ความคิดเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
"ว่าด้วยมูลเหตุที่เกิดสร้างพระพุทธรูป"
คัดลอกบางส่วนจาก หนังสือ "อัฟกานิสถาน แหล่งผลิตพระพุทธรูปองค์แรกในโลก"
โดย สำนักพิมพ์มติชน
สุจิตต์ วงษ์เทศ : บรรณาธิการ
เรื่องที่จะเกิดมีพระพุทธรูปขึ้นนั้น มีในหนังสือเรื่องตำนานพระแก่นจันทร์
(๑) กล่าวว่าเมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปประทานเทศนาโปรดพระพุทธมารดา ค้างอยู่ในดาวดึงส์พรรษาหนึ่งนั้น
พระเจ้าปเสนชิตกรุงโกศลราฐมิได้เห็นพระพุทธองค์ช้านานมีความรำลึกถึงจึงตรัสสั่งให้นายช่าง
ทำพระพุทธรูปขึ้นด้วยแก่นจันทร์แดงประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์มาถึงที่ประทับ
พระแก่นจันทร์ลุกขึ้นปฏิสันถารพระพุทธองค์ด้วยปาฏิหาริย์
แต่พระพุทธองค์ตรัสสั่งให้พระแก่นจันทร์กลับไปยังที่ประทับเพื่อรักษาไว้เป็นตัวอย่าง
พระพุทธรูปซึ่งสาธุชนจะได้ใช้เป็นแบบอย่างสร้างพระพุทธรูปเมื่อพระองค์ล่วงลับไปแล้ว
ความที่กล่าวในตำนานประสงค์จะอ้างว่าพระพุทธรูปแก่นจันทร์องค์นั้นเป็นต้นแบบอย่างของพระพุทธรูป
ซึ่งสร้างกันต่อมาภายหลังหรือถ้าว่าอีกนัยหนึ่งคืออ้างว่า พระพุทธรูปมีขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต
และเหมือนพระพุทธองค์ เพราะตัวอย่างตรงไหนจะต้องทำพระพุทธรูป คิดทำรูปสิ่งอื่นเช่น
รอยพระพุทธบาท หรือพระธรรมจักรและพุทธอาสน์เป็นต้น สมมติแทนพระพุทธรูปทุกแห่งไป
ข้อนี้พิสูจน์ให้เห็นว่า ประเพณีที่ทำพระพุทธรูปยังไม่มีในสมัยนั้นหรือยังเป็นข้อห้ามในมัชฌิมประเทศ
จนถึงพ.ศ. ๔๐๐
* ข้อนี้แสดงให้เห็นว่าตำนานเรื่องพระแก่นจันทร์นั้นจะเกิดขึ้นต่อสมัยเมื่อมีประเพณีสร้างพระพุทธรูป
กันแพร่หลายแล้ว ราวในพ.ศ. ๗๐๐ หรือ ๘๐๐ ปี เรื่องสร้างพระพุทธรูปนักปราชญ์ในชั้นหลัง
สอบเรื่องพงศาวดารประกอบกับพิจารณาโบราณวัตถุที่ตรวจพบในอินเดียได้ความเป็นหลักฐานว่า
๑ ได้แปลพิมพ์เป็นภาษาไทยแล้ว
* ความจริงจนถึงราวพ.ศ. ๖๐๐ กว่า
พระพุทธรูปเป็นของพวกโยนก (คือฝรั่งชาติกรีก)
ซึ่งเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเริ่มคิดประดิษฐ์ขึ้นในคันธารราฐเมื่อราวพ.ศ. ๓๗๐
* มีเรื่องตำนานดังจะกล่าวต่อไป คือครั้งพระเจ้าอาเล็กซานเดอร์มหาราช
สามารถแผ่อาณาเขตตั้งแต่ยุโรปตลอดมาจนในอินเดียข้างฝ่ายเหนือเมื่อพ.ศ. ๒๑๗ นั้น
ตั้งพวกโยนกที่เป็นแม่ทัพนายกองครองบ้านเมืองรักษาพระราชอาณาเขตตลอดมา
ครั้นพระเจ้าอาเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ผู้อื่นไม่สามารถจะรับรัชทายาทได้
ราชอาณาเขตก็กลับแยกกันออกเป็นประเทศต่างๆ ทางฝ่ายเอเชียนี้พวกโยนก
ที่เป็นเจ้าบ้านพานเมืองต่างก็ตั้งตนขึ้นเป็นอิสระหลายอาณาเขตด้วยกัน
แล้วชักชวนชาวโยนกพรรคพวกของตนให้มาตั้งภูมิลำเนาทำมาหากิน
เป็นมูลเหตุที่จะมีพวกโยนกมาอยู่ในแผ่นดินอินเดียตอนชายแดนข้างด้านตะวันตกเฉียงเหนือ
ซึ่งเรียกว่าอาณาเขตคันธารราฐ
(๑) ในสมัยนั้นขึ้นอยู่ในประเทศบัคเตรียซึ่งแม่ทัพโยนกคนหนึ่งตั้งตัวเป็นเจ้า
ครั้นต่อมาเจ้าเมืองบัคเตรียแพ้สงครามต้องตัดอาณาเขตคันธารราฐให้แก่พระเจ้าจันทรคุปต์
ต้นราชวงศ์โมริยะ อันเป็นองค์พระอัยกาของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่นั้นคันธารราฐก็ตกมาเป็น
เมืองขึ้นของมคธราฐ เพราะฉะนั้น เมื่อพระเจ้าอโศกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาจึงให้ไปประดิษฐาน
พระพุทธศาสนาในคันธารราฐ และพึงสันนิษฐานว่าพวกโยนกที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่นั้นคงเข้ารีต
เลื่อมใสมิมากก็น้อย แต่เมื่อพ้นสมัยราชวงศ์โมริยะมาถึงสมัยราชวงศ์ศุงคะ
ราชวงศ์ศุงคะมีอานุภาพน้อยไม่สามารถปกครองไปถึงคันธารราฐได้
พวกโยนกในสร้างขึ้นแต่ในครั้งพุทธกาล
* ปัจจุบันเชื่อกันว่าราวพ.ศ. ๖๐๐ กว่า
๑ อาณาเขตคันธารราฐเดี๋ยวนี้อยู่ในแดนประเทศอัฟกานิสถานบ้าง อยู่ในแดนอินเดียของอังกฤษ
มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือบ้าง (ปัจจุบันนี้เป็นประเทศปากีสถาน)
เดิมข้าพเจ้าเข้าใจว่าหนังสือเรื่องตำนานพระแก่นจันทร์จะเกิดขึ้นในลังกาทวีป
แต่มาพบในหนังสือจดหมายระยะทางของหลวงจีนฟาเหียนซึ่งไปอินเดียเมื่อราวพ.ศ. ๙๕๐
* กล่าวว่าเมื่อไปถึงเมืองสาวัตถี ได้ฟังเล่าเรื่องพระเจ้าปเสนชิตให้สร้างพระพุทธรูป
ตรงกับที่กล่าวในหนังสือตำนานพระแก่นจันทร์ จึงรู้ว่าเป็นเรื่องตำนานในอินเดียมีมาแต่โบราณ
ถึงกระนั้นความที่กล่าวในตำนานก็ขัดกับหลักฐานที่มีโบราณวัตถุเป็นเครื่องพิสูจน์เป็นต้นว่า
ถ้าเคยสร้างพระพุทธรูปแต่เมื่อในครั้งพุทธกาลและพระพุทธองค์ได้โปรดประทานพระบรมพุทธานุญาต
ให้สร้างกันต่อมาดังอ้างในตำนานไซร้ พระเจ้าอโศกมหาราชก็คงสร้างพระพุทธรูปเป็นเจดียวัตถุอย่างหนึ่ง
เช่นเราชอบสร้างกันในชั้นหลัง แต่ในบรรดาพุทธเจดีย์ที่พระเจ้าอโศกสร้างไว้หามีพระพุทธรูปไม่
ใช่แต่เท่านั้นแม้อุเทสิกะเจดีย์ที่สร้างกันเมื่อล่วงสมัยพระเจ้าอโศกแล้วจนราวพ.ศ. ๔๐๐
** เช่น ลายจำหลักรูปภาพเรื่องพุทธประวัติซึ่งทำเป็นเครื่องประดับพระมหาธาตุเจดีย์ดังกล่าวมา
ในตอนก่อน ทำแต่รูปคนอื่น
ประเทศบัคเตรียก็ขยายอาณาเขตรุกแดนอินเดียเข้ามาโดยลำดับจนได้คันธารราฐและบ้านเมือง
ในลุ่มแม่น้ำสินธุ มีเมืองตักศิลาไว้ในอาณาเขตโดยมากจึงรวมอาณาเขตชอบใจคนทั้งหลาย
ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
(๑) ก็ในขณะเมื่อแรกคิดแบบพระพุทธรูปนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วหลายร้อยปี
* พระภิกษุฟาเหียนอยู่ในประเทศอินเดียตั้งแต่พ.ศ. ๙๔๔ จนถึง พ.ศ. ๙๕๔
** ความจริงจนถึงราวพ.ศ. ๖๐๐ กว่า
๑ ในประกาศพระราชพิธีจรดพระนังคัลว่าชาวคันธารราฐคิดสร้างพระพุทธรูป (ปางขอฝน) ขึ้น
และในหนังสือรัตนพิมพวงศ์ว่าเทวดานฤมิตพระพุทธรูปแก้วมรกตถวายพระนาคเสนในเมืองปาฎลีบุตร
(ร่วมสมัยกับพระเจ้ามิลินท์) ตรงตามตำนาน แต่ผู้แต่งจะได้หลักฐานมาจากที่ไหนหาปรากฏไม่
รูปพรรณสัณฐานของพระพุทธองค์จะเป็นอย่างไรก็ไม่มีตัวผู้เคยเห็น
มีแต่คำบอกเล่ากล่าวกันสืบมาว่าเป็นเช่นนั้นๆเช่นว่ามีลักษณะอย่างมหาบุรุษในคัมภีร์ปุริสลักขณ
ของพราหมณ์ ซึ่งแต่งไว้แต่ก่อนพุทธกาลเป็นต้น ช่างผู้คิดทำพระพุทธรูปได้อาศัยคำบอกเล่า
เช่นว่าอย่างหนึ่ง กับอาศัยความรู้เรื่องพุทธประวัติเช่นว่าพระพุทธองค์เป็นกษัตริย์ชาวมัชฌิมประเทศ
เสด็จออกทรงผนวชเป็นสมณะเป็นต้นอย่างหนึ่ง กับอาศัยแบบอย่างอันปรากฏอยู่ในจารีตประเพณีของ
ชาวมัชฌิมประเทศดังเช่นกิริยาที่นั่งขัดสมาธิและครองผ้ากาสาวพัสตร์เหมือนเช่นพระภิกษุซึ่งยังมีอยู่
ในสมัยนั้นเป็นต้นอีกอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นก็อาศัยแต่คติที่นิยมว่าดีงามในกระบวนช่างของโยนก
เป็นหลักความคิดที่ทำพระพุทธรูปขึ้นโดยรู้อยู่ว่าไม่เหมือนพระองค์พระพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้นที่สามารถให้คนทั้งหลายนิยมยอมนับถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าได้
ต้องนับว่าเป็นความคิดฉลาดแท้ทีเดียว
ลักษณะพระพุทธรูปโบราณที่ช่างโยนกคิดทำขึ้นในคันธารราฐสังเกตเห็นได้ว่าอนุโลมตามคัมภีร์
มหาปุริสลักขณหลายข้อเป็นต้น คือข้อว่าอุณฺณา โลมา ภมุกนฺตเร ทำพระอุณาโลมไว้ที่หว่าง
พระขนงอย่างหนึ่ง บางทีจะเอาความในบทอุณหิสสิโส อันแปลว่าพระเศียรเหมือนทรงอุณหิส
(๑) มาคิดอนุโลมทำให้พระเศียรพระพุทธรูปมีพระเกตุมาลาอีกอย่างหนึ่ง แต่พระเกตุมาลาตามแบบช่างโยนก
ทำเป็นพระเกศายาวกระหมวดมุ่นเป็นเมาลีไว้บนพระเศียรอย่างพระเกศากษัตริย์เป็นแต่ไม่มีเครื่องศิราภรณ์
ความคิดเรื่องทำพระเกตุมาลานี้ศาตราจารย์ฟูเชร์
*๑ คำว่า อุณหิส แปลกันหลายอย่างว่า กรอบหน้าบ้าง ผ้าโพกบ้าง มงกุฎบ้าง
แต่รวมความเป็นอันเดียวกันว่า เครื่องทรงที่พระเศียร
* นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส
สันนิษฐานว่าจะเกิดโดยจำเป็นในกระบวนช่างด้วยในลายจำหลักเรื่องพระพุทธประวัติมีสภาพสมณะ
ทั้งพระพุทธรูปและรูปพระภิกษุพุทธสาวก ถ้าทำพระพุทธรูปแต่เป็นอย่างสมณะก็จะสังเกตยากว่า
พระพุทธรูปหรือรูปพระสาวกช่างโยนกประสงค์จะให้คนดูรู้จักพระพุทธรูปได้โดยง่ายจึงถือเอาเหตุ
ที่พระพุทธองค์เป็นกษัตริย์โดยพระชาติและเป็นสมณะโดยเพศนั้น
ทำพระพุทธรูปให้ส่วนพระองค์ทรงครองผ้าอย่างสมณะแต่ส่วนพระเศียร
ทำให้เหมือนอย่างพระเศียรกษัตริย์ เป็นแต่ลดเครื่องศิราภรณ์ออกเสีย
พระพุทธรูปจึงแปลกกับรูปภาพอื่นๆ ถึงจะอยู่ปะปนกับรูปใครๆก็รู้ได้ว่าพระพุทธเจ้า
ความคิดข้อนี้ช่างพวกอื่นในสมัยชั้นหลังต่อมาไม่สามารถจะคิดแก้ไขไปเป็นอย่างอื่นได้
ก็ต้องเอาแบบอย่างของช่างโยนกทำต่อมา พระพุทธรูปจึงมีพระเกตุมาลาด้วยประการฉะนี้
(๑) ลักษณะที่ทำตามจารีตประเพณีในมัชฌิมประเทศนั้นเช่น อาการทรงนั่งขัดสมาธิ
(ช่างโยนกทำนั่งขัดสมาธิเพชรอย่างเดียว) และอาการที่ทรงครองผ้าทำทั้งอย่างห่มดองและห่มคลุม
แต่มักชอบทำห่มคลุมจำหลักกลีบผ้าให้เหมือนจริงตามกระบวนช่างโยนก
นอกจากที่กล่าวมาในบรรดาลักษณะซึ่งมิได้มีที่บังคับแล้ว พวกช่างโยนก
ทำตามคติของชาวโยนกทั้งนั้น เป็นต้นว่าดวงพระพักตร์พระพุทธรูป
ก็ทำอย่างเทวรูปที่งามของชาวโยนก
(๒) พระรัศมีก็ทำอย่างประภามณฑลเป็นวงกลมอยู่ด้านหลังพระพุทธรูปตามแบบรัศมีของภาพโยนก
ส่วนกิริยาท่าทางของพระพุทธรูปนั้น เพราะทำพระพุทธรูปในลายเรื่องพระพุทธประวัติ
๑ คำอธิบายเช่นกล่าวในหนังสือปฐมสมโพธิว่ารูปพระเศียรเป็นเช่นนั้นเองผิดธรรมดา
เห็นว่าจะเป็นความคิดเกิดขึ้นเมื่อมีพระพุทธรูปแล้ว
๒ คือเทวรูปอปอลโล
พระพุทธรูปซึ่งทำตรงเรื่องตอนไหนช่างก็คิดทำกิริยาท่าทางพระพุทธรูปให้เข้ากับเรื่องตอนนั้น
เป็นต้นว่าพระพุทธรูปตรงเรื่องเมื่อก่อนเวลาตรัสรู้ ทำนั่งซ้อนพระหัตถ์เป็นกิริยาสมาธิ
พระพุทธรูปตรงเมื่อชนะพยามารทำพระหัตถ์ขวามาห้อยที่พระเพลา
แสดงว่าทรงชี้อ้างพระธรณีเป็นพยาน
พระพุทธรูปตรงเมื่อประทานปฐมเทศนาทำจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นรูปวงกลมหมายความว่า พระธรรมจักร
* พระพุทธรูปตรงเมื่อมหาปาฏิหาริย์ (คือ ยมกปาฏิหาริย์) ทำเป็นพระพุทธรูปมีดอกบัวรอง
คิดทำตามเรื่องพระพุทธประวัติทำนองดังกล่าวมานี้
ต่อไปตลอดจนถึงเมื่อเสด็จเข้าสู่พระนิพพานก็ทำเป็นรูปพระพุทธไสยา
** เมื่อพระพุทธรูปมีขึ้นใครเห็นก็คงชอบใจจึงเลยเป็นเหตุให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสในการสร้างพระพุทธรูป
ในคันธารราฐ แต่ความนิยมยังไม่แพร่หลายไปถึงประเทศอื่นในอินเดีย
ด้วยอาณาเขตคันธารราฐเมื่อสมัยพระเจ้ามิลินท์ไม่กว้างขวางเท่าใดนัก
ซ้ำเมื่อสิ้นพระเจ้ามิลินท์แล้วเชื้อวงศ์ได้ครองคันธารราฐต่อมาเพียงสัก ๓๐ ปี
ก็เสียบ้านเมืองแก่พวกศะกะซึ่งลงมาจากกลางทวีปเอเชีย
พวกศะกะได้ครองคันธารราฐอยู่ชั่วระยะเวลาตอนหนึ่งแล้วก็มีพวกกุษาณะ
(๑)ยกมาจากทางปลายแดนประเทศจีนชิงได้คันธารราฐจากพวกศะกะอีกเล่า
แต่ในสมัยเมื่อพวกกุษาณะครอบครองคันธารราฐนั้นมีพระเจ้าแผ่นดินในกุษาณะราชวงศ์องค์หนึ่ง
ทรงพระนามว่า พระเจ้ากนิษกะ ได้ครองราชสมบัติในระหว่างพ.ศ. ๖๖๓ จนพ.ศ. ๗๐๕
* พระหัตถ์ซ้ายประคองทำท่ากำลังหมุน
** ตามการค้นคว้าในปัจจุบันเชื่อกันว่าพระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์เริ่มเกิดมีขึ้น
เป็นครั้งแรกในแคว้นคันธารราฐในรัชกาลของพระเจ้ากนิษกะวงศ์กุษาณะราวพุทธศตวรรษที่ ๗
และเป็นฝีมือของช่างกรีก – โรมัน
๑ จีนเรียกว่า ยิวชิ Yuel – chi
สามารถแผ่ราชอาณาเขตออกไปทางข้างเหนือและข้างใต้ได้มัชฌิมประเทศทั้งหมด
ไว้ในราชอาณาเขตเป็นพระเจ้าราชาธิราชขึ้นเหมือนอย่างพระเจ้าอโศกมหาราช
ชะรอยเมื่อพระเจ้ากนิษกะคิดหาวิธีปกครองพระราชอาณาเขตอันกว้างใหญ่ไพศาล
จะได้ทราบวิธีการปกครองของพระเจ้าอโศกซึ่งรวมพุทธจักรกับอาณาจักรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
พระเจ้ากนิษกะก็เลื่อมใสในพุทธศาสนาประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก
ปกครองพระราชอาณาเขตตามแบบอย่างครั้งพระเจ้าอโศกมหาราช
ก็แต่พฤติการณ์ต่างๆในสมัยพระเจ้ากนิษกะผิดกันกับสมัยพระเจ้าอโศกเป็นข้อสำคัญ
อยู่หลายอย่างเป็นต้นเรื่องสร้างพุทธเจดีย์ ปรากฏว่าเจดียสถานที่เกิดขึ้นในคันธารราฐ
เมื่อครั้งพระเจ้ากนิษกะมีทั้งพระธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ แต่ภูมิประเทศต่างกัน
ด้วยพระเจ้าอโศกมหาราชตั้งราชธานีอยู่ ณ เมืองปาฏลีบุตรในมัชฌิมประเทศอันเป็นท้องถิ่น
ที่พระพุทธเจ้าเที่ยวทรงสั่งสอนพระพุทธศาสนา มีเจดียสถานที่เนื่องต่อพระพุทธองค์
และพระพุทธประวัติเป็นเครื่องบำรุงความเลื่อมใส
แต่พระเจ้ากนิษกะตั้งราชธานีอยู่ ณ เมืองบุรุษบุรี
(๑) ในคันธารราฐอันเป็นปัจจันตประเทศ
ปลายแดนอินเดียซึ่งพึ่งได้รู้จักพระพุทธศาสนาตั้งแต่พระเจ้าอโศกมหาราชให้ไปสั่งสอนอีกประการหนึ่ง
พระไตรปิฎกที่รวบรวมพระธรรมวินัยมาจนถึงเวลานั้นก็เป็นภาษามคธของชาวมัชฌิมประเทศ
แต่ชาวคันธารราฐเป็นคนต่างชาติต่างภาษาถึงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาก็ยาก
ที่จะเข้าใจพระธรรมวินัยได้ซึมทราบเหมือนอย่างชาวมัชฌิมประเทศ
เพราะเหตุดังกล่าวมาเมื่อพระเจ้ากนิษกะฟื้นพระพุทธศาสนาแม้พยายามตามแบบอย่างครั้ง
๑ เดี๋ยวนี้เรียกว่าเมืองเปษวาร์
พระเจ้าอโศกมหาราชทั้งในการสร้างพุทธเจดีย์
การสังคยนาพระธรรมวินัยและให้เที่ยวสั่งสอนพระพุทธศาสนายังนานาประเทศก็ดี
ลักษณะการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาครั้งพระเจ้ากนิษกะจึงผิดกับครั้งพระเจ้าอโศก
จะพรรณนาแต่เป็นที่สำคัญ เจดีย์และอุเทสิกะเจดีย์ พระธาตุเจดีย์นั้นพระเจ้ากนิษกะ
ให้เสาะหาพระบรมธาตุที่ในมัชฌิมประเทศเชิญไปสร้างพระสถูปบรรจุไว้ปรากฏอยู่หลายแห่ง
ส่วนบริโภคเจดีย์นั้น เพราะในคันธารราฐไม่มีสถานที่ซึ่งพระพุทธองค์ได้ประทานอนุญาต
ไว้ให้เป็นพระบริโภคเจดีย์เหมือนเช่นที่มีในมัชฌิมประเทศจึงสมมติที่ตำบลต่างๆ
ซึ่งอ้างเข้าเรื่องพุทธประวัติเช่นว่าเมื่อพระพุทธองค์ยังเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์
ทรงบำเพ็ญบารมีอย่างนั้นๆ ณ ที่ตำบลนั้นๆ
แล้วสร้างพระพุทธเจดีย์ขึ้นเป็นบริโภคเจดีย์
(๑) คติอันนี้ภายหลังมาเลยสมมติต่อไปจนอ้างว่าพระอดีตพุทธเจ้าคือ พระกกุสัณฑ พระโกนาคมน์
และพระกัสสป ทั้งสามองค์ได้ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่ในคันธารราฐแล้วสร้างบริโภคเจดีย์
เนื่องในเรื่องประวัติของพระอดีตพุทธเจ้าทั้งสามพระองค์นั้นด้วย
(๒) เลยเป็นปัจจัยถึงคติของพวกถือลัทธิมหายานซึ่งจะกล่าวในที่อื่นต่อไปข้างหน้า
ส่วนอุเทสิกะเจดีย์นั้นเพราะพวกโยนกได้คิดทำพระพุทธรูปขึ้นในคันธารราฐตั้งแต่ครั้งพระเจ้ามิลินท์
๑ เรื่องบริโภคเจดีย์ในคันธารราฐกล่าวตามอธิบายในหนังสือพรรณนา
ระยะทางของหลวงจีนฟาเหียนและหลวงจีนฮ่วนเจียง
ที่ไปถึงคันธารราฐ เมื่อราวพ.ศ. ๙๔๔ และพ.ศ. ๑๑๗๓
๒ คติ ที่ถือกันว่าคันธารราฐเป็นที่พระอดีตพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์
ได้ทรงประดิษฐานพระศาสนาปรากฏอยู่ในหนังสือพรรณนาระยะทางของหลวงจีนฮ่วนเจียงซึ่งไปถึง
คันธารราฐเมื่อพ.ศ. ๑๑๗๓ แต่อาจจะถือกันขึ้นต่อเมื่อภายหลังรัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะก็เป็นได้
พระเจ้ากนิษกะก็เป็นเชื้อชาวต่างประเทศจึงเลื่อมใสในการสร้างพระพุทธรูป
ให้ช่างชาวโยนกที่มีฝีมือดีมาคิดทำพระพุทธรูปให้งามสง่ายิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน
จึงเกิดความคิดแก้ไขแบบพุทธเจดีย์ให้มีพระพุทธรูปเป็นประธานแต่นั้นมา
เป็นต้นว่าแต่ก่อนมาเคยจำหลักเรื่องพุทธประวัติเป็นลายประดับพระสถูป แก้ทำเป็นซุ้มจรนำ ๔ ทิศ
ติดกับองค์ (ระฆัง) พระสถูปแล้วทำพระพุทธรูปให้เป็นขนาดใหญ่กิริยาต่างกันตามเค้าพระพุทธรูป
ในลายเรื่องพระพุทธประวัติในซุ้มจรนำนั้นใครเห็นก็รู้ได้ว่าเป็นพระพุทธรูปเมื่อตอนไหน
ในเรื่องพุทธประวัติ อันนี้น่าจะเป็นต้นเค้าที่สร้างแต่เฉพาะพระพุทธรูปตั้งเป็นประธานในเจดียสถานต่างๆ
(อย่างวัดที่สร้างกันภายหลัง) รูปพระโพธิสัตว์ก็สร้าง
แต่ในสมัยนั้นสร้างแต่รูปพระสักยโพธิสัตว์ เมื่อก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
* ความที่กล่าวมามีหลักฐานด้วยพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ของโบราณที่ค้นพบในคันธารราฐ
โดยเฉพาะที่ทำงามอย่างยิ่งเป็นฝีมือช่างโยนกสร้างในสมัยพระเจ้ากนิษกะเป็นพื้น ใช่แต่เท่านั้น
พระพุทธรูปโบราณที่พบทางกลางทวีปเอเชียก็ดี ที่พบในมัชฌิมประเทศเช่นที่เมืองพาราณสี
เมืองมถุรา และทางฝ่ายใต้จนเมืองอมราวดีก็ดี
ที่เป็นชั้นเก่าล้วนเอาแบบอย่างพระพุทธรูปคันธารราฐไปทำทั้งนั้น
จึงยุติได้ว่าการสร้างพระพุทธรูปแพร่หลายต่อไปถึงนานาประเทศแต่ครั้งพระเจ้ากนิษกะบำรุง
พระพุทธศาสนาเป็นต้นมา
** * รูปพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ก็มี
** พระพุทธรูปแบบมถุราในชั้นเดิมไม่ได้รับอิทธิพลของศิลปะคันธารราฐเลย
แต่เป็นแบบอินเดียแท้สันนิษฐานว่าช่างอินเดียคงจะได้ทราบข่าวว่าช่างคันธารราฐคิดทำพรพุทธรูป
เป็นมนุษย์ขึ้น จึงคิดทำขึ้นบ้าง ส่วนพระพุทธรูปแบบอมราวดีนั้น
แก้ไขแบบจีวรเป็นอีกอย่างหนึ่ง และเปลี่ยนเส้นพระเกศาเป็นขมวด
จบไปหนึ่ง