[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 08:32:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ยาดมไทย ใครๆ ก็ทำได้  (อ่าน 535 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2497


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 16 เมษายน 2567 17:23:19 »



ยาดมไทย ใครๆ ก็ทำได้

ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 12 - 18 เมษายน 2567
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ.2567



ซอฟต์เพาเวอร์ จะหมายความอย่างไรแน่ยังไม่มีข้อสรุป แต่ก็กำลังเป็นความหวังสร้างเศรษฐกิจไทย

ยาดมไทยนับเป็นซอฟต์เพาเวอร์หรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่ต่างชาติหลายภาษามาไทยนิยมซื้อกลับไปใช้และเป็นของฝาก คนไทยเองก็พกพาสูดดมกันทั่วไปทุกภาค

ถ้าว่ากันตามเกณฑ์กระทรวงวัฒนธรรม ที่ประกาศมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระดับจังหวัดและระดับชาติ ก็ต้องบอกว่า ยาดมไทยยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน มีที่ใกล้เคียงที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี 2556 คือ “ยาหม่อง” ในประเภท : การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

ทางกระทรวงวัฒนธรรมให้ความรู้ไว้ว่า แต่ก่อนที่ผลิตยาหม่องออกมาขายนั้น บรรดานายห้างและร้านค้าได้จ้างลูกจ้างชาวพม่า (ซึ่งแสดงว่าไทยรับเอาแรงงานเพื่อนบ้านมานานแล้ว) ออกมาเดินเร่ขายตามบ้าน ชาวบ้านพากันเรียกยาขี้ผึ้งกันทั่วไปว่า “ยาหม่อง” เรื่อยมา

วิธีการปรุงยาหม่องแต่ดั้งเดิมนั้น จะใช้สมุนไพรหลายชนิดแล้วแต่สูตร แต่ก็มีสรรพคุณได้ทั้งยาทาและยาดม จึงพบสมุนไพรที่ใช้กันส่วนมากเป็นพวกให้น้ำมันหอมระเหยหรือมีกลิ่นหอมเย็น เช่น พิมเสน การบูร เกล็ดสะระแหน่ น้ำมันระกำ น้ำมันกานพลู น้ำมันอบเชย เป็นต้น และนำมาผสมในตัวขี้ผึ้งเพื่อให้เป็นเนื้อยาหม่อง

โดยในอดีตก็มักใช้ขี้ผึ้ง หรือไขสัตว์ต่างๆ ในปัจจุบันก็ใช้ตัวช่วยทันสมัยหาได้ง่ายจำพวกพาราฟินและวาสลีนในการทำยาหม่อง และมีสูตรผสมตามแต่จะต้องการสรรพคุณ เช่น แก้แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้นวดแก้ปวดเมื่อย ฯลฯ และยาหม่องยังใช้สูดดมแก้วิงเวียน คัดจมูกได้ด้วย เข้าข่าย 2 in 1 นั่นเอง

สําหรับ “ยาดมไทย” มีดีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในมุมยาสมุนไพรยาดมช่วยให้ลมทั่วร่างกายเดินได้สะดวก สูดยาดมที่ไรช่วยให้จมูกโล่ง สมองโล่ง หายใจไม่ติดขัดออกซิเจนในเลือดก็เดินดี ช่วยให้การสูบฉีดโลหิตดีขึ้น ก็ทำให้หทัยวาตะหรือลมเลี้ยงหัวใจเดินคล่อง

ยาดมจึงช่วยให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า หายง่วงและมึนงง และช่วยให้มีภูมิต้านทานโรคดีเพราะเลือดลมเดินดีด้วย

ตามภูมิปัญญาไทยเราร่ำรวยสูตรยาดม คนที่สนใจยาดมชื่อโบราณก็น่าจะเคยได้ยินยาดมส้มโอมือ ซึ่งเป็นพันธุ์หนึ่งของส้มมะงั่ว หรือสูตรยาดมผิวส้ม 8 อย่างก็มี

ในครั้งนี้ขอเสนอสูตรยาดมที่ทางมูลนิธิสุขภาพไทยนำสูตรจากการเผยแพร่ของศูนย์ข้อมูล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำมาปรับประยุกต์และนำไปอบรมให้นักเรียนโรงเรียนประชานิเวศน์แผนกมัธยม และสอนให้เด็กในชุมชนในกรุงเทพฯ 2-3 แห่ง เพื่อทำไว้ให้พ่อแม่ปู่ย่าตายายใช้พึ่งพาตนเอง

สูตรยาดมทั่วไปแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ประเภทเป็นน้ำหรือของเหลว และที่เป็นสมุนไพรบดใส่ถุงในกระปุกให้สูดดม สูตรยาดมที่ทางมูลนิธินำไปสอนให้ทำเองนั้น เป็นการผสมผสานให้เป็นยาดมที่มาจากสมุนไพรบดผสมกับสารให้กลิ่นหอม จึงได้ยาดมที่มีของเหลวผสมในสมุนไพรแห้งด้วย

ส่วนประกอบที่ใครๆ ก็ทำได้ ให้นํากระวาน 1 ผล โป๊ยกั๊ก 1 ผล กานพลู 5 ดอก อบเชย 1 ช้อนชา ลูกผักชี 1 ช้อนชา พริกไทยดำ 1 ช้อนชา สมุนไพรแห้งเหล่านี้หาซื้อตามร้ายขายวัตถุดิบยาไทย เคล็ดลับคือ ควรตำหรือบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ จะดีกว่าไม่บด สมุนไพรที่ละเอียดจะให้กลิ่นหอมหรือกลิ่นเฉพาะตัว หอมนวลเวลาสูดดม สัดส่วนที่กล่าวไว้เมื่อบดหรือตำแล้ว คลุกให้เข้ากัน ใส่ภาชนะไว้ก่อน

ส่วนประกอบจำพวกที่ผสมแล้วจะเป็นของเหลว คือ ใช้การบูรและพิมเสน อย่างละ 1 ช้อนชา ผสมในกระปุกปากกว้างมีฝาปิด คนเข้ากันจะเป็นของเหลว แค่การบูรและพิมเสนก็ใช้ได้แล้ว แต่ถ้ามีทุนทรัพย์ก็สามารถเติมสมุนไพรที่มีราคาแพงขึ้นได้อีก 2 ชนิด จะช่วยกลิ่นดียิ่งขึ้น คือ เติมเมนทอล 2 ช้อนชา ผสมลงไปเป็นของเหลว เมื่อละลายเข้ากันดีแล้ว เติมน้ำมันยูคาลิปตัสสัก 3 ม.ล. ปิดฝาไว้

สูตรสมุนไพรนี้ สามารถแบ่งสมุนไพรแห้งที่บดแล้วลงไปในขวดเล็กขนาด 7 ม.ล. ได้ถึง 3 ขวด จากนั้นก็เทน้ำมันสมุนไพรที่เป็นของเหลวที่เตรียมไว้ลงไปในขวดเล็กๆ ทั้ง 3 ขวด เคล็ดลับอีกประการคือ ให้หาผ้ากอซหรือสำลีเล็กๆ ขนาดพอดีกับปากขวด ปิดไว้จะช่วยให้กลิ่นอยู่นานขึ้น บางคนไม่ชอบกลิ่นพิมเสนการบูรจะไม่ใส่ก็ได้ และสารให้กลิ่นเหล่านี้ไม่ควรสูดดมถี่และมากไป จะทำให้ระคายเคืองจมูกได้ เด็กเล็กไม่ควรใช้

สมุนไพรในยาดมสูตรนี้หาได้ง่ายทั่วไป ทั้งกระวาน กานพลู อบเชย ลูกผักชี พริกไทยดำ แต่คงมีคนสงสัยว่า โป๊ยกั๊ก นี่เป็นสมุนไพรจีนมาได้อย่างไร ก็คงเพราะวัฒนธรรมผสมผสานไทยจีน หมอยาไทยเองก็เรียกว่าจันทน์แปดกลีบ ตามลักษณะรูปดาวแปดแฉก และชื่อ โป๊ยกั๊ก (โป๊ย = แปด, กั๊ก = แฉก) ซึ่งก็มีการนำมาใช้ตามสรรพคุณตำรายาไทยด้วยคือ ผลใช้ขับลม ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย แก้ไอ แก้เกร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค คลายกล้ามเนื้อเรียบ แก้ปวดท้อง ขับลม แก้ไอ ขับเสมหะ ขับน้ำนม เพิ่มการไหลเวียนโลหิต

และยังมีการใช้น้ำมันหอมระเหยจากจันทร์แปดกลีบนี้ผสมในยาผงชนิดหนึ่งใช้แก้อาการหืดหอบ น้ำมันหอมจากโป๊ยกั๊กจึงมีกลิ่นช่วยระบบทางเดินหายใจได้และช่วยการไหลเวียนเลือด จึงเป็นกลิ่นหอมที่ดีในยาดมนั่นเอง

กิจกรรมครอบครัวทำยาดมไทยติดตัวติดบ้านได้ง่ายๆ แต่สำหรับ “ยาดมไทย” แม้ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาชาติ แต่ก็เป็นซอฟต์เพาเวอร์สร้างมูลค่าการตลาดวงการสมุนไพรนับพันล้านแล้ว •



คอลัมน์   โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง   https://www.matichonweekly.com/column/article_760031

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.267 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 04 ธันวาคม 2567 15:15:10