[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 15:33:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พรหมจรรย์ บนเส้นทางธรรม เร้นกายมุ่งทางสงบ หลวงปู่แหวน  (อ่าน 17133 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 2.0.0.20 Firefox 2.0.0.20


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2554 12:06:05 »




พรหมจรรย์ บนเส้นทางธรรม เร้นกายมุ่งทางสงบ
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ.

เร้นกายมุ่งทางสงบ
นับตั้งแต่พระแหวนแน่วแน่ในการธุดงค์ ผู้ที่พบเห็นท่านมีไม่มาก ท่านปลีกตัวออกจากโลก
หลีกเว้นจากเรื่องชื่อเสียง ไม่ว่าเรื่องราวใดๆ ล้วนไม่ยินดีให้ผู้ใดรับทราบ

ไม่มีใครสามารถทราบได้หมดว่า หลวงปู่แหวนที่เราเคารพศรัทธา
ท่านท่องเดินธุดงค์ไปที่ใดบ้าง ศิษย์หลายคนเคยเรียนถามท่าน
ท่านก็ได้แต่หัวเราะในลำคอเบาๆ ตอบมาสั้นๆ ให้เข้าใจว่า...



“เฮาบ่มีอดีต เฮามีแต่ปัจจุบันและอนาคต ชีวิตของเฮามีแต่พุทธศาสนา
เฮามีแต่ป่าและวัด”




ศิษย์ หลายคนพากันบ่นว่า ท่านปิดกั้นอดีตโดยสิ้นเชิง แต่กระนั้นก็ตาม ได้มีบันทึก
ของพระเกจิอาจารย์บางท่าน ได้บันทึกเรื่องราวบางตอนที่เกี่ยวกับหลวงปู่แหวนเอาไว้
ทำให้ทราบว่า ปณิธานของท่านเด็ดเดี่ยว
แข็งแกรงประหนึ่งเหล็กกล้า พลังการควบคุมจิตใจก็หาใครเทียบได้น้อยนัก



บันทึกของหลวงพ่ออุตตมะ แห่งวัดวังก์วิเวกการาม อ.สังขละ
จ.กาญจนบุรี
ช่วงหนึ่งบันทึกไว้ว่า ...



ด้วยความประสงค์ที่จะไปนมัสการพระเจดีย์อินทร์แขวน ซึ่งอยู่บนเขาในจังหวัดสะเทิม
ประเทศพม่า แนวเดียวกับอำเภอแม่ฮ่องสอน ลักษณะ เป็นชะง่อนผา มีหินก้อนใหญ่
ลักษณะคล้ายศีรษะฤาษี ตั้งอยู่อย่างไม่น่าจะตั้งอยู่ได้
ที่เรียกว่าพระเจดีย์อินทร์แขวน ก็เพราะชะง่อนผาและภูเขาแทบจะไม่ติดกัน

ว่า กันว่า พระอินทร์เป็นผู้สร้าง บนสุดของชะง่อนผามีพระเจดีย์องค์เล็กเหลืองอร่าม
ประดิษฐานอยู่ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จึงได้เรียกว่าพระเจดีย์อินทร์แขวน

ที่ พระเจดีย์อินทร์แขวนนี้เอง หลวงพ่ออุตตมะได้พบกับหลวงปู่แหวน แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง
เชียงใหม่ เมื่อทำความเคารพกันแล้ว ก็สนทนาด้วยภาษาพม่า
(หลวงปู่แหวนธุดงค์ระหว่างพม่าและไทยบ่อยครั้งจนพอพูดและสื่อภาษากันรู้ เรื่อง)



ถามไถ่กันว่าแต่ละท่านใช้สมถกรรมฐานแบบไหน หลวงปู่แหวนว่า ท่านใช้อานาปาณสติ
หลวงพ่ออุตตมะก็ว่าท่านก็ใช้เช่นเดียวกัน

หลวง ปู่แหวนได้ถามทางไปไหว้ศพพระกัสสปะมหาเถระ ซึ่งอยู่ในถ้ำป่าดิบมัณฑะเลย์
หลวงพ่ออุตตมะก็บอกทางให้ หลวงปู่ยังถามอีกว่า ศพนั้นเป็นศพพระกัสสปะจริงหรือ

หลวงพ่อตอบ ตอนที่ท่านบวชได้ประมาณ ๓ พรรษา ก็เคยไปดูมาครั้งหนึ่ง
ท่านก็ไม่รู้เหมือนกันว่าศพใคร

ใน บันทึกของหลวงพ่ออุตตมะยังได้บันทึกให้ทราบอีกว่า การเดินทางไปไหว้ศพ
พระกัสสปะนี้ หลวงปู่แหวนเกิดตกเหว ช่วงหัวไหล่และศีรษะไปฟาดหิน จนเส้นเอ็นที่คอเสีย
แต่ท่านไม่ยอมไปโรงพยาบาล คอจึงเอียงมาตั้งแต่บัดนั้น

ยัง มีเรื่องเล่าจากบันทึกนี้อีกว่า เมื่อหลวงพ่ออุตตมะได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทย
และกำลังพัฒนาวัดวังก์วิเวกการามอยู่นั้น
ท่านได้พาคณะญาติโยมขึ้นไปกราบหลวงปูแหวนที่วัดดอยแม่ปั๋ง



แต่ เมื่อไปถึงประมาณบ่ายโมงเศษ หลวงปู่แหวนจำวัดปิดกุฏิเงียบ มีทั้งพระและลูกศิษย์
ลองเรียก ก็หามีคำตอบออกมาไม่ เนื่องจากเวลามีน้อย คณะญาติโยมต้องรีบเดินทางกลับ
เลยขอร้องให้หลวงพ่ออุตตมะติดต่อกับหลวงปู่ฯ ทางจิต

หลวง พ่อฯ ก็ลองดู นั่งสงบจิตถึงหลวงปู่แหวน เพียงไม่กี่อึดใจ หลวงปู่แหวนก็เปิดกุฏิออกมา
หลวงพ่ออุตตมะจึงเข้าทำความเคารพและส่งภาษาพม่าถามไถ่กัน ความว่า ...

หลวง ปู่ฯ ชมว่า หลวงพ่ออุตตมะยังไม่แก่เลย หลวงปู่ฯ สิแก่แล้ว ทั้งยังซักถามอีกว่า
 หลวงพ่ออุตตมะยังปฏิบัติเหมือนเดิมหรือไม่
ก็ได้รับคำตอบว่าเหมือนเดิม แต่ไม่ค่อยมีเวลาปฏิบัติเท่าใดนัก

คุยกันพักใหญ่ จึงเปิดโอกาสให้ญาติโยมที่มาเข้ากราบนมัสการ นับว่าเป็นบันทึก
ที่ไม่ค่อยจะมีใครได้ทราบกันนัก.




http //www zone-it.com
ขอบพระคุณ
ผู้รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปัน : naruphol
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 9.0.597.84 Chrome 9.0.597.84


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2554 16:25:02 »

ขอบคุณ อ.ป้าแป๋มครับ

อ.ป้าแป๋มนี่อ่านเวบทุกแนวจริง ๆ

แม้กระทั่งที่มาของข้อมูลชุดนี้

โซนไอที

 หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0 Firefox 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 28 สิงหาคม 2554 12:52:31 »





ดับลงที่ "สติ"
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

เวลากิเลสมันเกิดขึ้น เกิดขึ้นทางกาย เกิดขึ้นทางวาจา เกิดขึ้นทางใจ
รู้ทันมันเดี๋ยวนี้ มันก็ดับไปเดี๋ยวนี้แหละ
ตัวสติมันปกครองอยู่เสมอ
ถ้ามีสติอยู่ทุกเมื่อ มันบ่ได้คุมมันหละ
ครั้นเกิดขึ้น รู้ทันมันก็ดับ
รู้ทันก็ดับ รู้ทันก็ดับ
คิดผิดก็ดับ คิดถูกก็ดับ
พอใจไม่พอใจก็ดับลงทันทีที่ตัวสติ



ที่มา  : http://portal.in.th/i-dhamma/pages/8078/
Pics by : Google
สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 สิงหาคม 2554 13:01:52 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: หัวข้อค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 กันยายน 2554 17:33:17 »



http://img171.imageshack.us/img171/2415/73317369.jpg
พรหมจรรย์ บนเส้นทางธรรม เร้นกายมุ่งทางสงบ หลวงปู่แหวน


พระคุณเจ้าหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

          พระคุณเจ้าหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอริยสงฆ์ ที่เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง จากพุทธศาสนิกชนทุกเทศทุกวัย ทั้งในและ ต่างประเทศ
แม้ หลวงปู่จะได้ลาขันธ์ไป ตั้งแต่คืนวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๒๘ แต่ความทรงจำในกระแส เมตตา ปฎิปทาสัมมาปฎิบัติ จริยาวัตรที่งดงาม พร้อมกับธัมโมวาทอันล้ำค่า ของหลวงปู่ ก็ยังส่องสว่างอยู่กลางใจของพวกเราชาวพุทธทุกผู้ทุกนาม

          เมื่อน้อมระลึกถึงหลวงปู่ทีไร ความสุข สงบ ความโสมนัส ชื่นบาน ความสมหวัง โชคดี ความเป็นสิริมงคล จะดื่มด่ำอยู่ในจิตใจ อย่างไม่รู้อิ่มรู้คลาย ผู้ที่โชคดี มีโอกาสกราบไหว้ องค์หลวงปู่ ได้เคยฟังการปรารภธรรม แสดงธรรม  จากหลวงปู่ ต่างก็ประจักษ์ความไพเราะ นุ่มนวลละมุนละไม ประดุจเสียงทิพย์ที่ไพบูลย์ด้วยธรรมะ อันเป็นสากลสัจจะ ยังความอิ่มเอิบ เบิกบาน และเป็นมงคลยิ่งแก่ชีวิต

          หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นผู้สืบเนื้อนาบุญอันไพศาล นับเป็นพระอริยสาวก ที่ควรแก่กราบ ไหว้บูชาอย่างแท้จริง ท่านเจ้าคุณพระวิบูลธรรมาภรณ์ แห่งวัดสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพๆ ศิษย์ใกล้ชิดท่านหนึ่ง ได้รจนาถึงปฎิทาของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ดังนี้ :-

      " หลวงปู่แหวนท่านมีศีลที่สมบูรณ์ คือเป็นพระสงฆ์ ที่มีความปกติครบถ้วนไม่เกินหรือขาด สภาพของท่านเปรียบเสมือนป่าใหญ่ที่มีต้นไม้ใหญ่เล็กนานาชนิด ทั้งยืนต้น และล้มลุก มี ดอก ใบ ผล สมบูรณ์ ตามสภาพของพันธุ์นั้นๆ จะมีต่างอยู่ก็คือกลิ่นของดอกไม้ ในป่า หอมตามลม แต่กลิ่นศีลของหลวงปู่หวลตามลมและทวนลม และ ไม่นิยมกาลเวลา หอมอยู่เสมอ
      หลวง ปู่มีจริยาวัตร คือความประพฤติที่เรียบร้อย งดงาม เต็มพร้อมด้วยสิกขา วินัย กฎระเบียบ การปฎิบัติของท่านเรียบง่าย ถูกต้องทั้งในสมาคมสาธารณะ และในที่รโหฐาน จะเป็นที่ชุมชนใหญ่ เล็ก ท่านทำตนเป็นกลางเสมอเหมือน ความประพฤติของท่าน เสมือนต้นไม้ใหญ่ ที่มีร่มเงามาก มีกิ่งก้านสาขาแผ่กว้างให้คนเดินทางได้อาศัยร่มเงาพัก นกกาอาศัยเกาะกิ่ง มีกาฝากก็ขึ้นแซมบ้าง บางครั้งบางคราว


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 11 กันยายน 2554 17:36:57 »



      หลวงปู่ท่านมีปฎิทา คือทางดำเนินสายกลางพอเหมาะพองาม ไม่ชอบระคนด้วยกลุ่มชนมาก ชอบหลีกเร้นอยู่ในที่สงบ ชอบชีวิตธรรมชาติ ป่าเขาลำเนาไพร ชีวิตของท่านอยู่กับป่ามาโดยตลอด แม้ในวัยชรา หลวงปู่จะปรารภเสมอว่า ขณะนี้ป่าธรรมชาติจะหายไป แต่มีป่ามนุษย์เข้ามาเเทนที่ โดยท่านให้คติว่า ต้นไม้ในป่าต่างต้นต่างเจริญเติบโต แสวงหาอาหารเลี้ยงต้น ใบ ดอก ผลของมันเอง ไม่แก่งแย่งเบียดเบียนกัน แต่มนุษย์ก็มีทางดำเนินเลี้ยงชีวิตตรงกันข้ามกับต้นไม้ในป่า

      หลวงปู่ท่านมีเมตตาธรรมเป็นเลิศ มีสมาธิดี มีพลังจิตสูงเปี่ยมด้วยเมตตา ถ้าได้สนทนาธรรม กับท่าน สิ่งที่เป็นคำสอนอันสำคัญสำหรับชาวเราทั่วไป ก็คือ ท่านจะสอนให้หัดแผ่เมตตา ความปราถนาดี แก่คน สัตว์ ศัตรูหมู่มาร จะสอนให้แผ่ให้ทั่วจักรวาล ยิ่งแผ่มากจะทำให้จิตใจ สบาย รักชีวิต ทรัพย์สินของคนอื่นเหมือนกับของตนเอง หลวงปู่ท่านสอนให้แผ่ความปราถนาดี ความสุขแก่ชนทุกชั้นทุกระดับ ใครจะได้รับมากน้อยสุดแต่วาสนาบารมีของผู้นั้น

      สรุป ได้ว่า หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วย ศีล จริยวัตร ปฎิปทา คุณธรรม แผ่ขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศ ทั้งตามลมและทวนลม เกียรติคุณ บริสุทธิคุณ ปรากฎในชุมชน ทั่วไป
      คุณแห่งศีล และเมตตาของท่าน เป็นเสมือนมนต์ขลัง ก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะ มีคนจำนวน มากเดินทางไปกราบขอศีลขอพร ขอบารมีธรรม และบางรายขอทุกอย่างที่ตนมีทุกข์ เพื่อจะให้ พ้นทุกข์
      ทำให้เกิดศรัทธาสองทาง คือ คุณธรรม และวัตถุธรรม ผู้ใดต้องการธรรมะ ก็สดับตรับฟัง ศึกษาเอา ผู้ใดต้องการของขลัง รูปเหรียญวัตถุมงคลที่ระลึก ก็แสวงหาเอา ใครผู้ใีดปราถนาหรือ ศรัทธาอย่างใดก็ปฎิบัติอย่างนั้น ซึ่งก็คงสำเร็จประโยชน์ไม่มากก็น้อย "

       ในสมัย ที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ ประชาชนจากใกล้ไกล ต่างแห่แหนไปกราบ หลวงปู่ ซึ่งหลวงปู่ ได้ปรารภถามว่า " พากันลำบากลำบนมากันทำไม "
       คำตอบจากประชาชนเหล่านั้นก็คือ " ต้องการมากราบบารมีของหลวงปู่ "
       หลวง ปู่ได้แนะนำว่า " บารมีต้องสร้างเอา เหมือนอยากให้มะม่วงของตนมีผลดก ก็ต้องหมั่น บำรุงรักษาเอา ไม่ใช่แห่ไปชื่นชมต้นมะม่วงของคนอื่น ต้องไปปลูก ไปบำรุงต้นมะม่วงของตนเอง การสร้างบารมีก็เช่นกัน ต้องสร้างต้อง ทำเอาเอง "
   
(จาก หนังสือเรื่อง หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๓ เรียบเรียงโดย รศ.ดร.ปฐม -รศ.ภัทรา นิคมานนท์
มีนาคม ๒๕๔๘ )



นำมาแบ่งปันโดย :
naruphol : http://www.zone-it.com/52641
Pics by : Google
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต * อกาลิโกโฮม
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 11 กันยายน 2554 17:42:59 »





เจตนาคือตัวกรรม
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จังหวัดเชียงใหม่

คนเราบางคนเกิดมาแล้วชอบทำแต่ความชั่ว ทั้งก็เพราะเดิม เจตนากรรมบุญ เจตนามีบาป สองอย่างนี้ก็แหละตัวเจตนา เจตนาเป็นตัวกรรม กรรมชั่ว กรรมบุญ เจตนารักษาศีล คือการสำรวมระวัง รักษากาย รักษาวาจา รักษาใจ อาศัยความอดทน อดทนด้วยใจ ตีติกขา ความอดทนคือความ อดกลั้นต่อบาปอกุศล มันสำคัญอยู่ที่กาย วาจา ใจ อกุศลเจตนากรรมบาป อดีตอนาคตไม่ข้องเกี่ยวตัดออกหมด อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา เอาในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน วางใจปัจจุบัน

ตั้งเจตนาให้ จริงกาย จริงวาจา จริงใจ กาย วาจา ใจ เขาเป็นปกติอยู่แล้ว ใจก็ไม่ไปที่ไหน คงตั้งอยู่เป็นปกติ ต้องเอาปัญญา ตัดอกุศลเจตนาออกจากใจ ตัดอย่าให้มันหมักอยู่ในใจ ประเดี๋ยวจะเดือดร้อน ตั้งเจตนาให้แน่วแน่ว่า เราจะทำจิตใจของเราให้เบิกบาน ให้บรรลุมรรคผลนิพพาน สัจจะ ความจริงกาย จริงวาจา จริงใจ ขันติปารมี อดกลั้น ด้วยกาย ด้วยวาจา ขันติปรมัตถปารมี อดกลั้นด้วยใจ ตีติกขา ความอดกลั้นเป็นบารมีธรรมอย่างเอก

ตัดอดีตอนาคต มุ่งเฉพาะปัจจุบันธรรม อดีต อนาคตมันมาแต่ดึกดำบรรพ์ ทั้งส่วนดีส่วนร้ายเนื่องมาจากตัณหาทั้งสาม คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ความพอใจหรือไม่พอใจ ก็ตัณหานี้ ละออกจากจิตจากใจเสีย ก็สบาย รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์ ทั้ง 5 ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่านมา มันสำคัญก็ไม่ว่า ดีเขาก็ไม่ว่า มันสำคัญอยู่ที่เจตนา ตัวกรรมบุญ เจตนาตัวกรรมบาปเข้าไปครองจิตใจแล้วทำให้คิดไปปรุงแต่งไป เป็นรักเป็นชัง เป็นโกรธเป็นเกลียด ให้ละวางตัวนี้อย่าเอามาหมักไว้ในใจ ละอยู่ที่ใจ วางอยู่ที่ใจไม่ใช่ที่อื่น เอาใจนี้ละ เอาใจนี้วาง จึงใช้ได้ ไม่ใช่ไปจำ

เอาคำพูดในคัมภีร์มาพูดมาใช้ไม่ได้ มันต้องน้อมเข้ามาหากายหาใจของเรานี้ กำหนดการละ กำหนดการวางลงใจ กาย วาจา ใจ ของเรานี้รวมลงในไตรทวารนี้ ไม่ใช่ที่อื่น อดีต อนาคตที่ใจ นำมาก็ละเสีย หู ตา ก็อยู่เป็นปกติ อินทรีย์ 5 เขาก็ตั้งอยู่ปกติ รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์ อันนั้น ต่างหาก ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่าน อย่าเอามา หมักไว้ในใจ ใจของเราให้ตั้งอยู่โดยปกติเวลาจะทำจิตใจทำใจของเราต้องวางหมด อย่าให้มีสิ่งไม่ดีอยู่ในใจจะเดือนร้อน ต้องนำออกให้หมด ทำใจให้ว่างให้มีความพอ อดีตอนาคตไม่ต้องเกี่ยวข้องทั้งหมด อย่าปล่อยให้ใจไปเกาะเที่ยวข้องแวะส่วนที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นเครื่องบั่นทอนปัจจุบันธรรมให้รู้เฉพาะปัจจุบัน ละปัจจุบันให้รู้มรรค รู้ผล

"ต้องการละ ต้องหมั่นเจริญ " ต้องการ ละ ความพยาบาท หรือ ความคิดปองร้าย ต้องหมั่นเจริญเมตตา หรือ ไมตรีจิต คิดให้ผู้อื่นมีความสุข ต้องการ ละ ความคิดเบียดเบียนผู้อื่น ต้องหมั่น เจริญ กรุณา หรือ เอ็นดู คือช่วยเหลือผู้อื่นพ้นทุกข์ ต้องการ ละ ความอิจฉาริษยา ต้องหมั่น เจริญมุทิตา หรือ พลอยยินดีเมื่อผุ้อื่นได้ดี ต้องการ ละ ความขัดใจ ต้องหมั่น เจริญอุเบกขา หรือ การวางใจเป็นกลาง ต้องการ ละ ความกำหนัดยินดี ต้องหมั่น เจริญอสุภะ หรือ เห็นความไม่งามเบื้องหลังความงาม ต้องการ ละ ความถือตัวถือตน ต้องหมั่น เจริญ กฎการเปลี่ยนแปลง ให้เข้าใจ



นำมาแบ่งปันโดย : http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2273:2010-05-26-20-33-25&catid=39:2010-03-02-03-51-18
Pics by : Google
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต * อกาลิโกโฮม
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 11 กันยายน 2554 17:46:04 »



     อาจาริโยวาทเกี่ยวกับความตาย



โอวาทหลวงปู่แหวน สุจิณโณ

อันว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์ และเทวดา ได้ถูกไฟ 11... กอง
เผาอยู่เสมอ เป็นเหตุให้ได้รับความทุกข์นานาประการ 11 กอง คือ

1.) ราคะ คือความกำหนัดชอบใจ อยากได้กามคุณ 5 มีรูปเป็นต้น
2.) ไฟโทสะ คือความโกรธ มีความไม่พอใจเป็นลักษณะ
3.) ไฟโมหะ ได้แก่ความลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง โผฎฐัพพ ลังเล ใจฟุ้งซ่าน ไปตามอารมณ์
4.) ชาติ คือไฟแห่งความเกิดอันเป็นทุกข์
5.) ชรา คือไฟแห่งความแก่อันเป็นทุกข์

6.) มรณะ คือไฟแห่งความตายอันเป็นทุกข์
7.) โสกะ คือไฟแห่งความเศร้าโศก
8.) ปริเทวะ คือไฟบ่นเพ้อร่ำไร รำพัน
9.) ทุกขัง คือไฟแห่งความทุกข์ลำบากกายใจ
10.) โทมนัส คือไฟแห่งความเสียใจ
11.) อุปายโส คือไฟแห่งความคับแค้นใจ

ไฟทั้ง 11 กองนี้แหละเผาลนสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ต้องพากันงมงาย
เวียนว่ายตายเกิด ได้รับทุกข์ต่างๆ.

คัดลอกโดย : สุนทร กองทรัพย์

"เอาใจนี่ละเป็นใหญ่พิจารณา
ทุกข์มันก็เกิดจากใจนี้ สมุทัยมันก็เกิดจากใจ
มรรคผลนิพพานก็เกิดจากใจนี่ละ กายนี่ละ
เป็นที่ตั้งของมรรคผลนิพพาน" หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

:http://portal.in.th/ms-pcare/pages/5878/
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต * อกาลิโกโฮม
        สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 11 กันยายน 2554 17:48:51 »



            http://img67.imageshack.us/img67/6563/022bf4.jpg
พรหมจรรย์ บนเส้นทางธรรม เร้นกายมุ่งทางสงบ หลวงปู่แหวน


"การละอารมณ์"

มรณาตัวนี้ตัวเดียว ทั้งโลกเต็มแผ่นดินนี้มีแต่มรณาทั้งนั้น เราก็คนหนึ่ง เราเกิดมาแล้ว มันต้องมีความแก่ ความเจ็บ ความตาย ทุกรูปทุกนาม มันเป็นกงจักรใหญ่ให้มนุษย์และสัตว์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ในโลกอันนี้ ในไตรโลกทั้งสามนี้แหละ ไม่พ้นไปสักที

ตัดอดีตอนาคตเป็นอันเดียวกัน อดีตอนาคตมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ทำดีก็ดี ทำร้ายก็ดี มุ่งอยู่ที่กามตัณหานี่แหละ ความพอใจก็ตัณหา ความไม่พอใจก็ตัณหา ภวตัณหาก็ดี วิภวตัณหาก็ดี ทั้งสามนี้ เหล่านี้ ละให้สิ้น มันเกิดขึ้นในใจ ก็นำออกจากจิตจากใจของตนเสีย

ศีลห้า อยู่ที่ขาสอง แขนสอง หัวหนึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์ทั้ง 5 ปล่อยให้ผ่านไปผ่านมา ดีก็ไม่ว่า ไม่ดีก็ไม่ว่า เรื่องราวเต็มโลก เต็มบ้านเต็มเมือง เราก็วางเสีย ละเสีย ละอยู่ที่กายที่ใจตนนี่แหละ อย่าไปละที่อื่น

การหอบอดีตและอนาคตมาหมักสุมไว้ในใจก็เป็นทุกข์ ตัดออกให้หมด หูของเรา ตาของเรา จมูกของเรา ก็เป็นปกติอยู่แล้ว รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์นนั้นต่างหาก ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่านมา อย่าเอาหมักไว้ในใจ ใจของเราก็ไม่ได้ไปไหน มันก็ตั้งอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว เราก็ตัดอื่น ๆ ที่ผ่านไปผ่านมาออกเสีย ทำใจของเราให้สงบ มันก็ต้องวางหมด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทั้งอดีตอนาคตอันใดที่ได้ยินมาพอแล้ว ได้เห็นมาพอแล้ว อยู่ทางโลกก็ดี อยู่คนเดียวก็ดี อันใดก็ดี วางอยู่ที่นี่แหละ ละอยู่ที่นี่แหละ ความหลงก็พอแล้ว โลภก็พอแล้ว โกรธก็พอแล้ว ความโศก ความเศร้า กิเลส ตัณหา ความพอใจ ความไม่พอใจ ก็ตัณหาแหละ ละมันเสีย

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 6.0.2 Firefox 6.0.2


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 11 กันยายน 2554 17:52:01 »



"การสละออกจากใจ"

จาโค ปฏินิสสัคโค สละคืนถอนออกจากใจนี้เสีย
คนเรามันรักสุข เกลียดทุกข์นี่ หนักก็หนักอยู่ตรงนี้แหละ ไม่รับความจริง
เราเกิดมา นินทา สรรเสริญก็ดี อย่าไปรับเอามาหมักไว้ใจ ปล่อยผ่านไปเสีย
ความรัก ความชัง ความโลภ ความหลง เกิดขึ้น เพราะกิเลสมันเสวนากันอยู่

กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาทั้งหลาย ก็ไหลมาจากเหตุ ให้ละเสียให้หมด ให้ตั้งอยู่ในศีล ตั้งอยู่ในทาน ตั้งอยู่ในการบำเพ็ญกุศล ละบาปทางกาย ทางวาจา ทางใจ บาปอันใดยังอยู่ละเสียให้หมด กายทุจริต วาจาทุจริต ใจทุจริต นำออกให้หมด แล้วรักษากายสุจริต วาจาสุจริต ใจสุจริตไว้ เมื่อนำทุจริตออกหมดแล้วจะเหลือแต่สุจริตธรรม ตั้งอยู่ในศีล กายก็เป็นศีล วาจาก็เป็นศีล ใจก็เป็นศีล เป็นธรรม เป็นมรรค เป็นผล ตั้งขึ้นในจิตในใจ ละวางทุจริตธรรม สุจริตธรรมตั้งอยู่แล้ว จิตก็เบาสบาย

อดีตที่ล่วงไปแล้ว ยังหอบเอามาหมักไว้ในใจก็เดือดร้อน ต้องเอาศีลนั่นแหละนำออกให้หมด
ธรรมปฏิบัติ เรื่องต้องน้อมเข้ามาสู่ใจ

ให้รักษาพระไตรสรณคมน์ให้แน่นหนา รักษาพระไตรสรคมน์ให้ตลอดชีวิต รักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ อย่าลืมตัว เอาใจนี้แหละเป็นผู้รู้ ให้พิจารณากาย ใจนี้ให้รู้แจ้ง

หมายเหตุ: จากหนังสือ "ธรรมโอวาท 9 หลวงปู่อริยสงฆ์"



นำมาแบ่งปันโดย :
naruphol : http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=19135
Pics by : Google
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต * อกาลิโกโฮม
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 กันยายน 2554 17:54:53 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: หัวข้อค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 8.0 Firefox 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2554 09:16:16 »



สงครามกามกิเลส
- หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

กามนี้มันหมุนรอบโลก มันเป็นเจ้าโลก กามกิเลสนี่แหละที่ทำให้เกิดสงครามต่อ
สู้ เกิดก็เพราะกาม ตายก็เพราะกาม รักก็เพราะกาม ชังก็เพราะกาม
... กามทุกอย่างนี้เรียกว่ากามกิเลส การต่อสู้กามกิเลสเป็นสงครามอันยิ่งใหญ่ กาม
กิเลสนี้ร้ายนัก มันมาทุกทิศทุกทาง

... ความพอใจก็คือกามกิเลส ความไม่พอใจก็คือกามกิเลส
... กิเลสนี้อุปมาเหมือนแม่น้ำ ธารน้ำน้อยใหญ่ไม่มีประมาณ ไหลลงสู่ทะเลไม่มีที่
เต็มฉันใดก็ดี กามตัณหาที่ไม่พอดี ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นแหล่งก่อทุกข์ ก่อ
ความเดือดร้อนไม่มีที่สิ้นสุด

... ทั้งหมดอยู่ที่ใจ สุขก็อยู่ที่ใจ ทุกข์ก็อยู่ที่ใจ ใจนี่แหละคือตัวเหตุ ทำความรักษา
หู รักษาตัว รักษาปาก
... สำรวมอินทรีย์ รักษาธาตุ4 ขันธ์5 พิจารณาเข้าไป ตจปัญจกกรรมฐาน5
กายคตากรรมฐาน
พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงจะถอนได้

... พวก หมู หมา เป็ด ไก่ มันก็เสพกามกันทั่วแผ่นดิน อย่าได้ไปอัศจรรย์
มีแต่ ศีล สมาธิ ปัญญา ผู้ใดรักษาศีลภาวนาเข้าจนเกิดสมาธิแล้ว
สติก็ดิ่งเข้าไปแล้ว ก็จะได้ทำจิตทำใจของตนให้บริสุทธิ์
...พระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ท่านก็ชี้เข้าหาใจนี่แหละ
ทำใจให้บริสุทธิ์ให้มีสติสัมปชัญญะนำคืนออกให้หมด ถ้ามีสติแล้วก็นำความผิด
ออกจากใจของตน อย่าหลงสมมติทั้งหลาย มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
อย่าเอามาหมักไว้ในใจ... ... ... .

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 8.0 Firefox 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2554 09:24:36 »



  ตัณหาเป็นเชือกผูกคอ  ปอผูกศอก  โซ่ล่ามขา
  - หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

         ตัณหาทั้งสามมันปกครองสัตว์ทั้งโลก  ความพอใจก็ดี  ความไม่พอใจก็ดี  จัดเป็นตัณหา  กามตัณหา  ภวตัณหา  วิภวตัณหา  ตัณหาทั้งสามนี้  เป็นไตรวัฎฎ์อยู่นี่  มันหมุนอยู่นี่
         กามตัณหา  ภวตัณหา  วิภวตัณหา  เปรียบเหมือนธารแม่น้ำน้อยใหญ่นับไม่ถ้วน  ไหลมาสู่ทะเลอันไม่มีฝั่ง  ไม่มีที่เต็ม  ฉันใดก็ดี  ความพอใจก็ดี  ความไม่พอใจก็ดี  ก็เพราะกามตัณหานี้เอง
         กามตัณหา  เปรียบเหมือนเชือกผูกคอ  ภวตัณหาเปรียบเหมือนปอผูกศอก  วิภวตัณหา  เปรียบโซ่ผูกขา  จะเอาอาวุธมีมีดหรือขวาน  มาตัดมันเท่าไรมันก็ไม่ขาด  ยกเว้นแต่ผู้มีปัญญาบารมี

         มนุษย์ผู้อาชาไนยเป็นผู้องอาจกล้าหาญ  ต่อสู้สงครามกามกิเลส  ความพอใจความไม่พอใจก็ดี  ความพอใจ  ความไม่พอใจนี้แหละตัดมันไม่ขาด
         เวลาเราทำความเพียรบางครั้ง  ดูเหมือนกับสบายเย็นใจ  เย็นกาย  แต่พอเร่งทำความเพียรเข้า  มันกลับเป็นไปอีกอย่างหนึ่งมันไม่ใช่ง่าย  พวกกามกิเลสนี้
         มนุษย์ผู้อาชาไนยผู้องอาจแกล้วกล้า  สามารถจะต่อสู้กามกิเลสนี้  อันเป็นข้าศึกในสงครามการต่อสู้ต้องระวังอินทรีย์ตา  มันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง หู  ก็เป็นเหตุอันหนึ่ง  จมูก  ก็เป็นเหตุอันหนึ่ง  กาย ใจ เป็นเหตุอันหนึ่ง  ธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ

         กายนี้เป็นมรรค  เป็นที่ตั้งของมรรค  กายสมบัติอันนี้ท่านยกขึ้นเป็น  มรรค  นะ เป็น  พุทโธ  โม  เป็นพระเจ้า  อาศัยบิดามารดาเกิดก็เพราะ  กามตัณหา  ภวตัณหา  วิภวตัณหา
         กามตัณหานี้มันไม่พอ  ตัณหา ๓ นี้ก็เกิดขึ้นจากกายจากใจเรานี้แหละ  ได้ลูกได้หลานมามันก็พอใจ
         ชังก็เพราะกาม  เกิดก็เพราะกาม  ทุกข์ก็เพราะกาม  ตายก็เพราะกาม  สุขก็เพราะกาม  นี้กามตัณหา
         ท่านจึงเปรียบว่า  กามตัณหา  เหมือนเชือกผูกคอ  ภวตัณหา  เหมือนปอผูกศอก  วิภวตัณหา  เหมือนโซ่ผูกขา  เพราความรัก  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  มันไหลมาแต่ตัณหาทั้งสามนี้แหละ

         การจองล้างจองผลาญฆ่าฟันกันเพราะกามนี้แหละ  ความพอใจก็เพราะกาม  ความไม่พอใจก็เพราะกามนี้แหละ
         อนิจจังทั้ง ๕ ก็ชี้เข้ามาในนี้แหละ  ทุกขังทั้ง ๕ ก็ดี  อนัตตาทั้ง ๕ ก็ดี  ก็ชี้เข้ามาในรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ไม่เที่ยงเป็นทุกข์

         อนัตตา  ความไม่มีตัว  ไม่มีตน  ถ้าเข้าไปยึดถือ  มันก็เป็นทุกข์  สภาพเหล่านี้มีอยู่เป็นอยู่อย่างนี้
         แม้แต่พ่อแม่จะไปแต่งให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้  ก็แต่งไม่ได้  แต่ถ้าเป็น  ปุญญาภิสังขาร  อปุญญาภิสังขาร  อันนี้เราแต่งเอาเองได้  แต่งไม่ให้มันโลภ  แต่งไม่ให้มันหลง  แต่งไม่ให้มันโกรธ  ไม่ให้มันโลภ  โกรธ  หลง  อันเป็นรากเหง้าแห่งกิเลสทั้งหลาย  เพราะตัณหานี้แหละเป็นต้นเหตุ

         ทำให้เป็น อโลภะ  อโทสะ  อโมหะ  ให้มันหมดโลภ  หมดโกรธ  หมดหลงแล้ว  มันก็สบาย  ถ้าโลภก็ยังละไม่ได้  โกรธก็ยังละไม่ได้  มันเกิดขึ้นก็เป็นการทำลายตนเอง  เพราะไม่รู้จักพอ


         โลภะ  โทสะ  โมหะ  เป็นรากเหง้าของกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด  เราเกิดก็เพราะกาม  ตายก็เพราะกาม  ทุกข์ก็เพราะกาม  ความพอใจก็เพราะกาม  ความไม่พอใจก็เพราะกาม  ความรักความชังที่เกิดขึ้นก็เพราะกามตัณหา  ภวตัณหา  วิภวตัณหานี้แหละ
         จะไปเอาที่ไหนพระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์  ท่านชี้ลงสู่กายสู่ใจนี้แหละ  อันเป็นสมบัติของเจ้าพ่อเจ้าแม่ อันเป็นฐานที่ตั้งแห่งศีล  เป็นที่ตั้งแห่งธรรม  นี่แหละสมบัติอันนี้ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  มันเกิดขึ้นภายในนี้แหละไม่ได้เกิดที่อื่น
         ภาวนาพุทโธก็ดี  ธัมโมก็ดี  สังโฆก็ดี  ระวังอย่าให้เป็นธรรมเมา  ต้องกำหนดลงสู่กายสู่ใจของเรานี้แหละ  อย่าไปกำหนดที่อื่น
         ปี พ.ศ. ๒๔๖๔  ไปเมือง  พม่า  อินเดีย  เขาก็สอนอย่างนี้แหละสอนอย่างเดียวกันนี้แหละ  ไปดูที่ประสูติ  ที่ตรัสรู้  ที่ปรินิพพาน  มันก็เห็นแต่ดิน  สู้  สุปฏิปันโน  น้อมเข้ามาสู่กายปฏิบัติให้รู้แจ้งในภายในมันจึงใช้ได้  มัวรู้แต่ภายนอกกลายเป็นธรรมเมาไป

         เมาโลภ  เมาโกรธ  เมาหลง  เมาตัว  เมาตน  พวกนี้เป็นธรรมเมา  ทั้งนั้นแหละ
         อาจารย์วิปัสสนาของพม่าสมัยก่อน  สอนกายานุปัสสนา  เวทนานุปัสสนา  จิตตานุปัสสนา  ธัมมานุปัสสนา  เวลาเราถามเข้าจริงๆจับผมบนหัวให้ดู  ถามว่าผมมีกี่เส้น  ขนในตัวเรานี้มีกี่เส้น  ลำไส้ของหญิงยาวกี่ศอกกี่วา  เขาบอกว่าไม่รู้  นั่นไม่รู้ยังจะไปชี้อีก

         มันต้องค้นเข้ามาหาภายในนี้แหละต้นเหตุนี้ ตา มันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง หู มันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง  จมูก ลิ้น  มันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง  กาย  ใจ  มันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง  อกุศลธรรม มันเกิดขึ้นมันเกิดในเหตุเหล่านี้
         ศีล ๕ ก็ดี  ศีล ๘ ก็ดี  ก็รวมเข้ามาในนี้แหละ  ถ้านอกไปจากนี้เป็นความหลง  เป็นธรรมเมาไป
         จำไว้ให้แม่น  พระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์  ชี้ไปในกายนี้  ชี้ไปในใจนี้  ต้องเอาสมบัติของเจ้าพ่อ  เจ้าแม่นี้ เป็นที่ตั้ง  เป็นฐานของศีล  ของทาน  ของภาวนา  เอาสมบัติอันนี้เป็นที่ตั้งของปัญญา  เพื่อทำลายอกุศลธรรม คือ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง
         พระพม่าถามว่า    วินัย  ศีลปฏิบัติอย่างไร  วินัยปฏิบัติอย่างไร
         บอกเขาไปว่า ปฏิบัติน้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจนี้  ต้องรู้เหตุสำรวมระวังเหตุ  ตาเป็นเหตุ  ตาเห็นรูป  ถ้าไม่รู้เท่าทันมันความยินดีก็เกิดขึ้น  ความยินร้ายก็เกิดขึ้น  ความโลภก็เกิดขึ้น  เพราะเหตุนั้นเราต้องรู้เหตุ  สำรวมระวังเหตุให้น้อมเข้ามาสู่กาย  เอากายเป็นมรรค  เอากายเป็นผล  ค้นลงในสกลกายของเรานี้  วินี  วินัย  ก็คือการนำความชั่ว  ความผิดออกจาก  กาย  วาจา  ใจ  นี้แหละ  นี้แหละเป็นวินัย
         ต้องทำให้มาก  ให้มีสติ  เข้าหาพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  ปฏิบัติให้รู้จักที่เกิดของธรรม  รู้จักที่ดับของธรรม  ถ้าบริกรรมพุทโธ  ก็เอาพุทโธไป  ถ้าพูดมากฟังมากทำน้อยก็ไม่ได้ผล

         แต่ถ้าฟังแต่น้อยเอาความหมั่น  ความเพียร  ให้มาก  ภาวนาให้มาก  น้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจของตน  อุปาทานทั้ง ๕ อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ ภาราหเวปญฺจกฺขนฺธา  ภาราหาโร จ ปุคฺคโล  วางขันธ์ ๕ ธาตุ ๕ ได้แล้ว อุปาทานทั้ง ๕ อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ รวมลงในธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นี้แหละ

         ขันธ์แยกออกเป็นดิน  เป็นน้ำ  เป็นลม  เป็นไฟ  พิจารณาอันนี้ให้มันรู้  ให้มันละมันวาง
         ภาวนา  พุทโธ  นี้แหละ  เห็นว่ามันน้อยๆอย่างนี้ไปดูถูกไม่ได้  ความหมั่นความเพียรนี้แหละ เป็นประโยชน์มาก
         ถ้าฟังมากๆได้เฉพาะคำพูด  แต่ทำเพียงเล็กน้อยแล้วก็แล้วไป  มัวแต่เจ็บแข้ง  เจ็บขา  เจ็บหลัง  เจ็บเอว  อยู่อย่างนี้ มันไม่ได้ความอะไร

         มันเจ็บที่ไหนก็กำหนดเข้าที่นั่น  ความเจ็บความปวดธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  นี่แหละเป็นเหตุ  มันไหลมาจากนี้แหละ  มีที่เดียวนี้แหละ  คือ รักษาตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ ให้แข็งแรง
         ความรักเกิดขึ้นก็นำออกเสีย  ความชังเกิดขึ้นก็นำออกเสีย  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  เกิดขึ้นทาง ตา หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  ก็นำออกเสีย
         นี้ท่านยกขึ้นเป็นศีล  ท่านยกขึ้นเป็นวินัย  จะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ อันใดก็ตาม ศีล ๕ นี้ก็อันนี้ประจำตน คือ ขา ๒ แขน ๒ หัว ๑
         ขันธ์ ๕ นี้แหละรักษาให้มันคุ้ม  รักษา ตา นี้สำคัญ ตาเห็นรูป  รูปที่พอใจก็ดี ไม่พอใจก็ดี  ถ้าเราหลงลายมันก็มักเกิดความชั่ว
         ศีล ๕ ศีล ๘ ศีลมากมายเหมือนของภิกษุก็ต้องรักษาตานี้แหละ  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  เป็นตัวเหตุมันไหลเข้ามา
         ธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ  กำหนดเข้าๆรู้เท่าทันเหตุ  เหตุดับมันก็ถึงความสุข  เพราะวางอุปทานเหตุจึงดับไป  อวิชชา  ความมืด  ไม่รู้แจ้งมันก็ดับไป  เวลาพูดดูเป็นของง่ายแต่เวลาทำยาก
         อย่าไปยึดเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้  ฟังแต่น้อยแต่ต้องทำให้มาก  อาศัยความพากความเพียร  ทำการงานด้วยกายของเราทุกสิ่งทุกอย่าง  ทำให้เป็นอริยมรรค  อย่าให้เป็นกิเลส  ถ้าเป็นกิเลสเป็นทุกข์

นำมาแบ่งปันโดย : naruphol
:http://www.zone-it.com/
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 27 เมษายน 2555 14:12:21 »




มรณานุสสติ หลวงปู่แหวน

ความเกิดมีแล้ว ความแก่ ความตายมันก็มีอยู่ ไม่มีใครพ้นตาย เกิดก็เกิดเต็มแผ่นดิน ตายก็ตายเต็มแผ่นดิน อยู่เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดอยู่นี้แหละ ความตายเต็มแผ่นดินอยู่ เป็นเป็ด ไก่ หมู หมา เขาก็ตาย มนุษย์ชายหญิงก็ตาย ใครล่ะ เกิดมาแล้วไม่ตาย
ถ้าเกิดมาขวางโลกเขา เกิดมาแล้วไม่ตาย ไม่เฒ่า ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ขวางบ้าน ขวางแผ่นดิน ขวางโลก เขาอยู่ได้อย่างไร ให้ภาวนา มรณานุสสติอยู่อย่างนี้แหละ
เป็นเป็ดเป็นไก่มันก็ตาย เป็น วัว ควาย ช้าง ม้า หมู หมา เขาก็ตาย คนแก่ก็ตาย คนหนุ่มก็ตาย ถ้ากลัวตายมีใครพ้นตายไหม ทุกคนทุกสิ่งสรุปลงสู่ความตายทั้งหมด

เป็ด ไก่ วัว ควาย หมู ปลา ถ้ามันไม่ตายเอง เขาก็ฆ่าเอาให้มันตาย อยู่ในสภาพไหนล่ะมันจะพ้นจากความตาย ถึงจะมีอายุผ่านพ้นไปร้อยปีพันปี มันก็ต้องตายอยู่นั่นแหละ สัจจธรรมข้อนี้ใครๆ ก็พ้นไปไม่ได้ นั่งอยู่ก็ตาย นอนอยู่ก็ตาย กินอยู่ก็ตาย ไม่กินก็ตาย เจ็บป่วยอยู่ก็ตาย ไม่เจ็บไม่ป่วยมันก็ตาย ความตายมันมีอยู่ทุกฐานะทุกสถานที่
ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันครอบงำเราอยู่ทุกเมื่อ พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงเสีย แม้อบายโลก เขาก็ฆ่ากันกินกันอยู่ ความตายจึงไม่มีที่จะหลีกเร้นซ่อนหนี

ที่พึ่งอย่างอื่นไม่มีนอกจาก พุทฺธํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ สงฆํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราต้องหาที่พึ่งอันประเสริฐไว้เสียแต่บัดนี้ แต่ยังมีชีวิตอยู่อย่างนี้ ยังแข็งแรงอยู่อย่างนี้ ถ้าร่างกาย จิตใจมันไม่อำนวยแล้วจะไปคิดถึงอะไรจะไปยึดไปถือเอาอะไรเป็นที่พึ่งมันยาก

ศีลเราก็ต้องรักษาให้มันดี ศีลก็คือการนำความผิดความชั่วออกจากกายจากวาจาของเรานี้แหละ ธรรมทั่วทั้งสิ้นแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ พระพุทธเจ้าพระองค์ชี้ลงสู่กายสู่ใจของเรา พระองค์ทรงบัญญัติพระวินัย ก็ทรงบัญญัติเพื่อให้รักษาไตรทวาร พระอุปัชฌายอาจารย์ท่านสอนมูลกัมมัฏฐาน เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ ท่านก็สอนย้ำลงในสิ่งของที่มีอยู่ในตัวของเรา

ปัญจกกัมมัฏฐาน ๕ นี้แหละเป็นที่ตั้งของกรรม กรรมมันหมุนอยู่นี้แหละ ในไตรทวารนี้แหละ ความรัก ความโลภ ความโกรธอันใด มันหมุนอยู่ในฐานอันนี้แหละ กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา กุศลนำสัตว์ให้ไปเกิดในทางเจริญ อกุศล นำสัตว์ไปสู่อบายภูมิ มีเปรต นรก สัตว์เดียรัจฉานก็ดี มันหมุนอยู่ในไตรโลกอันนี้ ตกอยู่ในกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้ เกิดแก่ เจ็บ ตาย ของจริงมันมีอยู่ประจำอยู่อย่างนี้ มันหมุนเป็นกงจักรบดสัตว์โลกทั้งหลาย อยู่ประจำอิริยาบถ เจ็บแข้ง เจ็บขา ปวดหลัง ปวดเอว เจ็บไข้ได้ป่วย เป็น อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา มันแสดงให้เราดูอยู่อย่างนี้ เว้นแต่เรามองไม่เห็นมันเท่านั้น

ส่วนมากจะตกอยู่ใต้อำนาจของสังขาร มันปรุงมันแต่งเป็น อดีต อนาคตไป ส่วนปัจจุบันสัจจธรรมที่เขาแสดงตัวให้ปรากฏอยู่ มันไม่ใคร่เอามานึกมาคิด ไม่เคยน้อมเข้าหากายหาใจของเรา มันคอยแต่จะเป็น ธรรมเมาไป.
 


http://board.palungjit.com/showthread.php?t=16641
* Agaligo Home บ้านที่แม้จริง อกาลิโก โฮม
กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานนี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานนี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ
ไว้ ณ ที่นี้... นะคะ

อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 30 เมษายน 2555 20:35:41 »




   ตา หู จมูก เป็นเหตุ (หลวงปู่แหวน)

   ภาวนา กำหนดใจ ถ้ากำหนดใจได้แล้ว มันจึงรู้พุทโธ เป็นมรรคของใจ ถ้าภาวนากำหนดจิตยังไม่ได้ มันก็แพ้กิเลส

   ต้องมีสติรักษาใจจึงจะดี ถ้าไม่มีสติก็จะไปเกาะเกี่ยวอันนั้นอันนี้ทั่วไป พาให้หลงไป เวลาหลงไป เช่นหลงอะไรก็ให้ยกอันนั้นขึ้นสู่การพิจารณา ตัวอย่างกาย ให้เพ่งแยกส่วนของกายออก แต่ละส่วนเต็มไปด้วยของไม่สะอาด ไหลเข้าไหลออกตลอดอยู่ทุกขณะ การที่พิจารณาแยกแยะจนเห็นเป็นของไม่งามไม่ใช่ของง่าย ในเมื่อจิตยังแส่ส่ายหาอารมณ์อยู่ ต้องอาศัยความพากเพียรอดทน เมื่อจิตมีกำลังมันจึงสงบ ถ้ามัวเกียจคร้านอยู่ จิตมันก็ไม่เป็นไป ตัวขี้เกียจขี้คร้านนี้แหละเป็นตัวทำให้เสีย เป็นตัวกิเลส เวลานั่งประเดี๋ยวหนาว ประเดี๋ยวหาว พวกนี้เป็นกิเลสทั้งนั้นแหละ ถ้าพร้อมด้วยการกระทำจึงจะได้กำลัง ถ้าไม่พร้อมมันก็ไม่มีกำลัง

   ร่ายกายของเรานั้นที่เราเห็นว่างาม ก็เพราะมีของไม่สะอาดเต็มท้องเต็มไส้อยู่ ถ้าในท้องในไส้ไม่มีอะไรเลย ลองดูซิมันจะงามไหม? ถ้าของในท้องในไส้ไหลออกหมด มันก็เหี่ยวแห้งเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกเท่านั้น ถ้าพูดตามความจริงแล้ว ทั้งร่างกายเต็มไปด้วยของเสียทั้งหมด ถึงอย่างนั้นก็ยังหลงไปว่าเป็นของสวยงาม แต่ใจมันไม่ว่าเต็มไปด้วยของไม่สะอาดหนา เราต้องภาวนาพิจารณากลับไปกลับมา ทบไปทวนมาอยู่นั่นแหละ เราไปหลงของไม่งาม จับอันนั้นต่ออันนี้เลยเห็นว่างาม จนติดจนหลง

   การภาวนาถ้านอนภาวนา มันกลายเป็นภาวนอนไปเสีย การฉันอาหารถ้าฉันมากเกินไป เวลาภาวนาก็นั่งหลับไปเสีย มันหลายเรื่องหลายราว ถ้าอะไรมันมากไปจิตมันไม่สงบ ห้ามมันไม่ฟังอาหารมันทับ
 
   กามนี้เราเคยติดมาแล้วนับอเนกอนันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เร่งความเพียรจนรู้แจ้งเห็นจริง กามตัวเดียวที่ทำให้สัตว์ตาย กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เอาเข้ากลายเป็นกามตันหน้า ภวตันตา วิภวตันใจ เมื่อกามเหล่านี้เข้าไปอุดไปตัน หน้า ตา ใจ แล้วก็เกิดความหลง ความรัก ความชัง ความพอใจก็เพราะกาม ความไม่พอใจก็เพราะกาม มันเกิดขึ้นกับใจ

   ตา เป็นเหตุ หู เป็นเหตุ จมูก เป็นเหตุ เป็นเหตุแห่งความรัก ความชัง ตา เป็นเหตุ เมื่อได้เห็นรูปสวย รูปงาม รูปอัปลักษณ์น่าเกลียดน่าชัง หู เป็นเหตุ ได้ยินเสียงการประโคมขับร้องอันไพเราะ หรือเสียงน่ารำคาญ จมูกและใจก็เหมือนกัน ถ้าดีเป็นน่ารัก มันก็ติดเป็นหลง ถ้าตรงกันข้าม มันก็เกลียดก็ชัง จึงว่ามันเป็นเหตุ

   การฆ่ากันก็เพราะกาม รักกันก็เพราะกาม ทั่วอากาศ ทั่วพื้นน้ำและบนบกเต็มไปด้วยกาม กามตันหน้า ภวตันหู วิภวตันใจ ถ้าจะขยายออกไป มันก็ไม่มีที่สิ้นสุดหรอกกาม เพราะความพอใจและไม่พอใจก็เกิดจากกามทั้งสิ้น พิจารณาให้ดี ๆ เป็นอย่างไรมันจึงหลงไป จนกลายเป็นบ๋อยรับใช้ไป



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2555 13:11:00 »



                     
ทางเดินของจิต พระธรรมเทศนา
ของ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
ละวางถอดถอนในปัจจุบัน

เอามรรคที่เกิดขึ้นจากกาย จากใจ น้อมเข้าหาตน น้อมเข้ามาในกาย น้อมเข้ามาในใจ ให้รู้แจ้งเห็นจริงในใจนี่แหละ อย่าไปยึดไปถือที่อื่น ให้แจ้งอยู่ในกายนี้ ให้แจ้งอยู่ในใจนี้ จะหลงจะเขวไปอย่างไรก็ตามพยายามดึงเข้ามาจุดนี้น้อมเข้ามาหากายนี้ น้อมเข้ามาหาใจนี้ เอาใจนี่แหละนำออก หลักมีเท่านี้แหละ...
ถ้าออกจากกายใจแล้ว เขวไปแล้ว หลงไปแล้ว น้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจแล้วก็ได้หลักใจดี ธรรมะก็คือการรักษากาย รักษาใจ น้อมเข้ามาหากาย น้อมเข้ามาหาใจนี่แหละ...
ศีล ตั้งอยู่ในกายนี้แหละ ตั้งอยู่ในวาจานี้แหละ และตั้งอยู่ในใจนี่แหละ ให้น้อมเข้ามา จึงรู้และตั้งหลักได้ ถ้าออกไปจากนี้มักหลงไป...

เอาอยู่ในกายในใจนี้ น้อมเข้ามาสู่อันนี้ นำหลงนำลืมออกไปเสีย เอาให้เป็นปัจจุบัน เอาจิตเอาใจนี้ ละวางถอดถอนออก ทางกายก็น้อมเข้ามาให้รู้แจ้งทางกาย น้อมเข้ามาหาใจของตนนี้ให้แจ่มแจ้ง ถ้าไปยึดถือเอาอย่างอื่น ก็เป็นเพียงสัญญา ความจำ น้อมเข้ามารู้แจ้งในใจของตนนี้ รู้แจ้งในกายของตนนี้ นอกจากนี้เป็นแต่เพียงอาการของธรรม...

ยกขึ้นสู่จิต น้อมเข้ามาหาจิตหาใจนี้ ความโลภ ความหลง ความโกรธ กิเลส ตัณหา ก็เกิดขึ้นที่นี่แหละ ต้องน้อมเข้ามาสู่จุดนี้ ถ้าน้อมเข้าหาจุดอื่นเป็นแผนที่ปริยัติธรรม รู้กายรู้ใจแจ่มแจ้งแล้ว นอกนั้นเป็นแต่อาการ บางทีไปจับไปยึดสิ่งนั้นสิ่งนี้ก็ทำให้ลืมไป...
ทำให้แจ้งอยู่ในกาย แจ้งอยู่ในใจ มีสติสัมปชัญญะ สติสัมโพชฌงค์ สัมมาสติ ก็อันเดียวกันนี่แหละให้พิจารณาอยู่อย่างนี้ อาศัยความเพียร ความมั่น...

คำว่า สติ รู้ในปัจจุบัน สัมปชัญญะ ก็รู้ในปัจจุบัน รู้ในตน รู้ในใจเรานี้แหละ รู้ในปัจจุบัน รู้ละความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ กิเลส ตัณหา เหล่านี้ละออกให้หมด ละออกจากใจ ละอยู่ตรงนี้แหละ สติ ถ้าได้กำลังใจแล้วก็สว่าง...
ตั้งจิตตั้งใจกำหนดเบื้องต้น คือ การกำหนดจิตหรือกำหนดศีล ทำให้กายก็บริสุทธิ์ วาจาก็บริสุทธิ์ กำหนดนำความผิดออกจากกายจากใจของตน...
เมื่อกายวาจาใจบริสุทธิ์ สมาธิก็บังเกิดขึ้น รู้แจ่มแจ้งไปหาจิตหาใจ กายนี้ก็รู้แจ้ง รู้แจ้งในกายในใจของตนนี้...

สติปัฎฐานสี่ สติมีเพียงตัวเดียว นอกนั้นท่านจัดไปตามอาการ แต่ทั้งสี่มารวมอยู่จุดเดียว คือ เมื่อสติกำหนดรู้กายแล้ว นอกนั้น คือ เวทนา จิต ธรรม ก็รู้ไปด้วยกันเพราะมีอาการเป็นอย่างเดียวกัน...
อาการทั้ง ๕ คือ อนิจจัง ทั้ง ๕ ทุกขัง ทั้ง ๕ อนัตตา ทั้ง ๕ เป็นสิ่งไม่ยั่งยืน เราเกิดมาอาศัยเขาชั่วอายุหนึ่ง อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็สิ้นไปเสื่อมไป เราอาศัยเขาอยู่เพียงอายุหนึ่งเท่านั้น เมื่อรูปขันธ์แตกสลายมันก็หมดเรื่องกัน...

การประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันสมมติกันให้ได้ชั้นนั้นบ้างชั้นนี้บ้าง อันนั้นมันเป็นสมมติ แต่ธรรม เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสิ่งไม่เที่ยง ก็เป็นอยู่อย่างนั้น อนิจจังทั้ง ๕ ก็เป็นอยู่อย่างนั้น รูปัง อนิจจัง, เวทนา อนิจจา, สัญญา อนิจจา, สังขารา อนิจจา, วิญญาณัง อนิจจัง ก็เป็นอยู่อย่างนั้น เรามาอาศัยเขา สัญญาเราก็ไหลไปตามเวลา ดิน น้ำ ลม ไฟ สลายจากกันแล้วก็ยุติลง...
ส่วนจิตเป็นผู้รู้ เมื่อละสมมติวางสมมติได้แล้ว ก็เย็นต่อไป กลายเป็นวิมุตติความหลุดพ้นไป เพราะสมมติทั้งหลายวางได้แล้วก็เป็นวิมุตติ แต่ถ้าเอาเข้าจริง ๆ แล้วมักจะหลง ถ้าเราตั้งใจเอาจริง ๆ พวกกิเลสก็เอาจริง ๆ กับเราเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยความหมั่น ความเพียร ไม่ท้อถอย ถ้าละพวกกิเลสตัณหาได้แล้วก็เย็นสงบสบาย...
ถ้าจิตปรุงแต่งเป็นอดีต-อนาคตไป เราก็ต้องเพ่งพิจารณา เพราะอดีตก็เป็นธรรมเมา อนาคตก็เป็นธรรมเมา จิตที่รู้ปัจจุบัน เป็นธรรมโม...
อาการทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจังให้ยืนอยู่ในปัจจุบันธรรม อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา ธรรมโม คือ เห็นอยู่ รู้อยู่ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นอดีต-อนาคต ดับทั้งอดีต-อนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน คือ ธรรมโม...

ให้จิตรู้อยู่ส่วนกลาง คือ สิ่งที่ล่วงไปแล้วเป็นอดีต ยังมาไม่ถึงเป็นอนาคต ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ส่วนทั้งสองอย่างนั้นให้เพ่งพินิจ คือเราอยู่ปัจจุบันธรรมจึงจะถูก เพราะปัจจุบันเป็นธรรมโม นอกจากนั้น อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา
รู้
ปัจจุบันละปัจจุบันเป็นธรรมโม ถ้าไปยึดถืออดีต-อนาคตเท่ากับไปเก็บไปถือของปลอม ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตนละเฉพาะตน วางเฉพาะตน หมุนเข้าหากายหาใจนี่แหละ ถ้ามัวเอาอดีต-อนาคตจะกลายเป็นแผนที่ไป...

แผนที่ปริยัติธรรมจำมาได้มากจึงไปยึดไปถืออย่างนั้นบ้าง สิ่งนี้บ้าง ทั้งอดีต-อนาคต ทำให้ยิ่งห่างจากการรู้กายรู้ใจของเรา ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็กลายเป็นเชื้อของกิเลสที่อยู่ในแผนที่ใบลานแต่ไม่เดือดร้อน ถ้าหากมาอยู่ในใจจะทำให้เดือดร้อน
เพราะฉนั้นถ้าเกิดขึ้นในใจ ให้เอาใจละ เอาใจวาง เอาใจออก เอาใจถอน ปัจจุบันเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่จำปริยัติได้มาก พูดได้คล่อง เวลาเอาจริง ๆ ก็ไม่รู้จะจับอันไหนเป็นหลัก ปัจจุบันธรรมต้องรู้แจ้งเห็นแจ้งในกายใจของตน ต้องละวางถอดถอนในปัจจุบัน จึงจะใช้ได้...

ความโลภ ความโกรธ เกิดขึ้นในใจ น้อมเข้ามาแล้วละให้หมด ราคะ, กิเลส, ตัณหา, หากเกิดขึ้นมาต้องละเสีย เรื่องของสังขารก็ปรุงแต่งแล้วเกิดขึ้นดับลง เกิดขึ้นดับลง เอารู้เฉพาะปัจจุบัน อดีต-อนาคตวางไปเสีย อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม อันนี้ถือให้มั่น ๆ...
ความปฏิบัติเพ่งความเพียร เร่งเข้า ๆ ก็ทำให้ค่อยแจ่มแจ้งไปเอง ถ้าจิตเป็นอดีต-อนาคต ต้องวางเสีย เอาเฉพาะปัจจุบัน...

ความโลภ ความโกรธ ความหลง มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เราต้องพิจารณาค้นเข้าหาใจว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทั้งนี้ก็เพราะจิตมักจะเก็บอดีต-อนาคตมาไว้ ทำให้แส่ส่ายไปตามอาการ ให้เอาเฉพาะปัจจุบันเป็นธรรมโม แล้วน้อมเข้ามา ให้ได้กำลังทางด้านจิตใจ ละวางอดีต-อนาคต อันเป็นส่วนธรรมเมา แล้วเพ่งพินิจเฉพาะธรรมโม...

รักษากายให้บริสุทธิ์ รักษาวาจาให้บริสุทธิ์ รักษาใจให้บริสุทธิ์ น้อมเข้าหาใจ ให้รู้แจ้งใจนี้ กายก็ให้รู้แจ้ง ให้รู้แจ้งกายใจ จนละได้ วางได้ เพ่งจนเป็นร่างกระดูก ทำได้อย่างนี้ก็พอสมควร เอาให้มันรู้แจ้งเฉพาะกายใจนี้ ไม่ต้องเอามาก ถ้าเอามากก็มักไปยึดเป็นอดีต-อนาคตไปเสีย ข้อนี้สำคัญเกิดขึ้นแล้วก็ดับ เกิดขึ้นแล้วก็ดับตัวสัญญา...

ตั้งหลักไว้ อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม ระลึกไว้เสมอว่า ดับ ละ วาง ในปัจจุบัน จึงเป็นธรรมโม เมื่อจิตอยู่ในปัจจุบันธรรม แต่ถ้าหากอดีต-อนาคตเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับลงไป...
ต้องหมั่นต้องพยายามเข้าหาจุดของจริง อดีต-อนาคต-ปัจจุบัน สามอย่างนี้แหละเป็นทางเดินของจิต ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ กิเลส ตัณหา ก็เกิดขึ้นในใจนี้แหละ แสดงออกจากใจนี้ ให้น้อมเข้ามา ๆ ถึงอย่างนั้นกิเลสทั้งหลายก็ยังทำลายคุณความดีได้เหมือนกัน แต่ถ้ามีสติความชั่วเหล่านั้นก็ดับไป...

rinnn :PaLungJit.com > พุทธศาสนา > อภิญญา - สมาธิ > หลวงปู่แหวน
พระธรรมเทศนาของ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ๒๑-๑๒-๒๐๐๖

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 12.0 Firefox 12.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2555 11:13:41 »





สติ สัมปชัญญะ ต้องตื่นอยู่เสมอ (หลวงปู่แหวน)

หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เล่าถึงการปฏิบัติทางจิตว่า เป็นของที่ละเอียดอ่อนมาก
สติสัมปชัญญะต้องตื่นอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นจะตามไม่ทันจิต
จิต เป็นธรรมชาติชอบคิด ชอบปรุง ชอบแส่ส่ายไปหาอารมณ์
จากที่ใกล้ที่ไกล
ไม่มีขอบเขต


ถ้าอยู่ในที่ชุมชน อารมณ์ที่เข้ามานั้น ส่วนมากจะเข้ามาทางตาบ้าง ทางหูบ้าง
จมูกบ้าง ลิ้นบ้าง กายบ้าง การต้อนรับอารมณ์ของจิต มักจะนำมาแบกมาหาบมาหาม
มาทับมาถมตัวเอง การที่จะสลัดตัดวางนั้นไม่ค่อยปรากฏ
เพราะเหตุนั้น จึงทำให้เราเป็นทุกข์ไปกับอารมณ์นั้นๆ เป็นสุขไปกับอารมณ์นั้นๆ
เป็นความเพลิดเพลินไปกับอารมณ์นั้นๆ ทั้งนี้ก็เพราะขาดการพิจารณาของจิตนั่นเอง

จิตที่ไม่มีสติเป็นพี่เลี้ยงคอยควบคุมคอยแนะนำ มักจะไปแบกไปหาบไปหาม
เอาทุกสิ่งทุกอย่างมาทับมาถมตนเองให้เกิดทุกข์
ถึงกับบางคนตีอกชกตน เห็นทุกสิ่งทุกอย่างไม่น่ารื่นรมย์ กลายเป็นพิษเป็นภัยไปก็มาก

ส่วนอารมณ์ของนักปฏิบัติผู้อยู่ในป่านั้น มักเกิดขึ้นกับจิตที่ชอบปรุงแต่ง
เป็นอดีตเป็นอนาคต ซึ่งอารมณ์ประเภทนี้ทำลายนักปฏิบัติมามากต่อมากแล้ว
เพราะไม่รู้เท่าทันกลมายาของจิต เหตุเพราะขาดสติปัญญานั่นเอง

ดังนั้น การปฏิบัติจิตภาวนา จำเป็นต้องตื่นอยู่เสมอ อารมณ์ต่างๆ
ที่ผ่านเข้าออกตามทวารต่างๆ นั้น
ต้องได้รับการใคร่ครวญพิจารณาจากสติสัมปชัญญะเสียก่อนทุกครั้ง

โดย : wit00000
นำมาแบ่งปันโดย :rinnn
PaLungJit.com > พุทธศาสนา > อภิญญา - สมาธิ > หลวงปู่แหวน
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 24 กันยายน 2555 19:47:37 »



<a href="http://www.youtube.com/watch?v=LgTqHCd6tS8&amp;feature=player_embedded" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=LgTqHCd6tS8&amp;feature=player_embedded</a>
!อัปโหลดโดย extasyspirit1 เมื่อ 12 ก.ค. 2011
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เข้าสักการะ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
เพลงผ้าชุดสุดท้าย ครับ

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.89 Chrome 21.0.1180.89


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 24 กันยายน 2555 20:46:19 »



วีดีโอสารคดีประวัติหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ1
อัปโหลดโดย mrpanu เมื่อ 19 เม.ย. 2011
วีดีโอสารคดีประวัติหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ 1
ประวัติหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
http://www.srisurat.com/forums/


วีดีโอสารคดีประวัติหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ2
อัปโหลดโดย mrpanu เมื่อ 19 เม.ย. 2011
วีดีโอสารคดีประวัติหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ 2


ประวัติหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง 3
อัปโหลดโดย mrpanu เมื่อ 19 เม.ย. 2011
วีดีโอสารคดีประวัติหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ 3
ประวัติหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 24.0.1312.57 Chrome 24.0.1312.57


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 11:53:54 »



http://i708.photobucket.com/albums/ww89/lookpong_album/OTHERS/F1-1.jpg
พรหมจรรย์ บนเส้นทางธรรม เร้นกายมุ่งทางสงบ หลวงปู่แหวน



รูปภาพ ของ ลูกศิษย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม


มองอะไรภายนอกให้มองย้อนดูตน :หลวงปู่แหวน
"นึกอะไรก็ให้หวนนึกถึงพระธรรม
มองอะไรภายนอกให้มองย้อนดูตน
กำหนดนิ่งดูที่ใจ ดูให้ดีจักเห็นทางสว่าง
"...
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 24.0.1312.57 Chrome 24.0.1312.57


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 11:55:23 »





ลูกศิษย์ ถาม : "หลวงปู่ครับ
ทำไมคนมันมาเกิดมากมายนักหนา
หรือว่า สัตว์ทั้งหลาย มันรักษาศีล ๕
รักษากรรมบถ ๑๐ มากขึ้นหรือครับ?"

หลวงปู่แหวน เมตตาตอบ :
"เวลานี้ มนุษย์มันไปถางป่าถางพง
จับปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ของสัตว์เดรัจฉาน
มาฆ่าแกงกินหมด มันไม่มีที่เกิด
มันก็มาชิงเกิด กับมนุษย์"

ลูกศิษย์ : "อ้าว ไหนว่า
ที่จะมาเกิด เป็นมนุษย์ได้
ต้องมีศีล ๕ มีกรรมบถ ๑๐"

หลวงปู่แหวน : "คุณแน่ใจหรือว่า
คุณเป็นมนุษย์สมบูรณ์ ทุกลมหายใจ
เวลาจิตใจของคุณ โหดเหี้ยม
ทำอะไรไม่คำนึงถึง ศีลธรรม…
…เปอร์เซ็นต์ความเป็นมนุษย์
มันลดลงไปอยู่ใน ระดับสัตว์เดรัจฉาน
สัตว์เดรัจฉาน ก็ชิงมาเกิดในช่วงนั้นล่ะ!"

*http://www.facebook.com/lotus.postman

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 26.0.1410.64 Chrome 26.0.1410.64


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2556 16:52:02 »






ส้วมเคลื่อนที่
:หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

ภายใต้หนังกำพร้าของคนเรามีแต่ความโสโครก
น่าเกลียดน่าสะอิดสะเอียน
มีอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ไส้น้อย ไส้ใหญ่ กระเพาะ
น้ำเลือด น้ำเหลือง
น้ำหนอง น้ำดี อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อไคล ขังอยู่ภายในร่างกาย
โดยมีหนังกำพร่าห่อหุ้มอยู่

ถ้าลอกหนังออกจะเห็นร่างมีเลือดไหลโซมกาย
เนื้อที่ปราศจากผิวหนังห่อหุ้มจะมองไม่เห็น
ความสวยสดงดงามเลย มองแล้วอยากจะอาเจียนมากกว่าน่ารัก
ที่พอจะมองเห็นว่าสวยงามก็ตรงผิวหนังห่อหุ้มเท่านั้น
ผิวหนังนี้ก็ใช่ว่าจะเกลี้ยงเกลาเสมอไปไม่ คนเราต้องคอย
อาบน้ำชำระล้างทุกวัน

เพราะสิ่งโสโครกเหงื่อไคลภายใน หลั่งไหลออกมาลบเลือน
ความผุดผ่องของผิวกายอยู่ตลอดวัน
ถ้าไม่คอยชำระล้างก็จะสกปรกเหม็นสาบน่ารังเกียจ
ทางช่องทวารขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
ก็หลั่งไหลออกมาตามกำหนดเวลาของมัน ทุกวัน

น่ารังเกียจ เลอะเทอะโสมม ซึ่งเจ้าของไม่ปรารถนาจะแตะต้อง
ทั้งๆ ที่เป็นของในกายของตัวเอง
ยิ่งพิจารณาไปคนเราก็คือส้วมเคลื่อนที่ หรือป่าช้า
ที่บรรจุซากศพเคลื่อนที่ และเป็นผีเน่าที่เดินได้ดีๆ นี่เอง



หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
G+ The Noble Path

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.953 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้