ชาวพุทธ ที่แท้จริง
พึงทราบว่า หลักของพระพุทธศาสนา คือ ละความชั่ว(ศีล) เป็นเบื้องต้น
ศีล มีไว้เพื่อการกำราบ กายและวาจา
หากแม้นไม่ผ่านตรงนี้แล้ว การเดินทางต่อไปย่อม ลำบากแล้ว
คุณไม่เข้าใจพุทธศาสนาเลย พุทธศาสนาคือกำราบใจอย่างเดียว ศีล มีไว้เพื่อการกำราบ กาย วาจา และใจ 95%ของทำผิดศีล 5
กายวาจา และใจจะเป็นไปทางเดียวกัน คือเป็นอกุศล แต่ถ้ากายและวาจาสวนทางกับใจ ต้องถือใจเป็นใหญ่
พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงธรรมไว้บทหนึ่งว่า
มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนมยา มโนเศรษฐา แปลว่า
ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ ในบรรดาสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในโลกนี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่าไม่มีอะไรจะสำคัญเท่ากับใจ
ถ้าคิดแบบคุณ ที่เอากายและวาจาเป็นใหญ่ ก็ฉิบหายอย่างเดียว
สัมมาทิฏฐิเรื่องศีลเป็นอย่างนี้:
ตัวอย่าง 1.
พระเวสสันดร ปากท่านโคตรชั่วเลย ยกลูก ยกเมีย ให้เป็นทาสคนอื่น แต่ใจของท่านคิดเสียสละสิ่งที่รักที่สุดของตน คือ ลูกเมีย เพื่อตัวท่านจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า เพื่อช่วยโปรดสอนสรรพชีวิตทั้งปวงใน 3 ภพ สิ่งที่พระเวสสันดรทำ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เป็นมหากุศล
2.
เมียยอดรัก ไม่ยอมยื้อชีวิตยอดรักเอาไว้ ให้หมอถอดเครื่องช่วยชีวิตยอดรักออก เพราะไม่ต้องการให้ยอดรักต้องทนทรมานต่ออีกวันสองวัน เจตนาในใจคือ ให้ยอดรักพ้นจากการทรมาน ไม่ได้ต้องการฆ่ายอดรัก แม้การกระทำเช่นนั้น จะมีผลให้ยอดรักตายไวกว่าที่ควร 1-2 วัน ก็หาใช่บาปไม่
3.
หลวงพี่เท่งตะโกนโกหกว่า "ตำรวจมา ตำรวจมา" เจตนาเพื่อช่วยคนที่ถูกรุมกระทืบ การโกหกเช่นนั้น คนร้ายที่รุมกระทืบคนๆนั้นจึงหนีไปหมด คนนั้นเลยรอดตาย นอกจากการโกหกของพระเท่ง จะไม่บาปแล้ว ยังเป็นบุญใหญ่ด้วย
4.
พระภิกษุสองรูปเดินไปด้วยกัน พบหญิงตกน้ำ ... พระคนหนึ่งกระโดดลงไปช่วยแบกหญิงคนนั้นขึ้นมา เจตนาต้องการช่วยชีวิตคน(หญิง) แม้ว่าจะผิดวินัยสงฆ์ ท่านก็ทำ เจตนาทางใจคือกรรม ไม่ใช่เจตนาทางกายเป็นตัวกรรม ด้วยเหตุนี้ พระคนนี้จึงได้บุญใหญ่ ไม่ใช่ได้บาป
... พระอีกคนไม่ลงไปช่วย เจตนาไม่ต้องการผิดวินัยสงฆ์ เกาะยึดคัมภีร์พระวินัยไว้แน่น เจตนาทางใจคือกรรม พระคนนี้จึงน่าจะได้บาปใหญ่ เพราะจิตไม่มีความเมตตากรุณา มีแต่ความเห็นแก่ตัวเองเท่านั้น ตายไป น่าจะเอาพระไตรปิฎกเล่มยักษ์ให้กอด แล้วเอาไปถ่วงน้ำให้ตาย 500 ชาติ
สรุปศีล 5 มีไว้เพื่ออบรมใจ ไม่ใช่อบรมกาย วาจา ส่วนใหญ่กายและวาจาจะไปทางเดียวกับใจ ถ้ากายและวาจาจะไปคนละทางเดียวกับใจ ต้องถือใจเป็นใหญ่ เพราะไม่มีอะไรสำคัญกว่าใจ ที่ต้องเป็นกุศล มีเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ มีใจที่เสียสละ แม้บางครั้งจะรู้ว่าผิดศีล 5 ก็ต้องทำ เพื่อเห็นแก่ผู้อื่น - มหากุศล หรือผลบุญใหญ่จึงจะเกิดขึ้น - แต่ถ้าใจเห็นแก่ตัว เขาก็จะกอดคัมภีร์ไว้แน่น ไม่ยอมละเมิดศีล 5 เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลคนอื่น