[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
30 พฤศจิกายน 2567 10:55:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สามัคคีคือพลังสร้างสันติ :โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน?  (อ่าน 56753 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 35.0.1916.114 Chrome 35.0.1916.114


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 03 มิถุนายน 2557 12:46:08 »




สามัคคีคือพลังสร้างสันติ :โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน?
:พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร รวบรวมและเรียบเรียง;
ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
พิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมบรรณาการ พุทธศักราช ๒๕๔๑



คำนำ
หนังสือเรื่อง "โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน?" เล่มนี้ สืบเนื่องมาจากการมองปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นภายในสังคมที่มีอาการต่อเนื่องจนกลายเป็นปัญหาอาชญากรรม นำไปสู่ความไม่มั่นคงในด้านต่างๆ ที่มักพูดถึงกันใน ๔ ด้านใหญ่ๆ คือ ความมั่นคงทางด้านการเมือง การทหาร การเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา ในขณะที่คนสามารถจะกระจายลักษณะของปัญหาออกไปได้โดยพิศดาร จนบางครั้งไม่อาจหาข้อยุติของปัญหาเหล่านั้นได้

ได้มีท่านผู้ใหญ่หลายท่านนำเรื่องนี้มาปรารภกัน และขอให้ช่วยเรียบเรียงเป็นเอกสาร เพื่อเผยแผ่ออกไปในรูปของการกระตุ้นเตือน ชวนให้คิด ในลักษณะของการเตือนจิตสกิดใจกันตามที่จะทำได้ เพราะการจะแก้ปัญหาให้ได้จริงๆ จำต้องอาศัยจิตสำนึกของคนแต่ละคนที่มองเห็น โทษของปัญหา สาเหตุของปัญหา และมองเห็นคุณค่าของ การลดละปัญหาลงไปตามสมควรแก่ฐานะนั้นๆ จนมีความพร้อมที่จะดำเนินชีวิตตนเองไปตามหลักการวิธีการในการแก้ปัญหาตามสมควรแก่ฐานะนั้นๆ ในขณะที่หากสามารถมองสาวให้ตลอดเข้าไปถืงสาเหตุหลัก รวมทั้งวิธีการ หลักการ อันเป็นหลักพื้นฐานจริง การลด ละ บรรเทาปัญหา จะมีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

การมองโลกที่เป็นองค์รวมของพระพุทธเจ้า อันเป็นองค์พระศาสดาของเราทั้งหลายนั้น ก่อนที่จะเสด็จออกบรรพชา ทรงมองเห็นว่าสรรพสัตว์เผชิญปัญหาร่วมกัน ปัญหาเหล่านั้นสืบเนื่องมาจากความเกิด หากยุติความเกิดได้ ปัญหาทุกรูปแบบที่สืบเนื่องมาจากความเกิดก็จะสงบลง แต่ตอนที่ทรงตรัสรู้กลับทรงมองย้อนรอยความเกิด จนทรงพบเห็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาทุกระดับว่า ล้วนสืบเนื่องมาจากอวิชา คือความไม่รู้ คนทั่วไปจะไม่มีใครที่มีความรู้สมบูรณ์ การกระทำของเขาจึงมีความไม่รู้ปนลงไปมากบ้างน้อยบ้าง อาการที่ปรากฏจึงสะท้อนความโลภ โกรธ หลง อันเป็นกิ่งก้านสาขาของอวิชา

แม้กระนั้นก็ตาม ยามที่ทรงนำมาสั่งสอนแก่ผู้ฟัง ทรงวางหลักธรรมให้สอดรับกับพื้นฐานของผู้ฟัง ที่จะสามารถได้รับประโยชน์จากการศึกษา การปฏิบัติตามหลักธรรมเหล่านั้น ตามโครงสร้างการสอนธรรมของพระพุทธเจ้าที่ว่า "ทรงแสดงเพื่อให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริง ในสิ่งที่เขาควรรู้ควรเห็น" แต่เพราะตามปรกติแล้วธรรมะเป็นของที่ควรรู้ควรเห็นทั้งนั้น ดังนั้นจึงมองไปที่ศักยภาพของคนที่ฟังในขณะนั้นๆว่า เขาจะสามารถรู้สามารถเห็นหลักธรรมเหล่านั้นหรือไม่ หากเขามีความสามารถมากพอ ก็ทรงมีวิธีแสดงธรรมที่ท่านบอกว่า "ทรงแสดงธรรมมีเหตุ ที่ผู้ตรองตาม พิจารณาตาม ปฏิบัติตาม แล้วจะเห็นความจริงได้" ทั้งนี้เป็นเพราะว่า หลักธรรมที่ทรงตรัสรู้มานั้น มีความอัศจรรย์ คือผู้ประพฤติปฏิบัติจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ

การนำเสนอในหนังสือเล่มนี้ จึงอาศัยแนวแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า ทั้ง ๓ วิธีเป็นหลัก และมองปัญหา สาเหตุของปัญหา ที่กระทบต่อสังคมระดับกระทบต่อความมั่นคงดังกล่าว โดยคาดหวังว่าหากใครถือตามปฎิบัติไปตามหลักที่ได้รวบรวม เรียบเรียงได้ ควรจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่เหตุ
    หากท่านผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา มองไปที่โอวาทปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักระดับอุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา เราจะพบว่าบุคคลที่จัดเป็นระดับอุดมการณ์ของสังคมทุกระดับคือ คนที่สามารถปฎิบัติพัฒนาตนมาถึงจุดที่ "ไม่ฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ได้" เป็นเบื้องต้น จนสามารถทำตนเป็นประโยชน์แก่โลกที่ตนเกิดมามากบ้างน้อยบ้าง ตามกำลังความสามารถของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน

    เพราะการมองปัญหาแบบรวบยอดของพระพุทธศาสนา ที่สรุปแบบรวบยอดของพระพุทธศาสนา ที่สรุปรวมเป็นสรรพปัญหา มาจากอวิชชา ดังนั้นเมื่อสภาพของปัญหาที่ถาวร คือ ทุกข์ ภัย โรค หรือสรุปเป็นทุกข์อย่างเดียว ในขณะที่ผลที่คนต้องการสรุปเป็นทุกข์อย่างเดียวนั้น เหตุที่ให้เกิดความทุกข์ที่สืบเนื่องมาจากอวิชชา ที่ทรงแสดงไว้ในที่ต่างๆเช่น
   "บ้านเรือนที่ปกครองไม่ดีนำความทุกข์มาให้
    ความจนเป็นทุกข์ในโลก
    การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก
    คนไม่มีที่พึ่งอยู่เป็นทุกข์
    ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์
    ทุกข์เสมอด้วยขันธ์ไม่มี
    สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง"
เป็นต้น
เมื่อมองในรูปของการสืบสานถึงที่มา จะพบว่า แต่ละอย่าง
ล้วนสืบเนื่องมาจากอวิชชา คือไม่รู้ด้วยกันทั้งนั้น

พอมองไปที่ความสุขที่ทรงแสดงไว้ในที่ต่างๆเช่น
    "การไม่เบียดเบียนกันเป็นความสุขในโลก
    ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง
    ความสงบระงับแห่งสังขารเป็นความสุข
    ความสุขอันยิ่งกว่าความสงบไม่มี
    การเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำความสุขมาให้
    การแสดงธรรมนำความสุขมาให้
    จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์แท้จริง ก็เพราะไม่คบคนพาล
    ผู้เจริญเมตตาดีแล้วย่อมหลับและตื่นเป็นสุข
    นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง"
เป็นต้น

แต่ละข้อล้วนเป็นอาการของความรู้ ความบริสุทธิ์จากกิเลสตามสมควรแก่ฐานะ ความเมตตากรุณาต่อคน สัตว์ ที่แต่ละอย่างเป็นกิ่งก้านสาขาของวิชา คือความรู้
    การเรียบเรียงเรื่องนี้เน้นไปที่หลักการของสามัคคีธรรม อันเป็นอาการของความรู้ ความบริสุทธิ์ใจ ความเมตตากรุณาต่อกัน โดยมองจากหลักพุทธดำรัส ที่ทรงแสดงระดับโลก ๒ ข้อ คือ "การไม่เบียดเบียนกันเป็นความสุขในโลก กับ ความริษยาทำโลกให้พินาศ"

ที่มาจากพื้นฐานต่างกัน การไม่เบียดเบียนกันเป็นอาการของเมตตา กรุณา อันสืบเนื่องมาจากวิชชา ความริษยาเป็นอาการร่วมของความโลภในของดีที่คนอื่นได้ ความโกรธในคนที่ไม่ได้สิ่งดีที่ตนชอบ อันสืบเนื่องมาจากอวิชา
    ภาวะอวิชาเป็นความมืด ในขณะที่วิชาเป็นแสงสว่าง ที่จะไม่ปรากฎร่วมกันในจุดเดียวกัน ในขณะเดียวกัน การสร้างสำนึกว่า "โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน" จึงเป็นการมองจากวิชชา คือปัญญาที่พิจารณาจนประจักษ์ความจริงของ "คน สัตว์ สิ่ง" ว่าเป็นเพื่อนร่วมโลก อาศัยโลก ร่วมทุกข์สุขกันตามธรรมชาติ และการกระทำของแต่ละชีวิต

มีต่อค่ะ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 35.0.1916.114 Chrome 35.0.1916.114


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2557 12:49:07 »

พระสูตรที่นำมาเป็นหลักในการอธิบายขยายความ คือ "สาราณียธรรมสูตร" อันเป็นพระสูตรที่เน้นธรรมปฏิบัติ ที่อาจจะเริ่มต้นจากเมตตา ช่วยให้มีท่าทีต่อคน สัตว์ ด้วยความรักและหวังดี หรือมีความเห็นชอบช่วยให้มองโลกอย่างน้อยที่สุดระดับของการยอมรับนับถือ สิทธิ หน้าที่ ของกันและกัน ไม่ล่วงละเมิดกัน จนถึงมีเมตตาพร้อมที่จะแสดงออกมาทาง กาย วาจา ใจ ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อกัน ในพระสูตรยังทรงสะท้อนอาการของ "เมตตา และปัญญาอันเห็นชอบ ออกมาในรูปของ ความรัก ความเคารพ การสงเคราะห์กัน การไม่ทะเลาะวิวาทกัน ความสามัคคีและเอกภาพ" เป็นต้น ไว้ด้วย

เพื่อให้คนมองเห็นการทำดีหรือทำชั่วก็ตาม เมื่อลงมือทำไปแล้วจะกลายเป็นขบวนการทยอยกันไปจากจุดย่อยๆ จนถึงจุดใหญ่ ทำนองเดียวกันกับ ไฟใหม้ น้ำไหล ไฟสว่าง ลมพัด เป็นต้น หรือการปลูกพืชเราปลูกพืชนิดเดียว แต่ผลของพืช ทยอยให้ผลผ่านเวลาไปอีกนาน และมากจนไม่อาจเทียบกับพืชที่ตนปลูกได้ หากใครก็ตามตระหนักความจริงข้อนี้ มองเห็นโทษของความทุกข์ ความดีของความสุข จนพร้อมที่จะสร้างความสุข จะด้วย เมตตา กรุณา สัมมาทิฏฐิ ความรักความเคารพกัน การสงเคราะห์กัน เป็นต้นก็ตาม ความเป็นพี่น้องกันของชาวโลกก็จะน่าอยู่ขึ้นอีกมากทีเดียว

ตัวอย่างเช่นปัญหายาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆนั้น หากคนผลิต คนเสพ รู้บาปบุญคุณโทษพอต่อการที่จะหยุดหากินด้วยบาปอย่างนั้น หรือมีเมตตาต่อตนเองและคนอื่น ปัญหายาเสพติดก็ยุติได้แล้ว แม้ปัญหาอาชญากรรมอย่างอื่น  รวมถึงการศึก สงคราม ล้วนสืบเนื่องมาจากอวิชา ความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่ถ้าคนมีเมตตาต่อกัน หรือมีปัญญามากพอต่อการจะหยุดการทำชั่วได้ ศึก สงครามทุกลักษณะก็จะยุติลง
    ชาวพุทธจะพบว่าหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงระดับโลก หมายความว่า แม้มีเพียงข้อเดียว ก็สามารถกระจายธรรม กระจายผล ออกไปสู่ระดับโลกได้จริงๆ

"เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
ความไม่เบียดเบียนกันเป็นความสุขในโลก
สติเป็นธรรมเครื่องปลุกให้ตื่นในโลก
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก"


กระบวนการแห่งกุศล อกุศล จึงสำคัญที่จุดเริ่มต้น ทำนองปลูกพืชดังกล่าว เช่น เมตตา ปัญญา เกิดขึ้นในกายในจิต กุศลธรรมในนามอื่นก็จะเกิดขึ้นติดตามมา ที่เกิดแล้วก็จะเจริญมากขึ้น ในขณะเดียวกันนั้นเองอกุศลในรูปแบบต่างๆก็จะลดลง ตามสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของกุศลธรรมเหล่านั้น เหมือนการเพิ่มปริมาณของแสงสว่างมากขึ้นเท่าใด การลดลงของความมืดก็จะกระจายออกไปมากเท่านั้นนั่นเอง

หนังสือเรื่อง โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน? เล่มนี้ ทางราชการกองทัพบกได้เคยนำไปพิมพ์เผยแผ่มาไม่น้อยกว่า ๒ ครั้ง ในนามของ "สามัคคีคือพลังสร้างสันติ" แต่เป็นหนังสือที่แพร่หลายในวงการทหารบก เมื่อนำมาอ่านอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏอาการของธรรมะที่ทรงแสดงว่า "อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา" คือความจริง ทรงแสดงไว้อย่างไรก็คงเป็นอย่างนั้น การนำมาเผยแผ่อีกคงเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจเช่นเดิม จึงได้ตัดสินใจนำมาพิมพ์เผยแผ่อีกครั้งหนึ่ง
    การพิมพ์คราวนี้ ทำในนามขององค์กรกุศลสององค์กรที่รับผิดชอบอยู่คือ ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และ กองทุนไตรรัตนานุภาพ เพื่อการศึกษา การเผยแผ่ และการพิทักษ์ความมั่นคงของพระพุทธศาสนา

ส่วนที่พิมพ์ในรูปของ "ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย" เน้นไปที่การจำหน่ายด้วยราคาเผยแผ่ เพื่อนำรายได้มาดำเนินงานของศูนย์ฯ ต่อไป
    ในขณะที่พิมพ์ในนามของ กองทุนไตรรัตนานุภาพ เพื่อการศึกษา การเผยแผ่ และการพิทักษ์ความมั่นคงของพระพุทธศาสนา เน้นไปที่ธรรมทาน ธรรมบรรณาการ โดยพร้อมที่จะรับการส่งเสริมสนับสนุนการทำงานของ กองทุนไตรรัตนานุภาพ

เจตน์จำนงในการเผยแผ่ธรรมนั้น เป็นภารกิจของชาวพุทธทุกคน เพียงแต่ว่าใครจะสามารถทำได้มากน้อยแค่ไหนเพียงไร ในลักษณะใด โดยคาดหวังว่าการเผยแผ่คงเอื้อประโยชน์แก่ท่านที่ได้รับรู้ในรูปแบบใดก็ตาม เจตน์จำนง ความคาดหวังในการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขององค์กรทั้งสองก็ต้องการเช่นนั้น
    ในขั้นของกุศลเจตนาที่แผ่ไปคือ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย ได้โปรดดลบันดาลอภิบาลรักษาให้ท่านผู้ได้รับหนังสือ ให้การสนับสนุนองค์กรทั้งสอง ได้รับความสุขความเจริญ มีความงอกงามไพบูลย์ในธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงประกาศแสดงไว้ดีแล้วโดยทั่วกันตลอดกาลนาน เทอญ.


:พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร รวบรวมและเรียบเรียง

เริ่มคัดลอก เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2014, 11:42:20 PM


มีต่อค่ะ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 35.0.1916.114 Chrome 35.0.1916.114


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2557 12:52:16 »



สามัคคีคือพลังสร้างสันติ :โลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน?
:พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร รวบรวมและเรียบเรียง;
ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
พิมพ์เผยแผ่เป็นธรรมบรรณาการ พุทธศักราช ๒๕๔๑
   หากเราจะตั้งคำถามต่อใครก็ตามในโลกนี้ว่า อะไรคือสุดยอดปรารถนาของท่าน ทุกคนแม้จะให้คำตอบที่ดูเหมือนแตกต่างกัน แต่เมื่อว่าโดยเนื้อหาแล้ว สิ่งที่เขาต้องการในส่วนผลจริง คือ "ความสุข" นั่นเอง เหตุนั้นทางพระพุทธศาสนาจึงกล่าวถึงความต้องการของมนุษย์และสัตว์โดยสรุปว่า "ทุกชีวิตต้องการความสุขไม่ต้องการความทุกข์" ใช่แล้ว เป็นความต้องการสั้นๆ แต่ต้องใช้ความเพียรพยายามอันยาวนาน บางคนแม้จะใช้เวลาอันยาวนานแล้วก็ไม่อาจประสพความสุขได้ ทำให้เราพบคนที่บ่นถึงความทุกข์ของตน มากกว่าคนที่บอกว่าเขามีความสุขแล้ว เขาสบายแล้ว ชีวิตของ คน สัตว์  โดยมาก จึงหมดสิ้นไปด้วยการพยายามวิ่งหนีความทุกข์ แสวงหาความสุขกัน

    แม้พระพุทธศาสนาเอง ก็เกิดขึ้นเพราะต้องการหลีกหนีจากความทุกข์ เพื่อได้สำผัสความสุขที่แท้จริง แต่อย่างไรก็ตาม คนที่นับถือพระพุทธศาสนาเองคงมีความทุกข์มากกว่าความสุขอยู่นั่นเอง แม้ว่าหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนามีเป้าหมายที่เด่นชัดของการทำงานคือ "ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมศานต์" ก็ตาม เมื่อเรามองไปที่องค์กรบริหารสูงสุดคือ "รัฐ" ก็จะพบว่ารัฐทำงานบริหารชาติบ้านเมือง เพพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกันกับพระพุทธศาสนา ดังนั้นการกระทำทุกอย่างของรัฐ ที่มีผู้บริหารเป็น "ธรรมมิกราช" จะมุ่งไปที่ "บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่อาณาประชาราษฎร" เป็นสำคัญ แต่ถึงอย่างไร ทุกข์ก็คงมีมากกว่าสุขอยู่ดีนั่นแหละ เรื่องนี้จึงออกจะเป็นเรื่องแปลกแต่จริง และคงเป็นเช่นนี้อยู่ตลอดไป ปัญหาสำคัญใการครองชีวิตประกอบกิจการงาน บริหารบ้านเมือง และเผยแพร่พระศาสนาจึงอยู่ที่
    "ทำอย่างไรความทุกข์จะลดลงมากหน่อย ความสุขจะเพิ่มขึ้นมากหน่อย โดยให้อยู่ดีมีสุข ตามสมควรแก่ฐานะของแต่ละคน"

  17.58  แน่นอน ไม่ว่ายุคใดสมัยใด หรือด้วยการกระทำของใครก็ตาม ย่อมไม่อาจจะให้คนทุกคนมีความสุขเสมอเหมือนกันได้ ปัญหาสำคัญจึงอยู่ที่ทำอย่างไรคนจึงจะได้รับความสุข ความสงบ ตามสมควรแก่ฐานะของตนเท่านั้น การทำความเข้าใจเรื่องนี้ จำเป็นต้องหันไปจับหลักการสำคัญคือ "กฏของเหตุผล" ทั้งนี้เพราะว่า "สิ่งทั้งหลายล้วนมาจากเหตุ"

    ความสุข ความสงบนั้น เป็นเหตุหรือเป็นผล?
ความสุข ความสงบ เป็นผล ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยสร้างเหตุแห่งความสุข ความสงบ ในขณะเดียวกันต้องเว้นเหตุแห่งความทุกข์ความเดือดร้อนด้วย สิ่งที่ก่อให้่กิดความสับสนคือ ในขณะที่คนบอกว่าตนต้องการความสุข  ไม่ต้องการความทุกข์ แต่เขากลับทำในทางตรงกันข้าม คือ
    "สร้างเหตุความทุกข์ ทอดทิ้งเหตุแห่งความสุข"
เหมือนคนที่เขาบอกให้เดินไปทางขวา แล้วจะถึงที่ที่เขาต้องการจะไป แต่เขากลับเดินไปทางซ้ายมือ เมื่อเป็นเช่นนี้ อย่างไรๆ เขาก็ไม่อาจถึงจุดหมายปลายทางที่เขาต้องการได้ไม่ว่าในกาลใดๆก็ตาม
    ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร?
เพราะพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ "ย้อนศร" ทางแห่ง ความสุข ความสงบ นั่นเอง โลกเคยเป็นเช่นนี้และยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป ตราบเท่าที่เขายังบอกว่าต้องการความสุข ความสงบ แต่ในขณะเดียวกันกลับยังคงสร้างเหตุแห่งความทุกข์ความเดือดร้อนอยู่

    เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ขณะเสด็จประทับที่ต้นจิกชื่อว่า มุจลินท์ ได้ทอดพระเนตรดูสัตว์โลกผู้แสวงหาความสุข แล้วทรงแสดงความสุขสุดยอด พร้อมทั้งเหตุให้เกิดความสุขไว้ว่า
    "สันติเป็นความสุขของผู้ยินดีตามมีตามได้สัมผัสธรรมด้วยใจตน
    การไม่เบียดเบียนกัน คือการระมัดระวังในสัตว์ทั้งหลาย เป็นความสุขในโลก
    ความปราศจากความกำหนัด คือก้าวล่วงกามทั้งหลายเสียได้ เป็นความสุขในโลก
    การกำจัดอัสมิมานะเสียได้ นั่นแหละเป็นความสุขอย่างยิ่ง"

พระพุทธดำรัสนี้ ทรงแสดงความสุข ความสงบ ในแง่ที่เป็นกระบวนของเหตุผล โดยทรงเน้นให้เห็นผลขั้นสุดท้ายคือ "สันติสุข" แต่สันติสุขจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ คนสามารถคุมใจตนเอง ให้มีความยินดีในทรัพย์สิน คู่ครอง และประโยชน์ตามที่ตนมีตามที่ตนได้มา เป็นเหตุให้ยุติการเบียดเบียนกันทางกาย ทรัพย์สิน คู่ครอง ผลประโยชน์ แต่การที่คนจะทำเช่นนั้นได้ต้องครอบงำความอยากที่บังเกิดขึ้นได้ อย่างน้อยที่สุดต้องสามารถทำใจของตนให้อยู่เหนือความอยากในขั้นรุนแรง ที่ทำให้ไปละเมิดสิทธิ หน้าที่ ผลประโยชน์ของกันและกัน โดยจะต้องลด ละ สิ่งที่ทรงใข้คำว่า "อัสมิมานะ" ออกจากใจให้จงได้

    อย่างน้อยที่สุดให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย เพราะอัสมิมานะเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้แต่ละคน จนถึงโลกขาด "สันติสุข" ทั้งๆที่มีการเรียกร้องสันติสุขกันตลอดมา จนถึงกับกำหนดเป็นปีสันติภาพสากลแล้ว ตราบใดที่อัสมิมานะยังมีอยู่ สันติสุขย่อมไม่อาจเกิดชึ้นได้อย่างแน่นอน นอกจากคนจะสามารถถ่ายถอนอัสมิมานะออกไปอย่างน้อยในขั้นบรรเทาได้ ความสุข ความสงบ จึงจะค่อยๆเกิด และเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น



มีต่อค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มิถุนายน 2557 12:54:32 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 35.0.1916.114 Chrome 35.0.1916.114


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 03 มิถุนายน 2557 12:56:57 »


    ก่อนอื่น จำเป็นต้องทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งว่า "อัสมิมานะ" คืออะไร?
อัสมิมานะ ซึ่งบางครั้งเราเรียกว่า อหังการ มมังการ คือความรู้สึกว่าเป็นเรา และเป็นของเรา จากความรู้สึกว่าเป็นเรา เป็นของเรานี้เอง นำไปสู่ความคิดชนิดที่เรียกว่า "เป็นเรา เป็นเขา เป็นของเรา ของเขา พวกเรา พวกเขา ชาติเรา ชาติเขา ค่ายเรา ค่ายเขา เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ความขัดแย้งกันอย่างที่มักพูดกันว่า ผลประโยชน์ขัดกันก็เกิดขึ้น จากนั้นเราจะพบวงจรใหม่ที่หมุนไปหาความ วุ่นวายและความทุกข์ ที่คนทั่วไปบอกว่าเกลียด แต่กลับพยายามวิ่งเข้าหามันครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะเจ้าความรู้สึกว่า เป็นเรา เป็นของเรา นั่นเอง ผลักดันให้เป็นไป

    ถ้ามองวงจรย้อนกลับ หรือการย้อนศรของผู้ต้องการ สันติสุข เราจะพบว่า เมื่อเกิดความรู้สึกเป็นเรา เป็นเขา เป็นของเรา เป็นของเขา ความคิดที่จะเอาของเขามาเป็นของเรา หรือทำลายพวกเขาก็บังเกิดขึ้นตามมาด้วย อันเป็นการทำตนให้ตกอยู่ภายใต้การบงการของความอยากได้ อยากเป็น อยากมี เมื่อความอยากรุนแรงมากยิ่งขึ้น ก็จะแสดงออกในรูปของการเบียดเบียน ประทุษร้ายกัน เพื่อเอาของเขามาเป็นของเราหรือเพื่อทำลายพวกเขา การทำลายหรือการเบียดเบียนนี้จะบังเกิดขึ้นจากจุดย่อยๆ คือใจของคนแต่ละคนก่อน
และเพราะเหตุที่คนมีความรู้สึกว่า เป็นเรา เป็นพวกเรา คนจึงหันมาเกาะกลุ่มกันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตนและพวกตน หากความรู้สึกเหล่านี้รุนแรงมาก การแสวงหาผลประโยชน์ก็จะแสดงออกในลักษณะยื้อแย่ง ต่อสู้ จนถึงขั้นทำลายล้างกันในลักษณะใครดีใครอยู่ อันเป็นสัญชาติญาณป่า การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมต่างๆ ของสัตว์โลกเหล่านี้ ตามทัศนะทางพระพุทธศาสนาได้จำแนกออกไปเป็นกลุ่มดังนี้ คือ

    ๑. มีความเป็นเรา มีความเป็นเขาอย่างรุนแรง พบกันก็ต้องทำลายกัน เช่นเดียวกับพังพอนและงูเห่า สัตว์เล็กกับสัตว์ใหญ่ หรือศัตรูคู่อาฆาตกัน เป็นต้น

    ๒. มีความเป็นเรา เป็นเขา ลดลงมา แต่เมื่อขัดผลประโยชน์กัน หรือบางครั้งเข้าใจว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะขัดผลประโยชน์ของตน ก็พร้อมที่จะทำลายล้างกันแย่งชิงกันจนเกิดพฤติกรรมแบบสัตว์ดิรัจฉานขึ้น ด้วยการ
        "แย่งอาหารกันกิน แย่งถิ่นกันอยู่ แย่งคู่กันพิศวาส แย่งอำนาจกันเป็นใหญ่" จนพร้อมที่จะทำลายทุกคน ทุกสิ่ง ที่ขัดขวางความอยากที่จะได้ของตน พฟติกรรมเหล่านี้มีอยู่ทั้งหมู่สัตว์และคนที่ให้ความสำคัญแก่ตน กับพวกของตน ปฏิเสธคนอื่นกับพวกของคนอื่นในระดับมากบ้าง ระดับกลางๆบ้าง

    ๓. มีความรู้สึกเป็นเรา เป็นเขา เป็นพวกเรา พวกเขาในระดับเคารพสิทธิ ผลประโยชน์ สวัสดิภาพของเขา โดยอาศัยความคิดเอาใจเขามาใส่ใจเรา จากพื้นฐานเดิมที่กล่าวมาแล้วคือ "ทุกชีวิตต้องการความสุข ไม่ต้องการความทุกข์" ดังนั้นการกระทำอะไรก็ตามที่เป็นการ "สร้างทุกข์ทำลายสุข" ของคนอื่นก็จะงดเว้นไม่กระทำ มีความเคารพในสิทธิทางร่างกาย ทรัพย์สิน คู่ครอง ผลประโยชน์ สวัสดิภาพของกันและกัน ไม่มีการเบียดเบียนประทุษร้ายกันช่วยให้สามารถสร้างสรรค์ ความสุขความสงบให้เกิดขึ้นได้ ตามนัยแห่งพุทธดำรัสที่ตรัสว่า
       "การไม่เบียดเบียนกัน คือการสำรวมระวังในสัตว์ทั้งหลาย เป็นความสุขในโลก"




                          มีต่อค่ะ
บันทึกการเข้า
คำค้น: พระราชธรรมนิเทศ ระแบบ ฐิตญาโณ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.453 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 19 พฤศจิกายน 2567 02:01:53