ลำปาง : ตั้งโต๊ะล่าชื่อ-ล้อมวงถกทำไมต้องนิรโทษกรรมประชาชน ชี้คืนความยุติธรรม-ทางออกความขัดแย้ง
<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-02-12 13:30</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นักศึกษา เยาวชน จัดเสวนา “พระราชบัญญัตินิรโทษ ทำไมต้องนิรโทษกรรมประชาชน" พร้อมตั้งโต๊ะล่าชื่อเสนอร่างกฎหมาย ย้ำเป็นโอกาสในการแก้ไขความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนาน คืนความยุติธรรมให้ประชาชน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53524169658_14fc4dd9a0_b.jpg" /></p>
<p>12 ก.พ.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา เวลา 17.00 ณ ร้าน Wooden house Cafe (สะพานรัษฎา ลำปาง) อ.เมือง จ.ลำปาง กลุ่ม Amnesty club of Thammasat university จัดงานเสวนา “พระราชบัญญัตินิรโทษ ทำไมต้องนิรโทษกรรมประชาชน" ดำเนินการโดย อชิรญา บุญตา ทั้งนี้ยังมีการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อ เพื่อผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน เพื่อเสนอยุติการดำเนินคดีต่อประชาชนที่แสดงออกทางการเมือง เริ่มตั้งแต่รัฐประหารกันยายน 2549 จนถึงปัจจุบัน แต่ไม่รวมเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุมเกินกว่าเหตุและไม่รวมผู้ก่อกบฏทำรัฐประหารนั้น</p>
<p>อชิรญา กล่าวว่า นับตั้งแต่การชุมนุมเยาวชนปลดแอกในเดือนกรกฎาคม 2563 เป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของการเคลื่อนไหวทางการเมืองระลอกล่าสุด ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มนักกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ มีประชาชนที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองกว่า 1,900 ราย ด้วยข้อหาที่แตกต่างกัน ฐานความผิดที่มีประชาชนถูกดําเนินคดีมากที่สุด คือฝ่าฝืนพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน</p>
<p>อชิรญา กล่าวต่อว่า แต่ฐานความผิดซึ่งเป็นที่ถกเถียงมากที่สุดในขณะนี้และเป็นส่วนหนึ่งในข้อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ คือ มาตรา 112 ในโอกาสที่ประเทศกลับมาสู่การเลือกตั้งและรัฐบาลที่มาจากประชาชน การปลดเปลื้องคดีความทางการเมืองจะนําไปสู่โอกาสในการแก้ไขความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาอย่างยาวนาน คืนความยุติธรรมให้ประชาชนก่อให้เกิดร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขึ้นและมีการเสนอโดยหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฉบับพรรคก้าวไกล พรรครวมไทยสร้างชาติและนิรโทษกรรมฉบับของประชาชน ซึ่งในแต่ละฉบับก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน</p>
<p>“เราจึงต้องสนับสนุนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชนซึ่งมีความสําคัญเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและเกิดข้อสรุปใน ทางวิชาการกฎหมายและหาทางออกในความขัดแย้งของสังคมเพื่อคืนสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมให้กับผู้ถูกกล่าวหา ผู้ต้องหารวมไปจนถึงผู้ต้องขังในคดีที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง” อชิรญา กล่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53523992861_75f456d829_b.jpg" /></p>
<p>อานนท์ ชวาลาวัณย์ เครือข่ายประชาชนนิรโทษกรรม หนึ่งในผู้ร่วมเสวนากล่าวว่า ที่ผ่านมาคณะรัฐประหารที่ทำการรัฐประหารต่างนิรโทษกรรมและยกเว้นความผิดให้ตนเองทันทีโดยไม่เคยถูกตำหนิใดๆ เลย แต่ในวันนี้ภาคประชาชนขอนิรโทษกรรมให้กับผู้ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองไม่ว่าจะอยู่ภายในประชาชนควรจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระและถูกคุมขังเพียงเพราะการพูดหรือการแสดงออก ซึ่งนิรโทษกรรมไม่ใช่ทางออกสุดท้ายแต่คือก้าวแรกที่จะออกจากวังวนความขัดแย้ง</p>
<p>“สิ่งที่สำคัญหลายๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือในปี 2563 คนที่จะมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างเช่น นายพริษฐ์ ชีวารักษ์ (เพนกวิน) ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ แต่ถูกดำเนินคดีในมาตรา 112 นั่นหมายความว่าเราอาจจะสูญเสียอาจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์คนนึงไปและคนอื่นๆ ที่มีส่วนสำคัญในการก้าวขึ้นมาในการพัฒนาประเทศ” อานนท์กล่าว </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53523098207_b4b7391d36_b.jpg" /></p>
<p>พินิจ ทองคำ กลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน กล่าวว่า ถึงเวลาที่เราทุกคนต้องแสดงฉันทามติร่วมกันในการกำหนดอนาคตของการปกครองระบอบประชาธิปไตย การนิรโทษกรรมไม่ใช่ยาวิเศษ แต่เป็นก้าวแรกของการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองอันจะนำไปสู่ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนอย่างสมบูรณ์</p>
<p>“หลายครั้งที่เราปล่อยให้รัฐใช้อำนาจทางเดียวในการปกครอง ปล่อยให้รัฐใช้ความรุนแรง ใช้กฎหมายในการกำจัดผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่าง เราเมินเฉยกันไปมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว เมื่อการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเกิดขึ้น จึงถึงเวลาของการยุติเรื่องในอดีต เพื่อให้ปัจจุบันและอนาคต ประชาชนจะร่วมกันสร้างสังคมใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยท่ามกลางความหลากหลายได้อีกครั้ง" พินิจกล่าว</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2024/02/108034