[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 19:02:42 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กาลเสด็จมาแห่งพระแก้วมรกฎ (ตำนานพระแก้วมรกต วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ)  (อ่าน 6692 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5800


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2555 15:51:38 »

.


พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทรงเครื่องทรงทั้งสามฤดู
ภาพจาก :wikipedia.org

ในเมื่อกาลก่อซึ่งพระราชกูฏมหาธาตุเจดีย์นั้นแล้วเสร็จ  สมเด็จบรมกระษัตริย์พระเจ้าศิริธรรมจักรวรรดิพิลกราช  พระองค์จึ่งให้ไปอาราธนานำมา  รตนปฏิมํ  ซึ่งพระพุทธรัตนปฏิมากรแก้ว  อปริมิต์ตํ เตชิท์ธิกํ ซึ่งพระพุทธรัตนปฏิมากรแก้ว  อปริมิต์ตํ เตชิท์ธิกํ  อันกอปรด้วยพระฤทธิ์เดชานุภาพจะกำหนดนับบมิได้  แต่เมืองเขลางนครให้เอามาประดิษฐานไว้ ในพระราชกูฏมหาธาตุเจดีย์นั้น ฯ

แท้จริงบัดนี้จะพรรณนาในความแรกบังเกิดมีแห่งพระแก้วอมรกฎนั้นสืบไป  สัต์ถุ  ปรินิพ์พานโต ฯลฯ  อโสการาเม วิหาสิ    เมื่อสมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานล่วงไปแล้วได้ ๕๐๐ พระวรรษา  ยังมีพระมหาเถรเจ้าพระองค์หนึ่งชื่อว่าพระธรรมรักขิตเถร   ผู้เป็นเจ้าอาไศรยอยู่ในอโสการามใกล้เมืองบุบผวดีนคร  ยังมีพระมหาเถรเจ้าองค์หนึ่งชื่อว่าพระนาคเสนเถรเป็นศิษย์ของพระธรรมรักขิตเถร  แลพระนาคเสนเถรผู้เป็นเจ้านั้น   ท่านเป็นครูอาจารย์แห่งสมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินทรราชบรมกระษัตริย์   เมื่อพระธรรมรักขิตเถรผู้เป็นอาจารย์เข้าสู่พระนิพพานล่วงไปแล้ว    พระผู้เป็นเจ้าพระนาคเสนเถรจึ่งมาวิตกรำพึงว่า เกน  กัม์มุนา  อาตมาจะยังพระบวรพุทธสาศนาให้โชตนาการรุ่งเรืองไปในภายภาคน่านั้นได้ด้วยกุศลกรรมสิ่งดังฤา    เมื่อรำพึงไปดังนั้นท่านก็รู้แจ้งว่าพระสาศนาจะรุ่งเรืองไปอาไศรยด้วยพระชินปฏิมากร คือพระพุทธรูปที่ทำฉลองพระองค์ไว้นั้นแล้ว  จึ่งรำพึงต่อไปว่า  สทา หํ   อาตมาจะสร้างซึ่งพระพุทธปฏิมากรให้แล้วไปด้วยเงินแลทองทั้งนั้น  อนาคเต  มนุส์สา  โลภวสิกา    มนุษย์หญิงชายคนทั้งหลายในภายภาคน่าจะลุอำนาจแก่ความโลภเจตนา  จะมีอัชฌาไศรยน้ำใจเป็นบาปหยาบช้ามีกำลังมากนักหนา  จะกระทำอันตรายแก่พระพุทธปฏิมากรเจ้าเป็นอันแม่นมั่น     ผิฉนั้นอาตมาจะสร้างซึ่งพระปฏิมากรด้วยแก้วที่กอปรด้วยพระเดชานุภาพเป็นอันมากนั้นเถิด   ตัสมึ  ขเณเยว  ในขณะนั้นแท้จริงจึ่งสมเด็จอำมรินทราธิราช    พระองค์ทราบซึ่งปริวิตกแห่งพระนาคเสนเถรเจ้านั้นแล้ว    ธก็เสด็จมาจากดาวดึงษ์พิภพเข้าไปสู่สำนักนิ์แห่งพระนาคเสนเถรกับด้วยพระวิศุกรรมเทวบุตร์  แล้วจึ่งตรัสถามว่า   ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า   พระผู้เป็นเจ้าจะสร้างซึ่งพระพุทธปฏิมากรด้วยแก้วอันมีอานุภาพหฤา  พระผู้เป็นเจ้าพระนาคเสนเถรเจ้าจึ่งถวายพระพรว่า ดูกรสมเด็จบรมบพิตร์ผู้ประเสริฐ    เอออาตมาจะใคร่ได้สร้างซึ่งพระพุทธรูปด้วยแก้วที่มีฤทธิ์นั้นจริง  

ในขณะนั้นสมเด็จอำมรินทราธิราช พระองค์จึ่งมีเทวโองการตรัสบังคับแก่พระวิศุกรรมเทวบุตร์ว่า  ท่านจงไปนำมาซึ่งแก้วมณีอันมีอยู่ในข้างเขาวิบูลบรรพตนั้น   พระวิศุกรรมเทวบุตร์ จึ่งทูลว่า   พญากุมภัณฑ์ทั้งหลาย   จะให้ซึ่งแก้วมณีนั้นมาแก่พระองค์นี้มิได้ ทันทีนั้นสมเด็จอำมรินทราธิราชเจ้า   จึ่งเสด็จไปยังเขาวิบูลบรรพตกับด้วยพระวิศุกรรมเทวบุตร์แล้ว  พระองค์จึ่งตรัสแก่ท้าวกุมภัณฑ์ที่ได้รักษาว่า  เรามีความปรารถนาจะใคร่ได้ซึ่งแก้วมณีดวงนี้    ท่านจงให้แก่เราไปณะกาลบัดนี้    พญากุมภัณฑ์จึ่งทูลแจ้งว่า อันแก้วมณีดวงนี้เป็นของบริโภคแห่งพญาบรมจักรพรรดิราช   ข้าพระบาทมิอาจที่จะให้ไปได้   ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ยังมีแก้วอีกดวงหนึ่งชื่อแก้วอมรกฎ โดยโอบรอบนั้น ติยังคุลุต์ตรํ  ทวิหัต์ถัป์ปริมาณํ มีประมาณสองศอกกับสามนิ้ว   มีแก้วเป็นบริวารได้เจ็ดร้อยห้าสิบดวง   พระองค์จงถือเอาซึ่งแก้วอมรกฎดวงนั้นไปเถิด  สมเด็จอำมรินทราธิราช พระองค์จึ่งนำเอาซึ่งแก้วอมรกฎดวงนั้นมาถวายพระผู้เป็นเจ้า ๆ   จึ่งรำพึงว่าบุทคลผู้ใดจักมากระทำซึ่งพระปฏิมากรด้วยอมรกฎนี้ให้แก่อาตมา   ในกาลนั้นพระวิศุกรรมเทวบุตร์ จึ่งนฤมิตร์เพศเป็นรูปกาจารย์นายช่างรูปอันวิเศษ     ล้วก็มารจนากระทำด้วยอาตมาเป็นปรกติ   นอิท์ธิยา    จะได้ทำด้วยอิทธิฤทธิ์นฤมิตร์นั้นหามิได้  พระวิศุกรรมเทวบุตร์เธอกระทำซึ่งพระแก้วอมรกฎนั้นสิ้น ๗ วัน ๗ คืน จึ่งสำเร็จ    ยังคงเป็นพระองค์อยู่โดยสูงนั้น   เอกังคุลุต์ตรหัต์ถัป์ปมานํ    มีประมาณศอกกับเศษนิ้วหนึ่ง  ในกาลนั้นฝ่ายว่าพระนาคเสนเถรแลพระขีณาศพเจ้าทั้งหลาย    แลสมเด็จอำมรินทราธิราชกับเทพยเจ้าทั้งปวงเป็นอันมาก     ก็มากระทำสักการบูชาซึ่งรูปพระปฏิมากรแก้วนั้นสิ้น ๗ วัน ๗ คืน     ในกาลนั้นอันว่าพระพุทธรูปแก้วอมรกฎนั้น    ก็สำแดงซึ่งพระปาฏิหาริย์มีประการต่าง ๆ    

ฝ่ายว่าพระนาคเสนเถรผู้เป็นเจ้าจึ่งอาราธนาอธิษฐานซึ่งพระบรมธาตุทั้ง ๗ พระองค์    เพื่อจะให้เสด็จเข้าไปประดิษฐานอยู่ในองค์พระปฏิมากรแก้วทั้งสิ้นทั้งนั้น   เอกา ธาตุ โมฬียํ  อันว่าพระบรมธาตุพระองค์หนึ่ง   จึ่งเสด็จเข้าไปประดิษฐานอยู่ในพระบวรโมฬี    พระบรมธาตุอีกพระองค์หนึ่งเล่า    จึ่งเสด็จเข้าไปอยู่ในพระนลาต  พระบรมธาตุอีกพระองค์หนึ่งเล่า   จึ่งเสด็จไปอยู่ในที่พระหฤไทยฐาน  พระบรมธาตุทั้งสองพระองค์   จึ่งเสด็จเข้าไปตั้งอยู่ในพระหัตถ์ทั้งสอง  พระบรมธาตุอีกสองพระองค์เล่า   จึ่งเสด็จเข้าไปตั้งอยู่ในพระชาณุประเทศทั้งสอง   พร้อมด้วยพระอธิษฐานแห่งพระผู้เป็นเจ้า  พระผู้เป็นเจ้ามาพิจารณาเห็นแจ้งไปในภายภาคน่า  ท่านจึ่งมาทำนายทายไว้ว่า   พระพุทธรัตนปฏิมากรนี้   จักเสด็จไปรุ่งเรืองอยู่ในวงษ์ทั้งสาม   กัม์โพชาริมทนสยามวังสสํขาเตสุ   อันกล่าวคือกัมโพชวงษ์ แลอริมทนวงษ์  แลสยามวงษ์เป็นอันมั่นคงนักหนา  

ในกาลนั้นอันว่าท้าวพญามหากระษัตริย์ทั้งหลาย  ก็ได้กระทำสักการบูชาซึ่งรูปพระปฏิมากรแก้วอมรกฎนั้นสืบ ๆ กันมา  ตราบเท่าถึงพระพุทธศักราชพระสาศนาล่วงไปได้ ๘๐๐ พระวรรษา จึ่งมาถึงพญาทั้งสามพระองค์คือพญาพันธุมราช    แลพญากลันธุมราช แลพญาศิริธรรมกิติราชอันเป็นที่สุดแห่งพญาทั้งปวง  แต่ล้วนเป็นพระราชบุตร์พระราชนัดา   แห่งพญาศิริธรรมจักรวรรดิพิลกราชสิ้นทั้งนั้น   มหากลียุคํ  อโหสิ    ในขณะเมื่อพญาศิริธรรมกิติได้เสวยราชสมบัติ  ก็พอบังเกิดมีซึ่งมหากุลียุค     ฝ่ายว่ามหาชนคนทั้งหลายจึ่งนำเอาซึ่งพระแก้วอมรกฎนั้นออกไปประดิษฐานไว้ในเกาะลังกา     ในขณะเมื่อมีมหากุลียุคนั้น  ทวิสตาธิกัส์ส สหัส์สปริมาณัส์ส  อติก์ กัน์เต  เมื่อพระพุทธสาศนาล่วงไปได้ ๑๒๐๐ พระวรรษา  ยังมีพญาองค์หนึ่ง   ทรงพระนามชื่อว่าพญาธรรมราช  พระองค์ได้เสวยซึ่งศิริสมบัติอยู่ในเมืองอริมทนะบุรี   ครั้นพระองค์ถึงซึ่งทิวงคตแล้ว   จึ่งมีพญาองค์หนึ่งทรงพระนามชื่อว่าพญาอนุรุทธ์    เป็นพระราชบุตร์แห่งพญาธรรมราชบพิตร์   อิท์ธมา  เวหาสังคโม เธอมีอิทธิฤทธิ์เสด็จไปในนภาไลยประเทศเวหานั้น     ก็ได้ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระบวรพุทธสาศนา     มีพระไทยประสงค์เพื่อจะให้จำลองขึ้นไว้ซึ่งพระไตรปิฎกให้บริบูรณ์สิ้นทั้งสาม    จึ่งตรัสถามซึ่งนักปราชญ์ทั้งหลาย    ว่าพระไตรปิฎกในประเทศแห่งเรานี้ยังมิได้พิรุธ     หฤาว่าพิรุธวิปลาสอยู่เป็นประการใด   นักปราชญ์ทั้งหลายจึ่งบังคมทูลว่า    พระไตรปิฎกในเกาะลังกายังหาพิรุธฟั่นเฟือนไปไม่   ยังคงบริบูรณ์อยู่เป็นอันดี    แต่ในประเทศชมพูเรานี้เห็นจะพิรุธเป็นอันมาก   พระองค์ได้ทรงฟังดังนั้นแล้วก็ขึ้นสู่หลังม้าอาชาไนย     เสด็จออกไปสู่เกาะลังกาโดยนภาดลอากาศ   หมายพระไทยว่าจักนำมาซึ่งพระไตรปิฎก    ฝ่ายว่าเสนาอำมาตย์ราชบุรุษทั้งหลายก็ตามเสด็จออกไปโดยสำเภานาวา    พญาอนุรุทธ์เมื่อพระองค์เสด็จออกไปถึงเกาะลังกาแล้ว      จึ่งบอกแก่พญาลังกาว่า   เราจักขออาราธนานำเอาซึ่งพระไตรปิฎกไป  ลังกิส์สโร  ราชา ฝ่ายพญาลังกาจึ่งกล่าวว่า   ถ้ากระนั้นข้าพเจ้าจักช่วยจำลองออกให้  พญาอนุรุทธ์จึ่งตรัสว่ากิริยาที่ท่านจะช่วยทำจำลองให้นั้น   เราหาชอบใจไม่  เราจะขอเขียนแต่ตามอัชฌาไศรย   ตรัสเท่าดังนั้นแล้ว   จึ่งให้เขียนซึ่งพระไตรปิฎก    แลนิรุดติปิฎก   คือคัมภีร์พวกศรัทธาวิเศษได้สำเร็จแล้ว   จึ่งให้เอาซึ่งพระปิฎกทั้งสองใส่ในสำเภาลำหนึ่งแล้ว    จึ่งสั่งให้นิมนต์พระพุทธรัตนปฏิมากรแก้ว   กับพระทวิปิฎกทั้งสองใส่ในนาวาอีกลำหนึ่งแล้ว   พระองค์ก็เสด็จกลับคืนเข้ามา    

เมื่อสำเภาทั้งสองลำแล่นถึงท่ามกลางมหาสมุท    เอกา   อริมทนปุรํ   สัม์ปัต์ตา    ฝ่ายว่าสำเภาลำหนึ่งก็เข้ามาถึงเมืองอริมทนะนคร   ก็ซัดไปสู่เมืองมหานครบุรีศรีเมืองพระนครหลวงด้วยกำลังลมอันร้ายยิ่งนัก    อันว่าพระทวิปิฎกทั้งสองกับพระปฏิมากรแก้วนั้น    ก็ไปประดิษฐานปรากฎอยู่ในเมืองพระมหานครนั้น    อติจิรํว     ช้านานนักหนาแท้จริง   ฝ่ายว่าพญาอนุรุทธ์เมื่อแลทราบซึ่งเหตุอันนั้นแล้ว  พระองค์จึ่งทรงซึ่งม้าอาชาไนยเสด็จเหาะไปยังเมืองมหานคร   ก็ถึงซึ่งสังฆารามวัดหนึ่ง   เธอจึ่งลงจากหลังม้าพระที่นั่งแล้ว   เสด็จไปกระทำถ่ายซึ่งปัสสาวะลงเหนือน่าศิลาอันหนึ่ง   ก็ทำลายเสียซึ่งแผ่นศิลาแล้วก็ไหลลงไปในภาคภายใต้    ในกาลนั้นยังมีพระภิกษุรูปหนึ่ง    ได้เห็นซึ่งกิริยาแห่งพญาอนุรุทธ์ฉนั้น      เธอจึ่งถามว่า  ดูกรอุบาศกท่านนี้มีชื่อดังฤามีฤทธานุภาพมากนักหนา     พญาอนุรุทธ์เธอจะได้บอกออกพระนามของพระองค์นั้นก็หามิได้    จึ่งตรัสว่าข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า    โยมนี้เป็นราชบุรุษของพญาอนุรุทธ์    พระภิกษุจึ่งถามว่าท่านมาบัดนี้มีธุระเป็นดังฤา  จึ่งบอกว่าโยมมามีความปรารถนาเพื่อจะถือเอาซึ่งพระทวิปิฎกทั้งสอง   พระภิกษุนั้นจึ่งไปแจ้งแก่พระมหาสามี  มหาสามิ  ปน ฝ่ายว่าพระมหาสามี   คือพระสังฆราชาในเมืองพระนครใหญ่นั้น   ท่านจึ่งเข้าไปถวายพระพรแก่พระมหากระษัตริย์ว่า  บัดนี้พญาอนุรุทธ์ใช้ให้ราชบุรุษมาเพื่อว่าจะนำไปซึ่งพระปิฎกทั้งสองที่มหาบพิตร์ได้ไว้นั้น  สมเด็จพระมหากระษัตริย์พระองค์จึ่งตรัสว่า    มม  ปุญ์เญน  ลัท์ธํ  ทวิปิฏกํ อันว่าพระปิฎกทั้งสองนี้    เราได้ด้วยบุญของเรา ๆ    จะให้แก่ผู้ใดนั้นหามิได้   ฝ่ายว่าพญาอนุรุทธ์เมื่อพระองค์ได้ทรงฟังดังนั้น      จึ่งทำซึ่งรูปพระขรรค์ไม้เล่มหนึ่ง   จึ่งเอาจุณมาทาซึ่งคมพระแสงให้ขาวเป็นอันดีแล้ว   จึ่งเสด็จขึ้นทรงม้าอาชาไนยไปกระทำประทักษิณสิ้นสามรอบตามกำแพงแห่งพระนคร      เมื่อคนทั้งหลายมีพระมหากระษัตริย์เป็นต้นเห็นประจักษ์แก่จักษุแท้จริง     พญาอนุรุทธ์จึ่งเอาดาบเข้าเคียนคอคนทั้งปวงแล้วจึ่งคุกคามคำรามว่า     ถ้าท่านทั้งหลายมิได้ให้ซึ่งพระปิฎกแก่เราโดยดี    เราจะตัดศีร์ษะท่านเสียให้สิ้นทั้งนั้น   ถ้าท่านมิเชื่อเราท่านจงลูบคลำเข้าดูเถิดที่คอของท่านนั้น     นาครา  ปน    ฝ่ายว่าหญิงชายชาวพระนครทั้งหลาย  ต่างคนต่างลูบเข้าดูจึ่งเห็นซึ่งจุณติดมือออกมาก็สดุ้งตกใจกลัวไภยความตาย      จึ่งเอาซึ่งเหตุการณ์อันนั้นไปกราบทูลให้ทราบแก่สมเด็จพระมหากระษัตริย์  มหานคริส์สโร  ราชา     ฝ่ายว่าพระมหากระษัตริย์อันเป็นใหญ่ในพระมหานครนั้น     พระองค์ก็กลั้นทนบมิได้   จึ่งให้ส่งซึ่งพระปิฎกนั้นไปแก่พญาอนุรุทธ์   ขณะนั้นแท้จริงพญาอนุรุทธ์จะได้ระภกถึงซึ่งพระปฏิมากรแก้วนั้นหามิได้   ครั้นพระองค์ได้ซึ่งพระปิฎกแต่สิ่งเดียวเท่านั้นแล้ว   ก็เสด็จกลับคืนไปยังพระมหานครของพระองค์   อันว่าพระพุทธรัตนปฏิมากรเจ้านั้น    ก็ได้ชื่อว่าเสด็จมารุ่งเรืองปรากฎอยู่ในกำโพชวงษ์   ดุจพระนาคเสนเถรท่านทำนายไว้ด้วยประการดังนี้.


http://www.kroobannok.com/news_pic/p27792540506.jpg
กาลเสด็จมาแห่งพระแก้วมรกฎ (ตำนานพระแก้วมรกต วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ)

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
ภาพจาก : www.kroobannok.com -

เรื่องราวเบื้องหลังของพระแก้วมรกตองค์พิเศษนี้  เป็นเรื่องเล่ากันมาแต่โบราณกาล  ตามประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้แล้วนั้น  พระแก้วมรกตทรงปรากฏขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. ๑๙๗๙  ที่เจดีย์วัดป่าญะ เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว เชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย)  เนื่องจากพระเจดีย์ถูกฟ้าผ่า  จึงได้เห็นองค์พระพุทธรูปปูนลงรักปิดทองซึ่งอยู่ในพระเจดีย์   โดยมิได้รับความเสียหายแต่อย่างใดเลย   ตั้งแต่นั้นมา ก็ทรงถูกอัญเชิญไปจากนครหลวงต่าง ๆ ของลาว แล้วแต่เมืองไหนจะมีกำลังแข็งแรง  ถ้าสังเกตดูตามพระพักตร์และวิธีที่ศิลปินโบราณสลักพระจีวร  น่าจะได้มีศิลปินชาวกรีกเป็นผู้ประดิษฐ์เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (กรีก) เสด็จมาตีอินเดียแล้ว  เสด็จกลับไปอีก  ส่วนหยกก้อนใหญ่อันประหลาดนี้  น่าจะมีผู้ขุดมาได้จากตามทิวภูเขาคอเคซัส (Caucasus)  เมื่อประดิษฐ์เป็นพระพุทธรูปแล้ว  คงจะมีพระมหาราชาต่าง ๆ อัญเชิญแยกย้ายไปหลายแห่งมากมาย  จากภาคเหนือของอินเดียจนถึงเกาะลังกา  แล้วมาพม่า  แล้วจึงมาถึงแหลมทอง

ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งเมื่อยังเป็นที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หรือเจ้าพระยาจักรี   ได้ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์  ได้รับชัยชนะ และกวาดต้อนชาวเมืองกับทั้งราชบุตรธิดาวงศานุวงศ์และขุนนางท้าวเพี้ยทั้งปวง  กับทรัพย์สินสิ่งของ เครื่องศาสตราวุธ ปืนใหญ่น้อย  และช้างม้าเป็นอันมาก  และให้อัญเชิญพระพุทธปฏิมากร (แก้วมรกต) และพระบางซึ่งสถิตย์อยู่ ณ พระวิหารในวังเจ้าล้านช้างนั้น  อาราธนาลงเรือข้ามฟากเลิกทัพกลับยังกรุงธนบุรี

http://www.sookjaipic.com/images/8435913949_1.gif
กาลเสด็จมาแห่งพระแก้วมรกฎ (ตำนานพระแก้วมรกต วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ)

เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระปฐมวงศ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์    จึงทรงโปรดฯ  ให้สร้างวัดในพระบรมมหาราชวัง  สำหรับให้เป็นพระอารามที่สถิตแห่งพระแก้วมรกต  ซึ่งได้ทรงอัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทน์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๑   การก่อสร้างสำเร็จลงใน พ.ศ. ๒๓๒๘ (จากบันทึกของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกต กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์)  พระพุทธรูปหยกสีประหลาดนั้น  โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากกรุงธนบุรี  มีขบวนแห่ใหญ่มหึมา  แล้วอัญเชิญขึ้นสถิตในพระอุโบสถยาวสี่เหลี่ยม  ฝาผนังสูง  มีลวดลายเป็นสีทองคร่ำ  เพดานสูงสีแดง  มีลวดลายทอง  หลังคากระเบื้องเคลือบสีน้ำเงินเกือบม่วงแก่  สลับกับสีแสด  สองด้านมีจั่วใหญ่สลักอย่างวิจิตรและทาทอง  เบื้องบนมีช่อฟ้าเป็นพญานาคทองโดยรอบ  ชายหลังคาโบสถ์มีระฆังสีทองห้อยอยู่  และมีกระดิ่งทำเป็นรูปใบโพธิ์ทอง   ซึ่งเมื่อถูกลมพัดมาจากแม่น้ำก็เกิดมีเสียงกุ๋งกิ๋งอย่างน่าฟัง  เมื่อพระอุโบสถอันวิเศษและงามยิ่งสร้างสำเร็จแล้ว  และด้วยความเคารพยิ่ง   จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหยกขึ้นประดิษฐานอยู่ภายในพระบุษบก  อันตั้งอยู่บนแว่นฟ้าทองชั้นสูงและถวายพระนามว่า พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร   แต่คนไทยเรานิยมเรียกด้วยความเลื่อมใสเคารพและรักยิ่งว่า พระแก้วมรกต
 

ที่มา :  ๑. หนังสือชินกาลมาลีนี  โดย พระรัตนปัญญา (พ.ศ. ๒๐๗๑) : สำนักพิมพ์ศรีปัญญา จ.นนทบุรี
          ๒. หนังสือเจ้าชีวิต  พระนิพนธ์ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์  : บริษัท โรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด
          ๓.  สุขใจท่องเที่ยว “วันวานนี้ที่นครเวียงจันทน์” : www.sookjai.com
          ๔.  วิกิพีเดีย  สารานุกรมเสรี      
 


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ตุลาคม 2556 15:04:34 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5800


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2555 16:17:43 »

.

ชินกาลมาลีนี หรือ ชินกาลมาลีปกรณ์


ชินกาลมาลีนี หรือ ชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นเอกสารหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่กล่าวถึงประวัติที่มาของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร  หรือพระแก้วมรกฎ (สะกดตามต้นฉบับหนังสือชินกาลมาลีนี) เป็นวรรณกรรมภาษาบาลี ซึ่งแต่งขึ้นในช่วงยุคทองของพุทธศาสนาเถรวาทในอาณาจักรล้านนา   เอกสารดังกล่าวแต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๗๑  โดย พระรัตนปัญญา ปราชญ์ชาวล้านนา  ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงพุทธศาสนาเถรวาทในอาณาจักรล้านนากำลังแผ่อิทธิพลรุ่งเรือง  (ราว พ.ศ. ๑๙๘๕ – ๒๐๖๘)  ในช่วงสมัยพระเจ้าติโลกราช  พระยอดเชียงราย และพระเมืองแก้ว สืบเนื่องกันสามรัชกาล   พระรัตนปัญญาเป็นพระเถระร่วมสมัยกับพระสิริมังคลาจารย์ และเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์มังราย  และเป็นเจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอดหรือวัดมหาโพธารามในสมัยพระเมืองแก้ว
  
ชินกาลมาลินี ได้รับการแปลไปหลายภาษาเพื่อเป็นที่ศึกษาของนานาชาติเกี่ยวกับตำนานสมัยประวัติศาสตร์โบราณ   สำหรับภาษาไทยระบุชื่อผู้แปลว่าคือ พระยาพจนาพิมล   นอกจากชินกาลมาลีนีแล้ว  พระรัตนปัญญายังมีผลงานสำคัญคือ วัชรสารัตถสังคหะ  เป็นคัมภีร์ประมวลศัพท์  อรรถาธิบายขยายใจความของธรรมะ และ มาติกัตถสรูปธัมมสังคณี  เป็นคัมภีร์อธิบายความพระอภิธรรม
















 
 


การคัดลอกตำนานของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (แก้วมรกต) จากหนังสือชินกาลมาลีนี  ตามภาพสแกนตัวหนังสือนั้น เป็นการสะกดหนังสือตามต้นฉบับเดิม   คำบางคำเป็นภาษามคธ ที่มีอักขระคล้ายตัวการันต์ (แต่ไม่ใช่ตัวการันต์) ได้ใช้วิธีการวาดเส้นแล้วย่อขนาด   แล้วยกไปวางเหนือตัวพยัญชนะ  ซึ่งค่อนข้างยุ่งนิดหน่อย  แต่อยากให้ผู้สนใจได้ทราบภาษาโบราณ     

พยัญชนะบางคำหรือบางตัวได้ถูกยกเลิกใช้ไปแล้ว เช่น พยัญชนะคอคน    ดังฤา  (ต้นฉบับตัวสระอา ลากยาวลงมาเท่ากับตัว ฤ)  หรือ ภามีฤทธิ์ "ภ" ลากหางยาวลงมาเท่ากับ "ฤ"  ซึ่งต้องใช้เทคนิคกันนิดหน่อยเพื่อให้ใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุด แล้วจึงนำมาสแกน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ตุลาคม 2556 15:12:24 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.633 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 00:32:50