[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 17:53:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นำผู้ป่วยโคม่าสู่ความสงบ พระไพศาล วิสาโล  (อ่าน 3012 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 ตุลาคม 2553 07:49:44 »



http://i883.photobucket.com/albums/ac40/42tong/water%20reflection/tong55-1.gif
นำผู้ป่วยโคม่าสู่ความสงบ พระไพศาล วิสาโล

ขอบคุณที่มาภาพจากน้องต้องค่ะ

นำผู้ป่วยโคม่าสู่ความสงบ

      พระไพศาล วิสาโล
      นิตยสารซีเครท : Vol.3 No.54 26 September 2010
     
      เราควรปฏิบัติอย่างไรกับผู้ป่วยโคม่า?

         ผู้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าผู้ป่วยโคม่านั้น ไม่สามารถรับรู้อะไรได้ เพราะไม่มีอาการตอบสนองใด ๆ เลย จึงมักปฏิบัติกับเขาเหมือนกับคนที่สลบไสลไร้สัมปฤดี

         แต่การรับรู้ของคนเรานั้นซับซ้อนกว่าที่เข้าใจกัน มีตัวอย่างมากมายที่ชี้ว่าผู้ป่วยโคม่าซึ่งดูเหมือนหมดสตินั้นยังสามารถได้ยินเสียงจากญาติหรือผู้ที่อยู่รอบเตียงได้ แม้จะไม่ตลอดเวลาก็ตาม

         คุณยายวัย ๗๐ หัวใจหยุดเต้น แต่หลังจากที่ได้รับการช่วยเหลือจนหัวใจเต้นใหม่ ก็นอนแน่นิ่งไม่ตอบสนองใด ๆ นานนับเดือน ระหว่างนั้นมีญาติมิตรมาเยี่ยมมากมาย ใครต่อใครก็บอกคุณยายว่า “หายไว ๆ แล้วกลับบ้านนะ ” แต่คุณยายไม่แสดงอาการรับรู้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามลูกชายที่เฝ้าไข้สังเกตว่า เวลาพลิกตัวแม่ จะมีน้ำตาไหลออกมาเหมือนกับว่าแม่รู้สึกเจ็บ วันหนึ่งจึงพูดกับแม่ว่า “แม่เหนื่อยไหม ทรมานไหม ถ้าแม่เหนื่อย แม่ทรมาน จะไปก็ได้นะ ไม่ต้องเป็นห่วง” จากนั้นก็ชวนแม่สวดมนต์ทำสมาธิ พอทำไปได้แค่ ๕ นาที ความดันของคุณยายก็ตกจนเหลือศูนย์ แล้วก็จากไปอย่างสงบ

         กรณีนี้ไม่เพียงชี้ว่าผู้ป่วยโคม่าสามารถได้ยินเสียงของคนรอบข้างเท่านั้น หากยังย้ำให้เราพึงตระหนักว่า คำพูดของญาติพี่น้องหรือหมอพยาบาลมีความสำคัญมากต่อผู้ป่วย ยิ่งผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งหมดหวังที่จะรักษาแล้ว การพูดให้เขาปล่อยวาง เพื่อจากไปอย่างสงบ น่าจะดีกว่าการพูดเหนี่ยวรั้งเขาเอาไว้ เพราะการพูดอย่างหลังนั้นอาจทำให้เขาพยายามยื้อสู้กับความตายด้วยความรู้สึกห่วงใยผู้ที่ยังอยู่ หรือรู้สึกผิดที่จะต้องตาย ซึ่งมีแต่จะทำให้เขาทุกข์มากขึ้น

         หมอผู้หนึ่งบินกลับจากอเมริกาทันทีที่รู้ว่าแม่ป่วยหนัก แต่มาเยี่ยมแม่ได้แค่ ๒ วัน แม่ก็หัวใจหยุดเต้น จึงถูกปั๊มหัวใจอย่างเต็มที่ ผู้เป็นลูกทำใจไม่ได้ที่แม่จากไปกะทันหัน ถึงกับร่ำไห้ขณะเขย่าตัวแม่ แล้วพูดกับแม่ว่า “แม่อย่าเพิ่งไป แม่ทิ้งผมไปทำไม ผมอุตส่าห์รีบกลับมาหาแม่ ทำไมแม่อยู่กับผมแค่สองวัน” ผ่านไปสักพักแม่ก็ฟื้น เมื่อรู้สึกตัวก็พูดกับลูกว่า “ทีหลังอย่าเรียกแม่กลับมาอีกนะ” แล้วแม่ก็เล่าว่า ตอนที่หัวใจหยุดเต้นนั้น รอบตัวมีแต่ความมืดมิด สักครู่ก็เห็นแสงสว่างอยู่ไกล ๆ ขณะที่กำลังลอยไปยังแสงนั้นจนเกือบถึงแล้ว ได้ยินเสียงลูกร้องไห้ รู้สึกเป็นห่วงลูกมาก จึงตัดสินใจกลับมาเพื่อบอกลูกให้ปล่อยแม่ไปเถิด

         ไม่เพียงได้ยินเท่านั้น ผู้ป่วยโคม่ายังสามารถเห็นสิ่งรอบตัวได้ด้วย แม้ดูเหมือนสลบไสลอยู่ก็ตาม มีชายผู้หนึ่งหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ทันทีที่ถึงโรงพยาบาล พยาบาลก็ทำการกระตุ้นหัวใจอย่างเร่งด่วน พร้อมกับใส่ท่อช่วยหายใจ แต่เนื่องจากผู้ป่วยสวมฟันปลอม จึงต้องถอดออกก่อนที่จะใส่ท่อ หลังจากช่วยชีวิตไว้ได้ ผู้ป่วยได้พักฟื้นที่โรงพยาบาล หลายวันต่อมาชายผู้นี้เห็นพยาบาลคนหนึ่งเดินผ่านมา จึงทักและถามว่า “คุณใช่ไหมที่ถอดฟันปลอมผม?” พยาบาลประหลาดใจมากว่าเขารู้ได้อย่างไรเพราะตอนนั้นเขาหมดสติอยู่


         มิใช่แต่ผู้ป่วยโคม่าเท่านั้น กระทั่งผู้ป่วยที่หมอวินิจฉัยว่ามีสภาพคล้าย “ผัก” ก็มีหลักฐานว่าเขาสามารถรับรู้ได้ ไม่เพียงได้ยินและสามารถคิดตามได้เท่านั้น หากยังรับรู้สัมผัสและความเจ็บปวดได้ด้วย

         ผู้ป่วยรายหนึ่งมีเส้นเลือดในสมองแตกทั้งสองข้าง และหมดสติไป จากนั้นก็ไม่แสดงอาการตอบสนองอีกเลย หมอวินิจฉัยว่าเป็นผัก คือแน่นิ่งเหมือนเจ้าชายนิทรา แต่ต่อมาได้รับการเยียวยารักษาจนสามารถฟื้นขึ้นมาได้ รวมทั้งได้รับการบำบัดจนมีชีวิตเหมือนคนปกติ เขาได้เล่าถึงเหตุการณ์ตอนที่หมอพยายามวินิจฉัยว่าเขาเป็นผักหรือไม่ หมอได้บีบหัวแม่โป้งของเขาอย่างแรง ตอนนั้นเขาปวดมาก อยากตะโกนให้หมอหยุดบีบ แต่ก็พูดไม่ได้ จากนั้นก็ได้ยินหมอพูดกันเองว่า “คนไข้คนนี้เป็นผักถาวร”

         แม้ไม่มีหลักฐานยืนยันว่า ผู้ป่วยโคม่าหรือผู้ที่มีสภาพคล้ายผักทุกคนสามารถได้ยิน เห็น หรือรับรู้สัมผัสทางกายได้ แต่ย่อมเป็นการดีกว่าหากเราปฏิบัติต่อผู้ป่วยดังกล่าวเสมือนคนปกติที่สามารถรับรู้ได้ทุกอย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวหรือกับตัวเอง นั่นคือปฏิบัติกับเขาด้วยความอ่อนโยน เวลาจะใส่ท่อ ฉีดยา ขยับตัวเขา ก็ควรบอกให้เขารู้ก่อน

         นอกจากการดูแลทางกายแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันก็คือ การบรรเทาความทุกข์ทางใจ ลูกหลานหรือญาติมิตรควรพูดกับเขาด้วยความใส่ใจ แสดงความรักต่อเขาด้วยสัมผัสหรือน้ำเสียงที่นุ่มนวล อ่านหนังสือธรรมะหรือหนังสือเล่มโปรดให้เขาฟัง ชวนเขาสวดมนต์พร้อมกับเรา หรือสวดมนต์ให้เขาฟัง จะชวนเขาทำสมาธิ ด้วยการรับรู้ลมหายใจเข้าออก โดยบริกรรมว่า “พุท-โธ”ด้วยก็ได้

        หากผู้ป่วยอาการทรุดหนัก จนมาถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ลูกหลานญาติมิตรควรน้อมใจให้เขานึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งดีงามที่เขานับถือ พูดถึงความรักและความภาคภูมิใจที่เรามีต่อเขา ชวนเขาย้อนระลึกถึงความดีที่เขาเคยทำ ให้ความมั่นใจแก่เขาว่าทุกคนที่อยู่ข้างหลังจะอยู่ได้แม้ไม่มีเขา รวมทั้งแนะนำให้เขาปล่อยวางสิ่งทั้งปวง รวมทั้งสังขารร่างกายนี้

         มีผู้ป่วยโคม่าหลายคนถึงกับพนมมือเมื่อได้ยินเรื่องการทำบุญใส่บาตร บางคนหายกระสับกระส่าย มีอาการนิ่งสงบ แต่ถึงแม้เขาจะไม่แสดงอาการตอบสนองใด ๆ ก็มิพึงคิดว่าเขาไม่รับรู้ ในยามนั้นเขาอาจมีปีติ อิ่มเอิบ ปล่อยวาง และพร้อมจะจากไปก็ได้

         การปฏิบัติกับผู้ป่วยโคม่าด้วยการมอบสิ่งดีที่สุดในทางจิตใจให้แก่เขา นอกจากจะดีกับผู้ป่วยแล้ว ยังดีต่อผู้ปฏิบัติด้วย เพราะช่วยให้ใจสงบ เป็นบุญ สงบ และคลายจากความเศร้าโศกเสียใจ กล่าวอีกนัยหนึ่งลูกหลานญาติมิตรก็ได้รับการเยียวยาทางจิตใจด้วย

         
         
   ขอบคุณที่มา
   http://www.visalo.org/article/secret255309.htm
   http://fws.cc/leavesofeden/index.php?topic=1612.msg7065;boardseen#new   เหงื่อตก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7866


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 6.0.472.63 Chrome 6.0.472.63


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2553 19:40:45 »

สาธุครับ

เนื้อหาดีมาก ๆ เลย


อ้างถึง

 “ทีหลังอย่าเรียกแม่กลับมาอีกนะ” แล้วแม่ก็เล่าว่า ตอนที่หัวใจหยุดเต้นนั้น
รอบตัวมีแต่ความมืดมิด สักครู่ก็เห็นแสงสว่างอยู่ไกล ๆ ขณะที่กำลังลอยไปยังแสงนั้น
จนเกือบถึงแล้ว ได้ยินเสียงลูกร้องไห้ รู้สึกเป็นห่วงลูกมาก จึงตัดสินใจกลับมา
เพื่อบอกลูกให้ปล่อยแม่ไปเถิด


ถ้าเกิดขึ้นจริง ๆ นี่อัศจรรย์มากครับเหตุการณ์นี้




อ้างถึง

ไม่เพียงได้ยินเท่านั้น ผู้ป่วยโคม่ายังสามารถเห็นสิ่งรอบตัวได้ด้วย
แม้ดูเหมือนสลบไสลอยู่ก็ตาม


อ่านอันนี้แล้วนึกถึงรุ่นพี่คนนึง แกไม่ได้อยู่ในภาวะโคม่า

แต่นอนไปเฉย ๆ แล้วเหมือนจิตหลุดจากร่าง มองเห็นตัวเองนอน

มองเห็นแฟนเล่นเกมที่คอม ตื่นมาแกก็ทักแฟนว่าเล่นเกมอะไรยังไง

แฟนแกก็ตกใจเพราะเห็นอยู่ว่าแกหลับ




บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: มรณานุสสติ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.321 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 ธันวาคม 2567 22:56:37