[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 พฤศจิกายน 2567 02:22:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การฟอกสีฟัน และการใส่รากฟันเทียม - วิวัฒนาการทางด้านทันตกรรม  (อ่าน 1527 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 กันยายน 2556 14:08:41 »

.


การฟอกสีฟัน
การฟอกสีฟัน คือ การทำให้ฟันที่มีสีคล้ำ ดูขาวขึ้น ฟันที่เปลี่ยนสีเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือสาเหตุจากภายนอกตัวฟัน เช่น สีจากอาหาร เครื่องดื่ม บุหรี่ เป็นต้น และสาเหตุจากภายในตัวฟัน เช่น การสะสมสารเคมีที่มีสีข้างในเนื้อฟันขณะสร้างฟัน หรือในกรณีฟันตาย เป็นต้น

การฟอกสีฟันมีหลายวิธี เช่น ฟอกจากภายในตัวฟัน ฟอกจากด้านนอกตัวฟัน ทุกวิธีจะต้องใช้สารเคมีประเภทไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ช่วยเสมอ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกัน สารตัวนี้จะช่วยให้สารที่มีสีในตัวฟันแตกตัวมีขนาดเล็กลงแล้วซึมผ่านเนื้อฟันออกมาทำให้ฟันขาวขึ้น

การฟอกสีในฟันที่เปลี่ยนสี แบ่งออกเป็นการทำในฟันที่มีชีวิต และในฟันที่ไม่มีชีวิต แบ่งออกเป็น 5 วิธี

1. In-office Power Bleaching ทำในคลินิก โดยทันตแพทย์ ใช้สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นสูง (ประมาณ 35%)

2. At-home Bleaching ทำด้วยตัวเองที่บ้าน ด้วยสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นต่ำ (ประมาณ 10%)

3. In-office assisted Bleaching เป็นการฟอกสีฟันที่ทำร่วมกันระหว่าง ข้อ 1 กับข้อ 2 โดยทำในกรณีที่สีเริ่มต้นของฟันเข้มมาก โดยจะทำที่คลินิกก่อนจากนั้นให้กลับไปทำต่อเองที่บ้าน

4. Over-the-counter Bleaching ใช้สารฟอกสีฟันไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นต่ำ รูปแบบต่างๆ ที่มีวางขายทั่วไป หาซื้อได้ตามร้านค้าผลิตภัณฑ์ยาและความงามต่างๆ เช่น แถบฟอกสีฟัน หรือ ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสารฟอกสีฟัน เป็นต้น หาซื้อมาใช้ได้เองไม่จำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของทันตแพทย์ทำให้ฟันขาวขึ้นได้

5. Walking Bleaching เป็นการฟอกสีฟันในฟันที่เปลี่ยนสีเนื่องจากฟันตาย ซึ่งมักมีการเปลี่ยนสีของฟันเฉพาะซี่ไม่ได้เปลี่ยนสีทั้งปาก ฟันที่ได้รับการรักษารากฟัน หรือฟันปกติที่ได้รับการกระทบกระเทือนจะมีสีคล้ำขึ้น เนื่องจากมีการคั่งของเลือดภายในท่อเนื้อฟัน

การฟอกสีฟันในฟันตาย ทำได้โดยฟอกเฉพาะซี่นั้นๆ ได้โดยตรง ทันตแพทย์จะเป็นผู้ใส่สารฟอกสีฟันเข้าไปข้างในตัวฟัน ที่เปลี่ยนเป็นสีคล้ำนั้นเพื่อทำให้ฟันขาวขึ้น แล้วจะปิดช่องทางเข้าไว้ชั่วคราว เพื่อให้สารฟอกสีฟันทำให้ฟันขาวขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นนัดมาดูสีอีกครั้งหนึ่ง หากสียังไม่เป็นที่พอใจก็เปลี่ยนสารฟอกสีฟันเข้าไปใหม่ แล้วนัดกลับมาดูอีกครั้ง เมื่อสีเป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็ปิดช่องไว้อย่างถาวรต่อไป

สำหรับผลข้างเคียง คือ อาการเสียวฟัน และการระคายเนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งจะกลับสู่สภาพปกติได้เองเมื่อไม่ได้สัมผัสกับสารฟอกสีฟันในผู้ที่มีฟันผุ เหงือกอักเสบ ฟันร้าว หรือแม้กระทั่งเหงือกร่น ไม่เหมาะที่จะฟอกสีฟัน เพราะจะทำให้เสียวฟันมากกว่าปกติ ต้องรักษาฟันและเหงือกให้อยู่ในสภาพที่ดีก่อนจึงจะฟอกสีฟันได้

ดังนั้น ถ้าต้องการทำให้สีของฟันขาวขึ้น ควรพบทันตแพทย์เพื่อปรึกษาเลือกใช้วิธีที่เหมาะสม

หากมีเหงือกอักเสบ มีหินปูน ก็ต้องขูดหินปูน ทำความสะอาดฟัน หากมีฟันผุ ก็ต้องอุดเสียก่อน และหากฟันซี่ไหนที่ต้องรักษารากฟัน ก็ต้องทำให้เรียบร้อยเสียก่อน ส่วนฟันที่ผุจนรักษาไว้ไม่ได้ ก็ควรต้องถอนก่อน




รากฟันเทียม

ข้อมูลมาจากสมาคมทันตกรรมรากเทียมแห่งประเทศไทย ว่า รากฟันเทียมเป็นอวัยวะเทียมอย่างหนึ่งที่ใช้ฝังเข้าไปในกระดูกขากรรไกรในตำแหน่งที่มีการถอนฟันออกไป เพื่อใช้เป็นตัวยึดฟันเทียม อาจจะเป็นฟันเทียมแบบติดแน่น หรือฟันเทียมแบบถอดได้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพช่องปากของผู้ป่วยและการวางแผนของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา ตัวรากฟันเทียมทำจากวัสดุที่เข้ากันได้กับร่างกาย ที่ใช้กันส่วนใหญ่คือไทเททาเนียม รากฟันเทียมจึงมีประโยชน์มากในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่สูญเสียฟันออกไปให้กลับมามีฟันใช้งานได้ตามปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ไม่สามารถบูรณะหรือใส่ฟันเทียมด้วยวิธีการปกติ ก็สามารถใช้รากฟันเทียมช่วย ทำให้ผู้ป่วยมีฟัน กลับมาใช้ชีวิตได้ดังเดิม

รากฟันเทียมจึงเป็นวิวัฒนาการทางด้านทันตกรรมที่เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ทันตแพทย์เคยประสบในการใส่ฟันเทียมให้กับผู้ป่วย เพื่อให้ได้ฟันเทียมที่มีความแข็งแรง สวยงาม ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ โดยแต่เดิมนั้นเมื่อทันตแพทย์จะใส่ฟันให้ผู้ป่วยจะทดแทนได้เฉพาะส่วนที่เป็นตัวฟัน หรือส่วนที่อยู่เหนือเหงือกเท่านั้น ไม่สามารถทดแทนส่วนของรากฟันที่อยู่ในกระดูกขากรรไกรได้ ทำให้กระดูกขากรรไกรเกิดการละลายตัว มีขนาดเล็กลง เพราะการที่ขากรรไกรจะคงสภาพอยู่ได้นั้นต้องมีแรงกระตุ้นจากการบดเคี้ยว ส่งแรงผ่านรากฟันเข้าไปในส่วนกลางของกระดูกขากรรไกร เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างกระดูกทดแทน กระดูกจึงจะยังสภาพอยู่ได้



แต่ฟันเทียมส่วนใหญ่จะวางอยู่บนผิวนอก และส่งแรงผ่านผิวนอกของขากรรไกร ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคือง และกระดูกขากรรไกรจะเกิดการละลายตัวเพื่อหนีการระคายเคืองนั้น และในการใส่ฟันเทียมที่ทำกันอยู่โดยทั่วไปยังต้องอาศัยฟันข้างเคียงเป็นหลักยึดหรือรับน้ำหนักตัวฟันเทียมซึ่งต้องมีการตัดทำลายเคลือบฟัน

รากฟันเทียมยังถูกพัฒนานำไปใช้งานในลักษณะอื่นๆ เช่น ใช้เป็นหลักยึดในการจัดฟัน ช่วยทำให้ผลการรักษาดีขึ้น หรือใช้เป็นหลักยึดอวัยวะเทียมต่างๆ แทนการใช้กาวแบบดั้งเดิมที่ไม่ค่อย เหมาะสมกับเมืองไทยที่มีอากาศร้อน ผู้ป่วยมีเหงื่อออกมาก ทำให้กาวยึดไม่ค่อยอยู่ และยังทำความสะอาดได้ง่ายกว่า ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาก

ขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม 1.ทันตแพทย์จะซักประวัติ เพื่อดูว่ามีโรคประจำตัว หรือภาวะที่ขัดต่อการผ่าตัดหรือไม่ เช่น เบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ โรคเลือด โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ดูว่าผู้ป่วยได้รับยาอะไรเป็นประจำหรือไม่ โรคบางโรคไม่ได้เป็นข้อห้ามสำหรับการผ่าตัด แต่ควรได้รับการยินยอมหรือรับคำแนะนำจากแพทย์ที่เป็นผู้รักษาก่อน เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

2.จากนั้นทันตแพทย์จะตรวจสภาพช่องปากเพื่อวางแผนการรักษา เช่น พิจารณาว่ามีกระดูกขากรรไกรเพียงพอต่อการฝังรากฟันเทียมหรือไม่ ถ้าไม่พอจะเสริมกระดูกได้อย่างไร หากมีปัญหาในช่องปากที่ต้องแก้ไขก็ต้องทำให้เรียบร้อยก่อน ทั้งต้องวางแผนเกี่ยวกับจำนวนและตำแหน่งที่จะฝังรากฟันเทียม ประเภทของฟันปลอมที่จะใส่ ระยะเวลารักษา ค่าใช้จ่าย รวมถึงนำข้อดีข้อเสียของวิธีต่างๆ มาเปรียบเทียบกัน สิ่งเหล่านี้ต้องแจ้งรายละเอียดให้ผู้ป่วยทราบทั้งหมด เพื่อให้ผู้ป่วยได้ตัดสินใจ

3.ในการวางแผนการรักษา สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือแบบจำลองฟัน และภาพรังสีเอกซเรย์ เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วทันตแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาผ่าตัดฝังรากฟันเทียม ในกรณีที่มีการเสริมกระดูกอาจจะผ่าตัดเสริมกระดูกให้เรียบร้อยก่อน หรือทำพร้อมกับฝังรากฟันเทียมก็ได้แล้วแต่กรณี 4.เมื่อทันตแพทย์วางแผนการรักษาแล้วจะพิจารณาเลือกเทคนิคผ่าตัดที่เหมาะสมกับผู้ป่วย บางกรณีทันตแพทย์สามารถผ่าตัดฝังรากฟันเทียม พร้อมกับใส่ฟันให้ผู้ป่วยได้ในทันที บางกรณีอาจผ่าตัดโดยเปิดแผลผ่าตัดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้ ขึ้นกับสภาพบริเวณที่จะผ่าตัดว่าเป็น


ที่มา : www.khaosod.co.th - นสพ.ข่าวสด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กันยายน 2556 14:10:47 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.29 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 พฤศจิกายน 2567 06:15:05