ในภาษาไทยคำว่า"สัญชาติญาณ"และสัญชาตญาณซึ่งมีความหมาย
ในภาษาไทยที่ว่า"สัญชาติญาณ"คือความบันดาลใจและสัญชาตญาณ
คือความรู้ที่เกิดเองไม่ต้องมีใครสอน เช่น ความรักตัวกลัวตายรู้จักแสวง
หาอาหาร เป็นต้นซึ่งทั้งหมดก็คือธรรมะฝ่ายนามธรรมได้แก่"จิต"เจตสิก
และคำว่า - สัญชาติญาณอาจจะหมายถึง ฉันทะ อัธยาศัย การสะสมก็ได้
แต่ยังไม่พบคำทั้ง 2 คำ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
บุญคือสภาพจิตที่ปราศจากกิเลสอันเป็นการชำระสันดานของตนคือจิตนั่นเอง
ซึ่งจุดประสงค์ของการบอกบุญหรือการนำบุญมาฝากก็เพื่อให้ผู้อื่นที่ได้รับรู้เกิดจิต
อนุโมทนายินดีในกุศลของผู้ที่ได้บอกล่าวในบุญที่ได้ทำไว้ดังนั้นจึงมุ่งเพื่อให้ผู้อื่น
เกิดกุศลจิตอนุโมทนาบุญนั่นเองดังนั้นไม่ว่าจะใช้คำอะไรคำว่าบอก - บุญหรือ - นำบุญ
มาฝากแต่จิตขณะนั้นมีจุดประสงค์เดียวกันคือให้ผู้อื่นเกิดกุศลจิตด้วยก็หมือนกันทั้ง
2 อย่างแต่ควรเข้าใจว่าบุญไม่สามารถมาฝากได้แต่ขึ้นอยู่กับกุศลจิตของ
บุคคลนั้นจะเกิดหรือไม่เมื่อได้ยินเรื่องราวของกุศลที่ผู้อื่นได้ทำมา
การเจริญสมถภาวนาเป็นเรื่องของปัญญาถ้าไม่มีปัญญาก็เจริญไมได้ดังนั้นหาก
เจริญผิด - ก็ไม่ใช่บุญเป็นบาป - สมถภาวนาไม่ใช่ว่าจดจ้องอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งและใจไม่
วอกแวก ไม่คิดเรื่องอื่นจะเป็นสมถภาวนาผู้ที่จะเจริญสมถภาวนาคือผู้ที่เห็นโทษ
ของออกุศลในชีวิตประจำวันจึงระลึกถึงอารมณ์ที่ทำให้กุศลเกิดบ่อยๆจึงจะเป็น
สมถภาวนา และถ้ายังไม่รู้ว่าขณะนี้กำลังอ่านอยู่อย่างนี้ จิต เป็นกุศลหรืออกุศลและ
ขณะไหนเป็นกุศลหรืออกุศลก็เจริญสมถภาวนาไม่ได้เลยเป็นเรื่องของปัญญา
จริง ๆ ซึ่งคงไม่ต้องไปถึงระดับฌานว่าต้องเป็นกุศลหากมีความเห็นถูกมีความเข้าใจ
ถูกในสิ่งใดสิ่งหนึ่งแม้ขณะที่ฟังอ่านขณะนี้ก็เป็นบุญแล้วเพราะบุญคือสภาพ จิต ที่ดีงามปราศจากกิเลสนั่นเอ
http://www.fungdham.com/download/song/allhits/21.wma