[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 19:56:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อายตนะนิพพาน กับ นิพพาน ไม่เหมือนกัน  (อ่าน 4452 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
phonsak
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +1/-2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 306


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 27 สิงหาคม 2553 23:36:21 »

นิพพานมี 2 อย่าง

1. อายตนะนิพพาน 
2. นิพพาน

1. อายตนะนิพพาน = ธรรมกาย  สิ่งนี้เป็นอัตตา


พระไตรปิฎกบาลี ที.ปา.๑๓/๔๙/๘๕

"ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้มีอัตตา (ตน) เป็นที่พึ่ง มีอัตตาเป็นสรณะ จงเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่เถิด "

(อตฺตทีปา ภิกฺขเว วิหรถ อตฺตสรณา อนญฺญสรณา ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา อนญฺญสรณา)

อายตนะนิพพาน(ธรรมกาย) มีทั้งอายตนะภายในของแต่ละบุคคล(ธรรมกายแต่ละคน)  และมีทั้งอายตนะนิพพานกายนอก(ธรรมกายภายนอก) = เมืองพระนิพพาน

ในทางมหายานเรียกตัวอายตนะนิพพาน(ธรรมกาย)แต่ละบุคคลว่า "สัมโภคกาย"   และเรียกอายตนะนิพพานกายนอก(ธรรมกายภายนอก) หรือ เมืองพระนิพพาน ว่า "พุทธเกษตร"

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสถึง อายตนะนิพพาน ว่า:

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย "อายตนะนั้นมีอยู่" ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญ
จายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็น
การไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิ
ได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ"

พระอวโลกิเตศวรยืนยันกับพระสารีบุตรว่า ธรรมกาย คือ อายตนะนิพพาน  บันทึกอยู่ในปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร พระอวโลกิเตศวรตรัสสอนพระสารีบุตรว่า

" ธรรมกาย ก็คือปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้ ก็คือ อายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีต ฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาลเล่าก็ปราศจากการตั้งอยู่มั่นคง "

 สรุป

 สภาวธรรมแห่งการตรัสรู้ของพระตถาคต (องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)ซึ่งเป็นแก่น คือ ธรรมกาย=อายตนะนิพพาน  ในขณะที่มหายานเรียกธรรมกายตัวนี้ว่า "สัมโภคกาย"  เป็นกายทิพย์ที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร   คัมภีร์เถรวาทเรียกกายทิพย์ที่ดำรงอยู่ชั่วนิรันดรว่า "กายธรรมหรือธรรมกาย"
   
 2. นิพพาน คือ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ที่มหายานเรียกว่า "อาทิพุทธ" หรือธรรมกาย

เถรวาทเรียก "นิพพาน"  ส่วนมหายานเรียกนิพพานว่า "ธรรมกาย"
อายตนะนิพพาน เถรวาทเรียก "ธรรมกาย"  ส่วนมหายานเรียกนิพพานอายตนะนิพพานว่า "สัมโภคกาย"

ธรรมกายตามความหมายของมหายาน
=  พุทธภาวะแท้ดั้งเดิมของสรรพสิ่งในจักรวาล
=  แสงสว่างสุกสกาวในความว่างเปล่า(สุญญตา)
=  ท้องฟ้าอันเวิ้งว่างสุกใสแห่งบรรยายกาศ
=  ธรรมธาตุทั้งหมด
=  อาทิพุทธ หรือพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
=  ธรรมชาติอันเปลือยเปล่าแห่งสรรพสิ่ง มีแสงสว่างในตัวเองเพราะเป็นธาตุรู้ (ธรรมธาตุ)

หลวงปู่ดู่ฯ อธิบายว่า:

"นิพพานจริงๆแล้ว เป็นความว่าง ไม่มีอะไรเลย"

หลวงปู่ดุลย์อธิบายว่า :

" โดยปราศจากรูปปรมาณู(หมายถึง ดับวิญญาณธาตุและดับนามรูปแล้ว) ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน"

ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง = ความว่างของจิตแต่ละดวง จึงบริสุทธิ์และสว่าง = อายตนะนิพพาน(ธรรมกาย)
รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน     = อาทิพุทธ หรือพระพุทธเจ้าทุกพระองค์รวมกัน = ธรรมกายในความหมายของมหายาน

ในศาสนาพราหมณ์   นิพพานหรือโมกษะ คือ การที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมัน  เข้ารวมเป็น  เอกภาพกับพรหมัน
ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน"

อาตมันย่อย            = อายตนะนิพพาน
เอกภาพกับพรหมัน = นิพพาน หรือ อาทิพุทธ หรือ ธรรมกายตามความหมายของมหายาน

สรุป

ถรวาท เรียก อายตนะนิพพานว่า "ธรรมกาย"     เรียก พุทธภาวะแท้ดั้งเดิมของสรรพสิ่งในจักรวาล ที่เป็นแสงสว่างสุกสกาวในความว่างเปล่าว่า "นิพพาน"

มหายาน เรียก อายตนะนิพพานว่า "สัมโภคกาย" เรียก พุทธภาวะแท้ดั้งเดิมของสรรพสิ่งในจักรวาล ที่เป็นแสงสว่างสุกสกาวในความว่างเปล่าว่า "ธรรมกาย" หรือ "อาทิพุทธ"

แท้จริงแล้ว อาทิพุทธ ก็คือ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์   ปรมาตมัน ก็คือ สัมโภคกายแต่ละดวง(เรียกแบบมหายาน) ที่ว่างและสว่าง ไปรวมกับ ความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน"

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
phonsak
นักโพสท์ระดับ 8
***

คะแนนความดี: +1/-2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 306


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2553 21:48:07 »

  eye เขียน:

อิอิ

เป็นแบบป๋าพอลก็มีพุทธเกษตรเดียวนะจิ่

"พุทธเกษตรเมืองพระนิพพาน"

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็ไปเป็นศาสดาเอกอยู่ในพุทธเกษตรเดียวกัน



ตอบ
 

หาใช่เช่นนั้นไม่  มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงพระนิพพานโดยง่าย   ต้องปฏิบัติแบบหลวงปู่มั่น ซึ่งล้านคนจะเข้าถึงสักคน   จึงด้องอาศัยพุทธบารมีพระองค์ต่างๆเข้าช่วย  เพื่อไปเกิดในพุทธเกษตรต่างๆเอาไว้ก่อน และค่อยๆละกิเลสที่นั่น  ไม่ต้องไปอยู่ในสวรรค์นรกของสังสารวัฏฏ์  และมาเกิดเป็นมนุษย์บนโลกอีก  ซึ่งก็ต้องเผชิญกิเลสและรับวิบากกรรมต่างๆอีก ทำให้ยากต่อการเข้านิพพาน

แต่ถ้าอาศัยพุทธบารมีของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง เช่น พระอมิตาภพุทธเจ้า หรือบารมีของพระโพธิสัตว์ที่มีพุทธเกษตร เช่น พระเยซู   เราก็ไม่ต้องไปวนเวียนในสวรรค์นรกในสังสารวัฏฏ์อีก  แล้วค่อยๆฝึกละกิเลสที่นั่น ด้วยเหตุนี้ ศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธมหายานนิกายสุขาวดี  พวกเขาเกิดครั้งเดียวบนโลกนี้ และก็ตายครั้งเดียว และไปเกิดในพุทธเกษตรที่ตนเลือกไว้แล้ว ตามความเชื่อของตน

พอละกิเลสหมดแล้ว  เราก็เลือกเอาว่าจะเข้านิพพานที่เป็นพุทธภาวะแท้ดั้งเดิมของสรรพสิ่งในจักรวาล  ซึ่งเป็นแสงสว่างสุกสกาวในความว่างเปล่า(สุญญตา) = ธรรมกายตามความหมายของมหายาน(นิพพานตามความหมายเถรวาท)  หรือเราจะคงอยู่เป็นสัมโภคกายในพุทธเกษตรต่อไป เพราะนิพพานมี 2 อย่าง

1. อายตนะนิพพาน มีเมืองพระนิพพาน พุทธเกษตรต่างๆรองรับ บุคคลต้องละราคะโทสะโมหะให้หมด ละความยึดมั่นในขันธ์ 5  จึงจะได้ ธรรมกาย ซึ่งเป็นอายตนะนิพพานของพระอรหันต์  สิ่งนี้เรียกว่า "บุคคลศูนยตา"

 2. นิพพานแท้ แสงสุกสกาวที่เป็นกาวะดั้งเดิมของจักรวาล  อายตนะนิพพาน(ธรรมกาย) ต้องละความยึดถือแม้ในพระนิพพานตัวแรก ซึ่งเป็นเมืองพระนิพพาน ฟรือพุทธเกษตร และละธรรมกายของตนเองด้วย  สิ่งนี้เรียกว่า "ธรรมศูนยตา"   
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.361 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 20 ธันวาคม 2567 03:46:03