[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 12:39:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค  (อ่าน 2709 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 มิถุนายน 2553 21:30:51 »

อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ


อรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร
[๑๑๐] สัมมาทิฏฐิสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาทิฏฐิสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-
คำถามที่พระเถระ (สารีบุตร) กล่าวไว้อย่างนี้ว่า คุณ ที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ? ดังนี้ หรือว่าอกุศลเป็นอย่างไรเล่า? ดังนี้ทุกข้อ เป็นกเถตุกามยตาปุจฉา (ถามเพื่อตอบเอง) เท่านั้นเอง.
เพราะว่าในคำถามเหล่านั้น คนทั้งหลายเข้าใจในสัมมาทิฏฐินั้นก็มี ไม่เข้าใจก็มี เป็นคนนอกศาสนาก็มี ในศาสนาก็มี กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิด้วยสามารถที่ได้ฟังตามกันมาเป็นต้นก็มี ด้วยได้ประจักษ์ด้วยตนเองมาก็มี ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวหมายเอาคำถามของคนส่วนมากนั้น ย้ำถึง ๒ ครั้งว่า คุณที่เรียกกันว่า สัมมาทิฏฐิ... อันที่จริงในเรื่องนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ ถึงอาจารย์เหล่าอื่นก็เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.
ท่านพระสารีบุตรนี้นั้น เมื่อกล่าวอย่างนี้ ได้กล่าวว่า ด้วยเหตุเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง ดังนี้ หมายถึงความหมายและลักษณะ (ของสัมมาทิฏฐิ).


แก้สัมมาทิฏฐิ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเห็นทั้งดีงามทั้งประเสริฐ.
ก็เมื่อใด ศัพท์ว่า สัมมาทิฏฐินี้ใช้ในธรรมะเท่านั้น เมื่อนั้นพึงทราบเนื้อความของศัพท์นั้นอย่างนี้ว่า ทิฏฐิทั้งดีงามทั้งประเสริฐ ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ. และสัมมาทิฏฐินี้นั้นมี ๒ อย่าง คือ โลกิยสัมมาทิฏฐิ ๑ โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ๑.
ในจำนวนสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น กัมมัสสกตาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตน) และสัจจานุโลมิกญาณ (ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจ) ชื่อว่า โลกิยสัมมาทิฏฐิ. ส่วนปัญญาที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค อริยผล ชื่อว่าโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ. แต่คนที่มีสัมมาทิฏฐิมี ๓ ประเภท คือ ปุถุชน ๑ เสกขบุคคล (ผู้ต้องศึกษา) ๑ อเสกขบุคคล (ผู้ไม่ต้องศึกษา) ๑.
ในจำนวน ๓ ประเภทนั้น ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ พาหิรกชน (คนนอกศาสนา) ๑ ศาสนิกชน (คนในศาสนา) ๑.
ในจำนวน ๒ ประเภทนั้น พาหิรกปุถุชนผู้เป็นกรรมวาที (เชื่อถือกรรม) ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ไม่ใช่โดยความเห็นขั้นสัจจานุโลมญาณ.
ส่วนศาสนิกปุถุชน ชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นทั้ง ๒ อย่าง (คือกัมมัสสกตาและอนุโลมญาณ เพราะยังลูบคลำความเห็นเรื่องอัตตาอยู่ ยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้).
เสกขบุคคล ชื่อว่ามีความเห็นชอบ เพราะมีความเห็นชอบที่แน่นอน. ส่วนอเสกขบุคคล ชื่อว่ามีความเห็นชอบ เพราะไม่ต้องศึกษา.
แต่ในที่นี้ประสงค์เอาผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลที่แน่นอน คือเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ว่า ผู้มีความเห็นชอบ.
เพราะเหตุนั้นเอง ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.
อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลเท่านั้นเป็นความเห็นที่ตรง เพราะไปตามความตรง ไม่ข้องแวะกับที่สุดทั้ง ๒ อย่าง หรือตัดขาดความคดงอทุกอย่างมีความคดงอทางกายเป็นต้นแล้วไปตรง และผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นเอง ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน คือด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ.
อริยสาวกเมื่อคลายความยึดมั่นด้วยทิฏฐิทุกอย่าง ละกิเลสทั้งสิ้นได้ ออกไปจากสงสารคือชาติ เสร็จสิ้นการปฏิบัติ ท่านเรียกว่าผู้ได้มาสู่พระสัทธรรม กล่าวคือพระนิพพานที่หยั่งลงสู่อมตธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้วด้วยอริยมรรค.
[๑๑๑] คำว่า ยโต โข นี้เป็นคำกำหนดกาลเวลา. มีอธิบายว่า ในกาลใด.
ข้อว่า อกุสลมูลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดอกุศล กล่าวคืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือเมื่อแทงตลอดว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ด้วยสามารถแห่งกิจจญาณ ชื่อว่ารู้ชัดอกุศล เพราะความรู้ชัดที่มีนิโรธเป็นอารมณ์.
ข้อว่า อกุสลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดรากเหง้าของอกุศลที่เป็นรากเหง้า เป็นปัจจัยแห่งอกุศลนั้น คือเมื่อแทงตลอดว่า นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์โดยประการนั้นนั่นเอง (ชื่อว่ารู้ชัดรากเหง้าของอกุศล).
ถึงแม้ในคำนี้ว่า กุศลและรากเหง้าของกุศล ก็มีนัยนี้.
ในทุกวาระต่อจากวาระนี้ไป ก็เหมือนกับในวาระนี้ ควรทราบการรู้ชัดวัตถุ ด้วยสามารถแห่งกิจจญาณนั่นเอง.
บทว่า เอตฺตาวตาปิ ความว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คือแม้ด้วยการรู้ชัดอกุศลเป็นต้นนี้.
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ โหติ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ มีประการดังกล่าวมาแล้ว.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า อริยสาวกนั้นมีความเห็นตรง ฯลฯ ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว เป็นอันท่านพระสารีบุตรจบการแสดงโดยย่นย่อลงแล้ว. การแสดง (ของท่าน) นี้ถึงจะย่นย่อ แต่ก็ควรทราบถึงการแทงตลอดด้วยมนสิการโดยชอบ ด้วยสามารถแห่งความพิสดารอยู่นั่นเอง สำหรับภิกษุเหล่านั้น. ส่วนในทุติยวารถึงการแสดง (จะย่นย่อ) ก็ควรทราบถึงการแทงตลอด ด้วยมนสิการโดยชอบอย่างพิสดารว่า ได้เป็นไปแล้วโดยพิสดารอยู่นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกันว่า บรรดาการแสดงทั้ง ๒ อย่างนั้น ด้วยการแสดงอย่างย่นย่อ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องต่ำไว้ทั้ง ๒ อย่าง ด้วยการแสดงอย่างพิสดาร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องสูงไว้ ๒ อย่าง
ในที่สุดแห่งการแสดงอย่างพิสดาร ภิกษุทั้งหลายเล็งเห็นคำมีอาทิว่า เพราะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง. แต่พระเถระได้กล่าวว่า มรรคทั้ง ๔ ได้กล่าวไว้แล้ว โดยเป็นหมวดด้วยการแสดงอย่างย่อก็มี ด้วยการแสดงอย่างพิสดารก็มี.
อนึ่ง การแสดงทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดารนี้ใด เป็นการแสดงที่ข้าพเจ้าได้กระทำการวิจารณ์ไว้โดยละเอียดแจ่มแจ้งแล้ว ในที่นี้การแสดงนั้น พึงทราบตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในที่นี้ทุกๆ วาระเทอญ. เพราะว่าต่อแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักทำเพียงการขยายความเฉพาะบทที่ยากที่ยังไม่ได้ (อธิบาย) เท่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในการแสดงโดยพิสดารซึ่งปฐมวารในจำนวนวาระเหล่านั้นก่อน.
ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ปาณาติบาตนั้นแหละเป็นอกุศล. อกุศลพึงทราบได้จากความเป็นไปโดยความไม่ฉลาด. อกุศลนั้นพึงทราบโดย (เป็นธรรม) ตรงกันข้ามกับกุศลที่จะต้องกล่าวข้างหน้า หรือโดยลักษณะ พึงทราบ (ว่าเป็น) สิ่งที่มีโทษและมีวิบากเป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่เศร้าหมอง. นี้เป็นการขยายบททั่วไปในอกุศลวาระนี้ก่อน.


แก้ปาณาติบาต
ส่วนในบทเฉพาะ (ไม่ทั่วไป) พึงทราบวินิจฉัยว่า การยังสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป ชื่อว่าปาณาติบาต ได้แก่การฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต. อธิบายว่า การทำลายสัตว์ที่มีชีวิต.
ก็คำว่า ปาณะ ในคำว่า ปาณาติปาโต นี้ โดยโวหารได้แก่สัตว์ แต่โดยปรมัตถ์ได้แก่ชีวิตินทรีย์.
ส่วนเจตนาที่จะฆ่าของผู้มีความสำคัญในสัตว์มีชีวิตนั้นว่า เป็นสัตว์มีชีวิตอันเป็นสมุฏฐานแห่งความพยายามที่จะเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ ที่เป็นไปทางกายทวารหรือวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่าปาณาติบาต.
ปาณาติบาตนั้น พึงทราบว่ามีโทษน้อย ในเพราะสัตว์มีชีวิตตัวเล็ก ในจำนวนสัตว์มีชีวิตทั้งหลายมีเดียรัจฉานเป็นต้นที่ปราศจากคุณ แต่พึงทราบว่ามีโทษมาก ในเพราะสัตว์มีชีวิตตัวใหญ่.
เพราะเหตุไร?
เพราะมีประโยคใหญ่ (มีวิธีการมาก).
แม้เมื่อมีประโยคเสมอกัน ปาณาติบาตพึงทราบว่ามีโทษมาก เพราะวัตถุใหญ่ (ตัวใหญ่). ในจำพวกสัตว์ที่มีคุณมีมนุษย์เป็นต้น ในเพราะสัตว์มีคุณน้อย ปาณาติบาตก็พึงทราบว่ามีโทษน้อย. ในเพราะสัตว์มีคุณมาก ก็พึงทราบว่ามีโทษมาก. แต่เมื่อสรีระและคุณมีความเสมอกัน ปาณาติบาตพึงทราบว่ามีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายามอ่อน พึงทราบว่ามีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า.
ปาณาติบาตนั้นมีองค์ประกอบ ๕ คือ
สัตว์มีชีวิต ๑
ความรู้ว่าสัตว์มีชีวิต ๑
จิตคิดจะฆ่า ๑
ความพยายาม (ฆ่า) ๑
สัตว์ตายเพราะความพยายามนั้น ๑.
ประโยคแห่งการฆ่า มี ๖ คือ สาหัตถิกประโยค (ฆ่าด้วยมือของตนเอง) ๑ อาณัตติกประโยค (ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า) ๑ นิสสัคคิยประโยค (ฆ่าด้วยสาตราวุธที่พุ่งหรือปล่อยออกไป) ๑ ถาวรประโยค (ฆ่าด้วยเครื่องมือดักอยู่กับที่) ๑ วิชชามยประโยค (ฆ่าด้วยอำนาจวิชา) ๑ อิทธิมยประโยค (ฆ่าด้วยฤทธิ์) ๑.
แต่ครั้นจะอธิบายประโยคนี้ให้พิสดารในปฐมวาระนี้ ก็จะยืดยาวไปมาก เพราะฉะนั้น จะไม่ขออธิบายประโยคนั้นและอย่างอื่นที่เป็นแบบนี้ให้พิสดาร ส่วนผู้มีความต้องการ พึงตรวจดูสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัยเอาเถิด.


แก้อทินนาทาน
การถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ ชื่อว่าอทินนาทาน การลักของๆ ผู้อื่น ชื่อว่าเถยยะ. อธิบายว่า เป็นกิริยาของโจร.
บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ ของที่ผู้อื่นหวงแหนซึ่งคนอื่น (เจ้าของ) เมื่อใช้ตามที่ต้องการ ก็ไม่ควรได้รับทัณฑ์และไม่ควรถูกตำหนิ.
ส่วนเจตนาที่จะลักของผู้มีความสำคัญในของที่ผู้อื่นหวงแหนนั้นว่า เป็นของที่เขาหวงแหน อันเป็นสมุฏฐานแห่งความพยายามที่จะถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้นั้น ชื่อว่าอทินนาทาน.
อทินนาทานนั้นมีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของๆ ผู้อื่นที่เลว. ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสิ่งของของผู้อื่นประณีต.
เพราะเหตุไร?
เพราะว่าเป็นสิ่งของประณีต.
เมื่อมีความเสมอกันแห่งวัตถุ ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสิ่งของที่มีอยู่ของผู้มีคุณยิ่ง. อทินนาทานนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของที่มีอยู่ของผู้มีคุณต่ำกว่านั้น เพราะเปรียบเทียบกับผู้มีคุณยิ่งนั้น.
อทินนาทานนั้นมีองค์ประกอบ ๕ ประการ คือ
ของที่คนอื่นหวงแหน ๑
ความรู้ว่าเป็นของที่คนอื่นหวงแหน ๑
จิตคิดจะลัก ๑
ความพยายาม (จะลัก) ๑
ลักของได้มาด้วยความพยายามนั้น ๑.
ก็ประโยค (การประกอบอทินนาทาน) มี ๖ อย่างมีสาหัตถิกประโยคเป็นต้น. ก็ประโยคเหล่านั้นแลเป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งอวหาร (การลัก) เหล่านี้ คือ เถยยาวหาร (ลักโดยการขโมย) ๑ ปสัยหาวหาร (ลักโดยการกรรโชก) ๑ ปฏิจฉันนาวหาร (ลักโดยการปิดช่องสิ่งของ) ๑ ปริกัปปาวหาร (ลักโดยการกำหนดสิ่งของหรือเวลา) ๑ กุสาวหาร (ลักโดยการสับเปลี่ยน) ๑.
ข้อความดังที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นข้อความสังเขปในอวหารนี้. ส่วนความพิสดารได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาชื่อสมันตปาสาทิกา.


แก้กาเมสุมิจฉาจาร
ก็บทว่า กาเมสุ ในข้อว่า กาเมสุมิจฺฉาจาโร นี้ ได้แก่ เมถุนสมาจาร. ความประพฤติลามกที่บัณฑิตตำหนิโดยส่วนเดียว ชื่อว่ามิจฉาจาร.
แต่โดยลักษณะเจตนาที่ล่วงเกินอคมนียฐาน (คนที่ต้องห้าม) ที่เป็นไปทางกายทวาร ด้วยความประสงค์ต่ออสัทธรรม ชื่อว่ากาเมสุมิจฉาจาร.
ก่อนอื่น (หญิง) ที่ชื่อว่าเป็นอคมนียฐาน (หญิงที่ต้องห้าม) สำหรับผู้ชายในกาเมสุมิจฉาจารนี้ ได้แก่หญิง ๒๐ จำพวก คือ หญิงที่มีมารดารักษาเป็นต้น.
หญิง ๑๐ จำพวก คือ หญิงที่มารดารักษา ๑ ที่บิดารักษา ๑ ที่ทั้งมารดาและบิดารักษา ๑ ที่พี่ชายน้องชายรักษา ๑ ที่ญาติรักษา ๑ ที่โคตรรักษา ๑ ที่ธรรมรักษา ๑ ที่มีการอารักขา ๑ ที่มีอาชญารอบด้าน (อยู่ในกฏมณเฑียรบาล) ๑.
และหญิงอีก ๑๐ จำพวก มีหญิงที่ไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้นเหล่านี้ คือ ภรรยาที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ (ภรรยาสินไถ่) ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะความพอใจ ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะโภคะ ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะเครื่องนุ่งห่ม ๑ ที่ผู้ปกครองเต็มใจยกให้ ๑ ที่ชายยกเทริดลงจากศีรษะ ๑ ที่เป็นทั้งภรรยาเป็นทั้งทาส ๑ ที่เป็นทั้งภรรยาเป็นทั้งลูกจ้าง ๑ ที่เป็นเชลยศึก ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพียงครู่เดียว ๑.
ส่วนชายอื่น นอกจากสามีของตน ชื่อว่าเป็นอคมนียฐาน (ชายต้องห้าม) สำหรับหญิง ๑๒ จำพวก คือ ๒ จำพวกสำหรับหญิงมีอารักขาและหญิงมีอาชญารอบด้าน และ ๑๐ จำพวกสำหรับภรรยาที่ไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้น ในจำนวนหญิงทั้งหลาย (๑๐ จำพวก) สำหรับภรรยา.
อนึ่ง มิจฉาจารนี้นั้นชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะอคมนียฐาน (ผู้ต้องห้าม) ปราศจากคุณธรรมมีศีลเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะถึงพร้อมด้วยคุณธรรมมีศีลธรรมเป็นต้น.
กาเมสุมิจฉาจารนั้นมีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือ
เป็นบุคคลต้องห้าม ๑
จิตคิดจะเสพในบุคคลต้องห้ามนั้น ๑
การประกอบการเสพ ๑
การยังมรรคให้ดำเนินไปในมรรคหรือหยุดอยู่ ๑
ประโยคมีอย่างเดียว คือสาหัตถิกประโยคเท่านั้น.

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110&p=1#%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
sithiphong
ชมรมพระวังหน้า
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +7/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 918


ชมรมพระวังหน้า

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 08 มิถุนายน 2553 21:31:38 »

แก้มุสาวาท กายประโยคหรือวจีประโยคที่หักรานประโยชน์ (ผู้อื่น) ของผู้มุ่งจะพูดให้ผิด ชื่อว่ามุสา. เจตนาของผู้พูดให้ผิดต่อผู้อื่นด้วยประสงค์จะให้เข้าใจผิด มีกายประโยคและวจีประโยคเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่ามุสาวาท.
อีกนัยหนึ่ง เรื่องไม่จริง ไม่แท้ ชื่อว่ามุสา (เรื่องเท็จ). การให้ (ผู้อื่น) เข้าใจเรื่องเท็จนั้นว่าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ ชื่อว่าวาทะ (การพูด) แต่โดยลักษณะ เจตนาของผู้ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่จริงว่าเป็นเรื่องจริง อันเป็นสมุฏฐานแห่งวิญญัติ (การเคลื่อนไหว) อย่างนั้น ชื่อว่ามุสาวาท (การพูดเท็จ).
มุสาวาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีจำนวนน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีจำนวนมาก.
อีกอย่างหนึ่ง สำหรับคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ไม่มีเพราะไม่ประสงค์จะให้ของๆ ตน (แก่คนอื่น) มีโทษน้อย ที่กล่าวเบิกพยานเพื่อหักล้างประโยชน์ (ของคู่ความ) มีโทษมาก.
สำหรับบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปแล้วโดยนัยแห่งบูรณากถา (พูดให้เต็มความหรือเล่นสำนวน) ว่า วันนี้น้ำมันในบ้านเห็นจะไหลเป็นแม่น้ำนะด้วยความประสงค์จะให้หัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสน้อยไป มีโทษน้อย. แต่ของผู้พูดโดยนัยมีอาทิว่า สิ่งที่ไม่ได้เห็นเลยว่าได้เห็น มีโทษมาก.
มุสาวาทนั้นมีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือ
เรื่องไม่จริง ๑
ตั้งใจพูดให้ผิด ๑
พยายามพูด ๑
ผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้น ๑.
ประโยคมีประโยคเดียว คือสาหัตถิกประโยคเท่านั้น. ประโยคนั้นพึงเห็นว่า ได้แก่การแสดงกิริยาของผู้จะพูดให้ผิดต่อผู้อื่นด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกายหรือด้วยวาจา. ถ้าหากผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้นด้วยกิริยานั้น กิริยานี้ชื่อว่าเนื่องด้วยมุสาวาทกรรม ในขณะแห่งเจตนาที่มีกิริยาเป็นสมุฏฐานนั้นเอง.


แก้ปิสุณาวาจา
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปิสุณาวาจา เป็นต้น.
วาจาที่เป็นเหตุให้หัวใจของบุคคลผู้ที่ตนพูดด้วย เกิดความรักตนและเกลียดชังคนอื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจา.
ส่วนวาจาที่เป็นเหตุทำให้ตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคายและวาจาที่หยาบคายเอง คือไม่ไพเราะโสต หรือไม่ชื่นใจ (ผู้ฟัง) นี้ชื่อว่าผรุสวาจา.
วาทะที่เป็นเหตุให้เจรจาเพ้อเจ้อ คือไร้ประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัปปลาป. ถึงเจตนาที่เป็นมูลฐานของการกล่าวคำหยาบและคำเพ้อเจ้อเหล่านั้น ก็ได้นามว่าปิสุณาวาจาเป็นต้นอยู่นั่นเอง. และในที่นี้ก็ประสงค์เอาเจตนานั้นแล.
เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมองที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค เพื่อทำลายชนเหล่าอื่นหรือเพื่อประสงค์จะทำตนให้เป็นที่รักของผู้อื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจาในวจีกรรมนั้น.
ปิสุณาวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ถูกทำให้แตกกันนั้น มีคุณธรรมน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีคุณธรรมมาก.
ปิสุณาวาจานั้นมีองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ
ผู้ต้องถูกทำลายเป็นคนอื่น ๑
ความมุ่งหน้าจะทำลายด้วยประสงค์ว่า คนเหล่านี้จักเป็นผู้แตกแยกจากกัน ด้วยอุบายอย่างนี้ หรือความประสงค์ว่าเราจักเป็นที่รักเป็นที่คุ้นเคย (ของเขา) ด้วยอุบายอย่างนี้ (รวมเป็นองค์) ๑
ความพยายามที่เกิดจากความตั้งใจนั้น ๑
การที่เขาเข้าใจเนื้อความนั้น ๑.


แก้ผรุสวาจา
เจตนาที่หยาบคายโดยส่วนเดียว ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค อันเป็นเหตุตัดรอนความรักของคนอื่น ชื่อว่าผรุสวาจา.
เพื่อความแจ่มชัดแห่งผรุสวาจานั้น ต้องสาธกเรื่องนี้.
ได้ทราบว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อถ้อยคำของมารดา (ขืน) เข้าป่าไป. มารดาเมื่อไม่สามารถจะให้เขากลับได้ จึงด่าว่า ขอให้แม่กระบือดุร้ายจงไล่ขวิดมึง. ภายหลังแม่กระบือได้ปรากฏแก่เขาเหมือนอย่างที่แม่ว่านั่นแหละ. เด็กจึงทำสัจจกิริยาว่า คุณแม่ของข้าพเจ้ากล่าวอย่างใดด้วยปาก ขออย่าเป็นอย่างนั้น แต่คิดอย่างใดด้วยใจ ขอให้เป็นอย่างนั้น. แม่กระบือได้หยุดชะงักอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเองเหมือนถูกผูกไว้.
วจีประโยคแม้เป็นเหตุตัดเสียซึ่งคำรัก (คำที่พาดถึงสิ่งที่รัก) ดังที่พรรณนามานี้
ก็ไม่เป็นผรุสวาท เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยน.
จริงอยู่ บางครั้งพ่อแม่ว่าลูกๆ อย่างนี้ว่า ขอให้พวกโจรฟันพวกเองให้ขาดเป็นท่อนๆ ไปเถิด ถึงอย่างนั้น แม้แต่เพียงกลีบดอกอุบลก็ไม่ประสงค์จะให้ตกลงบนเบื้องบนของพวกเขาเลย. และบางครั้งอาจารย์และอุปัชฌาย์ต่อว่า อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกผู้อยู่อาศัยทั้งหลายว่า พวกนี้จะพูดอะไรกันก็ไม่มียางอาย ไม่มีความเกรงกลัว สูเจ้าทั้งหลายจงไล่เขาไปเสีย. แต่ถึงกระนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์เหล่านั้นก็ยังปรารถนาสมบัติคืออาคม (ปริยัติ) และอธิคม (ปฏิเวธ) แก่อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกเหล่านั้นอยู่.
อนึ่ง วจีประโยคไม่เป็นผรุสวาจา เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยนฉันใด จะไม่เป็นผรุสวาจาเพราะผู้พูดมีคำพูดอ่อนหวานฉันนั้นก็หามิได้ เพราะว่า คำพูดของผู้ประสงค์จะให้เขาตายว่า แกจงให้คนคนนี้นอนสบายเถิด ดังนี้ ไม่ใช่ไม่เป็นผรุสวาจา แต่วาจานี้เป็นผรุสวาจาทีเดียว เพราะผู้พูดมีจิตหยาบคาย.
ผรุสวาจานี้ ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ที่ผรุสวาทีบุคคลพูดหมายถึงเป็นผู้มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีคุณมาก.
ผรุสวาจานั้นมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ
ผู้ที่จะต้องถูกด่าเป็นคนอื่น ๑
จิตขุ่นเคือง ๑
การด่า ๑.


แก้สัมผัปปลาปะ
ความจงใจที่เป็นอกุศล ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค ที่ยังผู้อื่นให้เข้าใจคำพูดที่ไร้ประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัปปลาปะ.
สัมผัปปลาปะนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้พูดมีอาเสวนะอ่อน (ความเคยชินน้อย) ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้พูดมีอาเสวนะมาก (ความเคยชินมาก).
สัมผัปปลาปะนั้นมีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ
ความมุ่งหน้าที่จะพูดถ้อยคำไร้ประโยชน์ มีเรื่องสงครามภารตะและเรื่องการลักพานางสีดา (เรื่องรามเกียรติ์) เป็นต้น ๑
การกล่าวถ้อยคำชนิดนั้น ๑.


แก้อภิชฌา
เจตนาชื่อว่าอภิชฌา เพราะเพ่งเล็ง. อธิบายว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มุ่งหน้าเพ่งเล็งเฉพาะภัณฑะของผู้อื่นแล้วน้อมภัณฑะนั้นมา. อภิชฌานั้นมีลักษณะเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ของสิ่งนี้จะพึงเป็นของเรา. อภิชฌานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนกับอทินนาทาน.
อภิชฌานั้นมีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ
ของของผู้อื่น ๑
น้อมสิ่งนั้นมาเพื่อตน ๑.
อธิบายว่า ถึงจะเกิดความโลภที่มีภัณฑะของผู้อื่นเป็นที่ตั้งขึ้น กรรมบถก็ยังไม่ขาดจนกว่าจะน้อมมาเพื่อตนว่า ไฉนหนอ ของสิ่งนี้จะพึงเป็นของเรา.


แก้พยาบาท
บาปธรรมชื่อว่าพยาบาท เพราะยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุขให้ถึงความพินาศ. พยาบาทนั้นมีลักษณะประทุษร้าย เพื่อความพินาศของผู้อื่น. พยาบาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนกับผรุสวาจา.
พยาบาทนั้นมีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ
สัตว์อื่น ๑
ความคิดที่จะให้สัตว์นั้นพินาศ ๑.
อธิบายว่า ถึงจะเกิดความโกรธที่มีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้งขึ้น กรรมบถก็ยังไม่ขาด ตลอดเวลาที่ผู้โกรธยังไม่คิดให้สัตว์นั้นพินาศว่า ไฉนหนอ สัตว์นี้จะพึงขาดสูญพินาศไป.


แก้มิจฉาทิฏฐิ
เจตนาชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ เพราะเห็นผิด โดยไม่มีการถือเอาตามความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้นมีลักษณะเห็นผิด โดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล. มิจฉาทิฏฐินั้นชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนสัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิที่ไม่แน่นอน (ยังไม่ดิ่ง) ชื่อว่ามีโทษน้อย. ที่แน่นอน (ดิ่ง) ชื่อว่ามีโทษมาก.
มิจฉาทิฏฐินั้นมีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ
การที่เรื่องผิดไปจากอาการที่ยึดถือ ๑
การปรากฏขึ้นแห่งเรื่องนั้น โดยไม่เป็นอย่างที่มิจฉาทิฏฐิกบุคคลยึดถือ ๑.


วินิจฉัยโดยอาการ ๕ อย่าง
อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ เหล่านี้ โดยอาการ ๕ อย่าง คือ
โดยธรรมะ (ธมฺมโต) ๑ โดยโกฏฐาสะ (โกฏฺฐาสโต) ๑ โดยอารมณ์ (อารมฺมณโต) ๑ โดยเวทนา (เวทนาโต) ๑ โดยเค้ามูล (มูลโต) ๑.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต มีเนื้อความว่า ความจริงในจำนวนกรรมบถ ๑๐ อย่างเหล่านี้ กรรมบถ ๗ ข้อตามลำดับ (กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔) เป็นเจตนาธรรมตรงตัว ส่วนกรรมบถ ๓ อย่างมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นตัวประกอบเจตนา.
บทว่า โกฏฺฐาสโต ความว่า กรรมบถ ๗ ข้อตามลำดับ และมิจฉาทิฏฐิอีก ๑ รวมเป็น ๘ ข้อนี้เป็นกรรมบถอย่างเดียว ไม่เป็นมูล (รากเหง้าของอกุศล). ส่วนอภิชฌากับพยาบาท (๒ ข้อนี้) เป็นทั้งกรรมบถ เป็นทั้งมูล (รากเหง้าของอกุศล). อธิบายว่า เพราะเป็นรากเหง้า อภิชฌาจึงเป็นโลภอกุศลมูล พยาบาทเป็นโทสอกุศลมูล.
บทว่า อารมฺมณโต ความว่า ปาณาติบาตมีสังขารเป็นอารมณ์ เพราะมีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์. อทินนาทานมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง. มิจฉาจารมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งโผฏฐัพพะ. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์ก็มี. มุสาวาทมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง. ปิสุณาวาจาก็เหมือนกัน ผรุสวาจามีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว สัมผัปปลาปะมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง ด้วยอำนาจแห่งรูปที่ได้เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ได้ทราบแล้ว และธรรมารมณ์ที่ได้รู้แล้ว อภิชฌาก็เหมือนกัน (แต่) พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว (ส่วน) มิจฉาทิฏฐิมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓.
บทว่า เวทนาโต ความว่า ปาณาติบาตมีเวทนาเป็นทุกข์. เพราะว่า พระราชาทั้งหลายทรงเห็นโจรแล้ว ถึงจะทรงกระหยิ่มอยู่พลางรับสั่งว่า ไป เอามันไปสังหาร ดังนี้ก็จริง แต่ถึงกระนั้น เจตนาที่เป็นตัวการให้ตกลงปลงพระทัยของพระราชาเหล่านั้น เป็นเจตนาที่ประกอบด้วยทุกข์อยู่นั้น.
อทินนาทานมีเวทนา ๓. มิจฉาจารมีเวทนา ๒ ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. แต่ไม่ใช่มีเวทนาเป็นอุเบกขา ในเพราะจิตเป็นตัวการให้ตกลงปลงใจ. มุสาวาทมีเวทนา ๓. ปิสุณาวาจาก็เหมือนกัน. ผรุสวาจามีเวทนาเป็นทุกข์อย่างเดียว. สัมผัปปลาปะมีเวทนา ๓. อภิชฌามีเวทนา ๒ ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. มิจฉาทิฏฐิก็เหมือนกัน. (แต่) พยาบาทมีเวทนาเป็นทุกข์.


แก้อกุศลมูล
บทว่า มูลโต ความว่า ปาณาติบาตมีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูลด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะ.
อทินนาทาน (มีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูล) ด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะ หรือด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ. มิจฉาจาร (มีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูล) ด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ. มุสาวาทด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะหรือโลภะและโมหะ. ปิสุณาวาจาและสัมผัปปลาปะก็เหมือนกัน (กับมุสาวาท).
ผรุสวาจาด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะ. อภิชฌามีอกุศลอย่างเดียวเป็นมูล ด้วยอำนาจแห่งโมหะ (น่าจะเป็นโลภะ -ผู้แปล-)
พยาบาทก็เหมือนกัน (กับอภิชฌา). (แต่) มิจฉาทิฏฐิมีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูลด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ ดังนี้แล.
พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า โลโภ อกุสลมูลํ เป็นต้น (ดังต่อไปนี้)
อกุศลธรรมชื่อว่าโลภะ เพราะอยากได้. ชื่อว่าโทสะ เพราะประทุษร้าย. ชื่อว่าโมหะ เพราะหลง.
ในจำนวนอกุศลธรรมทั้ง ๓ อย่างเหล่านั้น โลภะชื่อว่าเป็นอกุศลมูล เพราะตัวมันเองเป็นทั้งอกุศล เพราะอรรถว่ามีโทษและมีทุกข์เป็นวิบาก เป็นทั้งรากเหง้าของอกุศลธรรมเหล่านี้มีปาณาติบาตเป็นต้น เพราะอรรถว่าเป็นสภาพแห่งสัมปยุตธรรมของอกุศลบางเหล่า และเพราะอรรถว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัยของอกุศลธรรมบางอย่าง.
สมจริงตามคำที่ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ ผู้กำหนัดมากแล้ว ถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตถูกราคะรึงรัดแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์มีชีวิตได้ ดังนี้เป็นต้น
แม้ในการที่โทสะและโมหะเป็นอกุศลมูล ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.


แก้กุศลกรรมบถ
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปาณาติปาตา เวรมณี กุสลํ (เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นกุศล) เป็นต้นดังต่อไปนี้.
อกุศลกรรมบถทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น มีอรรถาธิบายดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
เจตนาชื่อว่า เวรมณี เพราะย่ำยีเวร อธิบายว่า ละเวรได้.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเว้นจากเวรได้เพราะเจตนานี้เป็นเหตุ เพราะเหตุนั้น เจตนานั้นจึงชื่อว่า เวรมณี โดยเปลี่ยน วิ อักษร ให้เป็น เว อักษร ไป.
นี้เป็นการขยายความในคำว่า เวรมณี นี้ โดยพยัญชนะก่อน.
ส่วนการขยายความโดยอรรถ (ความหมาย) พึงทราบว่า วิรัติที่สัมปยุตด้วยกุศลจิต ชื่อว่าเวรมณี. วิรัติของผู้เว้นจากปาณาติบาตที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า การงดการเว้นจากปาณาติบาต ในสมัยนั้น ดังนี้ ชื่อว่าเป็นวิรัติที่สัมปยุตด้วยกุศลจิต.



.
.. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓]

อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1518&Z=1753


.
��ö��� �Ѫ����ԡ�� ��Żѳ��ʡ� ��Ż�������ä ����ҷԯ���ٵ� ��Ҵ��¤�����繪ͺ ˹�ҵ�ҧ��� � �� �

.
บันทึกการเข้า

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 09 มิถุนายน 2553 04:19:30 »



อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ...
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.692 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 09 ธันวาคม 2567 06:52:00