญ่ในพื้นที่มีภาษามลายูเป็น ‘ภาษาแม่’ และเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เด็กฟังและพูดภาษามลายูมาตั้งแต่เกิด</p>
<p>เมื่อเด็กเริ่มเข้าเรียนในโรงเรียนประถมที่ใช้ภาษาไทยในการเรียนการสอน ปัญหาจึงเกิดขึ้นทันที เพราะเท่ากับว่าพวกเขาต้องเรียนหนังสือด้วยภาษาไทยที่เป็นภาษาราชการ ซึ่งเป็นภาษาที่สองสำหรับพวกเขาที่พวกเขาไม่เข้าใจ</p>
<p>กว่าที่เด็กมลายูมุสลิมจะเข้าใจภาษาไทยให้ดีขึ้น ก็ต้องเสียเวลาไปกับการเริ่มทำความคุ้นเคยในโลกของภาษาที่สอง ผ่านการสื่อสารอย่างง่ายๆ ทั้งการฟังและการพูดจากครูผู้สอน</p>
<p>อาจบอกได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา(สายสามัญ) ที่ตกต่ำลงส่วนหนึ่งก็เกิดจากกำแพงภาษานี้เอง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เด็กบางคนก็ไม่มีความอดทนพอ</span></h2>
<p>ขณะที่เด็กบางคนก็ไม่มีความอดทนพอกับการที่ต้องพยายามข้ามกำแพงภาษานี้ไปให้ได้ และอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เด็กบางส่วนหลุดออกจากระบบการศึกษาไป</p>
<p>สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้โรงเรียนของรัฐหลายแหล่งตัดสินใจเข้าร่วมโครงการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น) ซึ่งต่อยอดมาจากโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลารับช่วงนำมาดำเนินงานต่อในระดับท้องถิ่น</p>
<p>การจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษา กลายเป็นสะพานที่ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาไทยได้ดีกว่าเดิม ซึ่งส่งผลไปถึงการมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ดีขึ้นตามมาในกลุ่มเด็กที่เข้าร่วมโครงการ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความพยายามของรัฐ</span></h2>
<p>เนื่องจากวิถีชีวิตคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ผูกพันกับหลักคำสอนทางศาสนาอิสลาม และมีความเป็นมลายูอย่างเข้มข้น แต่ยังจำเป็นต้องเรียนรู้วิชาทางโลกเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพด้วย ระบบการศึกษาทางเลือกจึงเกิดขึ้นมากมายหลายรูปแบบในพื้นที่ตามความต้องการทางการศึกษา</p>
<p>แม้แต่รัฐเองก็ยังต้องส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ แต่ข้อเรียกร้องให้ “รัฐพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่” ก็ยังเป็นหนึ่งในข้อเสนอแรกๆ ของการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้</p>
<p>เป็นข้อเสนอที่หมายถึง การพัฒนาการศึกษาศาสนา อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมควบคู่การศึกษาในสายสามัญ รวมถึงสายอาชีพ</p>
<p>ทว่า ระบบการศึกษาที่มีอยู่อย่างหลากหลายในพื้นที่นั้น ต่างก็มีประเด็นปัญหาแตกต่างกันไป การที่จะบูรณาการวิชาความรู้ทางศาสนากับสามัญ เพื่อลดภาระและเวลาเรียนของเด็กลง แต่ยังต้องตอบสนองความต้องการทางการศึกษาของพื้นที่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">5 สาย การศึกษาของเด็กมลายูมุสลิม</span></h2>
<p>สำหรับระบบการศึกษาและสถานศึกษาที่มีอยู่ในพื้นที่ที่เด็กมลายูมุสลิมส่วนใหญ่เข้าเรียน ได้แก่</p>
<ol>
<li>สายสามัญอย่างเดียวส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนของรัฐ ทั้งระดับประถมและมัธยม บางโรงใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้มควบคู่กับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551</li>
<li>สายศาสนาควบคู่สามัญ ได้แก่ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามระดับมัธยม ส่วนระดับประถมเริ่มมีมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา</li>
<li>สายศาสนาอย่างเดียว มีหลายประเภท ได้แก่ ตาดีกา สถาบันศึกษาปอเนาะ โรงเรียนท่องจำคัมภีร์อัลกุรอ่าน ซึ่งแยกเป็นสำหรับผู้ชายเรียกว่า โรงเรียนฮาฟิซ สำหรับผู้หญิงเรียกว่า โรงเรียนฮาฟิเซาะห์ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนอาลิม(สำหรับผู้ชาย) โรงเรียนอาลีมะห์(สำหรับผู้หญิง)</li>
</ol>
<p>สถานศึกษาเหล่านี้เป็นสถานศึกษาที่อยู่ประจำ มีหอพักสำหรับนักเรียน ยกเว้นตาดีกา</p>
<ol start="4">
<li>การศึกษาสายอาชีพ คือวิทยาลัยอาชีวะ วิทยาลัยเทคนิค</li>
<li>การศึกษาสายอาชีพควบคู่ศาสนา ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่สอนศาสนาควบคู่สามัญเดิม แต่เพิ่มแผนกวิชาชีพ</li>
</ol>
<h2><span style="color:#2980b9;">“ตาดีกา-ปอเนาะ” สถานศึกษาดั้งเดิมที่ยังคงอยู่</span></h2>
<p>ตาดีกา และ ปอเนาะ เป็นระบบการศึกษาเก่าแก่และดั้งเดิมที่อยู่คู่กับชุมชนมุสลิมมานาน โดยตาดีกา เป็นสถานที่อบรมศาสนาขั้นพื้นฐานแก่เด็กอายุ 6 - 12 ปี ให้มีความรู้ศาสนาภาคบังคับสำหรับมุสลิมทุกคนที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกว่า “ฟัรฎูอีน” (Fardu-in) ส่วนครูผู้สอนก็เป็นคนในชุมชน</p>
<p>โดยปกติตาดีกาเปิดสอนทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ส่วนวันจันทร์-ศุกร์เด็กๆ ต้องไปโรงเรียนประถมของรัฐ แต่ตาดีกาบางแห่งเปิดสอนช่วงค่ำ เป็นระบบชั้นเรียนที่ให้เด็กจบหลักสูตรพร้อมกับจบชั้น ป.6</p>
<p>ปัจจุบันมีตาดีกา กว่า 2,000 แห่ง(รวมใน จ.สตูล) มีครูผู้สอนราวๆ 15,000 คน และนักเรียนอีกกว่า 200,000 คน</p>
<p>ตาดีกา เป็นคำย่อของ Taman Didikan Kanak-kanak (TADIKA) แปลว่า อุทยานการเรียนรู้ของเด็กๆ</p>
<p>คำว่า ตาดีกา ถูกนำมาใช้แทนที่คำว่า “Sekolah Melayu” (โรงเรียนมลายู) ราวปี พ.ศ.2494 (หลังจากมีนโยบาย “รัฐนิยม” ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม) เพื่อไม่ให้ซ้ำกับคำว่า “โรงเรียน” (Sekolah) ของรัฐที่บังคับให้เด็กมุสลิมเข้าเรียน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สถานบ่มเพาะความเป็น “มลายู มุสลิม ปาตานี”</span></h2>
<p>ตาดีกาเน้นสอนหลักศรัทธา หลักศาสนกิจ และคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้ภาษามลายูในการเรียนการสอน จึงทำให้ตาดีกามีบทบาทสำคัญในการธำรงอัตลักษณ์ความเป็น “มลายูมุสลิมปาตานี” ที่ฝ่ายความมั่นคงระแวง เพราะเชื่อมโยงกับความภูมิใจในประวัติศาสตร์ของพื้นที่ แต่พี่น้องมุสลิมกว่า 80% ก็ยังส่งลูกหลานเข้าเรียนตาดีกา</p>
<p>ส่วน “ปอเนาะ” (Pondok-แปลว่า โรงแรม, ที่พัก, กระท่อม ฯลฯ) เป็นสถานศึกษาสำหรับเด็กโตขึ้นไปซึ่งไม่จำกัดอายุและระยะเวลาเรียน เป็นการเรียนตำราศาสนาแบบเล่มต่อเล่ม มีโต๊ะครูเป็นผู้สอนคนเดียว แต่อาจมีผู้ช่วยสอนบ้าง</p>
<p>ในอดีต ทั้งตาดีกาและปอเนาะต้องปรับตัวหลายครั้งจากนโยบายของรัฐ (ทั้งที่จำใจหรือถูกบังคับ) ซึ่งปอเนาะหลายแห่งได้พัฒนามาเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในปัจจุบัน</p>
<p>ถึงกระนั้น ตาดีกาและปอเนาะแบบดั้งเดิมก็ยังมีอยู่อย่างเข้มแข็ง แม้หลายครั้งถูกสงสัยว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความไม่สงบก็ตาม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัฐกับการจัดการตาดีกา</span></h2>
<p>รัฐเริ่มให้ความสำคัญกับตาดีกาในปี 2540 โดยอุดหนุนค่าตอบแทนครูแห่งละ 2,000 บาทต่อปี ต่อมาในปี 2555 ก็ปรับเพิ่มเป็นเดือนละ 3,000 บาทต่อคน แต่ไม่เกิน 6 คน</p>
<p>ปัจจุบัน รัฐกำหนดให้ตาตีกาใช้ “หลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎูอีนประจำมัสยิด ระดับอิสลามศึกษาตอนต้น (อิบตีดาอียะห์) พุทธศักราช 2559” ซึ่งหลักสูตรนี้เกิดจากความร่วมมือของหลายฝ่ายในพื้นที่</p>
<p>ถึงกระนั้น ตาดีกาหลายแห่งก็ไม่อยากใช้หลักสูตรที่รัฐจัดทำให้นี้ แต่หันไปใช้หลักสูตรตาดีกา ปี พ.ศ.2556/ฮ.1434 ของมูลนิธิศูนย์ประสานงานตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ PERKASA และใช้ตำราเรียนของ PERKASA ด้วย แม้ว่าทั้ง 2 หลักสูตรมีเนื้อหาไม่แตกต่างกันมาก</p>
<p>สำหรับหลักสูตรตาดีกาของรัฐมี 9 สาระการเรียนรู้ ได้แก่</p>
<ul>
<li>วิชาอัลกุรฺอาน อัลฮะดีษ(วัจนะท่านศาสดา)</li>
<li>วิชาอัลอะกีดะฮฺ (หลักศรัทธา)</li>
<li>วิชาอัลฟิกฮ์ (ศานบัญญัติ)</li>
<li>วิชาอัลอัคลาก (จริยธรรม)</li>
<li>วิชาอัตตารีค (ประวัติศาสตร์อิสลาม)</li>
<li>วิชาภาษาอาหรับ</li>
<li>วิชาภาษามลายูอักษรยาวีและภาษามลายูอักษรรูมี</li>
<li>และมีสาระวิชาเพิ่มเติม คือ ภาษาอังกฤษ และภาษามลายูหรือภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสาร</li>
</ul>
<p>ส่วนหลักสูตรของ PERKASA มี 10 สาระการเรียนรู้ คือมีวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เกือบ 20 วิชา ที่เด็กต้องเรียน</span></h2>
<p>เมื่อนักเรียนตาดีกากับประถมเป็นคนเดียวกัน ทำให้เด็กต้องเรียนไม่มีวันหยุด และต้องใช้เวลาเรียนรวมกันมากถึง 6-7 ชั่วโมงต่อวันตลอดสัปดาห์ (ประถมวันละ 5 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์/ตาดีกาวันละ 5 ชั่วโมง 2 วันต่อสัปดาห์ และเรียนการอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านอีกวันละ 1-2 ชั่วโมง ในช่วงค่ำ 6 วันต่อสัปดาห์-หยุดทุกวันพฤหัส)</p>
<p>สำหรับการเรียนอัลกุรอ่าน หลักๆ มี 2 ระบบ คือ ระบบกาดัมแบบดั้งเดิม และระบบกีรออาตี</p>
<p>หากนับรวมวิชาที่เด็กคนหนึ่งต้องเรียนทั้งหมด (รวมประถมและตาดีกา) มีมากถึง 17-18 วิชาต่อสัปดาห์ (ตาดีกา 9-10 วิชา/ประถม 8 วิชา) หากนับรวมสาระวิชาเพิ่มเติมด้วยก็ 20 วิชา</p>
<p>ด้วยสภาพการณ์เช่นนี้เองที่มักถูกยกมาอธิบายว่า เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลสอบ O-net ของเด็กมลายูมุสลิมตกต่ำ เพราะเด็กต้องเรียนเยอะเกินไป</p>
<p>ระดับผลการทดสอบ O-net ดังกล่าว ก็ไม่ค่อยต่างจากนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมากนัก เพียงแต่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสอนทั้งวิชาศาสนาและวิชาสามัญ เพราะใช้ 2 หลักสูตรพร้อมกัน</p>
<p>นั่นคือ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ที่มี 7-8 วิชา และหลักสูตรอิสลามศึกษา พ.ศ.2546 ที่มี 8-9 วิชา โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีแบ่งเวลาเรียนหลักสูตรละครึ่งวัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ตาดีกา –ประถม จะบูรณาการกันได้หรือไม่</span></h2>
<p>อับดุลมุไฮมิน สาและ ประธานมูลนิธิศูนย์ประสานงานตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ PERKASA บอกว่า เพื่อไม่ให้เด็กต้องเรียนมากเกินไปทั้งศาสนาและสามัญ ที่ผ่านมามี 2 ข้อเสนอ คือ</p>
<ol>
<li>บูรณาการวิชาเรียนตาดีกากับวิชาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางฯ คือ วิชาไหนที่มีเนื้อหาคล้ายๆ กันก็ควบรวมให้เป็นวิชาเดียว</li>
<li>นำโรงเรียนตาดีกาเข้าระบบการศึกษาแบบเต็มรูปแบบ</li>
</ol>
<p>ทว่า อับดุลมุไฮมิน บอกว่า ทั้ง 2 แนวทางนั้นน่าจะทำได้ยากพอๆ กัน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53361758449_09d15e665e_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">อับดุลมุไฮมิน สาและ ประธานมูลนิธิศูนย์ประสานงานตาดีกาจังหวัดชายแดนภาคใต้</span></p>
<p>แนวทางแรกทำได้ โดยมีข้อเสนอคือ รัฐต้องลดวิชาสามัญลงแล้วเพิ่มวิชาศาสนา แล้วแบ่งเวลาเรียนคนละครึ่งวันก็ได้ และใช้ 2 ภาษาคือไทยและมลายู</p>
<p>“เรื่องนี้พูดคุยกันมาหลายครั้งแล้ว ซึ่งฝ่ายรัฐต้องการให้ลดวิชาศาสนาเหลือแค่ 3 วิชา แต่ไม่ต้องการลดวิชาและเวลาเรียนในสายสามัญ”</p>
<p>ส่วนอีกแนวทาง รัฐพยายามนำตาดีกาเข้ามาอยู่ในระบบแบบเต็มรูปแบบ เช่น จัดหลักสูตรตาดีกาให้มี 2 ช่วงชั้น มี 8 สาระการเรียนรู้ แต่มีหลายตาดีกาที่ไม่เอา เพราะต้องการคงอัตลักษณ์ดั้งเดิมของตาดีกาเอาไว้</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">“มลายูกับอิสลาม คือจิตวิญญาณของคนที่นี่”</span></h2>
<p>ประธาน PERKASA ยังบอกด้วยว่า ตาดีกาให้ความสำคัญกับภาษามลายูในฐานะภาษาแม่ของมุสลิมที่นี่ แต่ “จะให้เราเน้นสอนภาษาไทยได้อย่างไร ในเมื่อเด็กเรียนภาษาไทยอยู่แล้วถึง 5 วันต่อสัปดาห์ในโรงเรียนประถม”</p>
<p>สิ่งนี้ อับดุลมุไฮมิน สะท้อนถึงความพยายามของรัฐ โดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงที่ต้องการให้ตาดีกาสอนด้วยภาษาไทย และเพิ่มเนื้อหา “ความเป็นไทย” เข้าไปในการเรียนการสอน</p>
<p>“เพราะคนที่นี่ใช้ภาษามลายู ก็ต้องสอนด้วยภาษามลายูจึงจะทำให้เขาเข้าใจอิสลามได้ดีที่สุด”</p>
<p>เขาย้ำถึงบทบาทของภาษามลายูว่า มีความสำคัญด้านการเรียนการสอนศาสนาอิสลามมาตั้งแต่อดีต “ภาษามลายูกับศาสนาอิสลามเปรียบเสมือนจิตวิญญาณของคนที่นี่เลยครับ”</p>
<p>เพราะเหตุนี้ PERKASA จึงได้จัดทำหลักสูตรขึ้นมาเองและผลิตตำราเรียนเองที่เป็นภาษามลายูและภาษาอาหรับ ขายให้ตาดีกานำไปใช้สอนเด็ก แต่ก็ไม่ได้บังคับว่า ตาดีกาไหนจะเลือกใช้หลักสูตรใดและตำราของใคร</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">โรงเรียนประถมเอกชน 2 หลักสูตร</span></h2>
<p>แม้ว่าทั้ง 2 วิธีการนั้นยากที่จะทำได้ แต่มีแนวทางที่ง่ายกว่านั้นและก็เริ่มมีขึ้นแล้ว นั่นคือ การเปิดโรงเรียนเอกชนระดับประถมที่สอนศาสนาควบคู่สามัญ เหมือนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่เปิดสอนในระดับมัธยม</p>
<p>ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เริ่มมีการเปิดโรงเรียนเอกชนระดับประถมในลักษณะนี้มากขึ้นในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตัวอย่าง เช่น โรงเรียนรักษ์อิสลาม ใน อ.เทพา จ.สงขลา ของดิเรก เหมนคร นั่นเอง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53360553572_2361f89109_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">โรงเรียนรักษ์อิสลาม</span></p>
<p>โรงเรียนเหล่านี้ ได้บูรณาการเนื้อหาความรู้ศาสนากับวิชาสามัญได้ในระดับหนึ่ง เพื่อให้เด็กไม่ต้องเรียนมากเกินไป แต่ก็ไม่ทั้งหมด ซึ่ง ผอ.ดิเรก บอกว่า ยังไม่สามารถบูรณาการได้จริง เพราะมีหลักสูตรแกนกลางฯ ของรัฐล็อคไว้อยู่</p>
<p>ผอ.ดิเรก บอกว่า มีโรงเรียนเปิดใหม่เริ่มที่ระดับอนุบาลและประถมมากขึ้น ส่วนโรงเรียนเอกชนฯระดับมัธยมเดิมก็เปิดแผนกอนุบาลและประถมเพิ่มขึ้นด้วย และนับวันก็ยิ่งขยายใหญ่โต เหตุผลเพราะรัฐอุดหนุนค่าหัวเด็กนั่นเอง</p>
<p>ผลที่ตามมาก็คือ มีเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐน้อยลง</p>
<p>“เพราะค่านิยมของผู้ปกครองที่อยากให้ลูกหลานเริ่มต้นเรียนทั้ง 2 สายในระบบตั้งแต่ชั้นประถม แทนที่จะไปเริ่มหลังจบ ป.6 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอย่างที่เป็นมา ซึ่งมันช้าไปแล้ว”</p>
<p>นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อที่ว่า โรงเรียนเอกชนน่าจะสอนดีกว่าโรงเรียนรัฐ ผู้ปกครองไว้ใจและเชื่อมั่นว่าเด็กจะอยู่ในบรรยากาศความเป็นอิสลามมากกว่าโรงเรียนของรัฐด้วย ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย การดำเนินชีวิตและการปฏิบัติศาสนกิจ</p>
<p>“ข้อดีคือ ทำให้เด็กรู้ศาสนาขั้นพื้นฐานผ่านระบบโรงเรียนได้เร็วขึ้น แล้วค่อยไปเลือกเรียนในสายที่ชอบในระดับที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเรียนต่อสายศาสนา สายสามัญ หรือสายอาชีพ”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อิสลามศึกษา(แบบเข้ม) ดึงเด็กเข้าโรงเรียนรัฐ</span></h2>
<p>การเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐน้อยลง เป็นปรากฏการณ์ที่มีมาต่อเนื่องหลายสิบปีแล้ว โดยเฉพาะในระดับมัธยม เพราะเด็กมุสลิมส่วนใหญ่จะเข้าเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่เปิดสอนทั้งสายสามัญและศาสนา</p>
<p>ปรากฏการณ์นี้เริ่มขยายมาสู่ระดับประถมมากขึ้น เมื่อมีโรงเรียนเอกชนระดับประถมที่เปิดสอนทั้งสองสายมากขึ้น อย่างที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งรัฐก็ไม่ไดนิ่งนอนใจ</p>
<p>ที่ผ่านมาภาครัฐเองพยายามตอบสนองความต้องการด้านการศึกษาของคนในพื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการเรียนการสอนวิชาศาสนา โดยออกหลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ทั้งระดับประถมและมัธยม</p>
<p>หลักสูตรนี้เรียกสั้น ๆ ว่า “หลักสูตรอิสลามศึกษาแบบเข้ม”หรือ" โรงเรียน 2 ระบบ" โดยเพิ่มการสอนอิสลามศึกษาจากเดิมสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงเป็น 8–10 ชั่วโมง ประกอบด้วย สาระวิชาอัล-กุรอาน สาระอัล- หะดีษ  สาระอัล- อะกีดะฮฺ(หลักศรัทธา) สาระอัล- ฟิกฮฺ (บัญญัติศาสนา) สาระอัตตารีค (ศาสนประวัติ) สาระอัล- อัคลาก (จริยธรรม) สาระภาษาอาหรับ และสาระภาษามาลายู/ภาษาอาหรับเสริม</p>
<p>คนที่จบจากโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรนี้จะได้วุฒิการศึกษาทั้งด้านสามัญและศาสนา แต่ก็ไม่บังคับว่าทุกโรงเรียนต้องนำไปใช้</p>
<p>ทว่า เหตุผลที่แท้จริง คือเพื่อดึงผู้ปกครองให้ส่งลูกหลานเข้าโรงเรียนรัฐให้มากขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะส่งเข้าเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่สอนศาสนาควบคู่สามัญ หรือไม่ก็ส่งไปเรียนศาสนาอย่างเดียวในสถาบันปอเนาะ หรือส่งไปเรียนต่อในต่างประเทศเสียเลย</p>
<p>ถึงกระนั้น แนวโน้มการเข้าเรียนโรงเรียนรัฐก็ยิ่งลดลงอยู่ดี ซึ่ง ผอ.ดิเรก มองว่า เพราะผู้ปกครองเชื่อใจ โรงเรียนประถมเอกชน 2 หลักสูตรมากกว่า เพราะทำให้เด็กอยู่ในบรรยากาศอิสลามมากกว่าโรงเรียนรัฐนั่นเอง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">โรงเรียนท่องจำอัลกุรอาน ทางเลือกที่กำลังเติบโต</span></h2>
<p>ไม่เฉพาะโรงเรียนประถมเอกชน 2 หลักสูตรเท่านั้นที่กำลังเติบโต จนทำให้เด็กเข้าเรียนโรงเรียนรัฐน้อยลง แต่ยังมีอีกหนึ่งระบบการศึกษาทางเลือกรูปแบบใหม่ในสายศาสนา ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน</p>
<p>นั่นคือ “โรงเรียนท่องจำคัมภีร์อัลกุรอ่าน” หรือเรียกว่า “โรงเรียนฮาฟิซอัลกุรอ่าน” (สำหรับผู้ชายเรียกว่า โรงเรียนฮาฟิซ สำหรับผู้หญิงเรียกว่าโรงเรียนฮาฟิเซาะห์)</p>
<p>ในช่วง 10 ปีมานี้ มีการเปิดโรงเรียนท่องจำคัมภีร์อัลกุรอ่านหลายแห่งในประเทศไทย (แต่ยังไม่มีใครเก็บข้อมูลสถิติอย่างเป็นทางการ)</p>
<p>ฮาฟิซอัลกุรอ่าน หรือ ตะห์ฟิซอัลกุรอ่าน เป็นรูปแบบโรงเรียนประจำสำหรับเด็กที่จบชั้น ป.6 แล้ว (เด็กโตก็รับเข้าเรียนได้เช่นกัน) ใช้เวลาเรียน 3-4 ปี เมื่อท่องจำอัลกุรอ่านทั้งเล่มแล้ว เด็กหลายคนจะกลับไปเรียนชั้นมัธยมต่อ หรือบางแห่งก็ให้เด็กเรียน กศน.ไปพร้อมกัน</p>
<p>นายมูซอ หะยีอาแว ผู้อำนวยการโรงเรียนมฮัดซะห์เราะอฺ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ซึ่งรับเฉพาะเด็กผู้หญิง(ฮาฟีเซาะห์) บอกว่า ระบบฮาฟิซจะสอนควบคู่กับหลักอิสลามทั่วไป โดยมีหลักการ คือการเรียนศาสนาต้องเริ่มด้วยการท่องจำอัลกุรอาน ซึ่งนักปราชญ์อิสลามส่วนใหญ่เมื่ออายุ 10 ขวบก็ท่องจำอัลกุรอานทั้งเล่มแล้ว</p>
<p>“มีแรงดึงดูดหลายอย่างที่ผู้ปกครองอยากส่งลูกหลานมาเรียน ทั้งเรื่องผลบุญ รวมถึงอยากให้เด็กอยู่ในกรอบศาสนาและอยากพ้นจากความยุ่งเหยิงของสื่อสังคมออนไลน์”</p>
<p>จากประสบการณ์ในต่างประเทศพบว่า เด็กที่ผ่านระบบฮาฟิซแล้วเมื่อกลับไปเรียนต่อสายสามัญหรือสายอื่นจะเรียนได้ดีขึ้นและเร็วขึ้นกว่าเดิม</p>
<p>มูซอ เล่าว่า ระบบฮาฟิซอัลกุรอ่าน มีที่มาจากแคว้นฮินดูสถาน (อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศและศรีลังกา) ในกลุ่มดะวะห์ตับลิฆ (กลุ่มนักเผยแพร่ศาสนา) คนไทยที่เข้าร่วมกลุ่มนี้ก็นำระบบนี้กลับมาด้วย</p>
<p>โดยโรงเรียนฮาฟิซอัลกุรอ่านแห่งแรกตั้งขึ้นที่ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว แต่ในช่วง 10 ปีหลังมานี้เริ่มขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากมีนักเรียนที่เรียนจบระบบฮาฟิซอัลกุรอ่านที่ศูนย์ดะวะห์ที่ จ.ยะลา เป็นพันคน</p>
<p>“หลายคนกลับไปเปิดโรงเรียนฮาฟิซที่บ้านจนขยายตัวมากในปัจจุบัน” ส่วนโรงเรียนฮาฟิซฮาฟีเซาะห์ (สำหรับผู้หญิง) แห่งแรกเปิดที่ ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง น่าจะประมาณ 20 กว่าปีมาแล้ว</p>
<p>มูซอ บอกว่า เป้าหมายของโรงเรียนฮาฟิซ คือการสร้างผู้นำศาสนา (โต๊ะอิหม่าม) เป็นคนที่ดูแลรักษาศาสนาในหมู่บ้าน เป็นพึ่งพาทางใจของคนในหมู่บ้านโดยใช้ศาสนาในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ช่วยให้เข้าใกล้อัลเลาะห์มากขึ้น เพราะคนที่มีปัญหาอาจเป็นเพราะเขาห่างไกลจากอัลเลาะห์</p>
<p>คนที่จบฮาฟิซส่วนมากจะเป็นครูสอนอัลกุรอ่านให้เด็ก หรือเป็นครูตาดีกา พร้อมกับทำอาชีพอื่นไปด้วย</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อาลิม-อาลีมะห์ ระบบการศึกษาควบคู่ฮาฟิซอัลกุรอ่าน</span></h2>
<p>การศึกษาในระบบนี้ยังมีสถานศึกษาอีกประเภทที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน และมีผู้เข้าเรียนจำนวนมากเช่นกัน คือ ระบบอาลิม(สำหรับผู้ชาย) และระบบอาลีมะห์(สำหรับผู้หญิง) คล้ายๆ ระบบปอเนาะแต่ใช้ระบบชั้นเรียน ส่วนระบบปอเนาะจะเรียนตำราศาสนาแบบเล่มต่อเล่ม</p>
<p>ระบบอาลิมและระบบอาลีมะห์ จะใช้ระบบการสอนที่เรียกว่า เดาเราะห์ฮาดิษ (การสอนเกี่ยวกับวัจนะ การปฏิบัติและการยอมรับของศาสดามูฮัมหมัด) โดยใช้ตำราฮาดิษ 6 เล่ม ได้แก่ ตำราของบูคอรี มุสลิม อิบนูมาญะห์ นาซาอี อาบูดาวูด และ ติรมีซีย์ ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนที่เข้มข้นพอสมควร</p>
<p>เด็กที่เข้าเรียนระบบนี้ มักจะเป็นเด็กที่เรียนจบระบบฮาฟิซแล้ว หมายถึงเด็กที่ท่องจำคัมภีร์อัลกุรอ่านทั้งเล่มแล้ว แต่ก็ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะท่องจำทั้งเล่ม เพราะเด็กบางคนเข้าเรียนฮาฟิซหลังจากจบชั้น ม.3 ซึ่งอา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 640 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 658 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 570 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 560 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 412 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.897 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 08 กันยายน 2567 22:21:32