[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 14:49:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี  (อ่าน 59450 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5798


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 17 เมษายน 2556 19:34:04 »

.

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph__588.jpg
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
วัดราชบพิธ กรุงเทพมหานคร

ภาพจาก : www.sookjai.com

มาตาปิตุปัฏฐานกถา
พระนิพนธ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
วัดราชบพิธ


ทรงแปลจากคัมภีร์มังคลัตถทีปนี  
พิมพ์ประทานแจกในการทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองอายุหม่อมปุ่น  ชมพูนุท  
ชนนีครบ ๘๐ ปี  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓


(คัดลอกตามสำนวนและตัวสะกดเดิม...Kimleng)



     นมตฺถุ  สุคตสฺส ฯ
     มาตาปิตูนํ  อุปการกานํ
     วกฺขามุปฏฺฐานนราสเภน
     วุตฺตํ  กตญฺญูกตเวทิภาวา
     เตสํ  ยถา  ตํ  ปฏิการณตฺถํ ฯ
 
               แถลงปรนปิตุทั้ง        มารดา
               มีอุปการ,  องค์นรา     สภพร้อง
               เพื่อตอบปัจโจปกา      รกิจต่อ   ท่านแฮ
               ด้วยกตัญญุตาซ้อง      กิจเกื้อสนองคุณ ฯ


http://www.dhammathai.org/chadoknt/pic/nt17.gif
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
    คาถาในโสณนันทชาดก ฯ

มารดาและบิดาทั้ง ๒ นั้น  มารดาเปนผู้ทำกิจแก่บุตรและธิดาที่ต้องทำยาก  เพราะเหตุนั้น  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเมื่อพระองค์เสวยพระชาติเปนโสณบัณฑิต  จึงประกาศความที่มารดาเปนผู้ทำกิจแก่บุตรและธิดาที่ต้องทำยาก  ด้วยนิพนธคาถาอันมาในโสณนันทชาดกสัตตตินิบาตว่า อากงฺขมานา  ปุตฺตลลลํ  เทวตาย  นมสฺสติ   เปนต้น ฯ

มีความว่า มารดาเมื่ออยากได้ผลคือบุตร ย่อมนอบน้อมบวงสรวงเทวดา ขอให้เกิดบุตร  และถามผู้รู้ทำนายนักษัตร ฤดู ปี ว่าบุตรเกิดโดยนักษัตรไหน ฤดูไหน ปีไหน อายุยืนโดยนักษัตรไหน ฤดูไหน ปีไหน  อายุสั้น ฯ

เมื่อมารดามีฤดู ๆ หยุดเปนปรกติแล้วก็ตั้งครรภ  มารดาเปนผู้ปรารถนาครรภนั้น  ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า สุหทา แปลว่า ผู้มีใจงาม ฯ  มารดารักษาครรภมาได้ปีหนึ่ง หรือหย่อนปีหนึ่งก็คลอดบุตร  ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า ชนยันตี บ้าง ชเนตตี บ้าง  แปลเหมือนกันว่า ผู้ยังบุตรให้เกิด ฯ  

ครั้นบุตรร้องไห้ มารดาก็ปลอบให้ยินดีด้วยให้ดื่มนมบ้าง กล่อมบ้าง อุ้มประทับไว้ใต้ถันยุคลบ้าง  ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า โตเสนตี  แปลว่าผู้ยังบุตรให้ยินดี ฯ  

ต่อมา มารดาเห็นบุตรผู้ยังเปนทารก ยังไม่รู้จักเดียงสาเล่นอยู่กลางลมหรือแดดจัด ก็ให้มีความรักความสงสาร ว่าลมตีต้องลูกเรา แดดแผดเผาลูกเรา ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า โปเสนตี แปลว่าผู้เลี้ยงดูบุตรฯ

มารดาย่อมปกครองรักษาทรัพย์สมบัติทั้ง ๒ ส่วน คือของมารดาส่วน ๑ ของบิดาส่วน ๑ ไว้ให้บุตรด้วยตั้งใจว่าทรัพย์ทั้ง ๒ ส่วนนั้นพึงเปนของบุตรฯ มารดายังบุตรให้เรียนรู้ว่า เจ้าจงอย่าประมาทพลาดพลั้งในราชสกุลเปนต้น จงทำการงานอย่างนี้ มารดาก็ย่อมลำบากเหน็ดเหนื่อย ฯ  ครั้นบุตรเปนหนุ่ม หลงเพลินในภรรยาผู้อื่นจนค่ำ เวลาเย็นยังไม่กลับบ้าน มารดาคอยหาก็มีดวงตาเต็มไปด้วยน้ำตา ระทมทุกข์ถึง  ด้วยประการฉะนี้ ฯ



http://www.dhammathai.org/chadoknt/pic/nt36.gif
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
    มารดาเปนพรหมเปนต้นของบุตร ฯ

อนึ่ง มารดาบิดาทั้ง ๒ บัณฑิตกล่าวว่า เปนพรหมเปนบุรพเทวดา  เปนบุรพาจารย์ เปนผู้ควรแก่วัตถุที่บุตรจะพึงบูชา ฯ  โดยอรรถาธิบายว่า พรหมไม่ละเว้นพรหมวิหารธรรมทั้ง ๔ ฉันใด  มารดาบิดาก็ไม่ละเว้นพรหมวิหารธรรมทั้ง ๔ ฉันนั้น ฯ  

เมตตาจิตต์ของมารดาบิดาย่อมเกิดขึ้นในบุตรผู้ยังอยู่ในครรภมารดาด้วยความรักว่า เมื่อไรเราจักเหนบุตรผู้หาโรคมิได้หนอ  ดังนี้ ฯ

เมื่อใดบุตรนั้นยังอ่อนนอนหงายอยู่ เหลือบยุงเปนต้นกัด หรือนอนหลับยาก ร้องไห้  ความสงสารก็เกิดขึ้นแก่มารดาบิดาเพราะได้ยินเสียงบุตรนั้น  เมื่อนั้น ฯ

เมื่อมารดาบิดาได้แลเห็นบุตรในกาลเมื่อบุตรวิ่งเล่นไปมาได้ หรือในกาลเมื่อบุตรตั้งอยู่ในวัยอันงาม จิตต์ที่อ่อนบันเทิงก็ย่อมมีแก่มารดาบิดา ฯ  เมื่อใดบุตรมีภรรยาอยู่ครอบครองเย่าเรือนต่างหากแล้ว ความค่อยวางใจเฉยก็ย่อมเกิดขึ้นแก่มารดาบิดา ด้วยเห็นชัดว่า บัดนี้บุตรของเราสามารถตั้งตนได้แล้วดังนี้  เมื่อนั้น ฯ

มารดาบิดาบัณฑิตกล่าวว่าเปนพรหม เพราะความเปนผู้ประพฤติเช่นกับพรหม เพราะมีพรหมวิหารทั้ง ๔ อย่างในบุตรตามแต่กาล อย่างนี้ ฯ  

วิสุทธิเทวดาได้แก่พระขีณาสพ หวังอยู่ซึ่งความเสื่อมแห่งความพินาศ และซึ่งความบังเกิดแห่งประโยชน์แก่ชนทั้งหลายโดยส่วนเดียว เพราะไม่ถือความผิดที่คนพาลทำ ปฏิบัติอยู่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข  และทำเครื่องสักการของชนเหล่านั้นให้มีผลานิสงส์ใหญ่ เพราะเปนผู้ควรทักขิณาทานสมบัติเครื่องเจริญสุข ฉันใด  มารดาบิดาก็ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่บุตรโดยส่วนเดียว เพราะไม่ถือความผิดของบุตร  เปนผู้ควรสิ่งที่บุตรให้ ๆ มีผลเปนสุขทำสิ่งที่บุตรให้ในตนให้มีผลใหญ่ ฉันนั้น ฯ

เพราะเหตุนั้น มารดาบิดา จึงชื่อว่าเป็นเทวดา เพราะเปนเหมือนเทวดา ฯ บุตรรู้จักเทวดาเหล่าอื่นก่อนก็เพราะมารดาบิดา  เพราะฉะนั้น สมมติเทวดา อุปปัตติเทวดา วิสุทธิเทวดา  ชื่อว่าปัจฉาเทวดา (เทวดาภายหลัง) ฯ

ฝ่ายมารดาบิดาบัณฑิตกล่าวว่าเปนบุรพเทวดา (เทวดาก่อน)  เพราะเปนผู้มีอุปการก่อนกว่าเทวดาเหล่าอื่น ฯ  ก็มารดาบิดาให้บุตรศึกษาโดยนัยเปนต้นว่า เจ้าจงนั่งอย่างนี้ จงยืนอย่างนี้ ท่านผู้นี้เจ้าควรเรียกว่าพ่อ ดังนี้ ตั้งแต่บุตรเกิดมา ฯ

ภายหลังต่อมาอาจารย์เหล่าหนึ่งจึงให้ศึกษาศิลปวิทยาเหล่าหนึ่งให้สรณะและศีล เหล่าหนึ่งให้บรรพชา เหล่าหนึ่งให้เรียนพุทธวจนะ เหล่าหนึ่งให้อุปสมบท เหล่าหนึ่งให้ถึงมรรคผล  อาจารย์เหล่านี้ทั้งหมด ชื่อว่าปัจฉาจารย์ (อาจารย์ภายหลัง) ฯ

ฝ่ายมารดาบิดาบัณฑิตกล่าวว่าเปนบุรพาจารย์ (อาจารย์ก่อน) ก็เพราะเปนอาจารย์มาก่อนกว่าอาจารย์ทั้งปวง ฯ  มารดาบิดาย่อมควรซึ่งวัตถุ มีข้าวน้ำเปนต้นที่บุตรนำมาให้ ควรเพื่อจะรับวัตถุเช่นนั้น บัณฑิตจึงเรียกว่า ผู้ควรแก่วัตถุที่บุตรบูชา ฯ



    สพรหมสูตร ฯ

เพราะเหตุนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงตรัสในสพรหมสูตรในติกอังคุดรและจตุกอังคุดรว่า แนะภิกษุทั้งหลาย  คำว่า พรหม นี้เปนชื่อแห่งมารดาบิดา คำว่า บุรพเทวดา ว่า บุรพาจารย์ ว่า อาหุเนยยะ นี้เปนชื่อแห่งมารดาบิดา ฯ  เพราะเหตุไร ฯ เพราะเหตุมารดาบิดาเปนผู้มีอุปการมากแก่บุตร  เปนผู้รักษาเปนผู้เลี้ยงบุตรมาและเปนผู้แสดงให้บุตรรู้จักกิจการในโลกนี้ ฯ  สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสฉนี้แล้ว ตรัสนิคมคาถากล่าวความซ้ำอิกว่า
       พฺรหฺมาติ  มาตาปิตโร  ปุพฺพาจริยาติ  วุจฺจเร
       อาหุเนยฺยา  จ  ปุตฺตานํ  ปชาย  อนุกมฺปกา ฯ

ความว่า มารดาบิดาบัณฑิตกล่าวว่า พรหม  ว่า อาจารย์ก่อน ว่า ผู้ควรวัตถุที่บุตรบูชา ว่า ผู้อนุเคราะห์แก่บุตร ดังนี้ ฯ



    บุตรไม่อาจแทนคุณมารดาบิดาด้วย โลกิยกิจ ฯ

บุตรไม่อาจทำปฏิการทดแทนบุญคุณของมารดาบิดาให้สิ้นสุดโดยปริยายอันใดอันหนึ่งที่เปนโลกิยะ  เพราะความที่ท่านเปนผู้มีอุปการคุณมาก โดยฐานเปนพรหม เปนต้นฯ จริงอยู่ บุตรจะคิดว่าเราจะปฏิบัติท่านทั้ง ๒ แล้วให้มารดาอยู่บนจงอยบ่าเบื้องขวา ให้บิดาอยู่บนจงอยบ่าเบื้องซ้าย ทำการปฏิบัติแก่ท่านผู้อยู่บนบ่าตนด้วยเครื่องอบเปนต้น  ท่านทั้ง ๒ ก็นั่งถ่ายมูตรและกรีสอยู่บนบ่าของบุตร ฯ  แม้เมื่อบุตรทำอยู่อย่างนี้สักร้อยปี ก็ไม่อาจทำปฏิการฉลองคุณของท่านให้หมดสิ้นได้ ฯ อิกอย่างหนึ่ง บุตรยกย่องให้บิดา ตั้งอยู่ในความเปนพระราชาจักรพรรติ  ให้มารดาสถิตอยู่ในที่อัครมเหษีของพระราชาจักรพรรตินั้น แม้อย่างนี้ก็ยังไม่สามารถทำการทดแทนคุณของมารดาบิดาให้หมดสิ้นได้ ฯ ก็บุตรใด  ให้มารดาบิดาผู้ประกอบด้วยวิบัติมีความเปนผู้ไม่มีศรัทธาเปนต้น  ตั้งอยู่ในสมบัติมีความเปนผู้มีศรัทธาเป็นต้น  บุตรนั้น ชื่อว่าอาจเพื่อจะทำปฏิการแก่มารดาบิดาได้ด้วยเหตุเท่านี้ ฯ

    มาตาปิตุคุณสูตร ฯ
เพราะเหตุนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงตรัสในมาตาปิตุคุณสุตร ในทุกนิปาตังคุดรว่า ทฺวินฺนาหํ ภิกฺขเว น สุปฏิการํ วทามิ เปนต้น ฯ  ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวว่าเปนความทำตอบด้วยดีแก่ชนทั้ง ๒ คือมารดาและบิดา ฯ บุตรบริหารปฏิบัติมารดาบนบ่าข้าง ๑  บริหารปฏิบัติบิดาบนบ่าข้าง ๑ ด้วยเครื่องอบและนวด ให้อาบน้ำ ดัดมือและเท้า ฯ  มารดาบิดาทำอุจจาระปัสสาวะกิจอยู่บนบ่าแห่งบุตร ราวร้อยปี ฯ  กิจคือปฏิบัติมารดาบิดาที่บุตรทำมาราวร้อยปีนั้น ไม่เปนอันบุตรทำแล้ว หรือทำทดแทนแล้วแก่มารดาและบิดา ฯ  

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิกประการหนึ่งบุตรยกย่องให้มารดาและบิดาตั้งอยู่ในราชสมบัติจักรพรรติในมหาประถพีอันบริบูรณ์ด้วยรัตนะเครื่องยินดีนี้ ก็ยังไม่ชื่อว่าเปนอันบุตรทำแล้ว หรือทำทดแทนแล้วแก่มารดาและบิดา ฯ  เพราะอะไร ฯ เพราะมารดาบิดาเปนผู้มีอุปการมากแก่บุตร เปนผู้ปกปักรักษาเลี้ยงดูบุตร  และแสดงโลกนี้ให้บุตรรู้จัก ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุตรใดแลให้มารดาบิดาผู้หาศรัทธามิได้ สมาทานศรัทธาสัมปทาให้ตั้งอยู่ในศรัทธาสัมปทา  ให้มารดาบิดาผู้ไม่มีศีลสมาทานศีลสัมปทา  ให้ตั้งอยู่ในศีลสัมปทา ให้มารดาบิดาผู้มัจฉริยะสมาทานจาคสัมปทา  ให้ตั้งอยู่ในจาคสัมปทา ให้มารดาบิดาผู้หาปัญญามิได้ สมาทานปัญญาสัมปทา  ให้ตั้งอยู่ในปัญญาสัมปทา  จึงชื่อว่าเปนอันบุตรทำแล้วและทำตอบแล้ว และทำยิ่งแล้วแก่มารดาบิดาด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แลฯ

อรรถกถาจารย์แก้ข้อว่า บุตรบริหารมารดาบนบ่าข้าง ๑ นั้นว่า บุตรประคับประคองมารดาบนบ่าขวา ฯ  ฎีกา ทุกังคุดร ว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวดังนั้น เพราะมารดามีอุปการแก่บุตรมากกว่า ควรบุตรจะทำปฏิการด้วยความที่มารดาเปนประธาน ฯ



    บำรุงมารดาบิดาด้วยกิจ ๒ อย่าง ฯ
การบำรุงด้วยสักการ ๑ ด้วยนมัสการ ๑  ชื่อว่าอุปัฏฐาน ฯ ก็สมด้วยประพันธคาถาในสพรหมสูตรและโสณนันทชาดกว่า
      ตสฺมา หิ เน นมสฺเสยฺยสกฺกเรยฺย จ ปณฺฑิโต   เปนต้น ฯ
ความว่า เพราะเหตุนั้นแล บุตรผู้บัณฑิตพึงนอบน้อมมารดาบิดานั้นทุกเวลาเย็นเวลาเช้า และพึงสักการด้วยเข้าต้มเข้าสวยของควรเคี้ยว น้ำควรดื่ม ผ้านุ่งผ้าห่ม  เตียงตั่งสำหรับนั่งนอน เครื่องอบ ให้อาบน้ำและชำระเท้า ฯ


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ตุลาคม 2556 14:02:41 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5798


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2556 14:42:49 »

.

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph__588.jpg
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
   คฤหัสถ์และบรรพชิตบำรุงมารดาบิดาต่างกัน ฯ

คฤหัสถ์ควรบำรุงด้วยการนอบน้อม  บรรพชิตควรบำรุงด้วยสักการ ฯ จริงอยู่ แม้ภิกษุก็ควรบำรุงมารดาบิดาแท้  โทษย่อมไม่มีเพราะการบำรุงนั้น ฯ เพราะเหตุนั้น อรรถกถาจารย์จึงกล่าวในเภสัชชกรณวัตถุวรรณนาในตติยปาราชิกว่า ภิกษุนำมารดาไปสู่วิหารแล้วก็ปฏิบัติ ควรทำบริกรรมทั้งปวงแต่อย่าจับต้อง ควรให้ของควรเคี้ยว ของควรกินแก่มารดาด้วยมือตน ก็แต่บิดาภิกษุควรบำรุงด้วยกิจมีให้อาบน้ำและนวดเปนต้นดุจสามเณร

การห้ามไม่ให้จับกายมารดา เพื่อจะแสดงให้รู้ว่าภิกษุจับด้วยความรักอาศัยกามคุณด้วยทำในใจว่าผู้นี้มารดาของเราต้องทุกฏาบัติ ฯ เพราะฉนั้น อรรถกถาจารย์ จึงกล่าวอธิบายในกายสังสัคควรรณนาว่า ถ้าภิกษุเห็นมารดาอันกระแสน้ำพัดไป ไม่ควรจับต้องด้วยมือ พึงนำเรือ หรือแผ่นกระดาน ท่อนกล้วย ท่อนไม้ไว้ข้างหน้ามารดา  ถ้าเรือเปนต้นไม่มี ก็พึงนำผ้ากาสาวะไว้ข้างหน้า แต่อย่าพูดว่าจงจับในเอกเทศนี้  ครั้นมารดาจับไว้แล้ว ควรฉุดมาด้วยทำในใจว่าเราฉุดบริขาร  ถ้ามารดากลัว ควรว่ายไปข้างหน้าปลอบให้อุ่นใจไว้  ถ้ามารดาอันกระแสน้ำพัดไป ขึ้นเกาะคอภิกษุโดยเร็ว หรือจับมือภิกษุไว้  ภิกษุก็อย่าขับไล่สลัดเสีย ควรนำไปให้ถึงบก ฯ  ถ้ามารดาติดอยู่ในตมหรือตกบ่อ  ภิกษุพึงทิ้งเชือกหรือผ้าลงไป  แล้วฉุดเชือกหรือผ้า ที่มารดาจับไว้แล้วขึ้นมา ก็แต่ภิกษุอย่าจับต้องกายมารดาเลย ฯ

เมื่อภิกษุทำยาให้มารดาบิดา ไม่เปนเวชกรรม ฯ ให้สิ่งของที่ทายกให้ด้วยศรัทธาแก่มารดาบิดา เพราะอันให้บิณฑบาต  ที่ยังไม่ได้บริโภคเปนต้น ก็ไม่เปนศรัทธาไทยวินิบาต ฯ  สมบาลีในจีวรขันธกะว่า สมัยนั้นแลจีวรมากเกิดขึ้นแก่ภิกษุรูปนั้น เธอปรารถนาจะให้จีวรนั้นแก่มารดา บิดา  ได้เสนอข้อความประสงค์นั้นตลอดขึ้นไป จนถึงสมเด็จพระศาสดาทรงทราบ พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุให้จีวรด้วยมนสิการว่ามารดาและบิดาดังนี้ เราจะว่ากะไร ฯ เราอนุญาตเพื่ออันให้แก่มารดาและบิดา ไม่เปนอันภิกษุยังศรัทธาไทยให้ตกไป ฯ  ภิกษุยังศรัทธาไทยให้ตกไปต้องทุกฏาบัติ ฯ (คือทรงอนุญาตให้ภิกษุให้ของศรัทธาไทยแก่มารดาบิดาได้ ไม่ต้องทุกฏาบัติ)

อรรถกถาจารย์แก้ข้อว่า ไม่เปนศรัทธาไทยวินิบาตนั้นว่า ภิกษุให้แก่ญาตินอกนี้ จึงชื่อว่ายังศรัทธาไทยให้ตกไป ก็แต่มารดาบิดาสถิตอยู่ในราชสมบัติ ปรารถนาของที่ชื่อว่าศรัทธาไทยแต่ภิกษุ ภิกษุก็จำต้องให้ ฯ

นัยแห่งกุลทูสกวรรณนาว่า ภิกษุนำมาเองหรือให้นำมาเรียกมาเอง หรือให้เรียกมาซึ่งมารดาบิดา แล้วให้ผลไม้ดอกไม้ ซึ่งเปนของตนแก่มารดาบิดา ย่อมควร ฯ ให้เรียกญาตินอกนี้ แล้วให้ดอกไม้ เพื่อบูชาพระรัตนะไตรย จึงควร ฯ  ก็แต่ให้แก่ใครๆ  เพื่อประดับหรือบูชาศิวลิงค์ หาควรไม่ ฯ

ฎีกาชื่อวิมติวิโนทนีว่า ให้แก่มารดาบิดาด้วยประสงค์ว่ามารดาบิดาจักขายสิ่งที่เราให้นี้เลี้ยงชีพ  ก็ควรอยู่ ฯ  ก็แต่ให้แก่ญาตินอกนี้เปนการยืม จึงควร ฯ

เพราะเหตุนั้น ภิกษุควรบำรุงมารดาบิดาโดยนัยที่พรรณนามาแล้ว ฯ  ในบาลีกล่าวว่าบำรุงมารดาบิดาเท่านี้ไม่แปลกอย่างไร ฯ  อรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวอุปัฏฐานด้วยอำนาจแห่งความเปนคฤหัสถ์ว่า บุทคลยังไม่ละเพศคฤหัสถ์เพียงใด ต้องเปนผู้ชำระหนี้เก่าด้วยอุปัฏฐานมารดาบิดาเพียงนั้น ฯ  คำของอรรถกถาจารย์ทั้งหลายนี้ นักปราชญ์พึงเห็นว่าท่านกล่าวไว้ เพื่อจะแสดงว่ามาตาปิตุปัฏฐานเปนวัตรของคฤหัสถ์ ฯ  อย่าเห็นว่าท่านกล่าวไว้ เพื่อจะแสดงว่าบรรพชิตไม่ควรทำการบำรุงมารดาบิดา ฯ  อิกอย่างหนึ่ง คำที่ท่านกล่าวไว้นั้น เพื่อจะแสดงว่า แม้ถึงบรรพชิตก็ต้องเปนผู้ไม่มีหนี้ ฯ  เพราะเหตุนั้น ใคร ๆ ไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรพชิตต้องอุปัฏฐานมารดาบิดาทั้งนั้น ฯ  จริงอยู่ บุทคลปฏิบัติผิดในมารดาบิดาก็ถึงความทุกข์ ฯ  บุทคลทั้งหลายมีมิตตวินทุกบุรุษเปนต้น  เปนนิทัศน์ตัวอย่างในการที่ปฏิบัติผิดในมารดาบิดาแล้วถึงความทุกข์ ฯ



http://www.dmc.tv/images/Jataka_1/mittavinduka-01.jpg
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
    เรื่องมิตตวินทุกะ ฯ

ดังได้สดับมา ครั้งพุทธกาลแห่งสมเด็จพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีบุตรแห่งเศรษฐีมีทรัพย์ ๘๐ โกฏิในกรุงพาราณสีชื่อมิตตวินทุกะ เปนคนหาศีลหาศรัทธามิได้ ฯ ส่วนมารดาและบิดาของเขาเปนโสดาบันบุทคล ฯ  ต่อมาบิดาของเขาทำกาลกิริยา  เขาจึงลามารดาไปค้าขายทางทเล ฯ  มารดาของเขาห้ามว่าเจ้าเปนลูกคนเดียวของแม่  ทรัพย์สมบัติในเรือนนี้ก็มีมาก  ทเลมีภยันตรายไม่น้อย อย่าไปเลย ฯ  เขาพูดถากถางไม่ฟังคำมารดาห้าม มารดาจับมือเขาไว้ เขาก็สลัดหลุดแล้วตีมารดาล้มลงอยู่ภายในเรือน เขาก็วิ่งไปขึ้นเรือไปทเล ฯ  

ถึงวันที่ ๗ เรือนิ่งอยู่ไม่แล่นไป เพราะมิตตวินทุกะ ฯ  สลากที่คนเรือต้องจับตามเข้าใจว่าจักมีคนกาฬกัณณี ตกมิตตวินทุกะถึง ๓ คราว ฯ  คนทั้งหลายจึงให้แพแก่เขา แล้วโยนเขาลงทเล ฯ  เขาอาศัยแพลอยไปโดยลำดับถึงเกาะหนึ่ง เห็นเมืองหนึ่งที่เกาะนั้นมีประตูเมือง ๔ ประตู ฯ  ได้ยินว่าประเทศนั้นเปนสถานที่เสวยกรรมกรณ์ของสัตวนรกเปนอันมาก ฯ  ก็แต่สถานนั้นปรากฏแก่มิตตวินทุกะ  ประดุจเมืองอันประดับตกแต่งแล้ว ฯ  มิตตวินทุกะเข้าไปสู่ที่นั้นด้วยหวังใจว่าจักเปนพระยาในนครนี้ ได้เหนสัตวนรกตนหนึ่งมีจักรอันคมพัดอยู่บนศีรษะ คร่ำครวญอยู่ ฯ  จักรอันคมบนศีรษะแห่งสัตวนรกนั้น ปรากฏแก่มิตตวินทุกะประหนึ่งดอกประทุม ฯ  เครื่องจำ ๕ ประการที่อกสัตวนรก  ปรากฏเหมือนเครื่องประดับคลุมอุระ ฯ  โลหิตที่ไหลออกจากศีรษะสัตวนรก ปรากฏดังจันทน์เครื่องทาฯ  เสียงปริเทวนาการของสัตวนรก  ปรากฏดุจเสียงเพลงขับ ฯ

มิตตวินทุกะ จึงเข้าไปใกล้สัตวนรกนั้น กล่าวว่าผู้เจริญ ดอกประทุมท่านทรงไว้นานแล้ว ท่านจงให้ดอกประทุมนั้นแก่เราเถิด ฯ  สัตวนรกนั้นตอบว่า สหาย นี้หาใช่ดอกประทุมไม่  นี้เปนจักรอันคมต่างหาก ฯ  มิตตวินทุกะจึงว่า ท่านพูดอย่างนี้ก็เพื่อจะไม่ให้แก่เราฯ  สัตวนรกจึงคิดว่า กรรมของเราจะสิ้นแล้ว บุรุษนี้พึงประหารมารดามาเหมือนเรา เพราะฉนั้น เราจักให้จักรอันคมนี้แก่เขา  จึงกล่าวว่า ผู้เจริญ จงมารับดอกประทุมนี้  แล้วซัดจักรนั้นไปบนศีรษะมิตตวินทุกะ ฯ  จักรอันคมนั้นหมุนดุจบดศีรษะมิตตวินทุกะ ฯ  ขณะนั้นมิตตวินทุกะรู้ว่าสิ่งนั้นเปนจักรอันคม  ร้องว่า ท่านจงรับจักรอันคมของท่านไป เสวยทุกขเวทนาคร่ำครวญอยู่ ฯ สัตวนรกอันตรธานหายไปเสียแล้ว ฯ  ฝ่ายมิตตวินทุกะ  ก็เสวยทุกข์อยู่ในที่นั้นนาน ด้วยวิบากเปนอกุศล คือตีมารดา ครั้นกรรมวิบากสิ้นแล้ว ก็ละจักรอันคมไปตามยถากรรม ด้วยประการฉะนี้ ฯ  เรื่องมิตตวินทุกะมาในจตุทวารชาดกวรรณนา ในทศนิบาต ฯ



http://www.bloggang.com/data/t/travelaround/picture/1247494618.jpg
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
    เรื่องบุรุษผู้หนึ่ง ฯ

ในอดีตกาล มีบุรุษผู้หนึ่งในเมืองพาราณสี เชื่อคำภรรยาใคร่จะฆ่ามารดาบิดาของตน จึงนำมารดาบิดาไปด้วยยานน้อย พอถึงท่ามกลางดง จึงกล่าวว่า พวกโจรอยู่ในที่นี้ ฉันจะลงไป แล้วให้บิดารับเชือกไว้ ครั้นลงไปแล้ว ทำอาการดุจโจรเข้ามาปล้น แล้วตีมารดาบิดา ฯ  มารดาบิดาแลไม่ค่อยเห็นอะไร เพราะจักษุทุพพลภาพ จำบุตรไม่ได้ก็ร่ำไรรำพรรณเพื่อความเจริญแก่บุตรว่า พวกโจรจักฆ่ามารดาบิดา แต่เจ้าจงหลีกไปเอาตัวรอดเถิด ฯ

บุรุษผู้เปนบุตรหวนคิดได้ว่าเราตีมารดาบิดา ท่านกลับร่ำไรรำพรรณเพื่อความเจริญแก่เรา เราได้ทำกิจอันไม่สมควรเลย  แล้วปลอบมารดาบิดาให้สบายใจ แล้วนวดมือและเท้า กล่าวว่าพวกโจรหนีไปแล้ว  แล้วนำมารดาบิดากลับมาเรือนแห่งตนอิก ฯ  บุรุษนั้นไหม้อยู่ในนรกสิ้นกาลนานเพราะกรรมนั้น ถูกทุบป่นปี้ถึงกาละ ๕๐๐ ชาติ  เพราะผลอันเปนเศษแห่งกรรมนั้น  ในชาติที่สุดเปน พระโมคคัลลานะ ถูกพวกโจรตี เพราะกำลังแห่งกรรมนั้น แล้วปรินิพพาน ฯ เรื่องพระมหาโมคคัลลานะมาในสรภังคชาดกวรรณนา ฯ

ก็เมื่อบุทคลปฏิบัติชอบในมารดาบิดาด้วยการบำรุงดังกล่าวมาแล้ว ความบำรุงของบุทคลนั้นก็นำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูลและความสุขในโลกทั้ง ๒ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวในสพรหมสูตร และโสณนันทชาดกว่า
     ตาย นํ ปาริจริยาย      มาตาปิตูสุ ปณฺฑิตา
     อิเธว นํ ปสํสนฺติ        เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ ฯ


แปลความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ ซึ่งบุทคลผู้บำรุงมารดาบิดาในโลกนี้ เพราะความบำรุงนั้น บุทคลนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกสวรรคดังนี้ ฯ

ก็บุทคลผู้ปฏิบัติมารดาบิดา แม้สมเด็จพระศาสดาก็ทรงสรรเสริญ ฯ เรื่องที่จะกล่าวต่อไปเหล่านี้ เปนอุทาหรณ์ในความที่บุทคลปฏิบัติมารดาบิดาเปนผู้อันสมเด็จพระบรมศาสดาทรงสรรเสริญนั้น ฯ



http://www.bloggang.com/data/t/travelaround/picture/1247494618.jpg
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
   เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง ฯ

ดังได้ฟังมา ยังมีบุตรแห่งเศรษฐีผู้หนึ่งในนครสาวัตถี สดับเทศนาแห่งสมเด็จพระศาสดาจารย์แล้ว บรรพชาอุปสมบทเรียนธรรมอยู่ ๕ พรรษา แล้วเรียนพระกรรมมัฏฐานในสำนักพระอุปัชฌายะ แล้วออกจากพระเชตวันวิหารไปสู่ปัจจันตคาม แรมอยู่ในป่าอาศัยปัจจันตคามนั้น ฯ  

ฝ่ายมารดาบิดาของภิกษุนั้น ตั้งแต่เธอบวชแล้ว ก็มีสมบัติพัสดุสิ้นไปโดยลำดับ ถึงความเปนผู้น่าสงสารอย่างยิ่ง ถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจาร อาศัยฝาเรือนผู้อื่นอยู่ ฯ  ต่อมาภิกษุนั้นทราบความที่มารดาบิดาของตนถึงความทุกข์ยาก จึงดำริห์ว่า เราพยายามแรมอยู่ในป่าถึง ๑๒ พรรษา ก็ไม่สามารถบันลุมรรคผล เราเปนคนอาภัพ เราจะต้องการอะไรด้วยบรรพชา เปนคฤหัสถ์เลี้ยงมารดาบิดาและให้ทานก็จักมีสวรรคเปนที่ไปณเบื้องหน้า คิดฉนี้ จึงออกจากป่าไปสู่เมืองสาวัตถี เข้าไปสู่พระเชตวนารามด้วยประสงค์ว่า วันนี้เราเฝ้าสมเด็จพระศาสดาแล้วสดับธรรม  รุ่งขึ้นเช้าจักไปเยี่ยมมารดาบิดาฯ
  
ก็วันนั้น สมเด็จพระโลกนารถทอดพระเนตรสัตวโลกอันเปนพุทธเวนัย  ได้ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยแห่งประถมมรรคของภิกษุนั้น  ครั้นภิกษุนั้นมานั่งแล้ว จึงทรงพรรณนาคุณแห่งมารดาบิดาด้วยมาตาปิตุคุณสูตร ฯ  ภิกษุนั้นได้ฟังมาตาปิตุคุณสูตรนั้นแล้ว จึงดำริห์ว่า เรามาด้วยหวังจะเปนคฤหัสถ์เลี้ยงมารดาบิดา ก็แต่สมเด็จพระศาสดาตรัสว่า บุทคลเปนบรรพชิตก็ทำการอุดหนุนมารดาบิดาได้ หากว่าเราไม่ได้เฝ้าสมเด็จพระศาสดาไปเยี่ยมมารดาบิดาทีเดียว ก็จะพึงเสื่อมจากบรรพชาเห็นปานดังนี้  ก็บัดนี้เราจักเลี้ยงดูมารดาบิดาด้วยเพศบรรพชิตฯ
 
รุ่งขึ้นภิกษุนั้นรับข้าวต้มข้าวสวยที่ท่านแจกโดยสลากอันถึงตนแล้วเข้าไปสู่บ้าน  นำข้าวต้มข้าวสวยให้แก่มารดาบิดา ส่วนตนเที่ยวบิณฑบาต ฉันแล้วทำที่อยู่ให้มารดาบิดา จำเดิมแต่นั้นมาก็ปฏิบัติมารดาบิดาเปนนิตย์ ฯ  ภิกษุนั้นให้ภัตตาหารที่มีภัตต์ที่ท่านแจกในปักข์เปนต้น ที่ตนได้แล้ว แก่มารดาบิดา  ส่วนตนเที่ยวบิณฑบาต เมื่อได้ก็ฉัน เมื่อไม่ได้ก็ไม่ฉันฯ  ก็แต่วันที่ภิกษุนั้นได้ภิกษา น้อย  วันที่ไม่ได้มากกว่า ฯ  ภิกษุนั้นได้ผ้าวัสสาวาสิกา (ผ้าจำพรรษา)  หรือผ้าอันใดอันหนึ่งอย่างอื่น ก็ให้แก่มารดาบิดาหมด  ย้อมผ้าเก่าคร่ำคร่าที่มารดาบิดานุ่งห่มแล้ว เย็บติดดามปะเข้ากับผ้าของตนใช้นุ่งห่มเอง ฯ  ภิกษุนั้นลำบากเพราะกังวลด้วยบำรุงมารดาบิดาอย่างนี้ ก็ซูบเสร้าหมองลง ฯ  ภิกษุทั้งหลายเห็นเธอซูบเสร้าหมองฉนั้น ไต่ถาม ได้สดับข้อความนั้นแล้ว ก็ติเตียนเธอ แล้วกราบทูลสมเด็จพระศาสดาฯ  

พระองค์โปรดให้เรียกเธอมา แม้ทรงทราบอยู่ ก็ตรัสให้เธอกล่าวเหตุการณ์นั้น แล้วประทานสาธุการ เมื่อมีพระประสงค์จะประกาศบุรพจริยา (ความประพฤติในก่อน) ของพระองค์  จึงตรัสถามเธอว่าดูก่อนภิกษุ บุทคลทั้ง ๒ ที่ท่านเลี้ยงนั้นเปนอะไรกับท่าน ฯ  เธอจงกราบทูลว่าเปนมารดาบิดาของข้าพระองค์ ฯ  สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงประทานสาธุการ ๓ ครั้งว่า สาธุ สาธุ แล้วตรัสว่า  ท่านสถิตในมรรคาที่เราดำเนินแล้ว แม้เราเมื่อประพฤติบุรพจริยา ก็ย่อมเลี้ยงดูมารดาบิดา แล้วทรงแสดงสุวรรณสามชาดกในมหานิบาต แล้วตรัสว่า ขึ้นชื่อว่าความเลี้ยงดูมารดาบิดาเปนวงศ์ของบัณฑิตทั้งหลาย แล้วทรงประกาศจตุราริยสัจ ฯ  ในกาลเมื่อจบสัจจเทศนา ภิกษุนั้นได้เปนพระโสดาบัน ฯ

ต่อไปนี้นักปราชญ์พึงทราบว่า สมเด็จพระศาสดาประทานสาธุการแก่ภิกษุนั้น ๆ เพราะภิกษุนั้น ๆ ปฏิบัติมารดาบิดา เมื่อทราบฉนี้ จะงดคำว่าภิกษุรูป ๑ ย่อมปฏิบัติมารดาบิดาเสีย เพื่อมิให้คำกล่าวซ้ำกันหลายตอน ฯ

สมเด็จพระศาสดาจารย์ประทานสาธุการแก่ภิกษุอิกรูป ๑ แล้ว ทรงแสดงสุตตะนะชาดกในสัตตนิบาต แล้วทรงประกาศสัจจะธรรม ๔ ฯ  ในกาลเปนที่จบสัจจกถาภิกษุนั้น ได้บันลุโสดาปัตติผล ฯ

ประทานสาธุการแก่ภิกษุอิกรูป ๑ แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านรักษาวงศ์แห่งโบราณบัณฑิต จริงอยู่โบราณบัณฑิตแม้บังเกิดในกำเนิดดิรัจฉานได้ให้ชีวิตแก่มารดาบิดา แล้วทรงแสดงนันทิยมิคชาดกในฉักกนิบาต ฯ

ประทานสาธุการแก่ภิกษุอิกรูป ๑ แล้ว  ตรัสคิชฌชาดกในสัตตนิบาตฯ

ประทานสาธุการแก่ภิกษุอิกรูป ๑ แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าติเตียนภิกษุนี้เลย ถึงโบราณบัณฑิต ก็ได้ทำอุปการแม้แก่เหล่าชนผู้มิใช่ญาติ ด้วยอำนาจแห่งความเปนผู้มีคุณ ก็การทำอุปการแก่มารดาบิดาเปนภาระของภิกษุนี้ แล้วตรัสคิชฌชาดก ในทุกนิบาต ฯ

ประทานสาธุการแก่ภิกษุอิกรูป ๑ แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ โบราณบัณฑิตเมื่อเกิดเปนดิรัจฉาน ให้มารดาบิดาชราภาพนอนในรัง นำอาหารด้วยจงอยปากมาเลี้ยง แล้วทรงแสดงเกทารชาดกในปกีรณกนิบาตร

ประทานสาธุการแก่ภิกษุอิกรูป ๑ แล้ว  ตรัสว่า แนะภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าติเตียนภิกษุนี้เลย  โบราณบัณฑิตเมื่อได้อัตตะภาพเปนดิรัจฉาน  พลัดพรากจากมารดาเหือดแห้งเพราะอดอาหารถึง ๗ วัน ทำในใจว่า ถึงเราได้อาหารควรแก่พระราชา เว้นมารดาจักไม่กิน เยี่ยมมารดาแล้ว เที่ยวหาอาหาร แล้วตรัสมาตุโปสกชาดกในเอกาทศนิบาต  แลทรงประกาศจตุราริยสัจ ฯ เมื่อจบสัจจเทศนาภิกษุทั้ง ๕ รูปได้เปนพระโสดาบัน ฯ

บุทคลผู้ปฏิบัติมารดาบิดา แม้สมเด็จพระบรมศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว ย่อมถึงประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน อย่างนี้ ฯ  ก็บุทคลผู้ปฏิบัติมารดาบิดา แม้อันบุทคลยิงด้วยลูกศร ดื่มยาพิษ ย่อมพ้นจากทุกข์คือความตาย ดุจโพธิสัตวชื่อสุวรรณสาม ฯ  แม้ไปสู่สำนักแห่งยักษ์ ก็ย่อมพ้นจากมรณทุกข์  ดุจโพธิสัตวเปนคนเข็ญใจชื่อสุตตะนะ ฯ  แม้ตั้งอยู่ในที่อันรักษา ก็ย่อมพ้นจากมรณทุกข์ ดุจโพธิสัตวเปนมฤคชื่อนันทิยะ ฯ แม้ติดในบ่วง ก็ย่อมพ้นจากมรณทุกข์  ดุจโพธิสัตวเป็นพระยาแร้งและพระยานกแขกเต้า ฯ แม้ติดเครื่องผูก ก็ย่อมพ้นจากมรณทุกข์   ดุจโพธิสัตวเปนพระยาช้างฯ  เรื่องที่จะกล่าวต่อไปเหล่านี้ เปนนิทัศนะในความที่พ้นจากมรณทุกข์ของโพธิสัตวนั้น ๆ ฯ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ตุลาคม 2556 14:16:41 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5798


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2556 11:54:24 »

.

http://นิทานชาดก.rakjung.com/photo/19431943.jpg
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
    เรื่องสุวรรณสาม ฯ

ในอดีตกาล พระโพธิสัตวอุบัติในเมืองพาราณสี มีนามว่าสุวรรณสาม เปนดาบสอยู่ในอาศรมที่ท้าวสักกะเทวราชให้นิรมิตประทานใกล้ฝั่งแม่น้ำชื่อมิคสัมมตา บำรุงเลี้ยงมารดาบิดาของตน ผู้จักษุมืดโดยเคารพ ฯ กาลนั้น พระราชาพาราณสีพระนามว่าปิลยักษ์ มอบราชสมบัติแก่พระมารดา เสด็จไปสู่หิมวันตประเทศพระองค์เดียว เพราะราชประสงค์เนื้อมฤค  ฆ่ามฤคทั้งหลายเสวยเนื้อ เมื่อเสด็จไปถึงสถานนั้น ทอดพระเนตรเห็นรอยเท้ามฤค ใกล้ท่าที่ตักน้ำดื่มของพระสุวรรณสามดาบส จึงทำซุ้มด้วยกิ่งไม้ซ่อนพระองค์อยู่  ได้ทอดพระเนตรเหนพระสุวรรณสามดาบสอันหมู่มฤคแวดล้อมมาสนานกายเวลาเย็นแล้วกลับไป จึงยิงด้วยศรอันดื่มยาพิษ ฯ  พระโพธิสัตวล้มลงนอนส่ายจักษุหาคนทำร้าย ได้กล่าววาจาอ่อนหวานเรียก ฯ พระราชาปิลยักษ์ได้สดับ จึงทรงดำริห์ว่า ผู้นี้เรายิงล้มลงแล้วยังไม่ด่าไม่ว่าเราด้วยคำหยาบ กลับร้องเรียกด้วยถ้อยคำอันน่ารัก ทรงดำริห์ฉนี้แล้ว เสด็จไปสำนักพระดาบสนั้น เห็นเสวยทุกขเวทนาอยู่ ก็ทรงกรรแสงสงสารพระดาบสนั้น ฯ

ในกาลนั้น นางเทพธิดาชื่อวสุนธรี สิงอยู่ที่เขาคันธมาทน์เคยเปนมารดาแห่งพระมหาสัตวในอัตตะภาพที่ ๗ ทราบเหตุนั้น จึงคิดว่า ถ้าเราจักไม่ไปในสถานที่นั้น พระสามบุตรของเราจักถึงมรณะ เมื่อพระสามบุตรของเราถึงมรณะมารดาและบิดาของพระสามอดอาหารจักเหือดแห้งตาย  ฝ่ายพระราชาก็จักมีพระหทัยแตกมลายพระชนม์ ครั้นเมื่อเราไปช่วยแล้วพระราชาจักเสด็จไปอาศรมนำมารดาและบิดาของพระสามดาบสมา  มารดาบิดาทั้ง ๒ จักมาทำสัจจะกิริยา แม้ตัวเราก็จักทำเหมือนกัน เมื่อเปนเช่นนี้ บุตรของเราจักได้ชีวิตคืน มารดาบิดาของบุตรเราก็จักกลับได้จักษุดีเปนปรกติ  ฝ่ายพระราชาจักได้สดับธรรมแต่บุตรของเรา เสด็จกลับนคร จักทรงบำเบ็ญกุศลมีบริจาคทานเปนต้น ครองราชย์สมบัติโดยธรรม ก็จักบังเกิดในสวรรค นางคิดฉนี้แล้วจึงไปในสำนักพระดาบสนั้นสถิตอยู่ในอากาศด้วยอทิศมานกาย (ไม่มีใครเห็นตัว) กล่าวว่า มหาราช พระองค์จงบำรุงปฏิบัติมารดาบิดาของพระดาบสผู้จักษุมืดให้เหมือนพระดาบสวายพระชนม์ก็จักมีสุคติเปนที่ไป ฯ  พระราชาได้สดับคำนั้น จึงเสด็จไปอาศรมเพื่อทรงอุปัฏฐานมารดาบิดาของพระโพธิสัตว แล้วแจ้งประพฤติเหตุทั้งปวงให้ชนทั้ง ๒ นั้น ทราบ ชนทั้ง ๒ ยอมให้ทรงนำไป จึงได้ทรงนำไปสู่สำนักพระดาบส ฯ  มารดาบิดาของพระโพธิสัตวมาถึงแล้ว ได้ทำสัจจะกิริยาด้วย ๗ คาถา มีคาถาเบื้องต้นเปนอาทิว่า
       เยน สจฺเจนยํ สาโม    ธมฺมจารี ปุเร อหุ
       เอเตน สจฺจวชฺเชน     วิสํ สามฺสส หญฺญตุ ฯ


ความว่า พ่อสามนี้เปนผู้ประพฤติธรรมเปนปกติมาแต่ก่อน โดยความจริงอันใด ด้วยอันกล่าวคำจริงอันนั้น ขอพิษที่ซาบไปในกายพ่อสาม จงสูญหาย ฯ พระโพธิสัตวก็พลิกอวัยวะได้ ฯ แต่นั้นนางวสุนธรีเทพธิดา ก็ทำสัตยาธิษฐาน ๒ คาถา มีอาทิว่า
       ปพฺพตฺยาหํ คนฺธมาทเน    จิรํ รตฺตํ นิวาสินี
       น เม ปิยตโร โกจิ           อญฺโญ สามา หิ วิชฺชติ
       เอเตน สจฺจวชฺเชน          วิสํ สามฺสส หญฺญตุ ฯ


ความว่า เราผู้อยู่ที่คันธมาทนบรรพตมานมนาน ใครผู้อื่นซึ่งจะเปนที่รักของเรากว่าพ่อสามย่อมไม่มีด้วยสัจจะภาษิตนี้ ขอพิษลูกศรที่ซาบซ่านในกายแห่งพ่อสาม จงสูญหายทันที ฯ พอจบคำสัตยาธิษฐานของนางเทพธิดานั้น พระสามดาบสหายเจ็บลุกขึ้นได้ ฯ  อัศจรรยทั้งปวงได้มีในขณะเดียวกัน คือ ความหายเจ็บจักษุของมารดาบิดาเห็นเปนปรกติ  อรุณขึ้น อานุภาพของเทพเจ้าบันดานให้ชนทั้ง ๔ มา ปรากฏพร้อมกัน ณ อาศรม ฯ  ลำดับนั้น พระโพธิสัตวเมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชา ได้ภาษิต ๒ คาถาว่า
       โย มาตรํ ปิตรํ วา      มจฺโจ ธมฺเมม โปสติ  
       เปนต้น ฯ


ความว่า บุทคลใดเลี้ยงมารดาหรือบิดาโดยธรรมแม้เทวดาก็ย่อมช่วยแก้ไขบุทคลนั้น ซึ่งเปนผู้เลี้ยงมารดาและบิดา บุทคลใดเลี้ยงมารดาหรือบิดาโดยธรรม นักปราชญ์ย่อมสรรเสริญบุทคลนั้นในโลกนี้ บุทคลนั้นละโลกนี้ไปแล้วย่อมบันเทิงในโลกสวรรค  ดังนี้ ฯ  ครั้นพระโพธิสัตวกล่าวดังนี้แล้ว กล่าวต่อไปว่าถ้าพระองค์ปรารถนาเพื่อไปสู่เทวโลกบริโภคทิพยสมบัติใหญ่ในนั้น จะทรงประพฤติเปนไปในทศธรรมจริยาเหล่านี้ เมื่อจะสำแดงจึงภาษิตทศราชธรรมจริยาคาถาว่า
       ธมฺมํ จร มหาราช     มาตาปิตูสุ ขตฺติย
       อิธ ธมฺมํ จริตฺวาน     ราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
       เปนต้น ฯ


ความว่า พระองค์จงทรงประพฤติธรรมในพระชนกพระชนนี จงทรงประพฤติธรรมในพระโอรสและพระชายา จงทรงประพฤติธรรมในมิตรและอมาตย์ จงทรงประพฤติธรรมในสัตวพาหนะและพล  จงทรงประพฤติธรรมในชาวคามและชาวนิคม จงทรงประพฤติธรรมในชาวแว่นแคว้นและชาวชนบท จงทรงประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์ จงทรงประพฤติธรรมในมฤคชาติและเหล่าปักษีชาติ  ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมในผู้นั้น ๆ ในโลกนี้แล้ว จักไปสู่สวรรค ฯ  พระองค์จงทรงประพฤติธรรม ๆ อันบุทคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมา ครั้นพระองค์ทรงประพฤติธรรมแล้ว จักไปสู่สวรรค ฯ พระองค์จงทรงประพฤติธรรมเทวดา มีพระอินทร์เปนประธานพร้อมด้วยพรหม ถึงทิพยโลกด้วยธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ขอพระองค์อย่าทรงประมาทธรรมเลย ฯ

ตามวรรณนา  ในสกุณชาดก ในจัตตาฬีสนิบาตว่า การบำเรอปฏิบัติ ได้แก่ลุกขึ้นแต่เช้า ทำกิจเปนต้นว่า ให้ล้างหน้าบ้วนปากและไม้ชำระฟัน แล้วทำการบริหารสรีระทั้งปวง แก่มารดาบิดา ชื่อว่าประพฤติธรรมในมารดาบิดา ฯ  การห้ามบุตรและธิดาจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม ให้เรียนศิลปเมื่อบุตรธิดาเจริญวัยก็ทำอาวาหวิวาหมงคล ด้วยหญิงหรือชายมีสกุลสมควรแก่กัน และให้ทรัพย์สมบัติในสมัยชื่อว่าประพฤติธรรมในบุตร ฯ  นับถือภรรยาไม่ดูหมิ่นภรรยาไม่ประพฤตินอกใจภรรยา สละความเปนใหญ่ให้ ให้เครื่องอลังการ ชื่อว่าประพฤติธรรมในภรรยา ฯ สงเคราะห์มิตรและอมาตย์ด้วยเครื่องสงเคราะห์ ๔ อย่าง ไม่กล่าวให้คลาดชื่อว่าประพฤติธรรมในมิตรและอมาตย์ ฯ ให้สิ่งที่ควรให้และทำสักการ แก่สัตวพาหนะและหมู่พล ไม่ใช้สัตวมีช้างม้าเปนต้นให้ทำการงานในคราวมันแก่ ชื่อว่าประพฤติธรรมในสัตวพาหนะและพลฯ ไม่เบียดเบียฬผู้คนที่อยู่ในบ้านและนิคม ด้วยอาชญาและภาษีอากร (โดยอธรรมและไม่จำเปน) ชื่อว่าประพฤติธรรมในชาวคามและชาวนิคม ฯ ยังชาวแว่นแคว้นและชาวชนบทให้ลำบากโดยอันไม่ใช่เหตุ ไม่ยังจิตต์ประกอบด้วยประโยชน์เกื้อกูลให้เข้าไปตั้งอยู่ในชนเหล่านั้น ชื่อว่าประพฤติธรรมในชาวแว่นแคว้นและชาวชนบท ก็เมื่อไม่เบียดเบียฬ ยังจิตต์ประกอบด้วยประโยชน์เกื้อกูลให้แผ่ไปในชนเหล่านั้น ชื่อว่าประพฤติธรรมในชาวแว่นแคว้นและชาวชนบทฯ  บริจาคปัจจัย ๔ แก่สมณพราหมณ์ ชื่อว่าประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์ ให้อภัยแก่สัตว ๔ เท้าและนกทั้งปวง ชื่อว่าประพฤติธรรมในมฤคชาติและปักษีชาติ ฯ ธรรมคือสมจริยาอันบุทคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำมาซึ่งสุขในกุลสัมปทา ๓ มีขัตติยกุลสัมปทาเปนต้น และในกามสวรรค ๖ ชั้นชื่อว่าธรรมอันบุทคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาด้วยประการฉนี้ ฯ  พระราชาได้ทรงสดับธรรมเทศนาของพระโพธิสัตว ก็มีพระหฤทัยยินดี ทรงรับเบญจศีลแล้วนมัสการลาพระดาบสกลับพระนคร ทรงบำเพ็ญทานเปนต้นและรักษาเบญจศิล  ครองราชสมบัติโดยยุกติธรรมในที่สุดแห่งพระชนมชีพ ก็ได้บังเกิดในสวรรค ฯ  ฝ่ายพระโพธิสัตว ยังฌานและอภิญญาให้บังเกิด ก็ได้อุบัติในพรหมโลก พร้อมด้วยมารดาบิดา ฯ



    เรื่องสุตตะนะ ฯ

ในอดีตกาล ในอดีตสมัย พระโพธิสัตวบังเกิดในเมืองพาราณสีเปนคนเข็ญใจ ชื่อสุตตะนะ ทำการจ้างเลี้ยงมารดาบิดา ครั้นบิดาทำกาลกิริยา ก็คงเลี้ยงแต่มารดา ฯ  กาลนั้นพระเจ้าพาราณสี ผู้พอพระหฤทัยการล่าเนื้อ วันหนึ่งจึงเสด็จเข้าสู่ป่าตั้งราชาณัตติว่า เนื้อหนีไปได้ในด้านผู้ใด ผู้นั้นต้องรับราชทัณฑ์ประหารชีวิต ฯ  ครั้งนั้น มีเนื้อทรายตัวหนึ่ง ผ่านไปด้านพระราชา ฯ พระราชาก็ทรงยิงเนื้อนั้น ฯ  เนื้อนั้นรู้จักทำมารยา รู้ว่าลูกศรมาตรงสีข้างก็หันเหเปนทีว่าถูกยิงล้มลงฯ  พระราชาเสด็จแล่นไปจับด้วยเข้าพระหฤทัยว่า เนื้อถูกเรายิงแล้ว ฯ  เนื้อก็ลุกขึ้นวิ่งหนีไป ฯ  หมู่อมาตย์ต่างพากันหัวเราะเย้ยพระราชา ฯ  พระราชาจึงเสด็จติดตามไปทัน ก็ฟาดลงด้วยพระขรรคเปน ๒ ท่อน ทรงหาบเสด็จกลับมาแวะบันทมที่ร่มไม้ไทรรวางมรรคา ตื่นบันทมทรงปรารภจะเสด็จกลับ ฯ พอยักษ์ชื่อมะฆะเทวะอาศัยอยู่ที่ร่มไม้ไทรนั้น กล่าวว่า หยุดก่อน ๆ ท่านเปนอาหารของเราละ จับพระหัตถ์ไว้ ฯ  พระราชาตกพระหฤทัยตรัสถามว่า ท่านจะกินแต่วันนี้หรือจะกินเปนนิตย์ ฯ ยักษ์ตอบว่า เมื่อได้ก็จักกินเปนนิตย์ ฯ  พระราชาจึงตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น วันนี้ท่านจงกินเนื้อนี้ ปล่อยตัวเราไป จำเดิมแต่วันพรุ่งนี้ไป เราจักส่งคนคนหนึ่ง ๆ ให้นำภาชนะภัตต์อันหนึ่งๆมา ฯ  ยักษ์จึงพูดว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านอย่าเผลอเราจักกินตัวท่านในวันที่ท่านไม่ส่งคนมา เอาคำมั่นสัญญาแล้วปล่อยพระราชาไป ฯ  ฝ่ายพระราชาตรัสตอบว่าเราเปนพระเจ้าพาราณสีชื่อว่าความไม่มีคนส่งมานั้นไม่มี แล้วเสด็จเข้านคร  

จำเดิมแต่วันที่ ๒ ก็ให้คนนำคนโทษคนหนึ่งๆ ออกจากเรือนจำ ให้ถือภาชนะภัตต์ไปส่งยักษ์ ฯ ยักษ์กินภัตตาหารแล้วกินคนโทษนั้นเสียด้วย ฯ  กาลต่อมาคนโทษในเรือนจำหมดลง ฯ พระราชากลัวแต่มรณภัย จึงให้จัดห่อกหาปณะพันหนึ่งตั้งไว้ณคอช้าง ให้กลองเที่ยวตีประกาศให้รู้ว่า ใครอาจเพื่อจะถือภัตตาหารไปให้ยักษ์ จงรับห่อกหาปณะพันหนึ่งนี้ ฯ  โพธิสัตวได้ฟังคำนั้น จึงรับห่อกหาปณะพันหนึ่งนั้นนำมาให้มารดา  แล้วเข้าเฝ้าถวายบังคมพระราชา กราบทูลรับอาสา ฯ  พระราชาตรัสถามว่า จะต้องการอะไรบ้าง ฯ โพธิสัตวกราบทูลว่า ต้องการฉลองพระบาททองทั้งคู่ เศวตฉัตร พระขรรคของพระองค์ เพราะขึ้นชื่อว่า เหล่าอมนุษย์ย่อมกลัวแต่คนมีอาวุธในมือ เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จักมีพระขรรคในมือ ไม่ยืนในเขตต์ของยักษ์นั้น ยืนอยู่บนฉลองพระบาท จักไม่ยืนอยู่ใต้เงาต้นไม้ ยืนอยู่ใต้เงาเศวตฉัตร เพราะยักษ์นั้นกินได้แต่คนผู้ยืนอยู่ในเขตและเงาต้นไม้ของตน ฯ  พระราชาตรัสถามว่า จะต้องการอะไรอิก ฯ โพธิสัตวกราบทูลว่าการที่บุทคลผู้ฉลาดแม้นข้าพระองค์ นำโภชนะอย่างเลวที่เทียบในภาชนะดินไป หาควรไม่ เพราะเหตุนั้นข้าพระองค์ควรได้พระกยาหารที่เทียบในพระสุพรรณภาชน์สำหรับเสวยนั้นนำไป ฯ  พระราชาประทานอนุมัติ และมอบคนสำหรับใช้สรอยให้ไปด้วย ฯ  

โพธิสัตวรับเครื่องอุปกรณ์แล้วไปสำนักแห่งยักษ์นั้น ให้บริษัทยืนอยู่แต่ห่างๆ ต้นไม้ แล้วสรวมฉลองพระบาททอง กั้นเศวตฉัตรรับภาชนะภัตต์ เข้าไปใกล้ต้นไม้ เอาปลายพระขรรคคอนภาชนะภัตต์ยื่นให้แก่ยักษ์ ฯ ยักษ์คิดว่า เราจักลวงบุรุษนี้ให้เข้ามาในเงาต้นไม้แล้วกินเสีย จึงกล่าวว่ามาณพ ท่านจงมากินอาหารด้วยกันทั้ง ๒ คน ฯ  โพธิสัตวจึงตอบว่า ถ้าท่านกินเราเสีย ใครจักกล้านำภิกษาหารมาให้ท่าน เหตุพูดกันเซงแซ่ว่า สุตตะนะบุรุษผู้เลี้ยงมารดายักษ์กินเสียแล้ว แต่นั้นจักได้อาหารยาก ท่านจักจับพระราชาของเราก็ไม่ได้ เพราะเราผู้นำภัตต์มาให้ก็ยืนอยู่นอกต้นไม้ ท่านไม่อาจกินเราเพราะเรายืนอยู่บนฉลองพระบาท หาได้ยืนในที่ของท่านไม่ และเรายืนอยู่ในเงาเศวตฉัตร หาได้ยืนในเงาต้นไม้ของท่านไม่  อนึ่ง ถ้าท่านจักต่อสู้กับเรา เราจักฟันท่านด้วยพระขรรคให้เปน ๒ ท่อน  ด้วยว่าตัวเราเตรียมมาพร้อมสำหรับความต้องการนี้แล้ว ฯ ยักษ์มีจิตต์เลื่อมใสว่าบุรุษผู้นี้พูดถูกต้อง จึงบริโภคอาหารแล้วกล่าวว่า ดูก่อนมาณพ ท่านจงถือพระขรรค เศวตฉัตร ฉลองพระบาทกลับไปเถิด มารดาของท่านจงเห็นความสวัสดีของท่าน และท่านจงพบมารดาของท่านเถิด ฯ  โพธิสัตวสอนว่า ท่านทำบาปไว้ในปางก่อน จึงเกิดเปนยักษ์  แต่นี้ท่านอย่าทำกรรมมีฆ่าสัตวเปนต้น แสดงอานิสงส์ในศิล โทษในความเปนคนไม่มีศิล แล้วให้ยักษ์นั้นตั้งอยู่ในศิล ๕ แล้วกล่าวว่า ท่านจะต้องการอยู่ในป่าทำไม มาไปกับเราเถิด แล้วให้ยักษ์นั้นถือพระขรรคเปนต้นพากลับสู่นคร ฯ  พระราชาเสด็จต้อนรับโพธิสัตว ให้ยักษ์พักอยู่แทบประตูนคร ประทานลาภมีภัตตาหารเลิศเปนต้น แล้วเสด็จคืนสู่นคร ทรงตั้งโพธิสัตวเปนเสนาบดี ทรงสถิตในโอวาทของโพธิสัตว สิ้นพระชนม์ก็บังเกิดในสวรรค ด้วยประการฉนี้ ฯ




    เรื่องนันทิยมฤค ฯ

ในอดีตกาลพระราชาของชาวโกศล ครองเมืองสาเกต ในแคว้นโกศล เปนผู้มีพระหฤทัยชอบเสวยเนื้อมฤค ฯ พระองค์ไม่ให้ประชาชนทำกสิกรรมเปนต้น มีประชาชนเปนบริวาร เสด็จสู่ที่ฆ่ามฤคทุกวัน ฯ วันหนึ่งประชาชนชุมนุมปรึกษากันว่า ไฉนเราทั้งหลายจะพึงล้อมอัญชนะวันอุทยานประกอบด้วยประตู นำฝูงมฤคมาแต่ป่า ให้เข้าไปในนั้น แล้วปิดประตู ทูลถวายพระราชา เราก็จะพึงทำการงานของตน ตกลงกันฉนี้แล้ว จัดอุทยานเสร็จแล้ว เข้าไปสู่ป่าล้อมที่ราวโยชน์หนึ่งไว้ ฯ

ลำดับนั้นโพธิสัตวเปนมฤคชื่อนันทิยะ พามารดาบิดาอยู่ในพุ่มไม้น้อยตำบลหนึ่ง เห็นมนุษย์เหล่านั้นจึงคิดว่า วันนี้เราควรจะสละชีวิตของเราให้ชีวิตแก่มารดาบิดา จึงกล่าวว่า ท่านทั้ง ๒ พึงเปนอยู่ด้วยอุบายอันหนึ่ง ข้าจะให้ชีวิตแก่ท่านทั้ง ๒ พอพวกมนุษย์ตีพุ่มไม้ ข้าจักออกไป เมื่อเช่นนี้ พวกมนุษย์เหล่านั้นจะสำคัญว่า ในพุ่มไม้น้อยนี้มีมฤคตัวเดียวเท่านั้น จักหาเข้าไปสู่พุ่มไม้พบท่านทั้ง ๒ ไม่ แล้วให้มารดาบิดาขะมาโทษแล้วเตรียมตัวออกไป พอพวกมนุษย์ตีพุ่มไม้ ก็ออกจากพุ่มไม้นั้นไปเข้ารวางฝูงมฤค ฯ  มนุษย์เหล่านั้นก็สำคัญอย่างนั้น หาเข้าไปสู่ที่พุ่มไม้น้อยนั้นไม่ ต้อนฝูงมฤคเข้าอุทยานทูลถวายพระราชา แล้วกลับไปที่อยู่ของตน ฯ

จำเดิมแต่นั้น พระราชาเสด็จไปทรงยิงมฤคตัวหนึ่งนำมาเองบ้าง ส่งราชบุรุษให้นำมาในกาลบางคราวบ้าง ฯ ฝูงมฤคจึงตั้งเวนกัน ฯ มฤคตัวที่ถึงเวนก็ไปยืนในที่หนึ่ง ฯ พระราชาบ้าง ราชบุรุษที่ส่งไปบ้าง ยิงมฤคนั้นนำมา ฯ  วันหนึ่งเวนของนันทิยะมฤคมาถึงเข้าฯ ผเอินวันนั้น พระราชาเสด็จไปทรงปรารภยิงเองฯ นันทิยะมฤคเจริญเมตตาเปนปุเรจาริกยืนนิ่งอยู่ ฯ  พระราชาไม่สามารถจะแผลงศร เพราะอานุภาพแห่งเมตตาของนันทิยะมฤค ก็ทิ้งธนูตรัสว่า ธนูนี้แม้เปนท่อนไม้หามีจิตต์ไม่ แต่รู้จักคุณของเจ้า ฝ่ายเราแม้เปนมนุษย์มีจิตต์ย่อมไม่รู้จักคุณของเจ้า เราทั้งหลายจักให้อภัยแก่เจ้า ฯ  นันทิยะมฤคจึงทูลว่า พระองค์ประทานอภัยแก่ข้าพระบาทเท่านั้น ก็หมู่มฤคในอุทยานนี้จักโปรดอย่างไร ฯ  พระราชาตรัสว่า เราให้แก่หมู่มฤคแม้นั้น ฯ มหาสัตวนันทิยะมฤคจึงยังพระราชาให้ประทานอภัยแก่มฤคในป่า นกไปในอากาศ ปลาเที่ยวอยู่ในน้ำทั้งหมด และยังพระราชาให้สถิตอยู่ในปัญจศิล แล้วทูลว่า ชื่อว่าพระราชาควรละอคติ ยังราชธรรม ๑๐ มิให้กำเริบ ปกครองประชาราษฎร์โดยยุกติธรรม เมื่อจะสำแดงทศราชธรรม ได้กล่าว ๒ คาถาว่า
    ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ     อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ
     อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ     ขนฺติ จ อวิโรธนํ
     เปนต้น


ความว่า ขอพระองค์ทอดพระเนตรธรรมเปนกุศลเหล่านี้ คือ ทาน ได้แก่เจตนาพร้อมวัตถุ ศิล ได้แก่ศิล ๕ ศิล ๑๐ บริจาค ได้แก่ความสละไทยธรรม อาชชวะ ได้แก่ความเปนผู้ซื่อตรง มัททวะ ได้แก่ความเปนผู้อ่อนน้อม ตะปะ ได้แก่การรักษาอุโบสถศิล อักโกธะ ได้แก่อัธยาศัยมีเมตตาเปนส่วนเบื้องต้น อวิหึสา ได้แก่อัธยาศัยมีกรุณาเปนส่วนเบื้องต้น  ขันติ ได้แก่ความอดทนต่อกำลังกิเลสและคำหยาบ  อวิโรธนะ ได้แก่ความมิให้ผิดจากราชศาสตร์อันตั้งอยู่ในพระองค์ แต่นั้นพระปีติโสมนัสไม่น้อยย่อมเกิดแต่พระองค์ ฯ  โพธิสัตวอยู่ในสำนักแห่งพระราชาสิ้นวันเล็กน้อย ยังพระราชาให้ยังกลองทองให้เที่ยวไปเพื่อประกาศการประทานอภัยแก่สัตวทั้งปวงแล้วทูลว่า ขอพระองค์จงไม่เปนผู้ไม่ประมาท แล้วไปเยี่ยมมารดาบิดา ฯ


http://www.dhammathai.org/chadoknt/pic/nt205.gif
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
    เรื่องแร้งมาในสัตตกนิบาต ฯ

ในอดีตกาลพระโพธิสัตวเสวยพระชาติเปนพระยาแร้ง ให้มารดาบิดาผู้ชรามีจักษุเสื่อมแลไม่เห็นอยู่ ณ ถ้ำแร้ง นำอาหารมีเนื้อโคเปนต้นมาเลี้ยงดู ฯ  ครั้งนั้นนายพรานคนหนึ่ง ชื่อ นิลิยะ ดักบ่วงไม่นิยมสัตวไว้ ณ สุสานใกล้นครพาราณสี ฯ  แร้งโพธิสัตวติดในบ่วงนั้น ระลึกถึงมารดาบิดาของตน คร่ำครวญรำพรรณด้วยภาษาคนว่า มารดาบิดาของเรา จักยังอัตตภาพให้เปนไปอย่างไรหนอ เมื่อไม่รู้ความที่เราติดบ่วง จักไม่มีที่พึ่ง ชรอยจักเหือดแห้งตายในถ้ำนั่นเอง ฯ  

นายพรานได้ฟังจึงกล่าวว่า คำโลกกล่าวว่าแร้งเห็นซากศพได้ไกลราวร้อยโยชน์นั้น อย่างไรอยู่ เพราะว่าทำไมเจ้ามาใกล้ข่ายหรือบ่วงก็ไม่รู้ ฯ  แร้งโพธิสัตวตอบว่า สัตว์คราวจะพินาศเพราะสิ้นอายุเมื่อเช่นนี้ ถึงว่ามาใกล้ข่ายหรือบ่วงก็หารู้ไม่ ฯ  นายเนสาทได้ฟังธรรมธรรมกถาของพระยาแร้งนั้น จึงคิดว่าพระยาแร้งนี้เปนบัณฑิต เมื่อคร่ำครวญ หาคร่ำครวญถึงตนไม่ คร่ำครวญถึงมารดาบิดา ไม่ควรเราจะให้พระยาแร้งนี้ตาย คิดฉนี้แล้วแก้บ่วงออกจากเท้าพระยาแร้งด้วยความชื่นบานรักใคร่ แล้วกล่าวว่า เจ้าจงเลี้ยงมารดาบิดาชราอาศัยอยู่ที่ซอกเขา ข้าอนุญาตเจ้า ๆ จงเห็นความสวัสดีพร้อมด้วยหมู่ญาติ ฯ  แร้งโพธิสัตวพ้นจากมรณทุกข์แล้ว เมื่อจะทำความบันเทิงตามจึงกล่าวว่า นายพรานท่านจงชื่นชมด้วยญาติทั้งปวงเถิด ข้าจักเลี้ยงดูมารดาบิดาชราภาพอาศัยอยู่ที่ซอกเขา แล้วคาบเนื้อเต็มปากไปให้มารดาบิดา ฯ  



http://www.dhammathai.org/chadoknt/pic/nt205.gif
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
    เรื่องแร้งมาในทุกนิบาต
ในกาลเปนอดีต พระโพธิสัตวเสวยพระชาติเปนพระยาแร้ง เลี้ยงมารดาบิดาอยู่ที่ภูเขาแร้งฯ กาลครั้งหนึ่งเกิดฝนมาด้วยลมใหญ่ ฯ  ฝูงแร้งไม่อาจทนพายุฝนนั้นจึงพากันไปเมืองพาราณสี สั่นสท้านหนาว จับเจ่าอยู่ริมกำแพงเมืองบ้าง ริมคูเมืองบ้าง ฯ  กาลนั้น เศรษฐีในเมืองพาราณสีออกมาจากเมือง เห็นฝูงแร้งเหล่านั้นลำบากอยู่ จึงพร้อมกันในที่แห่งหนึ่งให้ติดไฟให้แร้งเหล่านั้นผิงกาย แล้วใช้คนไปสู่สุสานะให้นำเนื้อโคมาให้แร้งเหล่านั้นกิน และให้คอยรักษามิให้มีอันตราย ฯ พอพายุฝนสงบ ฝูงแร้งก็มีกายสละสลวยไปสู่ภูเขาที่อาศัย  จึงคิดกันว่า เศรษฐีในเมืองพาราณสีทำอุปการแก่เราทั้งหลาย ควรเราทั้งหลายจะทำปัจจุปการแก่ท่านเศรษฐีผู้มีอุปการได้ทำแล้ว เพราะฉนั้นจำเดิมแต่นี้ใครได้ผ้าหรืออาภรณ์ ควรนำไปทิ้งลงในเรือนท่านเศรษฐี ฯ แต่นั้นมา ฝูงแร้งเหล่านั้น เห็นมนุษย์ทั้งหลายผึ่งผ้าและอาภรณ์ไว้ที่แดด ก็โฉบฉวยเอาโดยพลันทิ้งลงที่เรือนเศรษฐี ฯ  เศรษฐีรู้ความที่ผ้าและอาภรณ์อันแร้งทั้งหลายนำมา จึงให้เก็บงำของเหล่านั้นทั้งหมดไว้ต่างหาก ฯ  มหาชนกราบทูลบรมกษัตริย์ว่า ฝูงแร้งปล้นพระนคร ฯ  พระราชาจึงให้ดักข่ายและบ่วงในที่นั้น ๆ เพื่อจับแร้ง ฯ  แร้งโพธิสัตวติดในบ่วง ฯ มหาชนจับไปแสดงถวายพระราชา ฯ  บรมกษัตริย์ตรัสถามพระยาแร้ง ทรงทราบเหตุการณ์ทั้งปวงนั้นแล้ว ตรัสถามอีก เหมือนเรื่องก่อนว่า คำโลกพูดกันว่า แร้งเห็นทรากศพได้ไกลประมาณร้อยโยชน์นั้น อย่างไรอยู่ ดังนี้เปนต้น ฯ  ฝ่ายพระยาแร้งทูลว่า สัตว์คราวจะพินาศเพราะสิ้นอายุ เปนต้น แล้วแสดงธรรม บรมกษัตริย์ทรงโสมนัสโปรดให้ปล่อย จึงไปสู่สำนักมารดาบิดา ฯ พระราชาตรัสสั่งให้คืนของเหล่านั้นแก่ชนทั้งปวง ฯ


    เรื่องพระยานกแขกเต้า ฯ

ในอดีตกาล มีบ้านพราหมณ์ชื่อสาลินทิยะ ตั้งอยู่ในส่วนบูรพาทิศและอุดรทิศ ฯ  ต่อจากสาลินทิยคาม มีนาของชาวมคธ ตั้งอยู่ในส่วนบุรพทิศและอุตรทิศ ฯ  ต่อจากนาของชาวมคธ ป่าไม้งิ้วใหญ่ ตั้งอยู่ใกล้สานุบรรพตในส่วนบุรพทิศและอุตรทิศ  นกแขกเต้าเปนอันมากอาศัยอยู่ในป่าไม้งิ้วนั้น ฯ  ครั้งนั้น บรมโพธิสัตว์เสวยพระชาติเปนสุวราช มีสรีระประมาณดุมเกวียน นำอาหารแต่หิมวันตประเทศมาเลี้ยงมารดาบิดา ฯ พราหมณ์ผู้หนึ่งชาวสาลินทิยคาม มีนามว่าโกสิยโคตร ให้หว่านเข้าสาลีในนาประมาณเนื้อที่พันกรีส ตั้งคนรักษาคนหนึ่งไว้ ฯ  พระยานกแขกเต้าพาบริวารมาลงที่นานั้น ฯ  คนรักษานาไม่อาจห้ามฝูงนกแขกเต้าที่ลงในที่นั้นๆ  นกแขกเต้าตัวอื่นๆ กินพอต้องการแล้ว ก็หาคาบรวงเข้าไปไม่ ฯ  แต่สุวราชรวมรวงเข้าสาลีเปนอันมากเข้าแล้วคาบไป ฯ  คนรักษานาจึงไปแจ้งแก่พราหมณ์ ได้คำสั่งแต่พราหมณ์ว่าให้ฟั่นปอดักบ่วงในที่สุวราชลง จับเปนนำมา จึงทำตามสั่งนั้น ก็ได้ตัวสุวราชนำไปแสดงแก่พราหมณ์ ฯ พราหมณ์พอแลเห็นสุวราช ก็มีความรักเปนกำลังเกิดขึ้น ให้สุวราชจับบนตักแล้วถามว่า เจ้ากินเข้าสาลีพอประโยชน์ ยังคาบเอาไปอีก ยุ้งฉางของเจ้ามีหรือๆ ว่าเจ้าทำเวรในตัวข้า ฯ  สุวราชได้ฟังคำนั้น จึงกล่าวคาถานี้อันมาในเกทารชาดกในปกีรณิกนิบาต ด้วยภาษาคนอย่างไพเราะว่า น เม เวรํ ตยา สทฺธี    โกจฺฉํ มยฺหํ น วิชฺชติ  เปนต้น ฯ

ความว่า เวรของข้ากับท่านไม่มี ฉางของข้าก็ไม่มี ข้านำเข้าสาลีไปสู่ดงไม้งิ้วอันชื่อว่าโกฏิสิมพลีแล้ว ปลดเปลื้องหนี้บ้าง ให้กู้หนี้บ้าง ข้าฝังขุมทรัพย์อันจะตามไปได้ไว้ในที่นั้น ท่านจงรู้อย่างนี้ ฯ  ครั้นโต้ตอบกันอย่างนี้แล้ว เมื่อ สุวราชจะทำข้อความนั้นให้ปรากฏจึงกล่าวว่า อชาตปกฺขา สกุณา  ปุตฺตกา มยฺห โกสิย  เปนต้น ฯ

ความว่า นกทั้งหลายขนปีกยังไม่เกิดเปนลูกของข้า ลูกนกเหล่านั้น ข้าเลี้ยงมาแล้วจักเลี้ยงข้า เพราะฉนั้น ข้าจึงชื่อว่าให้ลูกนกเหล่านั้นกู้หนี้ไว้ มารดาบิดาของข้าแก่คร่ำคร่าแล้ว ข้านำรวงเข้าไปเพื่อมารดาบิดา ข้าจึงชื่อว่าเปลื้องหนี้ที่มารดาบิดาให้กู้ไว้ก่อน ฝูงนกเหล้าอื่นไม่มีขนปีก ไม่มีกำลังมีอยู่ในที่นั้น ข้าต้องการด้วยบุญก็ให้แก่พวกนั้น บัณฑิตกล่าวบุญกรรม นั้น ชื่อว่าขุมทรัพย์ ฯ

พราหมณ์ได้สดับคำนั้นมีจิตต์เลื่อมใส กล่าวว่า ตั้งแต่นี้ไป เจ้ากับพวกญาติจงไม่มีภัย กินเข้าสาลีตามสบายเถิด แล้วมอบนาทั้งหมดให้ ให้แก้เชือกผูกที่เท้า ฯ  โพธิสัตวรับที่นาประมาณ ๘ กรีส  เพราะเปนผู้รู้จักประมาณ  คืนนาเหลือจากนั้นให้แก่พราหมณ์อิกแล้วกล่าวว่า ข้าแต่มหาพราหมณ์ ขอท่านเปนผู้ไม่ประมาทเถิด แล้วให้โอวาท แล้วคาบรวงเข้าสาลีไปสำนักมารดาบิดา ฯ ฝ่ายพราหมณ์ให้ปักหลักในที่ ๘ กรีส แล้วสั่งคนรักษานาว่า แต่นี้ต่อไป ฝูงนกแขกเต้ามาคาบรวงเข้าสาลีไป เจ้าอย่าห้ามเลย ฯ จำเดิมแต่นั้น ฝูงนกแขกเต้าก็มาคาบรวงเข้าสาลีแต่ที่นั้นไป ฯ



    เรื่องพระยาคชสารฯ

ในอดีตสมัยบรมโพธิสัตวเสวยพระชาติเปนพระยาช้างเผือก มีช้างราว ๘ หมื่นเปนบริวาร เลี้ยงมารดาอันตามืดอยู่ณหิมวันตประเทศ ฯ  ครั้นอปรภาคสมัย พระยาเศวตกุญชรละฝูงพามารดาไปอยู่เชิงบรรพตมีนามว่า จัณโฑรณะ ให้มารดาอยู่ในถ้ำอันอาศัยสระประทุมหนึ่งตั้งอยู่ เลี้ยงดูให้ผาสุก ฯ  พรานป่าชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง หลงทางคร่ำครวญอยู่ ๗ วันไปถึงที่นั้น ฯ พระยาช้างให้ขึ้นนั่งบนหลังตนนำออกไปถึงทางคนเดิรด้วยความเอ็นดู แล้วกลับที่อยู่ของตน ฯ  พรานป่านั้นใจบาป ไปถึงเมืองพาราณสี กราบทูลข่าวพบเศวตคชสารแด่พระราชา ฯ พอมงคลคชาของพระราชาล้ม ฯ  พระราชาจึงส่งนายหัตถาจารย์ไปกับพรานป่านั้น นำพระยาช้างนั้นมายืนในโรงช้างมงคล ทรงนำโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ไปให้ประทานพระยาช้างนั้น ฯ  

พระยาช้างคิดว่าเราพรากจากมารดาจักหาจับอาหารไม่ ครั้นพระราชาตรัสว่าจงจับอาหารเถิด ก็หาจับไม่ แล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าเลี้ยงมารดาตามืด มารดาพรากจากข้าพเจ้าแล้ว จักถึงความสิ้นชีวิต ความต้องการด้วยอิศริยะโดยพรากจากมารดา ย่อมไม่มีแก่ข้าพเจ้า วันนี้มารดาของข้าพเจ้าไม่ได้อาหาร นับเปนวันที่ ๗ ฯ  พระเจ้าพาราณสีได้ทรงสดับจึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงปล่อยพระยาช้างผู้เลี้ยงมารดา พระยาช้างจงพร้อมเพรียงด้วยมารดาและญาติทั้งปวง ฯ  โพธิสัตวพ้นจากเครื่องผูกแสดงธรรมว่าด้วยทศราชธรรมคาถาแด่บรมกษัตริย์แล้วทูลว่า ขอพระองค์จงเปนผู้ไม่ประมาทเถิด แล้วถวายโอวาทเปนผู้อันมหาชนบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เปนต้นแล้ว ออกจากพระนครไปถึงสำนักมารดาในวันนั้น ฯ  พระเจ้าพาราณสีทรงเลื่อมใสในคุณแห่งพระยาเศวตกุญชร จึงให้สร้างบ้านในที่ไม่ไกลสระประทุม  ให้ทำวัตรปฏิบัติเปนนิตย์  ครั้นอปรภาคสมัย มารดาพระยาช้างล้ม โปรดให้ทำสรีระฌาปนกิจ ทำอาศรมชื่อว่ากรัณฑกะ แล้วเสด็จกลับพระนคร ฯ ฤษีประมาณ ๕๐๐ ได้มาอาศัยอยู่ในสถานที่นั้น ฯ  พระราชาให้ทำวัตรปฏิบัติแก่ฤษีเหล่านั้น ครั้นพระยาช้างโพธิสัตวทำกาลกิริยาจึงโปรดให้ทำรูปด้วยศิลาเท่าพระยาช้างนั้น แล้วให้ทำสักการใหญ่ ฯ  ชาวชมพูทวีปประชุมกันทำการฉลองรูปพระยาช้างนั้นทุกปี ฯ

พระโพธิสัตวเหล่านั้น มีสุวรรณสามดาบสเปนต้น พ้นจากทุกข์นั้นๆ   แล้วถึงซึ่งประโยชน์เกื้อกูล และความสุขด้วยอุปนิสัยกรรมคือเลี้ยงมารดาบิดา ด้วยประการฉนี้ ฯ  เพราะเหตุนั้น เมื่อบุทคลปรารถนาจะพ้นทุกข์ เห็นประโยชน์แห่งตน ก็พึงกระทำการเลี้ยงพรหมคือมารดาบิดาเปนกิจสูงสุด ดุจพระโพธิสัตวเหล่าได้กระทำมาเปนตัวอย่าง ฯ

อิกประการหนึ่ง ธรรมดาบุทคลผู้ปฏิบัติเลี้ยงมารดาบิดาแม้แว่นแคว้นจะพินาศด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ก็ย่อมพ้นจากอันตรายได้โดยแท้ ฯ  เรื่องที่กล่าวต่อไปนี้ เปนอุทาหรณ์ในข้อที่ว่านั้น ฯ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 มีนาคม 2557 15:27:15 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5798


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 10 สิงหาคม 2556 17:46:16 »

.
http://innovation.lotusnoss.com/wp-content/uploads/2013/03/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2-%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E.png
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
    เรื่องรามบุรุษฯ

ในอดีตกาล พระโพธิสัตวเปนบุตรปุโรหิตของพระเจ้าพาราณสี  มีนามว่าโชติปาละ เพราะอาวุธทั้งปวงลุกโพลงในวันเกิด ฯ  ครั้นกาลต่อมา โชติปาละโพธิสัตวนั้น สำแดงธนูศิลปมีประการต่างๆ แก่พระราชา โดยนัยที่กล่าวไว้ในสรภังคชาดกวรรณา จำเดิมแต่นั้น จึงปรากฏนามว่า   สรภังคะ ฯ วันหนึ่งสรภังคะไม่ให้ใครๆ รู้ เข้าไปสู่ป่าแต่คนเดียว บวชเป็นฤษีณอาศรมอันท้าวสักกะเทวราชให้นิรมิตให้ในป่ามขวิด เนื้อที่ ๓๐ โยชน์ แทบฝั่งแม่น้ำโคธาวรี  ยังฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นในวันที่ ๗ ฯ  ต่อมาพระราชาทั้งหลาย มีพระราชาพาราณสีเปนต้น พร้อมด้วยชาวแว่นแคว้นบวชในสำนักแห่งสรภังคดาบสนั้น ฯ  อาศรมในดงมขวิดเต็ม ฯ  

ครั้งนั้น อันเตวาสิกผู้ใหญ่ของสรภังคดาบสรูปหนึ่งชื่อกิสวัจฉะ ปรารถนาที่อยู่สงัด จึงไปจากที่นั้น อยู่ในราชอุทยานในนครชื่อว่ากุมภวดีบุระของพระราชาทัณฑกี แขวงกลิงครัฐ โดยความบำรุงของเสนาบดีฯ กาลนั้น พระราชาทัณฑกี ให้ถอดหญิงแพศยาจากฐานันดร ฯ  จำเดิมแต่นั้น นางทำความชอบพอกับบุทคลนั้น ๆ แสวงหาฐานันดร  วันหนึ่ง ไปราชอุทยานเห็นดาบสนั้น จึงคิดว่าเรามาพบคนกาฬกัณณีนี้ จงช่วยกันนำน้ำมา เราจักชำระในตา แล้วเคี้ยวไม้สีฟัน ถ่มเขฬะบนสรีระแห่งดาบส ทิ้งไม้สีฟันบนชฎา แล้วบ้วนน้ำ ๆ บ้วนปาก และล้างน้ำล้างหน้าบนกระหม่อมแล้วออกไป ฯ  ผเอินวันนั้นพระราชาประทานฐานันดรเดิมแก่หญิงแพศยานั้น ฯ  หญิงแพศยานั้นสำคัญว่าฐานันดรที่ได้แล้วอาศัยกุศลที่ได้ทำไว้แต่ปางก่อนว่า ได้แล้วเพราะถ่มเขฬะในสรีระแห่งฤษี ฯ แต่นั้นล่วงมาไม่กี่วัน พระราชาถอดปุโรหิตจากฐานันดร ฯ  ปุโรหิตจึงไปหานางนครโสภินีถามว่า นางได้ฐานันดรคืน เพราะทำอะไร ครั้นนางตอบว่า เพราะทำวิธีอย่างนี้ จึงไปสำนักดาบสนั้น ทำอย่างนั้นแล้ว กลับได้ฐานันดรเดิมวันนั้น ฯ แม้ปุโรหิตนั้นได้ฐานันดรนั้น เพราะผลแห่งบุญ แต่สำคัญว่าได้แล้วเพราะถ่มเขฬะ ฯ  

แต่นั้นล่วงมาไม่กี่วัน ปัจจันตคามของพระราชากำเริบขึ้นด้วยพวกโจร ฯ  พระราชาทรงใคร่จะระงับปัจจันตคาม เชื่อคำปุโรหิต ตรัสสั่งชนทั้งปวงว่า พวกเจ้าจงถ่มเขฬะในสรีระแห่งชฎิลโกงนั้น ฯ ประชาชนกับพระราชาได้ทำเหมือนอย่างนั้น ของไม่สอาดมีเขฬะเปนต้น ทับสรีระทั้งสิ้นแห่งดาบส ฯ  ฝ่ายเสนาบดีทราบเรื่องนี้ภายหลังชนทั้งปวง รีบไปสู่ราชอุทยาน เขี่ยของไม่สอาดทั้งปวงนั้นแล้ว อาบน้ำดาบสแล้วถามว่า ชนเหล่านั้นทำกรรมไม่ควร ชนเหล่านั้นจักเปนอย่างไรบ้าง ฯ ดาบสตอบว่าความประทุษร้ายในใจของรูปไม่มี ก็แต่เทวดาโกรธมากนักในวันที่ ๗ แต่วันนี้ จักทำแคว้นทั้งสิ้นมิให้เปนแคว้น เพราะเหตุนั้น ท่านจงไปภายนอกแคว้นภายใน ๗ วัน ฯ  เสนาบดีก็ทำอย่างนั้น ฯ  ส่วนพระราชาพอไปถึงก็ระงับปัจจันตคามเสร็จ เสด็จกลับเข้าสู่นคร ฯ  วันนั้นเทวดายังฝนปรกติให้ตกลง ฯ  ประชาชนมีจิตต์ชื่นชมว่า ความเจริญเกิดขึ้นแก่พระราชาของเราทั้งหลาย จำเดิมแต่กาลที่เราทั้งหลายทำร้ายชฎิลโกง ฝนตกในวันพระราชาระงับปัจจันตคามแล้วเสด็จกลับฯ ลำดับนั้นเทวดายังฝนดอกมลิ ฝนมาสก ฝนกหาปณะ และฝนเครื่องประดับ เปนต้นว่าเครื่องประดับมือและเท้า ให้ตกลง ฯ  ประชาชนต่างมีจิตต์ชื่นชมมากเกินเปล่งวาจาแสดงความยินดี  เกิดความเห็นตามในการชั่วที่พระราชาทำ ฯ

กาลนั้นเทวดายังฝนอาวุธมีความข้างเดียวเปนต้น และฝนถ่านเพลิงไม่มีเปลว ฝนศิลาประมาณเท่าเรือนยอด ฝนทราย ให้ตกลง ทำแคว้นให้ดอนสูง ๘๐ ศอก ฯ  ในเมื่อแคว้นยังไม่ฉิบหาย สรภังคดาบสทราบเหตุการณ์นั้น จึงส่งดาบสหนุ่ม ๒ รูป ให้นำกิสวัจฉะมาด้วยวอคือเตียงทางอากาศ ฯ  เสนาบดีก็ออกจากนครพ้นภยันตราย ฯ สัตวดิรัจฉานทั้งหลายไม่ได้พลอยเห็นตามในกรรมนั้น ถึงอย่างนั้น น้ำดื่มและหญ้าก็ไม่มี ฯ สัตวเหล่านั้นไปในที่มีน้ำดื่มและหญ้า ยังไม่ทันถึง วันที่ ๗ ก็ออกไปอยู่นอกแคว้นแล้วฯ ฝ่ายบุรุษผู้หนึ่งชื่อรามะ เทวดาก็อนุเคราะห์นำไปนอกแคว้นนั้นฯ  เพราะฉนั้น  ท่านจึงกล่าวเรื่องไว้ในชยทิสชาดกวรรณนา ในตึสนิบาตดังต่อไปนี้ ฯ  ได้ยินว่า ชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งชื่อรามะ เปนผู้เลี้ยงมารดา เมื่อปฏิบัติมารดา ไปค้าขาย ได้ไปสู่กุมภวดีบุระนคร ในแคว้นของพระราชาฑัณฑกี ครั้นเมื่อแคว้นทั้งสิ้นอันฝนมีประการต่างๆ ให้ฉิบหายอยู่ ระลึกถึงคุณแห่งมารดาบิดา ฯ ลำดับนั้น เทวดานำรามะบุรุษนั้นมาส่งมารดาโดยสวัสดี ด้วยผลแห่งการทำมาตุปัฏฐาน ฯ ฝ่ายชนเหล่าอื่นทั้งหมดได้ถึงความฉิบหาย ฯ

เรื่องรามะบุรุษผู้เลี้ยงมารดา มาในอุปาลิสุตตวรรณนา ในมัชฉิมปัณณาสก์ และในสรภังคชาดกวรรณนา ฯ เพราะเหตุนั้น บุทคลผู้ชื่อว่า บุตร จำเปนผู้มีจิตต์มั่นในมาตุปัฏฐานกรรม ดุจอุบาสกผู้เลี้ยงมารดา ฯ  อนึ่ง บุทคลพึงได้เพื่อบำรุงมารดาบิดาด้วยประการใด พึงปฏิบัติเหมือนอย่างนันทบัณฑิตปฏิบัติแล้วด้วยประการนั้น ฯ



http://www.dangcarry.com/admin/upload/tamnan/1292084570_3355.jpg
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
    เรื่องอุบาสกเลี้ยงมารดา ฯ

ได้ยินว่า อุบาสกคนหนึ่งในสาวัตถีนคร ครั้นบิดาตายแล้ว ก็มีแต่มารดาเปนที่เคารพนับถือประหนึ่งเทวดา บำรุงปฏิบัติมารดาด้วยกิจมีอันให้น้ำบ้วนปากล้างหน้าไม้ชำระฟันเปนต้น ฯ และสิ่งของมีเข้าต้มเข้าสวยเปนต้น ฯ  ฝ่ายมารดากล่าวเนือง ๆ แก่อุบาสกผู้บุตร (เพื่อให้มีภรรยา) ครั้นอุบาสกไม่ปรารถนาจะมี ก็ขืนนำนางกุมาริกามาให้ ฯ อุบาสกนั้น ก็อยู่กินด้วยกันกับนางกุมาริกานั้น ฯ  นางกุมาริกานั้นบำรุงแม่ผัวโดยเคารพ ต่อมาใคร่ให้แม่ผัวไปอยู่ภายนอกบ้าน วันหนึ่งจึงกล่าวกะสามีว่า เมื่อท่านไปภายนอก มารดาของท่านด่าว่าฉัน ฯ อุบาสกนั้นก็นิ่งเฉยเสีย ฯ  

จำเดิมแต่นั้นนางกุมาริกาเมื่อให้เข้าต้มแก่แม่ผัวให้ร้อนเกินไปบ้าง เย็นเกินไปบ้าง เค็มเกินไปบ้าง จืดไปบ้าง  ครั้นแม่ผัวกล่าวว่า ร้อนเกินไป เค็มเกินไป ก็เติมน้ำเย็นลงเติม ครั้นแม่ผัวกล่าวว่า  เย็นเกินไป ไม่เค็มเลยอิก จึงพูดขึ้นเสียงดังว่า แม่ว่าร้อนเกินไป เค็มเกินไปเดี๋ยวนี้เอง แล้วว่าเย็นเกินไป ไม่เค็มเลย ใครจะสามารถทำให้ถูกใจแม่ได้ แล้วแต่งน้ำอาบร้อนจัดรดลงที่หลังแม่ผัว ครั้นแม่ผัวว่าร้อนจัด ก็เติมน้ำเย็นลงเต็ม ครั้นแม่ผัวพูดว่าเย็นเกินไป จึงกล่าวว่า แม่พูดว่า ร้อนเกินไปเมื่อกี้นี้เอง กลับพูดว่าเย็นเกินไป ใครจะสามารถทนความดูหมิ่นของแกได้ ฯ  นางกุมาริกาก็เกิดทเลาะกับแม่ผัวอย่างนี้แล้ว แจ้งแก่ผัวว่า ฉันไม่อาจจะอยู่ในเรือนเดียวกับหญิงกาฬกัณณีเช่นนี้ ท่านจงให้แกไปอยู่เสียภายนอกบ้าน ฯ  อุกาบสกผู้เปนสามีจึงกล่าวว่า เจ้ายังเปนสาว อาจจะไปเลี้ยงชีวิตอยู่ที่ไหนก็ได้ มารดาของข้าหากำลังมิได้ ข้าผู้เดียวเปนที่พึ่งของมารดา เจ้าจงไปสู่สกุลของเจ้า ฯ   นางกุมารีคิดว่า ถ้าเราจักไปสู่สกุลอยู่เปนหม้ายจักได้ความทุกข์ ก็กลัวไม่ไป ยังแม่ผัวให้ยินดี ปฏิบัติเหมือนแต่ก่อนมา ฯ  

วันหนึ่งอุบาสกไปพระเชตวันวิหารเพื่อสดับธรรม ถวายบังคมสมเด็จพระศาสดา นั่งส่วนสุดข้างหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสถามว่า ท่านไม่ประมาทในการทำบุญและหรือ ท่านบำเพ็ญมาตุปัฏฐานกรรมและหรือ อุบาสกจึงกราบทูลว่า พระเจ้าข้า แล้วกราบทูลประพฤติเหตุทั้งปวง ฯ สมเด็จพระทศพลจึงตรัสว่า ท่านไม่เชื่อคำของนางกุมาริกานั้น ในกาลนี้เท่านั้น ก็แต่ในกาลก่อน ท่านคร่ามารดาของท่านออกจากเรือนตามคำของนางนั้น อาศัยเราจึงนำมารดามาสู่เรือนปฏิบัติอิก ตรัสฉนี้แล้ว ทรงแสดงกัจจานิชาดกในอัฏฐนิบาต แล้วทรงประกาศอริยสัจจธรรมฯ ในกาลเมื่อจบสัจจเทศนา อุบาสกได้เปนโสดาบัน ฯ



    เรื่องนางกัจจานี ฯ

ในอดีตสมัย ยังมีบุรุษคนหนึ่งในนครพาราณสี ครั้นบิดาถึงแก่กรรมแล้ว มีมารดาเปนที่นับถือเหมือนเทวดา ปฏิบัติมารดาชื่อนางกัจจานี โดยนัยที่กล่าวมาแล้ว ฯ เรื่องทั้งปวงเช่นกับที่กล่าวมาแล้วฯ  กาลนั้น บุรุษนั้น เชื่อถ้อยคำของภรรยา จึงกล่าวกะมารดาว่า ท่านจงไปจากที่นี้ จงอยู่ในที่ตามแต่ท่านจะชอบใจ ฯ มารดานั้นร้องไห้ ออกจากบ้านนั้นไปอาศัยสกุลมั่งคั่งแห่งหนึ่ง ทำการจ้างเลี้ยงชีวิตโดยลำบาก ฯ ก็

ในกาลเมื่อมารดาของบุรุษนั้น ออกจากบ้าน หญิงสใภ้มีครรภ ต่อมาก็คลอดบุตร จึงพูดกะผัวว่า เมื่อแม่ของท่านอยู่เรือนฉันไม่ได้บุตร บัดนี้ฉันได้บุตรแล้ว ท่านจงทราบความที่แม่ของท่านเป็นกาฬกัณณี ด้วยเหตุนี้ ฯ  ฝ่ายนางกัจจานีได้สดับข่าวว่า ในกาลเมื่อเราถูกคร่าออกจากบ้าน หญิงสใภ้ได้บุตร  จึงคิดว่า ธรรมคือความยำเกรงต่อผู้ใหญ่ และธรรมคือสุจริต ๓ ในโลก จักตายเสียแน่แล้ว ก็ถ้าว่าธรรมยังไม่ตายไซ้ บุตรพึงตีฉุดคร่ามารดาจะหาได้บุตรไม่ จะหาเปนอยู่เปนสุขไม่ เราจักให้ภัตตาหารสำหรับคนตายแก่ธรรม คิดฉนี้แล้ว ไปสู่สุสานะ เอากระโหลกศีรษะคน ๓ ศีรษะทำก้อนเซ่า แล้วติดไฟ ปรารภซาวเข้าสาร ฯ  

ขณะนั้น ท้าวสักกะเทวราชทรงพิจารณาดูโลก เห็นนางกัจจานีถึงความทุกข์ ใคร่จะให้ภัตต์สำหรับคนตายแก่ธรรม ด้วยสำคัญว่า ธรรมตายแล้ว จึงจำแลงเพศเปนพราหมณ์เข้าไปหานางกล่าวว่า ธรรมไม่ตาย แล้วท้าวเธอสถิตในอากาศกล่าวว่า กัจจานี ท่านอย่ากลัวเลย ทั้งบุตรทั้งนัดดาทั้งสใภ้ของท่าน จักมาพาท่านกลับไปบ้านด้วยอานุภาพแห่งเรา ตรัสฉนี้แล้วกลับไปเทวสถานของพระองค์ ฯ  ฝ่ายชนทั้ง ๓ มีบุตรเปนต้น ระลึกถึงคุณของนางกัจจานี ก็พากันเดินทางไปสู่สุสานะ พบนางในรวางทาง จึงหมอบลงแทบเท้าทั้ง ๒ ให้นางงดโทษ แล้วพาไปสู่เรือน  ตั้งแต่นั้นต่างคนอยู่พร้อมเพรียงกันเปนปรกติ ฯ


http://www.dmc.tv/images/dhamma_for_people/suwannasam/06/suwannasam06-06.jpg
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
    เรื่องดาบสพี่น้องสองรูปฯ
 
ในอดีตกาล มีฤษีพี่น้อง ๒ รูป พี่ชื่อโสณบัณฑิต น้องชื่อนันทบัณฑิต เลี้ยงมารดาบิดาอาศัยอยู่ณหิมวันตประเทศฯ พี่ชายไปสู่ที่ไกล  ด้วยความเปนผู้มีอภิญญา ๕  นำผลไม้มีรสหวานมาให้มารดาบิดาภายหลัง ฯ  ฝ่ายน้องนำผลไม้อันใดอันหนึ่งในที่ใกล้มาให้มารดาบิดาก่อน ฯ  แม้พี่ชายห้ามว่า อย่าทำอย่างนี้ ก็หาเชื่อถ้อยคำไม่ ฯ  ลำดับนั้น พี่ชายจึงกล่าวว่า นันทเจ้าเปนผู้ไม่ควรอันใครสั่งสอน ไม่ทำตามคำของบัณฑิต ชื่อว่ามารดาบิดาเป็นภาระของพี่ชายเราผู้เดียวจะเลี้ยงมารดาบิดา เจ้าอย่าอยู่ในที่นี้เลย จงไปในที่อื่น ฯ  นันทดาบสไม่อาจจะรออยู่ จึงเข้าไปสู่บรรณศาลาของตน แลดูกสิณก็ยังฌานและอภิญญาให้บังเกิดในวันนั้น แล้วคิดว่า เราจะพาพระยาร้อยเอ็ดมาขอให้พี่ชายงดโทษ แล้วขอบำรุงปฏิบัติมารดาบิดา คิดฉนี้แล้ว แผลงฤทธิเข้าไปเฝ้าพระเจ้าพาราณสี มีพระนามว่ามโนชะ ทูลว่ารูปจะเอาราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้นถวายพระองค์ด้วยกำลังของรูป  ขอพระองค์เสด็จกรีฑาทัพออกวันนี้ทีเดียว ฯ  พระราชาได้ทรงทำตามดังนั้น ฯ  ถ้าความร้อนมีแก่เสนานันทดาบสก็ทำเงาให้ร่มเย็น ฝนตก ก็ไม่ให้ตกเบื้องบน ห้ามร้อนเย็นและลมได้ ยังเครื่องกีดขวางมีตอไม้เปนต้นในมรรคาให้สูญหาย  ทำทางเดินให้เสมอดุจมณฑลกสิณ ฯ  นันทดาบสลาดท่อนหนังนั่งในอากาศ  อันเสนาแวดล้อมไปสู่แคว้นโกศลก่อน ให้ส่งราชทูตไปสำแดงสุรภาพว่าจะรบกับพวกเราก็รบ  หรือจะอ่อนน้อมยอมเปนไปในอำนาจพวกเราก็ตาม ฯ  พระราชาโกศลกริ้วเสดจออกรบ ฯ  นันทดาบสขึงหนังเสือทำให้ใหญ่ด้วยอิทธิวิสัย รับลูกศรที่ยิงไป ๆ ในรวางเสนาทั้ง ๒ ฝ่าย ฯ  ไม่มีใครถูกลูกศรแม้สักคนหนึ่ง ฯ  ทั้ง ๒ ฝ่าย สิ้นลูกศรแล้วก็หมดอุตสาหะตั้งเฉยอยู่ ฯ  นันทดาบสจึงทูลพระเจ้าโกศลว่า ขออย่าได้ทรงกลัวเลย ราชสมบัติของพระองค์จักคงเปนของพระองค์  พระองค์จงอ่อนน้อมยอมเปนไปในราชอำนาจแห่งพระเจ้ามโนชะ ฯ  พระเจ้าโกศลก็ทรงรับ  แล้วแวดล้อมพระเจ้าพาราณสีไปแคว้นอังคะ ฯ โดยนัยนี้  นันทฤษีเอาราชสมบัติในสกลชมพูทวีปถวายพระเจ้ามโนชะแล้วทำพระราชามโนชะนั้นให้เปนใหญ่กว่าพระราชาร้อยเอ็ดโดยกำหนดกาลนาน ๗ ปี ๗ เดือน กับ ๗ วัน  แล้วพระราชาทั้งปวงเหล่านั้นไปสำนักโสณดาบสผู้พี่ชาย  ให้พระราชาเหล่านั้นเชิญโสณดาบสงดโทษของตนแล้วขอเลี้ยงดูมารดาบิดาตามเคย ฯ  

ฝ่ายพระโสณบัณฑิตบรมโพธิสัตว์มีจิตต์ยินดีกล่าวว่า  บัดนี้เรางดโทษแก่เจ้า เจ้าจักได้ปฏิบัติมารดาหรือบิดาผู้หนึ่ง ฯ  ลำดับนั้น มารดาแห่งดาบสทั้ง ๒ นั้นจึงกล่าวว่า น้องของท่านไม่ได้อยู่นานแล้ว จงบำรุงมารดา ท่านจงบำรุงบิดา ฯ  โพธิสัตวรับคำมารดาแล้วกล่าวว่า นันท ส่วนของพี่ชายเจ้าได้แล้ว เจ้าควรปฏิบัติมารดาโดยความไม่ประมาท เมื่อจะประกาศคุณของมารดา ได้ภาษิต ๒ คาถาในโสณนันทชาดกว่า
      อนุกมฺปกา  ปติฏฺฐา  จ ปุพฺเพ  รสทที  จ  โน  
      เปนต้น ฯ

ความว่า มารดาเปนผู้มีความเอ็นดูเปนที่พึ่ง เปนผู้ให้กษิรรสของตนแก่เราทั้งหลายมาก่อน และเปนมรรคาแห่งโลกสวรรค  มารดาเลือกเจ้า ฯ  มารดาเปนผู้ให้กษิรรสมาก่อน เปนผู้รักษา  ผู้ให้ความดีงามและเปนมรรคาแห่งโลกสวรรค มารดาเลือกเจ้า ฯ  บัดนี้พระโพธิสัตวจะสำแดงว่าบุตรปฏิบัติผิดในมารดาบิดาย่อมถึงความฉิบหายนี้ บุตรปฏิบัติชอบในมารดาบิดาย่อมถึงประโยชน์เกื้อกูลนี้  แก่บริษัทพร้อมด้วยพระราชา จึงได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ว่า
     เอวํ  กิจฺฉาภโต  โปโส  มาตุ  อปริจารโก
     มาตริ  มิจฺฉา  จริตฺวาน  นิรยํ  โส  อุปปชฺชติ
     เปนต้น ฯ

ความว่า  บุทคลอันมารดาประคับประคองมาโดยยากอย่างนี้ หาเปนผู้บำเรอปฏิบัติมารดาไม่  บุทคลนั้นก็ย่อมถึงนรก  เหตุความประพฤติผิดในมารดา ฯ  บุทคลอันบิดาประคับประคอบมาโดยยากอย่างนี้  หาเปนผู้บำเรอปฏิบัติบิดาไม่  บุทคลนั้นย่อมถึงนรก  เหตุความประพฤติผิดในบิดา ฯ  เราได้ฟังมาว่า ทรัพยสมบัติของชนทั้งหลายผู้ใคร่ได้ทรัพย์เกิดขึ้นแล้วย่อมฉิบหายไป  ดังนี้ และว่า บุทคลนั้นย่อมถึงอาการอันฝืดเคือง  ดังนี้ เพราะไม่ปฏิบัติมารดา ฯ  เราได้ฟังมาว่า ทรัพย์สมบัติของชนทั้งหลายผู้ใคร่ได้ทรัพย์เกิดขึ้นแล้ว ย่อมฉิบหายไป  ดังนี้ และว่า บุทคลนั้นย่อมถึงอาการอันฝืดเคือง  ดังนี้ เพราะไม่ปฏิบัติบิดาฯ  สุขนี้ คือความเพลินเพลินทุกเมื่อ ความบันเทิงทุกเมื่อ การหัวเราะและการเล่นทุกเมื่อ อันบุทคลผู้บัณฑิตได้แล้วเพราะปฏิบัติมารดา ฯ สุขนี้ คือความเพลิดเพลินทุกเมื่อ ความบันเทิงทุกเมื่อ การหัวเราะและการเล่นทุกเมื่อ  อันบุทคลผู้บัณฑิตได้แล้วเพราะปฏิบัติบิดา ฯ  ความสงเคราะห์ทั้ง ๔ เหล่านี้ย่อมมีอยู่ในโลก คือ ทาน สิ่งของที่จะพึงให้แก่มารดาบิดา ฯ ปิยวาจา คำที่น่ารักที่จะพึงกล่าวแก่มารดา บิดา ฯ  อัตถจริยา ประโยชน์ที่จะพึงประพฤติด้วยสามารถยังกิจที่เกิดขึ้นให้สำเร็จแก่มารดาบิดา ฯ  สมานัตตตา ความเปนผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลาย คือความยำเกรงในท่านผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลายเช่นมารดาและบิดา  ด้วยสามารถแห่งกิจชอบยิ่ง มีกราบไหว้เปนต้นแก่ท่านเหล่านั้น ผู้ไปแล้วในที่นั้นๆ คือในท่ามกลางบริษัทหรือในที่ลับ ควรที่จะพึงทำ ฯ  สังคหวัตถุเหล่านี้เปรียบเหมือนไม้สลักแห่งรถไปอยู่ฉนั้น ฯ  ก็สังคหวัตถุเหล่านี้ไม่พึงมี มารดาก็จะไม่พึงได้ความนับถือบูชาเพราะเหตุคือบุตร บิดาก็จะไม่พึงได้ความนับถือบูชาเพราะเหตุคือบุตร ฯ  บัณฑิตทั้งหลายย่อมเหนชอบซึ่งสังคหวัตถุเหล่านี้ จึงถึงความเปนผู้ประเสริฐ เปนผู้ที่ควรสรรเสริญ ฯ

พระราชาทั้งหลายพร้อมด้วยบริษัท ได้สดับธรรมเทศนานั้นแล้ว เปนผู้เลื่อมใส อันพระมหาสัตวให้ตั้งอยู่ในปัญศิลแล้วโอวาทว่า พระองค์ท่านทั้งหลายจงเปนผู้ไม่ประมาทในการกุศลมีทานเปนต้น ต่างทรงนมัสการลาพระมหาสัตวกลับไปสู่นครของตน ๆ  ครองราชย์สมบัติโดยยุกติธรรมในที่สุดแห่งพระชนม์ ก็ไปบังเกิดในเทวโลก ฯ  ฝ่ายพระดาบส ๒ รูปพี่น้อง  บำรุงมารดาบิดาตลอดชีวิต ก็ไปบังเกิดในพรหมโลก ฯ  มาตุปิตุอุปัฏฐาน การบำรุงปฏิบัติมารดาและบิดาตามที่พรรนามาแล้ว บัณฑิตย่อมกล่าวว่าเปนมงคล  เพราะอันนำมาซึ่งคุณมีความสรรเสริญเปนต้นในโลกนี้ด้วยประการฉนี้ ฯ  


 บำรุงด้วยสถาน ๕ ฯ

ยังมีนัยอื่นอิกที่จะพึงพรรณนา ฯ ความบำรุง ๕ ประการ ด้วยสามารถภรณะ การเลี้ยง กิจจะกรณะ ช่วยทำกิจ กุลวังสฐปนะ ดำรงวงศ์สกุล ทายัชชารหปฏิปัชชนะ ปฏิบัติกิจวัตรโดยเปนผู้ควรรับทรัพย์มฤดก  ทักขิณานุปปะทานเพิ่มให้ซึ่งทักขิณา ทานสมบัติเครื่องเจริญสุข ชื่อว่าอุปัฏฐานการบำรุง ฯ เหตุนั้น เมื่อสมเดจพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงธรรมแก่บุตรแห่งคฤหบดีชื่อว่าสิงคาล จึงตรัสว่า ปญฺจหิ โข คหปติปุตฺต ฐาเนหิ ปุตฺเตน ปุรตฺถิมา ทิสา มาตาปิตโร ปจฺจุปฏฺฐาตพฺพา  ดูก่อนคฤหบดีบุตร  มารดาบิดาผู้ทิศบุรัตถิมา อันบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ ประการ ด้วยทำในใจว่า ภโต เน ภริสฺสามิ ท่านเลี้ยงเรามาเราจักเลี้ยงท่าน  กิจฺจํ เนสํ กริสฺสามิ  เราจักช่วยทำกิจของท่าน กุลวํสํ ฐเปสฺสามิ  เราจักตั้งไว้ซึ่งวงศ์สกุล ทายชฺชํ ปฏิปชฺชิสฺสามิ  เราจักปฏิบัติซึ่งทรัพย์มฤดก อถ วา ปน เนสํ เปตานํ กาลกตานํ ทกฺขิณํ อนุปฺปทสฺสามิ ก็หรือเมื่อท่านละไปแล้ว ทำกาลกิริยาแล้ว เราจักเพิ่มให้ซึ่งทักขิณา อิเมหิ โข คหปติปุตฺต ปญฺจหิ ฐาเนหิ ปุตฺเตน ปุรตฺถิมา ทิสา มาตาปิตโต ปจฺจุปฏฐาตพฺพา  ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดาผู้ทิศบุรัตถิมา อันบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ ประการเหล่านี้แล ฯ

อธิบายความแห่งพระพุทธภาษิตนั้น ฯ  ความที่มารดาบิดาชื่อว่าทิศบุรัตถิมา เพราะสมกับเหตุ ฯ  จริงอยู่ มารดาบิดานั้นชื่อว่าทิศบุรัตถิมา เพราะความเปนผู้ตั้งอยู่ในเบื้องหน้าของบุตร และเพราะความปรากฏด้วยความเปนผู้มีอุปการ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มารดาบิดาอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งว่าเปนทิศบุรัตถิมา เพราะความเปนผู้มีอุปการมาก่อน ฯ ข้อว่า ท่านเลี้ยงเรามาเราจักเลี้ยงท่าน นั้น คือมารดาบิดาได้เลี้ยงเรามาแล้ว ฯ ก็การเลี้ยงนั้น ย่อมเปนกิจอันมารดาบิดาให้เปนไปแล้ว ด้วยอันนำเข้าไปพร้อมซึ่งเหตุแห่งสุข ด้วยอันนำเสียซึ่งเหตุแห่งทุกข์  จำเดิมแต่เราเกิดมา ฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวเพื่อจะแสดงความข้อนั้นว่า มารดาบิดายังเราให้ดื่มนม ยังมือและเท้าของเราให้เจริญ นำน้ำมูกของเราเสียด้วยปากของท่าน  ให้เราอาบน้ำ ประดับให้เรา ประคับประคองเราแล้ว ฯ  เราจักเลี้ยงมารดาบิดา ทั้ง ๒ ผู้ชราแล้ว  ด้วยกิจมีอันล้างเท้าอาบน้ำ ให้เข้าต้มและเข้าสวยเปนต้น ฯ  

ข้อว่า เราจักทำกิจของท่าน นั้น คือ เราจักไปทำกิจของมารดาบิดาที่เกิดขึ้นแล้วในที่ทั้งหลาย มีราชสกุลเปนต้น  เว้นกิจของเราไว้ก่อน ฯ ข้อว่า เราจักตั้งวงศ์สกุล นั้น คือ ความรักษาพัสดุมีที่นาเปนต้น อันเปนของมารดาบิดา มิให้ฉิบหายย่อมเปนเหตุแห่งความตั้งอยู่สืบมาแห่งวงศ์สกุลของมารดาบิดา  ลำดับวงศ์สกุลของมารดาบิดา  เปนธรรมเนียมอันเรานำสืบมาแล้ว ด้วยอันนำเสียซึ่งมารดาบิดาจากอธรรมิกวงศ์อันเปนไปแล้วโดยความประสงค์ของมารดาบิดาว่า เราจะต้องฆ่าชายผู้หนึ่งเช่นกับตนโดยคุณสมบัติมีสกุลและประเทศเปนต้น  แล้วเอาวลัยมณีที่ผูกคอหรือมือเสีย ดังนี้เปนต้น แล้วให้มารดาบิดาสละความถือนั้นเสีย ให้ตั้งอยู่ในธรรมิกวงศ์อันเปนไปแล้วด้วยอันเว้นจากโทษมีความเบียดเบียฬเปนต้น และด้วยอันไม่ตัดเสียซึ่งทานที่มารดาบิดาเคยให้ ฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวเพื่อจะแสดงความข้อนั้นว่า เมื่อบุตรรักษาทรัพยสมบัติมีไร่นาเลือกสวนที่ดินเงินทองเปนต้น  เปนของแห่งมารดาบิดา มิให้ฉิบหายนำมารดาบิดาเสียจากอธรรมิกวงศ์ให้ดำรงอยู่ในธรรมิกวงศ์ ไม่ตัดทานมีสลากภัตต์เปนต้น  อันวงศ์สกุลนำมาแล้ว ให้คงเปนไปอยู่ จึงชื่อว่าตั้งไว้ซึ่งวงศ์สกุล ฯ ข้อว่า เราจักปฏิบัติทรัพย์มฤดก นั้น คือ บุตรประพฤติเปนไปอยู่โดยเปนผู้สมควรแก่อันได้ทรัพย์มฤดก  ชื่อว่าปฏิบัติทรัพย์มฤดก ฯ  บุตรนอกจากนี้ ไม่ชื่ออย่างนั้น ฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวเพื่อจะแสดงความข้อนั้นว่า มารดาบิดาย่อมตัดทารกผู้ปฏิบัติผิด ไม่ประพฤติเปนไปในโอวาทของตน ว่าไม่ใช่บุตร ฯ ทารกที่ถูกตัดว่ามิใช่บุตรนั้น หาสมควรแก่ทรัพย์มฤดกไม่ ฯ ก็แต่มารดาบิดายกบุตรที่ประพฤติเปนไปในโอวาทให้เปนเจ้าของ ๆ ทรัพยสมบัติแห่งสกุล ฯ

ข้อว่า ก็หรือเมื่อท่านละไปแล้ว ทำกาลกิริยาแล้ว เราจักเพิ่มให้ซึ่งทักขิณา นั้น คือ เราจักเพิ่มให้ซึ่งทานอุทิศให้ส่วนบุญแก่มารดาบิดา  จำเดิมแต่วันที่ท่านทำกาลกิริยาล่วงมาเป็นวันที่ ๓ ฯ ถามว่า การบำเพ็ญทานแก่มารดาบิดาผู้ทำกาลกิริยาแล้วนั้น เพื่อประโยชน์อะไร ฯ แก้ว่า เพื่ออันยังทานนั้นให้ถึงมารดาบิดาฯ ถามว่า ก็ทานนั้นย่อมถึงมารดาบิดาหรือ ฯ แก้ว่า ไม่ควรเราทั้งหลายจะพึงกล่าวแก้ในคำถามนั้น เพราะสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้แล้ว (แก่ชาณุสโสณีพราหมณ์) ฯ



.
    เรื่อง ชาณุสโสณีพราหมณ์ฯ

ได้สดับมาว่า พราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อชาณุสโสณี ไปเฝ้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทูลถามว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายมีนามว่า พราหมณ์ ย่อมให้ทาน ทำบุญที่ควรเชื่อแล้วทำ ด้วยอุทิศว่า ทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้ว ญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้วจงบริโภคทานนี้ดังนี้ ฯ พระโคดมผู้เจริญ ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้วและหรือ ญาติสาโลหิตย่อมบริโภคทานนี้และหรือ ฯ  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตในฐานะ คือโอกาส ย่อมไม่สำเร็จแก่ญาติสาโลหิตในอันไม่ใช่ฐานะ คือไม่ใช่โอกาส ฯ  พราหมณ์ทูลถามว่า พระโคดมผู้เจริญ ฐานะเปนไฉน ไม่ใช่ฐานะเปนไฉนฯ  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ บุทคลบางพวกในโลกนี้ เปนผู้ฆ่าสัตว์ เปนผู้ลักทรัพย์ เปนผู้ประพฤติผิดในกาม เปนผู้กล่าวคำเท็จ เปนผู้กล่าวคำส่อเสียด เปนผู้กล่าวคำหยาบ เปนผู้กล่าวคำโปรยประโยชน์เสีย เปนผู้โลภอยากได้ของเขา เปนผู้ปองร้ายเขา เปนผู้เห็นผิด บุทคลผู้นั้น ทำกาลกิริยาแล้ว ย่อมเกิดในนรก ฯ อาหารของสัตว์นรกเปนอย่างใด บุทคลนั้น ย่อมยังอัตตภาพให้เปนไปในนรกนั้นด้วยอาหารอย่างนั้น บุทคลนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรกนั้นด้วยอาหารอย่างนั้น ฯ ดูก่อนพราหมณ์ ที่เปนที่ทานไม่สำเร็จแก่บุทคลผู้ตั้งอยู่นี้แล เปนไม่ใช่ฐานะ ฯ  อนึ่งบุทคลบางพวกในโลกนี้ เปนผู้ฆ่าสัตว์เปนต้น ฯ บุทคลนั้นทำกาลกิริยาแล้ว ย่อมเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน ฯ อาหารของสัตว์ดิรฉานเปนอย่างใด บุทคลนั้น ย่อมยังอัตตภาพให้เปนไปในกำเนิดดิรัจฉานนั้นด้วยอาหารอย่างนั้น บุทคลนั้น ย่อมตั้งอยู่ในกำเนิดดิรัจฉานนั้นด้วยอาหารนั้น ฯ  ดูก่อนพราหมณ์ ที่เปนที่ทานไม่สำเร็จแก่บุทคลผู้ตั้งอยู่นี้แลเปนไม่ใช่ฐานะ ฯ  อนึ่ง บุทคลบางพวกในโลกนี้ เปนผู้เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติผิดในกาม เว้นจากล่าวคำเท็จ เว้นจากกล่าวคำส่อเสียด เว้นจากกล่าวคำหยาบ เว้นจากกล่าวคำโปรยประโยชน์เสีย ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่ปองร้ายเขา เห็นชอบฯ บุทคลนั้น ทำกาลกิริยาแล้ว ย่อมเกิดในหมู่มนุษย์ ฯ  อาหารของหมู่มนุษย์เปนอย่างใด บุทคลนั้น ย่อมยังอัตตภาพให้เปนไปในหมู่มนุษย์นั้นด้วยอาหารอย่างนั้น  บุทคลนั้น ย่อมตั้งอยู่ในหมู่มนุษย์นั้นด้วยอาหารอย่างนั้น ฯ  ดูก่อนพราหมณ์ ที่เปนที่ทานไม่สำเร็จแก่บุทคลผู้ตั้งอยู่นี้แล เนไม่ใช่ฐานะ ฯ  อนึ่ง บุทคลบางพวกในโลกนี้ เปนผู้เว้นจากฆ่าสัตว์เปนต้น ฯ  บุทคลนั้น ทำกาลกิริยาแล้ว ย่อมเกิดในหมู่เทาวดา ฯ  อาหารของหมู่เทวดาเป็นอย่างใด บุทคลนั้น ย่อมยังอัตตภาพให้เปนไปในหมู่เทวดานั้น ด้วยอาหารอย่างนั้น ฯ บุทคลนั้น ย่อมตั้งอยู่ในหมู่เทวดานั้น ด้วยอาหารอย่างนั้น ฯ ดูก่อนพราหมณ์ ที่เปนที่ทานไม่สำเร็จแก่บุทคลผู้ตั้งอยู่นี้แล  เปนไม่ใช่ฐานะ ฯ ดูก่อนพราหมณ์ ก็บุทคลบางพวกในโลกนี้ เปนผู้ฆ่าสัตว์เปนต้น ฯ  บุทคลนั้น ทำกาลกิริยาแล้ว ย่อมเกิดในเปรตวิสัย ฯ  อาหารของเปรตเปนอย่างใด บุทคลนั้น ก็ย่อมยังอัตตภาพให้เปนไปในเปรตวิสัยนั้นด้วยอาหารอย่างนั้น ฯ  บุทคลนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัยนั้นด้วยอาหารอย่างนั้น ฯ และเหล่ามิตรอมาตย์ ญาติสาโลหิต ให้ทานใดเพื่อบุทคลนั้นแต่มนุษยโลกนี้   บุทคลนั้น ย่อมยังอัตตภาพให้เปนไปในเปรตวิสัยนั้นด้วยทานนั้น  บุทคลนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัยนั้นด้วยทานนั้น ฯ  ดูก่อนพราหมณ์ ที่เปนที่ทานสำเร็จแก่บุทคลผู้ตั้งอยู่นี้แล เปนฐานะ ฯ พราหมณ์ทูลถามว่า พระโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าว่า ญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้วนั้นไม่เกิดในที่นั้น ใครจะบริโภคทานนั้น ฯ  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ ญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้น เปนผู้เกิดในที่นั้น พวกนั้นจะบริโภคทานนั้น ฯ  พราหมณ์ทูลถามต่อไปอีกว่า พระโคดมผู้เจริญ และญาติสาโลหิตผู้ละไปแล้วเหล่าอื่นของทายกนั้น ไม่เกิดในที่นั้น ใครจะบริโภคทานนั้น ฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ที่ว่างจากญาติสาโลหิตโดยกาลยาวนานนี้ ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส (เปนไปไม่ได้)  อนึ่ง ทายกที่จะไม่มีผลไม่มีฯ  ชุณุสโสณีสูตรมาในทสกนิปาตังคุดร ฯ

อธิบายความแห่งสูตรนี้บางแห่ง ฯ กรรมอันเกิดแล้วในนรกนั้น ชื่อว่าเปนอาหารของเหล่าสัตว์นรก ฯ ของกินมีหญ้าและใบไม้เปนต้น เปนอาหารของเหล่าสัตว์ดิรัจฉาน ฯ ของกิน มีข้าวสุกและขนมกุมมาสเปนต้น เปนอาหารของเหล่ามนุษย์ ฯ  ทิพยาหาร มีสุธาโภชน์เปนต้น เปนอาหารของเหล่าเทวดาฯ ของไม่สอาดมีน้ำเขฬะและน้ำมูกเปนต้นเปนอาหารของเหล่าเปรต (และส่วนบุญที่ญาติอุทิศให้ไปจากโลกนี้ ก็จัดเปนอาหารของพวกเปรตอิกส่วนหนึ่ง ซึ่งมีปรากฎในบาลีแล้วนั้น) จริงอยู่ พวกเปรตเหล่าเดียวเปนปรทัตตูปชีวี เปนอยู่อาศัยส่วนบุญที่ผู้อื่นให้ ฯ (โดยปรกติ)  ทานที่บุคลอื่นให้ ย่อมหาสำเร็จแก่ผู้อื่นไม่ ฯ  ทานนั้น ที่ทายกให้เฉพาะบุทคลใด สำเร็จแก่บุทคลนั้นหรือไม่สำเร็จก็ตาม ทายกที่จะไร้ผลหามิได้ ทายกย่อมได้วิบากของทานนั้นแน่แท้ ฯ  ก็ลัทธิของพราหมณ์มีอยู่ว่า ทายกย่อมไม่ได้ผลแห่งทานที่ให้แล้วอย่างนี้ ฯ เพราะฉนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทายกที่จะไม่มีผลไม่มี ฯ

ก็ถ้าว่า ทายกกล่าวว่า ทานนี้จงถึงญาติแห่งเรา ถ้าเปรตเหล่านั้นมาอนุโมทนาในที่นั้น ทานนั้นก็ย่อมถึงเปรตเหล่านั้น และเปรตเหล่านั้นก็ย่อมได้สมบัติ ฯ  เปรตผู้เปนพระญาติแต่ปางก่อนของพระเจ้าพิมพิสาร เปนนิทัศนะอุทาหรณ์ในอันเปรตได้สมบัตินั้น ฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ธันวาคม 2556 13:15:13 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5798


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 04 ธันวาคม 2556 15:26:42 »

.
    เรื่อง พระญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ฯ

ได้ยินว่า ในกัลปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัลปนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามปุสสะ บังเกิดในกาสิกนคร ฯ พระพุทธบิดามีพระนามว่าพระเจ้าชยเสนะ พระเทวีพระนามว่าสิริมาเปนพระพุทธมารดา พระราชบุตร ๓ องค์ ต่างพระมารดาเปนพระกนิฐภาดาของพระพุทธองค์ ฯ  พระราชบุตรทั้ง ๓ องค์นั้น มีเจ้าพนักงานรักษาคลัง ๑ เก็บส่วยในชนบท ๑ ฯ  กาลนั้นพระราชบุตรทั้ง ๓ ทรงใคร่จะบำรุงสมเด็จพระศาสดา ผู้เปนพระเชฐภาดาของพระองค์ตลอดไตรมาศ จึงทูลขอพระราชานุญาตแด่พระราชบิดา ฯ บรมกษัตริย์ทรงอนุญาต ฯ พระราชบุตรทั้ง ๓ นั้น จึงตรัสสั่งเจ้าพนักงานผู้เก็บส่วยในชนบทของพระองค์ ให้สร้างวิหารถวายสมเด็จพระศาสดา เสร็จแล้วให้ทูล ฯ เจ้าพนักงานก็ทำตามรับสั่ง และให้กราบทูลให้ทรงทราบ ฯ

พระราชบุตรทั้ง ๓ จึงนำเสด็จสมเด็จพระศาสดาไปสู่ชนบทของพระองค์แล้วถวายวิหารแด่สมเด็จพระศาสดา แล้วตรัสสั่งเจ้าพนักงานรักษาคลังและเก็บส่วยว่า เจ้าจงดูแลทานวัตรเท่านี้แล้วจัดของเคี้ยวของกินทั้งปวง ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุ ๙ หมื่นเปนพุทธบริวาร และเราพร้อมทั้งบริวารทุกๆ วัน ด้วยว่าตั้งแต่นี้ไปเราจักไม่พูดอะไรๆ ตรัสสั่งดังนี้แล้วพาบริวารพัน ๑ สมาทานศิล ๑๐ นุ่งผ้ากาสายะ ประทับอยู่ในวิหารตลอดไตรมาศ ฯ จำเดิมแต่นั้น เจ้าพนักงานรักษาคลังและเก็บส่วย ผลัดกันดูแลทานวัตร ให้ทานตามพระราชบุตรทั้ง ๓ รับสั่งไว้ ฯ เจ้าพนักงานผู้รักษาคลังพร้อมด้วยภรรยาเปนผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ได้ให้ทานโดยเคารพ ฯ  ฝ่ายเจ้าพนักงานผู้เก็บส่วยพร้อมด้วยชาวชนบท ๑๑ นหุต ก็ได้ให้ทานโดยเคารพเหมือนกัน ฯ  ก็ชาวชนบทบางพวกราว ๘ หมื่น ๔ พันเปนผู้มีจิตต์อันอกุศลเบียดเบียฬแล้ว ได้ทำอันตรายแก่ทาน กินไทยธรรมเสียเองบ้าง ให้แก่บุตรทั้งหลายเสียบ้าง เผาโรงครัวเสียบ้าง ฯ ชนเหล่านั้นเกิดในนรก ฯ  พระราชบุตรพร้อมด้วยบริวารและเจ้าพนักงานรักษาคลังและเก็บส่วย บังเกิดในสวรรค์ ฯ เมื่อคณะทั้ง ๒ นั้น จุติจากสวรรค์แล้วเกิดในสวรรค์ จุติจากนรกแล้วเกิดในนรก

กาลล่วงไป ๙๒ กัลป ฯ  ลำดับนั้นถึงกัลปนี้ ในพุทธกาลแห่งสมเด็จพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เหล่าชนที่มีจิตต์อันอกุศลเบียดเบียฬนั้นบังเกิดในหมู่เปรต ฯ  กาลนั้นมนุษย์ทั้งหลายให้ทานอุทิศเพื่อประโยชน์แก่เหล่าเปรตผู้เปนญาติของตนว่า ทานนี้จงถึงหมู่ญาติของเราทั้งหลาย ฯ เปรตเหล่านั้นก็ย่อมได้สมบัติ ฯ  ฝ่ายเปรตเหล่านี้ (คือพวกที่เปนชาวชนบทมีจิตต์อันอกุศลเบียดเบียฬนั้น) เห็นเปรตเหล่านั้นได้สมบัตินั้น จึงทูลถามสมเด็จพระกัสสปพุทธเจ้าว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงได้สมบัติอย่างนี้บ้างหรือ ฯ  สมเด็จพระสัพพัญญูจึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายยังไม่ได้ในบัดนี้ ต่อในพุทธกาลแห่งพระโคดมพุทธเจ้า ในกาลข้างหน้า ญาติของท่านทั้งหลาย จักเปนพระราชาทรงนามว่าพิมพิสาร พระองค์จักถวายทานแด่พระพุทธเจ้านั้น แล้วทรงอุทิศผลถึงท่านทั้งหลาย ๆ จักได้สมบัติอย่างนี้

ในกาลนั้น ฯ เปรตเหล่านั้นหวังพระเจ้าพิมพิสาร ยังกาลให้สิ้นไปพุทธันดรหนึ่ง ฯ ในกาลเปนที่บังเกิดแห่งพระพุทธเจ้านี้ พระราชบุตร ๓ องค์พร้อมด้วยบริวารจุติจากเทวโลก บังเกิดในสกุลพราหมณ์ณมคธราษฎร์ เปนชฎิลมีอุรุเวลกัสสปเปนต้น ฯ เจ้าพนักงานรักษาคลัง ได้เกิดมาเปนมหาเศรษฐีชื่อวิสาขะ ภรรยาของเศรษฐีนั้น เปนธิดาเศรษฐีชื่อนางธรรมทินนา ฝ่ายเจ้าพนักงานผู้เก็บส่วย ได้มาเกิดเปนพระราชามีพระนามว่าพระเจ้าพิมพิสาร ฯ บริษัททั้งปวง ได้มาเกิดเปนราชบริวาร ฯ ภายหลังสมเด็จพระศาสดาตรัสรู้สรรพัญญุตญาณแล้ว เสด็จถึงลัฏฐิวนุทยานโดยลำดับ ยังพระเจ้าพิมพิสารผู้เสด็จไปเฝ้าวันนั้นณลัฏฐิวนุทยานนั้น พร้อมด้วยพราหมณ์คฤหบดีชาวมคธ ๑๑ นหุต ให้ตั้งอยู่เฉพาะในโสดาปัตติผล ในวันที่ ๒ ได้ทรงรับมหาทานในพระราชนิเวศน์ฯ ซึ่งพระราชาเชิญเสด็จแต่วันก่อน ฯ เปรตเหล่านั้น ยืนล้อมด้วยความหวังว่า บัดนี้พระราชาจักทรงอุทิศทานแก่พวกเรา ฯ  พระเจ้าพิมพิสารถวายทานแล้ว ทรงคิดถึงสถานที่ตั้งวิหารแห่งสมเด็จพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงเสด็จอยู่ที่ไหนหนอ จึงหาได้ทรงอุทิศทานนั้นแก่ใครไม่ ฯ  ฝูงเปรตหมดความหวัง จึงทำเสียงแปลกน่ากลัวเหลือเกินใกล้พระราชนิเวศน์ในเวลาราตรี ฯ

ครั้นสว่างแล้ว พระราชาเสด็จไปเฝ้าสมเด็จพระโลกนารถทูลถามว่า ข้าพระองค์ได้สดับเสียงอย่างนี้ เหตุร้ายดีจักมีแก่ข้าพระองค์อย่างไรบ้าง ฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พระองค์อย่าทรงกลัวเลย เหตุชั่วหน่อยหนึ่งจักไม่มีแด่พระองค์ แล้วตรัสเนื้อความทั้งปวงให้พระราชาทรงทราบ ฯ พระราชาทูลถามว่า ก็บัดนี้ข้าพระองค์จะถวายทาน เปรตเหล่านั้นจะพึงได้รับหรือ ฯ  สมเด็จพระศาสดาตรัสตอบว่า ถ้าพระองค์ถวายทานบัดนี้ เปรตเหล่านั้นก็จะพึงได้รับ ฯ บรมกษัตริย์จึงทูลอาราธนาให้เสด็จรับภิกษาหารวันนี้ แล้วเสด็จกลับพระราชนิเวศน์รับสั่งให้จัดทาน แล้วให้กราบทูลกาลเสด็จ ฯ สมเด็จพระโลกนารถพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์แวดล้อมเปนพุทธบริวาร เสด็จประทับณพระราชนิเวศน์ ฯ ฝ่ายพวกเปรตเหล่านั้น คิดกันว่า เออเราจะพึงได้สมบัติในวันนี้ จึงพากันไปสู่พระราชนิเวศน์ของพระญาติในปางก่อน ด้วยสำคัญดุจเรือนของตน แล้วได้ยืนอยู่ในที่ทั้งหลาย มีภายนอกฝาพระราชฐานเปนต้น ฯ ฝูงเปรตเหล่านั้น เสวยซึ่งผลของอิสสาและมัจฉริยะ บางพวกมีหนวดและผมยาว หน้าดำ มีอวัยวะน้อยใหญ่ซึ่งติดต่อก็หย่อนเคลื่อนคลาดและผอมหยาบดำ เช่นกับต้นตาลอันไฟป่าตั้งอยู่ในที่นั้นๆ ไหม้แล้ว บางพวกมีสรีระอันเปลวไฟซึ่งลุกขึ้นแต่ท้องด้วยความสีแห่งไม้สีไฟ กล่าวคือความอยากน้ำ วู่ออกจากปากเผาทั่วไป บางพวกไม่ได้ซึ่งรสอื่นนอกจากรสของความอยากข้าวและความอยากน้ำ เพราะความเป็นผู้แม้ได้ซึ่งน้ำดื่มและโภชนะไม่สามารถเพื่อจะกินให้เพียงพอ เพราะความที่แห่งตนเปนผู้มีช่องคอมีปลายเข็มเปนอนุมาณ และความที่แห่งตนเปนผู้มีท้องเช่นกับอาการแห่งภูเขา บางพวกได้แล้วซึ่งของไม่สอาด มีโลหิต ปุพโพ ไขข้อเปนต้น อันไหลออกจากปากแผลฝีและต่อมอันแตกแล้ว แห่งกันและกัน หรือแห่งสัตว์เหล่าอื่น ลิ้มเลียอยู่ซึ่งของไม่สอาดนั้น ดุจน้ำอมฤตฯ ฝูงเปรตทั้งปวงมีรูปแปลกไม่น่าดู และมีสรีระน่านำความน่ากลัวมา ได้ปรากฎแด่บรมขัติยาธิบดี ด้วยประการใด สมเด็จพระทศพลทรงทำด้วยประการนั้น ด้วยสามารถพุทธอิทธาภิสังขาร ฯ  

พอพระราชาถวายทักขิโณทก ทรงอุทิศว่า อุทกนี้ จงถึงหมู่ญาติของเราฯ ขณะนั้นสระโบกขรณีมุงดาดไปด้วยประทุมชาติ ก็บังเกิดแก่ฝูงเปรตเหล่านั้น ๆ ก็อาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้นมีความกระวนกระวาย ความลำบาก ความกระหายสงบ มีผิวพรรณดังทอง ฯ  พระราชาถวายยาคูของเคี้ยวของฉันแล้วทรงอุทิศถึง ฯ  ขณะนั้น ยาคูของเคี้ยวของบริโภคเปนทิพย์ ก็บังเกิดแก่ฝูงเปรตเหล่านั้น ๆ ก็บริโภคเครื่องทิพย์นั้น ก็เปนผู้มีอินทรีย์เต็มบริบูรณ์ ฯ พระราชาถวายผ้าและเสนาศนะแล้วทรงอุทิศถึง ฯ อลังการวิธี มีผ้าและยานปราสาทเครื่องลาดที่นอนเปนต้น แต่ล้วนเปนทิพย์ก็บังเกิดแก่ฝูงเปรตเหล่านั้น ฯ ก็สมบัติของฝูงเปรตเหล่านั้นปรากฎอย่างใด สมเด็จพระทศพลก็ทรงอธิษฐานอย่างนั้น ฯ  พระเจ้าพิมพิสารได้ทอดพระเนตรเห็นสมบัตินั้น ก็ทรงโสมนัสเหลือเกิน



http://ตายแล้วไปไหน.dmc.tv/images/OtherBB/pretP1.jpg
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
  เรื่อง ติโรกุฑฑสูตร ฯ

ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เสวยแล้วทรงทำอนุโมทนาแด่พระเจ้าพิมพิสาร เมื่อจะทรงแสดงความที่ฝูงเปรตมายืนในที่นั้น ๆ มีภายนอกฝาพระราชสถานเปนต้น ได้ตรัสคาต้นว่า ฯ
     ติโรกุฑฺเฑสุ   ติฏฺฐนฺติ  สนฺธิสึฆาฏเกสุ จ
     ทฺวารพาหาสุ  ติฏฐนฺติ  อาคนฺตุวาน สกํ ฆรํ ฯ
มีความว่า ฝูงเปรตมาสู่พระราชสถาน ด้วยมนสิการว่าเรือนของตน ยืนอยู่ใกล้ภายนอกฝาพระราชนิเวศน์บ้างณทาง ๔ แพร่งและทาง ๓ แพร่งบ้าง ใกล้บานประตูพระนครและบานพระทวารพระราชนิเวศน์บ้าง ฯ

บัดนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงแสดงความที่ฝูงเปรตนั้นๆ หวังต่อเหล่าญาติว่า จะพึงให้วัตถุอะไรๆ เฉพาะเราทั้งหลายบ้าง ดังนี้ จึงเที่ยวคอยอยู่ ข้าวและน้ำเปนอันมากก็มีอยู่ แต่ญาติคนหนึ่งหาระลึกได้ไม่ เพราะเหตุแห่งกรรมซึ่งอำนวยผลเผ็ดร้อนยิ่ง อันฝูงเปรตเหล่านั้นทำแล้ว จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า
     ปหุเต อนฺนปานมฺหิ ขชฺชโภชฺเช อุปฏฐิเต
     น เตสํ โกจิ สรติ สตฺตานํ กมฺมปจฺจยาฯ
มีความว่า ครั้นเมื่อข้าวและน้ำ ของเคี้ยวและของบริโภค เปนอันมากตั้งอยู่ใกล้แล้ว (จัดไว้แล้ว) บุทคลผู้หนึ่ง (คือมารดาบิดาหรือบุตร) ของสัตว์ทั้งหลายซึ่งเกิดในเปรตวิสัยเหล่านั้น หาระลึกได้ไม่เพราะกรรมเปนปัจจัย (เพราะกรรมคือความตระหนี่มีห้ามข้าวและน้ำเปนต้น ที่ตนกระทำไว้แล้วเปนเหตุการณ์) ฯ

บัดนี้สมเด็จพระศาสดาจารย์จะทรงสรรเสริญทานที่พระราชาทรงอุทิศบริจาคแก่พระญาติที่ละไปแล้ว จึงตรัสคาถาที่ ๓ ว่า
     เอวํ ททนฺติ ญาตีนํ เย โหนฺติ อนุกมฺปกา
     สุจึ ปณีตํ กาเลน  กปฺปิยํ ปานโภชนํ ฯ
มีความว่า ทานอันพระองค์ทรงบริจาคแล้ว ฉันใด บุตรธิดาพี่น้องชาย เปนผู้ไหวตาม ย่อมให้ (ไทยธรรมเปนต้นว่า) น้ำดื่มและโภชนะ อันสอาดประณีต เปนของควรเพื่อญาติทั้งหลาย (ผู้บังเกิดในเปรตวิสัย) โดยกาล (คือในกาลแห่งฝูงเปรตมายืนณที่มีภายนอกฝาเรือนเปนต้น หรือในกาลควรที่พระอริยะเจ้าผู้ทักขิเณยยะบุทคลบริโภค) ฉันนั้น ฯ

บัดนี้พระพุทธองค์จะทรงแสดงทานอันพระราชาทรงบริจาค เปนอันทรงบริจาคแก่ฝูงเปรตเหล่านั้น จึงตรัสกึ่งเบื้องต้นแห่งคาถาที่ ๔ ว่า
     อิทํ โว ญาตีนํ โหตุ สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย ฯ
มีความว่า ทานนี้จนถึงญาติทั้งหลาย (ที่เกิดในเปรตวิสัย) ขอญาติเหล่านั้นจนถึงความสุข (คือเสวยผลแห่งทานนี้ จงมีความสำราญ) ฯ

บัดนี้สมเด็จพระชินสีห์จะทรงสำแดงความที่เหล่าญาติแม้จะกล่าวว่า ทานนี้จงถึงหมู่ญาติของเรา ดังนี้ กรรมอันคนอื่นกระทำแล้ว ย่อมหาให้ผลแก่คนอื่นไม่ ก็แต่วัตถุอันเหล่าญาติอุทิศให้อย่างนั้น ย่อมเปนปัจจัยแห่งกุศลกรรมของฝูงเปรต เพราะฉะนั้น เมื่อวัตถุอันเหล่าญาติอุทิศให้แก่ฝูงเปรต กุศลกรรมย่อมเปนผลเกิดในขณะนั้น จึงตรัสกึ่งเบื้องปลายแห่งคาถาที่ ๔ และกึ่งเบื้องต้นแห่งคาถาที่ครบ ๕ ว่า
     เต จ ตตฺถ สมาคนฺตฺวา  ญาติเปตา สมาคตา
     ปหุเต อนฺนปานมฺหิ   สกฺกจฺจํ อนุโมทเร ฯ
มีความว่า ก็พวกญาติผู้ละไปแล้วเหล่านั้น พร้อมกันมาในสถานที่ให้ทานนั้น ประชุมกัน (เพื่อประโยชน์ว่า ญาติเหล่านี้ของเรา จักอุทิศทานเพื่อประโยชน์แก่เรา) จึงอนุโมทนา (เกิดปิติโสมนัส) รับโดยเคารพในอันนะและปานะ (เปนอันมากที่เหล่าญาติอุทิศให้แก่ตน) ฯ

บัดนี้สมเด็จพระมหามุนีผู้มีพระภาค จะทรงแสดงอาการของฝูงเปรตผู้เสวยผลแห่งกุศลกรรมที่บังเกิดอาศัยพวกญาติได้ชมเชยปรารภพวกญาติ จึงตรัสกึ่งเบื้องปลายแห่งคาถาที่ครบ ๕ และกึ่งเบื้องต้นแห่งคาถาที่ครบ ๖ ว่า
     จิรํ ชีวนฺตุ โน ญาตี     เยสํ เหตุ ลภามเส
     อมฺหากญฺจ กตา ปูชา     ทายกา จ อนิปฺผลา ฯ
มีความว่า เราทั้งหลายได้สมบัติเช่นนี้ เพราะเหตุแห่งญาติเหล่าใด ญาติเหล่านั้นของเราทั้งหลายจงเปนอยู่นาน บูชาอันทายกทั้งหลายทำแล้วแก่เราทั้งหลาย และทายกทั้งหลายก็หาไร้ผลไม่ ฯ

อธิบายเฉพาะข้อว่า เราทั้งหลายได้สมบัติเช่นนี้ เพราะเหตุแห่งญาติเหล่าใด ฯ คือ ทักขิณาทาน ย่อมเปนผลบังเกิดขณะนั้น ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ ฝูงเปรตรับอนุโมทนา ๑ ทายกอุทิศให้ ๑ พร้อมด้วยทักขิเณยยบุทคล ๑ ฯ ทายกเปนเหตุพิเศษ เพราฉนั้น ฝูงเปรตจึงกล่าวดังนั้น ฯ

บัดนี้สมเด็จพระศาสดา จะทรงแสดงความที่สัตว์เกิดในเปรตวิสัย ไม่มีชีวิตุบายอย่างอื่น มีการไถและเลี้ยงโคเปนต้น เปนเหตุได้สมบัติในเปรตวิสัยนั้น และความที่ สัตว์เกิดในเปรตวิสัย ยังอัตตภาพให้เปนไปด้วยทานที่ญาติให้จากโลกนี้ จึงตรัสคาถาที่ ๗ กับกึ่งเบื้องปลายของคาถาที่ครบ ๖ ว่า
     น หิ ตตฺถ กสิ อตฺถิ     โครกฺเขตฺถ น  วิชฺชติ
     วณิชฺชา ตาทิสึ นตฺถิ     หิรญฺเญน กยากยํ
     อิโต ทินฺเนน ยาเปนฺติ     เปตา กาลกตา ตหึ ฯ
มีความว่า การไถ การรักษาโค การค้าขายอันจะพึงได้สมบัติ หรือการแลกเปลี่ยนด้วยเงิน ในเปรตวิสัยนั้นไม่มีเลย บุทคลทำกาลกิริยาเกิดในเปรตวิสัย ย่อมยังอัตตภาพให้เปนไปในเปรตวิสัยนั้น ด้วยทานที่ญาติให้จากโลกนี้ฯ

บัดนี้สมเด็จพระโลกนารถ จะทรงประกาศข้อความตามที่ตรัสแล้ว ด้วยอุปมา ๒ ข้อ จึงตรัสคาถาที่ ๘ ที่ ๙ ว่า
     อุณฺณเต อุทกํ วุฏฺฐํ      ยถา นินฺนํ ปวตฺตติ
     เอวเมว อิโต ทินฺนํ     เปตานํ อุปกปฺปติ
     ยถา วาริวหา ปูรา     ปริปูเรนฺติ สาครํ
     เอวเมว อิโต ทินฺนํ     เปตานํ อุปกปฺปติ ฯ
มีความว่า น้ำในที่ดอนอันฝนตกทับแล้ว ย่อมไหลไปสู่ที่หลุ่ม ฉันใด ทานอันทายกให้แล้วแต่มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้น ฯ  แม่น้ำเต็มด้วยน้ำอันไหลมาแต่ที่นั้น ๆ ย่อมยังทเลให้เต็มเปี่ยม ฉันใด ทานอันทายกให้แล้วแต่มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้น ฯ

เมื่อสมเด็จพระโลกุตมาจารย์จะทรงแสดงว่า ฝูงเปรตอันความอยากครอบงำแล้วว่า พวกเราจักได้วัตถุหน่อยหนึ่งแต่มนุษยโลกนี้ จึงมาสู่เรือนแห่งญาติทั้งหลาย ไม่อาจเพื่อจะขอด้วยคำว่า ท่านทั้งหลายจงให้วัตถุชื่อนี้ แก่เราทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น กุลบุตรเมื่อมาระลึกถึงวัตถุเครื่องระลึกเหล่านี้ ของฝูงเปรตเหล่านั้น ก็ควรให้ทักขิณาทานเมื่อจะทรงแสดงฉนี้จึงตรัสคาถาที่ ๑๐ ว่า
     อทาสิ เม อกาสิ เม     ญาติ มิตฺตา สขา จ เม
     เปตานํ ทกฺขิณํ ทชฺชา     ปุพฺเพ กตมนุสฺสรํ ฯ
มีความว่า กุลบุตรเมื่อมาระลึกถึงอุปการอันท่านได้ทำไว้แล้วในกาลก่อนว่า ผู้นี้ได้ให้สิ่งนี้แก่เรา ผู้นี้ได้ทำกิจนี้ของเรา ผู้นี้เปนญาติ เปนมิตร เป็นสหายของเรา ฉนี้แล้ว  ก็ควรให้ทักขิณาทานแก่ท่านผู้ละไปแล้ว ฯ

สมเด็จพระทศพลผู้ทรงพระภาค เมื่อจะทรงแสดงว่า ก็ชนเหล่าใด ร้องไห้ เสร้าโศรก เปนอย่างยิ่งเพราะญาติตาย ไม่ให้วัตถุหน่อยหนึ่งเพื่อประโยชน์แก่ญาติผู้ตายเหล่านั้น  การร้องไห้ เสร้าโศรก ของชนเหล่านั้น เผาตนอย่างเดียว หายังประโยชน์หน่อยหนึ่งให้สำเร็จแก่ญาติผู้ตายแล้วเหล่านั้นไม่ เมื่อจะทรงแสดงอย่างนี้  จึงตรัสคาถาที่ ๑๑ ว่า
     น หิ รุณฺณํ วา โสโก วา    ยา วณฺณา ปริเทวนา
     น ตํ เปตานมตฺถาย      เอวํ ติฏฺฐนฺติ ญาติโย ฯ
มีความว่า การร้องไห้ เสร้าโศรก หรือความร่ำไรรำพรรณ บุทคลไม่ควรทำแท้ เพราะว่าการร้องไห้เปนต้นนั้น ย่อมไม่เปนประโยชน์แก่คนตาย ญาติทั้งหลายก็ย่อมดำรงอยู่อย่างนั้น (คือหารู้ไม่) ฯ

สมเด็จพระอนาวรณญาณ ทรงแสดงการร้องไห้เปนต้น เปนของหาประโยชน์มิได้ อย่างนี้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงความที่ทักขิณาทาน อันพระราชาพิมพิสารถวายเปนของมีประโยชน์ จึงตรัสคาถาที่ ๑๒ ว่า
     อยญฺจ โข ทกฺขิณา ทินฺนา     สํฆมฺหิ สุปติฏฺฐิตา
     ทีฆรตฺตํ หิตายสฺส    ฐานโส อุปกปฺปติ ฯ
มีความว่า อันทักขิณานุประทานนี้แล ที่พระองค์ทรงบริจาคแล้ว ตั้งไว้เฉพาะแล้วในสงฆ์ ย่อมสำเร็จเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้ตายนั้น ตลอดกาลนาน โดยฐานะ (คือโดยทันที นัยหนึ่งว่าโดยที่ ๆ เปรตเกิด ต่างโดยประเภทแห่งเปรตมีขุปปิปาสิกวันตะเปรต ปรทัตตูปชีวิเปรต แลนิชฌามตัณหิกเปรตเปนต้น) ฯ

บัดนี้สมเด็จพระบรมศาสดา จะทรงสรรเสริญพระเจ้าพิมพิสารโดยพระคุณตามเปนจริง จึงตรัสคาถาที่สุดว่า
     โส ญาติธมฺโม จ อยํ นิทสฺสิโต
     เปตานปูชา จ กตา อุฬารา
     พลญฺจ ภิกฺขูนมนุปฺปทินฺนํ
     ตุเมฺหหิ ปุญฺญํ ปสุตํ อนปฺปกํ ฯ
มีความว่า ญาติธรรม คือการกระทำกิจอันญาติพึงกระทำแก่ญาติ นี้ นั้น  อันพระองค์ได้ทรงแสดงให้ปรากฎแก่ประชุมชนแล้ว ด้วยการที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทักขิณานุประทานนี้ บูชาอันยิ่งแก่เหล่าพระญาติผู้วายชนม์ พระองค์ก็ได้ทรงกระทำแล้ว ด้วยการที่พระองค์ยังพระญาติเหล่านั้นให้ได้เสวยทิพยสมบัติ กำลังกายของภิกษุทั้งหลาย พระองค์ก็ได้ทรงเพิ่มประทานแล้ว ด้วยการที่พระองค์ยังภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเปนประมุข ให้อิ่มหนำด้วยภัตตบริจาคและปานทานบุญราศีไม่น้อย พระองค์ก็ได้ทรงขวนขวายสร้างสมแล้ว ด้วยการที่พระองค์ยังจาคเจตนามีคุณคือทรงเอ็นดูเปนบริวาร ให้บังเกิด ฯ ในกาลเมื่อจบพระธรรมเทศนา ประชุมชนราว ๘ หมื่น ๔ พัน สลดจิตต์ เพระสังวรรณนา อาทีนพโทษแห่งอันบังเกิดในเปรตวิสัยตั้งจิตต์โดยแยบคาย ก็ได้บรรลุธรรมาภิสมัยตามอุปนิสัยของตน ๆ ฯ วันที่สองแต่วันนั้น สมเด็จพระชินสีห์สัมพุทธเจ้า ได้ตรัสติโตกุฑฑเทศนานี้แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอีกถึง ๗ วัน ฯ  ธรรมาภิสมัย ความตรัสรู้ธรรมก็ได้มีเช่นนั้นอีก ฯ  คาถา ๑๓ คาถานี้ โบราณาจารย์ร้อยกรองไว้โดยชื่อว่า ติโรกุฑฑเปตวัตภุ ในเปตวัตถุ โดยชื่อว่า ติโรกุฑฑสูตร ในขุททกบาฐ ฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาค ตรัสในติโรกุฑฑสูตรนี้และสิงคาลสูตรว่า บุทคลควรให้ทานอุทิศต่อญาติผู้ตาย ด้วยประการฉนี้ ฯ ก็แต่บุทคลจะเปนญาติหรือมิใช่ญาติก็ตาม บุทคลผู้ต้องการบุญควรบำเพ็ญอุทิศต่อผู้ใดผู้หนึ่ง เช่นมหาเศรษฐีชื่ออนาถบิณฑิกะได้บำเพ็ญมาแล้ว ฯ



  เรื่อง ตุ๊กตาแป้ง ฯ

ได้ยินว่า นางนมของนางทาริกานัดาของอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ทำตุ๊กตาด้วยแป้งให้นางทาริกาเล่น ฯ นางทาริกาสำคัญในตุ๊กตาแป้งนั้นว่าธิดาของตน ฯ วันหนึ่งนางเล่นตุ๊กตาแป้งนั้น เผลอไป ตุ๊กตาแป้งนั้นตกแตก ฯ นางก็ร้องไห้ด้วยเสียใจว่า ธิดาของเราตายแล้ว ฯ เวลานั้น สมเด็จพระศาสดาเสด็จนั่งในเรือนของเศรษฐีนั้น ฯ ส่วนมหาเศรษฐีก็นั่งอยู่ที่ใกล้พระพุทธองค์ ฯ นางนมพานางทาริกาผู้ร้องไห้ไปหามหาเศรษฐี แจ้งความนั้นให้ทราบ ฯ อนาถบิณฑิกเศรษฐีรับนัดดาให้นั่งบนตัก ให้นางสำคัญรู้ว่า จะให้ทานเพื่อธิดาของเจ้า แล้วกราบทูลความนั้นแด่พระพุทธองค์ แล้วเชิญเสด็จพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ประมาณห้าร้อยเปนพุทธบริวาร ทรงรับภิกษาหารในวันพรุ่ง ฯ สมเด็จพระโลกนารถเจ้าก็ทรงรับ วันที่ ๒ เสด็จไปเรือนแห่งเศรษฐี เสวยแล้วเมื่อจะทรงทำอนุโมทนา จึงทรงภาษิตคาถาเหล่านี้ว่า ยํ กิญฺจารมฺมณํ กตฺวา ทชฺชา ทานมมจฺฉรี เปนต้น ฯ

ความว่า บุทคลทำการอันใดอันหนึ่งมีการมงคลเปนต้นเปนอารมณ์แล้ว ก็พึงเปนผู้ไม่มีมัจฉริยะให้ทาน ฯ บุทคลมาปรารภถึงผู้ตายมีในก่อน หรือเทวดาผู้สิงสถิตในที่อยู่หรือท้าวมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลก ผู้มียศ คือ ท้าวกุเวร ธตรฐ วิรูปักษ์ วิรุฬหก ก็พึงเปนผู้ไม่มีมัจฉริยะบริจาคทาน ฯ บุรพเปตชนและวัตถุเทวดาเปนต้น เหล่านั้น เปนอันบุทคลนั้นได้บูชาแล้ว และทายกผู้บริจาค ก็หาเปนผู้ไร้ผลไม่ ฯ การร้องไห้หรือเสร้าโศรกเป็นปริเทวนาการ หาควรทำไม่เลย เพราะว่า การร้องไห้เปนต้นนั้น ย่อมหาเปนประโยชน์แก่เปตชนไม่ อันที่จริงญาติผู้ตายแล้วก็สถิตอยู่ หารู้เรื่องไม่ ฯ อันทักขิณานุประทานนี้แล อันท่านให้แล้วตั้งไว้เฉพาะด้วยดีแล้วในสงฆ์ ย่อมสำเร็จเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เปตชนนั้นสิ้นกาลนาน โดยฐานะ ฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอย่างนี้แล้ว ทรงทำมหาชนให้เปนผู้มีอัธยาศัยยินดียิ่ง ในอันให้ทานอุทิศต่อคนผู้ตาย แล้วเสด็จลุกจากอาศนะเสด็จกลับ ฯ อิกวันหนึ่งภรรยาแห่งอนาถบิณฑิกคฤหบดีก็ประพฤติตามเศรษฐีและเหล่าญาติอื่น ๆ ก็อนุวัติตามเศรษฐี โดยนัยนี้ชนเหล่านั้น ยังมหาทานให้เปนไปประมาณ ๑ เดือน ฯ พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทูลถามสมเด็จพระศาสดาว่า เหตุไร ภิกษุทั้งหลายไม่มาสู่พระราชนิเวศน์ราว ๑ เดือน สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงตรัสประพฤติเหตุนั้นให้ทรงทราบ ฯ พระราชาจึงทรงอนุวัติตามเศรษฐีบริจาคมหาทาน ฯ ชาวพระนครก็ประพฤติตามพระราชนิยม ยังมหาทานให้เปนไปประมาณ ๑ เดือน ฯ โดยนัยนี้ มหาทานมีตุ๊กตาแป้งเปนมูลย่อมเปนไปราว ๒ เดือน ฯ

เจตนาเปนเครื่องบันเทิงตามของฝูงเปรต ย่อมให้ผลขณะนั้นทันทีอย่างนี้ จะกล่าวไปใยถึงเจตนาเปนเครื่องอนุโมทนาของมนุษย์ทั้งหลาย จักไม่อำนวยผลทันทีเล่า ฯ เรื่องที่จะกล่าวต่อไปเหล่านี้เปนอุทาหรณ์ในข้อที่ว่านั้น ฯ



  เรื่อง อุบาสกผู้หนึ่ง ฯ

ได้ยินว่า ครั้งศาสนาแห่งพระกัสสปพุทธเจ้า มีอุบาสกโสดาบันผู้หนึ่ง ฯ เรือแตกในท่ามกลางทเลในวันที่ ๗ ฯ ชนทั้ง ๒ นั้น นอนบนแผ่นกระดานอันเดียวกันไปถึงเกาะตำบลหนึ่ง ฯ ช่างกัลบกฆ่านกในเกาะนั้นปิ้งไฟ เมื่อจะกินแบ่งให้แก่อุบาสก ฯ อุบาสกหากินไม่ ด้วยคิดว่าไม่ควร แล้วคำนึงว่า ที่พึ่งของเรานอกจากพระรัตนไตรย์ในที่นี้ย่อมไม่มี ฯ เมื่ออุบาสกนั้นระลึกถึงคุณแห่งพระรัตนไตรย์อย่างนี้ พระยานาคที่เกิดในเกาะนั้น นิรมิตกายตนเปนเรือใหญ่เต็มไปด้วยรัตนะ ๗ ประการ เทวดาในทเลเปนต้นหนยืนอยู่ในเรือร้องว่า ผู้จะไปชมพูทวีปมีหรือ ฯ อุบาสกตอบว่า ข้าพเจ้าทั้ง ๒ จักไป ครั้นเทวดาจำแลงนั้นเรียกให้ขึ้นเรือ ก็ขึ้นแล้วเรียกช่างกัลบกให้ขึ้นด้วย ฯ เทวดาจำแลงกล่าวว่าความประพฤติความดีคือศิลของช่างกัลบกไม่มี เพราะฉนั้นช่างกัลบกไม่ควรขึ้นเรือนี้ ฯ อุบาสกจึงกล่าวว่า ข้อนั้นขอยกไว้ที ข้าพเจ้าให้ส่วนทานที่ข้าพเจ้าให้ ศิลที่ข้าพเจ้ารักษา และภาวนาที่ข้าพเจ้าเจริญแล้ว แก่ช่างกัลบกนี้ ฯ ช่างกัลบกกล่าวว่า ข้าพเจ้าอนุโมทนาด้วย ฯ เทวดาจำแลงจึงให้ช่างกัลบกขึ้นเรือ แล้วนำเรือนั้นไปสู่เมืองพาราณสีขนทรัพยสมบัติขึ้นเรือนแห่งชนทั้ง ๒ นั้น แล้วไปสู่วิมานของตน ฯ เรื่องอุบาสกนี้ มาในศีลานิสังสชาดกวรรณนา ในวรรคที่ ๔ แห่งทุกนิบาต ฯ

  เรื่อง สังขพราหมณ์ ฯ

ในอดีตสมัย พาราณสีนคร ชื่อว่าโมฬินี ฯ กาลนั้นพระโพธิสัตวเสวยพระชาติเปนพราหมณ์ นามว่าสังขะ อาศัยอยู่ในโมฬินีนคร เมื่อจะไปค้าขายทางเรือ ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เดินย่ำทรายร้อนเช่นถ่านเพลิงในที่มีลมและแดดร้ายในรวางทาง มีจิตต์ชื่นชมว่าบุญเขตรของเรามาแล้ว จึงกล่าวว่า ท่านจงขึ้นรองเท้านี้ จงกั้นร่มนี้ไป แล้วถวายร่มและรองเท้า แล้วไปสู่ท่าขึ้นเรือ ฯ เรือแตกในวันที่ ๗ ฯ บรมโพธิสัตว คว้าบุรุษอุปัฏฐากคนหนึ่งไว้ได้ ทาสรีระทั้งสิ้นด้วยน้ำมัน เคี้ยวกินน้ำตาลทรายกับเนยใสพอประโยชน์ แล้วบุรุษอุปัฏฐากนั้นกินบ้าง แล้วขึ้นสุดปลายเสากะโดงกับด้วยบุรุษอุปัฏฐากนั้น โดดลงในที่ ๑ อุศภ ปรารภว่ายข้ามทเล ฯ เมื่อบรมโพธิสัตวเพียรว่ายข้ามอยู่ วันล่วงไป ๗ วัน ฯ กาลนั้น นางเทพธิดาชื่อมณีเมขลา ผู้รักษาสมุทร ใคร่จะช่วยพระโพธิสัตวให้ขึ้นจากทเล จึงนิรมิตเรือแล้วด้วยแล้ว เต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการให้พระโพธิสัตวอยู่บนเรือ ไม่เหลียวแลบุรุษอุปัฏฐาก ฯ พระโพธิสัตวจึงให้ส่วนกัลยาณกรรมที่ตนทำแล้วแก่บุรุษอุปัฏฐากๆ ก็อนุโมทนารับส่วนบุญนั้น ฯ เทวดาจึงให้บุรุษอุปัฏฐากนั้นขึ้นเรือด้วย แล้วนำเรือนั้นไปสู่โมฬินีนครขนทรัพย์ขึ้นไว้ในเรือนบรมโพธิสัตว แล้วกลับสู่วิมานของตนฯ เรื่องสังขพราหมณ์นี้ท่านกล่าวไว้ในสังขพราหมณชาดกวรรณนา ในทสกนิบาต ฯ

เพราะความที่แห่งเจตนาเปนเครื่องอนุโมทนา เปนของให้ผลทีนั้น กุลบุตรผู้สร้างสมบุญกิริยาอันชื่อว่าปัตติทาน ด้วยตนเอง และยังบุญกิริยาอันชื่อว่า ปัตตานุโมทนาแก่ชนเหล่าอื่นให้เกิด ก็ควรจะให้ทานอุทิศต่อเหล่าผู้ตาย อิกอย่างหนึ่ง ควรจะทำบุญอันใดอันหนึ่งโดยปรกติแห่งตน แล้วอุทิศส่วนบุญแก่ชนเหล่าอื่น เช่น พระเจ้าจักรพรรติพระนามว่า ติโลกวิชัย ผู้เปนบรมโพธิสัตวได้ทำมาแล้ว ฯ



  ติโลกวิชัยบรมจักรพรรติ ฯ

ได้ยินว่า พระเจ้าติโลกวิชัยบรมจักรพรรติ เมื่อจะยังประชุมชนให้สมาทานบุญสมบัติที่พระองค์ได้ทรงทำไว้ แล้วจึงทรงภาษิตคาถา ๔ คาถา ในพุทธาปะทานว่า ยํ กิญฺจิ กุสลกมฺมํ กตฺตพฺพํ กิริยํ มม เปนต้น ฯ

ความว่า กิริยา คือกุศลกรรมอันหนึ่งอันใด อันเราพึงทำด้วยกายวาจาใจ กิริยาคือกุศลกรรมนั้น เปนของจะถึงสุคติในไตรทศเวทวโลก อันเราทำแล้ว ฯ สัตว์เหล่าใดที่มีสัญญา (มีนามว่ามนุษย์ เทวดา พรหม) หรือสัตว์เหล่าใดที่หาสัญญามิได้ สัตว์เหล่านั้นทั้งปวงจงเปนผู้มีส่วนบุญ จงเสวยผลแห่งบุญที่เราทำแล้ว ฯ บุญนั้นที่เราทำแล้ว อันสัตว์เหล่าใดทราบดีแล้ว สัตว์เหล่านั้น จงเสวยผลแห่งบุญที่เราให้แล้ว บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดไม่ทราบบุญที่เราทำแล้วนั้น ขอเทวดาทั้งหลายช่วยไปแจ้งแก่สัตว์เหล่านั้น (ว่า บุทคลชื่อโน้นทำบุญอย่างนี้ ให้ส่วนบุญแก่ท่านทั้งหลาย) ฯ สัตว์เหล่าใดทั้งหมดในโลกนี้เปนอยู่อาศัยอาหาร สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด จงได้อาหารที่ยังใจให้ฟูด้วยความคิด (คือบุญฤทธิ) ของเรา ฯ

ก็ทานที่บุตรจะพึงให้แก่ทักขิไณยบุทคล เพื่อประโยชน์แก่มารดาบิดาผู้ทำกาลกิริยาแล้ว สมเด็จพระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในสิงคาลสูตร ฯ ทานที่บุตรจะพึงให้ด้วยสามารถพลีกรรมแก่มารดาบิดาผู้ทำกาลกิริยาแล้ว พระองค์หาได้ตรัสไว้ในสิงคาลสูตรไม่ ฯ พระองค์ไม่ได้ตรัสไว้ในสิงคาลสูตรก็จริง ถึงอย่างนั้น ควรที่บุตรจะพึงทำพลีกรรมแก่มารดาบิดาผู้วายชนม์แล้ว ฯ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มีนาคม 2557 11:50:52 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5798


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 05 มีนาคม 2557 15:44:54 »

.
  อาทิยสุตตคาถา ฯ

เหตุดังนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทานโอวาทแก่อนาถบิณฑิกคฤบดี จึงตรัสนิคมคาถามาในอาทิยสูตรในปัญจกังคุตรนิกายว่า
     ภุตฺตา โภคา ภตา ภจฺจา      วิติณฺณา อาปทา สุ เม
     อุทฺธคฺคา ทกฺขิณา ทินฺนา     อโถ ปญฺจ พลี กตา ฯ

มีความว่า โภคะทั้งหลาย อันเราบริโภคแล้ว บุทคลทั้งหลายที่เราจะต้องเลี้ยง อันเราเลี้ยงแล้ว อันตรายทั้งหลาย อันเราข้ามเสียแล้ว ทักขิณามีผลในเบื้องบน อันเราให้แล้ว อนึ่ง พลี ๕ ประการอันเราทำแล้ว ฯ
     อุปกฺฐิตา สีลวนฺโต  สญฺญตา พฺรหฺมจาริโน
     ยทตฺถํ โภคํ อิจฺเฉยยฺ   ณฺฑิโต ฆรมาวสํ
     โส อตฺโถ เม อนุปปตฺโต   กตํ อนนุตาปิยํ ฯ
     ท่านผู้มีศิลสำรวมแล้วประพฤติดังพรหมเปนปรกติอันเราบำรุงแล้ว บัณฑิตเมื่อครองเรือนพึงปรารถนาปรกติอันเราบำรุงแล้ว บัณฑิตเมื่อครองเรือนพึงปรารถนา โภคะเพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้น อันเราถึงเนืองๆ แล้ว กรรมไม่เปนที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนภายหลัง อันเราทำแล้ว ฯ
     เอตํ อนุสฺสรํ มจฺโจ   อริยธมฺเม ฐิโต นโร
     อิเธว นํ ปสํสนฺติ  เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ ฯ
     นรชนผู้มีอันจะพึงตาย เมื่อมาระลึกถึงข้อความอันกล่าวมาแล้ว เปนผู้ตั้งอยู่ในอารยธรรม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญนรชนนั้นในโลกนี้นรชนนั้นละไปแล้ว ย่อมบันเทิงทั่วในสวรรค์ ฯ

อธิบายความ ฯ โภคสมบัติทั้งหลาย อันเราจับจ่ายใช้สอยแล้ว ฯ บุทคลที่เราจะพึงเลี้ยงคือมารดาบิดาบุตรภรรยา ทาษกรรมกร มิตรอมาตย์ อันเราเลี้ยงแล้ว ฯ อันตรายอันเกิดแต่ไฟ น้ำ ทำผิดกฎหมายถูกปรับ โจร ผู้รับมฤดกไม่เปนที่รัก อันเราห้ามแล้วด้วยโภคทรัพย์ จริงอยู่ ครั้นเมื่ออันตรายเกิดขึ้นแต่เพลิงเปนต้น บุทคลมาสละทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อุปกรณ์มีเครื่องดับไฟไหม้เปนต้น ชื่อว่าปิดเสียห้ามเสียซึ่งทางมาแห่งอันตรายเหล่านั้นด้วยโภคทรัพย์ ฯ  ทักขิณาทานสมบัติเครื่องเจริญผล มีผลในเบื้องบน ด้วยสามารถแห่งอันให้ผลในภูมิเบื้องบน ๆ คือสวรรค์เปนที่เปนไปแห่งกามตัณหา ๖ อันเราให้แล้วด้วยโภคทรัพย์ ฯ พลี ๕ ประการ อันเราทำแล้ว ฯ สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสพลี ๕ ไว้ในจุณณิยบทว่า ดูก่อนคฤหบดี

อนึ่ง อริยสาวกเปนผู้ทำพลี ๕ คือญาติพลี อติถิพลี ปุพพเปตพลี ราชพลี เทวตาพลี ด้วยโภคสมบัติทั้งหลายที่ได้ด้วยความเพียร สร้างสมด้วยกำลังแขน เกิดแต่ทำการงานจนเหงื่อโทรม กายประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยชอบธรรม ฯ การสงเคราะห์ญาติ ชื่อว่าญาติพลี การต้อนรับแขก ชื่อว่าอติถิพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตายในก่อน ชื่อว่าปุพพเปตพลี ถวายหลวงเช่นเสียอากร ชื่อว่าราชพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา ชื่อว่าเทวตาพลี ฯ ท่านผู้มีศิลสำรวมแล้วเปนสพรหมจารี อันเราบำรุงแล้วด้วยโภคะ ฯ บัณฑิตเมื่ออยู่ครองเคหสถาน ปรารถนาโคคสมบัติ เพื่อประโยชน์มีบริโภคเองเปนต้นอันใด ประโยชน์อันนั้นอันเราถึงเนืองๆ แล้ว กรรมอันปราศจากความเดือดร้อนภายหลัง อันเราก็ทำแล้ว ด้วยอันทำเพื่อประโยชน์อันนั้น ฯ

เมื่อนรชนผู้มีอันจะพึงตายมาระลึกถึงข้อความอันกล่าวมาแล้วนี้ เปนผู้ตั้งอยู่ในธรรมคือศิล ๕ จริงอยู่ ศิล ๕ ชื่อว่าอริยธรรม เพราะเปนที่ชอบเปนที่รักของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย อันพระอริยะเจ้าทั้งหลายแม้ยังไปในรวางภพก็หาละศิล ๕ นั้นไม่ ฯ คำจะกล่าวต่อไปนี้ เปนพุทธพจน์ ฯ ดูก่อนคฤหบดีโภคสมบัติทั้งหลาย อันอุบาสกเช่นท่านพึงถือด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ เราจักทำตนเอง และมารดาบิดาบุตรภรรยาทาสกรรมการให้เปนสุข ด้วยโภคะเหล่านี้ ๑ เราจักทำมิตรอมาตย์ให้เปนสุข ด้วยโภคะเหล่านี้ ๑ ครั้นเมื่ออันตรายเกิดขึ้นแต่ไฟเปนต้น เราจักปิดทางมาแห่งอันตรายเหล่านั้นเสียด้วยโภคะ ทำตนให้ปลอดโปร่งด้วยโภคะเหล่านี้ ๑ เราจักตั้งไว้เฉพาะซึ่งทักขิณาอันมีผลในเบื้องบน ในสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติโดยธรรมด้วยโภคะเหล่านี้ ๑ เราจักทำพลี ๕ ด้วยโภคะเหล่านี้ ๑ ด้วยประการฉนี้ ฯ โภคะทั้งหลายอันบัณฑิตปรารถนาเพื่อประโยชน์อันใด บัณฑิตผู้ทำประโยชน์นั้นละความเดือดร้อนภายหลัง อันมีวิปฏิสารเปนลักษณะแม้ศิลของบัณฑิตผู้มีความเดือดร้อนภายหลังละได้แล้ว ก็ย่อมหมดจดพิเศษ ฯ อนึ่ง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญบัณฑิตนั้นๆ ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงทั่วในโลกสวรรค์ ด้วยประการฉนี้ ฯ เพราะเหตุนั้น คฤหัสถ์ผู้ระลึกถึงสุคโตวาทนี้ ก็ควรทำพลีกรรมแก่เหล่าญาติผู้ตายด้วยการเว้นจากโทษมีฆ่าสัตว์เปนต้น ฯ



   มารดาบิดาอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ ฯ

การบำรุงบิดามารดาด้วยสถาน ๕ มีเลี้ยงดูเปนต้นจัดว่าเปนมงคล เพราะเหตุแห่งความเกื้อกูลเปนไปในทิฏฐธรรมชาตินี้ ๕ ประการ ด้วยสามารถแห่งอันเว้นจากความชั่ว ตั้งอยู่ในความดี ได้ศึกษาศิลป ประกอบพร้อมด้วยภรรยาที่สมควร ได้รับทรัพย์มฤดก ด้วยประการฉนี้ ฯ เพราะเหตุนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสแก่สิงคาลมาณพว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดาผู้ทิศบุรัตถิมา อันบุตรพึงบำรุงด้วยสถานทั้ง ๕ เหล่านี้แล้วก็ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถานทั้ง ๕ คือ ห้ามบุตรเสียจากความชั่ว ๑ ให้บุตรตั้งอยู่ในความดี ๑ ให้บุตรศึกษาศิลปะ ๑ ตกแต่งบุตรให้มีภรรยาอันสมควร ๑ มอบทรัพย์มฤดกให้ในสมัย ๑ มารดาบิดาผู้บุรัตถิมทิศ อันบุตรบำรุงด้วยสถานทั้ง ๕ เหล่านี้แล้ว ก็ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ แล ฯ

อธิบายความ ฯ การห้ามบุตรจากความชั่ว มีความก้าวล่วงยังไม่มาถึงเปนวิสัย ฯ จริงอยู่ ครั้นเมื่อวิติกกะมะยังไม่มาถึงแล้ว ความห้ามจากวัตถุที่มาถึงพร้อมแล้วก็ย่อมมี ครั้นเมื่อวิติกกะมะเปนไปอยู่ ความห้ามจากวัตถุที่มาถึงพร้อมก็ไม่พึงมี ฯ ก็แต่ความกระทำชั่วที่บุตรให้เกิดแล้ว มารดาบิดาก็ทำบุตรให้ดีเปนปรกติด้วยติเตียน ฯ เพราะฉนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวในอรรถกถาแห่งสิงคาลสูตรว่ามารดาบิดาทั้ง ๒ กล่าวซึ่งโทษแห่งปาณาติบาตเปนต้น ที่เปนไปในทิฏฐธรรมและสัมปรายภพแล้ว ห้ามว่าเจ้าอย่าทำอย่างนี้ ก็คือติเตียนซึ่งความชั่วเห็นปานนั้นที่บุตรทำแล้ว ฯ มารดาบิดาห้ามบุตรจากความชั่ว ด้วยประการฉนี้ ฯ

มารดาบิดายังบุตรให้ตั้งอยู่ในความดี เหมือนอย่างอนาถบิณฑิกเศรษฐี และมารดาของมิตตวินทุกะบุตรเศรษฐีครั้งศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ค่าจ้างบุตรให้ตั้งอยู่ในคุณมีสมาทานศิลเปนต้น ฯ



  เรื่องกาฬะกุมาร ฯ

ดังได้สดับมาว่า อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐีไม่อาจจะห้ามบุตรของตนชื่อกาฬะกุมาร ผู้ไม่เฝ้าแหนพระพุทธเจ้า ไม่สดับธรรม ไม่ทำไวยาวัจจะกรรมแก่สงฆ์ จึงกล่าวว่า เจ้าจงรักษาอุโบสถศิล ฟังธรรมในวิหารแล้วมา พ่อจะให้กหาปณะ ๑ ร้อยแก่เจ้า ฯ กุมารนั้นก็รักษาอุโบสถศิล ไปวิหาร เพราะอยากได้ทรัพย์เปนผู้หาต้องการสดับธรรมไม่จึงนอนหลับเสียในที่ผาสุก แล้วไปสู่เรือนแต่เช้า ยังไม่ได้กหาปณะ ๑ ร้อย ก็ไม่กินข้าว ต่อได้จึงกิน ฯ อิกวันหนึ่ง เศรษฐีกล่าวว่า เจ้าจงเรียนบทธรรมอันหนึ่งในสำนักสมเด็จพระบรมศาสดาให้ได้แล้วกลับมา พ่อจะให้กหาปณะ ๑ พันแก่เจ้า ฯ กุมารนั้น ต้องการจะเรียนบทเดียวเท่านั้นแล้วหนี ฯ  สมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธเจ้า ได้ทรงบันดานให้กุมารนั้น มีอาการคือกำหนดจำไว้ไม่ได้ ฯ กุมารนั้นกำหนดบทนั้นไม่ได้ จึงคิดว่า เราจักเรียนบทต่อไปจึงยืนสดับอยู่ ก็พอได้เปนพระโสดาบัน รุ่งขึ้นก็มาสู่เรือนกับสมเด็จพระทศพล ละอาย เพราะบิดาจะให้กหาปณะ ๑ พัน หน้าที่นั่งพระพุทธองค์ ย่อมไม่ปรารถนาเพื่อจะรับห่อกหาปณะ ๑ พันที่บิดาให้ ฯ เรื่องกาฬะกุมารมาแล้วในคาถาวรรณนา ในโลกวรรคแห่งธรรมบทว่า
     ปฐพฺยา  เอกรชฺเชน    สคฺคสฺส  คมเนน  วา
     สพฺพโล  กาธิปจฺเจน   โสตาปตฺติผลํ  วรํ ฯ
โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเปนเอกราชในประฐพีกว่าอันไปสู่สวรรค์ และกว่าความเปนใหญ่ยิ่งในโลกทั้งหมด ฯ



  เรื่องมิตตวินทุกะ ฯ

แม้มารดาของมิตตวินทุกะบุตรเศรษฐี ก็ได้กล่าวว่าความเปนมนุษย์ได้ด้วยยากอันเจ้าได้แล้ว เจ้าจงให้ทาน จงรักษาศิล จงทำอุโบสถกรรม จงฟังธรรม ครั้นมิตตวินทุกะกล่าวว่า ข้าไม่ต้องการด้วยบุญมีให้ทานเปนต้น แม่อย่าพูดอะไรกับข้า ข้าจะไปตามยถากรรม มารดาจึงกล่าวว่า วันนี้ เจ้าจงรักษาอุโบสถ เจ้าจงฟังธรรมในวิหารตลอดคืนแล้วกลับมา แม่จักให้ทรัพย์ ๑ พันแก่เจ้า ฯ มิตตวินทุกะโลภอยากได้ทรัพย์ จึงรักษาอุโบสถ อยู่ในวิหารตลอดวัน บทแห่งธรรมอันหนึ่งจะไม่กระทบหูด้วยประการใด ก็ไปนอนหลับเสียในที่หนึ่งด้วยประการนั้น แล้วไปสู่เรือนแต่เช้าเทียว ฯ ฝ่ายมารดาของมิตตวินทุกะ เข้าใจว่าวันนี้ บุตรของเราจักฟังธรรม แล้วนำพระเถระผู้ธรรมกถึกมา จึงตกแต่งวัตถุมีเข้าต้มเข้าสวยเปนต้นไว้ แลดูทางมาแห่งบุตรอยู่ เห็นบุตรมาคนเดียวจึงถามว่า เจ้านำพระธรรมกถึกมาด้วยหรือ ฯ มิตตวินทุกะตอบว่า ข้าไม่ต้องการด้วยพระธรรมกถึก เมื่อยังไม่ได้ห่อทรัพย์ ๑ พัน ก็ยังไม่กินเข้า ต่อได้จึงกิน ฯ ในกาลต่อมา มิตตวินทุกะนั้นไปค้าทางเรือ ถูกคนในเรือทิ้งลงทเล โดยนัยที่กล่าวมาแล้วแต่หลัง จึงไปด้วยแพ เห็นนางเวมานิกเปรต ๔ นาง ในวิมานแก้วผลึก เห็น ๘ นางในวิมานเงิน เห็น ๑๖ นางในวิมานแก้วมณี เห็น ๓๒ นาง ในวิมานทอง โดยลำดับ ก็ได้เสวยทิพยสมบัติกับนางเหล่านั้น เพราะผลแห่งอุโบสถกรรม อันให้ผลทันตาเห็นที่ตนได้ทำแล้ววันหนึ่ง ฯ เรื่องนี้มาในจตุทวารชาดกวรรณนา ฯ มารดาบิดาเหล่านั้น ยังบุตรให้ตั้งอยู่ในความดีด้วยความเอ็นดูบุตร ด้วยประการฉนี้ ฯ

มารดาบิดารู้ว่าบุตรตนตั้งอยู่ในโอวาทแล้วให้ศึกษาศิลปมีหัตถมุทธาคณนา อัจฉิททคณนา ปิณฑคณนาเปนต้น ฯ นับกำมือตามแต่จะกะนับคราวละ ๑ ร้อย หรือคราวละ ๑ พัน ชื่อว่าหัตถมุทธาคณนา ฯ นับเรื่อยไปไม่ขาดเช่นนับ ๑,๒,๓,๔, เปนต้น ชื่อว่าอัจฉิททคณนา ฯ นับเปนหมวด คือรวมคาด เช่นแลดูนา ก็รู้ว่าเข้าเปลือกมีเท่านี้ แลดูต้นไม้ต้นหนึ่งก็รู้ว่าผลมีเท่านี้ แลดูอากาศ ก็รู้ว่านกในอากาศนี้มีเท่านี้ ชื่อว่าปิณฑคณนา ฯ มารดาบิดาให้บุตรศึกษาศิลปที่หาโทษมิได้ ด้วยประการฉนี้ ฯ

มารดาบิดาตกแต่งบุตรให้มีภรรยาที่สมควรโดยคุณสมบัติมีสกุลมรรยาทรูปโภคทรัพย์บริวารเปนต้น ด้วยประการฉนี้ ฯ

มารดาบิดามอบทรัพย์สมบัติแก่บุตรในสมัย ฯ สมัยมี ๒ คือ นิจจสมัย (สมัยเปนที่ทำเปนนิตย์) กาลสมัย (สมัยคือกาลควรแล้วถึงแล้ว) ฯ มารดาบิดามอบให้ด้วยคำว่า เจ้าจงรับทรัพย์นี้ไว้ ทรัพย์นี้จงเปนเสบียงของเจ้า เจ้าจงทำการกุศลด้วยทรัพย์นี้ ชื่อว่าให้ในนิจจสมัย ฯ มารดาบิดาให้เพื่อทำการมงคลไว้จุกในคราวบุตรเปนทารก เพื่อทำอาวาหวิวาหมงคลในคราวบุตรและธิดาเปนหนุ่มเปนสาว เพื่อทำกุศลในคราวบุตรนอนเตียงเปนที่ตายเปนปัจฉิมกาล ให้เพื่อเหตุเช่นนี้เปนต้น ชื่อว่าให้ในกาลสมัย ฯ มารดาบิดามอบทรัพย์มฤดกแก่บุตรในสมัย ด้วยประการฉนี้ ฯ บุตรบำรุงมารดาบิดาด้วยสถาน ๕ มีอันเลี้ยงเปนต้น ย่อมได้ประโยชน์เกื้อกูลมีอันงดจากความชั่วเปนต้น ด้วยประการฉนี้ ฯ เพราะเหตุนั้น ควรที่บุทคลผู้บุตรจะพึงบำรุงมารดาบิดาโดยแท้ ฯ  อันที่จริงมารดาบิดาเห็นสถานทั้ง ๕ มีอันเลี้ยงเปนต้น ซึ่งเปนกิจที่บุตรจะพึงบำรุง จึงปรารถนาบุตร ฯ



  ปุตตสุตตคาถา

เพราะเหตุนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงตรัสนิคมคาถาในปุตตสูตรในปัญจกังคุดรว่า
     ปญฺจ ฐานานิ สมฺปสฺสํ   ปุตฺตํ อิจฺฉนฺติ ปณฺฑิตา
ความว่า บัณฑิตทั้งหลายเมื่อเห็นสถานทั้ง ๕ จึงอยากได้บุตร ฯ
     ภโต วา โน ภริสฺสติ     กิจฺจํ วา โน กริสฺสติ
     กุลวํโส จิรํ ติฏฺเฐ        ทายชฺชํ ปฏิปชฺชติ
     อถ วา ปน เปตานํ       ทกฺขิณํ  อนุปฺปทสฺสติ
คือ บุตรอันเราเลี้ยงมาแล้ว จักเลี้ยงเรา ๑ บุตรจักทำกิจของเรา ๑ กุลวงศ์ของเราจะพึงตั้งอยู่นานเพราะบุตร ๑ บุตรจักปฏิบัติทรัพย์มฤดกของเรา ๑ อนึ่ง เมื่อเราละไปแล้ว บุตรจักเพิ่มให้ซึ่งทักขิณาแก่เรา ๑ ฯ

     ฐานาเนตาติ สมฺปสฺสํ   ปุตฺตํ อิจฺฉนฺติ ปณฺฑิตา
บัณฑิตทั้งหลายเห็นสถาน ๕ เหล่านี้จึงอยากได้บุตร ฯ

    ตสฺมา สนฺโต สปฺปุริสา   กตญฺญู กตเวทิโน
    ภรนฺติ มาตาปิตโร    ปุพฺเพ กตมนุสฺสรํ
    กโรนฺติ เนสํ กิจฺจานิ   ยถาตํ ปุพฺพการินํ
เพราะเหตุนั้น บุตรผู้ระงับแล้ว เปนสัตบุรุษ รู้อุปการที่มารดาบิดากระทำไว้ ฉลองคุณ มาระลึกถึงอุปการที่ท่านทำไว้ก่อน ย่อมเลี้ยงดูมารดาบิดา กระทำกิจของท่านผู้ทำไว้ก่อน ฯ

     โอวาทการี  ภตโปสี     กุลวํสํ  อหาปยํ
     สทฺโธ  สีเลน  สมฺปนฺโน    ปุตฺโต  โหติ  ปสํสิโย
บุตรผู้ทำตามโอวาทของท่าน เลี้ยงท่านผู้เลี้ยงเรามาก่อน อย่าให้กุลวงศ์เสื่อม เปนผู้มีศรัทธาบริบูรณ์ด้วยศิลอันมหาชนสรรเสริญ ฯ

อธิบายเฉพาะสถานทั้ง ๕ ฯ บุตรอันเราเลี้ยงดูประคับประคองมาด้วยให้ดื่มนม และยังมือและเท้าให้เจริญเปนต้น จักเลี้ยงเราด้วยอันชำระเท้าอาบน้ำให้เข้าต้มเข้าสวยเปนต้น ในกาลเมื่อเราชราภาพ ฯ

บุตรจักงดกิจของตนไว้ ไปทำกิจของเราอันเกิดขึ้นในราชสกุลเปนต้น ฯ

เมื่อบุตรของเรารักษาไร่นาที่ดินเงินทองเปนต้นของเรามิให้ฉิบหาย วงศ์สกุลของเราจักตั้งอยู่นาน ฯ  อนึ่ง บุตรของเราจักยังทานมีสลากภัตตทานเปนต้น ที่เราให้เปนไปแล้ว ให้คงเปนไป ไม่ตัดเสีย เมื่อเปนอย่างนี้ วงศ์สกุลของเราก็จักตั้งอยู่สิ้นกาลนาน ฯ

เมื่อบุตรของเราทำตนให้ควรแก่ทรัพย์มฤดกด้วยการปฏิบัติสมควรแก่วงศ์สกุล ชื่อว่าปฏิบัติทรัพย์มฤดกของเรา ฯ

เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว บุตรของเราจักบำเพ็ญทานอุทิศถึงเรา จำเดิมแต่เราล่วงลับไปได้ ๓ วัน ฯ

บัณฑิตทั้งหลายเห็นสถานทั้ง ๕ เหล่านี้ จึงอยากได้บุตร เพื่อได้รับบำรุงด้วยสถานทั้ง ๕ เหล่านี้ ด้วยประการฉนี้ ฯ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มีนาคม 2557 11:51:43 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5798


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 11 มีนาคม 2557 11:58:41 »

.

http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph__588.jpg
พระนิพนธ์ "มาตาปิตุปัฏฐานกถา" แปลจาก คัมภีร์มังคลัตถทีปนี
 
ปุจฉาวิสัชนา
ในมาตาปิตุอุปฐาน ฯ

ส.ม. ภาษาเราเรียกบิดามารดา ภาษามคธเรียกมารดาบิดา ไม่เหมือนกัน ต่างหมายความว่าอย่างไร ฯ
ส.ก.  ตามทิศานมัสนธรรม บิดามารดาเปนทิศเบื้องหน้าของบุตรเหมือนกัน ถึงกระนั้นเวลาจะเรียกต้องเรียกบิดาหรือมารดาขึ้นก่อนเรียกพร้อมกันไม่ได้อยู่เอง แต่ที่เรียกออกชื่อใครก่อนและหลัง จะว่าไม่สำคัญไม่สูงไม่ต่ำกว่ากันไม่ได้ เพราะฉนั้นในภาษาเราเรียกบิดาขึ้นก่อนในเวลาที่ออกชื่อพร้อมกับมารดา คงหมายความว่าบิดาเปนใหญ่นับวงศ์สกุลบิดาเปนใหญ่ และมารดาก็อยู่ในความปกครองของบิดา ๆ ต้องเลี้ยงมารดาและบุตร เข้าใจว่าในภาษาเราเรียกบิดาขึ้นก่อนคงหมายความเช่นนี้ ฯ ในภาษามคธเรียกมารดาขึ้นก่อนหมายความว่า มารดาเปนผู้ทำอุปการที่ทำได้โดยยากแก่บุตร มีอุปการแก่บุตรมากกว่า ดังที่ท่านพรรณนามาในมาตาปิตุอุปัฏฐานนั้น ฯ

ส.ม. ที่ว่าบุตรปฏิบัติบิดามารดาให้ได้รับความสุขสำราญอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่เปนอันได้ทดแทนบุญคุณของท่านด้วยดี ต่อเมื่อบุตรแนะนำบิดามารดาผู้หาศรัทธามิได้ ให้เปนผู้มีศรัทธา ผู้ไม่มีศิล ให้เปนผู้มีศิล ผู้มีความตระหนี่ ให้เปนผู้บริจาค ผู้ไร้ปัญญา ให้เปนผู้มีปัญญา จึงเปนอันได้ทดแทนบุญคุณของท่านด้วยดี นี้ประสงค์ไม่ต้องทำการปฏิบัติ ให้คอยแต่แนะนำให้ท่านมีศรัทธามีศิลมีจาคะมีปัญญา ฉนั้นหรือ ฯ
ส.ก.  ไม่ประสงค์อย่างนั้น แสดงให้เห็นว่าบิดามารดามีคุณแก่บุตรมาก ยากที่บุตรจะทำปัจจุปการให้สุดสิ้นด้วยการปฏิบัติชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ถ้าบุตรแนะนำให้ท่านบริบูรณ์ด้วยสัมปทา ๔ นั่นและจึงเปนอันทดแทนกันได้ ฯ ถ้าประสงค์ไม่ต้องบำรุงจะสอนให้บำรุงบิดามารดาด้วยนมัสนวิธี และสักการวิธี ทั้ง ๒ วิธีนี้ และให้บำรุงด้วยสถาน ๕ ประการทำไม ฯ

ส.ม. การที่บุตรจะต้องแนะนำบิดามารดาให้บริบูรณ์สัมปทา ๔ นั้น มิถูกตำนิว่าบุตรสอนบิดามารดาเปนการนอกเหนือไปหรือ ฯ
ส.ก.  เข้าใจว่าเปนเช่นว่า การแนะนำตักเตือนที่ถูกแม้จะเปนของผู้น้อย นักปราชญ์ก็ไม่ห้าม ฯ ถ้าเกรงเช่นนั้นก็ต้องตักเตือนโดยอุบายที่ชอบ ให้ท่านรู้สึกจนได้ ท่านได้รับตักเตือนแล้วจะประพฤติหรือไม่นั้นแล้วแต่ท่าน แต่ควรพยายามให้ประพฤติตามให้ได้ เมื่อเปนไปไม่ได้ก็เปนอันจนใจ ฯ

ส.ม. การบำรุง ๒ วิธีนั้น ว่านมัสนวิธีเปนกิจของคฤหัสถ์สักการวิธีว่าเปนกิจของบรรพชิต สักการวิธีคฤหัสถ์ไม่ต้องทำ ๆ ไม่ได้หรือ ฯ
ส.ก. ที่ท่านแบ่งหน้าที่ไว้ดังนั้น ก็ควรเปนเช่นนั้นแต่คฤหัสถ์ทำทั้ง ๒ วิธียิ่งดีอิก แต่ที่จริงคฤหัสถ์ควรทำทั้ง ๒ วิธี บรรพชิตควรทำแต่สักการวิธี นมัสนวิธีบรรพชิตทำมีโทษทางวินัย คือภิกษุกราบไหว้คฤหัสถ์ต้องทุกฏาบัติ ฯ

ส.ม. ภิกษุทำสักการวิธีแก่บิดาได้ทุกอย่าง ไม่มีโทษทางวินัย ทำแก่มารดาก็ได้ทั้งนั้น เว้นแต่ห้ามไม่ให้จับต้องกาย ถ้าจับต้องโดยสำคัญว่ามารดาท่านปรับทุกฏาบัติ ความเปนอย่างนี้ถูกหรือผิด ฯ
ส.ก. เข้าใจดังนั้นถูกแล้ว ฯ แต่เห็นมารดาตกน้ำ ภิกษุกำลังตกใจไม่ทันนึกอะไร นอกจากจะลงไปช่วยขึ้นมาให้ได้ ถ้านำมารดาขึ้นมาได้ด้วยจับต้องกายโดยอาการอย่างหนึ่งอย่างใด เข้าใจว่าไม่เปนอาบัติเพราะสติไม่ได้อยู่กับตัว ฯ

ส.ม. ถ้ามีสติรู้ตัวว่า จับต้องกายมารดาเปนอาบัติ เห็นมารดาตกน้ำ จะเกรงเปนอาบัติดีกว่าปล่อยให้มารดาจมน้ำตาย หรือจะสู้ทนเปนอาบัติช่วยมารดาให้รอดตายดีกว่า ฯ
ส.ก. เอาอะไรมาพูด อาบัติที่ล่วงอย่างนี้ก็เปนอาบัติเบา ล่วงแล้วแสดงก็พ้นโทษ ไม่เปนอาณาวิติกมันตราย ถ้าดูดายด้วยเคร่งเกินไปไม่ช่วยมารดาให้พ้นมรณภัย บาปรู้จักว่าเท่าไร ขาดกตัญญูกตเวที ขาดการบำรุงมารดาอย่างสำคัญฯ จักถูกติเตียนสักเท่าไร มารดามีเหตุร้ายถึงปานนี้ยังไม่ช่วย ถ้าเห็นคนอื่นตกน้ำแล้วอย่าหวังช่วยเลย ที่ว่านี้ก็ประสงค์ภิกษุผู้บุตรว่ายน้ำเปน ถ้าว่ายไม่เปนก็ตามทีถึงอย่างนั้นก็ต้องวานคนอื่นให้ช่วย จะดูดายไม่ได้เปนอันขาด ฯ

ส.ม. ขอให้อธิบายการบำรุงบิดามารดาด้วยสถาน ๕ ประการ ที่นอกไปจากโบราณาจารย์อธิบายมาแล้ว ฯ
ส.ก. สถานทั้ง ๕ นั้นจัดได้อิกอย่าง ๑ คือเมื่อบิดามารดายังมีชิวิตอยู่ บำรุงได้ ๔ อย่าง ยกสถานที่สุดเสีย เมื่อบิดามารดาทำกาลกิริยาแล้ว บำรุงได้ ๔ อย่าง ยกสถานต้นเสีย ฯ

ส.ม.  สถานเปนประถม มีอธิบายอย่างไรที่แปลกออกไปอิก ฯ
ส.ก. สถานเปนประถม คือเลี้ยงดูบิดามารดาควรลงมือเลี้ยงเองก็เลี้ยงเอง มีกำลังจัดให้คนอื่นทำแทน แต่ไม่ทอดธุระหมั่นตรวจตราก็ใช้ได้ ฯ เมื่อมีกำลังทรัพย์หรือยศบรรดาศักดิ์ ก็จัดให้มีคนสำหรับรับใช้จนพอ ให้มียานพาหนะสำหรับไปไหนมาไหนทั้งทางบกทางน้ำ ให้มีบ้านช่องที่เรือนไร่นาเรือกสวนอาหารการกิน เครื่องใช้สอยทุกอย่าง ทั้งเงินทองสำหรับใช้ก็จัดให้มีบริบูรณ์ จะต้องการสิ่งไรที่นอกไปจากจัดไว้สำหรับ ก็จัดการให้ได้สมประสงค์ ฯ เวลาเจ็บไข้ ก็ไม่ทอดทิ้งไปห่างไกล การอะไรมีจะสำคัญสักเพียงไรก็ต้องหยุดไว้ก่อน ฯ เมื่อบิดาหรือมารดาชราภาพมาก ก็ไม่ไปอยู่ในที่อื่นห่างไกล อันจะกลับโดยเร็ววันทันด่วนไม่ได้ ฯ ถ้าเปนสมณะ มีผู้อื่นที่เปนคฤหัสถ์เปนต้นว่าพี่หรือน้องปฏิบัติอยู่แล้วพอเปนที่เบาภาระลง แต่ไม่ควรทอดทิ้งทีเดียว หมั่นสดับตรับฟังเยี่ยมเนืองๆ ฯ สุดแท้แต่บิดามารดาจะได้ผาสุกสำราญเพียงใด ก็อนุวัติปฏิบัติให้ได้เพียงนั้น โดยความตั้งใจดีไม่อิดหนาระอาใจ ฯ

ส.ม.  สถานที่ ๒ อธิบายแปลกออกได้อิกอย่างไรบ้าง ฯ
ส.ก. สถานที่ ๒ คือ ทำกิจการของบิดามารดา ถ้าจัดให้คนอื่นรับทำแทนต่างหูต่างตาท่านและตัวเราเองได้ก็ควรจัด สิ่งที่จำเปนท่านต้องทำเองไม่เปนที่แลเห็นหนักหนาก็ต้องผ่อนปล่อยให้ทำเอง เพราะคนเกิดมาจะหาความสุขจนถึงไม่ต้องทำอะไรเสียเลยเปนไปไม่ได้ ร่างกายกลับเมื่อยขบขัดเจ็บเหน็บชา ทอนอายุให้น้อยลง ฯ ถ้าเปนกิจที่มีโทษ เช่นกัดปลาชนไก่ ควรเล้าโลมตักเตือนให้งดเว้น ไม่ควรอนุมัติช่วยจัดแจง ฯ ถ้าเปนกิจดี เช่นทำสวนทำของขายก็ควรช่วยเองหรือคนจัดอื่นให้ทำ ฯ เมื่อบิดาหรือมารดาล่วงลับไปแล้ว ทำอะไรไว้ค้างไม่สำเร็จ ถ้ามีโทษก็ควรละทิ้งเสียอย่าทำต่อ ถ้าหาโทษมิได้ก็ควรทำจนสำเร็จโดยประสงค์ หรือต้องแก้ไขบ้าง เพื่อให้เหมาะแก่สมัย ก็แก้ได้ หาไม่จะมีประโยชน์น้อย หรือไม่มีประโยชน์เสียทีเดียวก็เปนได้ ฯ ถ้าเปนแต่ท่านคิดไว้ แต่บุตรทราบความตามที่ท่านเล่าบอกไว้ให้ทราบ เช่นนี้ก็ควรจัดการให้เสร็จ เว้นไว้แต่เปนกิจมีโทษ ฯ ถ้าสิ่งที่ท่านทำไว้ แต่ชำรุดทรุดโทรมลง ถ้ายังจะรักษาไว้เปนประโยชน์ต่อไป ก็ควรซ่อมแซมให้คงดีเหมือนเก่า ฯ ฝ่ายบุตรที่เปนสมณะก็ต้องขวนขวายทำกิจของบิดามารดาทั้งเมื่อท่านยังมีชีวิตและล่วงลับไปแล้ว ทำได้ทุกประการ ควรเว้นแต่สิ่งที่ภิกษุจะทำไม่ได้ เปนโทษโดยวินัยบัญญัติ ฯ

ส.ม.  สถานที่ ๓ ควรอธิบายแปลกจากแบบอย่างไรบ้าง ฯ
ส.ก.  สถานที่ ๓ คือ ดำรงวงศ์สกุล คือสืบสกุลของบิดามารดา มิให้ฉิบหายหรือเสื่อมลง ไม่ทำให้วงศ์สกุลของท่านเสียชื่อเสียง ไม่มีความอะไรที่จะอธิบายให้แปลกกว่าแบบ ฯ แต่ถ้าบุตรเปนภิกษุตลอดไป ก็เปนขาดจากเปนผู้จะสืบเชื้อสายของท่าน แต่ก็ไม่พ้นที่สกุลของท่านจะได้ชื่อเสียงว่า บุตรผู้เปนภิกษุนั้น เปนกุลบุตรออกบวชในพระศาสนาจากวงศ์สกุลของท่าน ถึงบุตรจะไม่เปนผู้สืบสกุลของท่านโดยเหตุว่าทรงเพศสมณะ ต้องประพฤติตามวงศ์ของสมณะ ก็ยังได้บำรุงท่านด้วยสถานอื่นที่สมควรจะบำรุงได้ และยังต้องประพฤติตนให้สมกับทิศานมัสนธรรม ซึ่งต้องเปนทิศเบื้องบนของท่าน ถึงท่านก็ต้องรู้สึกเช่นนั้น คือภิกษุนั้นเปนทิศเบื้องหลังของตนโดยความที่เปนบุตร เปนทิศเบื้องบนของตนโดยความที่ทรงเพศเปนสมณะ ความรักความนับถือในบุตรผู้เปนสมณะยิ่งทวีมากขึ้น ฯ ส่วนผู้สืบวงศ์สกุลก็คงไปตกอยู่แก่ผู้อื่น ซึ่งเปนพี่หรือน้องของภิกษุนั้นรับต่อไป ฯ

ส.ม.  สถานที่ ๔ มีอธิบายแปลกออกไปอย่างไรเล่า ฯ
ส.ก.  สถานที่ ๔ คือ  ประพฤติตนให้สมควรได้รับทรัพย์มฤดก คือต้องเปนคนหมั่นเล่าเรียนศิลปวิทยาหมั่นทำมาหากินในทางที่ชอบเพื่อได้ทรัพย์มาเลี้ยงชีพ รักษาทรัพย์ที่มีมิให้สิ้นไปโดยไม่จำเปน รักษากิจการอันเปนหน้าที่ของตนมิให้เสื่อม คบแต่คนดีเปนสหาย เลี้ยงชีพตามสมควรแก่ทรัพย์ที่มี เว้นเหตุแห่งความฉิบหายแห่งโภคสมบัติ เช่นไม่ประพฤติเปนนักเลงเล่นการพนัน ดื่มน้ำเมา คบหญิงเสเพล เที่ยวกลางคืน ดูการเล่นไม่เปนมื้อเปนคราว ฯ บุตรประพฤติได้เพียงเท่านี้สมควรได้รับทรัพย์มฤดก ฯ ข้อนี้ต้องทำเอง วานใครทำแทนไม่ได้ ต้องประพฤติได้เองเช่นนี้ ในเวลาบิดามารดายังมีชีวิตอยู่และท่านล่วงลับไปแล้ว ฯ บุตรเปนภิกษุก็หมดหน้าที่จะเปนผู้ปฏิบัติรับทรัพย์มฤดกของบิดามารดา ฯ แต่เปนผู้ปฏิบัติรับธรรมมฤดกอยู่แล้ว ฯ

ส.ม. จงอธิบายสถานที่ครบ ๕ ต่อไป ถ้ามีความแปลกอิก ฯ
ส.ก. สถานที่ครบ ๕ คือ เมื่อบิดามารดาทำการกาลกิริยาแล้ว บุตรเพิ่มให้ซึ่งทักขิณาแก่ท่าน คือเมื่อบิดามารดาทำกาลกิริยาแล้ว บุตรก็บำเพ็ญทานอุทิศถึงท่านในวันนั้น เมื่อท่านทำกาลกิริยาล่วงมาได้ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน ก็เปนอภิลักขิตกาลกำหนดบำเพ็ญอิก หรือบำเพ็ญทุกคราว ๗ วัน จนถึง ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน ก็ยิ่งดี ครั้งถึงคราวฌาปนกิจและนับแต่วันฌาปนกิจแล้วมาครบ ๗ วัน หรือวันเก็บอัฐินั้นก็ควรบำเพ็ญทุกคราว แต่นั้นถึงวันเกิดหรือวันมรณะของท่านก็ควรบำเพ็ญอิก ยังมีวันขึ้นปีใหม่หรือวันพิเศษคราวใดคราวหนึ่ง ก็ควรบำเพ็ญทั้งนั้น ฯ ข้อสำคัญบำเพ็ญทานแล้วควรอุทิศถึงท่านทุกคราว ท่านถึงจะได้รับสำเร็จประโยชน์แก่ท่านตามควรแก่คติกำเนิดของท่าน ฯ ฝ่ายบุตรที่เป็นสมณะก็ทำได้ดุจบุตรที่เปนคฤหัสถ์ทุกประการ มีพิเศษแต่บุตรที่เปนสมณะแม้ไม่ได้บริจาควัตถุทาน เปนแต่บำเพ็ญไตรสิกขา คือศิล สมาธิ ปัญญา เปนข้อปฏิบัติสำหรับตน ซึ่งปฏิบัติได้โดยอุปนิสัยสามารถของตน แล้วอุทิศส่วนกุศลสัมมาปฏิบัตินั้นแก่ท่านก็ได้เหมือนกัน ฯ

ส.ม. ไหนโบราณาจารย์พรรณนาว่า ให้ทานแล้วอุทิศส่วนบุญแก่บิดามารดาผู้ถึงมรณะ สำเร็จประโยชน์แก่ท่านผู้ไปเกิดเปนเปรต ถ้าไปเกิดเปนสัตว์นรก เปนสัตว์ดิรัจฉาน เปนมนุษย์ หรือเปนเทวดา อุทิศส่วนบุญให้ ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ท่าน ฯ และที่ว่าบำเพ็ญศิล สมาธิ ปัญญาตามสามารถ แล้วอุทิศส่วนกุศลนั้นไปให้ก็ได้ ยังฟังไม่เข้าใจ ขอจงอธิบายให้จะแจ้ง ฯ
ส.ก. บุตรทำบุญ จะเปนบริจาคสิ่งของถวายทักขิไณยบุทคล หรือรักษาศิล หรือเจริญภาวนาก็ตาม แล้วอุทิศส่วนบุญ คือส่วนแห่งการบริจาคไทยธรรม หรือส่วนแห่งการรักษาศิล หรือส่วนแห่งการเจริญภาวนา ให้บิดามารดาผู้ล่วงลับไปแล้ว ถ้าท่านไปเกิดเปนเปรตรับส่วนบุญ ชื่อว่าท่านได้ทำบุญคือปัตตานุโมทนา ได้เสวยผล คือเปนต้นว่าเปนส่วนแห่งการให้น้ำ ก็เกิดเปนน้ำทิพย์ ได้ดื่มได้สนานกาย ระงับความอยากความกระวนกระวายทันที เพราะเปรตเปนอยู่ด้วยผลแห่งทาน มีผลแห่งทานเปนอาหารฯ ถ้าส่วนบุญที่ท่านได้รับเปนส่วนแห่งการรักษาศิล หรือเจริญภาวนา ก็ชื่อว่าท่านทำบุญคือปัตตานุโมทนาเหมือนกัน ได้เสวยผลตามควรแต่โบราณาจารย์หาได้พรรณาว่า ได้เสวยผลอย่างไร เมื่อไร ฯ ถ้าท่านไปเกิดเปนอื่นนอกจากเปรต เช่นไปเกิดเปนเทวดา ได้รับส่วนบุญ คือส่วนแห่งทานก็หาได้เสวยผลคือเกิดเปนของทิพย์ทันทีไม่เพราะเทวดาเปนอยู่ด้วยสุธาโภชมีสุธาโภชน์เป็นอาหาร หรือรับส่วนบุญอย่างอื่นก็เปนอย่างนั้น แต่ท่านได้ชื่อว่าทำบุญ คือ ปัตตานุโมทนาได้เสวยผลแต่หาทราบว่าผลอย่างไรเมื่อไรไม่ ดุจกล่าวมาแล้ว ฯ

โดยใจความย่อๆ บุตรบำเพ็ญบุญ คือให้ทาม รักษาศิล เจริญภาวนา สดับธรรม แสดงธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วอุทิศถึงบิดามารดาผู้ล่วงลับไปแล้ว ไปเกิดในคติกำเนิดใดก็ตาม ท่านทราบแล้ว รับอนุโมทนา ท่านก็เปนอันได้บำเพ็ญบุญ คือรับอนุโมทนา ได้เสวยผลตามควร แต่จะเปนผลอย่างไร ได้เสวยเมื่อไร ข้างเราทราบไม่ได้ ถ้าท่านไปเกิดเปนเปรต นั้นและได้เสวยผลแห่งทาน เช่นบุตรอุทิศส่วนแห่งการให้ภัตตาหารก็เกิดเปนภัตตาหารทิพย์ ท่านให้บริโภคอิ่มหนำ ร่างกายบริบูรณ์ทันที ฯ
.. พิมพ์เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑


จบบริบูรณ์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มีนาคม 2557 12:02:37 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.952 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 20 ธันวาคม 2567 03:26:05