Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5797
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
|
|
« เมื่อ: 07 เมษายน 2557 14:13:48 » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กันยายน 2558 15:49:59 โดย กิมเล้ง »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5797
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 09 เมษายน 2557 14:07:16 » |
|
.ศีล ๕ศีล ข้อ ๑ ปาณาติบาตศีลข้อที่ ๑ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ปฏิบัติคู่กับเบญจธรรม ข้อที่ ๑ คือ เมตตา-กรุณา ซึ่งเป็นคุณธรรมหนุนให้การรักษาศีลมั่นคงยิ่งขึ้น ผู้มีจิตเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย คือความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข ไม่คิดทำร้ายหรือเบียดเบียนใครๆ ให้มีความทุกข์ความเดือดร้อน จึงทำให้มนุษย์และสัตว์สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
หากคนไม่มีเมตตาต่อกัน อะไรจะเกิดขึ้น ความวุ่นวายจะเกิดขึ้นในสังคมแน่นอน เพราะแต่ละคนต่างตกอยู่ในอำนาจของความโลภ ความโกรธ และความหลง จึงสามารถทำร้ายผู้อื่นให้บาดเจ็บถึงขั้นฆ่ากันให้ตายได้
หลักวินิจฉัยผิดศีลหรือไม่ ๑. สัตว์มีชีวิต ๒. รู้ว่าสัตว์มีชีวิต ๓. มีจิตคิดจะฆ่าให้ตาย ๔. พยายามฆ่า ๕. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
ถ้าครบทั้ง ๕ ข้อนี้ ผิดศีลข้อที่ ๑ ทันที
การฆ่ามนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉาน มีโทษแตกต่างกัน ฆ่ามนุษย์ มีโทษตามกฎหมายที่ร้ายแรง ตั้งแต่จำคุกถึงประหารชีวิต ถ้าเป็นพระสงฆ์หากฆ่ามนุษย์ตาย ต้องขาดจากความเป็นพระทันที และได้รับโทษทางกฎหมายบ้านเมืองด้วย การฆ่ามนุษย์นี้ จะฆ่าเองหรือจ้างวานให้ผู้อื่นไปฆ่า ถือว่ามีความผิดเหมือนกัน
การฆ่าตัวตาย จัดว่าผิดศีลข้อ ๑ และยังส่งผลให้ถูกสังคม ดูหมิ่น สร้างความเสื่อมเสียให้แก่วงศ์ตระกูล มีโทษมากเช่นกัน ผู้ฆ่าคนอื่นตาย ต้องมีชีวิตอยู่ด้วยความลำบาก คอยหลบซ่อนตัวหนีตำรวจ คอยระวังภัยที่ถูกตามล้างแค้น ถ้าถูกจับต้องติดคุก ไม่มีศักดิ์ศรี เป็นที่รังเกียจของสังคม
การฆ่าสัตว์เดรัจฉาน มีโทษเบากว่าฆ่ามนุษย์ ทางกฎหมายบ้านเมืองจะถูกปรับถ้าฆ่าสัตว์ของผู้อื่นหรือฆ่าสัตว์ที่ต้องห้าม จะมีโทษมากหรือน้อยนั้น อยู่ที่สัตว์นั้นมีคุณมากหรือน้อย ความพยายามของผู้ฆ่ามากหรือน้อย ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรฆ่าหรือเบียดเบียนกันเลย
ในพระธรรมวินัย ถ้าพระสงฆ์ฆ่าสัตว์เดรัจฉาน มีความผิด ต้องแสดงโทษแก่พระสงฆ์รูปอื่นให้ทราบ พร้อมทั้งประกาศว่าจะตั้งใจสำรวมระวังไม่ทำผิดคิดร้ายอีกต่อไป
การทำร้ายผู้อื่นให้เจ็บปวดทรมานถึงปางตาย ทำให้เขาพิการ ซึ่งบ่อยครั้งพบว่าการทำร้ายร่างกายกัน ผลมาจากการทะเลาะ วิวาทกัน เริ่มต้นด้วยอารมณ์โกรธ และขาดสติจึงทะเลาะกัน ทำร้ายกัน เป็นเหตุทำให้คนพยาบาทจองเวรและฆ่ากันในที่สุด ถือว่ามีมูลฐานมาจากจิตใจที่ไม่มีเมตตา
ดังนั้นการรักษาศีลข้อที่ ๑ คู่กับเบญจธรรม คือ เมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข ย่อมกำจัดความพยาบาทจองเวรกัน ย่อมปรารถนา ให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ ย่อมกำจัดความเบียดเบียนผู้อื่นที่เกิดขึ้นในใจได้ มีผลให้มีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข ไม่มีเวรภัย ไม่ต้องหวาดระแวงต่อกันและกัน ส่งผลถึงชาติหน้าได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ไม่มีโรค อายุยืน ไม่มีศัตรูเบียดเบียน
ไม่ต้องประสบอุบัติเหตุทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตก่อนวัย อันควรศีล ข้อ ๒ อทินนาทานศีลข้อที่ ๒ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ด้วยอาการลักขโมย ซึ่งมีหลายประเภท เช่น ลัก คือ การถือเอาสิ่งของด้วยอาการขโมย โดยเจ้าของไม่รู้ตัว ปล้น คือ การยกพวกเข้าไปในบ้านผู้อื่น แล้วรวบรวมสิ่งของที่ต้องการหนีไป หลอก คือ การพูดปดเพื่อต้องการได้สิ่งของผู้อื่นมาเป็นของตน ลวง คือ ทำให้เขาหลงเชื่อ แล้วยอมมอบสิ่งของให้ ปลอม คือ สิ่งของที่ไม่แท้ ทำให้ผู้อื่นเห็นว่าเป็นของแท้ ลักลอบ คือ เลี่ยงภาษี หรือละเมิดกฎหมายภาษีอากร ยักยอก คือ ถือเอาสิ่งของผู้อื่นที่ตนรักษาไว้ไปโดยการทุจริต
หลักวินิจฉัยผิดศีลหรือไม่ ๑. สิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน ๒. รู้ว่ามีเจ้าของหวงแหน ๓. มีจิตคิดจะลักขโมย ๔. มีความพยายามที่จะลักขโมยสิ่งนั้น ๕. สามารถลักขโมยสิ่งของนั้นมาได้
ถ้าครบทั้ง ๕ ข้อ ผิดศีลทันที
ในสังคมหรือหน่วยงานทุกสถานที่ ถ้ามีคนชอบลักขโมยเป็นประจำ คงอยู่กันอย่างไม่มีความสุข ต้องหวาดระแวง คอยระวังรักษาทรัพย์สินเงินทองอยู่ตลอดเวลา ผู้ที่ถูกลักขโมยหรือโกงทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องเสียใจ ไม่มีใครต้องการสูญเสียหรือเสียเปรียบใดๆ เป็นเหตุให้เกิดอาฆาตพยาบาทจองเวรกัน แม้แต่ญาติพี่น้องก็ไม่ยอมกัน ฟ้องร้องกัน ต้องไปสู้คดีกันที่ศาล มีแต่ความเดือดร้อนวุ่นวายไม่จบสิ้น
การดำเนินชีวิตตามกรอบของศีลข้อนี้ จึงต้องมีเบญจธรรม คือสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน ยินดีในการเลี้ยงชีวิตตนเองและครอบครัวด้วยกำลังความสามารถ โดยไม่มุ่งหวังทรัพย์สินของผู้อื่น
หากเป็นข้าราชการไม่คิดเบียดบังทรัพย์สินทางราชการ หรือแสวงหาผลประโยชน์จากเจ้าหน้าที่ ถือตามคติโบราณที่ว่า ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน พยายามมองเห็นภัยของการลักขโมยด้วยอาการต่างๆ ที่กล่าวมา มีผลเป็นความทุกข์ยากเดือดร้อน ต้องได้รับโทษตามความผิด ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล เป็นคนน่ารังเกียจ สังคมไม่ยอมรับ ไม่มีความสุขอันจะพึงได้รับเหมือนคนดีทั่วไป
พิจารณาเห็นคุณความดีของการรักษาศีลข้อนี้ พร้อมด้วยมีอาชีพซื่อสัตย์สุจริต จะก่อให้เกิดความสุข มีคนไว้วางใจ ยกย่องนับถือว่าเป็นคนใจซื่อมือสะอาด สังคมต้องการยิ่งนัก
ผลในภายหน้าทำให้เกิดมาในตระกูลที่ร่ำรวย ประกอบอาชีพใดจะมีแต่โอกาสที่ดี ได้ผลกำไรน่าพึงพอใจ มั่งมีทรัพย์สินตามที่ปรารถนา และสามารถรักษาสมบัติไว้ให้คงทนถาวร โดยไม่วิบัติด้วยภัยต่างๆ เช่น ถูกไฟไหม้ น้ำท่วม พายุโหมกระหน่ำให้เสียหาย ถูกโจรลักหรือถูกโกงไปศีลข้อ ๓ กาเมสุมิจฉาจารศีลข้อที่ ๓ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คำว่า กาม ในที่นี้หมายถึง อาการที่รักใคร่ในทางประเวณี ชายหญิงที่ประพฤติผิดล่วงเกินกันในทางเพศ
ลักษณะของชายหญิงที่ไม่ควรล่วงเกินกัน คือ - คนที่แต่งงานแล้ว หรืออยู่กินกันอย่างสามีภรรยาโดยเปิดเผย - มีผู้ปกครองคือบิดามารดา หรือญาติพี่น้องคุ้มครองรักษา - มีวงศ์ตระกูลรักษาคุ้มครอง - มีธรรมรักษาคือผู้ประพฤติธรรม เป็นนักบวช หรือ - มีกฎหมายคุ้มครอง เป็นต้น
หลักวินิจฉัยผิดศีลหรือไม่ ๑. วัตถุที่ไม่ควรล่วงเกิน เช่น ช่องปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องปาก เป็นต้น ๒. มีจิตคิดจะเสพในวัตถุที่ไม่ควรล่วงเกินนั้น ๓. มีความพยายามในการที่จะเสพ ๔. ความพยายามสำเร็จตามประสงค์
ถ้าครบทั้ง ๔ ข้อนี้ ผิดศีลทันที
การดำเนินชีวิตตามกรอบของศีลข้อนี้ให้บริสุทธิ์ กล่าวคือสามารถดำรงอยู่โดยปกติสุข ควรปฏิบัติคู่กับเบญจธรรม คือความสำรวมในกาม รู้จักยินดีพอใจในคู่ครองของตน เป็นคุณธรรมสำหรับผู้เป็นสามี แสดงถึงหน้าที่รับผิดชอบจะต้องยกย่องนับถือ ไม่ดูหมิ่นให้เสียน้ำใจ ยินดีพอใจรักใคร่ในภรรยาของตนอย่างสม่ำเสมอ ช่วยกันดูแลครอบครัวให้มีความสุข ไม่ผูกใจรักใคร่หญิงอื่นอีก
ฝ่ายภรรยา ควรปฏิบัติเช่นเดียวกัน มีความจงรักภักดีในสามีของตน ควรเอาใจใส่บำรุงตามหน้าที่ทุกอย่างโดยไม่บกพร่อง ประคองใจให้รักเดียวตลอดชีวิต
ผลเสีย การผิดศีลข้อสามนี้ที่ประพฤตินอกใจกัน ทำให้เกิดปัญหาวุ่นวายในครอบครัว จากคนที่เคยไว้ใจ กลายเป็นคนที่น่าหวาดระแวง จากคนที่เคยรัก กลายเป็นคนที่ชังกัน กลายเป็นปัญหาสังคมมากมาย เช่น ปัญหาเรื่องการแก่งแย่งคู่ครองกัน ปัญหาหญิงตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น เกิดขึ้นไม่รู้จบสิ้น
ผลดี ความยินดีพอใจในคู่ครองของตน จะไม่ทำให้เกิดปัญหาความแตกแยกในครอบครัว การอาฆาตพยาบาท ปองร้ายทำลายชีวิตกัน อันเนื่องมาจากการนอกใจของสามีภรรยา ปัญหาสังคมที่ผู้หญิงถูกรังแกข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งมีข่าวปรากฏให้เห็นไม่เว้นวัน จะไม่เกิดขึ้น ปัญหาความสำส่อนทางเพศเป็นเหตุให้ติดโรคร้ายทำลายชีวิตนับไม่ถ้วน จะไม่เกิดขึ้นอีก ทำให้ครอบครัวมีความสุขซึ่งถือว่าเป็นรากฐานสำคัญของสังคมประเทศชาติ ดังคำที่ว่า ครอบครัวที่ยิ่งใหญ่ คือชาติไทยที่มั่นคง
ผลดีในอนาคต เป็นแรงเสริมให้เกิดมาโชคดีในเรื่องความรัก ไม่ต้องเสียใจ เพราะความผิดหวัง เมื่อมีบุตรธิดาจะเป็นคนสอนง่าย ไม่ถูกคนอื่นหลอกลวงไปทำอนาจารให้เสียหาย มีแต่นำชื่อเสียงความดีงามมาให้ตนเองครอบครัวและวงศ์ตระกูลศีล ข้อ ๔ มุสาวาทศีลข้อที่ ๔ งดเว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดโกหก อาการแสดงความเท็จหรือโกหก มี ๒ ลักษณะ คือ (๑) มุสาทางวาจา พูดให้เข้าใจผิดโดยไม่มีมูลความจริง หลอกให้เสียประโยชน์ พูดให้ทะเลาะกัน พูดเสริมข้อมูลเดิมเกินความเป็นจริงทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อ ผิดสัญญาที่ตกลงกันไว้ (๒) มุสาทางกาย แสดงอาการทางกาย เช่น พยักหน้า ใช้มือส่งสัญญาณ หรือเขียนหนังสือสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจผิด
หลักวินิจฉัยผิดศีลหรือไม่ ๑. พูดเรื่องที่ไม่จริง ๒. ตั้งใจพูดให้ผิดความเป็นจริง ๓. พยายามพูดออกไป ๔. คนอื่นเข้าใจความหมายที่พูดนั้น
ถ้าครบทั้ง ๔ นี้ ผิดศีลทันที
ผลเสีย การพูดเท็จหรือพูดโกหกนั้น มีโทษน้อยหรือมาก อยู่ที่ความตั้งใจและผลเสียหายในการพูด
ในเบื้องต้นมีผลเสีย คือจะกล่าวสอนแนะนำใครๆ เช่น บุตรธิดา มิตรสหาย ศิษย์บริวาร ไม่มีคนเชื่อฟังนับถือ คำพูดไม่มีความหมายไร้ประโยชน์ เป็นการทำลายความดี ชื่อเสียง เกียรติ ของตนเอง ครอบครัวและวงศ์ตระกูลให้เสื่อมเสีย เกิดการทะเลาะวิวาท หรือถูกแจ้งความดำเนินคดี ฟ้องร้องกัน ดังตัวอย่างเรื่องปลาทองปากเหม็น...ชายหนุ่มสองพี่น้อง มีใจเลื่อมใส บวชในพระพุทธศาสนา พระพี่ชายมีอัธยาศัยน้อมไปในการปฏิบัติธรรม ได้ศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ตั้งใจปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ไม่นานนักท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ส่วนพระน้องชายสนใจเรื่องการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม มีความรู้ความชำนาญในพระสูตรต่างๆ และทรงจำได้มาก สามารถแสดงธรรมได้อย่างวิจิตรพิสดาร สาธารณชนยกย่องนับถือท่านเป็นจำนวนมาก
ต่อมา พระน้องชายหลงตัวเองสำคัญว่ารู้ซึ้งในพระธรรมวินัย กล่าวผิดหลักธรรมคำสั่งสอน เที่ยวด่าพระภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์ พระพี่ชายซึ่งเป็นพระอรหันต์ว่ากล่าวตักเตือน แต่ไม่ยอมเชื่อฟัง ทั้งพระภิกษุสามเณรและสาธุชน ต่างระอาใจหมดศรัทธาไม่เชื่อฟังและเคารพนับถือเหมือนเช่นเคย หลังจากท่านมรณภาพแล้ว ด้วยผลกรรมนั้นนำไปเกิดในนรก ต้องทนทุกข์ทรมานแสนนาน ต่อจากนั้นไปเกิดเป็นปลาซึ่งมีลักษณะพิเศษ ทั่วตัวเป็นสีทอง แต่ปากเหม็นมาก ถูกชาวประมงจับได้ จึงพากันนำไปถวายพระราชา พระราชานำความไปทูลถามพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ตรัสเล่าเรื่องในอดีตของปลาทองที่เคยทำผิดศีลข้อที่สี่
การดำเนินชีวิตตามกรอบของศีลข้อนี้ ที่ถูกต้องดีงาม ควรปฏิบัติคู่กับเบญจธรรมคือความซื่อสัตย์ ความจริงใจ งดเว้นการพูดโกหกในทุกกรณี ซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เพราะธรรมชาติของทุกคนรู้สึกยินดีในความซื่อสัตย์ ความจริงใจ รังเกียจคนหลอกลวงกัน
เมื่อพูดจาด้วยความจริงใจต่อกัน ทำให้เกิดความเคารพนับถือกันและกัน ทั้งช่วยรักษาผลประโยชน์และมิตรภาพที่ดีไว้ได้ ทำให้เป็นคนมีน้ำเสียงไพเราะนุ่มนวลชวนฟังดุจเสียงพรหม มีไหวพริบปฏิภาณในการพูด มีบุตรธิดา มิตรสหายบริวาร จะอยู่ในโอวาทว่านอนสอนง่าย เชื่อฟังคำแนะนำสั่งสอนด้วยดีศีล ข้อ ๕ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานศีลข้อที่ ๕ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท สุรา คือ น้ำเมาที่กลั่นออกมาจากเมรัย มีความเข้มข้นมาก ส่วน เมรัย คือ น้ำเมาที่เป็นของดองจากธัญชาติ มีรสหวานเช่น ไวน์
สุราและเมรัยนั้น เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะทำให้ผู้ดื่มมึนเมา ขาดสติไม่รู้สึกตัว เปลี่ยนคนดีๆ ให้กลายเป็นคนไม่ดี
หลักวินิจฉัยผิดศีลหรือไม่ ๑. เป็นน้ำเมาชนิดต่างๆ ๒. มีความตั้งใจจะดื่มน้ำเมา ๓. มีความพยายามดื่มน้ำเมา ๔. น้ำเมานั้นล่วงลำคอลงไป
ถ้าครบทั้ง ๔ ข้อผิดศีลทันที
ผลเสีย - ทำให้เสียทรัพย์ ในการจัดซื้อมาดื่ม ต้องสิ้นเปลืองทรัพย์สินเงินทอง เพิ่มค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นและไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด - มีเหตุทะเลาะวิวาทกัน เมื่อดื่มมากสามารถเปลี่ยนนิสัยคนได้ จากที่เคยสงบเสงี่ยมเรียบร้อย กลายเป็นคนอันธพาล หาเรื่องทะเลาะวิวาทกัน จากมิตรกลายเป็นศัตรู - เสียสุขภาพ มีผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย เซลล์สมองจะถูกทำลาย กลายเป็นโรคสมองเสื่อม เป็นโรคตับแข็ง เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หากดื่มมากเกินปริมาณทำให้เสียสมดุลทางร่างกาย เกิดอันตรายในเวลาขับรถ ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนนับไม่ถ้วน ทำให้บาดเจ็บบ้าง พิการบ้าง เสียชีวิตบ้าง - เสียชื่อเสียง มีแต่คนรังเกียจว่าเป็นคนขี้เหล้าเมายา ไม่มีใครต้องการสมาคม ในที่ทำงานหรือเพื่อนบ้านก็เช่นเดียวกัน ถูกตำหนิถึงพ่อแม่พี่น้องวงศ์ตระกูล - ไม่รู้จักอาย กลายเป็นคนหน้าด้าน สามารถแสดงออกในด้านที่ไม่ดี คำพูดที่ไม่ควรพูด การกระทำที่ไม่ควรกระทำ - บั่นทอนปัญญา ที่พบเห็นอยู่ในสังคมจะเป็นคนปัญญาอ่อน มีอาการเหมือนเบลอๆ เรียนรู้ได้ช้า ไม่สามารถแยกแยะ ถึงเหตุผลดีหรือไม่ดี ทำอะไรด้วยความประมาทขาดสติ ใจร้อนตัดสินใจผิดพลาดบ่อยครั้ง เป็นผลมาจากการดื่มสุราเมรัยรวมถึงยากเสพติดทั้งสิ้น
ภาพของคนมึนเมาสุราหรือยาบ้าที่ทำร้ายตนเองบ้าง ทำร้ายผู้อื่นบ้าง นั่นเป็นผลแห่งการกระทำความชั่วคือละเมิดศีลข้อ ๕ ซึ่งไม่มีใครชื่นชมยกย่อง มีแต่คนสาปแช่งนินทาตลอดไป
การดำเนินชีวิตตามกรอบของศีลข้อนี้ที่ถูกต้องดีงาม ควรปฏิบัติคู่กับเบญจธรรมคือ มีสติรอบคอบ มีใครมาชวนไปทำผิดเช่นการดื่มน้ำเมา ไม่ควรใจอ่อนหรือปล่อยใจไปตามกระแสจนเกินไป มีจุดยืนของตัวเอง รู้จักเลือกทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
ผลแห่งการปฏิบัติ คือ ไม่ต้องประสบความทุกข์เดือดร้อนในภายหน้า ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน มีชื่อเสียงในสังคมคนดี เป็นคนองอาจไม่เก้อเขินเมื่อเข้าไปในหมู่ของคนดี มีสติ ปัญญาที่บริบูรณ์ จะศึกษาเล่าเรียนสิ่งใดเข้าใจง่ายแตกฉาน เป็นเหตุให้บรรลุธรรมชั้นสูงได้จากคอลัมน์ "ธรรมะวันหยุด" หนังสือพิมพ์ข่าวสด โดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กันยายน 2558 15:56:45 โดย กิมเล้ง »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5797
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2557 18:14:01 » |
|
.กาลทานกฐิน จัดเป็นกาลทาน เนื่องด้วยเวลาที่จะทอดกฐินนั้น มีเวลาที่จำกัด ทรงอนุญาตไว้เพียง ๑ เดือนเท่านั้น คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
ถ้าถวายก่อนหรือหลังเวลาจากนี้ไป แม้ผู้มีจิตศรัทธาตั้งใจถวายให้เป็นกฐิน ก็ไม่จัดว่าเป็นกฐิน ดังนั้น กฐินจึงจัดเป็นกาลทาน คือการให้ทานตามกาล ซึ่งเป็นหนึ่งในสัปปุริสทาน คือการให้ทานของผู้ฉลาด ๕ ประการ คือ
๑. ให้ด้วยศรัทธา ผู้ให้ด้วยความเชื่ออย่างมีเหตุผล ผลของการให้นี้ คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปร่างสัณฐานงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก ๒. ให้ด้วยความเคารพผู้ให้ด้วยความเคารพ ผลของการให้นี้ คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีบุตร ภรรยา สามี ทาส คนใช้หรือบริวาร เป็นผู้เชื่อฟังคำสั่งสอน ว่านอนสอนง่าย ไม่ขัดใจในการงานที่ดีทุกอย่าง ๓. ให้ทานตามกาล ผู้ให้ตามกาล ผลของการให้นี้ คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างล้นเหลือ ตามกาลหรือวัยของตน คือเจริญในปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย ๔. ให้ด้วยจิตอนุเคราะห์ ผู้ให้ด้วยจิตอนุเคราะห์อย่างแท้จริง ไม่ยึดติดหรือเสียดายหลังจากให้แล้ว ผลของการให้นี้ คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไป เพื่อบริโภคกามคุณ ซึ่งเป็นสมบัติที่มีอยู่ของตนอย่างมีความสุข มิใช่เป็นเพียงผู้เฝ้าทรัพย์เท่านั้น ๕. ให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น ผู้ให้โดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ผลของการให้นี้ คือเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ ไม่เสียหายวิบัติไปด้วยภัย คือ ไฟไหม้ น้ำท่วม โจรปล้น พระราชายึดเข้าพระคลัง หรือภัยจากญาติหรือคนที่เป็นศัตรูกัน
การทอดกฐินนี้ ผู้ที่เข้าใจจึงได้ปฏิบัติตามหลักสัปปุริสทาน ทั้ง ๕ ประการนี้
นอกจากนี้ ผู้นำบุญคือผู้เป็นเจ้าภาพ จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ และบริวารสมบัติ มีตัวอย่างในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๔ เรื่องบัณฑิตสามเณร พระพุทธองค์ตรัสอนุโมทนาว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย บางคนในโลกนี้คิดว่า เราควรให้เฉพาะของตนเท่านั้น ไม่มีประโยชน์ด้วยการชักชวนผู้อื่น แล้วให้เฉพาะตนเท่านั้น ไม่ชักชวนผู้อื่น เขาเกิดมาย่อมได้โภคสมบัติ แต่ไม่ได้บริวารสมบัติ บางคนชักชวนผู้อื่น แต่ตนเองไม่ให้ เขาเกิดมา ย่อมได้บริวารสมบัติ แต่ไม่ได้โภคสมบัติ บางคนตนเองไม่ให้ ผู้อื่นก็ไม่ได้ชักชวน เขาเกิดมา ย่อมไม่ได้โภคสมบัติและไม่ได้บริวารสมบัติ บางคนตนเองให้ทานด้วย ชักชวนผู้อื่นด้วย เขาเกิดมา ย่อมได้ทั้งโภคสมบัติทั้งบริวารสมบัติ
ดังนั้น การทอดกฐิน จึงจัดว่าเป็นกาลทาน ถวายทานตามกาล นับว่าเป็นมงคลสำหรับชีวิต เพราะได้สั่งสมบุญบารมีที่บัณฑิตสรรเสริญ และเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ให้มีความมั่นคงยั่งยืนนาน จากคอลัมน์ "ธรรมะวันหยุด" หนังสือพิมพ์ข่าวสด โดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร กรุงเทพมหานคร20-20
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กันยายน 2558 16:04:39 โดย กิมเล้ง »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5797
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2558 17:25:53 » |
|
.เข้าใจชีวิตชีวิตของคนเราที่เป็นไปในโลกปัจจุบันนี้ ย่อมจะมีปัญหาให้ขบคิดกันอยู่เสมอมาทุกยุคทุกสมัย สมัยใดมีผู้รู้แจ้งเห็นจริงในชีวิตเกิดขึ้น เป็นเหตุให้ชาวโลกดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องได้ การเกิดขึ้นของท่านผู้รู้เหล่านี้ จึงเป็นเหมือนหนึ่งดวงประทีปที่ลุกโชติช่วงขึ้นในท่ามกลางความมืดมน ให้ชาวโลกได้รับรู้เห็นสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น
ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะอุบัติเกิดขึ้นมาในโลกนั้น ชาวโลกได้พากันดิ้นรนแสวงหาทางที่จะนำชีวิตไปสู่ความพ้นทุกข์กันแล้ว แต่การแสวงหาทางพ้นทุกข์ในสมัยก่อนพุทธกาลนั้น ต่างก็พากันปฏิบัติไปตามความเห็นของตนว่าถูกต้องแล้ว ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรแน่นอนเท่าใดนัก เจ้าสำนักทั้งหลายในสมัยนั้นจึงเกิดขึ้นมากมายตั้งตัวเป็นอาจารย์กัน ต่างก็ให้หลักการอันเป็นความเห็นส่วนตัวแก่ชาวโลก
บางอาจารย์สอนว่า ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมา เมื่อแตกดับเสียชีวิตไปแล้ว ก็สูญสิ้นไปเลย ไม่มีการเกิดอีก เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องไปสร้างกรรมดีให้เสียเวลา เพราะผลแห่งกรรมดีก็ไม่มี ผลแห่งความชั่วก็ไม่มี การบำเพ็ญทานรักษาศีลเจริญภาวนาก็ไม่มี มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ไม่ต้องเกรงกลัวอะไรทั้งสิ้น ฉะนั้น ชีวิตของเราที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ จึงควรแสวงหาความสุขใส่ตัวให้เต็มที่ ใครจะเดือดร้อนก็ช่างไม่สนใจเพราะเกิดมาแล้วชาติเดียวเท่านั้น ตายไปแล้วก็สูญไปเลยไม่เกิดอีก นรกสวรรค์ไม่มี เป็นเรื่องเท็จทั้งนั้น คนที่เชื่อในลัทธิเหล่านี้ก็หมดความเกรงกลัวต่อบาป หมดความละอายต่อการกระทำกรรมชั่วของตน
บางอาจารย์สอนว่า คนเราจะดีจะชั่ว ก็เป็นไปเอง จิตคนเราจะบริสุทธิ์ได้คือ บริสุทธิ์เอง ไม่จำเป็นจะต้องไปฝึกหัดปฏิบัติให้เสียเวลา การไปนั่งภาวนาเพื่อกำจัดกิเลสออกจากจิตนั้นถือว่าไม่มีประโยชน์อะไร เพราะจิตจะบริสุทธิ์ได้เอง ไม่ต้องไปชำระจิตให้เสียเวลา
บางอาจารย์สอนว่า คนเราจะดีหรือชั่วนั้น อยู่ที่อิทธิพลของดวงชะตา แล้วแต่ดวงดาว ที่โคจรไปมาในจักรราศี ถ้าดวงดาวโคจรเข้าสู่ราศีที่ไม่ดีแล้ว ถึงจะทำกรรมดีมากเพียงใด ไม่สามารถประสบผลดีได้ ถ้าดวงดาวโคจร สู่ราศีที่ดีแล้ว ถ้าจะทำกรรมชั่วถือว่าไม่เป็นไร ดวงช่วยไว้ได้
บางอาจารย์สอนว่า ชีวิตของสรรพสัตว์ พระพรหมสร้างมาทั้งนั้น คนเราจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับพระพรหม แล้วแต่ท่าน จะลิขิตชีวิตให้เป็นไปตามพรหมลิขิต หรือพระเจ้าเป็นผู้ลิขิต ฉะนั้น เมื่อคนเราประสบความทุกข์ความเสื่อม ต้องก้มหน้าเดินไปบนเส้นทางชีวิต ที่เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานนั้น ต้องก้มหน้ายอมรับเอาความทุกข์ความเสื่อมนั้นด้วยความภักดี ไม่คิดแก้ไขให้ดีขึ้นได้
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหนึ่ง ที่ เกิดขึ้นท่ามกลางเจ้าสำนักครูอาจารย์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้อริยสัจธรรม ทรงเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ เป็น ผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว ทรงแจกจำแนกเปิดเผยแสดงธรรม ทุกอย่าง ทั้งที่เป็นส่วนดี ควรปฏิบัติตาม ทั้งที่เป็นส่วนไม่ดี ควรงดเว้น
พระพุทธองค์ ทรงตรัสสอนให้ ชาวโลกทั้งหลายได้ทราบถึงกฎแห่งความเป็นจริงของชีวิตว่า ไม่มีผู้ใดสร้างขึ้น แต่กระบวนการของชีวิตเป็นไปตามกฎแห่งกรรม บุคคลผู้มืดมา มืดไปบุคคลที่เกิดมาในโลกนี้ มีความเป็นอยู่ที่ไม่เสมอเหมือนกัน อันเนื่องมาจากผลของกรรม คือ การกระทำทั้งบุญกุศล คือ คุณงามความดี ทั้งบาปอกุศล คือ ความชั่ว ที่ได้ทำไว้ในอดีต และกำลังทำอยู่ในปัจจุบันส่งผลทำให้มีฐานะยากดี มีจน การประกอบอาชีพการงาน และความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแยกบุคคลที่มีความเป็นอยู่แตกต่างกันเช่นนี้ไว้ในตมสูตร จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๔ ประเภท คือ ๑.บุคคลผู้มืดมา มืดไป ๒.บุคคลผู้มืดมา สว่างไป ๓.บุคคลผู้สว่างมา มืดไป ๔.บุคคลผู้สว่างมา สว่างไป
ประเภทที่ ๑ บุคคลผู้มืดมา มืดไป หมายถึง บุคคลผู้เกิดในตระกูลต่ำ คือ เป็นตระกูลที่จนยาก ปราศจากทรัพย์สมบัติเงินทอง เป็นผู้ขาดแคลนด้วยสิ่งของทุกอย่าง มีความเป็นอยู่ที่ฝืดเคืองขัดสน จะจับจ่ายใช้สอยต้องลำบาก เป็นเพราะในอดีตชาติที่ผ่านมา ไม่ได้ประกอบในทางแห่งกุศลกรรม คุณงามความดี อันเป็นทางที่จะนำให้ไปเกิดในภูมิภพที่ดี คือเป็นมนุษย์ หรือประกอบกุศลผลบุญความดีมาเหมือนกัน แต่ทำน้อย ผลบุญนั้นจึงส่งให้มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ แต่กลับหมดอำนาจลง ส่งผลให้เป็นคนขัดสนจนยาก ต้องลำบากทำงานเลี้ยงชีวิต
บุคคลผู้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ขัดสนจนยากดังว่ามานี้แล้ว ไม่ขยันทำงาน ไม่หมั่นประกอบบุญกุศลคุณงามความดี กลับประพฤติทุจริต คือ ทำกรรมชั่ว อันจะเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ ทำความชั่วทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ลักขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น ประพฤติผิดในกาม ทำความชั่วทางวาจา เช่น พูดโกหกโป้ปดมดเท็จ พูดส่อเสียดให้ผู้อื่นเจ็บช้ำน้ำใจ พูดจาหยาบคาย พูดคำพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีประโยชน์ หาสาระไม่ได้ และทำความชั่วทางใจ เช่น มีความโลภอยากได้ของผู้อื่น คิดพยาบาทเบียดเบียนผู้อื่น มีความเห็นผิดไปจากทำนองคลองธรรม คือ เห็นว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำบุญแล้วไม่ส่งผล เป็นต้น
บุคคลผู้ประพฤติเช่นที่กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึงอบายภูมิ ๔ อันได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน
จะได้ยกเรื่องของบุคคลผู้ที่มืดมา และกลับมืดไป เป็นอุทาหรณ์ มีโจรอยู่คนหนึ่ง มักจะประกอบกรรมชั่ว คือลักขโมยทรัพย์สินผู้อื่น ตัดช่องย่องเบาในเวลากลางคืออยู่เป็นประจำ วันหนึ่งเมื่อเสร็จกิจของตนแล้ว จึงได้นอนพักที่ศาลาใกล้ประตูเมือง ท่านสุมังคลเศรษฐีผู้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทุกวันเห็นเข้าจึงกล่าวว่า เจ้าคนนี้ คงจักเป็นคนเที่ยวเตร่ในตอนกลางคืน จึงมานอนอยู่ที่นี้
ฝ่ายโจรได้ยินเข้าจึงมองดูเห็นเศรษฐีแล้วผูกอาฆาตพยาบาทอยู่ในใจ วันหลังเมื่อได้โอกาสจึงเผานาของสุมังคลเศรษฐี ๗ ครั้ง ตัดเท้าโคในคอก ๗ ครั้ง เผาเรือน ๗ ครั้ง และครั้งสุดท้าย ได้เผาพระคันธกุฏิที่เศรษฐีสร้างถวายพระพุทธเจ้า การกระทำดังกล่าวมาไม่ได้ทำให้เศรษฐีโกรธตอบเลย ทำให้โจรเดือดร้อนใจ จึงคิดที่จะฆ่าเศรษฐีให้ได้ แต่ไม่ได้โอกาส โจรนั้นเมื่อตายไป ไปเกิดในอเวจีมหานรก เสวยกรรมชั่วของตนเป็นเวลายาวนาน และได้มาเกิดเป็นเปรตถูกไฟไหม้อยู่มาจนกระทั่งบัดนี้
ดังนั้น บุคคลผู้ที่เกิดในตระกูลที่ต่ำ ซ้ำประพฤติทุจริตเป็นอาจิณ จึงส่งผลให้ได้รับทุกข์โทษ เปรียบได้กับบุคคลผู้ออกจากที่มืด ไปสู่ที่มืด บุคคลผู้มืดมา สว่างไปประเภทที่ ๒ คือ บุคคลผู้มืดมา สว่างไป หมายถึง บุคคลผู้เกิดในตระกูลต่ำ เป็นตระกูลที่จนยาก ปราศจากทรัพย์สมบัติเงินทอง มีความเป็นอยู่ฝืดเคือง เป็นเพราะในอดีตชาติที่ผ่านมานั้น ไม่ได้ประ กอบในทางแห่งกุศลกรรม คุณงามความดี อันเป็นทางที่จะนำให้ไปเกิดในภูมิภพที่ดี คือ เป็นมนุษย์ หรือประกอบกุศลผลบุญความดีมาเหมือนกัน แต่ทำน้อย ผลบุญนั้นจึงส่งให้มาเกิดเป็นมนุษย์ แล้วกลับหมดอำนาจลง ส่งผลให้เป็นคนขัดสนจนยาก ต้องลำบากในการดำรงชีวิต
ผู้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ขัดสนจนยากดังว่ามานี้แล้ว ไม่มีความน้อยเนื้อต่ำใจ ในวาสนาของตนเอง แต่เป็นผู้รู้ตน มีความขยัน หมั่นประกอบอาชีพการงาน และยังประกอบคุณงามความดี ด้วยคิดว่า ที่ตนเองเกิดมายากจนนั้น เป็นเพราะไม่ได้ทำบุญให้ทานมาแต่ก่อน ในชาตินี้เมื่อมีโอกาสจึงทำบุญให้ทาน ประพฤติสุจริต คือ ประกอบแต่กรรมดี อันเป็นทางนำไปสู่ทางที่ดี มีความสุข
ทำความดีทางกาย เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ประพฤติผิดในกาม
ทำความดีทางวาจา เช่น ไม่พูดโกหกหลอกลวงผู้อื่น ไม่พูด ส่อเสียดให้ผู้อื่นเจ็บช้ำน้ำใจ ไม่พูดจาหยาบคาย ไม่พูดคำพูดเพ้อเจ้อ ที่ไม่มีประโยชน์ ไม่มีสาระ
ทำความดีทางใจ เช่น ไม่มีความโลภอยากได้ของผู้อื่น ไม่คิดพยาบาทเบียดเบียนผู้อื่น มีความเห็นชอบ คือ ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำบุญแล้วให้ผลที่ดี
ผู้ประพฤติดังนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ มีแต่ความสุขความเจริญ
มีเรื่องของบุคคลผู้ที่มืดมา และกลับสว่างไป เป็นอุทาหรณ์ คนรับใช้คนหนึ่งของจูฬกเศรษฐี เป็นคนยากจน ทำงานตามที่ท่านเศรษฐีประสงค์จะใช้ ด้วยความขยัน วันหนึ่งคิดว่า ถ้าเราทำงานรับจ้าง ผู้อื่นอยู่อย่างนี้ คงจะไม่มีทรัพย์สินเงินทองเก็บไว้ใช้ในยามเดือดร้อนเป็นแน่ จึงไปปรึกษากับเศรษฐี
พอท่านเศรษฐีเห็นดีด้วยแล้วจึงคิดที่จะทำการค้าขาย พอดีเห็นคนรับใช้คนอื่น นำหนูตายตัวหนึ่งไปทิ้ง จึงขอไว้แล้วคิดว่า จะทำอะไรดี จึงนำไปขายให้กับคนเลี้ยงแมว ได้เงินมาจำนวนหนึ่ง นำเงินนั้นไปซื้อดอกไม้มาขายต่อไป นำผลกำไรที่ได้จากการขายดอกไม้ ไปซื้อไม้กับคนทำสวนที่เขาไม่ต้องการ นำไม้ที่ได้ ไปขายให้กับช่างปั้นหม้อ เพื่อไว้ใช้เผาภาชนะดิน นำผลกำไรที่ได้เพิ่มขึ้นอีก ไปซื้อหญ้าแล้วนำไปขายให้กับคนเลี้ยงม้า ได้เงินมาเป็นจำนวนมากแล้วนำไปเก็บรักษาไว้อย่างดี
ต่อมาได้ลงทุนทำการค้าขายทางเรือกับพวกพ่อค้าต่างเมือง ได้เงินทองมากขึ้นตามลำดับ
ต่อมาระลึกถึงจูฬกเศรษฐีผู้ที่เคยมีบุญคุณอุปการะแก่ตนมาก่อน ด้วยความกตัญญูกตเวที จึงนำเงินทองครึ่งหนึ่งจากที่ตนหามาได้ มามอบให้แก่ท่านเศรษฐี
ท่านเศรษฐีเห็นทรัพย์แล้วจึงคิดว่า คนที่ฉลาด ขยันหมั่นหาทรัพย์เช่นคนคนนี้ ไม่สมควรที่จะเป็นคนรับใช้ของเรา เมื่อคิดได้ดังนี้แล้ว จึงมอบเงินคืนให้และได้ยกธิดาคนหนึ่งของตนให้ พร้อมกับมอบเงินทองให้อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งต่อมาเมื่อเศรษฐีล่วงลับไปแล้ว เขาได้รับตำแหน่งเศรษฐี ทำความดี บำเพ็ญกุศลต่อไปจนตลอดชีวิต
ดังนั้น บุคคลผู้ที่เกิดในตระกูลที่ต่ำ แต่กลับทำความดี ประพฤติสุจริตเป็นประจำ จึงนำให้ไปเกิดในสุคติภพ เปรียบได้กับบุคคล ผู้ออกจากที่มืด ไปสู่ที่สว่าง.บุคคลผู้มืดมา มืดไปบุคคลที่เกิดมาในโลกนี้ มีความเป็นอยู่ที่ไม่เสมอเหมือนกัน อันเนื่องมาจากผลของกรรม คือ การกระทำทั้งบุญกุศล คือ คุณงามความดี ทั้งบาปอกุศล คือ ความชั่ว ที่ได้ทำไว้ในอดีต และกำลังทำอยู่ในปัจจุบันส่งผลทำให้มีฐานะยากดี มีจน การประกอบอาชีพการงาน และความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแยกบุคคลที่มีความเป็นอยู่แตกต่างกันเช่นนี้ไว้ในตมสูตร จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๔ ประเภท คือ ๑. บุคคลผู้มืดมา มืดไป ๒. บุคคลผู้มืดมา สว่างไป ๓. บุคคลผู้สว่างมา มืดไป ๔. บุคคลผู้สว่างมา สว่างไป
ประเภทที่ ๑ บุคคลผู้มืดมา มืดไป หมายถึง บุคคลผู้เกิดในตระกูลต่ำ คือ เป็นตระกูลที่จนยาก ปราศจากทรัพย์สมบัติเงินทอง เป็นผู้ขาดแคลนด้วยสิ่งของทุกอย่าง มีความเป็นอยู่ที่ฝืดเคืองขัดสน จะจับจ่ายใช้สอยต้องลำบาก เป็นเพราะในอดีตชาติที่ผ่านมา ไม่ได้ประกอบในทางแห่งกุศลกรรม คุณงามความดี อันเป็นทางที่จะนำให้ไปเกิดในภูมิภพที่ดี คือเป็นมนุษย์ หรือประกอบกุศลผลบุญความดีมาเหมือนกัน แต่ทำน้อย ผลบุญนั้นจึงส่งให้มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ แต่กลับหมดอำนาจลง ส่งผลให้เป็นคนขัดสนจนยาก ต้องลำบากทำงานเลี้ยงชีวิต
บุคคลผู้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ขัดสนจนยากดังว่ามานี้แล้ว ไม่ขยันทำงาน ไม่หมั่นประกอบบุญกุศลคุณงามความดี กลับประพฤติทุจริต คือ ทำกรรมชั่ว อันจะเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ - ทำความชั่วทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ลักขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น ประพฤติผิดในกาม - ทำความชั่วทางวาจา เช่น พูดโกหกโป้ปดมดเท็จ พูดส่อเสียดให้ผู้อื่นเจ็บช้ำน้ำใจ พูดจาหยาบคาย พูดคำพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีประโยชน์ หาสาระไม่ได้ - - และ ทำความชั่วทางใจ เช่น มีความโลภอยากได้ของผู้อื่น คิดพยาบาทเบียดเบียนผู้อื่น มีความเห็นผิด ไปจากทำนองคลองธรรม คือ เห็นว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำบุญแล้วไม่ส่งผล เป็นต้น
บุคคลผู้ประพฤติเช่นที่กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึงอบายภูมิ ๔ อันได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน
จะได้ยกเรื่องของบุคคลผู้ที่มืดมา และกลับมืดไป เป็นอุทาหรณ์ มีโจรอยู่คนหนึ่ง มักจะประกอบกรรมชั่ว คือลักขโมยทรัพย์สินผู้อื่น ตัดช่องย่องเบาในเวลากลางคืออยู่เป็นประจำ วันหนึ่งเมื่อเสร็จกิจของตนแล้ว จึงได้นอนพักที่ศาลาใกล้ประตูเมือง ท่านสุมังคลเศรษฐีผู้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทุกวันเห็นเข้าจึงกล่าวว่า เจ้าคนนี้คงจักเป็นคนเที่ยวเตร่ในตอนกลางคืน จึงมานอนอยู่ที่นี้
ฝ่ายโจรได้ยินเข้าจึงมองดูเห็นเศรษฐีแล้วผูกอาฆาตพยาบาทอยู่ในใจ วันหลังเมื่อได้โอกาสจึงเผานาของสุมังคลเศรษฐี ๗ ครั้ง ตัดเท้าโคในคอก ๗ ครั้ง เผาเรือน ๗ ครั้ง และครั้งสุดท้าย ได้เผาพระคันธกุฏิที่เศรษฐีสร้างถวายพระพุทธเจ้า การกระทำดังกล่าวมาไม่ได้ทำให้เศรษฐีโกรธตอบเลย ทำให้โจรเดือดร้อนใจ จึงคิดที่จะฆ่าเศรษฐีให้ได้ แต่ไม่ได้โอกาส โจรนั้นเมื่อตายไป ไปเกิดในอเวจีมหานรก เสวยกรรมชั่วของตนเป็นเวลายาวนาน และได้มาเกิดเป็นเปรตถูกไฟไหม้อยู่มาจนกระทั่งบัดนี้
ดังนั้น บุคคลผู้ที่เกิดในตระกูลที่ต่ำ ซ้ำประพฤติทุจริตเป็นอาจิณ จึงส่งผลให้ได้รับทุกข์โทษ เปรียบได้กับบุคคลผู้ออกจากที่มืด ไปสู่ที่มืด จากคอลัมน์ "ธรรมะวันหยุด" หนังสือพิมพ์ข่าวสด โดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร กรุงเทพมหานคร20-20
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 พฤษภาคม 2558 15:23:00 โดย กิมเล้ง »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
|
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5797
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 28 กันยายน 2558 16:23:35 » |
|
.ทำงานไม่ให้คั่งค้างการทำงาน จัดว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตและทำชีวิตให้มีคุณค่า สามารถชักนำให้มนุษย์รู้จักสภาพอันแท้จริงของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในโลก ทำให้มนุษย์ดำเนินไปสู่ความโชคดีและร้าย และสามารถพัฒนาโลกให้เจริญก้าวหน้าไปได้ไกล
เมื่อทราบว่ามนุษย์มีความเป็นอยู่คู่กับการทำงานเช่นนี้ ผู้ที่มีความเกียจคร้าน ไม่รู้จักวิธีการทำงานหาเลี้ยงชีพ ทำงานให้คั่งค้างเหมือนดินพอกหางหมู บัณฑิตผู้รู้จึงเรียกคนเช่นนี้ว่า คนสิ้นคิด มีชีวิตความเป็นอยู่อันไร้ค่าเท่ากับเกิดมารกโลก เพราะไม่รู้จักใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ ไม่รู้จักใช้ชีวิตให้มีค่า กลายเป็นคนอนาถาไร้ที่พึ่งพิง
ส่วนผู้ที่มีความอุตสาหะประกอบการงาน ไม่มีความเกียจคร้านและเบื่อหน่าย ทำงานให้สำเร็จไม่คั่งค้าง มีความมุ่งหมายในการทำงานด้วยศรัทธาอันแน่วแน่และมั่นคง ย่อมสามารถดำรงตนให้เป็นผู้มีทรัพย์สมบัติ ได้รับเกียรติยศ เพราะการกระทำหรือการทำงานนั้นย่อม แบ่งฐานะของมนุษย์ ให้ทราบว่าดี เลวมากน้อยกว่ากันอย่างไร
สำหรับผู้ที่เคยทำการงานมาแล้วย่อมทราบได้ดีว่างานที่ดีมีประโยชน์นั้นทำได้ยากมาก เพราะจะต้องตรากตรำลำบาก นอกจากต้องทุ่มเทกำลังความคิดและความสามารถแล้ว จะต้องใช้ความรอบคอบคอยสอดส่องถึงผลที่จะมากระทบว่าจะดีหรือชั่ว จะถูกหรือผิดประการใด จะต้องทำให้ถูกจังหวะและโอกาส รวมถึงเหมาะสมแก่สถานที่นั้นๆ
อีกประการหนึ่ง เพื่อให้การงานสำเร็จเรียบร้อย ยังต้องใช้ความเก่งกล้าสามารถไม่ย่อท้อต่ออันตรายและอุปสรรค ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในระหว่างอันจะเป็นเหตุให้ละการทำงาน เพราะไม่มีกำลังใจที่จะทำงานให้สำเร็จได้ ยิ่งการงานที่จะก่อให้เกิดชื่อเสียงและทรัพย์สมบัติ ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อย่างสูงด้วยแล้วก็ยิ่งสำคัญมาก ถ้าหากไม่มีหลักการทำงานประจำใจก็ยากที่จะให้สำเร็จตามความมุ่งหมายได้
หลักของการทำงานให้เสร็จลุล่วงด้วยดี คือ มีความพอใจ มีใจรักในงานที่ทำ มีความพากเพียรไม่ละทิ้งในงานที่ทำ เอาใจใส่ในงานที่ทำ และใช้การคิดพิจารณาทบทวนงานนั้นๆ ด้วยปัญญา
คุณสมบัติของนายจ้างที่ดี จัดงานให้ลูกจ้างทำตามความเหมาะสม ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความสามารถ ให้สวัสดิการที่ดี มีอะไรได้มาก็แบ่งปันให้ ให้มีวันหยุดพักผ่อนตามสมควร
คุณสมบัติของลูกจ้างที่ดี เริ่มทำงานก่อนเลิกงานทีหลัง เอาแต่ของที่นายให้ ทำงานให้ดียิ่งขึ้น นำความดีของนายไปสรรเสริญ
อานิสงส์การทำงานไม่คั่งค้าง ทำให้ฐานะของตน ครอบครัว ประเทศชาติดีขึ้น ได้รับความสุข พึ่งตัวเองได้ เป็นที่พึ่งของคนทั้งหลายได้ สามารถสร้างบุญกุศลอื่นๆ ได้ง่าย เป็นผู้ไม่ประมาท ป้องกันภัยในอบายภูมิได้ มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เป็นนิสัยติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากคนทั่วไป
บุคคลใดไม่คำนึงถึงหนาวร้อน อดทนให้เหมือนหญ้า กระทำกิจที่ควรทำด้วยเรี่ยวแรงของลูกผู้ชาย บุคคลนั้นย่อมไม่เสื่อมจากสุข สติมาปัญญาเกิดสติ เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนให้ขวนขวายในการสร้างความดี ไม่แชเชือนหยุดอยู่กับที่ ไม่ทอดธุระ ไม่เกียจคร้าน
สติ เป็นเครื่องเร่งเร้าให้มีความขะมักเขม้น คือเมื่อเตือนตัวเองให้ทำความดีแล้วก็ให้ทำอย่างเอาจริงเอาจัง
สติ เป็นเครื่องทำให้เกิดความละเอียดรอบคอบในการทำงาน ไม่สะเพร่า ไม่ชะล่า ใจว่าสิ่งนั้นๆ เป็นเรื่องเล็กน้อยไม่เป็นไร
สติเสมือนเสาหลัก เพราะปักแน่นในอารมณ์ คือ คนที่มีสติเมื่อจะไตร่ตรองคิดในเรื่องใด ใจก็ปักแน่นคิดไตร่ตรองในเรื่องนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน ไม่คิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่น คิดไตร่ตรองจนเข้าใจแจ่มแจ้ง ทะลุปรุโปร่ง
สติเหมือนนายประตู เพราะจะทำหน้าที่เสมือนนายประตู คอยเฝ้าดูสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดจนเฝ้าดูถึงอารมณ์ที่ใจคิด ถ้าสิ่งใดเกิดขึ้นสติก็จะใคร่ครวญทันทีว่า ควรปล่อยให้ผ่านไปหรือไม่ หรือควรหยุดไว้ก่อน ปรับปรุงแก้ไขให้ดีเสียก่อน
สติเสมือนหางเสือ เพราะจะเป็นตัวควบคุมเส้นทางดำเนินชีวิตของเราให้มุ่งตรงไปตรงไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ ไม่หลงไปทำในสิ่งที่ไม่ควร เหมือนคอยระวังไม่ให้เรือไปเกยตื้น
สติ มีประโยชน์ในการควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่เราต้องการ โดยการตรวจตราความคิด เลือกรับสิ่งที่ต้องการไว้ กันสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป ตรึงกระแสความคิดให้เข้าที่ ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย เช่น จะดูหนังสือก็สนใจ คิดติดตามไปตลอด ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิดเรื่องอื่น จะทำสมาธิ ใจก็จรดนิ่ง สงบตั้งมั่น ละเอียดอ่อนไปตามลำดับ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก
สติ มีประโยชน์ทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาพเป็นตัวของตัวเอง ไม่เป็นทาสของอารมณ์ต่างๆ เช่น ความโกรธเคือง ความลุ่มหลงมัวเมา จึงมีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย เป็นสุข โดยสภาพของมันเอง พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้องเหมาะสม
สติ มีประโยชน์ทำให้ความคิดและการรับรู้ขยายวงกว้างออกไปได้โดยไม่มีสิ้นสุด เพราะไม่ถูกบีบคั้นด้วยกิเลสต่างๆ จึงทำให้ความคิดเป็นอิสระ มีพลัง แต่มีสติควบคุม เสมือนเรือที่หางเสือควบคุมอย่างดี ย่อมสามารถแล่นตรงไปในทิศทางที่ต้องการได้ ไม่วกวน
สติ มีประโยชน์ทำให้การพิจารณาสืบค้นด้วยปัญญาดำเนินไปได้เต็มที่ เพราะมีความคิดที่เป็นระเบียบ และมีใจซึ่งมีพลังเข้มแข็ง จึงเป็นการเสริมสร้างปัญญาให้บริสุทธิ์
การฝึกสติทำให้เป็นคนไม่ประมาท เพราะระลึกถึงการละเว้นทุจริตทางกายวาจา ใจ และประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ อยู่เนืองๆ มิได้ขาด จะไปทำชั่วทำบาปอะไรเข้า ก็มีสติระลึกได้ทันทีว่า สิ่งที่กำลังจะทำนั้นเป็นบาป ไม่ยอมทำโดยเด็ดขาด ทำแต่สิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศลเท่านั้น
มีสติระลึกถึงความทุกข์ในอบายภูมิอยู่เนืองๆ มิได้ขาด มีสติระลึกได้เสมอว่า การเกิดในอบายภูมินั้นมีทุกข์มากเพียงไร เมื่อระลึกได้เช่นนี้แล้วก็ไม่ยอมทำชั่วเลย เพราะเกรงว่าจะต้องไปเกิดในอบายภูมิ เช่นนั้น
มีสติระลึกได้ว่า การที่เราจะทำดีหรือทำชั่วนั้นขึ้นอยู่กับใจของเราเป็นสำคัญ ว่าใจของเราจะเข้มแข็ง เอาชนะความอยากต่างๆ ได้หรือไม่ และวิธีที่จะฝึกใจได้ดีที่สุดคือการฝึกทำสมาธิ จึงต้องหาเวลาทำสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ สำรวมจากการดื่มน้ำเมานํ้าเมาอาจทำมาจากแป้งข้าวสุก ปรุงโดยผสมเชื้อหรืออะไรก็แล้วแต่ที่ดื่มแล้วทำให้มึนเมา เช่น เบียร์ ไวน์ ไม่ใช่แค่เหล้าเท่านั้น ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดโทษทั้งสิ้น
เช่น ทำให้เสียทรัพย์ เพราะต้องนำเงินไปซื้อหามาทั้งๆ ที่เงินจำนวนเดียวกันนี้สามารถนำเอาไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้มากกว่า
ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ซึ่งนำไปสู่ความวุ่นวาย เจ็บตัว หรือถึงแก่ชีวิต และคดีความ เพราะน้ำเมาทำให้ขาดสติขาดการยับยั้งชั่งใจ
ทำให้เกิดโรค โรคที่เกิดเนื่องมาจากการดื่มน้ำเมา ล้วนแล้วแต่บั่นทอนสุขภาพกายจนถึงตายได้ เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ โรคความดัน
ทำให้เสียชื่อเสียง เมื่อคนเมาไปทำเรื่องไม่ดี เป็นต้นว่า ไปลวนลามสตรี ปล่อยตัวปล่อยใจ ก็ทำให้วงศ์ตระกูล และหน้าที่การงานเสื่อมเสียไปด้วย ทำให้ลืมตัวไม่รู้จักอาย คนเมาทำสิ่งที่ไม่ควรทำ
บั่นทอนกำลังปัญญา ดื่มแล้วทำให้เซลล์สมองเริ่มเสื่อมลง ก็จะทำให้สุขภาพและปัญญาเสื่อมถอย ความสามารถโดยรวมก็ด้อยลง
การดื่มน้ำเมาไม่ได้มีโทษเฉพาะชาตินี้เท่านั้น แต่ยังมีโทษติดตัวผู้ดื่มไปข้ามภพข้ามชาติมากมายหลายประการ ตัวอย่างเช่น
เกิดเป็นคนใบ้ ตายในขณะมึนเมา คนที่เมาสุราพูดไม่รู้เรื่อง ได้แต่ส่งเสียง พอตายแล้วก็ตกนรก จากนั้นกลับมาเกิดใหม่ เศษกรรมยังติดตามมาเลยเป็นใบ้
เกิดเป็นบ้า ในอดีตดื่มเหล้ามามาก เวลาเมาก็มีประสาทหลอน เวรนั้นติดตัวมา ในภพชาตินี้เกิดมาก็เป็นบ้า อยู่ดีๆ ก็ได้ยินเสียงคนมากระซิบบ้าง เห็นภาพหลอนว่าคนนั้นคนนี้จะมาฆ่าบ้าง
เกิดเป็นคนปัญญาอ่อน ดื่มสุรามากๆ ตอนเมาก็คิดอะไรไม่ออกอยู่แล้ว ด้วยเวรสุรานี้ก็ส่งผลให้เกิดเป็นคนปัญญาอ่อน
เกิดเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ดื่มสุราเมามากๆ ก็ซ้อมคลานมาตั้งแต่ตอนเป็นคน พอตายเข้าก็ได้เกิดมาคลานสมใจตน
วิธีเลิกเหล้าให้ได้เด็ดขาดนั้น ต้องตรองให้เห็นโทษว่าสุรามีโทษมหันต์ ตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะเลิกโดยเด็ดขาด ให้สัจจะกับผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ หรือกับพระภิกษุ สิ่งใดที่จะเป็นสื่อให้คิดถึงเหล้า เช่น ภาพโฆษณา เหล้าตัวอย่างขนไปทิ้งให้หมด ถือว่าเป็นของเสนียด นำอัปมงคลมาสู่บ้าน นึกถึงศักดิ์ศรีตัวเองให้มาก ว่าเราเป็นชาวพุทธเป็นผู้นับถือพระพุทธเจ้า เป็นศิษย์มีครู เป็นคนมีเกียรติยศ เป็นทายาทมีตระกูล นึกถึงศักดิ์ศรีตัวเองอย่างนี้แล้วจะได้เลิกเหล้าได้สำเร็จ เพื่อนนักเลงสุราทั้งหลาย ควรหลีกเลี่ยงออกห่าง ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวสนิทสนมกับเพื่อนขี้เหล้าอยู่ยากจะเลิกเหล้าได้
อานิสงส์การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ทำให้เป็นคนมีสติดี ไม่ลุ่มหลง ไม่มัวเมา ไม่เกิดการทะเลาะวิวาท รู้กิจการทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคตได้รวดเร็ว ไม่เป็นบ้าใบ้ ไม่เป็นคนปัญญาอ่อน มีแต่ความสุข มีแต่คนนับถือยำเกรง มีชื่อเสียงเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป ไม่หลงทำร้ายผู้มีพระคุณ มีหิริโอตตัปปะ มีความเห็นถูกต้อง มีปัญญามาก
บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย ธรรมมีอุปการะมากสติ คือ ความระลึกได้ คู่กับคำว่า สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวอยู่เสมอ
สติ เป็นไปในกิริยาที่ทำ กิริยาที่พูด กิริยาที่นึกหรือคิด คือก่อนจะทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ระลึกนึกได้ก่อนแล้วจึงทำ จึงพูด จึงคิด บุคคลผู้ที่ทำผิด พูดผิด คิดผิด ก็เพราะขาดสติ
สติเป็นไปในกิริยาที่จำ คือ กิจการใดที่ได้ทำไว้แล้ว ถ้อยคำใดที่ได้พูดไว้แล้ว เรื่องใดๆ ที่ได้คิดตกลงใจไว้แล้ว แม้ล่วงกาลเวลาช้านาน ก็ระลึกนึกถึงกิจที่ได้ทำ คำที่ได้พูด เรื่องที่ได้คิดไว้นั้นได้ ไม่ลืมเลือน
บุคคลที่ทำแล้ว พูดแล้ว ลืมเสีย ไม่อาจนำมาเทียบเคียงกับกิจที่จะทำ คำที่จะพูด เรื่องที่จะคิดต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายได้ ก็เพราะขาดสติ
ส่วนสัมปชัญญะ ความรู้ตัวอยู่เสมอนั้น เป็นไปในขณะที่กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิด คือรู้สึกตัวอยู่เสมอว่ากำลังทำ พูด และคิดอะไรอยู่ กล่าวคือทำ พูด คิดถูกก็รู้ หรือทำ พูด คิดผิดก็รู้
เมื่อรู้ว่ากำลังทำ พูด คิดถูก ก็ให้ทำ พูด คิดอย่างนั้นๆ ต่อไป เมื่อรู้สึกตัวว่ากำลังทำ กำลังพูด กำลังคิดในทางที่ผิด ก็ให้หยุดเสีย ไม่ให้ทำ พูด คิดอย่างนั้นๆ ต่อไปอีก
ความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า ตนมีภาวะเป็นอย่างไร มีหน้าที่ มีกิจที่จะต้องทำอะไรบ้าง ก็ให้ปฏิบัติให้สมกับภาวะและหน้าที่ที่ตนเป็นอยู่และมีอยู่นั้นๆ ไม่บกพร่อง ไม่ผิดพลาด บริบูรณ์ดี เพราะมีสัมปชัญญะควบคุมอยู่
บุคคลที่บกพร่องต่อหน้าที่ มีความเสียหายเกิดขึ้นทั้งแก่ตนและคนอื่น เพราะขาดสัมปชัญญะ ไม่มีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า กำลังทำ กำลังพูด กำลังคิดอะไรอยู่ จึงทำให้ทำ พูด และคิดไปในทางที่ผิด เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนและคนอื่น สติและสัมปชัญญะนี้จึงมีประโยชน์แก่ทุกคน
สติและสัมปชัญญะทั้ง 2 ประการ เรียกว่า ธรรมมีอุปการะมาก คือ ผู้ที่มีใจอันสติสัมปชัญญะเข้ากำกับอยู่เสมอแล้ว ย่อมประพฤติกาย วาจา ในทางที่ถูก ที่ควร ย่อมได้รับผลคือความสุข ความเย็นใจไม่เดือดร้อน สติสัมปชัญญะเป็นธรรมที่มีอุปการะมากแก่คนทุกคน
ผู้มีปัญญาเป็นเลิศ มีการศึกษาดี มีสมรรถภาพในการทำงานดี แต่ถ้ามีปัญญาฟุ้งไป ไม่มีสติเป็นเครื่องยับยั้ง ก็จักเป็นคนฉลาดเกินควร เข้าลักษณะที่ว่า ฉลาดแต่ขาดเฉลียว กลายเป็นผู้ทะนงว่า ตนเท่านั้นสามารถ คนอื่นสู้ตนไม่ได้
เมื่อมีความทะนงตนอย่างนี้แล้ว ความผิดพลาดไม่รอบคอบนานาประการ ก็จะพึงเกิดมีขึ้น อันจะเป็นผลเสียหายแก่ตนและคนอื่น
ถ้าผู้มีปัญญาสามารถดี และมีสติเป็นเครื่องกำกับยับยั้งอยู่ด้วย ก็จักช่วยให้มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่มีความเสื่อม
สติที่เป็นเครื่องระลึก ก่อให้เกิดความนึกคิด ก่อนจะทำ ก่อนจะพูดเป็นเบื้องต้น เป็นเหตุให้รอบคอบ สามารถที่จะประกอบกิจน้อยใหญ่ให้เป็นไปด้วยดี ไม่มีความผิดพลาด
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 ตุลาคม 2558 14:52:20 โดย กิมเล้ง »
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5797
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2559 16:32:06 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
|
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 5797
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 15 มกราคม 2560 19:24:43 » |
|
ข้อดีของการมีเมตตาเมตตา หมายถึง ความสนิทสนม ความรักใคร่ที่ไม่เจือด้วยราคะ ได้แก่ ปรารถนาความสุขความเจริญต่อผู้อื่น เป็นภาวะของจิตที่มีเยื่อใยไมตรีปราศจากความอาฆาตพยาบาทโกรธเคือง
เมตตาแสดงทางกายด้วยกิริยาท่าทางงดงาม ใบหน้าสายตา แช่มชื่น แสดงออกทางวาจาด้วยถ้อยคำไพเราะ น่ารัก น่าสนทนา น่าฟัง แสดงถึงดวงจิตที่เอิบอิ่มเต็มไปด้วยความปรารถนาดี
เมตตาเป็นวิหารธรรม คือ เป็นที่อยู่ของจิตใจ ทำให้จิตใจ เยือกเย็นสงบ มีความสุข หากจิตใจขาดเมตตาธรรม ก็จะมีแต่ ความเดือดร้อน ทำให้เกิดความคิดโกรธแค้นขัดเคือง ความคิดเบียดเบียนอิจฉาริษยา เป็นที่สะสมบ่มความทุกข์อยู่ในใจ
เมตตา เป็นธรรมะข้อแรกในพรหมวิหารธรรม คือ เป็นคุณธรรมของบิดามารดาหรือผู้ใหญ่ซึ่งเป็นหัวหน้า หมู่คณะผู้ที่มีเมตตาเป็นคุณธรรมก็เป็นเสมือนเทพยดาขั้นพรหมโลก
เมตตา เป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในใจของเราทุกคน นอกจากตนเองจะมีเมตตาอยู่แล้วก็ยังต้องการจะได้รับเมตตาจากผู้อื่นอีก คือปรารถนาดีต่อผู้อื่นแล้ว ก็ต้องให้ผู้อื่นมีความรักความปรารถนาดีต่อตนเองบ้าง ผู้มีเมตตาจึงควรแผ่เมตตาไปยังผู้อื่นสัตว์อื่นอยู่เสมอๆ
วิธีแผ่เมตตา คือ การมองคนในแง่ดี เหมือนมารดาบิดาเอ็นดูบุตรธิดาของตน หรือนึกถึงตัวเองว่ารักสุขเกลียดทุกข์ ฉันใด ผู้อื่นสัตว์อื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์ ฉันนั้น
การแผ่เมตตามี ๒ อย่าง คือ แผ่เมตตาโดยเจาะจงผู้ที่อยู่ใกล้ชิดอย่างหนึ่ง แผ่เมตตาออกไปยังคนและสัตว์กว้างออกไปอย่างไม่มีประมาณจำกัดอย่างหนึ่ง
การแผ่เมตตา มิใช่เฉพาะตนและคนซึ่งเป็นที่รัก หรือเฉพาะหมู่คณะของตนเท่านั้นพระพุทธเจ้าทรงสอนให้แผ่เมตตากว้างออกไป เมตตาเปรียบเสมือนน้ำที่จะดับไฟที่เผาใจ เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตรด้วยเมตตา พึงแผ่เมตตาออกไปทุกทิศ ปรับจิตให้ปราศจากพยาบาทจองเวร เมื่อทุกคนมีเมตตาต่อกัน ก็ย่อมจะอยู่กันอย่างมีความสุข ความเจริญ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เมตตาเป็นธรรมค้ำจุนโลก
บุคคลผู้ปรารถนาความรักและความสุขในตน จึงควรเจริญเมตตาให้เกิดขึ้นด้วยวิธีเจริญเมตตา จะต้องแผ่เมตตาในตนเอง บ่อยๆ ว่า ขอให้เรามีความสุข ไม่มีความทุกข์หรือขอให้เราอย่ามีเวรมีภัย ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความทุกข์ มีความสุขปกครองตนเอง เมื่อจิตของตนเองมีเมตตาเกิดขึ้นแล้ว เมตตานั้นก็แผ่ออกไปยังบุคคลอื่น สัตว์อื่น ทำให้มองเห็นว่าเรารักสุข เกลียดทุกข์ คนอื่นก็ย่อมรักสุขเกลียดทุกข์เช่นเดียวกัน
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสอานิสงส์แห่งเมตตาไว้ว่า เมตตาเจโตวิมุตติ ที่บุคคลฝึกหัด อบรม ทำให้มีมาก ทำให้เป็นไป ทำเป็นเหมือนสิ่งของ ตั้งมั่นไว้เนืองๆ สะสมไว้และเจริญเสมอๆ พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ ๑.นอนหลับมีความสุข ๒.ตื่นอยู่ก็มีความสุข ๓.นอนหลับไม่ฝันร้าย ๔.เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ๕.เป็นที่รักของอมนุษย์ ๖.เทวดารักษา ๗.ไฟ ยาพิษ หรือศัตราวุธ ย่อมไม่แผ้วพาน ๘.จิตตั้งมั่นเร็ว ๙.สีหน้าผ่องใส ๑๐.ไม่หลงทำกาลกิริยา ๑๑.เมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมอันยิ่งกว่า ย่อมเข้าถึงพรหมโลกกรุณามนุษย์เป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นหมู่มาก จำเป็นต้องมีกฎหมาย ระเบียบ กติกา จารีตประเพณี อีกทั้งผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครอง ไม่มีจิตคิดเบียดเบียนกัน จึงสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยความสงบสุข
ความไม่เบียดเบียนผู้อื่น ทางกาย วาจา และทางใจ ให้ได้ รับความเดือดร้อน เป็นผู้มีอัธยาศัยชอบช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ไม่ปรารถนาจะทำให้ผู้อื่นเกิดความเดือดร้อน เป็นเบื้องต้นที่ทำให้เกิดความกรุณา
ลักษณะนิสัยของผู้มีใจกรุณา คือ ชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทนไม่ได้ที่เห็นคนอื่นได้รับความลำบากเดือดร้อน รีบยื่นมือเข้าช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากของตนเอง และไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง
จิตไม่คิดประทุษร้าย ทำลายผู้อื่นเป็นลักษณะของเมตตา ส่วนจิตไม่คิดเบียดเบียน เป็นลักษณะของกรุณา เมตตากรุณา จึงเป็นธรรมนำมาซึ่งความสงบสุขในโลก ความสงบสุขเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยคนในสังคมไม่ผูกอาฆาตพยาบาท และไม่เบียดเบียน ข่มเหง รังแก ทำร้ายกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานทำให้มีใจเกื้อกูลกันและกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ แผ่พระบารมีปกป้องคุ้มครองชีวิตมนุษย์และสรรพสัตว์ บนแผ่นดินไทยให้ดำรงอยู่ได้ด้วยความสงบสุข พระองค์ไม่เคยเสด็จออกประพาสป่าล่าสัตว์ตัดชีวิต พระราชทานชีวิตให้แก่สรรพสัตว์ ทรงมีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ ดังเช่นปรากฏในหนังสือยกย่องทองแดงว่าเป็นสุนัขกตัญญู ผิดกับคนที่เมื่อกลายเป็นคนสำคัญแล้วมักจะลืมตัวและดูหมิ่นผู้มีพระคุณที่เป็นคนต่ำต้อย
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งสิ้น มาจากพระมหากรุณา ที่ทรงมีต่อพสกนิกร มีพระทัยหวั่นไหวในความทุกข์ยากของปวงชนชาวไทย เหมือนว่าเป็นความทุกข์ของพระองค์เอง เมื่อเห็นพสกนิกรตกทุกข์ได้ยาก ทรงเร่งรีบดำริช่วยบำบัดทุกข์นั้นให้เบาบางถึงหมดสิ้นไป ไม่เคยซ้ำเติมให้เสียหายแม้แต่ครั้งเดียว
ทรงบำเพ็ญธรรมเหมือนพระโพธิสัตว์ที่ต้องการขน สรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากห้วงทุกข์ทั้งปวง พระบรมฉายาลักษณ์ที่เสด็จพระราชดำเนินออกไปเยี่ยมราษฎร มีกล้องถ่ายรูป แผนที่ ดินสอ วิทยุสื่อสาร และพระเสโทที่ไหลอาบพระพักตร์ อันแสดงถึงพระวิริยอุตสาหะตรากตรำพระวรกาย เสด็จพระราชดำเนินไปในสภาพที่ร้อนแดดและเหนื่อยยาก เป็นภาพแห่งความทรงจำและประทับใจของประชาชนมากที่สุด ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่บ้านเมืองและปวงชนชาวไทย เกินกว่าจะพรรณนาได้ครบถ้วน
ดังบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่พระราชนิพนธ์ไว้ว่า
อันว่าความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่ หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดินวาจาสุภาษิตคําว่า วาจาอันเป็นสุภาษิต ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงคำพูดที่เป็นร้อยกรอง ร้อยแก้ว เป็นคำคมบาดใจ มีความหมายอันลึกซึ้งเท่านั้น แต่รวมถึงคำพูดที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้ฟังด้วย
ลักษณะวาจาอันเป็นสุภาษิต ต้องเป็นคำจริง มีข้อมูลที่ถูกต้อง มีหลักฐานอ้างอิงได้ ไม่ได้แต่งขึ้นมาพูด เป็นคำสุภาพ พูดด้วยภาษาที่สุภาพ มีความไพเราะในถ้อยคำ ไม่มีคำหยาบ หรือคำด่า พูดแล้วมีประโยชน์ต่อผู้ฟัง ปฏิบัติตามแล้วทำให้เกิดประโยชน์
ลักษณะการพูดที่ดี ต้องรู้จักกำหนดขอบเขตของการพูดให้พอดี จำเนื้อความที่จะพูดได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อความที่พูดได้โดยง่าย ฉลาดในการพูดที่เป็นประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ไม่พูดชักชวนให้เกิดความทะเลาะวิวาท
การมีวาจาสุภาษิต เป็นคนมีเสน่ห์ เป็นที่รักของชนทุกชั้น มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม ได้รับความสำเร็จในสิ่งที่เจรจา
วาจาที่จะเป็นสุภาษิตได้นั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ คือ
พูดถูกกาลเทศะ กาละ ได้แก่ เวลา เทศะ ได้แก่ สถานที่ ก่อนที่จะพูด ก็ต้องดูเวลาก่อนว่าเวลานี้เขาพูดเรื่องอะไรกัน เช่น เขาพูดเรื่องเกี่ยวกับการทำสาธารณ ประโยชน์ ควรทำอย่างนั้น มีประโยชน์อย่างนี้ แต่กลับพูดตรงกันข้ามว่าไม่มีประโยชน์ ถ้าพูดถูกกาลเทศะก็มีประโยชน์
พูดแต่คำสัตย์ คำสัตย์ตรงกันข้ามกับคำเท็จ ผู้พูดคำเท็จย่อมขาดความเชื่อถือ ส่วนคำสัตย์นั้นดี มีประโยชน์
พูดไพเราะอ่อนหวาน เป็นที่ชอบใจของคนทุกชั้น มารดาบิดาพูดกับบุตรธิดาด้วยคำอ่อนหวาน ย่อมจับใจของบุตรธิดา ทำให้เกิดความรัก บุตรธิดาผู้รู้จักพูด ก็ย่อมเป็นที่รักของมารดาบิดา วาจาไพเราะอ่อนหวาน เปรียบดังอาหารมีโอชารส ยังผู้กินให้พอใจ ติดใจ ต้องการกินอีก
พูดคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ คือ เมื่อจะพูดแต่ละครั้งก็ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง เช่น พูดชี้ชวนให้ผู้ฟังมีความขยันทำงาน โดยชี้โทษของความเกียจคร้านให้ผู้ฟังเห็นว่า เป็นเหตุให้ยากจน ไม่มีคนนับถือ มีแต่ความลำบาก และชี้คุณของความขยัน อดทนทำงานโดยสุจริต คือ มีทรัพย์สมบัติ สามารถตั้งตัวได้ไม่ลำบาก มีคนเคารพนับถือ หรือพูดแนะนำให้ผู้ฟังเกิดอุตสาหะ คือ ทำสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ทั้งทางตรงและทางอ้อม และพูดแนะนำให้ผู้ฟังกลัวบาป คือ ความผิด ซึ่งมีผลตรงกันข้ามกับบุญ คือ ความดี
พูดด้วยจิตเมตตา คือผู้พูดมีเมตตาอยู่ในใจ ปรารถนาดีแก่ผู้ฟัง ไม่ใช่ปรารถนาร้าย เพราะการไม่เบียดเบียนกัน เป็นสุขด้วยกันทั้งสองฝ่าย เป็นความจริงถ้ามนุษย์เราเว้นจากการเบียดเบียนกัน มีเมตตาต่อกัน ต่างฝ่ายต่างทำมาหากินตามฐานะของตน ไม่ต้องกังวลถึงภัย อันตรายอันจะพึงมีเพราะความเบียด เบียน จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็เป็นสุข
ดังนั้น ผู้พูดแต่คำที่ดี ไพเราะ ย่อมจะทำให้ผู้ที่ได้ยิน ได้ฟัง เกิดความชื่นใจ สบายใจ สุขใจ ทำให้คนรักใคร่นับถือ แต่ถ้าตรงกันข้าม คือ พูดชั่ว นอกจากจะทำให้ตนเองเสียชื่อเสียงแล้ว ย่อมกลับทำลายคนรอบข้างอีกด้วยที่มา : ธรรมะวันหยุด พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
|
|
|
|
กำลังโหลด...