[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 พฤศจิกายน 2567 03:09:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฝึกปฏิบัติเพื่อความรัก: Practice for Love  (อ่าน 1439 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 21 มิถุนายน 2553 20:38:06 »


 
หากว่าเธอรักใครสักคน และความรักนั้นเป็นรักที่แท้.....
 
นี่เป็นประโยคที่ท่านติช นัท ฮันห์ กล่าวขึ้นต้นในงานปาฐกถาธรรมเมื่อ ปี 2550 ...รักที่แท้....เมื่อเขาทุกข์ เธอก็ทุกข์ด้วย เมื่อเขาสุข เธอก็สุข เธอและเขามิได้แสวงหาความสุขเฉพาะตนส่วนบุคคล แต่เป็นความสุขของกันและกัน
 
สำหรับฉันแล้วคำสอนแบบนี้ช่างเป็นคำสอนที่เรียบง่าย งดงาม ของความรักที่ไร้ตัวตน ไร้การครอบครอง ง่ายต่อความเข้าใจ แต่การจะนำไปใช้ฝึกปฏิบัติให้เกิดมรรคผลนั้น ใช่จะง่ายดายเช่นในความคิด ความรักอาจกำเนิดจากความรู้สึก แต่รักที่แท้นั้นจะเกิดได้ต่อเมื่อมีการฝึกปฏิบัติเท่านั้น เพราะในความรักของปุถุชนยามเมื่อรักใครสักคน ก็เป็นธรรมชาติที่อยากจะได้รักตอบ ครั้นเมื่อได้รักตอบก็อยากครอบครองเขาไว้ เกิดเป็นความยึดมั่น กลายเป็นความผูกมัด เป็นโซ่ตรวน เป็นพันธนาการ ซึ่งเหล่านี้ไม่ใช่หนทางของ รักแท้
 
คำสอนของหมู่บ้านพลัมที่หลายคนค่อนข้างจะคุ้นเคยเป็นอย่างดีคือ คาถา 4 บท คาถาเพื่อการถนอมรักษาความรัก
 
1. ฉันอยู่ที่นี่ เพื่อเธอ
2. ฉันรู้ว่าเธออยู่ตรงนั้น และฉันมีความสุข
3. ฉันกำลังพยายามทำอย่างดีที่สุด
4. ฉันเป็นทุกข์ โปรดช่วยฉันด้วย
ท่านติช นัท ฮันห์ กล่าวว่า ในความรักย่อมมีพันธะสัญญา ความงดงามก็คือมิให้พันธะสัญญานั้นกลายเป็นโซ่ตรวนที่มัดไว้ให้กลายเป็นพันธนาการ
 
คาถา 4 บทข้างต้นคือแนวทางในการฝึกปฏิบัติเพื่อความรักที่ไร้ตัวตน เป็นคำสอนที่ดูเรียบง่ายอย่างมาก แต่ความยากลำบากก็คือ เราคิดว่า "เราเข้าใจแล้ว" เราต้องตระหนักรู้ว่า รักที่แท้ ไม่ใช่ความเข้าใจอันเกิดจากสมอง ความรักไม่ได้ใช้สมอง แต่รักที่แท้เกิดจาการฝึกปฏิบัติอย่างแท้จริงและเป็นรูปธรรม ...เราไม่อาจลุไปถึงรักแท้ได้ด้วยการคิดจากสมองของเรา
 
จากประสบการณ์ของฉัน เบื้องต้นฉันคิดว่า คาถานี้เป็นเพียงคำสวยงามที่ตั้งขึ้นเพื่อท่องและเข้าใจ ต่อมา ฉัน คิดว่าเพียงคาถา 2 ข้อแรกก็เพียงพอแล้วต่อสิ่งนั้น
 
* คาถาข้อแรกก็คือ การฝึกตัวของเราให้อยู่กับปัจจุบันขณะ อยู่กับลมหายใจ มีความรับผิดชอบต่อกายใจของเราอย่างเต็มเปี่ยม เพื่อเป็นพลังให้กับผู้เป็นที่รักของเรา เพื่อมิให้เป็นภาระของเขา และเพื่อเกื้อกูลกันและกัน เป็นคำมั่นว่าเราจะดูแลกันและกันเป็นอย่างดีเสมอ
 
* คาถาข้อที่ 2 คือฝึกความเชื่อมั่นว่า เขา/เธอ ก็อยู่ตรงนั้น และกำลังดูแลตนเป็นอย่างดีเช่นกัน "...เพียงการรำลึกถึงการดำรงอยู่ของผู้เป็นที่รักก็เป็นพลังอย่างมากในการฝึกปฏิบัติของเรา..."
 
ฉันเคยคิดว่า คาถาข้อที่ 3 และ 4 นั้นไม่มีความจำเป็นเลย หากเราฝึกในข้อ 1 และ 2 ได้แล้วเป็นอย่างดี แต่แท้ที่จริงนั้น การฝึกปฏิบัติเพื่อให้ความรักมั่นคง คาถาข้อแที่ 3 และ 4 กลับทวีความสำคัญมากขึ้น เพราะคาถาข้อที่ 3 และ 4 เป็นคาถาที่มีไว้เพื่อลดทอนความทุกข์ หากรักแท้คือคำมั่นคือพันธะสัญญา เราต้องหัดให้มีการสื่อสารเพื่อแบ่งเบาความทุกข์ของอีกฝ่าย ในชีวิตประจำวันเราต่างก็มีปัญหามีข้อคับข้องใจมากมาย ง่ายต่อการกระทบกระทั่ง การสื่อสารจึงเป็นสิ่งจำเป็น
 
* คาถาข้อที่ 3 ก็คือการฝึกที่จะยอมรับว่าเราเองก็มีความทุกข์ มีความไม่สบายใจ เราอาจจะไม่พร้อมที่เล่าเรื่องราวทั้งหมด ยังไม่กล้าที่จะบอกเล่าได้ การพูดว่า "ฉันกำลังพยายามทำอย่างดีที่สุด" ก็อาจจะเพียงพอแล้วต่อการบอกกล่าว คนที่เรารักก็จะรับรู้ได้ และเป็นกำลังใจต่อกัน
 
* คาถาข้อที่ 4 คือความกล้าหาญที่จะขอความช่วยเหลือจากคนที่เรารัก เป็นเรื่องน่าแปลกที่เรามักจะอึดอัด ขัดเขิน ไม่กล้าบอกเล่าความทุกข์ต่อคนที่เรารัก และคาถาข้อนี้จะฝึกปฏิบัติยากขึ้นไปอีกหาก คนที่เรารัก กับ คนที่ทำให้เราทุกข์ คือคนคนเดียวกัน เราอาจจะคิดว่าไม่อยากให้คนที่เรารักต้องรับฟังเรื่องที่ไม่สบายใจ เรากลัวว่าหากเล่าออกไป เขาจะกังวล แต่ความเป็นจริงก็คือเมื่อเรามีทุกข์ คนรอบข้างจะรับรู้ได้เสมอถึงความทุกข์ของเรา เราปิดบังความทุกข์ไม่ได้ การยอมรับและขอความช่วยเหลือจึงเป็นความกล้าหาญและเป็นการถนอมความรักเช่นกัน คนรักจะภาคภูมิใจหากเขาได้ร่วมรับรู้ความทุกข์นั้น และในกรณีที่เขาเป็นสาเหตุ การใช้คาถาข้อนี้ก็คือวิธี คือประตู เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
 
 
รักแท้ต้องการการสื่อสาร ความรักที่ไม่มีการสื่อสารจะจบสิ้นในที่สุด คาถาข้อที่ 3 และ 4 จึงเป็นความกล้าหาญ เป็นการเกื้อกูล ลดความหยิ่งทะนง ลดตัวตนของเรา คาถาทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นการฝึกปฏิบัติเพื่อความรัก ขอให้ทุกท่านเบิกบานในการฝึกปฏิบัติค่ะ
 
 
 

http://review.semsikkha.org/content/view/584/76/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.303 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 31 ตุลาคม 2567 17:37:29