[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 17:47:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - องค์กรสิทธิฯ บอกแนวข้อสอบก่อนรัฐบาลเศรษฐาจะไปให้นานาชาติเลือกเป็นคณะมนตรีสิ  (อ่าน 131 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2567 01:57:34 »

องค์กรสิทธิฯ บอกแนวข้อสอบก่อนรัฐบาลเศรษฐาจะไปให้นานาชาติเลือกเป็นคณะมนตรีสิทธิฯ ของ UN
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-02-03 00:01</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>องค์กรสิทธิฯ แนะถ้ารัฐบาลไทยอยากนานาชาติเลือกเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของยูเอ็น เรื่องแก้ม.112 และจัดการแก้ไขปัญหาคดีทางการเมืองเป็นเรื่องที่ต้องทำ เพราะเป็นประเด็นที่กลไกด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นเตือนหลายรอบแล้ว และทางออกในการลดความขัดแย้งทางการเมืองที่มีอยู่ก็คือการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/cR_q_3asYKY?si=S-Bh3YlIy2Ns-YbG&amp;start=7973" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>2 ม.ค. 2567 เวลา 18.00 น. ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย มีเสวนา “Thailand’s Road to the UN Homan Rights Council หนทางสู่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ประเทศไทย จะทำได้หรือเปล่า?”  ที่จัดโดย แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทย และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน</p>
<p>ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในเสวนากล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลไทยแสดงเจตจำนงค์ในการเสนอตัวเข้ารับเลือกเป็นสมาชิกในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (the United Nations Human Rights Council) ในช่วงวาระปี 2568 - 2570 ในฐานะตัวแทนเดียวของสมาคมอาเซียน ในงานจึงมีการกล่าวถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยตลอด 3 - 4 ปีที่ผ่านมาด้วยและมีการกล่าวถึงข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทย ก่อนการเลือกตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ</p>
<div class="more-story">
<p>เวทีสะท้อนปัญหาสิทธิมนุษยชนและคดีการเมืองไทยที่ยังไม่ถูกสะสาง ก่อนไทยจะไปคณะมนตรีสิทธิฯ ของ UN</p>
</div>
<p>ภัทรานิษฐ์ เยาดำ เจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์เชิงนโยบายอาวุโส แอมเนสตี้ฯ เล่าถึงปัญหาการที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงยังไปติดตามการทำงานขององค์กรเธอในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้แล้วก็ยังพบว่ามีการสอดส่องการทำงานขององค์กรอย่างผิดกฎหมายและการติดตามแบบนี้ของเจ้าหน้าที่ก็ดำเนินมากว่าสามปีนับตั้งแต่แอมเนสตี้ฯ เริ่มแคมเปญเรื่องสิทธิในการชุมนุมกับนักกิจกรรมบางคน และยังมีปัญหาแม้กระทั่งในการขอวีซ่าทำงานจนถึงการโทรศัพท์ไปที่ออฟฟิศภูมิภาคด้วย และเหตุการณ์แบบนี้ก็เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่รัฐบาลทหารมาจนถึงรัฐบาลพลเรือน</p>
<p>ตัวแทนจากแอมเนสตี้กล่าวว่าปฏิบัติการแบบนี้ทำให้เห็นว่างานความมั่นคงยังนำทิศทางการทำงานของรัฐบาลพลเรือนอยู่ทำให้สถานการณ์สิทธิมนุษยชนส่วนแนวหน้ายังไม่เปลี่ยน คนยังต้องไปศาลทุกวัน ประกันได้บ้างไม่ได้บ้างทำให้มีคนถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีรวมถึงคนที่ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112</p>
<p>ภัทรานิษฐ์การที่รัฐบาลไทยประกาศคำมั่นและแสดงความพร้อมที่จะลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นก็เป็นสัญญาณที่ดีจากรัฐบาลเศรษฐาว่าจะนำประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นวาระเร่งด่วนของรัฐบาลแต่ก็เป็นข้อท้าทายของรัฐบาลด้วยว่าจะจัดการสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่ซับซ้อนและถูกซุกใต้พรมด้วย ซึ่งก็อยากให้รัฐบาลมีความรับผิดชอบต่อคนในประเทศด้วย</p>
<p>ตัวแทนจากแอมเนสตี้ฯ กล่าวถึงข้อเสนอขององค์กรต่อรัฐบาลไทยทำเพื่อให้ถูกเลือกเป็นคณะมนตรีฯ</p>
<p>ข้อแรก รัฐบาลต้องยกเลิกมติ ครม.ที่ตั้งเรื่องยกร่าง พ.ร.บ.องค์กรไม่แสวงกำไร และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ก็ควรจะยุติส่งร่างพ.ร.บ.นี้เข้าสภาด้วย</p>
<p>ข้อสอง รัฐบาลต้องตอบรับคำขอเยี่ยมประเทศอย่างเป็นทางการจากผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะด้านนักปกป้องสิทธิ ด้านแสดงออกและแสดงความคิดเห็น และด้านชุมนุม</p>
<p>ข้อสาม รัฐบาลต้องยุติการดำเนินคดีต่อเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปีที่ออกมาชุมนุมและตั้งคณะกรรมการสอบสวนการใช้กำลังสลายการชุมนุมช่วงปี 2563-2565 และออกคำสั่งเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่าย รวมถึงการแก้ไขพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ด้วย</p>
<p>ข้อสี่ ศาลต้องใช้ดุลพินิจในการปล่อยตัวชั่วคราวในคดีทางการเมือง และกระทรวงยุติธรรมเองก็ต้องยอมรับว่ามีนักโทษทางการเมืองและคนเหล่านี้ไม่ใช่อาชญากรและไม่ปฏิบัติกับเขาเช่นอาชญากร</p>
<p>ข้อห้า รัฐบาลต้องเร่งผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชนให้เร็วที่สุด โดยร่างนั้นต้องไปยกเว้นกับคดีมาตราใดมาตราหนึ่ง</p>
<p>อัครชัย ชัยมณีการเกษ หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศและนโยบาย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่าการพิจารณาที่นานาประเทศจะเลือกประเทศใดเข้าไปเป็นคณะมนตรีสิทธิฯ ก็จะดูจากคุณูปการในด้านการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของประเทศนั้นๆ และจะสามารถทำตามกติกาของยูเอ็นได้แล้วหรือยัง</p>
<p>ข้อเสนอแนะของศูนย์ทนายความฯ มีอยู่สองข้อคือ ข้อแรก ต้องยุติการดำเนินคดีและแก้ไขมาตรา 112 และข้อสองออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรม โดยจะต้องเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการเลือกคณะมนตรีสิทธิฯ ในเดือนตุลาคมนี้</p>
<p>อัครชัยกล่าวว่าข้อเสนอเรื่องแก้ไขมาตรา 112 เป็นประเด็นก็เพราะที่ผ่านมากลไกด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นเองก็เคยมีคำแนะนำและข้อกังวลต่อเรื่องมาตรา 112 ถึงรัฐบาลไทย โดยนับตั้งแต่หลังปี 2549 เป็นต้นมามีข้อร้องเรียนถึง 21 ข้อร้องเรียนจากกรณีต่างๆ และทางยูเอ็นเองก็มีฉันทามติชัดเจนด้วยว่าการใช้มาตรา 112 นั้นขัดกับข้อ 19 ในกติการะหว่างประเทศด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(ICCPR) อีกทั้งยังมีประเด็นที่การใช้มาตรา 112 ในการคุมขังถือเป็นควบคุมตัวโดยไม่ชอบตาม</p>
<p>“ในสายต่อของยูเอ็นนั้นไม่มีข้อที่ต้องถกเถียงกันในมาตรา 112 เลย” อัครชัยกล่าว</p>
<p>ตัวแทนจากศูนย์ทนายความฯ ยังกล่าวด้วยว่าข้อเสนอเรื่อง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ต้องมีเพราะนับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมามีคดีมากกว่าพันคดีและยังมีคดีอยู่ในชั้นสอบสวนจนถึงชั้นศาลกว่าแปดร้อยคดี เท่ากับมีคดีที่ยังไม่เสร็จสิ้นอยู่ถึง 65% และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่นิรโทษกรรม และการใช้มาตรา 112 ดำเนินคดีไปเรื่อยๆ ยังเหมือนเป็นเชื้อเพลิงคว่ามขัดแย้งทางการเมืองก็ยิ่งสูงขึ้น การนิรโทษกรรมจึงเป็นกระดุมเม็ดแรกที่จะลดความขัดแย้งนี้และรัฐบาลสามารถทำได้</p>
<p>รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล ตัวแทนจาก iLaw กล่าวว่าการที่รัฐบาลไทยจะไปเข้าร่วมเป็นคณะมนตรีสิทธิฯ ก็ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่ามีอะไรแตกต่างกับรัฐบาลประยุทธ์เพราะเมื่อปี 2564 ในเวทีทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนหรือ UPR ไทยได้รับความเห็นจากนานาประเทศหลายข้อแต่ก็มีข้อที่ไทยขอสงวนไว้ซึ่งหมายถึงว่ารับทราบแต่ไม่ทำถึง 60 ข้อก็ให้ย้อนกลับไปดูว่าจะรับเพิ่มขึ้นหรือไม่เพราะประเด็นเหล่านี้เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งสิ้น</p>
<p>อย่างไรก็ตาม รัชพงษ์ก็ได้กล่าวถึงข้อเสนอของ iLaw เองที่จะมีถึงรัฐบาลไทยก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งคณะมนตรีสิทธิฯว่ามีอยู่สองข้อ</p>
<p>ข้อแรก ต้องมีกระบวนการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องเดินหน้าโดยที่ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้เต็มรูปแบบ ไม่มีการซ่อนเงื่อนไขใดๆ เอาไว้และพรรคเพื่อไทยเองก็เคยสัญญาไว้ 3 ข้อว่าเมื่อตั้งรัฐบาลได้จะ ครม.มีมติทำประชามติ ข้อสอง จะมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วม และสาม จะทำให้การร่างรัฐญธรรมนูญฉบับใหม่สำเร็จ แต่วันนี้ทั้งสามข้อนี้จะเป็นจริงอย่างไร</p>
<p>รัชพงษ์ยังกล่าวอีกว่าเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ก็ยังมีเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทที่ต้องจัดการ เช่น เรื่องจะทำอย่างไรกับองค์กรอิสระทั้งศาลรัฐธรรมนูญ กกต. หรือ กสม.เองก็มีปัญหา หรือเรื่องรับรองสิทธิเสรีภาพ</p>
<p>ข้อสอง เรื่องที่ไอลอว์เรียกร้องคือหลังจาก สว. 250 คนจะหมดอายุในเดือนพฤษภาคมนี้และจะมี สว.ชุดใหม่ 200 คนมาจากการเลือกกันเองซึ่งมีกระบวนการที่ซับซ้อนและไม่ได้เปิดกว้างให้คนทั่วไป แต่เป็นกระบวนการ “สำหรับคนมีอายุ คนมีพรรคพวกและมีเงิน”</p>
<p>รัชพงษ์อธิบายว่าเพราะต้องมีอายุถึง 40 ปีก่อนแล้วก็ชวนพรรคพวกไปสมัครแล้วก็ต้องจ่ายเงินค่าสมัครเพื่อให้คนเหล่านั้นมาโหวตให้ตัวเองเพื่อมาเป็น สว. โดยที่กระบวนการเหล่านี้ไม่มีอะไรรับประกันถึงความโปร่งใส จึงอยากเห็นกระบวนการที่โปร่งใส ประชาชนเข้าใจและสามารถไปสังเกตการณ์ได้เพราะที่ผ่านมาก็เห็นปัญหาของ สว.อยู่แล้วและไม่อยากให้ชุดใหม่ที่เข้ามามีปัญหาต่อไป</p>
<p>“เกือบสิบปีที่แล้วประเทศไทยเองเราก็เดินอยู่บนเวทีระหว่างประเทศด้วยการที่คอตก จนถึงวันนี้เรารู้รู้สึกมั่นใจมากขึ้น เราอยากไปสมัครเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแล้วเรารู้สึกว่าคออยากตั้งตรงขึ้นมานิดนึง ผมก็ยังอยากบอกว่าเมื่อคอคุณตั้งตรงแล้วบ่ามันก็หนักขึ้น มันมีความรับผิดชอบที่มากขึ้น เราก็หวังว่าก่อนจะถึงเดือนตุลาคมปีนี้เราอยากเห็นพัฒนาการของเรื่องการปฏิรูปการเมือง เรื่องของสิทธิทางการเมืองและเรื่องสิทธิพลเมืองของประชาชน”</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/107898
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.207 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 03 พฤศจิกายน 2567 16:33:18