[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 20:24:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เอวํ  (อ่าน 2717 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 04 มิถุนายน 2553 11:59:38 »


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>



(:LOVE:)พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 14 - 15 - 16 รัก



อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์แสดงโยนิโสมนสิการไว้ด้วยคำว่า เอวํ
เพราะผู้ไม่มีโยนิโสมนสิการ ย่อมไม่สามารถแทงตลอดได้โดยประการต่าง ๆ ย่อมแสดงความเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยคำว่า สุตํ นี้ เพราะจิตที่ฟุ้งซ่านมีการฟังไม่ได้ จริงอย่างนั้น บุคคลมีจิตฟุ้งซ่านแม้ผู้อื่นพูดให้สมบูรณ์ทุกอย่างก็ยังกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยินขอจงพูดอีกก็บรรดาคุณธรรม
๒ อย่างนั้น เมื่อว่าโดยโยนิโสมนสิการ พระอานนท์ย่อมให้สำเร็จซึ่งอัตตสัมมาปณิธิ และบุพเพกตบุญญตาเพราะบุคคล
ผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบและมิได้ทำบุญไว้ในกาลก่อนแล้ว จะมีโยนิโสมนสิการไม่ได้ว่าโดยความไม่ฟุ้งซ่าน ท่านพระอานนท์ย่อมให้สำเร็จซึ่งสัทธัมมัสสวนะและสัปปุริสูปัสสยะ เพราะผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ย่อมไม่อาจเพื่อสดับฟัง และผู้ไม่มีอุปนิสัยก็ไม่มีการคบหากับสัตบุรุษอีกนัยหนึ่ง ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า เพราะบทว่า เอวํ ย่อมแสดงไขถึงอาการต่าง ๆ แห่งจิตสันดาน ซึ่งเป็นตัวรับเอาอรรถและพยัญชนะต่าง ๆ ให้เป็นไปด้วยอาการต่าง ๆ กัน
ก็ลักษณะอาการอันเจริญอย่างนี้นั้นย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ตั้งตนไว้ชอบ หรือมิได้ทำบุญไว้ในปางก่อน ฉะนั้นท่านพระอานนท์ จึงแสดงสมบัติ คือ
จักร ๒ ข้อ เบื้องปลายของท่าน ด้วยอาการอันเจริญ ด้วยคำว่า เอวํ นี้ ย่อมแสดงสมบัติ คือ จักร ๒ ข้อเบื้องต้นโดยการประกอบการสดับฟังด้วย
คำว่า สุตํ นี้จริงอยู่เมื่อบุคคลอยู่ในถีนฐานอันมิใช่ปฏิรูปเทส หรือเว้นจากการคบสัตบุรุษ ย่อมไม่มีการสดับฟังโดยนัยนี้
อาสยสุทธิ (คือความสำเร็จแห่งอัธยาศัย) ย่อมเป็นอันสำเร็จแก่ท่านเพราะความสำเร็จแห่งจักร ๒ ข้อ เบื้องปลาย. ปโยคสุทธิ คือความสำเร็จแห่ง
ปโยคะ ย่อมเป็นอันสำเร็จเพราะจักร ๒ ข้อ เบื้องต้น ก็ด้วยความบริสุทธิ์แห่งอาสยะนั้น ท่านจึงเป็นผู้เฉลียวฉลาดเฉียบแหลมในการบรรลุมรรคผลเพราะความบริสุทธิ์แห่งปโยคะนั้น ท่านจึงเป็นผู้เฉลียวฉลาดยิ่งในพระปริยัติ.ด้วยเหตุนี้ ถ้อยคำของท่านพระอานนท์ผู้มีปโยคะและอาสยะบริสุทธิ์แล้ว ผู้สมบูรณ์แล้วด้วยการบรรลุมรรคผล ย่อมสมควรเพื่อเป็นถ้อยคำเบื้องต้นสำหรับรองรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือนการขึ้นไปแห่งอรุณเป็นเบื้องต้น แห่งพระอาทิตย์กำลังอุทัยอยู่ และเปรียบเหมือน โยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลกรรมฉะนั้น เหตุดังนั้น ท่านพระอานนท์ เมื่อจะเริ่มตั้งคำอันเป็นนิทานในฐานะอันควร จึงกล่าว บทว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 มิถุนายน 2553 12:31:50 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2553 12:06:06 »




อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ ย่อมแสดงภาวะสมบัติ คือ อรรถปฏิสัมภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตนด้วยคำอันแสดงถึงการแทงตลอดได้โดยประการต่าง ๆ ว่า เอวํ นี้ท่านย่อมแสดงภาวะสมบัติ คือ ธรรมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทา ด้วยคำอันแสดงถึงการแทงตลอดประเภทแห่งธรรมอันบุคคลพึงสดับฟังว่า สุตํ นี้อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อจะกล่าวถ้อยคำอันแสดงถึงโยนิโสมนสิการด้วย เอวํ นี้จึงแสดงว่า ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเพ่งด้วยใจ ข้าพเจ้าแทงตลอดดีแล้วด้วยทิฏฐิ ดังนี้ เมื่อกล่าวถ้อยคำอันแสดงถึงการประกอบการฟังด้วยสุตํ นี้ จึงแสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วทรงจำไว้แล้วสั่งสมไว้แล้วด้วยปัญญา ดังนี้เมื่อท่านจะแสดงอรรถและพยัญชนะให้บริบูรณ์ด้วยคำแม้ทั้ง ๒ นั้น ย่อมให้การเอื้อเฟื้อในการที่จะให้การฟังเกิดขึ้น เพราะว่าเมื่อบุคคลไม่ฟังธรรมอันบริบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะโดยเอื้อเฟื้อเคารพย่อม
เป็นผู้เหินห่างจากประโยชน์เกื้อกูลอันใหญ่ เพราะเหตุนี้ บุคคลพึงให้ความเอื้อเฟื้อเคารพในการฟังธรรมให้เกิดขึ้นเถิด.
อนึ่งด้วยคำทั้งสิ้นว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่ตั้งธรรมอันพระตถาคตประกาศแล้วไว้สำหรับตน จึงชื่อว่า ย่อมก้าวล่วงภูมิของอสัตบุรุษ เมื่อปฏิญาณความเป็นสาวก ชื่อว่า ย่อมก้าวลงสู่ภูมิแห่งสัตบุรุษท่านพระอานนท์ ย่อมยังจิตของท่านให้หลีกออกจากอสัทธรรม และให้จิตของท่านดำรงไว้ในพระสัทธรรม โดยทำนองนั้นเหมือนกัน เมื่อท่านแสดงว่าก็พระดำรัสนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นนั่นแหละ ข้าพเจ้าได้ฟังมา
อย่างเดียวเท่านั้น ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเปลื้องตนออก ย่อมแสดงอ้างพระศาสดาย่อมยังพระดำรัส ของพระชินเจ้าให้แนบสนิท ย่อมยังธรรมเนติให้ดำรงอยู่



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 14 - 15 - 16
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 มิถุนายน 2553 12:32:32 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 04 มิถุนายน 2553 12:14:19 »




อีกอย่างหนึ่ง พระอานนท์ เมื่อไม่ปฏิญญาไม่รับรอง ซึ่งความที่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าเป็นธรรมอันตนให้เกิดขึ้นได้เอง เปิดเผย
การได้ฟังมาตั้งแต่เบื้องต้น ด้วยบทว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังศรัทธาสมบัติในธรรมนี้ให้เกิดขึ้นแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งปวงว่า พระดำรัสนี้ ข้าพเจ้าได้รับมาเฉพาะต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชญาณ ๔ ผู้ทรงไว้ซึ่งทศพลญาณ
ผู้ดำรงอยู่ในอาสภฐาน ฐานะอันประเสริฐ ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ ผู้เป็นใหญ่ในธรรม ผู้เป็นธรรมราชา ผู้เป็นธรรมาธิบดี ผู้มีธรรม
ดังประทีป ผู้มีธรรมเป็นสรณะ ผู้ยังจักรอันประเสริฐคือพระธรรมให้เป็นไปทั่วผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะพระองค์นั้น ในพระดำรัสนี้ใคร ๆ ไม่ควรทำความ
สงสัย หรือเคลือบแคลงในอรรถในธรรม ในบทหรือในพยัญชนะ ดังนี้ด้วยเหตุนี้นั้น ท่านพระอรรถกถาจารย์จึงประพันธ์คำอันเป็นคาถาไว้ว่า




วินาสยติ อสฺสทฺธํ สทฺธํ วฑฺเฒติ สาสเน เอวมฺเม สุตมิจฺเจตํ วทํ โคตมสาวโก



ท่านพระอานนท์ผู้เป็นสาวกของได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ย่อมยังความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังศรัทธาสมบัติให้เจริญในพระพุทธศาสนา ดังนี้พระสมณโคดม กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า



(:LOVE:)ว่าด้วย เอกํ สมยํ รัก



บทว่า เอกํ แสดงการกำหนดจำนวน. บทว่า สมยํ แสดงสมัย(คือ วลา) ที่กำหนดไว้แล้ว บทว่า เอกํ สมยํ แสดงสมัยอันกำหนดไว้ไม่
แน่นอนสมยศัพท์ ในบทว่า สมยํ นี้ ข้าพเจ้าเห็นใช้ในอรรถว่า ความพร้อมเพรียงกัน ในอรรถว่าขณะ ในอรรถว่ากาลเวลา ในอรรถว่าประชุม ใน
อรรถว่าเหตุและทิฏฐิ ในอรรถว่าได้เฉพาะ ในอรรถว่าละ ในอรรถว่าจริงอย่างนั้น สมยศัพท์นี้ มีอรรถว่าพร้อมเพรียงกัน เช่นในประโยค
ว่า อปฺเปว นาม เสฺวปิ อุปสงฺกเมยฺยาม กาลญฺจ สมยญฺจ อุปาทายดังนี้เป็นต้น แปลว่า หากว่าพวกเราอาศัยกาลเวลา และความพร้อมเพรียงกัน
ได้แล้ว ก็พึงเข้าไปในวันพรุ่งนี้ สมยศัพท์ มีอรรถว่าขณะ เช่นในประโยคว่า เอโก จ โข ภิกฺขเว ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ขณะหนึ่ง สมัยหนึ่ง มีอยู่เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์




พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 14 - 15 -16

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 มิถุนายน 2553 12:33:29 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น: Nirvana zen Buddhist dhamma พระสุตันตปิฏก พระสูตร 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.273 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 24 สิงหาคม 2567 21:56:32