[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 23:10:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 2 [3]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรน่าสนใจ : ข้อคิดจากคอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ  (อ่าน 94498 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #40 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2560 16:24:48 »



นิพพานอยู่ที่ไหน  

ปุจฉา

นิพพานอยู่ที่ไหน

ณ ฟากฟ้า ไกลแสน

เลยแดนสรวงสวรรค์

ทุกสิ่งเป็นนิรันดร์

มิมีวัน กลับมาเถิด

นิพพานอยู่ที่ไหน

อยู่ที่จิต มิหวั่นไหว

กับอะไรทุกๆ สิ่ง

สงบและหยุดนิ่ง

ไม่เกิดอิง ต่อโลกปัจจัย

นิพพานอยู่ที่ไหน

ไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร

เป็นเพียงเรื่องกล่าวขาน เพื่อน้อมนำ

ให้มีการปฏิบัติธรรม

เพื่อสันติ และ จริยา

นิพพานอยู่ที่ไหน

อยู่ที่ ใจ

อยู่ในสวรรค์

อยู่ที่ ถ้อยจำนรรจ์

จักยืนยันได้อย่างไร

อดิเรก สมิทธิ

 วิสัชนา

นิพพานอยู่ที่ไหน

ใกล้หรือไกลไยกังขา

นอกจักรวาล บนชั้นฟ้า

ฤๅว่าอยู่ที่ตัวเรา

ดับกิเลสสิ้นเมื่อใด

จิตใจหายโง่เขลา

สว่างใน ใจโปร่ง เบา

เมื่อนั้นเข้าถึงนิพพาน

หนทางนั้นมีอยู่

แต่หามีผู้เดินทางไม่

เป้าหมายอยู่โพ้นไกล

หาใช่ผลของหนทาง!

นิพพานนั้นมีอยู่

ตัวตนผู้ถึงไม่มี มีแต่ "ว่าง"

นิพพานคือจุดหมายปลายทาง

แต่ใช่ผลของอัษฎางค์มรรคา!

นิพพานอยู่ที่ไหน

ถามทำไมให้น่าขัน

กี่เล่มสมุดบรรยายบัน-ทึก "ภาวะ" นั้น ก็เปล่าเปลือง

นิพพานอยู่ที่ไหน

ใช่เรื่องใครมาคุยเขื่อง

อวดอ้างคนทั้งเมือง

แท้เป็นเรื่องปัจจัตตัง

นิพพานอยู่ที่ไหน

ผู้รู้รู้ ผู้ไม่รู้ชอบสั่งสอน

คัมภีร์ภาพอนันตัง

อรหันต์ยังยากบรรยาย

ผิว์นิพพานเป็นผลของเหตุ

ยังอยู่ในขอบเขตสังสาร์

ยังเป็นสัมพัทธสัจจา

นิพพานที่ว่าใช่ของจริง

นิพพานอยู่ที่ไหน

นิพพานคืออะไรช่างยุ่งขิง

ผู้รู้แจ้งแทงตลอดจริง

นั่งสงบ นิ่ง ไม่จำนรรจ์

ไต้ ตามทาง



นิพพาน-ปรินิพพาน  

มีจดหมายจากท่านผู้อ่าน ถามข้อข้องใจมาขอให้ผมตอบให้ได้ เพื่อให้หายสงสัย (ตอบไปแล้วยิ่งจะเพิ่มความสงสัยขึ้นก็ไม่รู้) มีดังนี้ครับ

๑.สงสัยคำว่า "นิพพาน" กับ "ปรินิพพาน" จะต่างกันหรือไม่อย่างไร"

๒.เมื่อพระพุทธองค์ตรัสว่า อีกสามเดือนข้างหน้าพระองค์จะปรินิพพาน คำนี้ถ้าแปลว่าตายก็แล้วไป แต่ทำไมไปขัดกับคำว่า "ทำนิพพานให้แจ้ง" สงสัยว่าทำไมต้องทำความตายให้แจ้ง

๓.คำว่า "ทำนิพพานให้แจ้ง" ดิฉันเชื่อว่าพระพุทธองค์คงทำให้แจ้งมาตั้งแต่ตอนประทับอยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ในพระชนมายุ ๓๕ พรรษาแล้ว ไม่ต้องมารอจนถึง ๘๐พรรษา หรือว่าคำว่า นิพพานนี่หมายถึงหลุดพ้นจากกิเลส ส่วนปรินิพพานนี่ตายทาง ร่างกายใช่ไหมคะ

คำถามข้างต้นมาจากท่านผู้ใช้นามว่า "อดีตครูเกษียณ" กรุณาถามมา ความจริงท่านถามมาหลายข้อ วันนี้ขอตอบเฉพาะเรื่องนิพพานก่อนก็แล้วกัน ก่อนอื่นก็โปรดอย่าลืมว่าคนตอบคือผมก็ยังเป็นปุถุชนอยู่ ยังไม่บรรลุนิพพาน ที่ตอบนี้ก็ตอบตามหลักวิชาการจากพระบาลีในพระไตรปิฎก ถ้ายังไม่เชื่อว่าผมยังมีกิเลส ลองด่าผมดูก็ได้ รับรองได้เห็นกิเลส (โทสะ) มันวิ่งออกจากผมเป็นแถว

คำว่า นิพพาน ที่ใช้ในพระพุทธศาสนา หมายถึง "ความดับกิเลสโดยสิ้นเชิง, ดับกิเลสไม่มีเหลือ" เป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

นิพพาน นั้นแบ่งเป็นสองประเภทในแง่วิชาการ คือ

๑.สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง ดับกิเลสแล้วแต่ยังมีขันธ์(อุปาทิ) "เหลืออยู่" หมายถึงการดับกิเลสของพระอรหันต์และพระอรหันต์ยังไม่ตาย สำนวนอรรถกถาเรียกว่านิพพาน ประเภทนี้ไว้ชัดๆ ว่า "กิเลสนิพพาน" (การดับกิเลส)

๒.อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง ดับกิเลสแล้วและขันธ์(อุปาทิ) "ก็ไม่เหลืออยู่" หมายถึงการที่พระอรหันต์ตาย อรรถกถาเรียกนิพพานประเภทหลังนี้ว่า "ขันธนิพพาน" (ดังดับขันธ์)

อุปาทิ ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ การแปลพระนิพพานอย่างนี้มีพระบาลีรับรองอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ ข้อ ๒๒๒ หน้า ๓๕๘ เป็นพุทธพจน์ ไม่ใช่คำอธิบายของ อรรถกถาจารย์ หรือคนรุ่นหลังดังที่บางท่านชอบพูดกัน

จะเห็นว่า คำว่านิพพาน หมายถึงการดับกิเลสได้โดยสิ้นเชิงก็ได้ หมายถึงการตายหรือดับขันธ์ของพระอรหันต์ก็ได้ (การตายของพระอรหันต์เท่านั้น ปุถุชนไม่เกี่ยวอย่าเอาไปใช้กับการตายทั่วไป)เวลาบรรยายถึงการตายของพระอรหันต์และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านใช้คำอยู่สองคำ ความหมายเหมือนกันคือ นิพพานกับปรินิพพาน (เป็นคำกริยาว่า นิพฺพายิ, ปรินิพฺพายิ เป็นกิริยา กิตก์ หรือ Past Participle ว่า นิพฺพุโต ปรินิพฺพุโต) เปิดดูพระไตรปิฎกสิ เล่ม ๑๐หน้า ๑๘๑ เป็นต้น (มีหลายแห่ง) บรรยายการ "ตาย" ของพระพุทธองค์ว่า "...จตุตฺถา ฌานา วุฏฐหิตฺวา สมนนฺตรา ภควา ปรินิพฺพายิ = พระผู้มีพระภาคทรงออกจากจตุตถฌานแล้วปรินิพพานในระหว่าง ปรินิพฺพุเต ภควติ สห ปรินิพฺพานา มหาภูมิจาโล อโหสิ = เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว แผ่นดินใหญ่ได้หวั่นไหวพร้อมกับการปรินิพพาน"



รำลึกถึงพระพุทธองค์ ในวันวิสาขบูชา  

คําว่า "วิสาข" เป็นชื่อดาวฤกษ์กลุ่มหนึ่งในจักรราศี หากเมื่อพระจันทร์โคจรผ่านดาวกลุ่มนี้ในวันเพ็ญเดือน ๖ จึงเรียกว่า "วันวิสาข" หรือวันวิสาขปุรณมี แปลว่า วันพระจันทร์เต็มดวงโคจรผ่านกลุ่มดาววิสาข

วันวิสาขบูชา เป็นวันที่มีความสำคัญอีกวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึง ๓ ประการด้วยกันคือ

๑. เป็นวันประสูติ เมื่อพระนางสิริมหามายา อัครมเหสีในพระเจ้าสุทโธทนะ ทรงมีพระประสูติกาล คือเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ป่าลุมพินีวัน ซึ่งเป็นดินแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่าตำบลรุมมินเด แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล ครั้งนั้น ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี

๒. เป็นวันตรัสรู้ หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงถือเพศฆราวาสมา ๒๙  พรรษา จนมีพระโอรสคือพระราหุล แล้วทรงเบื่อหน่ายทางโลก จึงเสด็จออกบรรพชา ทรงประจักษ์หลักธรรมขึ้นในพระปัญญา และได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ปัจจุบันอยู่ที่เมืองคยา แคว้นพิหาร ประเทศอินเดีย ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา

๓. วันปรินิพพาน หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงใช้เวลาทั้งหมดเผยแผ่พระศาสนา และสั่งสอนแก่ประชาชน จนพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน แขวงเมืองกุสินารา ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี

เนื่องจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยพระคุณธรรม ๓ ประการอย่างสมบูรณ์คือ

๑.พระองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยพระองค์เองนี้จัดเป็นพระปัญญาคุณ
๒.พระองค์ทรงบริสุทธิ์อย่างสิ้นเชิง ทั้งกาย ทั้งใจ วาจา ใจ จัดเป็นพระบริสุทธิคุณ
๓.พระองค์ทรงสั่งสอนประชาชน โดยมิได้ทรงเลือกเพศ ชั้น วรรณะ จัดเป็นพระกรุณาคุณ

ฉะนั้น ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ในปีอธิกมาส จึงเป็นวันรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งชาวพุทธได้ถือเป็นประเพณีสืบต่อมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย หากถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่พบหลักฐานว่าได้ทำกันมาอย่างไร เพิ่งจะปรากฏ "พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา" สมัยรัชกาลที่ ๒ พ.ศ.๒๓๖๐ และให้ข้าราชการหยุด ๑ วันเพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้บำเพ็ญกุศลประกอบพิธีวิสาขบูชาได้สะดวก นับแต่ทำบุญถวายอาหาร บิณฑบาตในตอนเช้า ปล่อยนก ปล่อยปลา หรือไปทำบุญกุศล ถวายสังฆทานที่วัด รับศีลฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีลอุโบสถ ครั้นถึงเวลาเย็นหรือกลางคืนก็นำดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะมาชุมนุมกันรอบพระอุโบสถ หรือเจดีย์ที่ทางวัดกำหนด จัดพิธีไว้ ไหว้พระสวดมนต์คารวะพระรัตนตรัย แล้วทำประทักษิณ คือประนมมือถือดอกไม้ธูปเทียนเดินเวียนรอบพุทธสัญลักษณ์พลางเปล่งวาจาสรรเสริญพระรัตนตรัยจนครบ ๓ รอบ จากนั้นก็ฟังพระธรรมเทศนา ส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติ...

ข้อความข้างต้นผมคัดมาจากแผ่นปลิว "วันวิสาขบูชา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา" ที่ธนาคารทหารไทย จัดพิมพ์แจกแก่ลูกค้าธนาคาร ในนั้นบอกว่าได้ตัดตอนมาจากหนังสือศิลปวัฒนธรรมไทย เล่ม ๓ กรมศิลปากรจัดพิมพ์ เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พ.ศ.๒๕๒๕

ธนาคารทหารไทย ได้พิมพ์แผ่นปลิวเกี่ยวกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแจกทุกครั้ง นับเป็นการเผยแผ่ความรู้เกี่ยวกับประเพณีพุทธศาสนาและสะกิดเตือนใจชาวพุทธให้รำลึกถึงพระพุทธคุณ อย่างน้อยปีละสามครั้ง ตามวันสำคัญทั้งสาม ก็ยังดี นับว่าได้ทำหน้าที่อุปถัมภ์พระศาสนาในฐานะชาวบ้านได้อย่างหนึ่ง มิใช่แต่จะเอาเงินชาวบ้านไปหมุนหากำไรถ่ายเดียว จึงขออนุโมทนาชมเชยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

พูดถึงเรื่องนี้ทำให้นึกถึงการสื่อสารแห่งประเทศไทย น่าจะพิมพ์แสตมป์เป็นที่ระลึกในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันมาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา ให้สมกับที่บ้านนี้เมืองนี้นับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติบ้าง นอกเหนือจากเรื่องอื่นๆ ที่พิมพ์ออกอยู่มากมาย ผมได้ทราบว่าได้มีผู้เสนอให้ทางการสื่อสารแห่งประเทศไทย ดำเนินการเรื่องนี้มาเป็นเวลานานแล้ว ได้รับคำตอบสั้นๆ จากท่านว่า การสื่อสารไม่มีนโยบายในเรื่องนี้

ฟังแล้วก็น่าน้อยใจ เรื่องของพระพุทธศาสนาของชาวไทยเกือบทั้งประเทศท่านไม่ยินดีทำให้ แต่เรื่องของศาสนาอื่นที่คนไทยส่วนน้อยนับถือ ท่านกลับเสนอสนองอำนวยความสะดวกให้ขนาดว่าใครจะฟังเสียงสันตะปาปาเพียงแค่หมุนโทรศัพท์เท่านั้นก็ฟังได้ทันที

ไม่ได้อิจฉาเพื่อนคริสต์ศาสนิกดอกครับ แต่สงสัยว่าเป็นเทศนี้เขาเป็นพุทธภาษาอะไรเท่านั้นเองแหละครับ



บทไหว้พระสวดมนต์ก่อนนอน  
"คอลัมน์ใต้ร่มใบบุญให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาดีมาก คุณไต้ ตามทาง เขียนง่ายๆ อ่านสบายดี ไม่สูงเกินไปสำหรับคนที่ความรู้น้อยเช่นผมจะเข้าใจ ผมอยากขอให้คุณไต้ช่วยบอกวิธีไหว้พระก่อนนอนที่ถูกต้องให้ด้วย ที่ผมสวดอยู่ทุกวันนี้ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่"

"คือ ผมสวดอิติปิโส...สวากขาโต...สุปะฏิปันโน...แค่นั้นเอง บางคนบอกว่า ต้องสวดคาถาชินบัญชรด้วย บางคนว่า ต้องแผ่เมตตาด้วย คาถาชินบัญชรกับบทแผ่เมตตา จะหาได้ที่ไหนครับ คุณไต้ช่วยกรุณาด้วยเถอะครับ..."

ข้างต้นนั้น เป็นจดหมายจากท่านผู้ใช้นามว่า "แฟนคอลัมน์ใต้ร่มใบบุญ" เขียนอะไรต่ออะไรมามาก วันนี้มาว่าเรื่องนี้ก็ดีเหมือนกัน ความจริงการไหว้พระสวดมนต์นั้น เป็นกิจวัตรที่ชาวพุทธควรกระทำกัน อย่างน้อยวันละหนึ่งครั้งก่อนนอน สำหรับพระภิกษุสามเณรนั้นท่านสวดวันละสองเวลา เรียกว่า "ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น" ได้เวลาที่กำหนดก็ไปรวมสวดกันที่โบสถ์หรือหอสวดมนต์ ใช้เวลาเป็นชั่วโมง เพราะสวดพระสูตรต่างๆ ต่อท้ายด้วย

สมัยผมบวชเณรอยู่บ้านนอก จะต้องตื่นขึ้นมาทำวัตรสวดมนต์ตั้งแต่ตีสี่ สวดมนต์เสร็จก็ได้เวลาออกบิณฑบาตโปรดสัตว์พอดี ตอนเย็นประมาณหกโมงเย็นก็มาประชุมสวดอีกครั้งก่อนจะแยกย้ายกันไปท่องหนังสือ

ส่วนชาวบ้านทั่วไป ไม่ต้องสวดมากถึงขนาดนั้น เอาแค่บทสรรเสริญพระรัตนตรัยแล้วตามด้วยบทแผ่เมตตาก็พอ ส่วนใครจะมีอุตสาหะสวดบทอื่นด้วย เช่น คาถาชินบัญชร ชัยมงคลคาถา (คาถาพาหุง) ก็แล้วแต่ศรัทธาและโอกาส ลูกชายผมแกสวด นำโมไต้ซื้อ (คาถานมัสการเจ้าแม่กวนอิม) ด้วย นอกเหนือจากไหว้พระรัตนตรัย และคาถาชินบัญชร

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการไหว้พระสวดมนต์ประจำวัน

จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วนั่งประนมมือ(นั่งคุกเข่า) สวดว่า อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่าสามหน)

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโตโล กะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏ ฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะ ปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

ลดมือลง ถ้ามีเวลาก็นั่งสมาธิสักพัก ประมาณ ๑๐-๒๐ นาที เสร็จแล้ว แผ่เมตตาดังนี้

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เทอญ

นั่งสงบใจ รำลึกถึงพระคุณของบิดา มารดา ครูบาอาจารย์และผู้มีพระคุณ แล้วคุกเข่าประนมมือกราบเบญจางคประดิษฐ์สามหน เป็นเสร็จพิธี

ถ้าจะสวดบทอื่นเพิ่มเติม ก็ให้แทรกหลังจากสวดบท สุปะฏิปันโน...จบแล้ว ส่วนจะสวดอะไรนั้น ก็แล้วแต่อัธยาศัย ดูเหมือนปัจจุบันนี้ คนชอบสวดคาถาชินบัญชรกันมาก คาถานี้ เสฐียรพงษ์ วรรณปก เคยนำลงพร้อมคำแปลในคอลัมน์ "ยุทธจักรดงขมิ้น" แล้ว ดูเหมือนแกรวมพิมพ์เป็นเล่มแล้วด้วย ลองถามแกดูเองผม ไม่เกี่ยว

ถ้าจะถามว่า คำพระคำเจ้าที่ว่ามายืดยาวนั้น มีความหมายว่าอย่างไร ก็ขอตอบสั้นๆ ว่า เป็นคำสรรเสริญคุณความดีของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ใจความย่อว่า "พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และสอนให้คนอื่นรู้ตาม พระธรรมรักษา ผู้ปฏิบัติมิให้ตกไปในที่ชั่ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า และสอนให้ผู้อื่นกระทำตาม"

สวดมนต์ไหว้พระ นึกถึงแต่สิ่งที่ดีงามไว้เถอะครับ "เพียงแค่คิดในเรื่องกุศลก็มีคุณมหาศาลแล้ว มิจำต้องพูดถึงการลงมือทำ พระพุทธองค์ตรัสไว้อย่างนั้น"



ศีลห้า ภาษาฝรั่ง

คุณสันติชัย เขียนมานานแล้ว ขอให้ผมแปลศีลห้ากับอริยสัจสี่ เป็นภาษาฝรั่งให้ด้วย กำลังจะไปเรียนต่อเมืองนอก กลัวฝรั่งถาม จะตอบไม่ได้ว่างั้น ป่านนี้คุณสันติชัยคงไปเมืองนอก (เมืองไหนไม่บอก) แล้ว ตอบไปก็คงไม่ได้อ่านแต่ไม่เป็นไร วันนี้ขอ "ดัดจริต" สอนพุทธศาสนาภาษาฝรั่งบ้างก็แล้วกัน

ศีล ของพระพุทธศาสนามิได้เป็นคำสั่งห้ามมิให้ทำ ในความหมายเดียวกับ commandments ของฝรั่ง แต่ค่อนไปทาง "กฎสำหรับฝึกฝนตัวเอง" (rules of training) ถ้าจะเป็นการห้าม ก็เป็นการ "ตั้งเจตนาห้ามมิให้ตนเองทำ" เพราะฉะนั้นคำแปลที่เหมาะที่สุด น่าจะเป็น The Five Precepts

ศีลห้าข้อมีดังนี้ครับ (ถ้าปรู๊ฟผิดก็โทษคนปรู๊ฟเอาแล้วกัน)

๑.ปาณาติปาตา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ - ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ (แปลให้ฟังง่ายๆ ก็คือ ข้าพเจ้าจะตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์)

   I undertake the rule of training to refrain from destroying life (killing).

๒.อทินฺนาทานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ - ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์
   I undertake the rule of training to refrain from taking what is not given (stealing).

๓.กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ - ข้าพเจ้าขอสมาทานสิขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม (พูดง่ายๆ คือ การผิดลูกเมียเขา)
   I undertake the rule of training to refrain from sexual misconduct.

๔.มุสาวาทา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ - ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ
   I undertake the rule of training to refrain from false speech.

๕.สุราเมรยมชฺชปมาทฏฐานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ - ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
   I undertake the rule of training to refrain from distilled and fermented intoxicants causing heedlessness.  

ศีลห้าข้อนี้เริ่มต้นด้วยคำว่า "ข้าพเจ้า ขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้น..." แสดงว่าไม่มีใครมาบังคับให้ถือ ตัวเราเองตั้งเจตนาบังคับตัวเองให้งดเว้นจากความชั่วห้าประการคือ การฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, ผิดในกาม, พูดเท็จและการดื่มสุราเมรัย ศีลห้านี้จะรับพร้อมกัน หรือแยกรับทีละข้อๆ ก็ได้

ว่ากันว่าถ้าแยกรักษาทีละข้อ ศีลข้อใดขาด ก็ขาดเฉพาะข้อนั้น ข้ออื่นยังอยู่ถ้าตั้งใจรักษาพร้อมกันทั้งหมด ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่ง อีกสี่ข้อที่เหลือก็ขาดไปด้วย

The Five Precepts which are the basic category for laymen are prefaced by the declaration, "I undertake the rule of training to refrain from..." The five immoral actions which a lay-Buddhist trains himself to avoid are : killing, stealing, sexual misconduct, false speech and intoxicants. They may be taken as a block of five together in which case if one is broken, all five are soiled; or they may be taken individually when the breaking of one does not mean that all the Precepts are cancelled.

อริยสัจสี่ คือความจริงอันประเสริฐสี่ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้คือ

๑.ทุกข์ ปัญหาของชีวิต ฝรั่งแปลกันมาว่า Suffering แต่คำที่น่าจะตรงมากกว่าคือ Unsatisfactoriness

๒.สมุทัย สาเหตุแห่งปัญหาชีวิต ได้แก่ตัณหา ๓ ชนิด คือ กามตัณหา (อยากได้ อยากมี อยากดี อยากเป็น) ภวตัณหา (ได้แล้ว มีแล้ว เป็นแล้ว ถ้าเป็นที่พอใจก็อยากให้คงอยู่ตลอดไป) วิภวตัณหา (อยากสลัดทิ้งไป อยากหนีจากสภาพที่เป็นอยู่)

๓.นิโรธ การหมดปัญหาชีวิต หรือ ความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ได้แก่ นิพพาน

๔.มรรค ทางปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาชีวิต ได้แก่ อริยมรรคมีองค์แปดคือ เห็นชอบ, ดำริชอบ, เจรจาชอบ, กระทำชอบ, เลี้ยงชีพชอบ, พยายามชอบ, ระลึกชอบ, ตั้งใจมั่นชอบ

The Four Noble Truths are :

1.Suffering (Unsatisfactoriness)

2.the Origin (Cause) of Suffering which is the Threefold Craving (Craving for Sensual Pleasures, Craving for Existence and Craving for Non-existence);

3.the Cessation of Suffering (Nirvana) and

4.the Noble Eightfold Path leading to Cessation of Suffering (Right Understanding, Right Thought, Right Speech, Right Action, Right Livelihood, Right Effort, Right Mindfulness and Right Concentration)



กรวดน้ำกันทำไม  

แฟนคอลัมน์นี้ท่านหนึ่ง (ไม่ให้เอ่ยชื่อ) อยากทราบความมุ่งหมายและวิธีการที่ถูกต้องของการกรวดน้ำ เพื่อปฏิบัติอย่างสะดวกใจต่อไป ตอนนี้ไม่ค่อยสะดวกใจ เพราะภรรยากรวดน้ำไม่เหมือนกับที่ตนเคยรู้และปฏิบัติกันมา ว่าอย่างนั้น

ท่านผู้นี้เล่าว่า ภรรยาของท่าน ได้รับการแนะนำจากหลวงพ่ออายุเกือบร้อยแล้วว่า หลังจากใส่บาตรแล้วให้เอาถังพลาสติกใบเบ้อเร่อใส่น้ำให้เต็ม แล้วอ่านคำสวดอุทิศให้แก่ใครที่ตนต้องการอุทิศให้ยาวเป็นหน้าๆ (เพราะมีกันมากมายก่ายกอง) แล้วก็เอาขันน้ำไปราดกลางสนามหญ้า ราดเสร็จแต่ละขัน ก็เริ่มร่ายคาถาอุทิศยาวเป็นหน้าๆ อีก กว่าจะทำพิธีกรวดน้ำเสร็จก็กินเวลาครึ่งค่อนวัน

ครั้นท่านผู้นี้ไปเรียนถามหลวงพ่อเจ้าตำรับกรวดน้ำที่เปลืองน้ำรูปนี้ว่า เท่าที่ทราบมา การกรวดน้ำคือการตั้งจิตอุทิศบุญกุศล โดยใช้น้ำเป็นสัญลักษณ์หรือเป็นสื่อเท่านั้น กรวดเสร็จก็เอาน้ำไปเทรดต้นไม้ก็เป็นเสร็จพิธี ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำเป็นถังๆ และสวดอุทิศหลายรอบ เปลืองน้ำ เปลืองเวลาอย่างนี้มิใช่หรือ หลวงพ่อท่านว่า โยมไม่รู้อะไร รู้หรือเปล่า พวกผีเปรต สัตว์นรก เขามาคอยรับส่วนกุศลจากผู้ใจบุญอยู่ พวกนี้เขาไม่สามารถขึ้นมาจากใต้ดิน เขาขึ้นมาได้มากที่สุดประมาณ ๑ ศอกก่อนจะถึงผิวดิน โยมใช้น้ำราดเพียงเล็กน้อยน้ำจะซึมหายไปหมด ถ้าใช้น้ำมากๆ น้ำจะซึมลึกลงไปถึงตัวพวกผี พวกเปรต พวกสัตว์นรก เหล่านั้นได้ พวกนั้นจึงจะได้รับส่วนบุญ ท่านว่าอย่างนั้น

ผมไม่ถามละว่าหลวงพ่อวัดไหน ท่านว่าได้วิธีกรวดน้ำที่ว่านี้มาจากคัมภีร์เล่มไหน ขี้เกียจตามไปหาอ่าน อ่านเฉพาะคัมภีร์พระไตรปิฎกของพระพุทธเจ้าก็ยังไม่ค่อยจะจบดีเลย เพราะมีเรื่องมากมายที่จะต้องจดจำนำไปปฏิบัติ

ฟังเรื่องที่เล่านี้แล้ว นึกถึงเมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีนายพันเอก (หรือพันตำรวจเอก ผมก็ลืมไปแล้ว) ท่านหนึ่ง สลบไปฟื้นขึ้นมา ฝันไปว่าคนที่ใส่บาตรไม่ได้ใส่น้ำด้วย ตายไปแล้วจะได้กินแต่ข้าวและอาหารที่ใส่ น้ำไม่ได้กิน เพราะไม่ได้ "ทำเอาไว้" ท่านว่าท่านตายจริงๆ แล้วฟื้นขึ้นมา ประชาชนก็แตกตื่นเป็นการใหญ่ แตกตื่นเฉยๆ ไม่เท่าไรดอกครับ แต่ทำให้พระท่านลำบากไปด้วย

คุณป้าคุณลุง คุณตาคุณยายทั้งหลาย เวลาใส่บาตรก็เอาน้ำใส่ถุงพลาสติกใส่ไปด้วย บางคนเอาน้ำใส่ขวดแล้วใส่ลงในบาตรพระ บางคนชอบกินน้ำอัดลม (ไม่ขอเอ่ยชื่อเพราะไม่ได้ค่าโฆษณา) ก็เอาน้ำอัดลมชนิดนั้นใส่ด้วย หวังจักได้กินชาติหน้า พระท่านก็จำต้องอุ้มบาตรที่เต็มด้วยน้ำกลับวัด บางครั้งน้ำในถังพลาสติกแตก ข้าวในบาตรกลายเป็นข้าวแช่ไปเลยแหละเจ้าประคุณเอ๋ย

เจอหลวงพี่พยอม กัลยาโณ วันหนึ่ง ถามว่าหลวงพี่สบายดีอยู่หรือ ท่านบอกว่า หมู่นี้แย่หน่อย ฉันน้ำมาจนจุก ผมถามว่าน้ำอะไร "ก็เวลาโยมใส่บาตรใส่ข้าวเสร็จก็นิมนต์ให้ฉันน้ำก่อน วันหนึ่งใส่สี่ห้ารายก็พุงกางแล้ว" ท่านเล่าพร้อมหัวเราะหึหึ ผมเรียนท่านว่า ก็ดีนะครับ ตำราจีนเขาว่ากินน้ำตอนเช้ามากๆ รักษาโรคต่างๆ ได้

"ก็น่าจะดีอยู่ดอก แต่มันแย่อีตรงที่ทำให้ปวดฉี่ขณะบิณฑบาตน่ะสิ" หลวงพี่ท่านส่ายศีรษะ คงเอือมระอาในความ "บ้าจี้" ของชาวพุทธยุคนิกส์

หันมาว่าเรื่องกรวดน้ำครับ "กรวด" เป็นคำเขมรแปลว่าริน "กรวดน้ำ" ก็คือ รินน้ำ เวลาชาวพุทธทำบุญทำกุศลแล้ว ตั้งจิตอุทิศบุญกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับ (ญาติพี่น้อง บิดา มารดา เป็นต้น ตลอดถึงสรรพสัตว์ทั้งหลาย) ก็ใช้น้ำเป็นสื่อแทนน้ำใจรินลงในภาชนะสำหรับรองรับ เสร็จแล้วนำน้ำไปเท จะเทที่ไหนก็ได้ แต่โบราณาจารย์ท่านนิยมให้เทที่โคนต้นไม้ก็เพื่อเป็นการรดน้ำต้นไม้ไปด้วยนั่นแหละ

ถ้าเรานิมนต์พระฉันที่บ้าน หลังพระฉันเสร็จ พระท่านจะ "ยถาสัพพี" (นี่พูดภาษาชาววัด) หมายถึง พระท่านจะสวดอนุโมทนา หรืออวยพรเจ้าภาพ เวลาพระหัวแถวท่านสวดรูปเดียวว่า ยถา วาริวหา ปูรา... โยมก็เตรียมรินน้ำที่เตรียมไว้ก่อนแล้ว ลงในภาชนะสำหรับรองรับ พร้อมตั้งจิตอุทิศส่วนกุศลให้ใครๆ ตามที่ต้องการ พอท่านว่าจบลง พระทั้งหมดจะสวดขึ้นพร้อมกันว่า "สัพพีติโย วิวัชชันตุ..." รีบรินน้ำที่เหลือให้หมด แล้วประนมมือรับพร พอท่านให้พรเสร็จ เราก็นำน้ำไปเท เท่านั้นก็เสร็จพิธีกรวดน้ำ ทำกันง่ายๆ ไม่เปลืองน้ำเป็นถังๆ ไม่เปลืองเวลาค่อนวันครึ่งวัน

เวลารินที่เอานิ้วรอน้ำ ก็เพื่อให้น้ำมันค่อยๆ ไหล มิใช่เป็นกฎบังคับต้องทำและไม่จำเป็นต้องล้อมวงกันกรวดน้ำยังกับตั้งวงรัมมี่ รินคนเดียวพอ คนอื่นนั่งประนมมือเฉยๆ เท่าที่เห็นส่วนมาก นั่งล้อมวง บางคนหันก้นให้พระอีกด้วย ล้อมไม่ล้อมเปล่า ต่างก็แหย่นิ้วเข้าไปจิ้มถาดน้ำ คนที่แหย่นิ้วไม่ถึงก็จิ้มสีข้างหรือพุงคนที่อยู่ข้างหน้า ถ้าเกิดมีใครสักคนบ้าจี้คงทำให้วงแตกจนได้สักวัน ไม่ต้องถึงขนาดนั้นดอกครับ จ๋อเตี้ยมๆ ประนมมือฟังพระสวดไปเถอะ ปล่อยให้หัวหน้าหรือใครสักคนรินน้ำคนเดียวพอ

ถ้าถามว่า กรวดน้ำไปให้แล้ว เขาผู้ที่เราอุทิศให้นั้น จะได้รับหรือเปล่า ขออ้างพระพุทธพจน์ว่า ได้รับก็มี ไม่ได้รับก็มี ถ้าผู้ตายไปเกิดเป็นมนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นเทวดา สัตว์นรก เขาก็มีอาหารการกินในภพนั้นๆ ของเขาแล้ว ไม่ได้รับ แต่ถ้าไปเกิดเป็น "ปรทัตตูปชีวีเปรต" (เปรตประเภทที่ยังชีพด้วยส่วนบุญที่คนอื่นอุทิศให้) เท่านั้น จึงจะได้ส่วนบุญที่ว่านี้ได้ พระพุทธพจน์มีดังนี้ครับ

เป็นอันว่า เราก็ทำ "เผื่อๆ ไว้" เท่านั้นเอง เพราะญาติโยมของเราไม่จำเป็นต้องไปเกิดเป็น "ปรทัตตูปชีวีเปรต" ทุกคนเสียเมื่อไหร่ ใช่ไหมครับ  



ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 ตุลาคม 2560 16:27:42 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #41 เมื่อ: 28 พฤศจิกายน 2560 14:53:04 »


สังเวค-สังเวช

เมื่อพระมหากัสสปะ พระเถระผู้เฒ่าผู้เคร่งครัดธุดงค์ พร้อมภิกษุสงฆ์บริวารจำนวนหนึ่ง เดินมุ่งหน้าไปยังเมืองกุสินารา เพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ทรงพระประชวรหนักอยู่ที่สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์เมืองกุสินารา เดินสวนทางกับปริพาชกคนหนึ่ง พระมหากัสสปะถามข่าวพระพุทธเจ้า

ปริพาชกนั้นตอบว่า ศาสดาของพวกท่านปรินิพพานได้ ๗ วันล่วงไปแล้ว ได้ยินดังนั้นเหล่าภิกษุที่ยังมิได้บรรลุพระอรหันต์ก็ร้องไห้อาลัยอาวรณ์ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฝ่ายผู้ที่เป็นพระอรหันต์ก็นั่งนิ่ง ปลงธรรมสังเวช

ก่อนหน้านั้นไม่นาน พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า หลังจากพระองค์ล่วงลับไปแล้วมีสถานที่ที่ควรไปชม (ทสฺสนียานิ) ควรแก่การสังเวช (สํเวชนียานิ) ๔ แห่งที่กุลบุตรผู้มีศรัทธาพึงไปเที่ยวชมเพื่อให้เกิดสังเวช คือ
     ๑.สถานที่ประสูติ
     ๒.สถานที่ตรัสรู้
     ๓.สถานที่แสดงปฐมเทศนา
     ๔.สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน

คำว่า "สังเวช" เป็นคำนามเขียนว่า "สังเวค" เขียนให้เต็มยศว่า "ธรรมสังเวค" หมายถึงปลงใจให้ถูกต้องตามธรรมหรือตามหลักการที่ควรจะเป็น คือเกิดแรงกระตุ้นภายในใจของเรา ให้มองเห็นคติธรรมดาของสังขารทั้งหลายว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีเกิดแล้วมีดับสลาย

ผู้ที่ "ปลง" ได้อย่างนี้มิใช่คนเศร้าโศกสลดตรง กันข้ามกลับเป็นผู้ที่เบิกบาน ปลอดโปร่งอย่างยิ่ง เพราะมีปัญญาคอยบอกว่าอะไรเป็นอะไร และควรทำอะไรในสถานการณ์นั้นๆ พูดอีกนัยหนึ่ง ผู้ที่มีสังเวชหรือผู้ที่ปลงได้จะเป็นผู้ไม่ประมาทต่อชีวิต เพียรพยายามทำสิ่งที่ดีต่อไป มิใช่คนที่มีจิตใจห่อเหี่ยว เศร้าสร้อยปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม

ต่างจาก สังเวช หรือสมเพช ในภาษาไทย ซึ่งหมายถึงความเวทนา สงสาร หรือความสลดหดหู่ท้อแท้สิ้นหวัง ไม่คิดทำอะไร ดังเช่น นักการเมืองน้ำเน่าแต่ละคนล้วนน่าสังเวช (สมเพช) หมายถึงน่าสงสาร (เชิงเหยียดนิดๆ) หรือกูหนอกูบวชมาตั้งนาน มีคนนับหน้าถือตามากมาย ต้องมาติดคุกที่อเมริกาจนได้

น่าสังเวชตัวเองแท้ หมายถึงสงสารตัวเอง สลดหดหู่กับชะตาชีวิตคิดมาแล้วท้อ  



โยนิ – โยนี

เคยอ่านวรรณกรรมของพระองค์วรรณฯ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์) นานแล้ว มีเรื่องหนึ่งตั้งชื่อว่า โยนี แปลว่า ปัญญาได้หรือไม่ อ่านแล้วก็จำไม่ได้ว่ามันแปลว่าปัญญาได้หรือไม่ เพราะนานแล้ว ลืมไปหมดแล้ว

มีคำบาลีคำหนึ่งว่า โยนิโสมนสิการ ซึ่งประกอบขึ้นด้วยคำว่า โยนิโสคำหนึ่งกับมนสิการอีกคำหนึ่ง โบราณาจารย์ (แปลว่าอาจารย์เก่าและอาจารย์แก่ เก่าแล้วไม่แก่ได้หรือขนาดไม่แก่ยังเก่าเลย ใช่ไหมๆ) พากันแปลกันมาว่า "การทำในใจโดยอุบายอันแยบคาย" แปลไทยเป็นไทยอีกทีว่า คิดอย่างรอบคอบ

เฉพาะคำ โยนิโส มาจากคำเดิมว่า โยนิ+โส (โส เป็นเครื่องหมายแห่งตติยาวิภัติ แปลว่า โดย, ด้วย, ตาม) โยนิโสแปลว่า โดยโยนิ หรือโดยโยนี ซึ่งโบราณาจารย์แปลว่า "อุบายอันแยบคาย"  

ความจริง "อุบายอันแยบคาย"มิใช่คำแปล เป็นคำอธิบายหรือการตีความ เพราะโยนิโส แปลตามศัพท์ว่า "โดยโยนิ"หรือ "โดยโยนี"เพราะโบราณาจารย์ตีความโยนิโสว่า โดยอุบายอันแยบคายนี้กระมัง เสด็จในกรมฯ จึงทรงตั้งคำถามว่า โยนี แปลว่า ปัญญาได้หรือไม่

โยนิ กับ โยนี เป็นคำเดียวกัน เดิมใช้ โยนิ แต่ไทยใช้ว่า โยนี ภาษาไทยแปลอย่างเดียวคือแปลว่า อวัยวะเพศหญิง

โยนิ หรือ โยนี ยังแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า แหล่งกำเนิด, ต้นตอ, การพิจารณาจนถึงแหล่งกำเนิด หรือพิจารณาถึงต้นตอ ก็คือการใช้ความคิดพินิจพิจารณาสืบสาวจนรอบคอบตลอดสาย คนที่ทำเช่นนี้แสดงว่าเป็นคนคิดรอบคอบ คนคิดรอบคอบก็คือคนใช้ปัญญาพิจารณาก่อนทำก่อนพูดก่อนคิด

วิธีคิดด้วยปัญญา หรือวิธีคิดอย่างรอบคอบ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ๑๐ ประการ แต่พระอรรถกถาจารย์สรุปไว้เพียง ๔ ประการ คือ  
     ๑.คิดเป็นทาง หรือคิดเป็นระเบียบ (ปถมนสิการ)
     ๒.คิดถูกวิธี (อุปายมนสิการ)
     ๓.คิดมีเหตุผล (การณมนสิการ)
     ๔.คิดเร้ากุศล หรือคิดแล้วเกิดการกระทำที่เป็นกุศล (อุปปาทกมนสิการ)

พิจารณาตามนัยนี้ โยนิ หรือ โยนี แปลว่า ปัญญา ได้แล  



ศาสดา – สาวก

ในช่วงเวลาที่อสัชชีบางคนกำลังเป็นข่าวฉาวโฉ่ไปทั่วโลก ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ทุกฉบับติดตามไปทำข่าวเพื่อนำเสนอประชาชนให้ทราบความเคลื่อนไหวต่างๆ ว่ากันว่าสร้างความไม่พอใจแก่สานุศิษย์ของอลัชชีมาก

เฉพาะผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชนและหนังสือพิมพ์ข่าวสด จะถูกลูกสมุนบริวารของอลัชชีจับตามองเป็นพิเศษ บางครั้งถึงกับถูกคุกคาม

ผู้สื่อข่าวคนหนึ่งบอกว่า เขาเคยทำข่าวปฏิวัติรัฐประหาร ทำข่าวการก่อจลาจลมาแล้ว ไม่เห็นมีอะไรน่ากลัว แต่เมื่อมาทำข่าวพระ กลับรู้สึกว่าไม่มีความปลอดภัยกับชีวิตและทรัพย์สินเลย

ถูก "สาวก" ของพระผู้เป็นข่าวคุกคามตลอด

หนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ เวลาพูดถึงศิษย์ของพระภิกษุบางรูป แม้กระทั่งลูกน้องของนักการเมือง มักจะใช้คำว่า "สาวก"

เช่น "สาวกยันดะซ่า ขู่ฆ่าผู้สื่อข่าว"

คำว่าสาวกแปลตามศัพท์ว่า ผู้ฟัง หมายถึงผู้ฟังคำสั่งสอนพระศาสดาและปฏิบัติตาม เพราะฉะนั้นฝรั่งจึงแปลว่า follower

ผู้ฟังคำสอนของคนอื่น เช่น นักเรียนนักศึกษาฟังเล็กเชอร์ของอาจารย์ หรือนายกรัฐมนตรีฟังคำปรึกษาของที่ปรึกษา ที่เป็นอาจารย์ทำวิทยานิพนธ์ด้วย ไม่เรียกว่า "สาวก" หรือ Follower เพราะอาจารย์หรือที่ปรึกษาคนนั้นไม่ใช่ "ศาสดา" ถ้าสถานการณ์บังคับ "ผู้ฟัง" นั้นสามารถปลดอาจารย์จากรัฐมนตรีได้ อย่าได้ซีเรียส

แต่ถ้าเป็นศาสดา สาวกไม่มีสิทธิปลดนะ จะบอกให้

เห็นหรือยังครับ คำว่าสาวกจะนำมาใช้ง่ายๆ ไม่ได้ คนธรรมดาไม่มีสิทธิเรียกศิษย์ตัวเองว่าสาวก และเราก็ไม่ควรไปเรียกศิษย์พระ ก. พระ ข. ใดๆ ว่าสาวก

ยิ่งอลัชชีด้วยแล้ว ไม่มีสิทธิมีแม้กระทั่งศิษย์ จะมีแต่สมุนเท่านั้น

มีผู้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ศาสดามีกี่จำพวก พระองค์ตรัสว่า ศาสดามี ๓ จำพวก คือ

ศาสดาที่ไม่บรรลุคุณธรรมสูงสุด ดีแต่สอนคนอื่น และสาวกไม่ค่อยเชื่อฟัง

ศาสดาไม่บรรลุคุณธรรมสูงสุด สอนคนอื่นเก่ง สาวกเชื่อฟัง

และศาสดาที่บรรลุคุณธรรมสูงสุด สอนคนอื่นเก่ง และสาวกเชื่อฟังอย่างดี


ศาสดาประเภทหลัง น่าสรรเสริญ

คำว่าสาวกควรสงวนใช้กับศาสดาเท่านั้นครับ กรุณาอย่าใช้พร่ำเพรื่อ ที่ถูกอยู่แล้วใช้พร่ำเพรื่อยังน่ารำคาญเลยครับ สิ่งที่ไม่ถูกยังมาพร่ำเพรื่ออยู่ มันจะน่า "ขี้เดียด" ขนาดไหน

คิดดูแล้วกัน



อริยะ อรหันต์

รําคาญมานานแล้ว ที่เห็นคำสองคำนี้ถูกใช้ในฐานะที่ไม่ควรใช้ ถ้าเป็นคนก็เรียกว่าไม่ได้รับเกียรติสมกับตำแหน่งหน้าที่ของเขา ใช้อธิบดีให้ทำหน้าที่เสมียน อะไรทำนองนั้นแหละครับ เมื่อท่านบรรณาธิการบริหารขอ (ความจริงบังคับ) ให้เขียนเรื่องคำศัพท์น่ารู้ลงในมติชนสุดสัปดาห์ จึงขอนำคำสองคำนี้มาพูดถึงก่อนคำอื่น

อริยะ แปลว่า ประเสริฐ อรหันต์ แปลว่า ผู้ควรบูชา คำแรกฝรั่งแปลว่า (หมายถึงที่นิยมใช้กันทั่วไป) The Noble One คำหลังแปลว่า The Worthy One  ยังแปลได้อีกหลายอย่าง เอาเฉพาะความหมายที่นิยมกันก่อน

สองคำนี้มีใช้ก่อนพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงนำสองคำนี้มาใช้ในความหมายใหม่ ซึ่งต่างจากความหมายเดิมโดยสิ้นเชิง พระองค์ทรงแบ่งบุคคลออกเป็น ๒ ระดับใหญ่ๆ คือ

๑.ปุถุชน
หมายถึงคนที่มีกิเลสหนา (ปุถุ แปลว่า หนา) คือคฤหัสถ์หัวดำอย่างเราๆ ท่านๆ นี้แหละ รวมถึงนักบวชผู้ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพานด้วย ปุถุชนนี้แบ่งย่อยออกเป็นกัลญาณปุถุชน (ปุถุชนที่ดีงาม) อีกด้วย อย่างหลังนี้ใช้เรียกปุถุชนที่มีศีลมีธรรมดีกว่าคนทั่วไป เช่น มีศีลห้าสมบูรณ์

๒.อริยะ หรืออริยบุคคล หมายถึงบุคคล ผู้บรรลุธรรมตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึง อรหัตผล อริยบุคคลจึงมี ๔ ระดับ คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอานาคามี และพระอรหันต์

บุคคล ๔ ประเภทนี้เท่านั้น มีสิทธิถูกเรียกเป็นอริยะ และอริยะระดับสูงสุดเท่านั้น จึงจะเรียกว่าอรหันต์ (อ่านว่า "อะระหัน" ไม่ใช่ "อรหัน")

ความเป็นอริยะ หรือเป็นอรหันต์ ผู้ใดเป็นผู้ใด ถึงผู้นั้นรู้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่ให้คนอื่นมาบอกว่าเป็นหรือไม่เป็น คนที่จะสามารถบอกว่าคนอื่นเป็นหรือไม่ ขั้นใด คนนั้นจะต้องเป็นต้องได้ขั้นนั้นหรือสูงกว่า

ปัจจุบันนี้ คฤหัสถ์หัวดำ ที่ดำผุดดำว่ายอยู่ในทะเลโลกีย์ อุตริแต่งตั้งพระ ก. พระ ข. ซึ่งบางทีความประพฤติก็ไม่ต่างอะไรกับชาวบ้านธรรมดาว่า เป็นพระอริยะนี้ คำถามก็คือ "คุณรู้ได้อย่างไรว่าท่านเป็นพระอริยะหรือพระอรหันต์"

คนที่เป็นจริง เขาไม่บอกดอกครับ คนที่เที่ยวบอกคนอื่นนั้นคือคนที่ไม่ได้เป็น

ดุจนักการเมืองที่อ้างศีลธรรมสามเวลาหลังอาหารนั่นแหละ ร้อยทั้งร้อยขาดแคลนศีลธรรมทั้งนั้น  



คฤหัสถ์ ฆราวาส

สองคำนี้มักใช้สับสนกันเสมอ ความจริงคำมันไม่สับสนดอก คนสับสนเองครับ อ่านหนังสือไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์หรือหนังสือระดับตำรับตำรา ถ้าอ่านด้วยความคิดจะจับผิด ย่อมเจอผิดจนได้

ฆราวาส เป็นคำนาม แปลว่า การอยู่ครองเรือน ฝรั่งแปลว่า the household life มีหลักธรรมหมวดหนึ่งเรียกว่า ฆราวาสธรรม มักแปลกันว่า ธรรมะสำหรับผู้ครองเรือน แต่ที่จริงต้องแปลว่า ธรรมะสำหรับครองเรือน

คนไทยมักนำคำนี้มาใช้หมายถึงบุคคลผู้ครองเรือน คือใช้แทนคำว่า คฤหัสถ์ ไม่ทราบว่าใครเป็นคนพาใช้ กว่าจะรู้ตัวก็กู่แทบไม่กลับอยู่แล้ว จนกระทั่งผู้ทำพจนานุกรมศัพท์ศาสนาท่านใส่ไว้ว่า "ในภาษาไทย มักใช้ หมายถึงผู้ครองเรือน คือคฤหัสถ์" (พจนานุกรมพุทธศาสนา ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระราชวรมุนี)

ส่วนคำ คฤหัสถ์ บาลีเขียนว่า คหฏโฐ แปลตามศัพท์ว่าบุคคลผู้ตั้งอยู่ในเรือน หรือบุคคลผู้อยู่ในเรือน หมายถึงผู้ครองเรือน บุคคลผู้ครองเรือน คือผู้มีครอบครัว มีบุตรภรรยา อย่างเราๆ ท่านๆ นี้แหละ

ภาษาฝรั่งแปลว่า a householder

คฤหัสถ์ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกอีกคำหนึ่งว่า กามโภคี แปลว่า "ผู้บริโภคกาม" หมายถึง ผู้ยังเพลิดเพลินอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

สมัยหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ขณะเฝ้าพระพุทธเจ้าอยู่ เห็นบรรดาอเจลก (นักบวชไม่นุ่งผ้า) และปริพาชก (นักบวชเร่ร่อนพวกหนึ่ง) เดินผ่านไป ประคองอัญชลีนมัสการด้วยความเคารพ ตรัสดังๆ ว่า "ข้าพเจ้า ปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งโกศลรัฐเจ้าข้า"

เมื่อนักบวชเหล่านั้นคล้อยหลังไป พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า "นักบวชเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสว่า มหาบพิตรทรงทราบได้อย่างไรว่า นักบวชเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ ในเมื่อมหาบพิตรเป็น "กามโภคี"

แปลไทยเป็นไทยก็คือ ยังมีกิเลสเต็มอัตราศึก รู้ได้อย่างไรว่า เขาหมดกิเลส คนจะรู้ว่าคนอื่นหมดกิเลสหรือไม่ ตนเองจะต้องหมดกิเลสก่อน ว่าอย่างนั้นเถอะ

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
     "จะรู้ว่าใครมีศีลหรือไม่ ต้องอยู่ร่วมกันนานๆ
      จะรู้ว่าใครมือสะอาดหรือไม่ ต้องดูที่การทำงาน
      จะรู้ว่าใครมีปัญญาหรือไม่ ต้องดูที่การสนทนา
      จะรู้ว่าใครมีกำลังใจเข้มแข็งหรือไม่ ต้องดูเมื่อคราวคับขัน"

พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงยอมรับสารภาพว่า นักบวชเหล่านั้น แท้ที่จริงคือจารบุรุษที่พระองค์ทรง งไปสอดแนมความเคลื่อนไหวตามชายแดน (เป็นยังงั้นไป)

กามโภคีบุคคล มักมีอะไรลับลมคมในอย่างนี้แหละครับ



บันยะบันยัง อัญญะมัญญัง

ไอ้หนุ่มนิวัติ (นามสมมติ) แต่งงานใหม่ๆ กำลังอยู่ในภาวะ "ข้าวใหม่ปลามัน" หายหน้าไปครึ่งเดือน กลับมาท่าทางอิดโรย ตาโบ๋เชียว ผู้เฒ่าณรงค์ (นามสมมติ) พบหน้าวันหนึ่ง จึงร้องทักด้วยความเป็นห่วง

"ไอ้หนูเอ๋ย รู้จักบันยะบันยังเสียบ้างสิวะ"
"อะไรครับลุง" หนุ่มนิวัติทำท่าทางงง แล้วก็ยิ้ม พลางกล่าวเบาๆ ว่า
"อ๋อ ครับๆ" แล้วก็จากไปด้วยท่าทางเหนียมอาย

บันยะบันยัง ในความหมายของผู้เฒ่าณรงค์ หมายถึงความรู้จักพอเหมาะพอดี ไม่ทำอะไรเกินกำลัง รู้จักประมาณ หรือเพลาๆ เสียบ้าง อย่าหักโหม

หักโหมเรื่องอะไร ก็พอจะเดารู้ ไม่จำเป็นต้องนำมาลงอย่างแจ่มแจ้งดุจดังหนังสือพิมพ์ลงภาพดารา

บันยะบันยัง มักใช้ในแง่ลบ ทั้งๆ ที่ในความหมายของคำหมายเอาในแง่ดี เช่น เมื่อเห็นใครทำอะไรเกินขอบเขต เกินประมาณ ผู้ใหญ่หรือผู้หวังดีจะร้องบอกว่าให้รู้จักบันยะบันยังเสียบ้าง หรือเวลาตำหนิใครที่กระทำอย่างนั้นก็จะพูดว่ามันไม่บันยะบันยังเสียบ้างเลย

หลายคนบอกว่า คำนี้มักใช้กับเรื่องพรรค์อย่างนั้น แต่ความจริงจะใช้กับเรื่องอื่นก็ได้

ที่นำคำนี้มาสนทนากันวันนี้ ก็ด้วยมานึกว่ามันเป็นคำที่เพี้ยนไปจากคำเดิม คำเดิม คือ อัญญะมัญญัง (เขียนให้ถูกจริงๆ ว่า อญฺญมญฺญํ) แปลว่า ซึ่งกันและกัน

ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ว่า คฤหัสถ์กับบรรพชิต พึงอาศัยซึ่งกันและกัน

ฝ่ายบรรพชิตหรือพระสงฆ์พึงอนุเคราะห์ชาวบ้าน ๖ สถาน คือ ๑.ห้ามปรามจากความชั่ว ๒.ให้ทำความดี ๓.อนุเคราะห์ด้วยใจดีงาม ๔.ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง ๕.ชี้แจงสิ่งที่ได้ฟังแล้วให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และ ๖.บอกทางสวรรค์ให้ (หมายถึงแนะนำวิธีดำเนินชีวิตที่ดีงามให้)

ฝ่ายคฤหัสถ์หรือชาวบ้านพึงอนุเคราะห์พระสงฆ์ ๕ สถาน คือ ๑-๓ พูด ทำ คิด ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา ๔.ต้อนรับด้วยความเต็มใจ และ ๕.อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔

ทั้งชาววัดและชาวบ้านพึงอาศัยซึ่งกันและกัน อย่างนี้แหละเรียกว่า "อัญญะมัญญัง"

เมื่อต่างฝ่ายต่างอัญญะมัญญัง การพระศาสนาก็เจริญรุ่งเรือง แม่นบ่ครับ



อยัมภะทันตา

นึกว่าจะมีแต่หนังสือพิมพ์ฉบับอื่นที่มี "ผู้หวังดี" มติชนสุดสัปดาห์ก็มี "ผู้หวังดี" กับเขาด้วย

"มีศัพท์-มีแสง" ในมติชนสุดสัปดาห์ฉบับที่ ๘๓๒ วันอังคารที่ ๓๐ กรกฎาคม ผมเขียนว่า "เหล่าภิกษุที่ยังมิได้บรรลุ พระอรหัต ก็ร้องไห้อาลัยอาวรณ์ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"

ท่านก็แก้ให้ผมด้วยความหวังดีว่า "ยังมิได้บรรลุพระอรหันต์..."

พระอรหันต์เป็นคำนาม ยังมิได้บรรลุพระอรหัต หมายถึงมิได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์

ถ้าจะใช้คำพระอรหันต์ จะต้องเขียนว่า ยังมิได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แก้ตัวไว้ก่อนปรู๊พผิดมิใช่เขียนผิด

ท่านผู้อ่านสมัยนี้ล้วนแต่ผู้รอบรู้ ผิดอะไรนิดหน่อย บางท่านก็ "เล่นงาน" หนักๆ พูดจาเชือดเฉือนหัวใจชะมัด

ผมจำต้องตั้ง "การ์ด" ไว้สูงๆ หน่อย ฮิฮิ

คุณพี่บุญเสมอ แดงสังวาลย์ เจ้าของคอลัมน์กรรมกำหนด มักพูดเสมอว่า มันเห็นผล อยัมภะทันตา เลยนะครับ

ว่าแล้วก็เล่าเรื่องคนทำกรรมแล้วได้รับผลสนองให้ฟังบางเรื่องก็สยดสยองจนขนลุก

อยัมภะทันตา ของคุณพี่ก็หมายถึงว่า เห็นผลทันตา เห็นผลในชั่วชีวิตนี้ มีผู้ถามว่าสำนวนนี้ฟังดูเป็นภาษาบาลี มันกลายมาเป็นสำนวนไทยที่ใช้ทั่วไปแม้กระทั่งชาวบ้านได้อย่างไร

ก็ไม่รู้สิครับ แต่มันเป็นมาแล้ว ผมนึกถึงบท "อัญเชิญเทวดา" หรือคาถาชุมนุมเทวดา ที่พระสงฆ์ท่านสวดก่อนที่จะเจริญพระพุทธมนต์ คือก่อนสวดพุทธมนต์ บทสวดอัญเชิญเทวดานั้นแปลว่า

"เทวดาที่อยู่ในกามาวจรสวรรค์ และรูปาวจรสวรรค์ เทวดาที่สถิตอยู่บนยอดเขา ซอกเขา ในที่กลางแจ้ง และในวิมาน เทพที่อยู่ในทวีป ประเทศ หมู่บ้าน และในป่ารกชัฏ ภุมมเทวดาที่อยู่ตามเขตเรือน ไร่นา ยักษ์ คนธรรพ์และนาคที่อยู่ในน้ำ บนบก และพื้นอันขรุขระ เหล่าเทพเป็นต้นเหล่านั้น ผู้เป็นสาธุชน (คนดี) ขอจงมายืนอยู่ใกล้ๆ ฟังพระวจนะ ของพระมุนีผู้ประเสริฐ

ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอย เวลานี้เป็นเวลาฟังธรรมแล้ว

เมื่อพระรูปหนึ่ง (ส่วนมากจะเป็นรูปที่นั่งอยู่ในอันดับที่สามของแถว) สวดคาถาอัญเชิญเทวดานี้จบลง

พระสงฆ์ทั้งปวงก็จะเจริญ (คือสวด) พระพุทธมนต์ไปจนจบ สวดจบแล้วก็จะสวดคาถา "ส่งเทพกลับ"

ตอนท้ายของคาถาอัญเชิญเทวดามีว่า "ธมฺมสฺส กาโล อยมฺภทนฺตา" ทันทีที่จบ "อยมฺภทนฺตา" พระก็จะสวดมนต์กระหึ่มทันที ทันอกทันใจอะไรเช่นนั้น

อาจเป็นเพราะเหตุนี้ก็ได้ เมื่อเห็นใครได้รับ ผลกรรมทันควันเราจึงมักพูดว่า "อยัมภะทันตา"

คือเห็นผลทันตาเลย




ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 พฤศจิกายน 2560 14:54:44 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #42 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2560 13:02:55 »



ญาติธรรม

คํานี้มิใช่ศัพท์บัญญัติ แต่มีมานานแล้ว เป็นคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงใช้มาก่อน ในความหมายหนึ่ง แต่ในปัจจุบันมีชาวพุทธ (พุทธหรือเปล่าไม่รู้นะ) นำมาใช้ในอีกความหมายหนึ่ง

ในความหมายอะไร ค่อยว่ากัน อย่าใจร้อน มาฟังความหมายเดิมก่อน

ในพระสูตรนามว่า "ติโรกุฑฑสูตร" พระพุทธเจ้าตรัสคาถา (บทโศลก) ว่า "ทานนี้ท่านทั้งหลายได้ถวายแล้ว ได้ประดิษฐานไว้ดีแล้วในพระสงฆ์ ทานนี้ย่อมอำนวยผลตลอดกาล นามแก่ท่านทั้งหลาย ตามฐานะญาติธรรมนี้ท่านทั้งหลายได้แสดงให้ปรากฏแล้ว และการบูชาผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็ได้ทำอย่างโอฬาร และได้เพิ่มกำลังแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว นับว่าท่านทั้งหลายได้ประสบบุญมิใช่น้อยเลย"

"ญาติธรรม" ในที่นี้เป็นคำนาม แปลว่า ธรรมะเพื่อญาติ ธรรมะที่พึงปฏิบัติต่อญาติ

ธรรมะในที่นี้ไม่มีความหมายใดดีเท่า "หน้าที่"

เพราะฉะนั้นญาติธรรมจึงแปลไทยเป็นไทยว่า หน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อญาติ

ตามคติทางพระพุทธศาสนา เมื่อญาติล่วงลับไปแล้ว ญาติพี่น้องที่อยู่เบื้องหลังจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ อันเรียกว่า "ทักษิณานุปทาน" (การทำบุญอุทิศผลให้แก่ผู้ล่วงลับ) เชื่อกันว่า ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ถ้าอยู่ในฐานะที่ควรได้รับก็จะได้ผลบุญที่ญาติอุทิศไปให้ ถ้าไม่อยู่ในฐานะที่ควรได้รับก็ไม่ได้รับ

ฐานะที่ว่านี้ก็คือ เขาไปเกิดเป็น "ปรทัตตูปชีวีเปรต" (เปรตที่คอยรับส่วนบุญที่เขาอุทิศให้) ถ้าไปเกิดเป็นอย่างอื่น เช่น มนุษย์ เทพ เดียรฉาน ก็ไม่ได้รับผลบุญนั้น การอุทิศผลบุญไปให้ชาวพุทธจึงทำ "เผื่อ" ไว้เท่านั้น คือ เผื่อว่าญาติของเราไปเป็นเปรตชนิดนั้นเข้าจะได้รับผลบุญ

การที่ญาติผู้มีชีวิตอยู่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายจึงเรียกว่า ญาติธรรม ปัจจุบันนี้มีผู้นำคำนามนี้ไปใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึงบุคคล เช่น ญาติธรรมชื่อ "นามกาย" บริจาคหนังสือธรรมะให้วัด ๕๐ เล่ม คงต้องการให้แปลว่า "ผู้เป็นญาติในทางธรรม" กระมัง นับว่าเป็นการนำคำศัพท์ไปใช้ผิดจากความหมายเดิม

พูดอย่างนี้เดี๋ยวจะมีผู้รู้เถียงว่า ญาติธรรมตามรูปไวยากรณ์ หมายถึงคนก็ได้ (ดุจ "ฆราวาส" แปลว่าผู้ครองเรือนก็ได้)

แม่นอยู่บักหำ ข้อยบ่เถียงดอก เพียงแต่ติงว่ามันไม่ตรงกับความหมายเดิมเขาเท่านั้นเอง    



เนื่องมาแต่คำ "ฆราวาส"

เปิดคอลัมน์ "มีศัพท์-มีแสง" ในมติชน (ไม่) สุดสัปดาห์มาหลายสัปดาห์แล้ว หวั่นใจว่าจะมีคนอ่านหรือไม่ ก็พอดีได้รับจดหมายสองฉบับ

ฉบับหนึ่งจากผู้ใช้นามว่า จำรูญ ธรรมดา ทักท้วงว่าผมเขียนผิดพลาด และแนะว่าไม่ควรใช้นามปากกาเปรียญเก้าประโยค เพราะเปรียญเก้ามีหลายคน จะเสื่อมเสียถึงเปรียญเก้าคนอื่นด้วย ปานนั้นเชียว

ผมขอนำจดหมายมาลงทั้งหมดโดยไม่ตัดทอน แล้วจะชี้แจงในภายหลัง ดังต่อไปนี้ครับ

"ฆราวาส" กับความหมาย "การครองเรือน หรือผู้ครองเรือน"

เมื่อตอนกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้มีโอกาสอ่านมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันอังคารที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๓๙ หน้า ๖๑ คอลัมน์ "มีศัพท์-มีแสง" โดยเปรียญเก้าประโยค เรื่องที่เขียนประจำวันนั้นคือ "คฤหัสถ์, ฆราวาส" ข้าพเจ้าขออนุญาตยกข้อความบางส่วนมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ด้วย ข้อความดังกล่าวนั้นมีอยู่ว่า

..."ฆราวาส" เป็นคำนาม แปลว่า "การอยู่ครองเรือน" ฝรั่งแปลว่า "The household life"  มีหลักธรรมหมวดหนึ่งเรียกว่า ฆราวาสธรรม มักแปลกันว่า ธรรมะสำหรับผู้ครองเรือน แต่ที่จริงต้องแปลว่า ธรรมะสำหรับการครองเรือน คนไทยมักนำคำนี้มาใช้หมายถึงบุคคลผู้ครองเรือน คือใช้แทนคำว่า "คฤหัสถ์" ไม่ทราบว่าใครเป็นคนพาใช้ กว่าจะรู้ตัวก็กู่แทบไม่กลับอยู่แล้ว จนกระทั่งผู้ทำพจนานุกรมศัพท์ศาสนาท่านใส่ไว้ว่า "ในภาษาไทยมักใช้หมายถึงผู้ครองเรือน คือ คฤหัสถ์" (พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระราชวรมุนี)"...

และฉบับประจำวันอังคารที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๙ ภายใต้หัวข้อเรื่องว่า "มหาบาเรียน-มหาเปรียญ" ซึ่งมีข้อความว่า

..."เมื่อ "มหาเปรียญ" เป็นสมณศักดิ์ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง พระมหาเปรียญที่ลาสิกขาออกไปเป็นคฤหัสถ์ (ไม่ใช่ฆราวาสนะครับ) ไม่มีสิทธิ์เรียกตัวเอง หรือถูกเรียกว่า มหา เด็ดขาด"...

ผู้ใคร่ในการศึกษาหลายท่านได้อ่านข้อความนี้แล้ว เกิดความสับสนและไม่แน่ใจว่าที่คนไทยเรามักใช้คำว่า "ฆราวาส" ในความหมายว่า "บุคคลผู้ครองเรือน" นั้นเป็นการใช้ที่ถูกต้องหรือไม่?

และการที่ท่านเหล่านั้นจะค้นหาคำตอบจากตำรับตำรานั้นก็ดูจะเป็นไปได้ยาก เพราะแค่ตำราดีๆ ที่เกี่ยวกับไวยากรณ์ภาษาบาลีก็แทบจะหาไม่ได้ในเมืองไทยเรา หรือหาได้แต่ก็หาไม่เป็น คิดแล้วก็อดที่จะทุกข์ใจแทนนักบาลีรุ่นหลาน เหลน โหลน ในอนาคตไม่ได้

จะอย่างไรก็ขอฝากความหวังไว้กับพระภิกษุสามเณร ผู้ที่กำลังศึกษาภาษาบาลีอยู่ในภพปัจจุบันด้วยนะครับ

ข้าพเจ้าในฐานะนักบาลีไทยผู้หนึ่งมีความสลดใจเป็นอย่างยิ่งที่เห็นนักวิชาการบาลีไทยเราชอบอ้างคำแปลฝรั่ง นับถือคำแปลฝรั่งเป็นสรณะ แทนการอ้างอิงพระบาลี อรรถกถา ฎีกา

อันคำว่า "ฆราวาส" คำนี้ เป็นคำสมาส โดยการนำเอาบทนามตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไป มารวมเป็นบทเดียว มาจากคำว่า "ฆร" กับ "อาวาส" ส่วนจะเป็นสมาสอะไรนั้นจะไม่ขอกล่าวถึง  

สําหรับคำว่า "ฆร" นี่หนา ก็แปลว่า "บ้าน" "เรือน" "โรง" อะไรทำนองนั้นแหละครับ ถ้าใครได้ศึกษาวิชากฎหมายของพระสงฆ์ (วินัยปิฎก) แล้วก็พอจะทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคำว่า "บ้าน หมู่บ้าน นิคม นคร เมืองหลวง" ได้ คือในวินัยท่านได้ให้ความหมายของศัพท์เหล่านี้ไว้ดังนี้

ฆร "บ้าน" หมายถึง บ้าน เรือน เป็นหลังๆ

คาม "หมู่บ้าน" หมายถึง บ้านเรือนหลายๆ หลัง

นิคม "ตำบล", "อำเภอ" หมายถึง แหล่งชุมชนใหญ่ที่มีตลาดค้าขาย แต่ไม่มีกำแพงกั้น

นคร "เมือง, จังหวัด" หมายถึง แหล่งชุมชนที่ใหญ่กว่านิคม ซึ่งมีทั้งตลาดค้าขาย และมีกำแพงกั้น


ราชธานี "พระนครหลวง" หมายถึง เมืองหลวงที่มีพระราชาประทับอยู่ เช่น กรุงเทพฯ

คำว่า "ฆร" นั้นจะหมายถึงอะไร มิใช่ประเด็นหลัก ส่วนคำว่า "อาวาส" นั้น มาจาก อา อุปสรรค+วส ธาตุ+ณ (อ) ปัจจัยซึ่งโดยทั่วไป ใช้ในความหมายว่า

๑) สถานที่เป็นอยู่
       ก) บ้าน, อาคาร, โรง, วัดวาอาราม, บริเวณ, ห้อง
       ข) ภพ, ภูมิ, โลก
       ค) สถานที่อาศัยของนามธรรม
       ฆ) หมู่สัตว์ที่รวมกลุ่มกันอยู่

๒) การอยู่, การอาศัย, การเกิดในภพใหม่, การอยู่ในภพภูมิของสัตว์นั้นๆ

เกี่ยวกับการถอดความหมายของศัพท์นั้นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเรามิใช่เจ้าของภาษา และไม่มีความเชี่ยวชาญเหมือนกับโบราณาจารย์ เช่น ท่านอรรถกถาจารย์ หรือท่านฎีกาจารย์ เพราะฉะนั้น การที่เราจะแปลอะไรสักอย่างให้ดีมีมาตรฐานได้นั้น จึงมิใช่อยู่ที่การอ้างฝรั่งสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะอาจหลงทางได้

ในกรณีของ ฆร กับ อาวาส นี้ก็เหมือนกันดูเผินๆ ฆร ก็แปลว่า บ้าน ส่วน อาวาส ก็แปลว่า บ้านได้เช่นกัน (ในบางแห่งสองศัพท์ใช้ในความหมายเดียวกัน) ในกรณีเช่นนี้ การที่เราจะต้องวิเคราะห์ศัพท์ใดศัพท์หนึ่งได้อย่างถูกต้องนั้น จำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานการศึกษาในหลักภาษาเป็นอย่างดี และการที่เราจะได้พื้นฐานที่ดีนั้นจำเป็นต้องอาศัยครูบาอาจารย์ผู้มีความรู้ดี และที่สำคัญเราต้องมี "Ambition" คือ ต้องมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า หรือที่ภาษามคธท่านเรียกว่า อาสา ปัตถนา หรือ ตัณหา อะไรทำนองนั้นแหละ โดยเราจะต้องวางจุดหมายหรือที่เรียกว่า Goal of Education ของเราให้แน่นอนว่า เราจะเรียนภาษาบาลี เพื่ออะไร

อนึ่ง ข้าพเจ้าขอแสดงหลักการวิเคราะห์ศัพท์ด้วยเหตุผล ๓ ประการ

เหตุผลที่ ๑ ขอให้เรามาพิจารณากันในแง่ของ อาคมยุตติ (เหตุผลด้วยการอ้างที่มาที่ไป) ก่อน ดังนี้

"ฆราวาส" นี้ใช้ในความหมาย ๒ นัย คือ

นัยที่ ๑ หมายถึง การอยู่ครองเรือน, การเป็นอยู่ในสังคม ซึ่งตรงกับภาษาฝรั่งว่า "Household life" มีปรากฏใน ทีฆนิกาย, มัชฌิมนิกาย, สังยุตตนิกาย และอังคุตตรนิกาย เป็นต้น

ผู้ใคร่ศึกษาพึงค้นดูได้จากบทพระบาลีว่า "สมฺพาโธ ฆราวาโส" "ชีวิตการครองเรือนนั้น ช่างคับแคบ"

นัยที่ ๒ หมายถึง บุคคลผู้อยู่ครองเรือน มาจากพระวินัยปิฎก เล่ม ๑ ตอนท้ายของเวรัญชภัณฑ์ ในประโยคที่ว่า "หหุกิจฺจา ฆราวาสา พหุกรณียา" ผู้ครองเรือนทั้งหลายมีกิจการที่ต้องทำมาก..."

แม้ในคำแปลพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ ที่แปล "ฆราวาส" ว่า "Householder" "ผู้ครองเรือน" ก็มี เช่น ในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค สุภสูตร


ดังนั้น จะเห็นว่า ตามหลักเหตุผลทางอาคมยุตติแล้ว คำว่า "ฆราวาส" สามารถใช้ได้ทั้ง ๒ ความหมาย

เหตุผลที่ ๒ มาพิจารณากันในแง่ของ สัททยุตติ คือ เหตุผลทางไวยากรณ์

เหตุผลนี้ก็คล้ายๆ กับ อาคมยุตติ ด้วยว่ากฎไวยากรณ์ภาษาบาลีนั้น จะต้องมีมติอนุวัตรไปตามพุทธพจน์เป็นส่วนมาก

ดังนั้น คำว่า "ฆราวาส" นี้ก็เช่นเดียวกับคำทั่วไปคือ จะต้องไม่ขัดแย้งกับพุทธพจน์โดยประกอบรูปศัพท์มาจาก ฆร บทหน้า+อา อุปสรรค+วฺส ธาตุ+ณ ปัจจัย หรือ อ ปัจจัยก็อันว่า ณ ปัจจัยนี้ ย่อมลงได้ทั้งใน ภาวสาธนะ (ภาววาจก ที่แปลว่า การ...หรือความ...) และในกัตตุสาธนะ (กัตตุวาจกที่แปลกันว่า ผู้...) โดยมีกฎไวยากรณ์กล่าวไว้อย่างชัดเจนในตำรา (เพียงแต่เราไม่ยอมศึกษากันเท่านั้น จึงทำให้เป็นช้างไพรไร้ดวงตา เที่ยวเดินสะเปะสะปะไป ในป่าบาลีพระไตรปิฎก เป็นที่น่าละอายใจยิ่งนัก)

ซึ่งถ้าจะตั้งรูปวิเคราะห์ ก็สามารถตั้งได้ว่า ฆรํ อาวสตีติ ฆราวาโส "ผู้ใดอาศัยอยู่ในเรือน ผู้นั้นเรียกว่า ฆราวาส" ยิ่งถ้าเอาไปเทียบกับข้อความธัมมปทัฏฐกถา, อานันทเสฏฐิวัตถุที่ว่า "ปณฺฑิโต ฆรมาวเส" "บัณฑิตพึงอยู่ครองเรือน" ด้วยแล้วก็ยังมองเห็นได้ชัดว่า ฆราวาสเป็นกัตตุวาจกได้หรือไม่

เหตุผลที่ ๓ มาพิจารณาในแง่ของ "สภาวยุตติ" คือเหตุผลที่ควรเป็นไปได้ สำหรับเหตุผลนี้น่าจะเป็นเหตุผลที่ดีที่สุด เพราะเป็นเหตุผลที่ต้องอาศัยหลักความจริงเข้ามาตัดสิน

ก็เมื่อคำว่า ฆราวาส แปลว่า "การครองเรือน" ได้ แล้วไฉนจึงแปล "ผู้ครองเรือน" ไม่ได้และให้สังเกตด้วยว่า คำว่า ฆราวาส นี้ มิใช่เป็นการแสดงมุ่งถึงปรมัตถ์ แต่เป็นการมุ่งไปที่โวหารบัญญัติ ดังนั้น แม้คำที่เป็นปรมัตถ์ล้วนๆ เช่น "จิต" ยังสามารถแปลว่า "ผู้คิด" ได้ (จิต-แปลได้ ๓ นัย คือ ความคิด, ผู้คิด, ธรรมสำหรับใช้คิด) แล้วไฉนคำว่า ฆราวาส จึงมิบังอาจที่จะแปลว่า "ผู้ครองเรือน" ได้เล่า ขอให้นึกเทียบดูกับคำว่า "ฆรวาสี" ด้วยว่าเหมือนกัน หรือต่างกัน

สรุปแล้ว ไม่ว่าจะโดยเหตุผลประการใด คำว่า "ฆราวาส" นี้ ย่อมมีสิทธิใช้ได้ใน ๒ ความหมาย คือ การครองเรือน และบุคคลผู้ครองเรือน

ดังนั้น การที่โบราณาจารย์ของไทยเราใช้คำว่า ฆราวาส ในความหมายว่า "บุคคลผู้ครองเรือน" นั้น จึงไม่ผิดโดยประการทั้งปวง

และขอตั้งเป็นข้อสังเกตว่า พวกเราทั้งหลายอย่าได้ลบล้างความถูกต้องของโบราณาจารย์ให้เป็นความผิด โดยเอาคำแปลฝรั่งมาอ้างเลย เพราะจะเป็นการกล่าวตู่ท่านเปล่าๆ และหากเราจะอ้างฝรั่งสักทีก็ขอให้ค้นคว้ามากกว่านี้หน่อย เพราะมิฉะนั้นแล้ว วิญญาณของ I.B Horner (ผู้ที่แปล ฆราวาส ว่า Householder[ "ผู้ครองเรือน") อาจจะมาท้วงการกล่าวตู่ก็ได้นะครับ

สุดท้ายมีผู้ฝากมา คือมีเปรียญเก้าหลายท่านไม่เห็นด้วยในการที่ผู้เขียนคอลัมน์มีศัพท์-มีแสง ใช้นามปากกาว่า เปรียญเก้าประโยค เพราะว่าศัพท์นี้เป็นสาธารณนาม ในกรณีที่บทความเกิดผิดพลาดขึ้นมา ผลกระทบอาจเกิดขึ้นแก่เปรียญเก้าท่านอื่นๆ นะครับ สวัสดี




ตอบเนื่องมาแต่คำ "ฆราวาส"
ขอขอบคุณ คุณจำรูญ ธรรมดา ที่เสียสละเวลาอันมีค่ามาตรวจสอบข้อเขียนของผม เมื่อพบว่ามีที่เห็นว่าผิดพลาดก็กรุณาท้วงติงมา ยกเหตุผลมายืดยาวพร้อมวิเคราะห์ศัพท์ ฆราวาโส ตลอดถึงบอกธาตุ วิภัติ ปัจจัย มาเสร็จ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่า "งึด" สำหรับคนนอกวัดว่าช่างลึกซึ้งอะไรปานนั้น แต่สำหรับชาววัดด้วยกันแล้วเป็นของธรรมดา รู้ๆ กันอยู่

ข้อเขียนของผมสรุปประเด็นสั้นๆ ว่า คำว่า ฆราวาส ใช้เป็นคำนาม หมายถึง "การครองเรือน" ถ้าเป็นผู้ครองเรือน จะใช้คำว่า คฤหัสถ์ (บาลี-คหฏฐ, สันสกฤต-คฺฤหสฺถ) แต่มักมีผู้นำมาใช้เป็นคุณศัพท์หมายถึงผู้ครองเรือน จนกระทั่งพจนานุกรม (เช่น พจนานุกรมฉบับของพระธรรมปิฎก) บอกว่า ฆราวาส การอยู่ครองเรือน, ชีวิตชาวบ้าน ในภาษาไทยมักใช้หมายถึงผู้ครองเรือนคือคฤหัสถ์

นี้คือสาระของข้อเขียนเรื่องนี้ แต่คุณจำรูญ ธรรมดา ท้วงว่า ฆราวาส แปลว่า ผู้ครองเรือนก็ได้ แล้วก็เลยเถิดไปถึงว่า เห็นอ้างฝรั่ง ไหนจะอ้างก็อ้างให้หมดเพราะฝรั่งผู้แปลพระไตรปิฎก เช่น I.B. Horner ยังแปลคำ ฆราวาส ว่า householder การที่ผมเขียนอย่างนี้ไม่กลัววิญญาณของ I.B. Horner ช้ำใจหรืออย่างไร แล้วยังหยอดท้ายว่า ไม่ควรใช้นามปากกาว่า เปรียญเก้าประโยค เพราะเปรียญเก้าประโยคมีหลายคน ถ้าข้อเขียนของผมผิด (เช่นเรื่องนี้) จะทำให้เปรียญเก้าประโยคคนอื่นเสียหายด้วย

คราวนี้ผมขอเรียนชี้แจงอย่างนี้ครับ

๑. คำว่า ฆราวาส ความหมายที่ใช้จริงๆ ในพระไตรปิฎกเป็นคำนาม หมายถึง การครองเรือน เท่านั้น พระพุทธเจ้ามักทรงใช้คู่กับคำว่า บรรพชา (บาลี-ปพฺพชฺชา) ลองเปิดพจนานุกรมดูสิครับ (เดี๋ยวนี้เขามี CD Rom กดเดี๋ยวเดียวก็ได้ list ออกมายาวเหยียด) เช่น

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ ข้อ ๑๐๒,๓๑๘ เล่มที่ ๑๒ ข้อ ๓๓๓,๓๔๓ เล่มที่ ๑๓ ข้อ ๑๑, ๖๓๗,๗๑๑,๗๑๓,๗๓๘ เล่มที่๑๔ ข้อ ๑๖, ๑๗๒, ๓๙๖ เล่มที่ ๑๖ ข้อ ๒๕๓ เล่มที่ ๑๙ ข้อ ๑๑๔๗ ๑๔๑๕ เล่มที่ ๒๑ ข้อ ๑๙๘ เล่มที่ ๒๔ ข้อ ๙๙ และเล่มที่ ๓๖ ข้อ ๖๕๑

มีข้อความทำนองเดียวกันคือ สมฺพาโธ ฆราวาโส รชาปโถ อพฺโภกาโส ปพฺพชฺชา = การครองเรือนคับแค้นเป็นทางแห่งธุลี (ความมัวหมอง) การบรรพชาสว่างโล่ง

ไม่มีที่ไหนในพระไตรปิฎกที่คำว่าฆราวาส ใช้ในความหมายว่า "ผู้ครองเรือน" แม้บางแห่งความน่าจะชวนให้แปลทำนองนั้น แต่จริงๆ ท่านให้แปลว่า "การครองเรือน" ข้อความที่ว่านี้คืออะไร สัปดาห์หน้าค่อยว่าต่อครับ    

ประโยคที่คุณจำรูญ ธรรมดา ยกมาก็คือ พหุกิจฺจา ฆราวาสา พหุกรณียา แล้วแปลว่า ผู้ครองเรือนทั้งหลายมีกิจมาก มีเรื่องพึงทำมาก ถ้าดูเผินๆ น่าจะแปลอย่างนั้น แต่ในที่นี้ท่านต้องการให้แปลว่า "การครองเรือนทั้งหลาย" รู้ได้อย่างไรว่าต้องการให้แปลอย่างนั้น ข้อความทำนองนี้อีกแห่งที่คุณจำรูญว่า นางสาวไอ.บี. ฮอนเนอร์ แปลว่า householder  นั่นแหละ มันฟ้องว่าต้องแปลว่าการครองเรือน

ในหลักฐานที่อ้างถึง (มัชฌิมนิกาย สุภสูตร) มีข้อความว่า ฆราวาสกมฺมฏฐานํ...ปพฺพชฺชากมฺมฏฐานํ ในที่นี้ท่านใช้ ฆราวาส คู่กับ ปพฺพชฺชา เมื่อ ปพฺพชฺชา แปลว่า "การบวช" (คงไม่มีใครแปลว่าผู้บวช) ฆราวาส ก็ต้องแปลว่า "การครองเรือน" ถ้าจะแปลว่าผู้ครองเรือน (เพราะคำ ฆราวาสจะตะแบงแปลก็แปลได้ไม่ผิดไวยากรณ์) คำหลังต้องเป็น ปพฺพชิตกมฺมฏฐานํ สิครับ แล้วทำไมท่านไม่ใช้อย่างนั้นเล่า

สรุปประเด็นนี้ก็คือ คำว่า ฆราวาส พระไตรปิฎกใช้หมายถึงการครองเรือนเท่านั้น (ไม่มีหลักฐานที่ไหนใช้แปลว่าผู้ครองเรือน) แต่ต่อมามีการนำเอามาใช้หมายถึงผู้ครองเรือน คู่กับบรรพชิต ดังมักพูดกันว่า ฝ่ายบรรพชิต ฝ่ายฆราวาส หรือบรรพชิตและฆราวาส

นั่นเป็นการ "งอก" ของภาษาในภายหลัง พระธรรมปิฎกท่านบอกว่า งอกในภาษาไทยเท่านั้น ใครจะใช้ก็เชิญ ผมไม่ว่า แต่ไม่เอาด้วยเพราะถือว่าผิดความหมายเดิมของเขา

มิใช่หมายความว่า ฆราวาส แปลว่า ผู้ครองเรือนไม่ได้ แปลได้ถ้าจะ "ตะแบง" แปล ดุจคำบาลีว่า สุนขาภริยา มม=ภรรยาของข้าพเจ้าที่เล็บงาม ใครจะแปลว่า หมาเป็นภรรยาของข้าพเจ้า ก็เชิญสิ เพราะ "สุนขา" แปลว่ามีเล็บงามก็ได้ หมาก็ได้

๒. บาลีเดิมนั้นเมื่อพูดถึงผู้ครองเรือนท่านใช้คำว่า คิหิ กับ คหฏฐ และคู่กับ ปพฺพชิต เสมอ เช่น คิหิ-ปพฺพชิต คหฏฐ-ปพฺพชิต (มีเพียง ๔ ครั้งเท่านั้นที่ใช้ คหฏฐ คู่กับ อนาคาร) ยกตัวอย่างเช่น

๑) คิหิ-ปพฺพชิต นี้ใช้ในเล่มที่ ๑, ๒, ๑๓, ๑๙, ๒๐, ๒๒, ๒๔, ๒๗, ๒๙, ๓๐, ๓๑, ๓๕ เฉพาะเล่มที่ ๑๑ มีใช้ถึง ๙ ครั้ง

๒) คหฏฐ-ปพฺพชิต มีใช้ในเล่มที่ ๑, ๑๒, ๒๒, ๒๕, ๒๗, ๒๙, ๓๐, ๓๒ เฉพาะเล่มที่ ๓๐ มีใช้ถึง ๑๐ ครั้ง

สรุปตรงนี้ก็คือ คำว่า "ผู้ครองเรือน" บาลีใช้ คิหิ หรือ คหฏฐ คู่กับคำว่า ปพฺพชิต (ผู้บวช) ในหลักฐานชั้นต้นคือพระไตรปิฎก ไม่มีที่ไหนอนุญาตให้ใช้คำ ฆราวาส ว่าหมายถึงผู้ครองเรือน

ไม่มีการใช้คำ ฆราวาส คู่กับ ปพฺพชิต มีแต่ ฆราวาส คู่กับ ปพฺพชฺชา

๓. ประเด็นที่สาม เมื่อตรวจดูพจนานุกรม ไม่ว่าฉบับไหน คำว่าฆราวาส ไม่มีที่ใช้ในความหมายว่า ผู้ครองเรือน ยกเว้นพจนานุกรมไทย ขอยกตัวอย่างเช่น

๑. Pali-English Dictionry by T.W.Rhys Davids and William Stede, ๑๙๗๒ แปลว่า the household life (as contrasted with the of a mendicant)

๒. Concise Pali-English Dictionary by Buddhadatta Mahathera, ๑๙๗๕ แปลว่า the household life

๓. ปทานุกรมไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พ.ศ.๒๕๑๒ (ฉบับเดิมที่ดำเนินตาม Dictionary of the Pali Language ของ Robert Caesar Chiders) แปลว่า living in a house or at home, life in the world,the householder's life. As opposed to the life an ascetic.

ยกมากี่เล่มก็ไม่มีเล่มไหนแปล ฆราวาส ว่าผู้ครองเรือน แม้พจนานุกรมพุทธศาสนาฉบับประมวลธรรม ของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก พ.ศ.๒๕๓๐ ท่านจะให้ความหมายว่า ฆราวาสหมายถึงผู้ครองเรือนได้ แต่ท่านก็บอกไว้ว่าใช้ในความหมายของ คนไทย ดังนี้

Gharavasa ๑.Household life ๒.(T.) a householder; layman; the liaty

ถ้าถามว่า ฆราวาส แปลว่าผู้ครองเรือน ได้ไหม ผิดไวยากรณ์ไหม ตอบว่าแปลได้ ไม่ผิด จะ "ตะแบง" แปลก็แปลได้ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น จะนำมาใช้ในความหมายใหม่ว่าหมายถึงผู้ครองเรือนดังในภาษาไทยก็ใช้ไป แต่ควรตระหนักว่าของเดิมของเขามิได้ใช้อย่างนั้น

๔. ประเด็นสุดท้าย เกี่ยวกับนามปากกา ความจริงผมใส่อัญประกาศด้วยว่า "เปรียญเก้าประโยค" แต่เวลาพิมพ์เขาใส่บ้าง เอาออกบ้าง อย่างไรก็ตาม คำนี้ (ในกรณีนี้) เป็นอาสาธารณนามครับ มิได้หมายถึงเปรียญเก้าประโยคอื่น หมายถึง เปรียญเก้าประโยคคนที่เขียนคอลัมน์นี้เท่านั้น

อย่าวิตกเลยครับว่า ถ้าผมเขียนผิดแล้วจะเสื่อมเสียถึงเปรียญเก้าประโยคคนอื่น คนอ่านเขารู้จักแยกแยะ

ทีเปรียญเก้าประโยคบางคน นั่งชำระอรรถกาฎีกาผิดบ้างถูกบ้าง ผมไม่เห็นโวยว่าอาจทำให้เสื่อมเสียถึงผมเลยครับ
 





ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ธันวาคม 2560 13:06:50 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #43 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2560 15:19:35 »



ความคิดเห็นเรื่องศัพท์ฆราวาส

หลังจากผมนำเรื่อง คฤหัสถ์-ฆราวาส ลงในมติชนสุดสัปดาห์ กล่าวว่า คำว่าฆราวาส แปลว่า "ผู้ครองเรือน" ผิด ที่ถูกควรแปลว่า "การครองเรือน" เพราะในพระไตรปิฎก ไม่มีที่ไหนอนุญาตให้แปล ฆราวาสว่าผู้ครองเรือน ก็มีผู้ท้วงติง (ด้วยถ้อยคำยังกับโกรธผมมาเป็นพันปี) ว่า ไม่รู้หรือว่า ฆราวาส แปลว่าผู้ครองเรือนได้ ทำไมโง่ปานนั้น (ตรงนี้ท่านไม่ได้ว่า) ผมแปลเองจาก "บริบท" แห่งข้อเขียนของท่านเพราะท่านลงท้ายจดหมายด้วยความเป็นห่วงว่าไม่ควรใช้นาม "เปรียญเก้าประโยค" เพราะเปรียญเก้าประโยคมีหลายคน เดี๋ยวจะเสื่อมเสียถึงเปรียญเก้าประโยคอื่นที่เขารู้ดีด้วย

ผมก็ได้เรียนยืนยัน (นั่งยัน) ว่า ฆราวาส ความหมายเดิมในพระไตรปิฎกนั้นท่านให้แปลเป็นคำนามอันหมายถึง "การครองเรือน" อย่างเดียวแน่นอน แล้วผมก็นำหลักฐานจากพระไตรปิฎกมาแสดงด้วย ไม่มีที่ไหนสักแห่งที่ใช้ฆราวาสในความหมาย "ผู้ครองเรือน" (แม้ว่าในบางแห่งอาจพาให้แปลอย่างนั้นได้) ดังที่ได้นำมาลงให้ทราบกันแล้ว

ผมก็ได้บอกไว้ด้วยว่า ถ้าจะแปลว่า "ผู้ครองเรือน" ก็แปลได้ เพราะรูปไวยากรณ์อนุญาตให้แปลได้ แต่ในพระไตรปิฎกท่านไม่อนุญาตให้แปล เรื่องก็มีดังว่ามานี้

บัดนี้ผมได้รับลิขิตจากพระเดชพระคุณพระคันธสาราภิวงศ์ แห่งวัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง ท่านได้เขียนแสดงทรรศนะอย่าง "ถ่อมตน" เป็นอย่างยิ่ง ถ้อยคำสำนวนเต็มไปด้วยไมตรีจิต เรียกตัวเองว่า "นักศึกษาไวยากรณ์คนหนึ่ง" น่ารักจริงๆ ครับ ผมขออนุญาตนำลิขิตของท่านมาลงให้ท่าน และขออนุญาตเสริมความตอนท้ายสักเล็กน้อย ข้อความมีดังนี้ครับ

อาตมภาพอ่านบทความที่โยมวิจารณ์คำแปลบทว่า ฆราวาสา ในปาฐะว่า พหุกิจฺจา ฆราวาสา พหุกรณียา มีความเห็นว่าเป็นข้อวิจารณ์ที่แปลกมาก ขอชมเชยความคิดเห็นที่เป็นอิสระและพร้อมที่จะแก้ไขสิ่งที่คิดว่าไม่ถูกต้อง อาตมภาพในฐานะนักศึกษาภาษาบาลีผู้หนึ่งประสงค์จะแสดงความคิดเห็นส่วนตัวบ้าง หวังว่าคงจะได้รับการพิจารณาจากนักวิชาการบาลีในเรื่องนี้

ภาษาบาลีเป็นภาษาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้รับการยกย่องว่าเป็นตันติภาษาที่มีแบบแผนเฉพาะตัว จึงมีความลึกซึ้งยิ่งนัก แม้พระอัคควังสาจารย์ผู้รจนาสัททนีติปกรณ์ ซึ่งเป็นไวยากรณ์บาลีที่กว้างขวางที่สุด ก็พูดออกตัวว่าท่านยังไม่บรรลุถึงฝั่งแห่งภาษาบาลี และกล่าวว่า "พระขีณาสพผู้บรรลุนิรุตติปฎิสัมภิทาญาณเท่านั้น จึงจะนับว่าบรรลุถึงฝั่งแห่งภาษานี้ (สัททนีติ ปทมาลา หน้า ๒๕๗, สุตตมาลา หน้า ๓๒๐, ธาตุมาลา หน้า ๕๑๘)

ในปาฐะว่า "สมฺพาโธ ฆราวาโส รโชปโถ, อพฺโภกาโส ปพฺพชฺชา (ที.สี.๙/๑๒๒/๘๒) "การครองเรือนดุจที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งกิเลสธุลี การออกบวชดุจที่โล่ง" บทว่า ฆราวาโส ที่โยมแปลว่า การครองเรือน จัดว่าถูกต้อง

เพราะ ฆราวาส ศัพท์ในที่นี้ระบุถึงกิริยาอาการครองเรือนด้วยเหตุผลเหล่านี้คือ

๑.มีข้อความเหมาะสมกับฐานะ เพราะกิริยาการคับแคบไม่เกี่ยวกับบุคคล แต่เกี่ยวกับอาการ ถ้าแปลว่า ผู้ครองเรือนดุจที่แคบ จะไม่มีความหมายใดๆ จึงต้องแปลว่า การครองเรือนดุจที่คับแคบ

๒.ปริบท (บทข้างเคียง) เพราะในประโยคต่อมามีบทว่า ปพฺพชฺชา ที่ระบุถึงกิริยาอาการออกบวช จึงทำให้อนุมานรู้ว่าบทนี้ระบุถึงกิริยาการครองเรือนของคฤหัสถ์ไม่ใช่ระบุถึงบุคคลหรือคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน

๓.การใช้พจน์ เพราะประกอบใช้เป็นรูปเอกพจน์ว่า ฆราวาโส จึงหมายถึงอาการครองเรือนไม่ใช่ผู้ครองเรือน เนื่องด้วยศัพท์ที่ระบุถึงกิริยาอาการ ซึ่งเป็นภาวตัทธิตหรือภาวสาธนศัพท์ก็ตาม มักใช้เป็นรูปเอกพจน์ ทั้งนี้เพราะนักไวยากรณ์ทั้งหลาย (เช่น สัททัตถเภทจินตา คาถาที่ ๒๙๑, นิรุตติทีปนี หน้า ๓๔๙) มีมติตรงกันว่า ศัพท์ที่แสดงกิริยาอาการจัดว่าเป็นสามัญญชาติ (มีสภาพเหมือนกัน) คือแม้จะมีบุคคลที่อาศัยของกิริยาแตกต่างกัน แต่ก็จัดว่ามีสภาพเหมือนกัน เช่น ปริวิตฺกโก ความดำริ (วิ. มหาวิ. ๑/๗/๑๒), กรณ์ การกระทำ (วิ. มหาวิ.๑/๖๒๑/๔๒๓) ในตัวอย่างเหล่านี้ อาการดำริ อาการกระทำ แม้จะดำรงอยู่ในบุคคลหลายคนที่แตกต่างกัน แต่ก็มีสภาพเหมือนกัน คือสภาพที่ดำริและกระทำ จึงไม่มีรูปพหูพจน์ว่า ปรวิตฺกกา หรือ กรณานิ ที่แสดงกิริยาอาการในพระไตรปิฎกเลย ฉะนั้น ในพระไตรปิฎกจึงมีปรากฏเพียงรูปเอกพจน์ว่า สมฺพาโธ ฆราวาโส ไม่มีปรากฏรูปพหูพจน์ว่า สมฺพาธา ฆราวาสา

๔.ในมหานิ. อฎ. หน้า ๒๔๘ แสดงว่า "สพฺพํ ฆราวาสปลิโพธนฺติ สกลํ คิหิภาวชฎํ", "ปาฐะว่า สพฺพํ ฆราวาสปลิโพธํ มีความว่า ความวุ่นวายในความเป็นคฤหัสถ์ทั้งหมด" ในที่นี้ คิหิภาว ศัพท์ไข ฆราวาส ศัพท์ว่า เป็นศัพท์ที่ระบุถึงอาการ เพราะภาวศัพท์หรือภาวตัทธิตปัจจัยระบุถึงกิริยาอาการเหมือนภาวสธนศัพท์ ฆราวาสศัพท์ในปาฐะว่า ฆราวาสปลิโพธ จึงแปลว่า การครองเรือน ถ้าท่านมุ่งจะไขให้แปลว่า ผู้ครองเรือน ก็ต้องไขว่าคหฎฐชฎํ หรือ คิหิชฎํ แต่ท่านไม่ไขเช่นนั้น

ด้วยเหตุดังกล่าว บทนี้จึงมาจากรูปวิเคราะห์ภาวสาธนะว่า "อาวสนํ อาวาโส" (อา+วสุ+ณ) และวิเคราะห์เป็นตัปปุริสมาสว่า "ฆเร อาวาโส ฆราวาโส" ฉะนั้น ใน Pali-English Dictionary by T.W. Rhys Davids and William Stede. 1989, p.257 จึงแปลว่า Household Life

แม้ในพระไตรปิฎกแปลฉบับพม่า (ทีฆนิกายแปล หน้า ๖๖) และฉบับอังกฤษ (GIALOGUES OR THE BUDDHA, PERT 1, p.78) ก็แปลไว้เป็นนัยเดียวกันนี้

ปาฐะว่า "พหุกิจฺจา ฆราวาสา พหุกรณียา" ที่โยมแปลว่า "การครองเรือนทั้งหลาย มีกิจมาก มีเรื่องพึงทำมาก" ก็ถือว่าไม่ผิดกฎไวยากรณ์ แต่ตามความเห็นของอาตมภาพควรแปลว่า "ผู้ครองเรือนทั้งหลาย มีกิจมาก มีเรื่องพึงทำมาก" เพราะฆราวาส ศัพท์ในปาฐะนี้หมายถึงบุคคลคือผู้ครองเรือน ด้วยเหตุเหล่านี้คือ

๑.มีข้อความเหมาะสมกับฐานะ เพราะผู้ครองเรือนเป็นผู้ที่มีกิจธุระมาก

๒.ปริบท คือ พหุกิจฺจา พหุกรณียา ปรากฏใช้ในฐานะที่ระบุถึงบุคคลเท่านั้นเหมือนไปปาฐะว่า "พหุกิจฺจา มยํ พหุกรณียา" (วิ. มหาวิ. ๒/๒๕๓๗/๓๕๔ ปาฐะนี้มี ๑๘ แห่งในพระไตรปิฎก) "ข้าพระองค์ทั้งหลายมีกิจมาก มีเรื่องพึงทำมาก" ในที่นี้บทว่า มยํ ระบุถึงบุคคล มิใช่ระบุถึงอาการ ถ้าผู้กล่าวต้องการจะระบุถึงอาการที่การครองเรือน มีกิจธุระมาก ก็ควรจะใช้ว่า "พหุกิจฺโจ อมฺหากํ ฆราวาโส พหุกรณีโย" แต่ประโยคเช่นนี้ไม่มีปรากฎในพระไตรปิฎก

๓.การใช้พจน์ เพราะประกอบใช้เป็นรูปพหูพจน์ว่า "พหุกิจฺจา ฆราวาโส" ไม่ใช่เป็นรูปเอกพจน์ "พหุกิจฺโจ ฆราวาโสพหฺกรณีโย" เหมือนรูปว่า "สมฺพาโธ ฆราวาโส" จึงเป็นการระบุคำแปลว่า ผู้ครองเรือนทั้งหลาย ไม่ใช่แปลว่าการครองเรือนทั้งหลาย เนื่องด้วยศัพท์ที่ระบุถึงบุคคลจะใช้เป็นพหูพจน์ได้ ในเมื่อต้องการจะแสดงจำนวนมาก ส่วนศัพท์ที่ระบุถึงกิริยาอาการมักใช้เป็นเอกพจน์ตามกฎไวยากรณ์ที่แสดงมาแล้ว

๔.ในอรรถกถาชาดก ๑๐/๒๒๖ แสดงว่า "วัตฺตสมฺปนฺโนติ ฆราวาสวตฺเตน วา ราชวตฺเตน วา สมนฺนาคโต" "ปาฐะว่า วตฺตสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้เพียบพร้อมด้วยวัตรของผู้ครองเรือนหรือวัตรของพระราชา" ปริบทคือ ราชวตฺเตน แสดงว่า ฆราวาส ศัพท์ ระบุถึงผู้ครองเรือน เพราะท่านใช้ ฆราวาส คู่กับราช เมื่อ ราช ศัพท์แปลว่า พระราชา ไม่ใช่แปลว่า ความเป็นพระราชา ฆราวาส ศัพท์ก็ต้องแปลว่า ผู้ครองเรือน ถ้าจะแปลว่าการครองเรือน ศัพท์หลังต้องใช้เป็น ราชตฺตวตฺเตน แต่ท่านไม่ใช้เช่นนั้น

๕.มีบทสมาสที่แปลได้สองอย่าง ฆราวาส ศัพท์จึงแปลได้สองอย่างคือ แปลว่าการครองเรือน โดยวิเคราะห์เป็นอัสสัตถิตัทธิตต่อ อีกว่า "ฆราวาโส เยสํ อตฺถีติ ฆราวาสา"

อีกนัยหนึ่ง วิเคราะห์เป็นพหุพพิหิสมาสเพียงครั้งเดียวว่า "ฆเร อาวาโส เยสนฺติ ฆราวาสา"
 


ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 ธันวาคม 2560 15:21:09 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #44 เมื่อ: 09 เมษายน 2561 15:34:24 »


ขอขอบคุณทีมาภาพ : ลานธรรมจักรดอทเน็ต

ปริตร-ตาณ-ตำนาณ-ตำนาน (๑)

คําข้างต้นนี้แปลอย่างเดียวกัน ใช้เป็นไวพจน์กันได้ แต่ต่อมาภายหลังคำหลัง (ตำนาน) มีความหมายเพี้ยนไป จนไม่สามารถโยงถึงกันได้ เพี้ยนอย่างไร ตามผมมาจะเล่าให้ฟัง

ปริตร (บาลี ปริตฺต) แปลว่าป้องกัน ตาณ ก็แปลว่าป้องกัน ตาณ แผลงเป็น ตำนาณ (เขียน ณ เณร สะกดนะครับ) แปลว่าป้องกันเช่นเดียวกัน

ต่อมานานเข้าตำนาณเขียนเพี้ยนเป็นตำนาน ความหมายเลยเปลี่ยนไป คือแปลว่า เรื่องราวหรือเรื่องเล่าอันสืบมาแต่ปางหลัง

พอได้ยินสวดมนต์ "เจ็ดตำนาน" "สิบสองตำนาน" ก็เลยพากันแปลว่า เรื่องราวของบทสวดมนต์นั้นๆ เรื่องมันอย่างนี้แหละท่านสารวัตร

แนวความคิดที่นำพระสูตรหรือพุทธวจนะบางสูตร บางบท มาสวดเพื่อป้องกันภัยไม่ทราบเกิดขึ้นแต่เมื่อใด ถ้าเชื่อว่าที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกเป็นจริงทั้งหมด ก็ต้องเชื่อว่าแนวคิดนี้มีมาแต่สมัยพุทธกาล ดังเช่น ยักษ์บอก "รักขา" (มนต์ป้องกันภัย) อันชื่อว่า อาฏานาฏิยาแก่พระพุทธเจ้า ให้ช่วยบอกให้พระสวดประจำ หาไม่พวกยักษ์อันธพาลที่ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัยจะทำอันตรายแก่พระสงฆ์ที่นั่งบำเพ็ญสมาธิในป่าในถ้ำ

พระพุทธองค์ก็ทรงรับมนต์นั้นมา สั่งให้พระสวดประจำ

หรือเมื่อคราวเกิดโรคห่าลงที่เมืองไพศาลี พระพุทธองค์ก็รับสั่งให้พระอานนท์สวดรัตนปริตร พร้อมเอาบาตรบรรจุน้ำมนต์ไปพรมพื้นที่เพื่อขับไล่โรคร้าย เรื่องอย่างนี้ถึงมีในพระไตรปิฎกก็อยู่ในส่วนที่น่าจะเพิ่มมาภายหลัง อ้างเหตุการณ์ว่าเกิดขึ้นสมัยพุทธกาล คือโยงใยย้อนหลังจนถึงยุคพุทธกาลจนได้

ท่านพุทธทาสภิกขุท่านว่าเรื่องที่ "งอก" ออกมาทำนองจะขัดแย้งต่อหลักการของพระพุทธศาสนาอย่างนี้ ให้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าเพิ่มเติมมาภายหลัง ดังเช่นเรื่องราหูไล่อมพระจันทร์และพระอาทิตย์ (จันทิมสูตร สุริยสูตร) เป็นต้น

ก็ฝากไว้ให้คิด ไม่จำเป็นต้องด่าผู้ตั้งข้อสังเกตและไม่จำเป็นต้องหลับหูหลับตาเชื่อดายไปตามที่พูด

ส่วนตัวของผมคิดว่าแนวคิดเรื่องการนำเอาพุทธพจน์หรือพระสูตรบางสูตรมาสวดเพื่อป้องกันภัย เกิดขึ้นหลังพุทธกาล แต่คงไม่หลังมาก ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒ ที่ ๓ ก่อนที่พระไตรปิฎกจะได้รับการรวบรวมครบสมบูรณ์ ที่พูดเช่นนี้มีเบาะแสบางอย่าง เช่น

๑.ในขุททกนิกาย (คัมภีร์เล่มล่าสุดของพระสุตตันตปิฎก) มีส่วนหนึ่งเรียกว่า "ขุททกปาฐะ" เป็นประมวลบทสวดมนต์เล็กน้อยหรือสั้นๆ ที่ใช้สำหรับสวดในงานต่างๆ อายุของพระธรรมวินัยที่รวมเป็นพระไตรปิฎกคงราวๆ หลังพุทธศตวรรษที่ ๒ และไม่หลังพุทธศตวรรษที่ ๓ เข้าใจว่าการสวดพระปริตรหรือตาณ (หรือตำนาน) เริ่มที่ประเทศศรีลังกา แล้วก็แพร่มาที่ประเทศไทยและประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่นๆ

๒.มีหนังสือสวดมนต์สองฉบับเรียกว่า เจ็ดตำนาน และสิบสองตำนาน เข้าใจว่ารวบรวมที่ประเทศศรีลังกา มาถึงเมืองไทยแล้ว มีบางบทที่แต่งขึ้นใช้สวดแทนของเก่า ดังเช่น มโนการอัฏฐกคาถา (นโมแปด) พระวชิรญาณภิกษุ (พระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔) ทรงแต่งขึ้นใช้สวดแทนบท "สัมพุทธ" ของเก่า

เจ็ดตำนาน แปลว่าบทสวดป้องกันภัยเจ็ดบท สิบสองตำนาน แปลว่าบทสวดป้องกันภัยสิบสองบท มีอะไรบ้างค่อยว่ากันภายหลัง



ปริตร-ตาณ-ตำนาณ-ตำนาน (๒)

พูดถึงเจ็ดตำนาน หรือมนต์ป้องกันภัย ๗ บท บทแรกชื่อ มงคลสูตร พระสูตรว่าด้วยสิ่งที่เป็นมงคล ๓๘ ประการ

มีเรื่องราวเล่ากันว่า สมัยนั้นเกิดมีคำถามว่า อะไรเป็นมงคล ก็มีผู้เสนอคำตอบกันไปต่างๆ พวกที่ถือสิ่งจำเริญตาเป็นมงคล ก็บอกว่ารูปที่สวย งาม นั่นแหละเป็นมงคล พวกที่ถือสิ่งจำเริญหูเป็นสำคัญก็บอกว่า เสียงเป็นมงคล เป็นต้น

ถกเถียงกันเป็นเวลา ๑๒ ปี จนหมู่เทพก็นำเอาเรื่องนี้ไปถกเถียงกันด้วย วันหนึ่งท้าวสักกเทวราชได้มีบัญชาให้เทวบุตรองค์หนึ่งเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้า ว่าอะไรเป็นมงคล

พระพุทธเจ้าตรัสว่า มงคล (สิ่งที่เป็นเหตุให้ประสบความเจริญในชีวิต) ตามที่พูดๆ กันนั้นเป็นมงคลของ "นักคิด" คือคิดเอาว่ามันน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่มงคลจริงๆ ต้องเกิดจากการกระทำ อันเรียกว่ามงคลของ "นักทำ"

มงคลมีอยู่ ๓๘ ประการ คือ การไม่คบคนพาล, การคบบัณฑิต, การยกย่องคนควรยกย่อง, การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม, ความมีความดีเป็นทุนเดิม, การตั้งตนไว้ชอบ, ความเป็นคนคงแก่เรียน, ความมีศิลปวิทยา, ความมีวินัย, วาจาสุภาษิต, การเลี้ยงดูบิดามารดา, การสงเคราะห์บุตร, การสงเคราะห์ภรรยา, การทำงานไม่คั่งค้าง, การให้ทาน, การประพฤติธรรม, การสงเคราะห์ญาติ, การทำงานที่สุจริต, การงดเว้นจากความชั่ว, การไม่ดื่มน้ำเมา, ความไม่ประมาทในธรรม, ความเคารพ, การเจียมตัว, ความสันโดษ, ความกตัญญู, การฟังธรรมตามกาลอันเหมาะสม, ความอดทน, ความว่าง่าย, การได้เห็นสมณะ, การสนทนาธรรมตามกาลอันเหมาะสม, ความเพียร, การประพฤติพรหมจรรย์, การเห็นอริยสัจ, การทำพระนิพพานให้แจ้ง, จิตไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม, จิตไม่เศร้าโศก, จิตปราศจากกิเลส, จิตเกษมปลอดภัย

เหตุให้ประสบความสำเร็จในชีวิตทั้ง ๓๘ ประการนี้ เป็นเรื่องต้องทำเอาเอง จึงจะประสบความเจริญ เพียงนึกคิดเอาไม่ได้ เพราะฉะนั้น จะเห็นว่า มงคลในทรรศนะของพระพุทธเจ้าจะต้องเป็นมงคลที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติ ศาสนาของพระองค์จึงเรียกว่า กรรมวาทะ (สอนให้ลงมือทำเอง) และวิริยวาทะ (สอนให้ทำด้วยความขยันหมั่นเพียร)

ในตำนานนี้ ยกให้เทวบุตรเป็นตัวแทนมาทูลถามพระพุทธเจ้า จะตีความเป็นเทวดาจริงๆ หรือสมมติเทพองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ มิใช่ประเด็นหลัก ประเด็นหลักอยู่ที่ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ประทานไว้นี้ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่า ถ้าปฏิบัติตามนั้นจริง ได้รับความเจริญในชีวิตแน่นอน

ใครไม่เชื่อก็อย่าพูดเฉยๆ ว่าไม่เชื่อ เชิญลงมือพิสูจน์ได้  



ปริตร-ตาณ-ตำนาณ-ตำนาน (๓)

เรื่องราวของปริตร หรือตาณ (ตำนาณ-ตำนาน) ที่สองคือ รัตนสูตร มีเรื่องเล่าว่า

เมื่อครั้งเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี ของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีเกิดโรคระบาด (โรคห่า หรืออหิวาตกโรค) ผู้คนล้มตายจำนวนมาก กษัตริย์ลิจฉวีนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดชาวเมืองไพศาลี

พระพุทธองค์เสด็จไปพร้อมภิกษุสงฆ์จำนวนมาก มีพุทธบัญชาให้พระอานนท์ พุทธอนุชาสวดรัตนสูตรเพื่อปัดเป่าโรคร้ายและอำนวยสวัสดีมงคลแก่ชาวลิจฉวี พระอานนท์ เดินสวดรัตนสูตร พร้อมประพรมน้ำมนต์รอบเมืองไพศาลี (คงเหนื่อยน่าดู)

ว่ากันว่าภูตผีร้ายได้ปลาสนาการไปหมดสิ้นชาวเมืองก็มีกำลังใจ เริ่มหายป่วยกันมากขึ้น ดูเหมือนก่อนหน้าพระอานนท์จะเดินสวดพระปริตรและประพรมน้ำมนต์นั้น

ฝนได้ตกลงมาห่าใหญ่ ชะล้างพื้นที่ให้สะอาดด้วย

พระพุทธเจ้าประทับท่ามกลางพุทธบริษัทอันประกอบด้วยกษัตริย์ลิจฉวีและชาวเมือง และภิกษุสงฆ์จำนวนมาก ทรงสวดรัตนปริตรอีกครั้งหนึ่ง

อ้อ ในที่ประชุมนั้นมีเหล่าเทวาทั้งหลายอันมีท้าวสักกเทวราชเป็นประมุขมาชุมนุมฟังพระปริตรด้วย

พระพุทธโฆษาจารย์ผู้แต่งอรรถกถาทีฆนิกาย (ท่านแต่งหนังสืออธิบายพระไตรปิฎกเกือบทุกปิฎก) กล่าวว่า พระพุทธองค์ทรงสวดเฉพาะ ๕ คาถาแรก ส่วนคาถาที่เหลือพระอานนท์สวดก่อนแล้ว

รัตนปริตร หรือรัตนสูตร นี้มี ๑๗ คาถา

เนื้อหาเป็นการกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เช่น ทรัพย์เครื่องปลื้มใจชนิดหนึ่ง ไม่ว่าในโลกไหน หรือรัตนะอันประณีตสวยงาม ไม่ว่าในสวรรค์ชั้นใด จะเปรียบปานพุทธรัตนะนั้นหามีไม่

ท้ายแต่ละคาถามีถ้อยคำขอความ สวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลายที่มาประชุมกัน นมัสการพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์

เรื่องราวจะเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลจริงหรือท่านแต่งในภายหลังเพื่อโยงให้ถึง สมัยพุทธกาลไม่อาจทราบได้ เพราะไม่มีกล่าวถึงพระอานนท์เดินสวดพระปริตร และประพรมน้ำพุทธมนต์ มีแต่เนื้อหา พระสูตร "ฝอยประกอบ" นั้นพระอรรถกถาจารย์แต่งเติม

เมื่อครั้งลังกาทวีปเกิดภัยจากกาฬโรคครั้งใหญ่ในรัชสมัยของพระเจ้าอุปติสสะที่สอง (พ.ศ.เท่าไร ไม่มีเวลาตรวจสอบ ที่รู้ก็เพราะ ดร.มาลา เสเกร่า ปราชญ์ลังกาท่านบอก) พระเจ้าแผ่นดินนิมนต์พระสงฆ์เดินสวดปริตรนี้รอบเมือง

ว่ากันว่าโรคภัยได้หายไปในที่สุด จึงถือเป็นธรรมเนียมสวดพระปริตรนี้กำจัดภัยพิบัติของบ้านเมืองในเวลาต่อมา  



ปริตร-ตาณ-ตำนาณ-ตำนาน (๔)

คราวนี้มาถึงตำนาน (บทสวดเพื่อป้องกันภัย) บทที่ ๓ คือ กรณียเมตตปริตรพระไตรปิฎกเรียกว่า กรณียเมตตสูตร หรือเมตตสูตร เป็นเรื่องราวของการสวดแผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์

เรื่องมีว่า สมัยหนึ่งจวนเข้าพรรษา ภิกษุจำนวนหนึ่งกราบทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อไปอยู่จำพรรษาในป่า ถึงป่าแห่งหนึ่งก็ตกลงใจกันจะอยู่จำพรรษาที่นั่น

เหล่ารุกขเทวดาคิดว่าพระคุณเจ้าคงพักชั่วคราว ไม่กี่วันก็จะไป จึงได้พากันลงมาอยู่บนพื้นดินเพื่อถวายความเคารพแก่พระสงฆ์

แต่เมื่อรู้ว่าพระคุณเจ้าจะอยู่ที่ป่านี้ตลอดพรรษา จึงปรึกษากันว่า พวกเราเห็นจะต้อง "ไล่" พระท่านไป ไม่เช่นนั้นจะลำบากมาก ที่ต้องมาอยู่บนพื้นดินอย่างนี้

จึงพร้อมใจกันหลอกหลอนภิกษุที่ไปนั่งกรรมฐานอยู่ใต้ต้นไม้ ในถ้ำบ้าง จนท่านอยู่ไม่เป็นสุข พระก็กลัวผี ว่าอย่างนั้นเถอะ

จึงตกลงกันกลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ (สมัยนั้นไม่มีรายการ "ชมรมขนหัวลุก" ไม่เช่นนั้นคงนำมาออกทีวี ให้ขนพองสยองเกล้า) พระพุทธองค์ตรัสว่า "พวกเธอมิได้เอาอาวุธติดตัวไปด้วย จึงถูกผีหลอกหลอน"

เมื่อกราบทูลถามว่า อาวุธชนิดไหน พระองค์ก็ตรัสว่า อาวุธคือเมตตา ว่าแล้วก็ทรงสวดกรณียเมตตสูตรให้พวกเธอฟัง มีพุทธบัญชาให้กลับไปยังป่านั้นอีก และให้สวดสังวัธยาย (ก็แปลว่า "สวด" นั่นแหละ") พระสูตร ทันทีที่เดินเข้าป่าช้าและให้สวดประจำทุกวัน

ภิกษุเหล่านั้นก็ทำตามพุทธโอวาท บรรดาผีสางคางแดงทั้งหลายได้ยินบทสวดก็มีจิตอ่อนโยน รักใคร่ในพระสงฆ์จึงไม่หลอกหลอนพวกเธออีกต่อไป ภิกษุเหล่านั้นอยู่จำพรรษาในป่าอย่างผาสุก

เรื่องราวก็มีเช่นนี้แหละ ท่านสารวัตร

ถ้าถามว่าทำไมผีจึงไม่เกลียดภิกษุเหล่านั้นหลังฟังสวดกรณียเมตตสูตร  คำตอบง่ายๆ ก็คือ เพราะเนื้อหาของบทสวดเป็นการแผ่ความรักความปรารถนาดีแก่เหล่าเทวดาในป่า และแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็เมื่อรู้ว่าท่านมาดี ไม่เป็นพิษเป็นภัย เหล่าเทวดาจึงไม่ทำอันตราย กลับมีไมตรีจิตตอบ และถวายอารักขาพวกท่านให้อยู่จำพรรษาอย่างผาสุก

โบราณาจารย์สอนกันว่า ก่อนนอนให้แผ่เมตตาแล้วจะไม่ฝันร้าย ภูตผีเทวดาจะพิทักษ์ ใครกลัวผีไม่ต้องกลัวอีกต่อไป ไปพักค้างคืนที่ไหนก็แผ่เมตตาแล้วจะหลับสบาย

ไม่เชื่อก็ลองดูครับ ไม่ลองไม่รู้  



ปริตร-ตาณ-ตำนาณ-ตำนาน (๕)

ตํานานต่อไปคือ ขันธปริตร เรียกอีกอย่างหนึ่ง อหิสูตร หรือ อหิราชปริตร (บทสวดป้องกันพญางู) ที่ตั้งชื่อว่า "ขันธปริตร" แปลให้เข้าความได้ยาก อาจหมายถึงมนต์ป้องกัน "ขันธ์" ขันธ์ในที่นี้ต้องแปลว่า ตัว หรือ กายตัว ขันธปริตร จึงหมายถึง "ป้องกันตัว" ป้องกันตัวจากอะไร อยากรู้คำตอบก็ต้องอ่านเรื่องราวที่มา

ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดตาย นัยว่าภิกษุรูปนี้กำลังฝ่าฟืนใกล้ประตูเรือนไฟ ในบริเวณพระเชตวันวิหาร งูเลื้อยออกมาจากระหว่างต้นไม้ผุ กัดภิกษุนั้นที่นิ้วเท้า พิษแล่นเข้าสู่หัวใจสิ้นชีวิตทันที ภิกษุทั้งหลายพูดถึงภิกษุถูกงูพิษกัดตายกันแพร่หลาย ความรู้ไปถึงพระพุทธองค์ พระองค์ตรัสว่า ถ้าภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางูทั้ง ๔ งู จะไม่กัดภิกษุตายเป็นแน่

ทรงเล่าเรื่องอดีตให้ฟังว่า เมื่อครั้งพระองค์เสวยชาติเป็นดาบส เป็นหัวหน้าฤๅษีทั้งหลาย ตั้งอาศรมอยู่คุ้งน้ำใกล้ป่าหิมพานต์ ก็ได้สอนให้ศิษย์แผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางูเหมือนกัน ในครั้งนั้น เหล่าทีฆชาติทั้งหลายก็พากันหลีกหนีหมดไม่มีใครถูกสัตว์เลื้อยคลานกัดเลย

ที่ทรงนำอดีตชาติมาเล่านี้ก็คงต้องการให้พระภิกษุทั้งหลายมั่นใจว่า การแผ่เมตตาจิตไปยังพญางูทั้ง ๔ ตระกูลนั้นได้ผลจริง ดังเคยใช้ได้ผลชะงัดมาแล้วในอดีต

ตระกูลพญางูทั้ง ๔ คือ ตระกูลพญางูวิรูปักข์ ตระกูลพญางูเอราปัถ ตระกูลพญางูฉัพยาบุตร และตระกูลพญางูกัณหาโคตมกะ

เฉพาะพญางูวิรูปักข์นั้น เรามักได้พบว่าเป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาล เป็นผู้ครองทิศตะวันตก เป็นหัวหน้าบรรดานาคทั้งหลายคงจะเป็นตน (หรือตัว) เดียวกัน

อรรถกถากล่าวว่า สัตว์มีพิษทั้งหมด อยู่ใต้อำนาจพญางู ๔ ตระกูลนี้ เมื่อแผ่เมตตาจิตไปยังหัวหน้าใหญ่ทั้ง ๔ แล้ว ลูกน้องตัวเล็กตัวน้อยย่อมจะไม่ทำอันตรายใดๆ แก่ผู้สวดแผ่เมตตา ว่าอย่างนั้น

พระธุดงค์ท่านหนึ่งเล่าว่า ขณะทำความสะอาดผนังถ้ำที่อยู่ งูเห่าตัวมหึมาแผ่แม่เบี้ยกำลังจะฉกท่าน ท่านนึกถึง ขันธปริตร ขึ้นมาจึงยืนสงบสวดมนต์ ปรากฏว่าสักพักเดียวงูเห่านั้นก็เลื้อยหนีไป ท่านว่านี้ก็เพราะอานุภาพพระปริตรเป็นแน่แท้

อาจเป็นเช่นนั้นก็ได้ หรืออาจเป็นด้วยว่างูมันมองไม่เห็น เมื่อท่านยืนนิ่งไม่ไหวติงงูมันเลยเลื่อนหนี ผู้รู้เขาสอนว่า เจองูแล้วอย่าวิ่งให้ยืนนิ่งๆ แล้วมันจะหนีเอง

พูดอย่างนี้เหมือนไม่เชื่อในความขลังของพระปริตร หามิได้ เพียงแต่บอกว่า มีเหตุผลอื่นที่ทำให้พระธุดงค์รอดชีวิต นอกเหนือจากพระปริตรที่ท่านสวด



ปริตร-ตาณ-ตำนาณ-ตำนาน (๖)
คราวนี้มาถึงตำนาน (มนต์ป้องกันภัย) ลำดับที่ ๕ เรียกว่า โมรปริตร (มนต์ป้องกันภัยของนกยูง)

นกยูงตัวนี้มิได้อยู่ที่ "เรือนมยุรา" เหมือนในละครทีวี เป็นนกยูงโพธิสัตว์แถมยังมีสีทองงามอร่ามอีกต่างหาก ทุกเช้าก่อนจะออกไปหากิน ก็กล่าวนมัสการพระอาทิตย์กำลังอุทัย และกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลาย เสร็จแล้วก็ออกไปหากิน ตอนเย็นก่อนกลับรังก็กล่าวนมัสการพระอาทิตย์กำลังตกดิน และนมัสการพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลายให้ปกปักรักษาให้ปลอดภัย ว่ากันว่าเพราะ "ปริตร" ที่นกยูงสวดเช้าเย็นทุกวัน นกยูงโพธิสัตว์จึงปลอดภัย

มเหสีพระเจ้ากรุงพาราณสี อยากได้นกยูงทองตัวนั้น อ้างว่าอยากจะฟังธรรมจากนกยูงทอง พระเจ้ากรุงพาราณสีให้นายพรานไปดักจับเป็นเวลานานก็จับไม่ได้ จนนายพรานตายในป่า พระมเหสีไม่ได้นกยูงก็ตรอมพระทัยสวรรคต พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงผูกพยาบาทนกยูงทอง จึงรับสั่งให้จารึกลงในแผ่นทองว่า "ในป่าหิมพานต์มียูงทองตัวหนึ่ง ใครได้กินเนื้อแล้วจะเป็น "อมตะ" ด้วยเหตุนี้นกยูงทองจึงถูกล่าครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ก็รอดมาได้อย่างอัศจรรย์ เพราะพระปริตรป้องกันภัย

ตกมาถึงรัชกาลของพระเจ้ากรุงพาราณสีองค์ที่เกิดเรื่องนี้ ยูงทองถูกนายพรานจับได้ นายพรานแกรู้ว่ายูงทองรอดเพราะปริตรป้องกันภัย จึงนำนกยูงตัวเมียมาฝึกให้ร่ายรำและร้องเสียงไพเราะนำไปล่อ ขณะนางยูงแสนสวยร่ายรำและร้องอยู่นั้น พญายูงทองก็เกิดจิตปฏิพัทธ์ ลืมร่ายปริตรดังเคย วิ่งแจ้นเข้าไปหาสาวสวย ซึ่งเป็นของธรรมดา ไม่ว่าคนไม่ว่าสัตว์ "ฤดูฤดีแดสัตว์สู้กันนา" ดังศรีปราชญ์ว่านั่นแหละ

พญายูงทองก็เลยติดบ่วง ถูกจับไปถวายพระเจ้ากรุงพาราณสี พญายูงทองสอนพระเจ้ากรุงพาราณสีว่า พระองค์ถูกหลอกแล้ว ในเมื่อตัวเขา (คือพญายูงทอง) ยังต้องตาย คนที่กินเนื้อเขาจะเป็นอมตะได้อย่างไร

ทุกอย่างเป็น "สังขาร" (สิ่งผสม) ย่อมมีเกิด มีแปรเปลี่ยน มีดับสลาย ไม่ยั่งยืนชั่วนิรันดร ยกเว้นพระนิพพานเท่านั้น

พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงเชื่อพญายูงทอง จึงปล่อยให้พญายูงทองบินขึ้นฟ้ากลับไปยังนิเวศสถานของตน คงเข็ดไปจนตาย ที่เกือบสิ้นชื่อเพราะ "มาตุคาม" (นางนกยูง) แสนสวย



ปริตร-ตาณ-ตำนาณ-ตำนาน (๗)
ตํานานหรือปริตรที่ ๖ คือ ธชัคคปริตร (มนต์ป้องกันภัยด้วยการมองดูยอดธง) ถามว่ายอดธงอะไร ตอบว่ายอดธงรบ ธงรบของใคร ตอบว่า ธงรบของรถศึกพระอินทร์ พระอินทร์มาเกี่ยวข้องอย่างไร บ๊ะ ยิ่งถามมากยิ่งเรื่องมาก เล่าเลยดีกว่า

สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ภิกษุสงฆ์รำลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เวลาเกิดความหวาดกลัว หรือขนพองสยองเกล้า ขณะนั่งสมาธิอยู่ตามป่าเขา ความหวาดกลัวจะได้หมดไป ดุจดังพระอินทร์ขณะออกรบกับพวกอสูร สั่งให้เหล่าเทพนักรบบริวารของพระองค์มองยอดธงรถศึกของพระองค์ฉะนั้น

ทรงเล่าว่า (ตรงนี้เป็นตำนาน หรือประวัติศาสตร์ แล้วแต่จะเรียก) บนสรวงสวรรค์นั้นเดิมทีมีเทพเจ้าถิ่นอยู่ มฆมาณพและพรรคพวก ๓๒ คนทำบุญกุศลในโลกมนุษย์มากมาย ตายไป ไปเกิดเป็นเทพ ณ สวรรค์นั้น เหล่าเทพเจ้าถิ่นดีใจจัดงานต้อนรับ "น้องใหม่" ด้วยสุราอาหาร มฆมาณพให้อาณัติสัญญาณแก่บริวารมิให้ดื่มสุรานั่น พอเหล่าเทพเจ้าถิ่นเมามายกันหมด ก็สั่งให้จับโยนเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ = ไม่บอกก็รู้ใช่ไหมว่าสวรรค์ชั้นนี้อยู่ยอดเขาพระสุเมรุ) เทพเจ้าถิ่นตกไปอยู่ใต้เขา หายเมาก็สำนึกได้ว่าพวกตนเสียท่าผู้มาใหม่เพราะดื่มสุรา จึงตกลงกันว่าต่อไปจะไม่ดื่มสุราอีก แต่นั้นมาจึงได้ชื่อ "อสูร" (แปลว่าผู้ไม่ดื่มสุรา) สร้างพิภพอยู่ใต้เขาพระสุเมรุ วันดีคืนดีก็ยกทัพขึ้นมารบกับศัตรูเก่าแก่บนเขาทีหนึ่ง

เทพบนเขานี้มี ๓๒ องค์รวมกับหัวหน้าเป็น ๓๓ จึงมีชื่อว่า ตาวติงส = ดาวดึงส์ (แปลว่า ๓๓) ซึ่งกลายมาเป็นชื่อสวรรค์หรือพิภพที่อยู่ หัวหน้าเทพ ๓๒ องค์นี้ได้เป็นท้าวสักกะ หรือพระอินทร์ หัวหน้าแห่งเทพทั้งปวง เพราะอานิสงส์แห่งการบำเพ็ญวัตตบท ๗ ประการ ขณะเป็นมนุษย์ (วัตตบท ๗ ประการมีอะไรบ้างไปหาอ่านเอาแล้วกัน)

พวกอสูรซึ่งมีท้าวเวปจิตติอสูรเป็นหัวหน้าใช่ว่าขี้ไก่ เป็นนักรบผู้กล้าเช่นกัน เทวาสุรสงคราม (สงครามระหว่างเทพกับอสูร) จึง ยืดเยื้อ ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ เหล่าทหารหาญของพระอินทร์ บางครั้งก็หวาดหวั่น เสียขวัญ พระอินทร์จึงสั่งว่า ขณะใดเกิด ความกลัวให้มองที่ยอดธงของรถศึกของพระองค์ และของเทพ นายทัพองค์รองลงมา เช่น เทพปชาบดี เทพวรุณ และเทพอีสาน ความกลัวจะหายไป

พระพุทธองค์ตรัสเล่าเรื่องนี้แล้ว ทรงหันมาตรัสกับเหล่าสาวกว่า เวลาพวกเธอบำเพ็ญเพียรในป่าลึก ถ้าเกิดความหวาดกลัวมา ก็ให้มอง "ยอดธง" เหมือนกัน ยอดธงที่ว่านี้คือ พระรัตนตรัย ให้รำลึกพระคุณของพระรัตนตรัยแล้วจะหายหวาดกลัว

ธชัคคปริตร มีเรื่องราวความเป็นมาด้วยประการฉะนี้แล



ปริตร-ตาณ-ตำนาณ-ตำนาน (๘)
คราวนี้มาถึงตำนานที่ ๗ ชื่อ อาฏานาฏิยปริตร อันเป็นที่มาของการสวดภาณยักษ์ที่มีมาจนถึงปัจจุบันนี้

ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ เล่าไว้ว่า สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ตกกลางคืนท้าวมหาราชทั้ง ๔ คือ ธตรัฐ หัวหน้าคนธรรพ์ ผู้ครองทิศบูรพา วิรุฬหก หัวหน้ากุมภัณฑ์ ผู้ครองทิศทักษิณ วิรูปักข์ หัวหน้านาค ผู้ครองทิศปัจจิม และกุเวร หรือเวสสุวัณ หัวหน้ายักษ์ ผู้ครองทิศอุดร เข้าเฝ้า

ท้าวกุเวร หรือเวสสุวัณ กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า พวกยักษ์ที่เป็นบริวารของตน มีบางตนไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย อาจทำอันตรายแก่พระภิกษุที่นั่งบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ตามป่าตามถ้ำ ขอให้พระพุทธองค์ทรงเรียนมนต์อันชื่อว่า อาฏานาฏิยรักขา (มนต์สำหรับป้องกันชื่ออาฏานาฏิยะ) แล้วทรงให้ภิกษุสงฆ์สาวกของพระองค์สวดประจำเพื่อคุ้มครองรักษา เพื่อความสวัสดีของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย มิให้ถูกพวกยักษ์ที่ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัยเบียดเบียน

พระพุทธองค์ทรงรับดุษณีภาพ ท้าวกุเวรจึงกล่าวอาฏานาฏิยรักขาถวายเนื้อหาของมนต์นี้ กล่าวนมัสการอดีตพุทธะทั้งหลาย มีพระวิปัสสีพุทธเจ้า เป็นต้น จนถึงพระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน จากนั้นก็บรรยายถึงท้าวมหาราชทั้งสี่ มีใครบ้าง องค์ไหนปกครองใคร อารักขาประจำทิศใด และท้ายสุดก็สรุปพระคุณของพระรัตนตรัยว่า หารัตนะใดเสมอเหมือนมิได้ และเป็นโอสถรักษาโรค (ใจ) ได้อย่างวิเศษ

ส่วนที่หัวหน้ายักษ์สวดถวายนี้เรียกว่า "ภาณยักษ์" พระพุทธองค์ได้ตรัสเล่าและทรงสวดให้ภิกษุสงฆ์ฟังภายหลัง ส่วนนี้เรียกว่า "ภาณพระ"

ว่ากันว่า ถ้าใครสวดอาฏานาฏิยรักขานี้แล้วบรรดายักษ์และภูตผีปีศาจทั้งหลายจะไม่ทำอันตราย ตรงข้ามกลับจะให้การอารักขา หรือคุ้มครองให้ปลอดภัยเสียอีก

ดูแล้วก็น่าเป็นไปได้ เพราะในมนต์บทนี้อ้างพระนามพระพุทธเจ้าทั้งหลายรวมถึงพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ซึ่งท้าวกุเวร หัวหน้าพวกยักษ์นับถือมาก อ้างยักษ์ผู้ใหญ่ระดับแนวหน้าต่างก็นับถือพระพุทธเจ้า เป็นการ "ขู่" กลายๆ แล้วอย่างนี้ยักษ์ระดับกระจอกจะกล้าไปทำอะไรแก่พระพุทธเจ้า หรือสาวกของพระพุทธเจ้า ที่เจ้านายของตนนับถือหรือ ขืนไม่เชื่อฟังเดี๋ยวก็โดนดีเท่านั้น

ต่อมามีการสวดอาฏานาฏิยปริตรขับไล่ยักษ์ เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งในหมู่ชาวพุทธ มีการยิงปืนใหญ่ จุดประทัดเปรี้ยงปร้างๆ ให้ยักษ์กลัวด้วย ว่ากันอีกนั่นแหละว่า คนที่ถูกไสยถูกคุณมาฟังสวดปริตรนี้แล้วจะหาย บางคนมาทุกครั้งที่พระท่านสวด ถามว่าหายไหม ตอบว่าหาย แต่พอถึงเทศกาลสวดภาณยักษ์ก็กลับมาอีก

อย่างนี้เห็นทีต้องสวดคาถาไล่ "ผีภายหลัง" เสียละกระมัง จึงจะหายขาด



ปริตร-ตาณ-ตำนาณ-ตำนาน (๙)

เคยบอกว่า ตำนานนั้นเพี้ยนมาจาก ตาณ-ตำนาณ คนรุ่นหลังเข้าใจว่า ตำนาน คือเรื่องราว แต่ที่จริงตำนานแปลว่าป้องกัน ความหมายเดียวกับ ปริตต (ปริตร) ได้อ่านหนังสือ "อานุภาพพระปริตต์" เขียน โดย ท่านอาจารย์ธนิต อยู่โพธิ์ ท่านใช้คำว่า "ตำนาณ" (ณ เณร สะกด) ตลอด ซึ่งถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง

มนต์ป้องกันภัย ๗ บท หรือที่ปัจจุบันเรียกและเขียนเพี้ยนว่า "๗ ตำนาน" นั้น มีมงคลสูตร, รัตนปริตร, กรณียเมตตปริตร, ขันธปริตร (ควบ ฉัททันตปริตร), โมรปริตร, ธชัคคปริตร และอาฏานาฏิยปริตร ซึ่งบางครั้งก็ใช้ อังคุลิมาลปริตร แทน

วันนี้ขอตบท้ายด้วย อังคุลิมาลปริตร เรื่องพระองคุลิมาล อดีตจอมโจรชื่อดังเป็นที่รับรู้กันทั่วไปในหมู่ชาวพุทธ คำโต้ตอบระหว่างพระพุทธองค์กับองคุลิมาล "หยุดสมณะหยุด" "เราหยุดแล้ว แต่เธอยังไม่หยุด" ยังจำกันได้ขึ้นใจ

องคุลิมาลเดิมนามว่า อหิงสกะ เกิดภายใต้ดาวฤกษ์โจร บิดาซึ่งเป็นปุโรหิตในราชสำนักพระเจ้าปเสนธิโกศล กราบทูลว่าลูกชายจะเป็นโจรลือชื่อ เมื่อทรงทราบว่ามิใช่โจรแย่งชิงราชสมบัติก็มิได้ทรงให้กำจัดเสีย ตามคำกราบบังคมทูลของผู้เป็นบิดา

ตอนเด็กๆ อหิงสกะก็เป็นเด็กดี เรียนหนังสือเก่ง เมื่อไปเป็นศิษย์อาจารย์ทิศาปาโมกข์ก็เป็นที่รักของอาจารย์ จนกระทั่งศิษย์ร่วมสำนักอิจฉาพากันยุยงให้อาจารย์เข้าใจศิษย์รักผิด อาจารย์จึงคิดกำจัดโดยให้ไปฆ่าคน เอานิ้วมือจำนวนหนึ่งพันเพื่อประกอบพิธีประสิทธิ์ประสาทวิชาการชั้นสูงให้

อหิงสกะจึงกลายเป็นโจร เพราะได้อาจารย์เป็นบาปมิตร (มิตรชั่ว) เด่นดังมากจนพระราชายกกองทัพย่อยๆ ไปปราบ มารดา อหิงสกะเกรงลูกจะถูกฆ่า จึงเดินทางไปกะจะบอกให้ลูกรู้ตัว พระพุทธเจ้าทรงทราบด้วยพระญาณ เกรงว่าลูกจะฆ่าแม่จึงเสด็จไปดัก แล้วได้กลับใจมหาโจร จนเธอทูลขอบวชเป็นสาวก

บวชมาแล้วก็เป็นที่หวาดกลัวของผู้คน ใครเห็นก็วิ่งหนี เวลาออกบิณฑบาตท่านจึงไม่ได้ข้าวแม้ทัพพีเดียวมาหลายวัน

วันหนึ่งท่านเห็นสตรีมีครรภ์แก่ท่าทางจะคลอดยาก จึงไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสบอกให้ท่านทำสัตยาธิษฐานช่วยนาง ท่านจึงเข้าไปสถานที่อยู่ของสตรีนางนั้น นั่งบนตั่งนอกบ้าน ตั้งสัตยาธิษฐานว่า "ตั้งแต่เราเกิดมาในชาติเป็นอริยะ (คือบวชเป็นพระ) ไม่เคยคิดฆ่าสัตว์ตัดชีวิตแม้แต่น้อย ด้วยสัจวาจานี้ขอเธอและลูกในท้องจงสวัสดี" ทันใดนั้นนางก็คลอดลูกอย่างปลอดภัยทั้งแม่และลูก ท่านองคุลิมาลเลยกลายเป็น "พระดัง" มาแต่บัดนี้

เวลาสตรีจะคลอดลูก ชาวบ้านจึงเอาน้ำมาราดตั่งที่ท่านนั่ง เอาน้ำนั้นรดศีรษะหญิงมีครรภ์ ก็ปรากฏว่าคลอดลูกโดยง่าย ตั่งรองนั่งท่านพลอย "ขลัง" ไปด้วย

และความเชื่อถือเช่นนี้ดำรงอยู่มาจนตราบทุกวันนี้



ปริตร-ตาณ-ตำนาน (๑๐)

การนับตำนานทั้ง ๗ ท่านนับดังนี้ ๑.มงคลสูตร ๒.รัตนปริตร ๓.กรณียเมตตปริตร ๔.ขันธปริตร (ควบกับฉันทันตปริตร) ๕.โมรปริตร ๖.อาฏานาฏิยปริตร (ควบกับอังคุลิมาลปริตร) นับอย่างนี้จึงได้ ๗ ตำนาน หาไม่เกิน ๗

ฉันทันตปริตร "ติ่ง" ออกมาจากขันธปริตร ควรลงถัดจากขันธปริตรแต่ข้ามไป ขอนำมาลงตบท้ายเพื่อให้ครบสมบูรณ์ ฉันทันตปริตร เป็นเรื่องพญาช้างฉันทันต์ ช้างตัวนี้เป็นช้างโพธิสัตว์ อยู่ในป่าหิมพานต์ มีช้างพังเป็นคู่ชีวิตสองตัว (ช้างป่า ลักษณนามว่า "ตัว" ทั้งนั้นแหละครับ) นัยว่าพญาช้างเอาใจเมียหลวงมากกว่าเมียน้อย เมียน้อยจึงผูกพยาบาทว่า ถ้าตายไปขอให้เกิดเป็นมนุษย์ได้เป็นมเหสีของกษัตริย์จะได้แก้แค้น จากนั้นก็ไม่กินอาหารจนตาย ไปเกิดตามที่ตั้งจิตอธิษฐานไว้ไม่ผิด

เมื่อนางได้เป็นมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสี ก็รำลึกชาติหนหลังได้ กราบทูลพระเจ้ากรุงพาราณสีว่ามีช้างใหญ่มีงา ๖ สี อยู่ในป่าหิมพานต์ นางอยากได้งา ถ้าไม่ได้อาจไม่มีชีวิตอยู่เป็นแน่

พระราชาจึงสั่งประชุมพรานป่า เลือกให้นายพรานนามโสณุตตระ โสณุตตระออกเดินทางไปยังป่าหิมพานต์คนเดียว ถึงที่อยู่ของพญาช้างและบริวารจึงวางแผนฆ่าพญาช้าง โดยขุดหลุมซ่อนตัวอยู่ ณ บริเวณที่พญาช้างมักจะมายืนหลังจากลงเล่นในสระ เมื่อได้โอกาสจึงยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ พญาช้างร้องสุดเสียงด้วยความเจ็บปวด ควานงวงเข้าไปยังหลุมที่นายพรานหลบซ่อนอยู่หมายถึงจะขยี้ให้แหลกลาญ

สายตาเหลือบไปเห็นผ้ากาสาวพัสตร์ที่นายพรานห่มอยู่จึงชะงัก เมื่อรู้ว่านายพรานต้องการงาของตนไปถวายพระมเหสี จึงยอมให้เขาเลื่อย เอางาไป พร้อมบอกมนต์ป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายอันเรียกว่า ฉันทันตปริตร แล้วพญาช้างก็สิ้นใจ

นายพรานนำงาไปถวายพระมเหสี กราบทูลว่า พญาช้างฉันทันต์ก็สิ้นชีวิตแล้ว นางเอางาทั้งคู่วางบนพระเพลา รำพึงว่า โธ่เอ๋ย พญาช้างถูกนายพรานยิงตายเสียแล้ว ทรงกันแสงโศกาดูร เสียพระทัยที่ตนเองเป็นผู้ทำลายชีวิตพญาช้าง เพราะความพยาบาทสืบเนื่องแต่ปางก่อน พระทัยนางก็แตกสลายสิ้นพระชนม์ลงในวันนั้นเอง

เข้าใจว่า ทำไมพิษรักแรงหึง มันร้ายกาจข้ามภพข้ามชาติอะไรปานนั้น

ปริตรที่พญาช้างบอกนายพรานมีความว่า

พญาช้างฉันทันต์คิดจะฆ่านายพรานที่ยิงตน แต่เมื่อเห็น "ธงชัยแห่งพระอรหันต์" (จีวร) ก็เกิดความคิดว่าสัตบุรุษ มิบังควรฆ่าคนที่มีธงชัยแห่งพระอรหันต์

พญาช้างถูกนายพรานยิงด้วยธนูอาบยาพิษ จนดำรงกายไม่อยู่ ยังสงบใจได้ ไม่คิดฆ่าผู้มีกาสาวพัสตร์ ถ้าคำกล่าวของพญาช้างนี้เป็นจริง ขอให้สัตว์ร้ายทั้งหลายในป่า อย่าได้กล้ำกรายข้าพเจ้าเลย [/size



ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 เมษายน 2561 15:37:25 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #45 เมื่อ: 09 เมษายน 2561 15:40:41 »


ขอขอบคุณที่มาภาพ : inspireyourlife.gr

เสพติด-เสพย์ติด

มีคนผู้เป็นห่วงเรื่องการใช้ภาษาว่า ยาที่กินแล้วทำให้ติดเรียกว่า "เสพย์ติด" (มี ย การันต์) ไม่ใช่ "เสพติด" (ไม่มี ย การันต์) ที่ถูกเป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่บังเอิญปล่อยให้คนเขียนว่า "เสพติด" มานาน ไม่มีใครทักก็เลยไม่มีใครรู้ว่า มันผิดและใช้ตามๆ กันมาจนร่ำๆ ราชบัณฑิตยสถานจะยอมรับว่า "เป็นคำเพี้ยนที่ใช้ได้"

(ระวัง นี่คือ "มนต์ขลัง" ของราชบัณฑิตฯ)

บังเอิญว่าระยะนี้เขากำลังรณรงค์เพื่อ ต่อต้านยาที่กินเข้าไป (รวมถึงสูดดม ฉีด ฯลฯ ด้วย) แล้วทำให้คนติด ก็ร่วมมือกันดีตั้งแต่รัฐบาลจนถึงองค์กรเอกชน และประชาชนทั้งหลาย สื่อต่างๆ ก็ร่วมมือ ในการรณรงค์เพื่อปราบยาม้า ยาบ้า จนจะ "บ้า" กันทั้งเมือง

ขับรถผ่านไปตามถนนใหญ่ เห็นป้ายโฆษณาต่อต้านยาบ้าตัวโตเบ้อเร่อว่า "ยาบ้า คนเสพย์ตาย คนขายติดคุก" นี่แสดงว่า ภาครัฐบาลท่านมีความประสงค์ดีอยากจะให้ช่วยกันเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง นับเป็นความปรารถนาดี

แต่ปรารถนาดีผิดพลาด เหมือนความปรารถนาดีของเณรน้อยต่อขรัวตานั่นแล

เณรน้อยเห็นแมลงวันตัวโตเกาะจมูกขรัวตา ด้วยความปรารถนาดี เอาสากทุบจมูกขรัวตาเต็มเหนี่ยว

ผลเป็นยังไงคงคาดเดากันได้

คำว่า เสพ เป็นคำกริยา แปลว่ากิน ดื่ม บริโภค เช่น นายจำลองเสพสุรา (แปลว่านายจำลองดื่มสุรา) นายวินัยเสพเมถุน (แปลว่านายวินัยบริโภคกาม) ถ้าเป็นคำนาม (อาการนาม) ใช้ว่า "การเสพ" เช่น "การเสพสุราเมรัยไม่ดี"

คำว่า เสพย์ (เสพฺย) แปลว่า พึงเสพ ส่วนมากใช้เป็นคำวิเศษณ์ หรือ adjective เช่น นายนิกรเสพยาเสพย์ติด (แปลว่านายนิกรเสพยาที่พึงเสพแล้วทำให้ติด)

เพราะฉะนั้น การใช้ว่า "ยาบ้า คนเสพย์ตาย" นั้นผิด ที่ถูกคือ "ยาบ้า คนเสพตาย" และคนขายติดคุก ที่ติดคุกเพราะเป็นยา "เสพย์ติด" ผิดกฎหมาย ถ้า ฯพณฯ มท.๖ จู่โจมจับมาได้มีหวังติดคุกแน่

เสียดายว่า จับใหญ่คราวนั้น (เมื่อไม่นานมานี้) ได้ขี้ยามาเพียงคนเดียว และยาบ้าไม่กี่เม็ด

ป.ล.เดี๋ยวนี้ใช้เสพติดอย่างเดียวแล้ว




อังคาสด้วยมือ

อ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพระไตรปิฎกหรืออรรถกถา จะปรากฏข้อความว่า ทายกผู้นิมนต์พระสงฆ์ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตน จะ "อังคาสพระสงฆ์ด้วยมือของตน"

อังคาส คืออะไร พจนานุกรมบอกว่าเป็นภาษาเขมร แปลว่าเลี้ยงพระ, ถวาย, เขียนว่า อังคาด ก็มี เป็นอันว่า อังคาส ก็คือเลี้ยงพระนั่นเอง

"เลี้ยงพระด้วยมือ" เดิมผมเข้าใจว่า การจะถวายทานที่ให้ได้บุญมาก ทายกต้องลงมือตระเตรียมอาหารเอง เรียกว่าเข้าครัวทำกับข้าวเองทีเดียว จึงจะได้บุญมาก เพราะมิได้ "ลงทุน" ซื้อหาของมาทำอาหารอย่างเดียว หากได้ "ลงแรง" ด้วย คุณหญิงคุณนายที่สั่งให้สาวใช้หุงหาอาหารใส่บาตรทุกวัน

ถึงจะ "ลงทุน" ก็คงไม่ได้บุญเท่าสาวใช้ ผู้ทำทุกอย่างด้วยมือของตน

ผมเข้าใจอย่างนั้นจริงๆ รู้ตัวว่าเข้าใจผิดมาตั้งนาน มาเกิด "สัมมาทิฐิ" ก็ต่อเมื่อไปเห็นชาวพุทธลังกาถวายภัตตาหารพระ

เขาจะถวายจานเปล่าให้พระใบเดียว และต่างคนต่างก็ถือโถข้าว แกง กับ คนละอย่างคอยเฝ้าอยู่ใกล้ๆ พระ ตักข้าวใส่จาน แล้วก็ตักแกง กับ ใส่ลงไปรวมในจานเดียว พระท่านก็ฉันด้วยมือ หรือ "กินมือ" (คนไทยสมัยโบราณก็ "กินมือ" กันทั้งนั้น) เมื่ออาหารพร่อง ก็ตักใส่ใหม่

ถ้าพระท่านอิ่มแล้วจะยกมือให้สัญญาณว่าพอแล้ว

จากนั้นทายกก็จะยกขันน้ำพร้อมสบู่มาให้พระท่านล้างมือ แล้วถวายผ้าเช็ดมือเป็นอันเสร็จพิธีถวายภัตตาหาร

ทุกอย่างทำด้วยมือเองหมด อย่างนี้นี่เองที่พระคัมภีร์ท่านว่า "อังคาสพระสงฆ์ด้วยมือของตน"





ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 เมษายน 2561 15:48:55 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #46 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2561 13:55:32 »




มหานิกายแปลง
มีผู้ถามว่า มหานิกายแปลง ได้แก่นิกายไหน

ได้อ่านหนังสือประวัติ พระราชพรหมยานเถร (วีระ ถาวโร) ว่าท่านบวชในคณะมหานิกายแปลง เกิดความสงสัยใคร่ทราบว่า มหานิกายแปลงได้แก่นิกายอะไร มีวัดไหนบ้าง

ต่างจากมหานิกายทั่วไปอย่างไร

ขอเรียนว่า เท่าที่ทราบ มหานิกายแปลง ก็คือ มหานิกาย นั่นแหละครับ แต่ "แปลง" ให้เหมือนธรรมยุตในบางเรื่อง

ธรรมยุต กับมหานิกาย ว่าที่จริงแล้วไม่นับเป็น "นิกาย" (school of Thougth) เป็นเพียง "กลุ่มย่อย" หรือ "แขนง" ของนิกายเถรวาทเท่านั้น

พูดอีกนัยหนึ่ง ทั้งธรรมยุตและมหานิกายต่างก็เป็นนิกายเถรวาทเหมือนกัน มีพระปาติโมกข์เท่าเทียมกัน มีความเชื่อพื้นฐานเหมือนกัน

จะต่างกันเพียงการตีความสิกขาบทบางข้อเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น

จึงไม่ถือเป็นคนละนิกาย ดังกรณีมหายาน กับเถรวาท

คณะสงฆ์ไทยดั้งเดิมเป็นเถรวาทแบบลังกาวงศ์ สืบทอดมาแต่สมัยสุโขทัย

มาถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทววงศ์ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔) ได้ก่อตั้งพระธรรมยุติกา (เรียกสั้นๆ ว่า ธรรมยุต) ขึ้น

โดยห่มแหวกแบบพระรามัญ (มอญ) และปรับปรุงทำนองสวดมนต์จากแบบเดิม (สวดสังโยค) เป็นสวดแบบมคธ และวิธีปฏิบัติบางอย่าง

คณะสงฆ์เดินห่ม "คลุม" ธรรมยุตห่ม "แหวก" เมื่อเกิดคณะธรรมยุต คณะสงฆ์เดิมหรือเรียกภายหลังว่า มหานิกาย บางวัดก็ห่มแหวกตามพระธรรมยุต

มหานิกายดังกล่าวนี้แหละเรียกว่า "มหานิกายแปลง"

พระในกรุงเทพฯ ส่วนมากเป็นมหานิกายแปลงทั้งนั้น ยกเว้นบางวัด เช่น วัดพระเชตุพนฯ วัดระฆังโฆสิตาราม

ในอีสานดูเห็นจะไม่มีมหานิกายเดิมเหลืออยู่ เพราะสมัยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็นใหญ่ "ช้างเผือกอีสาน" เชือกนี้ไปเกณฑ์ให้พระอีสานห่มแหวกเหมือนกันหมด

เมื่อ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเรียกประชุมพระเถระฝ่ายมหานิกาย เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๔๕๗ รับสั่งว่าพระสงฆ์ควรห่มแบบเดียวกันหมด คือห่มแบบธรรมยุต พระเถระมหานิกายหลายรูปยอม เพราะเกรงสมเด็จฯ

มีบางรูป เช่น พระพิมลธรรม วัดระฆังโฆสิตาราม ยืนยันห่มแบบเดิม สมเด็จฯ รับสั่งให้ไปห่มผ้าใหม่ ท่านถอยออกไปข้างนอก ห่มผ้าใหม่แล้ว กลับเข้าไปอีก

คือเอาผ้าใหม่เอี่ยมห่มแบบเดิม

วัดระฆังฯ จึงมิได้เป็นมหานิกายแปลง ด้วยประการฉะนี้  



ทรมาน
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ให้คำจำกัดความของคำว่า ทรมานไว้ว่า "ก.ทำให้ลำบาก ทารุณ เช่น ทรมานตัว ทรมานสัตว์, ทำให้ละพยศหรือลดทิฐิมานะลง น.ชื่อปางพระพุทธรูปที่ขึ้นต้นด้วยคำนี้ เช่น ปางทรมานช้างนาฬาคิรี ปางทรมานพญานาค"

คนส่วนมาก ได้ยินคำว่า "ทรมาน" ก็ต้องนึกถึงความทารุณโหดร้าย ยิ่งถ้าใช้ คำว่า ทรมาทรกรรมด้วยแล้ว ยิ่งต้องนึกถึงความทุกข์แสนสาหัสไม่รู้จบสิ้น

แต่เมื่อได้ยินพระคุณเจ้าท่านแสดงพระธรรมเทศนา ใช้คำว่า "ทรมาน" ในความหมายธรรมดาๆ เช่น เล่าถึงเศรษฐีขี้เหนียวคนหนึ่งขึ้นไปทอดขนมเบื้องบนปราสาท ๗ ชั้น กลัวคนอื่นมาเห็นและขอกิน พระพุทธเจ้าทรงส่งพระโมคคัลลานะไป "ทรมาน" ให้เศรษฐีเห็นโทษของความตระหนี่ และเห็นอานิสงส์ของการให้ทาน

ฟังแล้ววาดภาพเห็นพระเถระใช้ฤทธิ์เดชจับเศรษฐีมาเฆี่ยนตีหรือทำให้เจ็บปวดอะไรสักอย่างแต่ความจริงไม่ใช่ ท่านเพียงแต่ไปปรากฏตัวบนปราสาท ๗ ชั้น เศรษฐีตกใจ รำพึงเบาๆ ว่า กูหนีมาทอดขนมชั้นบนสุด ก็กลัวสมณะพวกนี้แหละ ท่านรูปนี้มาได้อย่างไร

เพื่อไล่ให้หนีไปจึงเอาตะหลิวตัดขนมออกเป็นชิ้นเล็กนิดถวายท่าน แต่ตัดอย่างไรก็ไม่ขาด เอามือดึงก็ไม่ขาด สองคนกับภรรยาดึงคนละข้างก็ไม่ขาด จนเหนื่อย ท้ายสุดจึงตัดสินใจถวายหมดเลย

พระเถระรับแล้วก็ยังไม่ไป เทศน์สอนให้เห็นโทษของความตระหนี่และให้เห็นอานิสงส์ของการมีความใจกว้างและการเสียสละ จนเศรษฐีเห็นด้วย แล้วประกาศนับถือพระรัตนตรัย ไม่เห็นมีการทรมาทรกรรมกันแต่อย่างใด ทำไมพระท่านว่า พระโมคคัลลานะไปทรมานเศรษฐีขี้เหนียว

คำตอบก็คือ คำว่า ทรมาน ในที่นี้หมายถึง การฝึก การข่ม การทำให้เลิกละความยึดถือผิดๆ (ตามนัย ๒ ของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ) นั้นเอง

คำนี้มาจากคำเดิมว่า ทมน (การฝึก การข่ม) จาก ทมน คงจะเพี้ยนเป็น ทรมน แล้วเพี้ยนต่อเป็นทรมาน

อ่านตามลิ้นไทยว่า "ทอรมาน" ด้วยประการฉะนี้แล  



โปรดสัตว์
โปรดสัตว์ เป็นคำเรียกการเทศนาสั่งสอนประชาชนของพระพุทธเจ้า ในคัมภีร์กล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ "พุทธกิจ ๕ ประการ" ทุกวันมิได้ขาด ยกเว้นคราวทรงพระประชวรเท่านั้น

พุทธกิจ ๕ ประการ ท่านร้อยกรองเป็น "คาถาประพันธ์" ดังนี้

ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ = เช้า เสด็จออกบิณฑบาต

สายณฺเหะ ธมฺมเทสนํ = เย็น ทรงพระธรรมเทศนา

ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ = พลบค่ำ ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย

อฺฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ = เที่ยงคืน ทรงตอบปัญหาเทวดา

ปจฺจูเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ = เวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่ควรโปรดและไม่ควรโปรด

การกระทำพุทธกิจทั้ง ๕ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเรียกว่า "การโปรดสัตว์" และ คำว่า "สัตว์" ในที่นี้หมายถึงบุคคลผู้พึงแนะนำสั่งสอนได้ ที่พระท่านเรียกว่าเวไนยสัตว์นั่นเอง

การเสด็จออกบิณฑบาตของพระพุทธเจ้านอกจากจะไป "ขอ" ข้าวชาวบ้าน จุดประสงค์หลัก ต้องการสั่งสอนธรรมแก่ผู้ควรสอนด้วย การเสด็จบิณฑบาตของพระพุทธองค์จึงได้ชื่อว่าเป็นการ "โปรดสัตว์" ต่อมาแม้สาวกไปบิณฑบาตก็เรียกว่าไป "โปรดสัตว์" เช่นเดียวกัน

อนึ่ง การบิณฑบาตนั้น สมัยก่อน พระท่านไปยืนรอที่หน้าบ้านของผู้ที่ต้องการโปรดเลยทีเดียว ถ้าเขาไม่มีศรัทธา หรือมีศรัทธาแต่ไม่มีของถวาย เขาก็จะมาบอกว่า "อติจฺฉถภนฺเต" (นิมนต์โปรดข้างหน้าเถิด)

และมิใช่เฉพาะขอข้าวอย่างเดียว ขออย่างอื่นที่สมควรแก่สมณบริโภคก็ได้ พระท่านก็จะอุ้มบาตรมายืนหน้าบ้านเช่นกัน และสามารถมาในเวลาวิกาลได้ด้วย

แต่ในเมืองไทย พระบิณฑบาตเอาข้าวอย่างเดียว และต้องมาตอนเช้าด้วย (มาสายๆ ถือว่าผิด) ยิ่งถ้าอุ้มบาตรมายืน เวลาเลยเที่ยงวัน (เพื่อขอสมณบริขารอย่างอื่น) ยิ่งถือเป็นความผิดอย่างมหันต์ เผลอๆ อาจถูกจับสึกได้

ธรรมเนียมการออกบิณฑบาตคือการแสดงธรรมแก่ผู้ถวายทานด้วย ได้เลือนหายไป เพราะฉะนั้น พระสงฆ์สมัยนี้จึงมิใคร่จะบิณฑบาต หรือ "โปรดสัตว์" กัน

บางท่านพูดติดตลกว่า ที่ไม่ค่อยอยากไปโปรดสัตว์ เพราะไม่มีสัตว์จะโปรด  



อัตโนมัติ อัตโนวัติ
คนขี้โม้คนหนึ่งกล่าวว่า ตัวเขาเองเขียนหนังสือเป็นธรรมชาติ เลยไม่ต้องนึกก่อนว่าจะเขียนอะไร อย่างไร เพียงจับปากกาเขียนมันก็ลื่นไหลไปเองโดยธรรมชาติ บางทีความคิดมันพรั่งพรูออกมา มือเขียนไม่ทันก็มี

"ทุกอย่างมันเป็นไปโดยอัตโนมัติ"

ฟังแล้วอดคลื่นไส้มิได้ จนต้องเรียกหากระโถน

อัตโนมัติ มีศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน นัยว่าบัญญัติแทนคำอังกฤษว่า automatic ซึ่งแปลว่าเป็นไปเอง เป็นไปด้วยตนเอง ไม่มีอะไรบังคับ

อัตโนมัติ เขียนตามคำเดิมจริงๆ ว่า อัตตโนมติ มาจาก อัตตโน (ของตน)+มติ (ความคิดเห็น) เขียนแบบไทยๆ ตามหลักการเขียนในพจนานุกรมว่า อัตโนมัติ (เอา ต ที่อัตต ออกตัวหนึ่ง แล้วใส่ไม้หันอากาศที่ มติ)

แทนที่จะแปลว่า เป็นไปเอง เป็นไปด้วยตนเอง กลับต้องแปลว่า ความคิดเห็นของตน หรือความคิดเห็นส่วนตน

ไม่เห็นตรงกับความหมายของ automatic ตรงไหนเลย

อาจารย์สอนธรรมท่านหนึ่ง อธิบายคำว่า saint กับ เซียน, สันต, เป็นคำเดียวกัน อัลเลาะห์ กับ อรห (อรหันต์) เป็นคำเดียวกัน God กับ เคาตมะ (โคตมะ) เป็นคำเดียวกัน เพียงแต่ออกเสียงเพี้ยนกันไปเท่านั้น

ศิษย์ชาวอีสานกล่าวว่า ภาษาฝรั่งกับภาษาอีสานเป็นภาษาเดียวกัน อย่างคำว่า eel กับ เอี่ยน (ปลาไหล) ออกเสียงเหมือนกันเปี๊ยบเลยและยิ่งไปกว่านั้น พระพุทธเจ้าเป็นชาวอีสาน

เพราะในสิกขาบทว่าด้วยเสขิยวัตร พระพุทธองค์ตรัสบอกพระให้ "ปั้นคำข้าวให้กลมกล่อม" แสดงว่า พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สมัยนั้นฉันข้าวเหนียว

เมื่อครูดุว่า พูดส่งเดช อย่างนี้อธิบายโดย "อัตโนมัติ" หรือเปล่า

อาจารย์หมายถึงศิษย์อธิบายตามความเห็นของตน

แล้วทำไม อัตโนมัติ จึงเป็นคำแปลของคำว่า automatic มิอาจทราบได้

มีอยู่คำหนึ่งคือ อัตตโนวัตติ ซึ่งมาจาก อัตตโน (ของตน, ตนเอง)+วัตติ (เป็นไป) เมื่อเขียนตามหลักการเขียนในพจนานุกรมก็เป็น อัตโนวัติ แปลว่า เป็นไปด้วยตนเอง หรือเป็นไปเอง

ทำให้นึกว่า automatic น่าจะตรงกับ คำว่า อัตโนวัติ มากกว่า  



ปัญญา-ปรัชญา-Philosophy
คําว่า ปัญญา กับ ปรัชญา แปลเหมือนกัน คำแรกเป็นภาษาบาลี คำหลังเป็นภาษาสันสกฤต

ตามรูปศัพท์ ปัญญา มาจาก ป (ทั่ว, ทั่วถึง, ยิ่ง) -ญา (รู้) รวมแล้วเป็น ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ทั่วถึง ความรู้ยิ่ง

ปรัชญา (ปฺรชฺญา) มาจาก ปฺร (ประเสริฐ) -ชฺญา (ความรู้) รวมเป็น ปรัชญา แปลว่า ความรู้ประเสริฐ หรือความรู้ยิ่ง

ปัญญา ในทางพระพุทธศาสนามีหลายระดับเช่น

แบ่งเป็น ๒ ระดับคือ

(๑) โลกียปัญญา = ปัญญาระดับโลก ปัญญาของชาวโลก ได้แก่ ความรู้สรรพวิชาทั้งหลายที่ศึกษาเล่าเรียนเพื่อทำมาหาเลี้ยงชีพ

(๒) โลกุตตรปัญญา = ปัญญาเหนือโลก ปัญญาชั้นสูง คือความรู้ที่สามารถละโลภ โกรธ หลง ได้

แบ่งเป็น ๒ ระดับ (อีกทรรศนะหนึ่ง) คือ

(๑) สุตะ = ปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ หรือสะสมข้อมูลต่างๆ ใครรู้มากๆ เรียก พหูสูต ปัญญาระดับนี้ก็คือ โลกียปัญญา

(๒) ปัญญา = ปัญญาที่สามารถลดละกิเลสได้ซึ่งก็คือ โลกุตตรปัญญา

แบ่งเป็น ๓ ระดับ (ตามทางที่เกิด) คือ

(๑) สุตมยปัญญา = ปัญญาเกิดจากการสดับการเล่าเรียน

(๒) จินตมยปัญญา = ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณาหาเหตุผล

(๓) ภาวนามยปัญญา = ปัญญาเกิดจากการฝึกอบรมลงมือปฏิบัติ

ภาษาไทยใช้คำว่า "ความรู้" เหมือนกันหมดในทางพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นความรู้พื้นฐานความรู้ระดับธรรมดา เช่น ความรู้จากการศึกษาเล่าเรียน จบด๊อกเตอร์ด๊อกต๋อย เอมเอ เอมอ้อย ฯลฯ ไม่เรียกว่า "ปัญญา" เรียกว่า "สุตะ" แต่ถ้าเป็นความรู้ที่สว่างโพลงภายใน ทำให้ลดละกิเลสได้เป็นลำดับ จนละได้หมดโดยสิ้นเชิง จึงจะเรียกว่า ปัญญา

ความรู้อย่างที่ว่านี้เรียกอีกอย่างว่า ญาณ ญาณอย่างต่ำก็คือความรู้ของคนระดับโสดาบัน อย่างสูงก็คือ ความรู้ของพระอรหันต์ หรือพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า

ส่วน philosophy นั้น ผู้รู้ท่านว่า มาจากคำกรีกว่า philos-sophia philos คือ ความรัก (loving of) sophia คือปัญญา (wisdom) philosophia หรือ philosophy ก็คือ ความรัก ความรู้ ยังมิใช่ตัวความรู้หรือปัญญา

ผู้รู้อีกนั่นแหละท่านกล่าวว่า philos ก็คือ พิลาส (ความรัก) นั่นเอง sophy ก็คือ สฺวโพธิ (ความรู้อันเป็นของตน) เพราะฉะนั้น พิลาสสฺวโพธิ จึงเท่ากับ ฟิลอสโซฟี ฉะนี้แล





บังสุกุล
คําที่ถูกเขียน "บังสุกุล" แม้แต่เรียกโดยทั่วไปว่า "บังสุกุล" นี่เป็นการเรียกเพี้ยนโดยแท้

บังสุกุล (บาลี ปํสุกูล) แปลว่า "คลุกฝุ่น" ใช้เรียกผ้านุ่งห่มของพระสงฆ์ ที่เรียกว่า ผ้าคลุกฝุ่น ก็เพราะเดิมที พระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับจีวรสำเร็จรูปจากชาวบ้าน ท่านต้องเที่ยวแสวงหาเศษผ้ามาเย็บจีวรเอง เช่นไปเอาเศษผ้าที่เขาทิ้งไว้ในที่ต่างๆ ตลอดถึงผ้าห่อศพในป่าช้า จีวรที่ทำด้วยผ้าชนิดนี้จึงเรียกว่า บังสุกุลจีวร (ผ้าคลุกฝุ่น)

ญาติโยมเห็นพระท่านลำบากในการแสวงหาผ้า อยากจะนำเอาผ้าสำเร็จรูปไปถวายก็ไม่กล้า เพราะยังไม่มีพุทธานุญาต จึงนำเอาผ้าไปแขวนไว้ตามกิ่งไม้บ้าง ตามพุ่มไม้บ้าง เผื่อว่าพระท่านเดินผ่านมาจะได้เห็นและนำเอาไปตัดเย็บจีวร

พระท่านผ่านมาเห็นเข้า ก็จะเหลียวซ้ายแลขวา แล้วถามดังๆ ว่า ผ้านี้มีเจ้าของหรือไม่ เมื่อแน่ใจว่าไม่มีเจ้าของ ท่านก็จะทำ "บังสุกูลสัญญา" (สำคัญมั่นหมายว่าเป็นผ้าคลุกฝุ่น) แล้วก็ชัดหรือดึงเอาผ้านั้นไปทำจีวร

ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ทายกทายิกานำผ้าสำเร็จรูปไปถวายพระสงฆ์ได้ ก็ไม่จำเป็นที่พระจะต้องเดินแสวงหาผ้าบังสุกุลอีกต่อไป แต่ก็ยังมีธรรมเนียมการถวายผ้าบังสุกุลมาตราบเท่าทุกวันนี้เป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง

การถวายผ้าบังสุกุล มันเรียกกันว่า "ทอดผ้าบังสุกุล" หรือ "ทอดผ้าป่า" คำว่า "ทอด" ก็สืบเนื่องมาจากการที่ชาวบ้านเอาผ้าไป "วางไว้" เพื่อให้พระท่านเห็นและนำเอาไปใช้ และเรียกการที่พระท่านถือเอาผ้านั้นไป "ชัก" ผ้าบังสุกุล

สมัยก่อนโน้น เขาเอาผ้าแขวนไว้บนกิ่งไม้บ้าง วางหรือทอดไว้ตามพุ่มไม้บ้าง ในบัดนี้แม้ไม่จำต้องทำอย่างนั้นแล้ว เขาก็ยังหาต้นไม้หรือกิ่งไม้มาตั้ง แล้วเอาไตรจีวร และสมณบริขารอย่างอื่นแขวนไว้ตามกิ่งนั้นๆ ทั้งนี้ คงเพื่อรำลึกถึงความเป็นมาแต่หนหลังนั่นเอง

คำสวดพิจารณาเวลาชักผ้าบังสุกุลมีดังนี้ อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข = สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เกิดแล้วเสื่อมไปเป็นธรรมดา การสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นสุข

ฝ่ายพระธรรมยุตเพิ่มอีกคาถาหนึ่ง คือ สพฺเพ สตฺต มรนฺติ จ มรึสุ จ มริสฺสเร ตเถวาหํ มริสฺสามิ นตฺถิ เมเอตฺถ สํสโย = สัตว์ทั้งปวงจะตาย ตายแล้วและ จักตาย เราก็จักตายเช่นกันไม่มีความสงสัยในข้อนี้เลย

ผู้ที่เป็นต้นเหตุให้มีพระพุทธานุญาตให้พระงับ "คหบดีจีวร" (ผ้าสำเร็จรูปจากชาวบ้าน) ได้ คือ ชีวก โกมารภัจจ์ ท่านผู้นี้เป็นโอรสบุญธรรมของเจ้าฟ้าชายอภัย พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์ผู้ครองเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ชีวิตตอนเป็นเด็กถูกกดดันมากเพราะเป็น "ลูกไม่มีพ่อ" (ตามคำด่าว่าของเด็กๆ วัยเดียวกัน) จึงหนีไปศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณที่ตักสิลา

เรียนอยู่กับอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ๗ ปี อยากกลับบ้าน เรียนถามอาจารย์ว่าตนเรียนจบหรือยัง อาจารย์บอกว่า ไม่รู้เหมือนกัน เพราะเรียนไม่ต้องเสียค่าหน่วยกิต ไม่มีคาบการเรียนแน่นอน ทำงานรับใช้อาจารย์ไปด้วยศึกษาไปด้วย เรียกว่าเป็น "อันเตวาสิก" (ศิษย์ผู้อยู่ในสำนัก) จริงๆ

อาจารย์จึงออกข้อสอบอัตนัยข้อหนึ่งเพื่อทดสอบ ความรู้ของศิษย์ คือ "จงไปหารากไม้ ใบไม้ หรือเปลือกไม้ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ที่ไม่สามารถทำเป็นยาได้ภายในรัศมี ๑ โยชน์รอบๆ สำนักนี้"

ชีวก โกมารภัจจ์ เดินดูไปจนทั่ว ไม่มีต้นไม้หรือสมุนไพรใดๆ ที่ใช้ทำยาไม่ได้เลย คือทำยาได้หมด จึงกลับมาหาอาจารย์ด้วยมือเปล่า อาจารย์บอกศิษย์ว่า ถ้าเช่นนั้น เธอเรียนจบแล้ว เขาจึงลาอาจารย์กลับบ้านเกิด อาจารย์ให้เงินมานิดหน่อยเพื่อเป็นค่าอาหารระหว่างทางไปได้ครึ่งทางเงินหมด จึงใช้วิชาความรู้ที่ตนเรียนมารักษาโรคคนไข้หายหลายราย ได้ค่า "บูชาครู" เป็นจำนวนมาก นำไปถวายพระบิดาเลี้ยง

บังเอิญช่วงนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงประชวรด้วยพระโรค "ภคันทรา" (แปลกันว่าโรคริดสีดวงทวาร) มีโลหิตไหลเปื้อนพระภูษาทรงทำให้รำคาญ ด๊อกเตอร์หนุ่ม ถวายการรักษาจนหาย ได้รับพระมหากรุณา แต่งตั้งเป็นแพทย์ประจำพระราชสำนัก และได้รับพระราชทานสวนมะม่วงเป็นบำเหน็จความดีความชอบ ชีวก โกมารภัจจ์ ได้ถวายสวนนั้นให้เป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในกาลต่อมา

พระเจ้าจันฑปัชโชตแห่งเมืองอุชเชนี แคว้นอวันตี ได้ส่งคนมาขอหมอชีวกไปถวายการรักษาพระโรคประหลาดที่ทรมานพระองค์มาเป็นเวลา ๗ ปี เมื่อหายประชวรแล้วทรงรำลึกถึงคุณหมอชีวก จึงทรงส่งผ้ากัมพลเนื้อละเอียดผืนใหญ่มาพระราชทานแก่หมอชีวก หมอชีวกเห็นว่าผ้านั้นไม่สมควรที่ตนจะใช้จึงนำไปถวายพระพุทธเจ้า

พระองค์ไม่ทรงรับตรัสว่า "เราตถาคตไม่อนุญาตให้พระรับคหบดีจีวรให้ใช้เฉพาะ "บังสุกุลจีวร" หมอชีวกจึงกราบทูลขอพระพรพุทธองค์ให้ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับคหบดีจีวรด้วย เพื่อทายกทายิกาจะได้มีโอกาสทำบุญกุศล ก็ทรงอนุญาต โดยพระองค์ทรงรับผ้าจากหมอชีวกเป็นปฐม แม้จะรับคหบดีจีวรได้แล้ว พระเถระบางรูปก็ยังถือแต่ผ้าบังสุกุล ไม่รับคหบดีจีวร ดังเช่นพระมหากัสสปเถระ เป็นต้น

สมัยผมเป็นสามเณรน้อย ได้รับนิมนต์ไปสวด "บังสุกุลเป็น" โยมตาซึ่งป่วยหนักพร้อมกับพระภิกษุอีกหลายรูป จำได้ว่าเคยสวดบังสุกุลชนิดนี้เพี้ยนไม่กี่ครั้ง หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฎว่ามีคนมานิมนต์ไปสวดอีก เดี๋ยวนี้ยังมีสวดอีกหรือเปล่า ไม่ทราบ

ผู้หลักผู้ใหญ่เล่าว่า เวลาญาติพี่น้องป่วยหนัก เขามักจะไปนิมนต์พระมาสวดบังสุกุลเป็น ด้วยความเชื่อว่าหลังจากทำบังสุกุลเป็นแล้ว อาการเจ็บป่วยอาจทุเลาหรือหายขาดได้

บทสวดบังสุกุลเป็นมีสั้นๆ ว่า  อจิรํ วตยัง กายา ปฐวี อธิเสสฺติ     ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถํว กลิงฺครํ  ไม่นานหนอ ร่างกายนี้ก็จะไร้วิญญาณ ถูกทิ้งไว้ ทับถมแผ่นดิน ดุจท่อนไม้ที่หาประโยชน์มิได้

ที่มาของพิธีกรรมสวดบังสุกุลตามนี้มาจากเรื่องพระปูติคัตตะ เล่ากันมาว่าพระภิกษุรูปหนึ่งป่วยเป็นโรคผิวหนังร้ายแรง เกิดตุ่มพุพองทั่วทั้งตัว มีหนองไหลเยิ้มส่งกลิ่นเน่าเหม็น จนพระเณรเรียกท่านว่า ปูติคัตตะ (พระร่างกายเน่า) ไม่มีใครใส่ใจดูแลรักษา

ท่านนอนแซ่วไร้ญาติขาดมิตร รอความตายอยู่บนแคร่ พระพุทธองค์ทรงทราบ จึงเสด็จพุทธดำเนินตรงไปยังสถานที่อยู่ของเธอมีพระอานนท์พุทธอุปฐากโดยเสด็จ เสด็จไปถึงก็รับสั่งให้พระอานนท์ต้มน้ำร้อนมาผสมทำน้ำอุ่น แล้วทรงเอาผ้าชุบน้ำอุ่น เช็ดร่างกายพระภิกษุรูปนั้น

เหล่าภิกษุสงฆ์เห็นพระพุทธองค์ทรงทำอย่างนั้น ก็ให้เกิดความร้อนใจ เข้ามารับอาสามาขอทำเอง แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาต ทรงเช็ดร่างกายของภิกษุไข้ โดยมิได้ทรงรังเกียจแม้แต่น้อยจนเธอมีร่างกายเบาสบายขึ้น

ภิกษุหนุ่มเต็มไปด้วยปีติปราโมทย์ที่ได้รับพระมหากรุณาอย่างใหญ่หลวงจากพระพุทธบิดา จิตของเธอสงบ แน่วแน่ พร้อมรับฟังพระพุทธโอวาท พระพุทธองค์ตรัสคาถา (โศลก) ข้างต้นให้เธอฟัง เธอพิจารณาตามกระแสพระพุทธดำรัสแล้วก็ "ดับจิต" ละโลกนี้ไปด้วยอาการสงบ

ชาวพุทธจึงนำเอาพุทธวจนะบทนี้มาใช้เป็นคาถาบังสุกุลเป็น สวดให้คนไข้หนักฟัง เผื่อว่าคนไข้จะมีอาการดีขึ้นจนหายสนิท หรือถ้าไม่หาย ดับจิตไปก็จะไปดีมีสุคติเป็นที่หวังในภพหน้า

ควันหลงจากเหตุการณ์ครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์ตรัสสอนว่า พวกเธอออกมาบวชอยู่ในพระธรรมวินัยนี้ ต่างก็ทิ้งครอบครัว ญาติพี่น้องมาไม่มีพ่อ ไม่มีแม่ เมื่อพวกเธอไม่ดูแลกันเองยามเจ็บไข้ได้ป่วย แล้วใครจะดูแลเล่า

แล้วตรัสต่อว่า ผู้ใดถ้าอยากปรนนิบัติพระพุทธองค์ก็คงปรนนิบัติภิกษุไข้เถิด

บอกเป็นนัยว่า พยาบาลภิกษุไข้ได้บุญเท่ากับพยาบาลพระพุทธองค์ อะไรทำนองนั้น



ถวายอดิเรก
ผู้ที่ฟังรายการถ่ายทอดงานพระราชพิธีต่างๆ คงจะเคยได้ยินหรือโฆษกี (คำหลังนี้เป็น "คำล้อ" นะครับ จริงๆ เขาไม่ใช้ดอก) รายงานว่า พระราชาคณะถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก

อดิเรก มาจากบาลีว่า อติเรํก (นักบาลีไวยากรณ์ไทยว่ามาจาก อติ+เอก=อติเรก)

แต่นักบาลีไวยากรณ์ฝรั่งบอกว่า มาจาก อติ+ริจฺ=อติเรก) คนไทยมักไม่ค่อยคุ้น แต่ถ้าได้ยินคำว่า ดิเรกละก็พอรู้ เพราะคำนี้นำมาตั้งชื่อบุคคลกันบ่อย อดิเรก กับ ดิเรก ก็คำเดียวกันนั่นแหละ

เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว ก็จะถวายอนุโมทนาและถวายอดิเรก พระราชาคณะต้นแถวจะเป็นผู้กล่าวคำบาลีถวายพระพรให้ในหลวงทรงเจริญพระชนมพรรษา เกิน ๑๐๐ พรรษา

บาลีขึ้นต้นด้วยคำว่า อติเรกวสฺสสตํ จึงเรียกคำถวายพระพรนี้ว่า "ถวายอดิเรก"

มีผู้เล่าประวัติว่า พระมหาสอน สอบเปรียญธรรมได้ ๙ ประโยค ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระอุดมปิฎก ในสมัยรัชกาลที่ ๓

ภายหลังท่านได้ย้ายกลับไปอยู่ที่จังหวัดพัทลุงบ้านเดิมของท่าน ได้รับนิมนต์ให้เข้าร่วมในพระราชพิธีในวังหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ จึงตรัสขอพร

ท่านจึงกล่าวคำถวายพระพรสดๆ ว่า อติเรกวสฺสสตํ ชีว ด้วยเหตุที่ท่านกล่าวสดๆ ทันทีทันใดจึงต้องว่าซ้ำๆ กันในตอนแรก

พระเจ้าอยู่หัวทรงพอพระทัยมาก จึงทรงให้ถือเป็นพระราชประเพณีว่า พระที่ถวายอดิเรกต้องเป็นพระราชาคณะเท่านั้น และได้ถือเป็นแบบอย่างมาจนบัดนี้

ตกถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงเปลี่ยนชีว เป็นชีวตุ นอกนั้นคงไว้เหมือนเดิม

นี้คือที่มาของคำถวายอดิเรก แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยัน เป็นเพียงคำบอกเล่าต่อๆ กันมา

ถ้าตามนี้ แสดงว่าการถวายอดิเรก เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่ท่านอาจารย์ ส.ศิวรักษ์ บอกว่า มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ไม่เชื่อให้ไปอ่าน "สาส์นสมเด็จ" ท่านว่าอย่างนั้นเผอิญผมยังค้นไม่พบ ท่านผู้ใดพบหลักฐานแน่ชัดจะแผ่เมตตากรุณามาถึงคอลัมน์นี้ก็ยินดีขอรับ

คำถวายอดิเรกมีดังนี้ครับ (ขอเขียนแบบไทยเพื่อให้อ่านง่าย)

อะติเรกะวัสสะสะตัง ชีวะตุ, อะติเรกะวัสสะสะตัง ชีวะตุ, ทีฆายุโก โหตุ อะโรโค โหตุ, ทีฆายุโก โหตุ อะโรโค โหตุ, สุขิโต โหตุ ปะระมินทะมหาราชา, สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิลาโภ ชะโย นิจจัง, ปะระมินทะมหาราชะวะ รัสสะ ภะวะตุ สัพพะทา,

ขอถวายพระพร



อินทรีย์-อินทรียสังวร
ชาวบ้านเคยได้ยินแต่ "อินทรี" อันเป็นชื่อนกยักษ์ชนิดหนึ่ง แต่อินทรีย์ (ย ยักษ์การันต์) คงไม่ค่อยได้ยิน คำนี้เป็นภาษาพระ ใช้ในวงการพระศาสนาจนชิน เช่น สำรวมอินทรีย์

อินทรีย์ ตามศัพท์แปลว่า ความเป็นใหญ่ สภาพที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ท่านพูดถึงอายตนะภายใน (สื่อสำหรับติดต่อภายในตัวคนเรา ๖ ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่าเป็น "อินทรีย์ (๖")

อธิบายว่า ตาเป็นใหญ่ในเรื่องการดู หูเป็นใหญ่ในเรื่องการฟัง จมูกเป็นใหญ่ในเรื่องการสูดกลิ่น ลิ้นเป็นใหญ่ในเรื่องการลิ้มรส กายเป็นใหญ่ในเรื่องการสัมผัส ใจเป็นใหญ่ในเรื่องการคิดคำนึง เพราะฉะนั้น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ละอย่างจึงเป็น "อินทรีย์" คือ ใหญ่ในหน้าที่ของตน จะไปใหญ่ในเรื่องที่มิใช่หน้าที่มิได้

การสำรวมอินทรีย์ ก็คือ สำรวม ระมัดระวังในเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มิให้ตกเป็นทาสของสิ่งที่เห็น ได้ยิน เป็นต้น

ท่านพูดถึง ธรรมะ๕ ประการว่า เป็น "อินทรีย์ 5" คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา โดยอธิบายว่า

ศรัทธา ความเชื่อมั่น เป็นใหญ่ในด้านความเชื่อที่มีเหตุผล ครอบงำเสียซึ่งความไร้เหตุผลหรือมงคลตื่นข่าว

วิริยะ ความพากเพียร เป็นใหญ่ในเรื่องความพยายาม ความกล้าหาญที่จะเอาชนะอุปสรรค ครอบงำเสียซึ่งความเกียจคร้าน

สติ ความระลึกได้ เป็นใหญ่ในเรื่องความระลึกได้ ความยับยั้งใจ ครอบงำเสียซึ่งความประมาทเผอเรอ

สมาธิ ความตั้งมั่นแห่งจิต เป็นใหญ่ในด้านความแน่วแน่แห่งจิต ครอบงำเสียซึ่งความฟุ้งซ่าน

ปัญญา ความรู้ตามสภาพเป็นจริง เป็นใหญ่ในการวินิจฉัยด้วยเหตุด้วยผล ครอบงำเสียซึ่งความหลงงมงาย ยึดติดในเรื่องผิดๆ

แต่ละอย่างต่างก็เป็น "อินทรีย์" คือใหญ่ในหน้าที่หรือภารกิจของตนเอง

ในด้านการปฏิบัติ ท่านให้ "ทำอินทรีย์ให้สมดุล" คือปรับให้ธรรมะทั้ง ๕ ข้อนี้ได้ดุลกัน ศรัทธาต้องได้ดุลกับปัญญา จึงจะดี ถ้าศรัทธามากปัญญาน้อยจะงมงาย ปัญญามากศรัทธาน้อยจะ "ตะแบง" ไม่ฟังใคร วิริยะกับสมาธิต้องได้ดุลกัน ถ้าวิริยะมากสมาธิน้อยจะฟุ้งซ่าน สมาธิมากวิริยะน้อยจะเกียจคร้าน (ติดสุข) จึงควรปรับให้สมดุลกันจึงจะดี

สติอย่างเดียว ไม่ต้องปรับเข้ากับธรรมะข้อใด ยิ่งมีมากเท่าไร ยิ่งดีแล



เสพติด-เสพย์ติด
มีคนผู้เป็นห่วงเรื่องการใช้ภาษาว่า ยาที่กินแล้วทำให้ติดเรียกว่า "เสพย์ติด" (มี ย การันต์) ไม่ใช่ "เสพติด" (ไม่มี ย การันต์) ที่ถูกเป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่บังเอิญปล่อยให้คนเขียนว่า "เสพติด" มานาน ไม่มีใครทักก็เลยไม่มีใครรู้ว่า มันผิดและใช้ตามๆ กันมาจนร่ำๆ ราชบัณฑิตยสถานจะยอมรับว่า "เป็นคำเพี้ยนที่ใช้ได้"

(ระวัง นี่คือ "มนต์ขลัง" ของราชบัณฑิตฯ)

บังเอิญว่าระยะนี้เขากำลังรณรงค์เพื่อต่อต้านยาที่กินเข้าไป (รวมถึงสูดดม ฉีด ฯลฯ ด้วย) แล้วทำให้คนติด ก็ร่วมมือกันดีตั้งแต่รัฐบาลจนถึงองค์กรเอกชน และประชาชนทั้งหลายสื่อต่างๆ ก็ร่วมมือ ในการรณรงค์เพื่อปราบยาม้า ยาบ้า จนจะ "บ้า" กันทั้งเมือง

ขับรถผ่านไปตามถนนใหญ่ เห็นป้ายโฆษณาต่อต้านยาบ้าตัวโตเบ้อเร่อว่า "ยาบ้า คนเสพย์ตาย คนขายติดคุก" นี่แสดงว่าภาครัฐบาลท่านมีความประสงค์ดีอยากจะให้ช่วยกันเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง นับเป็นความปรารถนาดี

แต่ปรารถนาดีผิดพลาด เหมือนความปรารถนาดีของเณรน้อยต่อขรัวตานั่นแล

เณรน้อยเห็นแมลงวันตัวโตเกาะจมูกขรัวตา ด้วยความปรารถนาดี เอาสากทุบจมูกขรัวตาเต็มเหนี่ยว

ผลเป็นยังไงคงคาดเดากันได้

คำว่า เสพ เป็นคำกริยา แปลว่ากิน ดื่ม บริโภค เช่น นายจำลองเสพสุรา (แปลว่านายจำลองดื่มสุรา) นายวินัยเสพเมถุน (แปลว่านายวินัยบริโภคกาม) ถ้าเป็นคำนาม (อาการนาม) ใช้ว่า "การเสพ" เช่น "การเสพสุราเมรัยไม่ดี"

คำว่า เสพย์ (เสพฺย) แปลว่า พึงเสพ ส่วนมากใช้เป็นคำวิเศษณ์ หรือ adjective เช่น นายนิกรเสพยาเสพย์ติด (แปลว่านายนิกรเสพยาที่พึงเสพแล้วทำให้ติด)

เพราะฉะนั้น การใช้ว่า "ยาบ้า คนเสพย์ตาย" นั้นผิด ที่ถูกคือ "ยาบ้า คนเสพตาย" และคนขายติดคุก ที่ติดคุกเพราะเป็นยา "เสพย์ติด" ผิดกฎหมาย ถ้า ฯพณฯ มท.๖ จู่โจมจับมาได้มีหวังติดคุกแน่

เสียดายว่า จับใหญ่คราวนั้น (เมื่อไม่นานมานี้) ได้ขี้ยามาเพียงคนเดียว และยาบ้าไม่กี่เม็ด

ป.ล.เดี๋ยวนี้ใช้เสพติดอย่างเดียวแล้ว  



ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 พฤษภาคม 2561 14:06:29 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #47 เมื่อ: 16 พฤษภาคม 2561 14:04:20 »



เผด็จ
เผด็จ พจนานุกรมแปลว่า ก. ตัด, ขจัด, ขาด, กำราบ, ปราบ

เผด็จการ ก. ใช้อำนาจบริหารงานเด็ดขาด; น. เรียกประมุขของประเทศที่ใช้อำนาจบริหารเด็ดขาดว่า เผด็จการ

เผด็จศึก ก. ทำให้การรบหรือต่อสู้สิ้นสุดลง, กำราบหรือปราบให้ราบลง

เผด็จสวาท หักโหมหรือปลุกปล้ำเอาเป็นเมีย, ข่มขืนชำเรา

พจนานุกรมที่ว่านี้คือ พจนานุกรมไทย ของมานิต มานิตเจริญ และหาฉบับราชบัณฑิตยสถานก็คว้าหาไม่พบ แต่ก็เชื่อว่าคำนิยามคงไม่ต่างกัน

ผมหาความหมายที่ผมเคยรับทราบ แต่ไม่ยักมีในพจนานุกรมฉบับใด สมัยบวชเป็นเณรน้อยเรียนแปลบาลี (ธัมมปทัฏฐกถา หรืออรรถกถาธรรมบท) อาจารย์ท่านมักจะบอกว่า ให้ดูเผด็จมาก่อน ไม่ดูมาก่อนมักจะแปลผิดๆ ถูกๆ อย่างนี้แหละ

"เผด็จ" ของท่านคือ หนังสือแปลเป็นไทย ที่เขาพิมพ์ควบคู่กันกับฉบับภาษาบาลี

เมื่อผมเข้าสอบแปลบาลีประโยคสามครั้งแรก สอบที่สนามสอบวัดธาตุพนม ในบริเวณวิหารคดรอบพระธาตุพนม ข้อสอบให้แปลบาลีโดยพยัญชนะ (แปลตามตัวอักษร) และแปลโดยอรรถ (แปลเอาความ)

พอออกจากสนามสอบอาจารย์ผมก็ดักถามว่าเป็นยังไง ข้อสอบออกตรงตามที่ "เก็ง" ไว้พอดีประโยคว่า มนํ นฏฺโฐ แปลว่า ฉิบหายแล้วหน่อยหนึ่ง "มนํ" แปลว่าหน่อยหนึ่งนะ ถ้าเธอแปลว่าใจละก็เสร็จแน่

เมื่อผมเรียนอาจารย์ว่า ผมไม่ได้แปลอย่างที่ท่านบอก ท่านร้อง ฮ้า ด้วยความตกใจ (กลัวลูกศิษย์สอบตก) "แล้วแปลยังไง" ผมเรียนท่านว่า ผมแปลว่า "พระสุนทรสมุทรเกือบเสียตัว"

ผมยืนยันว่าผมอ่านเผด็จมาก่อน เผด็จเขาแปลอย่างนี้ กลับถึงที่พักที่เขาจัดไว้สำหรับพระมาสอบ อาจารย์ผมถามหาว่าใครนำเอาเผด็จภาค ๘ มาบ้าง เมื่อได้แล้วก็นั่งเปิดๆ ดูแล้วก็ร้องว่า "เออ จริงของเณรมัน เผด็จแปลอย่างนั้นจริงๆ" เป็นอันว่าปีนั้นผมสอบได้เป็นมหาเณร

เผด็จ ที่อาจารย์และผมพูดนี้ หมายถึงหนังสือแปลเป็นภาษาไทยครับ สงสัยว่าจะใช้เฉพาะในวงการพระ ไม่เคยได้ยินชาวบ้านพูดถึงกัน วันหนึ่งผมแวะไปที่โต๊ะ "เกจินู้ด" ถามแกว่า "หนังเรื่องเอวิต้า มีเผด็จไหม" เพื่อนตอบทันทีว่า "มี มีหลายฉาก" ผมหมายถึงว่าบทหนังเรื่องนี้มีฉบับแปลไทยไหม แต่เพื่อนเข้าใจว่าหมายถึง "บทเผด็จสวาท"

พูดคนละเรื่องเดียวกันแท้ๆ



อันติมวัตถุ
ภาษาบาลีกับภาษาฝรั่งเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน คือเป็นภาษา "อินโดยุโรป" เวลาฝรั่งหันมาสนใจภาษาบาลี หรือสันสกฤต จึงเรียนได้เร็วและกลายเป็น ผู้เชี่ยวชาญในภาษานี้ง่ายขึ้น

ริส เดวิดส์ ฝรั่งอังกฤษไปเห็นคัมภีร์พระไตรปิฎกที่ลังกา อยากรู้ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนอะไรบ้าง ลงทุนเรียนบาลีอยู่ ๗ ปี กลับลอนดอนหอบคัมภีร์พระไตรปิฎกบางส่วนไปด้วย ถอดจากอักขระสิงหลเป็นอักขระโรมัน พิมพ์เป็นเล่มสมุดทีละเล่มสองเล่ม เขาและ "แฟน" (ต่อมาแต่งงานกัน) ร่วมกันก่อตั้ง "สมาคมบาลีปกรณ์" (The Pali Text Society) เดี๋ยวนี้สมาคมนี้เป็นที่ชุมนุมนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนามากมาย ผลงานที่ลือชื่อก็คือ พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ เป็นที่อ้างอิงของผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาทั่วโลก

ที่เกริ่นยาวนี้ก็เพียงเพื่อจะบอกว่า คำศัพท์ที่ผมจะพูดถึงวันนี้ ถ้านึกถึงคำฝรั่งแล้วจะเข้าใจทันทีว่าแปลอย่างไร อันติม ก็คือ ultimate นั่นเอง วัตถุ ก็คือเรื่อง, เรื่องราว, อันติมวัตถุ ก็คือเรื่องที่ถึงที่สุด เรื่องที่ทำให้ถึงจุดสุดท้าย ในที่นี้พระพุทธเจ้าทรงหมายเอา อาบัติ (ความผิด) ของพระขั้นอุกฤษฏ์ คือขั้นที่ล่วงละเมิดแล้วภิกษุภาวะถึงที่สุดทันที ขาดจากความเป็นพระทันที

เมื่อครั้งอดีตพระดังนาม วินัย อมโร สร้างความอื้อฉาวถูกร้องเรียนว่าต้องปฐมปาราชิก ในขณะที่พระกรรมการชั้นต้น สอบสวนกันอย่างเอ้อระเหยลอยลม และแบบอนุเคราะห์สงเคราะห์กัน มหาเถรสมาคมนำเรื่อง "สลิปรักทะเลใต้" ไปพิจารณาแล้วตัดสินว่า วินัย อมโร ต้อง "อันติมวัตถุ" แล้ว ความหมายของท่านก็คือต้องอาบัติปาราชิกแล้ว จึงมีคำสั่งให้สละเพศ

ผู้ไม่รู้ หรือรู้แต่แกล้งไม่รู้ จึงตะแบงว่า มหาเถรสมาคมมิได้บอกว่าต้องปาราชิก จึงไม่ต้องสึก ทั้งนี้ ก็เพราะท่านใช้ศัพท์สูงไปหน่อย คนหัวหมอจึงได้ช่อง แต่ผู้รู้เรื่องนี้มีมาก จึงตะแบงไม่ขึ้น

อันติมวัตถุในพระวินัยมี ๔ ประเด็น หรือ ๔ เรื่อง คือ ภิกษุเสพเมถุน ภิกษุลักทรัพย์มูลค่า ๕ มาสกขึ้นไป ภิกษุฆ่ามนุษย์ (ฆ่าสัตว์ผิดเหมือนกัน แต่ไม่ถึง "อันติมะ") ภิกษุอวดอุตริมนุสธรรม (อวดว่าตนเองบรรลุคุณธรรมชั้นเยี่ยม เช่น ได้ญาณหยั่งรู้ เป็นพระอริยบุคคลชั้นนั้นชั้นนี้)

ถ้าละเมิดข้อใดข้อหนึ่งในจำนวน ๔ ข้อนี้ ภิกษุภาวะขาดทันที ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาโจทก์ฟ้องร้อง ถ้ายังขืนครองจีวรต่อไป ก็เท่ากับเป็นมหาโจรลวงหลอกโลกหลอกให้เขาเชื่อว่าเป็นพระ

เป็นบาปมหันต์  



สมุทัย-สมุฏฐาน
เคยได้ยินบางคนที่ไม่ค่อยสันทัดในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เขียนอริยสัจข้อที่สองว่า สมุหทัย และอ่านว่า "สะหมุหะไทย" ก็นึกว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะผู้เขียนผู้พูดอาจไม่ค่อยรู้เรื่องสักเท่าไร แต่วันหนึ่งขณะเดินชมป้ายนิทรรศการของวัดแห่งหนึ่งเกี่ยวกับอริยสัจ ๔ ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เห็นป้ายเขียนว่า ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ มรรค

เป็นนิทรรศการที่ท้องสนามหลวง ในสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในวันวิสาขบูชาครับ ป้ายนั้นจัดทำโดยพระภิกษุสามเณรในวัดนั้นด้วย จึงมิใช่เรื่องเล็กเสียแล้วละครับ พระสงฆ์องค์เจ้าที่ผู้คนคิดว่ารู้เรื่องดีที่สุด ท่านยังพลาดได้ มิจำต้องพูดถึงคนทั่วไปก็ได้

อริยสัจข้อที่สอง เขียนว่า สมุทัย อ่านว่า "สะมุไท" หรือ "สะหมุไท" แปลตามตัวอักษรว่า การเกิดขึ้นพร้อมแห่งทุกข์ มาจาก สํ (พร้อม) - อุทัย (การเกิดขึ้น) = สมุทัย แปลโดยอรรถ (คือแปลเอาความหมาย) ว่าสาเหตุแห่งทุกข์

สาเหตุแห่งทุกข์คือ ตัณหา (ความทะยานอยาก) สามประการ คือ กามตัณหา (อยากในกาม, อยากได้อยากมีอยากเป็น) ภวตัณหา (อยากในภพ, ได้แล้วมีแล้วเป็นแล้ว ถ้าเป็นที่น่าพอใจ ก็อยากให้มันคงอยู่นานๆ) และวิภวตัณหา (อยากไม่มีอยากไม่เป็น, ในกรณีที่เกิดความเบื่อหน่ายสภาวะนั้นก็อยากสลัดทิ้งไป)

เขียนว่า สมุทัย อ่านว่า "สะมุไท" หรือ "สะหมุไท" ครับ

คำที่สองพบในหน้าหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันอังคารที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๐ นี้เอง คนกันเองแท้เทียว คอลัมน์เบื้องหลังข่าวคือคน พาดหัวเรื่องตัวเป้งว่า ท้วงนักเลง "เหนาะ" ด้วยรัก รักจะแก้ปัญหา "แรงงาน" ต้องเข้าใจสมุหฐานแห่ง "โรค" มิฉะนั้นก็อาจจะให้ยาผิดได้

ผู้เขียนคงต้องการเขียนคำว่า สมุฏฐาน คำนี้มาจาก สํ (พร้อม) -อุฏฐาน (การตั้งขึ้น, การเกิดขึ้น) = สมุฏฐาน แปลตามศัพท์ว่า การตั้งขึ้นพร้อม แปลโดยอรรถว่า สาเหตุ หรือต้นเหตุ

ทั้งสองคำนี้พจนานุกรมไทยให้อ่านว่า "สหมุไท" และ "สะหมุดถาน" แต่ผมชอบที่จะอ่านว่า "สะมุไท" และ "สมุดถาน"



ภูติ-สัมภเวสี
คนทั่วไปเข้าใจว่า ภูต หมายถึงผี บางทีเรียกรวมกันว่า ภูตผี สัมภเวสี หมายถึง ผีที่ร่อนเร่หาที่เกิด โดยคำหลังนี้เชื่อกันว่า เวลาคนตาย "วิญญาณ" ล่องลอยออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ ขณะยังหาที่เกิดไม่ได้เรียก สัมภเวสี

ลองมาดูความหมายทางพระพุทธศาสนาดูว่าเหมือนกับที่ชาวบ้านเข้าใจไหม

ภูต แปลว่า สัตว์ที่เกิดแล้ว เป็นตัวเป็นตนเต็มที่แล้ว

สัมภเวสี แปลว่า สัตว์แสวงหาที่เกิด

ภูต กับ สัมภเวสี ต่างกันโดย


ก.กำหนดเอาสภาวะหรือสภาพจิตเป็นตัวแบ่งแยกความแตกต่าง คือ สภาพจิตของปุถุชนและพระเสขะที่ละกิเลสไม่ได้หมด (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะพระโสดาบันและพระสกทาคามี) เป็นสัมภเวสี สภาพจิตของพระอรหันต์ เรียกว่า ภูต

ข.กำหนดเอาระยะเวลา เป็นตัวแบ่งแยกความแตกต่าง คือ ขณะสัตว์อยู่ในครรภ์หรือไข่เป็นสัมภเวสี คลอดออกมาจากครรภ์หรือไข่แล้วเป็นภูต

หรือในจำพวกสัตว์ผุดเกิด (เช่น เทวดา สัตว์นรก) ขณะจิตแรกหรืออิริยาบถแรกที่เกิดขึ้นเรียกสัมภเวสี หลังจากขณะจิตแรก หรือหลังจากเปลี่ยนอิริยาบถเป็นภูต

ในบทแผ่เมตตาตอนหนึ่งว่า ภูตา วา สัมภเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา แปลว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นภูต หรือสัมภเวสี ขอให้จงมีตนประสบความสุขเถิด

มิได้หมายความว่าแผ่เมตตาให้ภูตผี หรือวิญญาณเร่ร่อน ตามความเข้าใจของคนทั่วไป หากหมายถึงแผ่ให้ทั้งคนทั้งสัตว์ดังตามความหมายในข้อ ก และข้อ ข ข้างต้น

เฉพาะสัมภเวสีที่แปลว่า "เร่ร่อนหาที่เกิด" มิได้หมายเอา "วิญญาณเร่ร่อน" เพราะแนวคิดเรื่องวิญญาณเร่ร่อนไม่มีในพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเชื่อว่าพอตายลงจิตหรือวิญญาณก็ดับ (ขันธ์ ๕ = รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณดับหมด) แต่ดับปุ๊บก็เกิดปั๊บในภพใหม่ทันที จะเกิดเป็นอะไรแล้วแต่กรรมที่ทำจะจัดสรรให้เป็นไปเอง

ไม่มีช่องให้วิญญาณเร่ร่อนไปที่ไหน ส่วน "ผี" ที่คนพบเห็นบางครั้งบางคราวนั้น เป็นสัตว์ (being) ชนิดหนึ่ง

ทางพระเรียกว่า อสุรกาย



ปานะ-อัฐบาน
ปานะ แปลว่าน้ำดื่ม แขกปัจจุบันนี้เรียกว่า "ปานี" (มาจากคำว่าปานียะ = น้ำควรดื่ม) เวลาบ๋อยจะเสิร์ฟน้ำ จะถามก่อนว่า "กะลัมปานี" (น้ำร้อนไหม) หรือ "ฑัณฐาปรนี" (น้ำเย็นไหม) เราจะเอา กะลัม หรือฑัณฐา ก็บอกเขาไป

สมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุฉันน้ำที่คั้นจากผลไม้บางชนิดได้ เรียกว่า "ปานะ" มีอยู่ ๘ อย่าง เรียกว่า "อัฐปานะ" (หรือ "อัฐบาน") คือ

๑.อัมพปานะ = น้ำคั้นผลมะม่วง
๒.ชัมพุปานะ = น้ำคั้นผลชมพู่หรือผลหว้า
๓.โจจปานะ = น้ำคั้นผลกล้วยมีเมล็ด สงสัยจะเป็นกล้วยตานีอะไรพวกนั้น
๔.โมจปานะ = น้ำคั้นผลกล้วยไม่มีเมล็ด
๕.มธุกปานะ = น้ำคั้นผลมะปราง
๖.มุททิกปานะ = น้ำคั้นลูกจันทร์ หรือองุ่น
๗.สาลุกปานะ = น้ำคั้นเหง้าอุบล
๘.ผารุสกปานะ = น้ำคั้นผลมะปรางหรือลิ้นจี่

เข้าใจว่า ต้องเติมน้ำด้วยจึงจะดื่มเป็นน้ำได้ ถ้าไม่เติมน้ำ (เพราะไม่เห็นบอกไว้นี่ว่าต้องเติมน้ำ) ก็คงไม่ผิดอะไร แต่จะข้นไป แทนที่จะเป็นการ "ดื่ม" น้ำ จะกลายเป็นการ "กิน" น้ำไป

ถ้าจะมีใครสักคนคิดมาก พูดว่า ไม่ว่าจะคั้นแล้วกินน้ำหรือ "จู๊ส" มัน หรือเคี้ยวมันก็ไม่น่าจะต่างอะไรกัน เพราะต่างก็เป็นอาหารเหมือนกันที่เคี้ยวๆ กินนั้น ในที่สุดมันก็กลายเป็นน้ำเหมือนกัน

พูดอีกนัยหนึ่งเคี้ยวกินกล้วย กับเอากล้วยมาคั้นกินน้ำ มันก็เท่ากัน แล้วเพราะเหตุอันใด เวลาพระเคี้ยวกล้วยกินจึงผิด (ต้องอาบัติ) แต่เวลาคั้นกินน้ำมันกลับบอกว่าไม่ผิด ไม่ต้องอาบัติ

คำตอบก็คือ ถึงจะมีคุณค่าอาหารเท่ากัน การเคี้ยวกินดูไม่เหมาะและขัดกับข้อบัญญัติว่า ห้ามฉันอาหารมื้อเย็น (ฉันเวลาเลยเพลนะครับ ไม่เกี่ยวอาหารร้อน หรืออาหารเย็น) แต่การดื่มผลไม้ที่คั้นเป็นน้ำแล้วดูดีกว่า

ว่ากันจริงๆ แล้ว การกินข้าวเย็น ไม่ใช่บาปจริงๆ เป็นเพียงบัญญัติให้เป็นบาป หรือเป็นความผิดของคนกลุ่มหนึ่งที่ถือบวชเท่านั้น เพราะคนกลุ่มนี้ต้องอาศัยคนอื่นเลี้ยงชีพ กินน้อยมื้อจะดี จะได้ไม่เป็นการรบกวนคนอื่น

ถ้าการกินอาหารในเวลาเย็นบาปจริง ชาวบ้านอย่างคุณอย่างผมก็ต้องบาปด้วย และบางวันบาปหลายมื้อด้วย ใช่หรือเปล่า



เถร-เถร
คํานี้แปลว่า "ผู้มั่นคง" แปลตามศัพท์นะครับ มาจากคำเดิมว่า ถิร สันสกฤตว่า สฺถิร เมื่อแผลงเป็นคำไทยจึงเป็น เสถียร เช่น เสถียร จันทิมาธร (จันทิมาธร ผู้มั่นคง หรือ ผู้มั่นคงแห่งตระกูลจันทิมาธร)

ถ้าเป็นคำตั้ง ซึ่งจะต้องมีคำอื่นมาต่อท้าย (อันเรียกตามศัพท์ไวยากรณ์ว่า "สมาส") ท่านจะเขียนว่า เถร- ให้อ่านว่า "เถ-ระ" เมื่อต่อท้ายแล้วเครื่องหมาย - จะหายไป เช่น

เถรภาษิต, (มหา) เถรสมาคม, เถรคาถา, เถรภูมิ, เถรวาท

คำเหล่านี้อ่านว่า "เถ-ระ-พา-สิด", "เถ-ระ-สะ-มา-คม", "เถ-ระ-คา-ถา", "เถ-ระ-พูมิ", "เถ-ระ-วาด" ตามลำดับ

ผู้ที่ได้รับเกียรติว่าเป็นเถระ ตามพระวินัยจะต้องเป็นภิกษุมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป ดังเช่นผู้จะได้รับแต่งตั้งเป็นอุปัชฌายะจะต้องเป็นภิกษุระดับเถระ (คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป)

ส่วนในทางธรรม อายุพรรษาไม่สำคัญ ถ้ามีคุณครบแม้สามเณรก็นับเป็นพระเถระได้ดังสามเณรอรหันต์หลายรูปในสมัยพุทธกาล ได้รับการเรียกขานว่าเป็น "เถระ" มีพุทธภาษิตรับรองไว้ว่า

บุคคลไม่เรียกว่าเป็นเถระ เพียงเพราะศีรษะหงอก
เขาแก่แต่วัยเท่านั้น เรียกได้ว่า "แก่เปล่า"
ส่วนผู้ที่มีสัจจะ มีธรรม ไม่เบียดเบียนใคร สำรวม
มีความข่มใจเป็นผู้บริสุทธิ์ และฉลาด เรียกว่า "เถระ"

(ธรรมบท คาถาที่ ๒๐๖-๑)

ถ้าคำ เถร อยู่ท้ายสมาส ให้อ่านออกเสียงว่า "เถน" ความหมายเหมือนข้างต้น เช่น เถรส่องบาตร ออกเสียงว่า "เถน-ส่อง-บาด" สมณศักดิ์พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระจะลงท้ายด้วยคำว่า เถรเป็นส่วนมาก เช่น พระอุดมวิชาญาณเถร พระวิสุทธิสารเถร พระโพธิญาณเถร อ่านออกเสียงว่า "เถน" ทั้งนั้น

เมื่อคราวพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา) ผมและคุณรวงทอง ยศธำรง เป็นพิธีกรถ่ายทอดสดโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ คุณรวงทอง ถามผมว่า สมณศักดิ์หลวงปู่อ่านอย่างไร ผมบอกว่าอ่านลงท้ายว่า "เถน"

เมื่อเธออ่านออกอากาศ หลายคนทักภายหลังว่าไม่ถูกต้อง ควรอ่านว่า "เถระ" จึงจะถูก พิธีกรน่าจะศึกษาให้ดีก่อน จะได้ไม่ "ปล่อยไก่" กลางอากาศ

ขอเรียนว่า ผู้ทักท้วงนั่นแหละเป็นคนปล่อยไก่ ไก่ตัวโตเสียด้วย ทราบแล้วเปลี่ยน



เถน-เถน
สองคำนี้เขียนต่างกัน บางกรณีอ่านเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน เช่น มหาเถร (ร สะกด) อ่านว่า "มะ-หา-เถน" มหาเถน (น สะกด) อ่าน "มะ-หา-เถน" เหมือนกัน คำแรกแปลว่า พระเถระผู้ใหญ่ คำหลังแปลว่า โจรผู้ใหญ่

มีสมณศักดิ์ของพระภิกษุบางตำแหน่งลงท้ายด้วยคำว่า เถร (ไม่ประวิสรรชนีย์) เช่น พระโพธิญาณเถร พระวิสุทธิสารเถร อ่านว่า "พระ-โพ-ธิ-ยาน-เถน" และ "พระ- วิ-สุด-ทิ-สา-ระ-เถน" ตามลำดับ

หรือสำนวน (หรืออะไรก็แล้วแต่) ว่า "เถรส่องบาตร" ก็อ่านว่า "เถน-ส่อง-บาด" นี้คือคำอ่านที่ถูกต้อง (ที่สุดในโลก)

คำว่า เถร ถ้าเป็นคำตั้ง ที่จะต้องสมาสกับคำอื่น แน่นอนต้องอ่านลงท้ายว่า "เถ-ระ" เช่น มหาเถรสมาคม ต้องอ่านว่า "มะ-หา-เถ-ระ-สะ-มา-คม" ไม่อ่าน "มะ-หา-เถน-สะ-มา-คม" เป็นอันขาด

ความหมายที่แท้จริงของ เถร แปลว่า ผู้มั่นคง เพราะคำนี้มาจาก ถิร หมายถึงผู้มั่นคงในคุณธรรม พูดถึงคุณธรรมหรือธรรมะก็ออกจะกว้าง แต่ถ้าดูตามพุทธวจนะที่ตรัสไว้ จะทราบชัดว่าคุณสมบัติของ เถระ มีอะไรบ้าง

พุทธวจนะในคาถาพระธรรมบทให้คำจำกัดความของ เถระ ว่า

"เพียงมีผมหงอก ยังไม่นับเป็นเถระ เขาแก่แต่วัยเท่านั้น

คนเช่นนี้เรียกว่า "คนแก่เปล่า"

ผู้ใดมีสัจจะ มีธรรม มีอหิงสา สำรวม มีทมะ ฉลาด ปราศจากมลทิน ผู้นี้แลเรียกว่า เถระ"

สัจจะในที่นี้มิใช่การพูดเท็จ แต่เป็นอริยสัจ ๔ ธรรมะ คือ นวโลกุตรธรรม อหิงสาหมายถึงมีพรหมวิหารธรรมหาประมาณมิได้ สำรวมหมายถึงมีศีล และทมะหมายถึงระมัดระวังการแสดงออกทางตาหูจมูก เป็นต้น ฉลาดหมายถึงมีญาณตรัสรู้ หมดมลทินหมายถึงหมดกิเลส

สรุปแล้ว คนที่จะเรียกว่าเถระ มิใช่ธรรมดาต้องเป็นผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจ ๔ มีโลกุตรธรรม ๙ มีพรหมวิหาร มีศีลและสำรวมอินทรีย์ หมดกิเลส พูดให้สั้นก็คือ พระอรหันต์เท่านั้นจึงจะเป็น เถระ ในความหมายที่แท้ พระอรหันต์ถึงจะมีอายุน้อย เช่น สามเณรอรหันต์ก็เป็นเถระได้ ปุถุชนไร้คุณธรรม หรือมีคุณธรรมไม่ถึงขั้น ถึงจะอายุมากก็ไม่มีสิทธิเป็น เถระ อย่างมากก็เรียกว่า คนแก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นานนั้นแล

ที่เราเรียกผู้เฒ่าว่า เถระนั้นเถระนี้เราอนุโลมเอาครับ ถ้าเถระอนุโลม เลอะมากๆ อาจกลายเป็น เถน (ขโมย) ได้โดยไม่ยากแล


โดย-แต่งโดย
สมัยเป็นสามเณรน้อยอยู่วัดภาคอีสาน มีหลวงปู่คู่วัดคู่บ้านอายุ ๙๐ กว่า อยู่รูปหนึ่ง ชื่อหลวงปู่นนท์ อายุปูนนั้นแล้ว หูตายังใช้การได้เหมือนคนหนุ่ม เดินเหินคล่อง เวลาพระเณรพูดกับท่าน จะใช้คำโบราณอยู่หลายคำ ผมจำไม่ได้ จำได้คำเดียว เวลารับ (ว่าครับ ขอรับ) จะพูดว่า "โดย" เช่น (หลวงปู่) มหาสมพร กลับมาจากกรุงเทพฯ แล้วหรือ (พระมหาสมพร รับว่า) "โดย"

โดย ในที่นี้หมายความว่าอย่างไร ลองเปิดพจนานุกรมดู ท่านว่าไว้ดังนี้ครับ

โดย ๑ (โดย หรือ โด-ยะ) ป., ส., น.น้ำ โดยกณ หยดน้ำ, โดยจร ผู้ไปในน้ำ, สัตว์น้ำ

โดย ๒ (โดย) ข.,ก. ตาม โดยสาร ก. อาศัยไปด้วย โดยเสด็จ ก.ตามเสด็จ

โดย ๓ (โดย) ว. (คำพายัพ) จ้ะ, ขอรับ

อ้อ เจอแล้ว ความหมายที่ ๓ นี้เอง โดยแปลว่า ครับ ขอรับ เป็นคำรับ ไม่ทราบว่าเป็นคำที่ผู้น้อยรับเวลาพูดกับผู้ใหญ่ หรือใช้ได้กับทุกวัย

แต่เท่าที่ผมเห็นเขาใช้สมัยเป็นสามเณรน้อย ใช้เฉพาะเวลาพระเณรผู้น้อยหรือญาติโยมรับคำหลวงปู่

คำว่า โดย ที่เห็นใช้กันแพร่หลายอีกอย่างหนึ่งคือ ใช้บอกชื่อผู้เขียนหรือผู้แต่งหนังสือ เช่น พระไตรปิฎกวิเคราะห์ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก ชานหมากนอกกระโถน โดย ขรรค์ชัย บุนปาน

ในที่นี้หมายความว่า หนังสือพระไตรปิฎกวิเคราะห์ ผู้แต่งคือ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ชานหมากนอกกระโถน ผู้แต่งคือ ขรรค์ชัย บุนปาน บางทีก็ใช้เต็มว่า "แต่งโดย"

แว่วมาว่า สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงใช้เป็นพระองค์แรก เลียนแบบ written by, translated by ของฝรั่ง แว่วมาอีกแหละว่า คำนี้สมเด็จฯ ทรงบอกภายหลังว่า พระองค์ทรงใช้ผิด ครั้นจะแก้ไข คนก็ใช้กันจนแพร่หลายแล้ว เกินจะแก้ไขได้ ว่าอย่างนั้น

ที่ว่าผิด ก็เพราะ โดย แปลว่า ตาม

ถ้าพูดว่า ชานหมากนอกกระโถน แต่งโดย ขรรค์ชัย บุนปาน แสดงว่าคนแต่งมิใช่ ขรรค์ชัย บุนปาน มีคนอื่นแต่งตาม ขรรค์ชัย บุนปาน (ขรรค์ชัย บุนปาน อาจพูดถึงเรื่องดังกล่าว นายคนนั้นเลยจับเอาประเด็นนั้นมาเขียน แต่เนื่องจากแกมีมารยาทดี จึงให้เกียรติ ขรรค์ชัย บุนปาน

ไม่ทราบว่าอย่างนี้ กฎหมายลิขสิทธิ์จะเอื้อมถึงไหม




ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 พฤษภาคม 2561 14:07:07 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #48 เมื่อ: 18 มิถุนายน 2561 16:23:21 »




]แปลสามชั้น

เวลาแปลบาลี ท่านจะให้แปลโดยพยัญชนะ คือแปลรักษาศัพท์ รักษาโครงสร้างของภาษาอย่างเคร่งครัด

เช่นประโยคว่า สถิโร วิธายกคนฺถโสธโก สาธุกํ หตฺถเลขนํ โสเธติ แปลโดยพยัญชนะก็ต้องแปลว่า "อันว่าผู้ชำระซึ่งคัมภีร์ ผู้จัดแจงทั้งหมดชื่อเสถียร ย่อมชำระ ซึ่ง สิ่งที่เขียนด้วยมืออย่างดี"

แปลแล้วฟังยังไม่รู้เรื่อง แต่สำหรับผู้เรียนภาษาบาลีแปลอย่างนี้ได้ประโยชน์ คือทำให้มองเห็นว่าคำนั้นๆ ทำหน้าที่อะไรในประโยค มาจากธาตุ วิภัติ ปัจจัยอะไร เมื่อแปลตามตัวอักษรเช่นนี้แล้ว ท่านจะให้แปลเอาความ (แปลโดยอรรถ) อีกที ให้เป็นภาษาที่คนอื่นฟังเข้าใจ

อย่างประโยคนี้ ถ้าแปลโดยอรรถ หรือแปลเอาความก็จะได้ดังนี้ "ท่านบรรณาธิการบริหาร ชื่อเสถียร ตรวจตราต้นฉบับลายมือ อย่างพินิจพิเคราะห์" คราวนี้ผู้ไม่ได้เรียนบาลีก็ฟังเข้าใจ

ที่ว่ามานี้เป็นการแปลสองชั้น คือ ชั้นที่หนึ่งแปลโดยพยัญชนะหรือแปลตามตัวอักษร ชั้นที่สองแปลโดยอรรถ หรือแปลเอาความ

แต่ถ้าจะให้ "ลึก" กว่านั้น ต้องแปลถึงสามชั้น จึงจะเรียกว่าผู้แตกฉานแท้จริง นั่นก็คือ คำที่เป็นนามที่ทับศัพท์จนกลายเป็นคำธรรมสามัญเผลอๆ คิดว่าเป็นคำไทยแท้เสียอีกนั่นแหละ เอามาแยกแยะดูว่ามันน่าจะมาจากธาตุ (root) อะไร แล้วหาทางแปลให้ฟังเข้าท่า

ยกตัวอย่างเช่น กุกฺกุฏ ที่แปลว่าไก่จนเป็นคำธรรมดานั้น แปลตามรากของคำจริงๆ ว่า "สัตว์ผู้เขี่ยแผ่นดิน" มาจาก กุ (แผ่นดิน) + กุฏ (เขี่ย) รวมเป็นกุกฺกุฏ ด้วยประการฉะนี้

สุนัข ที่แปลกันจนชินว่าหมานั้น ตามรากศัพท์แปลว่า "สัตว์ผู้ขุดดี ขุดเก่ง" (ก็ขุดดินนั่นแหละ) มาจาก สุ (ดี, เก่ง) + ขน (ขุด) รวมเป็น สุขน แล้วเขียนกลับกันว่า สุนข (เขียนเป็นไทยว่า สุนัข)

บุคคล ที่แปลว่าคนทั่วไป ตามรากศัพท์แปลได้สองนัย คือ

(๑) สัตว์ผู้กลืนกินของเน่าเหม็น (ก็กินศพหมูเห็ดเป็ดไก่ทุกวันนั่นแหละครับ) มาจาก ปุ (=ปูติ ของเน่าเหม็น) + คล (เคลื่อนไป) รวมเป็น ปุคฺคล (เขียนเป็นไทยว่า บุคคล)

(๒) สัตว์ผู้มักเคลื่อนไปสู่นรก (แนวโน้มคนส่วนใหญ่ตกนรกมากกว่าขึ้นสวรรค์) มาจาก ปุ (นิริย นรก) + คล (เคลื่อนไป) รวมเป็น ปุคฺคล (เขียนเป็นไทยว่า บุคคล)

เมื่อเจาะลึกลงไปถึงขั้นนี้ ช่วยให้เข้าใจคำลึกขึ้น และนำไปอธิบายได้ละเอียดแจ่มแจ้งขึ้น

เคยได้ยินพระเถระท่านหนึ่งเทศน์ว่า ทำไมคนเรานี้ภาษาพระเรียกว่า "บุคคล" รู้ไหม บุคคล แปลว่า ผู้กินศพ แล้วท่านก็สาธยายว่าวันๆ กินศพปูปลาเป็ดไก่ลงในกระเพาะน่ะกี่สิบศพ ปีหนึ่งกี่พันกี่หมื่นศพ อีกนัยหนึ่งบุคคลแปลว่าผู้ชอบลงนรก ขึ้นชื่อว่าคนมักไม่ชอบทำบุญกุศล ส่วนมากล้วนแต่ผิดศีลผิดธรรมกันทั้งนั้น พวกนี้ตายแล้วไม่ไปไหนดอก โน่น แออัดกันอยู่ในขุมนรกโน่น

ผู้ฟังก็นั่งตาปริบๆ เห็นด้วยว่าพระคุณเจ้าเทศน์แจ่มแจ้งดี

การจะสามารถแจกแจงละเอียดถึงรากถึงโคนอย่างนี้ ต้องเป็นผู้บรรลุวิทยายุทธ์แห่งการแปลถึงขั้นที่สามดังกล่าวข้างต้นขอรับ



"โดย" พระองค์วรรณฯ ว่าถูกต้อง
ในคอลัมน์เล็กๆ นี้ผมเคยนำคำว่า "โดย" มาเขียน โดยเล่าว่า (เล่าจากความจำ) สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงทักว่าผิด พระองค์ทรงเคยเข้าใจผิดมาแล้ว ภายหลังจึงรู้ว่าผิด แต่ก็สายเกินแก้แล้ว ปัจจุบันนี้จึงยังใช้โดย (เช่น แต่งโดย...) อยู่

นึกอยู่นานว่า ผมไปจำข้อความนี้มาจากไหน เพิ่งนึกออกว่า เคยอ่านในหนังสือรวมวิทยาการท่านวรรณ เอามาเปิดดู แม่นอีหลีครับ มีในนั้นจริงๆ

เพื่อให้ได้ความโดยสมบูรณ์ (และเพื่อประหยัดเวลาเขียนต้นฉบับ-แค่ยี่สิบสามสิบบรรทัดก็ขี้เกียจแล้วครับ) จึงขออนุญาตคัดลอกมาลงจนจบ ดังนี้ขอรับ

ในหนังสือพิมพ์ "ประชาชาติ" มีจ่าหน้าซองอยู่ตอนหนึ่งว่า "วิเทโศบายของสยาม โดยหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ" มีบัณฑิตผู้คงแก่เรียนผู้หนึ่งแจ้งมาให้เราทราบว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เคยทรงท้วงว่า คำว่า "โดย" นี้ผิดหลักภาษาไทย การที่จะถือว่า "โดย" มาจาก "บาย" ของอังกฤษนั้นผิด เพราะว่า "บาย" ที่แท้ควรแปลว่า "ของ" ทรงอ้างว่า เคยเข้าใจผิดมาเมื่อ ๑๕ ปีก่อนโน้น

ภายหลังจึงทรงทราบความจริงว่า "บาย" นั้นจะนำมาใช้นำนามผู้แต่งว่า "โดย" เป็นผิดจากภาษาไทย เพราะคำว่า "โดย" ใช้ได้ในที่ใดแล้ว คำว่า "ตาม" ย่อมใช้ได้ใน ที่นั้น ทรงชักตัวอย่างเช่น "โดยเสด็จพระราชดำเนิน" มีค่าเท่ากับ "ตามเสด็จพระราชดำเนิน" ท่านบัณฑิตผู้กรุณาแจ้งความมาให้เราทราบนั้นได้ทูลเสนอไปว่า ความข้อนี้มีใช้กันแพร่หลายในภาษาไทย ทรงเห็นจริงด้วยแต่ก็ทรงยืนยันว่าผิดจากหลักของภาษาดังนี้

ความเช่นว่านี้เราก็เคยได้ยิน ทั้งเคยได้ยินท่านนักรู้ท่านเถียงกันด้วย แต่ความรู้สึกของเราออกจะเหมือนกับโอมาร์ คายาม ในเมื่อได้ยินปราชญ์ท่านเถียงกัน ดูท่านวนแล้วก็เวียน เวียนแล้วก็วน ในที่สุดเข้าประตูไหนแล้วก็ออกประตูเดียวกันนั้นเอง แต่เราพยายามจะขบปัญหา จะขบแตกหรือไม่ ขอท่านผู้อ่านได้มีขันติคุณพิจารณา

คำว่า "ของ" ในจ่าหน้าว่า "วิเทโศบาย ของสยาม" นั้น เป็นของหม่อมเจ้า วรรณไวทยากร ซึ่งทรงใช้จะให้รู้สึกว่าเป็นของสยาม, ของประชาชาติสยาม จริงๆ มิใช่ของรัฐบาลสยามในเฉพาะกาลเฉพาะสมัย ไม่ทรงใช้วิเทโศบาย เพราะ "สยาม" จะเป็นคุณศัพท์ไป ไม่ทรงใช้ว่า "แห่ง" เพราะว่า "แห่ง" ทำให้คิดถึง "ที่" แต่ถ้าใช้ว่า "ของสยาม" แล้ว สยามได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลขึ้น และบุคคลนั้นแลเป็นผู้ดำเนินวิเทโศบาย อันที่จริงก็ได้ทรงตั้งข่ายโครงไว้กว้าง เพื่อจะได้รวมทั้งประเทศสยาม หรืออีกนัยหนึ่งก็คือประชาชาติสยาม

ตามที่กล่าวมานี้ เราจะเห็นได้ว่า ในภาษาไทยเราถ้าใช้คำว่า "ของ" แล้ว ผู้สำเนียก ภาษาโดยละเอียดแล้วพึงเข้าใจว่าเป็นของ ในที่นี้วิเทโศบายก็เป็นของสยามและสยามเป็นเจ้าของวิเทโศบาย

ส่วนคำว่า "โดย" นั้น มิใช่ของหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร เป็นคำซึ่งบรรณา ธิการเติมลงไปโดยหน้าที่บรรณาธิการเป็นนักประพันธ์ซึ่งท่านทั้งหลายย่อมรู้จักแล้วจะเขียนว่าวิเทโศบายของสยามของหม่อมเจ้าวรรณไวทยากรหาได้ไม่ เพราะคงจะรักโศตบรรณาธิการ

และขอให้ท่านสังเกตดูอีกทีหนึ่งท่านจะเห็นว่า อาจตีความไปได้ว่าสยามของหม่อมเจ้าวรรณไวทยากรซึ่งเป็นการสมควรแหละหรือ?

หรือชักตัวอย่างความฝันของหลวงวิจิตรวาทการ จะมิแปลว่า ความซึ่งหลวงวิจิตรฯ ฝันหรือ?

แต่ถ้าใช้ว่าความฝันโดยหลวงวิจิตรฯ แล้วเราเห็นว่าได้ความที่ถูกต้อง กล่าวคือ ความฝันตาม (ฉบับ) หลวงวิจิตรฯ และมิใช่หลวงวิจิตรฯ ฝัน

เมื่อการใช้คำว่า "โดย" ได้ทำความถูกต้องและการใช้คำว่า "ของ" อาจมีความผิดไปฉะนี้ ท่านว่าไหนผิดไหนถูกก็แล้วแต่ วิจารณปัญญาของท่านเถิด

และบัดนี้เรามีพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์แล้วเราจะไม่ควรลืมเสีย ท่านนักรู้เคยท้วงเราว่าต้องเข้าใจว่า "เรื่อง" เติมหน้าสิ เราก็เออ ด้วย แต่เมื่อเติมคำว่า "เรื่อง" เข้าแล้วก็หนีความจริงไม่พ้น เรื่องความฝันของหลวงวิจิตรฯ ก็แปลว่าเรื่อง...ของหลวงวิจิตรฯ หรืออีกนัยหนึ่งหลวงวิจิตรฯ เป็นเจ้าของเรื่อง แต่ไม่จำเป็นจะแปลว่า หลวงวิจิตรแต่ง

อีกประการหนึ่งหลวงวิจิตรฯ อาจขายเรื่องนั้นเป็นสิทธิแก่นักประกาศนาการ (ปับลิเชอร์) กล่าวคือ ขายลิขสิทธิ์ให้แก่นักประกาศนาการ ถ้าเช่นนั้นแล้วท่านนึกหรือว่า หลวงวิจิตรฯ เป็นเจ้าของเรื่องนั้น? ถ้าเป็นเจ้า ของต้องมีกรรมสิทธิ์ คือมีสิทธิ์ใช้ประโยชน์สิ่งของนั้นได้ แต่ถ้าขายลิขสิทธิ์แล้วท่านใช้ประโยชน์เรื่องที่ท่านเองแต่งหาได้ไม่

พระยาอินทรมนตรีแต่งเรื่องคล้องช้างลงหนังสือนิพนธ์ของสยามสมาคม ยังต้องถือว่าเป็นการของสมาคมหาใช่เป็นของตัวท่านเองไม่ หรือพระยานิติศาสตร์ไพศาลได้ให้ลิขสิทธิ์คำอธิบายธรรมนูญการปกครองแผ่นดินของท่านแก่สมาคมคณะราษฎร ถ้ามาบัดนี้ท่านจะใช้ประโยชน์ในเรื่องที่ท่านแต่งนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสมาคมนั้นแล้ว สมาคมอาจฟ้องเอาค่าเสียหายจากท่านได้ ท่านจะเป็นเจ้าของอย่างไรได้?

นางแอเลค ทวีดี นักประพันธ์อังกฤษ ส่งหนังสือที่เขาแต่งมาให้เราอ่าน ยังกล่าวขวัญถึงความโอละพ่อของอารยโลกว่า ต้องซื้อหนังสือนั้นมาให้

หนังสือของนางแอเลค ทวีดี ซึ่งนาง แอเลค ทวีดี ต้องซื้อ ท่านฟังไม่ขัดหูบ้างหรือ? ถ้าท่านเปลี่ยนเป็น "โดย" ลองดูบ้างจะเป็นอย่างไร? หนังสือโดยนางแอเลค ทวีดี ซึ่งนางแอเลค ทวีดี ต้องซื้อหนังสือตาม (ฉบับ) ของนางแอเลค ทวีดี ซึ่งนางแอเลค ทวีดี ต้องซื้อ ดังนี้

ความจะไม่สนิทกว่ากันหรือ

บัดนี้เราวิจารณ์ตามหลักภาษาให้เห็นว่า "โดย" เป็นบุรพบทใช้นำหน้าชื่อ ผู้แต่งได้

พระคารมของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ตามที่ท่านบัณฑิตแจ้งมาให้เราทราบนั้นมีอยู่ว่า (๑) ผิดหลักภาษาไทย, ถ้าทรงหมายความว่าผิดสำนวนไทยแต่ก่อนแล้วเราเห็นพ้องด้วยพระกระแส เพราะว่าไทยไม่ชอบกรรมวาจก (passive voice) เหมือนกับภาษาฝรั่งเศสเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเวลาแปลบทกรรมวาจกในภาษาบาลีมาเป็นไทยจึงใช้ "อัน" แล้วแปลเป็นกรรตุวาจก (active voice) ไป

ถ้าจะให้เป็นสำนวนไทยแล้วควรให้จ่าหน้าเรื่องแล้วว่า คนนั้นคนนี้แต่ง หรือเรียบเรียงหรือแปล ฯลฯ อย่างเช่น "มัทนะพาธา หรือตำนานแห่งดอกกุหลาบ ละครพูดคำฉันท์ ๕ องก์ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ ทรงพระราชนิพนธ์"

แต่ถ้าจะใช้กรรมวาจก หรือจำเป็นจะใช้กรรมวาจกแล้ว จะต้องใช้บุรพบทว่า "โดย" (par)

ในภาษาไทยเราก็เช่นเดียวกัน เราขอสาธกตัวอย่าง ซึ่งเรานำมาจากพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๖ เพราะทรงรอบรู้หลายภาษา

"ผิดวินัย" ละครพูด ๓ องก์แปลงจากเรื่องภาษาอังกฤษชื่อ "เฟรนช์ลีฟว์" ของ เรจินัลด์บาร์กลีย์ โดยศรีอยุธยา คือ แปลง...โดย

หรืออีกอย่างหนึ่ง "โรเมโอและจูเลียต" เรื่องละครสลดใจของวิลเลียม เช็กสเปียร์ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้า เจ้าแผ่นดินสยาม ทรงแปลและประพันธ์เป็นภาษาไทย ดังนี้ เป็นอันตรงกับหลักที่เราแสดงมาแล้ว ทีเดียว

(๒) ตามคำที่เราได้รับนั้นสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ รับสั่งว่า การที่จะถือว่า คำ "โดย" มาจากคำ "by" ในภาษาอังกฤษนั้นเป็นผิด ทำไม? รับสั่งว่า "by" นั้นที่แท้ควรแปลว่า "ของ" ใครบอก? ใครว่า? เราเรียนอังกฤษมานานนักแล้วไม่เคยได้ยินได้ฟังเช่นนี้เลย และอันที่จริงตามที่เราหัดแปลแต่ชั้นประถมว่า "by" แปลว่า "โดย" นั้นก็เป็นอันถูกต้องแล้ว ถ้าแปลไปเป็นอย่างอื่นความก็ไม่ตรงกันเท่านั้นเอง ทำไมจึงควรแปลว่า "ของ" ไม่เห็นมีปรากฏเลย ตรงกันข้ามตามเหตุผลที่เราแสดงมาแล้วเราก็เห็นสมควรอย่างยิ่งที่จะแปลว่า "โดย" หรือถ้าเลี่ยงบุรพบทเสียได้ แล้วใช้กรรตุวาจกก็ยิ่งดี เพราะจะได้เป็นสำนวนไทยยิ่งขึ้น ถ้าใช้ "โดย" สะดวก ก็ควรใช้ "โดย" ไม่เห็นมีหลักอะไรที่จะแสดงว่าผิด

เราเคยได้ยินว่า ในพระบรมโกศทรงชี้แจงว่าผิด แต่ตามตัวอย่างพระราชนิพนธ์ ซึ่งเราได้กล่าวมาแล้วเราเห็นว่าในพระบรมโกศทรงดำเนินตามหลักอย่างเดียวกับเรา หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องก็คือ เราเดินตามหลักเดียวกับพระองค์ท่าน

หรืออีกนัยหนึ่ง เราโดยเสด็จพระบรมครู

(๓) ตามข่าวที่เราได้รับ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงอ้างว่าเคยเข้าใจผิดมาเมื่อ ๕๐ ปีก่อนโน้น ภายหลังจึงทรงทราบความจริงว่า "โดย" นั้นจะใช้นำหน้า ผู้แต่งว่า "โดย" เป็นผิดจากภาษาไทย เพราะคำว่า "โดย" ใช้ในที่ใดแล้วคำว่า "ตาม" ย่อมใช้ได้ในที่นั้น ทรงชักตัวอย่างเช่น "โดยเสด็จพระราชดำเนิน" มีค่าเท่ากับ "ตามเสด็จพระราชดำเนิน"

สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ย่อมทรงสันทัดในโบราณคดี ฉะนั้นที่ทรงเข้าพระทัย ๕๐ ปีก่อนโน้นเป็นอันถูกต้องแล้ว และความจริงซึ่งรับสั่งว่าเพิ่งทรงทราบนั้น ตามความเห็นของเรากลับตรงกันข้ามกับความเป็นจริงที่ถูกต้อง เพราะตามความเป็นจริง "by" ก็ยังคงเป็น "โดย" อยู่นั่นเอง

ซึ่งทรงเข้าพระทัยว่า "โดย" กับ "ตาม" ใช้แทนที่กันได้เสมอไปนั้น ยังหาตรงกับความเป็นจริงไม่ ท่านลองใช้ "ตามสาร" แทน "โดยสาร" ดูซิ จะได้ค่าได้ความเท่ากันไหม?

ตามหลักภาษาซึ่งข้าพเจ้าแสดงมาแล้ว คำ ๒ คำถ้าเสียงต่างกันแล้วย่อมมีความหมายต่างกัน อาจต่างกันอย่างละเอียด ผิดแผกกันแต่นิดหน่อยเท่านั้นก็ได้ แต่ก็ยังมีความหมายต่างกันอยู่ดี ในที่นี้ทั้ง "โดย" ทั้ง "ตาม" เป็นคำเขมร "ตาม" เป็นกริยา "โดย" เป็นบุรพบท เพราะฉะนั้นเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยความหมายย่อมจำแนกออกไปจากกัน เช่น "ตามที่..." ใช้แสดงความเป็นจริง และ "โดยที่..." ใช้แสดงเหตุ เป็นต้น เพราะฉะนั้นจะว่า "โดย" กับ "ตาม" แทนที่กันได้นั้นหาได้ไม่ ถึงแม้ว่า "โดยเสด็จ" กับ "ตามเสด็จ" ก็มีความหมายต่างกัน

เมื่อเราได้ทราบข่าวว่าเจ้านายจะเสด็จไหน ถ้าเราขอโดยเสด็จเราอาจหมายแต่เพียงว่าเราขอติดขบวนไปด้วย แต่ไม่ได้อยู่ในขบวน ส่วนผู้ที่อยู่ในขบวนนั้นตามเสด็จ หรือผู้โดยเสด็จอาจเป็นสักแต่ว่าไปด้วย แต่ไม่ได้ตามติดอยู่ก็เป็นได้

เช่น ผู้โดยเสด็จในพระบรมโกศไปสิงคโปร์บางคน เป็นแต่โดยเสด็จไม่ได้ ตามเสด็จ จึงได้เกิดเหตุลำบากขึ้นดังนี้ เป็นอัน พูดได้ และได้ความละเอียดด้วยสำหรับผู้ที่รู้กรณี

(๔) ท่านผู้ที่มาเขียนถึงเราได้ทูลเสนอว่า ความข้อนี้มีใช้กันแพร่หลายทรงเห็นจริงด้วย แต่ก็ทรงยืนยันว่าผิดจากหลักของภาษา

การที่ใช้กันแพร่หลายก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งแห่งหลักของภาษา แต่ถ้าได้แสดงว่าการที่ใช้นั้นไม่ชอบด้วยเหตุผลแล้ว ก็ควรแก้เสียใหม่ให้ถูกต้องด้วยเหตุผล

ในที่นี้เราเห็นว่า "โดย" เป็นบุรพบทที่ถูกต้องแล้วสำหรับใช้กับกรรมวาจก เราเคยได้ยินว่า หมอแบรดเลย์เป็นคนคิดขึ้น จะเท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ แต่บัดนี้เราใช้กันเช่นนั้น และเป็นการชอบด้วยเหตุผลด้วย ตรงกับคำอังกฤษว่า "by" หรือฝรั่งเศสว่า "par" เพราะทั้ง ๒ คำนั้นแสดงหนทางที่เดิน เหมือนกับคำว่า "โดย" เหมือนกัน แล้วก็ขยายออกใช้แสดงเหตุแล้วจึงใช้สำหรับการกผู้บันดาลให้เกิดการกระทำในกรณีกรรมวาจก

เฉพาะเท่าที่ใช้นำหน้านามผู้แต่งเราเห็นว่าเหมาะแก่ความหมายด้วย คือ โดย (ตาม) (ที่)...(แต่งหรือแปล ฯลฯ) หรือตามที่เราใช้ในวันก่อนว่า "ตาม (ฉบับ)..."



มรรคนายก-มรรคทายก
สองสามวันก่อนเขียนต้นฉบับนี้ พบรองศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ท่านบ่นว่าเบอร์โทรศัพท์ที่ให้ไว้กี่เบอร์ติดต่อไม่ได้ จ.ส.๑๐๐ ตามตัวอยู่

ผมถามว่าตามตัวผมเรื่องอะไร มรรคนายก หรือมรรคทายก ถูกกันแน่ เขาต้องการคำยืนยัน ว่าอย่างนั้น ผมไม่ค่อยได้เปิด จ.ส.๑๐๐ ฟังเหมือนเมื่อก่อน จึงไม่รู้ว่าเขาถกเถียงเรื่องอะไรกันบ้าง

มรรคนายก แปลตามศัพท์ว่า "ผู้นำทาง" พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ ของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ให้คำจำกัดความและคำอธิบายไว้ว่า

"ผู้นำทาง" ผู้แนะนำจัดแจงในเรื่องทางบุญทางกุศล และเป็นหัวหน้านำชุมชนฝ่ายคฤหัสถ์ในศาสนพิธีตามปกติทำหน้าที่อยู่ประจำกับวัดใดวันหนึ่ง เรียกว่าเป็นมรรคนายกวัดนั้นๆ ผู้นำทางบุญของเหล่าสัตบุรุษ

คงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม เพราะที่ท่านอธิบายไว้ก็ชัดเจนแล้ว มรรคนายกส่วนมากประจำอยู่วัดใดวัดหนึ่ง เรียกว่า มรรคนายกวัด เช่น ขรรค์ชัย บุนปาน มรรคนายกวัดหนัง บางขุนเทียน เสฐียรพงษ์ วรรณปก มรรคนายกวัดทองนพคุณ

ตำแหน่งนี้ไม่มีเงินเดือนกินครับ

ส่วน "มรรคทายก" แปลตามศัพท์ว่า ผู้ให้ทาง, ผู้ชี้ทาง ส่วนมากใช้เรียกสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้ชี้แนะทางพ้นทุกข์ให้เหล่าเวไนยนิกรทั้งหลาย ดังพุทธวจนะตรัสไว้ว่า (ขอเขียนแบบไทย) "อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง อักขาตาโร ตะถาคะตา = พึงรีบเร่งทำความเพียรเสียแต่วันนี้ พระตถาคต ทั้งหลายเป็นเพียงผู้ชี้บอกหนทางเท่านั้น"

สรุป คนที่ทำหน้าที่แนะนำคนให้ทำบุญทำกุศล จัดแจงทุกอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้เรียกว่า "มรรคนายก" ไม่ใช่ "มรรคทายก"

ที่คนส่วนมากเรียกติดปากว่า มรรคทายก เพราะไปสับสนกับคำว่า "ทายก" (ผู้ให้, ผู้ถวายทาน) คำนี้ใช้คู่กันกับ "ปฏิคาหก" (ผู้รับทาน คือภิกษุสงฆ์)

สรุป (อีกที) ผู้ถวายทานแก่พระสงฆ์เรียกว่า "ทายก" ผู้เป็นผู้นำในการทำบุญทำกุศลเรียกว่า "มรรคนายก" ไม่ใช่มรรคทายก



ธนาคารอารมณ์
คําว่า ธนาคาร มาจาก ธน (ทรัพย์) - อาคาร (ตึก, บ้าน, เรือน, โรง, สถานที่)

รวมกันแล้วธนาคารก็แปลว่า อาคารที่เก็บทรัพย์ ธน ในที่นี้เดิมก็หมายถึงเงินตราเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อแปลธนว่าทรัพย์ ความหมายก็ขยายออกไป เพราะทรัพย์ (สันสกฤต = ทรพฺย) หมายถึง สมบัติ หรือสิ่งของที่มีค่าอื่นๆ ด้วย มิใช่เพียงเงินตราอย่างเดียว

เพราะฉะนั้นธนาคารจึงควรแปลว่า สถานที่เก็บเงินตรานี้เป็นความหมายเดิม

แต่คำศัพท์บางคำบางครั้งก็ขยายขอบเขตและความหมายให้กว้างออกไปตามความนิยมของผู้ใช้ บางคำซ้ำร้ายความหมายเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือก็มี เช่นคำว่า สงสาร (เดิมแปลว่าท่องเที่ยว, เวียนเกิดเวียนตายในภพชาติต่างๆ) อาวุโส (เดิมแปลว่า ผู้มีอายุ (น้อย) เป็นคำผู้ใหญ่เรียกผู้อายุน้อยกว่า) ความหมายที่เราใช้กันในปัจจุบันเป็นคนละเรื่องกับความหมายเดิม

ปัจจุบันนี้อะไรก็ตามที่เก็บรวมกันไว้มากๆ เพื่อใช้ประโยชน์ (แก่ตนและสังคม) ก็อนุโลมให้เรียกธนาคารได้ เมื่อใช้อย่างนี้คำว่าธนาคารไม่ได้แปลว่า "สถานที่เก็บเงินตรา" หากแปลว่า "สถานที่เก็บ" เฉยๆ เช่น

ธนาคารควาย ไม่ได้แปลว่าสถานที่เก็บเงินตราของควาย แต่แปลว่าสถานที่เก็บควาย

ธนาคารข้าว ไม่ได้แปลว่าสถานที่เก็บเงินตราของข้าว แต่แปลว่าสถานที่เก็บข้าว

ที่แล้วมาเท่าที่ทราบก็มีอยู่สองคำนี้เท่านั้น

เพิ่งจะได้ยินอีกธนาคารหนึ่งคือ ธนาคารอารมณ์ เป็นศัพท์บัญญัติของมาม่าซังอ้อย บีเอ็ม หรือนางจินตนา บุนนาค

เหตุเกิดเมื่อมีส.ส.ผู้ทรงเกียรติท่านหนึ่งระบุว่า ถ้าใครอยากรู้จักนายชิงชัย มงคลธรรม ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ ต่อจากนายสุชวิช รังสิตพล ให้ไปถามอ้อย บีเอ็ม จึงให้สัมภาษณ์ว่า เธอรู้จักนักการเมืองในทำเนียบหลายคน เพราะหลายท่านก็เคยมาใช้ "ธนาคารอารมณ์" ของเธอบ่อยครั้ง แล้วก็ระบุนักการเมืองดังๆ จนสะดุ้งไปตามๆ กัน แต่นั่นก็ช่างเถิด มาว่าถึงความหมายของศัพท์นี้ดีกว่า

ตามบริบทที่มาม่าซังกล่าวถึงนั้น คำนี้น่าจะหมายถึง "สถานที่เก็บอารมณ์" หรือจะให้ตรงก็น่าจะเป็น "สถานที่ระบายอารมณ์" หรือจะให้ตรงก็น่าจะเป็น "สถานที่ระบายอารมณ์ใคร่" มากกว่า

ไม่น่าจะแปลเป็นอย่างอื่นได้


ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มิถุนายน 2561 16:24:58 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #49 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2561 15:49:57 »



ทำบุญทำทาน

คําบาลีมากมายหลายคำที่นำมาใช้เป็นคำไทยแล้ว มากมักจะ "เพี้ยน" ไปจากเดิมมากบ้างน้อยบ้าง น้อยคำนักที่ยังคงมีความหมายเหมือนเดิม

บุญ กับ ทาน เป็นหนึ่งในหลายคำที่พูดถึง

บุญ ในความเข้าใจของชาวบ้านทั่วไปหมายถึง การทำในสิ่งที่ดีในพระพุทธศาสนา หรือแก่บุคคลในพระพุทธศาสนา และสิ่งที่ดีนั้นหมายเอา ทาน หรือการให้เท่านั้น เพราะฉะนั้น การให้ (ทาน) คือการทำบุญ

พูดอีกนัยหนึ่ง การทำบุญในความหมายของชาวบ้านทั่วไป หมายเอาการให้ (ทาน) เท่านั้น มักจะไม่หมายถึงอย่างอื่น

เราจึงมักได้ยินคำพูดติดปากว่า "ทำบุญทำทาน"

ความจริง ทาน (การให้) เป็นเพียงวิธีหนึ่งของการทำบุญ พระพุทธเจ้าตรัสวิธีการทำบุญไว้ ๑๐ วิธี แต่สรุปลงเป็น ๓ คือ

๑. ทาน (การให้) เช่น ให้ข้าวให้น้ำหรือ ให้วัตถุสิ่งของอย่างอื่น เรียกว่า "อามิสทาน" (ให้สิ่งของ) ให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เช่น แนะนำให้รู้ผิดชอบชั่วดี เรียก "ธรรมทาน" (ให้ธรรม, ให้สิ่งที่ถูกต้องดีงาม) ตลอดถึงให้ชีวิต ไม่ฆ่าไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย เรียก "อภัยทาน"

๒. ศีล (รักษากายวาให้เรียบร้อย) งดเว้นจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทางกาย ทางวาจา (ทางใจไม่รวมด้วย) เช่น ศีล ๕ ศีล ๘ อย่างนี้ก็เป็นวิธีทำบุญอย่างหนึ่ง

๓. ภาวนา (การพัฒนาจิต) ฝึกฝนจิตให้สงบและให้รู้ให้เข้าใจโลกและชีวิต ถ้าพูดเต็มรูปก็หมายถึงการฝึกสมาธิและวิปัสสนา (สมาธิ= ความสงบ, วิปัสสนา= ความเข้าใจแจ่มแจ้ง) ชาวบ้านทั่วไปเพียงแค่ได้สวดมนต์ไหว้พระ แผ่เมตตา ทำจิตให้สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน มีสุขภาพจิตที่ดีพอสมควร ก็เรียกได้ว่าทำภาวนาแล้ว

การทำภาวนาอย่างนี้ก็นับเป็นวิธีทำบุญอีกอย่างหนึ่ง

คนโบราณเวลาจะถวายทาน ท่านมักจะพากันรับศีล และทำวัตรสวดมนต์ไปพร้อมๆ กัน ท่านอธิบายว่าทำครั้งเดียวได้ทำบุญครบทั้ง ๓ วิธี (หรือทำบุญครบวงจร) คือได้ทำทั้งงาน ทั้งศีล และภาวนา ท่านว่าอย่างนั้น

สรุป การทำบุญมิใช่แค่ทาน หากรวมถึงรักษาศีลและเจริญภาวนาด้วย



ราหู

ราหู ตัวดำๆ มีประวัติความเป็นมามัวๆ ซัวๆ ดุจดังสีของแกไม่ผิด ตำราไสยศาสตร์ บอกว่า ราหูเป็นลูกแทตย์นามว่า เวปจิตติ กับ นางสิงหิกา เกิดมามีหางเป็นนาค (งูใหญ่) อยู่ในอากาศมีวิมานสีนิล มีครุฑเป็นพาหนะ

ตามตำรานพเคราะห์กล่าวว่า ราหูนั้นพระอิศวรเอาหัวผีโขมด ๑๒ หัวสร้าง สร้างเสร็จก็เอาน้ำอมฤตพรมนับเป็นลำดับที่ ๘ ของดาวนพเคราะห์ และสมมติว่าราหู เงาของโลก บ้างก็ว่าเป็นตัวแทนของโลก เลยทีเดียว พูดกันง่ายๆ ว่าโลกเรานี้แหละคือราหู (มิน่าล่ะ ถึงได้ลุ่มหลงมัวเมานักหนา)

ราหูเชื่อกันว่ามีครึ่งท่อน สาเหตุที่มีครึ่งตัว มีเล่าไว้สองตำราขัดแย้งกัน

ตำราหนึ่งเล่าว่า เมื่อเหล่าเทพยดาทำพิธีกวนเกษียรสมุทรอยู่นั้น ราหูแกก็อยากกินน้ำอมฤตบ้าง จึงแปลงเป็นเทวดาแฝงกายมาใน หมู่เทพแอบกินน้ำอมฤตหลายกั๊ก พระอาทิตย์กับพระจันทร์เห็นเข้า จึงเข้าไปกระซิบพระวิษณุ (นารายณ์) พระวิษณุก็โกรธเอาจักรขว้างราหูเป็นสองท่อน เนื่องจากแกกินน้ำอมฤตเข้าไป จึงไม่ตาย ท่อนหัวลอยอยู่ในอากาศเป็นราหู ท่อนหางเป็นดาวเกตุ

ดาวเกตุนี้แหละเป็นดาวจุติหรือ "ผีพุ่งไต้"

ราหูแกเลยจองเวรจองกรรมกับพระอาทิตย์และพระจันทร์ วันดีคืนดีมันจึงไล่อมไล่งับพระจันทร์และพระอาทิตย์ เกิดปรากฏการณ์ "กบกินเดือนกินตะวัน" หรือจันทรุปราคา สุริยุปราคา ดังที่ทราบกัน

ทำไมทางโหรเขาถึงว่าดาวราหูเป็นศัตรู กับดาวอาทิตย์ และดาวจันทร์ ก็ด้วยเหตุนี้แล ท่านผู้เจริญ

อีกตำราหนึ่งกล่าวว่า สมัยหนึ่งพระเสาร์เกิดเป็นพญานาค อาทิตย์เกิดเป็นพญาครุฑ พระพฤหัสบดีเป็นพระอินทร์ พญาครุฑอยากกินพญานาค จึงไล่ล่าพญานาค พญานาคกลัว หนีไปพึ่งพระราหู พระราหูช่วยขับไล่พญาครุฑ หนีไปยังสำนักพระอินทร์ พระราหูตามไปติดๆ ไม่ทันเพราะครุฑแกเข้าไปในที่ปลอดภัยแล้ว บังเอิญราหูแกหิวน้ำจึงแอบไปกินน้ำอมฤต พระอินทร์เห็นเข้าก็พิโรธเอาจักรเพชร ขว้างราหูขาดสองท่อน

ราหูแกกินน้ำอมฤตเข้าไปแล้ว จึงไม่ตาย ที่ว่าราหูกับเสาร์เป็นคู่มิตรกัน พฤหัสกับอาทิตย์ เป็นศัตรูกับพระราหูด้วยประการฉะนี้

ราหูนั้นมักจะเขียนเป็นสองแบบ เป็นแทตย์ (หน้าดุคล้ายยักษ์) มีหางเป็นนาค (งูใหญ่) อยู่ในอากาศ สีกายเป็นสีทองสัมฤทธิ์ (ดำหลัว) มีสุวรรณเป็นอาภรณ์ มีสองมือ อีกอย่างหนึ่งเขียนเป็นรูปแทตย์ มีท่อนหัวท่อนเดียวสีทองสัมฤทธิ์ มักทำเป็นรูปอมพระจันทร์

สมัยก่อนเวลาเกิดราหูอมจันทร์และอาทิตย์ เขามักตีเกราะเคาะกะลา จุดประทัดไล่ ราหูตามประสาคนโบราณผู้ไม่รู้ปรากฏการณ์ ธรรมชาติ สมัยนี้เอาของดำ (ซื้อหาแพงๆ เช่น ไก่ดำ) ไปไหว้ราหู ว่าคนโบราณโง่แล้วคนสมัยนี้โง่กว่า เพราะเพียงเกราะกะลาอะไรนั้นไม่ต้องเสียเงินเสียทองซื้อหา แต่ของดำตั้ง ๘ อย่าง ต้องจ่ายเงินเป็นร้อยเป็นพัน

ฉลาดอยู่คนเดียวคือคนที่บัญญัติพิธีบูชา ราหูนั่นแหละ เกิดราหูอมจันทร์อมอาทิตย์ ทีแกฟาดไปหลายหมื่นหลายแสน

ความเชื่อเรื่องราหูอมพระอาทิตย์และพระจันทร์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "กบกินตะวัน กบกินเดือน" มีแพร่หลายสมัยโบราณ จนผู้รวบรวมพระไตรปิฎกเอามาใส่ไว้ในพระไตรปิฎก ทำนองจะให้เชื่อว่าเป็นคำพูดคำตรัสของพระพุทธเจ้า

ท่านพุทธทาสบอกว่าเป็นเรื่องแปลกปลอมมาภายหลัง และยังว่าต่อไปอีกว่าพระไตรปิฎกนั้นตัดส่วนเกินออกสัก ๓๐ เปอร์เซ็นต์ เหลือไว้เพียง ๗๐ เปอร์เซ็นต์ก็เพียงพอที่น่าไปปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ได้

ครั้นถามว่าตัดส่วนไหนล่ะ ท่านก็ว่า เช่น สุริยสูตร จันทิมสูตร ที่ว่าด้วยราหู ไล่อมพระอาทิตย์และพระจันทร์นี้เป็นต้น

นั่นเป็นความเห็นของนักปราชญ์ เราไม่ทราบว่าจริงๆ แล้ว พระสูตรทั้งสองนี้มีคนเพิ่มเข้ามาภายหลัง หรือว่ามีมาแล้วตั้งแต่ต้น ถ้าเพิ่มเข้ามาภายหลังจริงท่านมีเหตุผลอย่างไร

เรื่องอย่างนี้ ฟังๆ ไว้ก็แล้วกัน

เรื่องราวมีว่า ราหูวิ่งไล่งับพระอาทิตย์และพระจันทร์ (เรื่องราวเกิดขึ้นต่างวาระกัน) พระอาทิตย์และพระจันทร์กลัว เปล่งวาจาขอความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า ว่าตนตกอยู่ในภาวะคับขัน ขออาศัยพระพุทธคุณเป็นที่พึ่ง ราหูได้ยินดังนั้นก็กลัวปล่อยพระจันทร์และพระอาทิตย์วิ่งไปสั่นงั่กๆ ต่อหน้าเวปจิตติอสุรินทร์ ผู้เป็นหัวหน้าอสูร ครั้นถูกถามว่า กลัวอะไรนักหนาจึงตัวสั่นงันงกอย่างนี้ ราหูก็เล่าความให้ฟัง

ผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่า พระสูตรทั้งสองนี้ ถ้าใครแปลตามตัวอักษรก็แสดงว่าเข้าไม่ถึง "แก่น" ท่านเอาความเชื่อของคนสมัยก่อนมาผูกเรื่องเพื่อ "สื่อ" แก่นพระธรรม มิได้ต้องการให้เชื่อตามเรื่องราวที่เล่าสืบกันมา

ท่านที่ว่านี้คือ พระธัมมสังคาหกาจารย์ (อาจารย์ผู้รวบรวมพระไตรปิฎก) ท่านต้องการแสดงพุทธานุภาพ ว่ามีพลังศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะจริง ราหู ในที่นี้หมายถึงโมหะอวิชชา ความไม่รู้ถึงอริยสัจ (ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้วิธีปฏิบัติเพื่อดับทุกข์)

ตราบใดที่สัตว์โลกยังถูกโมหะอวิชชา "อม" อยู่ โลกก็จะมีแต่ความมืดมนไม่ต่างอะไรกับปรากฏการณ์ "กบกินตะวัน กบกินเดือน" มนุษย์พึง "ไล่" ความมืดออกจากใจตนให้ได้ นั่นคือยึดเอาพระคุณของพระเป็นที่พึ่ง สวดพุทธานุสติ รำลึกถึงพระคุณของพระผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง แล้วความมืดมิดด้วยอำนาจโมหะอวิชชาก็จะหายไป ดุจดังปรากฏการณ์ราหูปล่อยพระอาทิตย์และพระจันทร์ แสงสว่างก็เกิดขึ้นฉะนั้น

พระสูตรทั้งสองสูตรนี้เน้น "พุทธานุภาพ" เน้นว่าผู้ที่ถึงพระพุทธเป็นสรณะย่อมพ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง ถ้ามองในแง่นี้ เรื่องกบกินตะวัน กบกินเดือน ที่ใส่ไว้ในพระไตรปิฎก ก็มิใช่เรื่องเหลวไหล

เหลวไหลที่คนอ่านเจาะไม่ทะลุถึงแก่นเองต่างหาก



เสือไบ-ทฺวิลิงคิก

ผมไม่ได้ฟังอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีที่ผ่านไปเมื่อไม่นานนี้ ที่ไม่ได้ฟัง ไม่ใช่เพราะไม่มีเวลา แต่ไม่อยากฟัง คอยอ่านรายงานจากหนังสือพิมพ์ก็ได้ทราบข่าวเหมือนกันว่าใครพูดอย่างไร

ข่าวออกมาว่า ฝ่ายรัฐบาลวางแผนดัดหลังฝ่ายค้าน โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ว่า ถ้าฝ่ายค้านเล่นเรื่องส่วนตัวของฝ่ายรัฐบาล ให้เอา "เสือไบ" ออกมาสู้ แล้วก็ปรากฏว่า ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเดินแจกเอกสารเรื่อง "เสือไบ"

ทีแรกนึกว่า "เสือไบ" ซึ่งเป็นชื่อของโจรผู้ดีพระเอกในหนังสือ ป.อินทรปาลิต ที่ผมเคยอ่านเมื่อสมัยเป็นเด็ก แต่เห็นสะกดคำนี้ว่า "ไบ" จึงสงสัยว่าเอกสารเรื่อง "เสือไบ" คืออะไร เสือไบ คือใคร

เพื่อนที่นั่งข้างๆ บอกว่าก็ Bisexual ไงถึงได้ถึง "บางอ้อ"

ไบเซ็กชวล เป็นคำเรียกคนที่มีความสามารถกระทำ "เมถุนธรรม" ได้กับทั้งสองเพศ คือ เป็นชายก็ได้ เป็นหญิงก็ได้ คำนี้กลายมาเป็นสแลงในภาษาไทยเสียแล้ว และทำท่าจะอยู่นานเสียด้วย เพราะเท่าที่ทราบก็เกิดมานานแล้ว มติชนกำลังรวบรวมผู้เชี่ยวชาญทำพจนานุกรมไทยฉบับมติชนอยู่พอดี เห็นว่าจะเก็บคำที่สื่อสารกันอยู่ในปัจจุบันให้มากที่สุด คำ "เสือไบ" คงจะได้รับเกียรติบรรจุในพจนานุกรมเล่มนี้ด้วย แต่ก็คงต้องให้คำนิยามให้ชัดเจน อย่างที่ผมอธิบายข้างต้นไม่ทราบว่าพอใช้ได้หรือไม่

เห็น (ความจริงไม่เห็น อ่านจากข่าว) คุณเสนาะ เทียนทอง ท่านว่าตัวท่านเป็นลูกผู้ชายพอ เอาความจริงมาพูดกัน ท่าน "ไม่ได้ลักปิดลักเปิดเข้าประตูหน้า ประตูหลัง" บางทีคำจำกัดความของคำ "เสือไบ" คงต้องมี "คือคนที่เข้าใจทั้งประตูหน้าและประตูหลัง" ด้วยหรือเปล่า กรรมการจัดทำพจนานุกรมฯ คงจักต้องพิจารณา

มีผู้ถามว่า "เสือไบ" น่าจะตรงกับคำอะไรในบาลี และถ้าจะนำมาแปลงให้เป็นคำไทยควรจะเป็นอย่างไร ผมคว้า "ดิกชันนาเร" (ภาษาของหมอบรัดเล) อังกฤษ-บาลี ของ พุทธทัตตะมหาเถระ ท่านให้ไว้ ๒ คำคือ ทฺวิลิงคิก กับ อุภโตพยัญชนก

ทฺวิลิงคิก แปลว่าคนสองเพศ อุภโตพยัญชนก หมายถึง คนที่มี ๒ เพศปรากฏ (หมายเอาทั้งคนที่มีอวัยวะเพศทั้งสอง หรือคนที่ทำหน้าที่ได้ทั้งสองเพศ คือเป็นผู้ให้ก็ได้ เป็นผู้รับก็ได้) คำหลังมีอยู่พระไตรปิฎก พระ พุทธเจ้าห้ามคนประเภทนี้บวช

ผมมีความรู้ทั่วไปน้อย ไม่เข้าใจว่า ทำไม ส.ส.ฝ่ายค้านจึงกลัวคำว่า "เสือไบ" จนต้องเป็นจุดอ่อนให้ฝ่ายรัฐบาลยกเอามาขู่

คำนี้ถ้าจะหาคำไทยที่เหมาะสมน่าจะเป็น "ทฺวลิงคิก" แล้วแผลงเสียหน่อยให้เข้าลิ้นไทยเป็น ทฺวลิงคิก



กเฬวร-กเฬวราก

คํานี้เดิมเป็นภาษาบาลี เขียนว่า กเฬวร เขียนอีกอย่างว่า กลเวร, กเลพร สันสกฤตเขียน กลเวร ความจริงแปลว่า อัตภาพ, ร่างกาย ธรรมดาๆ นี้เอง

ถ้าจะพูดถึงซากศพ บาลีมักใช้คำว่า ฉว, กุณป, มตกสรีร ถ้าพูดถึงซากศพที่เน่าเหม็นมักจะใช้ อสุภ(สิ่งที่ไม่งาม)

ส่วนคำ กเฬวร นั้น หมายถึงร่างกาย หรือ อัตภาพ แต่ต่อมาความหมายแคบเข้า หมายถึงร่างกายของคนตาย หรือซากศพ

ซากศพเป็นสิ่งที่พึงขจัดทิ้ง เก็บไว้นานก็เน่าเหม็นน่ารังเกียจ แม้ว่าก่อนสิ้นลม ร่างนี้แหละใครๆ ก็หลงใหลได้ปลื้ม แย่งกันหวังชื่นชมแต่พอกลายเป็นซากศพแล้วให้เปล่าก็ไม่มีใครเอา ดังกรณีนางสิริมา

นางสิริมาเป็นน้องสาวหมอชีวก เป็น "นครโสเภณี" (สมัยพุทธกาล นครโสเภณี เป็นตำแหน่งพระราชาทรงตั้ง ดูเหมือนจะมีเงินเดือนกินด้วย) เล่าลือกันว่านางสวยมากทำเงินเข้าประเทศได้เดือนละไม่น้อย พระหนุ่มรูปหนึ่งอยากเห็นว่างามขนาดไหนถึงไปบิณฑบาตที่บ้านนาง บังเอิญเช้านั้นนางป่วย ให้สาวใช้มาพยุงใส่บาตร พระหนุ่มรำพึงว่า นี่ขนาดป่วยหนักยังงามปานนี้ ถ้าไม่ป่วยเธอจะงามเพียงใด กลับไปถึงวัดข้าวปลาไม่ฉัน นอนคลุมโปงครางฮือๆ เพราะโดนศรกามเทพเข้าให้แล้ว

นางสิริมาตายในวันนั้นเอง

พระพุทธเจ้ารับสั่งไม่ให้เผานางสิริมา ให้นำศพไปไว้ที่ป่าช้าผีดิบ ประกาศว่าพระองค์จะไปดูนางสิริมา ใครจะไปบ้าง พระหนุ่มได้ยินก็รีบตามไปยืนอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์พระพุทธองค์ พระพุทธองค์ให้ประกาศว่าใครอยากได้นางสิริมาให้จ่ายพันกหาปณะ เงียบ ไม่มีใครเอา "ถ้าเช่นนั้น ให้เปล่า" เงียบเช่นเดิม

พระพุทธองค์ทรงหันไปทางภิกษุหนุ่มตรัสว่า เห็นหรือยังว่าร่างกายนี้ สมัยยังมีชีวิตอยู่ ใครอยากได้อภิรมย์เพียงครู่เดียว ต้องจ่ายถึงพันกหาปณะ บัดนี้ให้เปล่าๆ ก็ไม่มีใครเอา

ภิกษุหนุ่มได้คิด พากเพียรบำเพ็ญภาวนาไม่นานก็บรรลุธรรมชั้นสูง

กเฬวร คนไทยออกเสียงเป็น กเฬวรากบ้าง กะเลวกะราดบ้าง กะเลวกระลาดบ้าง มักหมายถึงคนเลว คนไม่เอาไหน ไม่มีค่าควรนับถือ คนที่ถูกเรียกว่า กเฬวราก หรือ กะเลวกะราด มักจะเป็นนักการเมือง(บางคน...ก็หลายคนพอสมควร)

ไม่รู้เหมือนกันว่านักการเมืองมีเวรมีกรรมอะไรนักหนา จึงถูกจัดเป็นซากศพเน่าเหม็นที่ควรขจัดทิ้ง



ตักกสิลา-ตักสิลา-ตักศิลา

มีคนตั้งสมญานามให้จังหวัดมหาสาร คามว่า "ตัก-กะ-สิ-ลา-นะ-คอน" ทั้งๆ ที่ไม่น่าจะมีอะไรเด่นนักหนา แต่ช่างเถอะ ผมเห็นว่าคำนี้เขียนกันไปต่างๆ นานา ตักศิลา บ้าง ตักกสิลา บ้าง หาความเป็นเอกภาพไม่ได้ ผมเคยเห็นหนังสือ นักศึกษามหาวิทยาลัย ตักกสิลา ของอาจารย์เสฐียร พันธรังษี ก็มีแนวโน้มเอียงว่า น่าจะเขียนตามท่าน แต่ก็ไม่แน่ใจ จึงเรียนขอปรึกษาอาจารย์ว่า ที่ถูกควรเขียนอย่างไร คนในมหาสารคามจะได้เขียนเหมือนกันเสียที

"ธีรชัย บุญมาธรรม"

คำถามข้างต้นมาจาก อาจารย์ธีรชัย บุญมาธรรม ปรึกษาว่าจะเขียนอย่างไรถูก คนในมหาสารคามจะได้เขียนเหมือนกันเสียที บังเอิญคนมหาสารคามที่ตอบจดหมายนี้ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

คำนี้เดิมบาลีเขียนว่า ตักกสิลา ตัว ก สองตัว ส เสือ อ่านว่า "ตัก-กะ-สิ-ลา" สันสกฤตเขียน ตักกศิลา อ่านว่า "ตัก-กะ-ฉิ-ลา" ถ้าไม่สะกดแบบสันสกฤตก็จะเขียนกันอยู่สองอย่างคือตักกสิลา กับ ตักสิลา ถ้าเพิ่มแบบสันสกฤตก็จะมีถึงสี่อย่าง(คือเพิ่ม ตักกศิลา กับ ตักศิลา)

รูปบาลีหรือสันสกฤต แล้วแต่ใครจะเลือกใช้ อย่างเมืองหลวงของแคว้นวัชชี ก็มีคนใช้ทั้ง ไพศาลี(สันสกฤต) และ เวสาลี(บาลี)

ถ้าเขียนเต็มรูปก็เป็น ตักกสิลา, ตักกศิลา เมื่อก่อนนี้ก็เห็นโบราณท่านเขียนสองคำนี้ คำใดคำหนึ่ง

แต่ปัจจุบันนี้ พจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถาน ท่านวางกฎไว้ว่า ถ้ามีพยัญชนะซ้อนกันสองตัวให้ตัดออกตัวหนึ่ง เช่น อัตตภาพ ตัดเหลือ อัตภาพ จิตตวิทยา ตัดเหลือ จิตวิทยา เขตต์ ตัดเหลือ เขต(คงต้องการประหยัดเนื้อที่) บางทีก็ตัดเพลิน จากเดิม สัญญาลักษณ์ ตัดเป็น สัญญลักษณ์ ก็น่าจะพอยังให้หั่นเหลือแค่ สัญลักษณ์ นี่ก็มากไป เพราะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป คือแทนที่จะมาจาก สัญญา-ลักษณ์ ก็กลายเป็นมาจาก สํ-ลักษณ์ ไป

ถ้าถือ(ถ้าไม่ถือก็อีกเรื่องหนึ่ง) ตามพจนานุกรมก็ต้องเขียนว่า ตักสิลา หรือ ตักศิลา ส่วนใครจะเอา ส หรือ ศ ก็ตามสะดวก ไม่ต้องทะเลาะกัน

ถ้าถามความชอบส่วนตัวผม ผมเอนเอียงจะเขียนว่า ตักสิลา มากกว่า เพราะรักรูปบาลีมากกว่าสันสกฤต

ผมเป็นลูกมหาสารคาม แต่ไม่เคยคิดว่า มหาสารคามจะยิ่งใหญ่ถึงขั้นเป็นตักสิลา เพียงแค่มีวิทยาลัยครูเก่าแก่กว่าที่อื่น จะเอาใหญ่ขนาดนั้นหรือขอรับ



สัตว์-มนุษย์ หรือเดียรฉาน

ในความเข้าใจโดยทั่วไป คำว่า สัตว์ หมายเอาสัตว์เดียรฉานเท่านั้น ไม่นับมนุษย์ด้วย เวลาเราด่าใครว่า "...สัตว์" ทั้งคนด่าและคนถูกด่ามักจะนึกถึงเดียรฉานขึ้นมาทันที แล้วคนถูกด่าก็โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง เพราะคิดว่าเดียรฉานนั้นต่ำช้ากว่ามนุษย์

ที่จริงแล้ว เดิมคำว่า "สัตว์" (บาลี=สัตต์) แปลว่า "ผู้ข้องหรือติดอยู่" ผู้ข้องหรือติดอยู่นี้แบ่งออกเป็น ๓ พวกคือ

๑.ผู้ข้องอยู่ในกามคุณ (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความคิดคำนึง) ได้แก่ มนุษย์, เดียรฉาน (รวมเปรต อสุรกาย สัตว์นรกด้วย) และเทวดาทั้งหลาย พวกนี้เรียกว่า "กามาพจร" (พวกที่ท่องอยู่กามภพ)

๒.ผู้ข้องอยู่ในรูป ได้แก่ รูปพรหม พวกนี้เรียก "รูปาวจร" (ท่องเที่ยวอยู่ในรูปภพ)

๓.ผู้ข้องอยู่ในอรูป ได้แก่ อรูปพรหม พวกนี้เรียกว่า "อรูปาวจร" (ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปภพ)

สรุปว่า "สัตว์" กินความถึงมนุษย์ สัตว์เดียรฉาน (ตลอดถึงเปรต สัตว์นรก อสุรกาย) เทวดา และพรหม เพราะทั้งหมดนี้คือผู้ "ข้องอยู่" ด้วยกันทั้งนั้น ต่างก็ตกอยู่ในวงจรแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย ด้วยอำนาจผลกรรมที่ตนทำ อันเรียกว่า "สังสารวัฏ"

ส่วนคำว่า "เดียรฉาน" (บาลี=ดิรัจฉาน, ดิรัจฉานคต) แปลตามศัพท์ว่า "ผู้ไปทางขวาง" คือไปตามแนวนอน ต่างจากมนุษย์เวลาเคลื่อนไหวจะไป "แนวตั้ง" จำพวกที่ไปแนวนอนทั้งหมด เช่น หมู หมา กา ไก่ โค ควาย ฯลฯ เรียก เดียรฉานหมด

เมื่อคัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จออกไปโปรด "สัตว์" ก็ดี เมื่อทรงแสดงธรรมจบ "สัตว์จำนวนมาก" ได้บรรลุธรรมก็ดี มิได้หมายความเพียงว่า พระพุทธองค์ไปโปรดเดียรฉาน หรือเหล่าเดียรฉานได้บรรลุธรรม เท่านั้น หากหมายถึงทรงไปโปรดทั้งมนุษย์ ทั้งสัตว์ ทั้งเทวดาและพรหม และมนุษย์ เป็นต้นนั้น ได้บรรลุธรรม

คนไทยเรียกเดียรฉานว่า "สัตว์เดียรฉาน" ซึ่งก็ถูก (คือ สัตว์จำพวกไปแนวนอน) ถึงแม้จะเรียกมนุษย์ว่า "สัตวมนุษย์" ก็ถูกเช่นเดียวกัน หมายถึง "สัตว์" จำพวกที่ไปแนวตั้ง

ถ้ารู้ตัวว่า เป็น "สัตว์" จำพวกหนึ่ง เมื่อใครเขามาด่า "...สัตว์" ก็ไม่น่าโกรธนะครับ

หรืออย่างไร



ครู=เขาว่าเป็นเรือจ้าง

คําว่า ครู มาจาก บาลี ครุ สันสกฤต คุรุ คนไทยออกเสียง "คะรุ" หรือ "คุรุ" ไม่ถนัดหรืออย่างไร จึงรวบกันเป็นคำเดียวว่า "ครู" และก็น่าสนใจที่คนไทยให้ความหมายของคำนี้

ครู แปลกันว่า ผู้หนัก แล้วก็ลากเข้าหาความหมายที่เข้าใจกันได้ว่า ผู้ทำงานหนัก, ผู้ทำหน้าที่ที่ต้องหนักใจเพราะรับผิดชอบเกี่ยวกับการขัดเกลานิสัยใจคอเด็ก รวมทั้งการให้ความรู้แก่เด็กยิ่งหนัก...แล้วแต่จะตีความกันไป

ยังดีที่ไม่ตีความว่า "ครู คือผู้หนัก หมายถึงผู้ที่มีน้ำหนักมากๆ ไม่ต่ำกว่า ๖๐ กิโลกรัมขึ้นไป" อะไรทำนองนั้น ถ้าถือความอย่างนี้คนผอมก็ไม่มีสิทธิ์เป็นครู

ตามรากศัพท์ ครุ (ครู) แปลได้หลายนัย คือ

๑.แปลว่า "ปรากฏเด่น" คือเด่นทั้งด้านความรู้ความสามารถในการสอน และความประพฤติดีงามเป็นตัวอย่างแก่ศิษย์ พูดสั้นๆ ว่า "เป็นคนเก่ง และคนดี"

๒.แปลว่า "รด" มีความหมายรองว่า "เย็น" และ "งอกงาม" นี้เป็นนัยเปรียบเทียบ คือเปรียบกับการเอาน้ำรดต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้ชุ่มชื้นร่มเย็นและขณะเดียวกันก็ทำให้ต้นไม้นั้นเจริญงอกงามด้วย ครูก็เช่นกัน ย่อมรดใจศิษย์ด้วยน้ำใจอันดีงามของครูให้ศิษย์มี ความร่มเย็น และช่วยให้ศิษย์เจริญงอกงามด้วยความรู้และความประพฤติ

๓.แปลว่า "คาย" หรือ "สำแดงออกให้ปรากฏ" หมายถึงคายความรักให้ปรากฏ รักใคร? ก็รักศิษย์ ปรารถนาดีต่อศิษย์ อยากให้ศิษย์เจริญก้าวหน้านั่นแล ดังสุภาษิตบาลีบทหนึ่งว่า อาจริโย มํ นิจฺจเมว อนุสาสติ โสหิ มยฺหํ วุฑฺฒึ อาสึสติ= อาจารย์พร่ำสอนเราเป็นนิจ เพราะท่านหวังความเจริญก้าวหน้าของเรา

ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าท่านตรัสคุณสมบัติ (ที่พึงประสงค์) ของครู ๗ ประการ เรียกครูว่า "กัลยาณมิตร" (มิตรแท้) ของศิษย์ คุณสมบัติ ๗ ประการคือ

๑. เป็นที่รักของศิษย์ ทำตนให้ศิษย์รักอยากเข้าใกล้ เข้าไปปรึกษาไต่ถาม
๒. เป็นที่เคารพ มีความประพฤติดีเป็นที่พึ่งได้และปลอดภัย
๓. เป็นที่น่าเจริญใจ คือเป็นที่ภาคภูมิใจของศิษย์ ว่าตนเป็นศิษย์มีครูและมีครูดี
๔. รู้จักพูดให้ได้ผล สอนวิชาการแจ่มแจ้ง และพร่ำสอนให้ศิษย์เป็นคนดีได้ผล
๕.ทนต่อถ้อยคำ คืออดทนในการพร่ำสอนศิษย์ อดทนที่จะคอยรับฟังปัญหาของศิษย์
๖.เรื่องยากให้ง่าย วิชาการยากๆ มีวิธีสอนให้เข้าใจง่าย รวมถึงเรื่องง่ายๆ ที่คนมองข้าม ก็ชี้ให้เห็นความสำคัญและคุณค่าได้
๗.ไม่ชักจูงศิษย์ในทางต่ำ คือไม่ชักนำศิษย์ทำในสิ่งที่ไม่ดี หรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร

สรุป ครู คือผู้ที่ น่ารัก-น่าเคารพ-น่าเจริญใจ-รู้จักพูดได้ผล-ทนต่อถ้อยคำ-แถลงเรื่องลึกล้ำ-ไม่นำไปทางเสื่อมเสีย หน้าที่กว้างใหญ่อย่างนี้ จะแปลว่าครูคือผู้หนักก็คงไม่ขัดข้อง

วลีว่า "ครูคือเรือจ้าง" ไม่ทราบว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ครูท่านหนึ่งไม่พอใจคำพูดนี้ หาว่าดูถูกครู "ครูทำหน้าที่ยิ่งใหญ่ปั้นคนให้เป็นคนดีของชาติ ไม่น่าจะมาว่าเหมือนเรือจ้าง"

อีกคนแย้งว่า เปรียบครูเหมือนเรือจ้างน่ะไม่เสียหายดอก เรือจ้างมีหน้าที่รับคนข้ามฝั่ง ครูทำหน้าที่ส่งคนข้ามฝั่งเหมือนกัน หน้าที่นี้ เป็นหน้าที่ยิ่งใหญ่ เพราะถ้าไม่มีเรือ คนก็ข้ามฝั่งไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าเปรียบครูเหมือนคนแจวเรือจ้างละก็ ค่อยน่าตำหนิหน่อย"

"ไม่เหมือนกันหรือ" คนเดิมซัก

"ไม่เหมือน คนแจวเรือจ้างต้องรับเงินค่าจ้าง ไม่มีเงินให้ไม่รับข้ามฟาก ถ้าครูทำตนเพียงแค่คนแจวเรือจ้าง คือ "รับจ้างสอน" ไปวันๆ อย่างนี้น่าตำหนิ"

คิดว่าเป็นเพียงโวหารเท่านั้น จะพูดว่า "ครูเหมือนเรือจ้าง" หรือ "ครูเหมือนคนแจวเรือจ้าง" ก็หมายอย่างเดียวกัน คือเน้นไปที่ "คนแจวเรือ" ด้วยว่า มีแต่เรือเฉยๆ ไม่มีคนแจวก็ไร้ประโยชน์ เรือจะดีอย่างไร ถ้าขาดคนแจว ก็พาคนข้ามฟากไม่ได้อยู่ดี

น่าประหลาดว่า พระพุทธเจ้าท่านก็เปรียบครูเหมือน (คนแจว) เรือจ้างเหมือนกัน ขอโทษ พูดอย่างนี้ ไม่ถูก ต้องพูดว่า พระองค์ทรงเปรียบครูเหมือน (คนแจว) เรือจ้างมาก่อนแล้ว มีหลักฐานใน นาวาสูตร (พระไตรปิฎกสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย) ความว่า

คนที่เป็นครูสอนคนอื่น ต้องมีคุณธรรม คือ พหูสูต เป็นที่รักเคารพของศิษย์ มีวิจารณญาณ และปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (หมายถึงปฏิบัติธรรมถูกหลักการและเป้าหมาย) ฉลาด รู้แจ้ง

เปรียบเหมือนคนที่พายเรือพาคนข้ามกระแสน้ำไหลเชี่ยวได้ต้องมีความสามารถพร้อมในการพาย การถ่อ และรู้วิธีการนำเรือฝ่ากระแสน้ำนำคนข้าม ถึงฝั่งได้ ฉันใดฉันนั้น

จะสังเกตว่า คุณสมบัติของครู สรุปลงได้ ๒ ข้อคือ ความรู้ดีและความประพฤติที่เป็นแบบอย่างที่ดี "ความดี" และ "ความเก่ง" สองข้อนี้เป็นหลัก ข้ออื่นเป็นเพียงส่วนประกอบ ดังคำประพันธ์ว่า

ครูต้องเป็นทั้ง "คนดี" และ "คนเก่ง"

ครูต้องเคร่งจริยะมาตรฐาน

ดุจประทีปเจิดจรัสชัชวาล

ส่องนำจิตวิญญาณของปวงชน


ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 สิงหาคม 2561 19:15:42 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #50 เมื่อ: 09 สิงหาคม 2561 19:44:58 »



ลอยกระทง

ดังได้ทราบแล้ว จุดประสงค์ของการลอยกระทงลงน้ำ ก็เพื่อขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ทั้งหลายได้ล่วงเกินด้วยการสร้างมลภาวะแก่น้ำ

ต่อมาได้นำแนวคิดทางพระพุทธศาสนามาเกี่ยวข้องด้วย จุดประสงค์ก็เลยเพิ่มขึ้นข้อหนึ่งคือ เพื่อนมัสการรอยพระบาทขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เชื่อกันว่าอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยัมมุทา หรือยมนา

คัมภีร์ (รุ่นหลังมาก) บันทึกไว้ว่า พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงพระชนม์อยู่ ทรงประทับรอยพระพุทธบาทไว้ให้ประชาชนในภายหลังได้สักการบูชา ๕ แห่งด้วยกันคือ ๑. สุวรรณมาลิก  ๒. สุวรรณบรรพต  ๓. สุมนกูฏ  ๔. โยนกประเทศ  ๕. ริมฝั่งน้ำยัมมุทา หรือยมนา

ประชาชนที่ปล่อยกระทงลงน้ำก็จะอธิษฐาน (นอกเหนือจากขอขมาพระแม่คงคา) ขอให้กระทงลอยไปเกยหาดโน่นแหละครับ ริมฝั่งยัมมุทา หรือยมนาโน่น เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท

รู้อยู่ครับว่า กระทงมันลอยไปไม่ไกล ก็จมแม่น้ำลำคลอง แต่ก็คิดเอาว่าแม่น้ำนี้ก็คือแม่น้ำยัมมุทาหรือยมนา ซึ่งที่ชายหาดมีรอยพระพุทธบาทประทับอยู่ นึกแค่นี้ก็ได้บุญกุศลมากแล้วครับ เพราะจิตใจนั้นจดจ่ออยู่ที่พระพุทธคุณ

น่าสังเกตว่าประเพณีหลายอย่าง แต่เดิมไม่มีพระพุทธศาสนาไปเกี่ยวข้อง ต่อมาชาวไทยได้นำเอาพระพุทธศาสนาหรือแนวคิดทางพระพุทธศาสนามาผสมผสานเข้าด้วยจนกลายเป็นประเพณีทางพระพุทธศาสนาไป

ดังเช่นประเพณีลอยกระทงที่กล่าวถึงนี้เป็นต้น

ถึงตรงนี้จะเห็นว่า พระพุทธศาสนานั้นได้ซึมซับเข้าไปในจิตวิญญาณของคนไทยมานานและลึกซึ้งเพียงใด ธรรมะคำสอนของพระพุทธองค์ได้หล่อหลอมเป็นอุปนิสัยใจคอของคนไทยอย่างลึกซึ้ง วัฒนธรรมไทยก็คือ วัฒนธรรมพุทธ หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ไทยคือพุทธ พุทธคือไทย ผสมกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวแกะไม่ออก ใครที่คิดแกะพระพุทธศาสนาออกจากวัฒนธรรมไทย จากวิถีชีวิตไทย คงจะต้องคิดหนักหน่อยแหละครับ

ผมเชื่อของผมอย่างนั้น

สุวรรณบรรพต ที่ว่าเป็นสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทแห่งหนึ่งในจำนวน ๕ แห่ง ว่ากันว่าอยู่ที่เมืองไทย แต่ก่อนคนไทยก็ไม่รู้ดอกว่ามีพุทธบาทอยู่ เมื่อครั้งพระภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งเดินทางไปลังกา ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม ถูกพระลังกาถามว่ามาด้วยจุดประสงค์อะไร บอกว่ามานมัสการพระพุทธบาท พระลังกาบอกว่าที่เมืองไทยของท่านก็มี ว่าแล้วก็ร่ายบทโศลกให้ฟังว่า

สุวัณณะมาลิเก สุวัณณะปัพพเต สุมนกูเฏ โยนกปุเร ยัมมุทาย นทิยา
พระพุทธบาทมีอยู่ ๕ แห่ง คือที่สุวรรณมาลิก สุวรรณบรรพต
สุมนกุฏ และริมฝั่งยัมมุทา


"สุวรรณบรรพต ก็อยู่ที่ประเทศพระคุณท่านมิใช่หรือ" พระลังกาว่าอย่างนั้น เมื่อท่านเหล่านั้นกลับมาเมืองไทย เข้าถวายพระพรพระเจ้าทรงธรรมทรงทราบ พระราชาจึงรับสั่งให้หาว่าอยู่ที่ไหน

ในช่วงเวลาดังกล่าว มีพรานป่าชื่อบุญ (หรือบูรพ์) ไปล่าสัตว์ ยิงกวางตัวหนึ่ง กวางน้อยถูกยิงวิ่งเข้าไปดื่มน้ำที่แอ่งแห่งหนึ่งในป่านั้น ปรากฏว่าแผลที่ถูกยิงหายดุจปาฏิหาริย์ พรานบุญซึ่งติดตามมาเห็นเข้าก็เกิดอัศจรรย์ ก้มลงเอาน้ำในแอ่งน้ำลูบตามแขนขา ทันใดนั้นโรคผิวหนังเรื้อรังที่เขาเป็นมานานก็หายราวปาฏิหาริย์ เมื่อพินิจดูแอ่งน้ำเล็กๆ นั้นมีสัณฐานคล้ายรอยเท้าคนขนาดใหญ่ จึงเล่าเรื่องราวให้คนอื่นทราบ

คงเล่าลือกันไปนานและไกล แม้พระเจ้าแผ่นดินยังทรงทราบ พระเจ้าทรงธรรมเสด็จมาทอดพระเนตร ปรากฏว่าเป็นพระพุทธบาทจำลองจริงจึงรับสั่งให้สร้างมณฑปครอบประกาศให้ประชาชนมานมัสการทุกปี เทศกาลนมัสการพระพุทธบาทจึงเกิดขึ้นมาแต่บัดนั้น

สุวรรณบรรพตที่ว่านี้อยู่ที่จังหวัดสระบุรี

ประวัติศาสตร์กระซิบว่า พระเจ้าทรงธรรมในอดีตทรงเป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่นาม พระพิมลธรรม์ อนันตปรีชา สึกออกมายึดราชสมบัติจับพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนสำเร็จโทษ

ขณะที่ยึดราชสมบัติก็ห่มจีวรไปบิณฑบาตในวัง

พระองค์เปิดเผยภายหลังว่าทรงลาสิกขาแล้ว ที่ต้องห่มจีวรไปบิณฑบาตตอนเช้าก็เพื่ออำพรางให้ตายใจ แผนการยึดอำนาจจะได้สะดวก แต่ประชาชนยังเชื่อว่ายึดอำนาจทั้งผ้าเหลือง เป็น "ปาราชิก" คนบาป จึงเล่าลือในแง่อกุศลต่างๆ นานา

พอค้นพบพระพุทธบาทที่สุวรรณบรรพตเท่านั้น เสียงลืออกุศลก็หายไป เพราะในรัชสมัยของพระราชาผู้มีบุญญาธิการเท่านั้น จึงจะมีสิ่งดี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น รอยพระพุทธบาท พระเจ้าทรงธรรมก็เลยได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชน ว่าอย่างนั้น

อย่ามาเอาหลักฐานจากผมแล้วกัน ก็บอกแล้วว่าเป็นประวัติศาสตร์กระซิบ

คนกระซิบก็ไม่รู้ไปอยู่ที่ไหนแล้ว

การอ้างพระพุทธเจ้าเสด็จมายังถิ่นของตน ของชุมชนต่างๆ เป็นการสร้างความ "ศักดิ์สิทธิ์" ให้แก่ถิ่นฐานของตน รู้สึกว่าการอ้างเช่นนี้จะทำกันทั่วไป ไม่ถือว่าผิดอะไร และไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ทางประวัติศาสตร์ว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่

ชาวพุทธลังกาเองก็อ้างว่าพระพุทธเจ้าเสด็จลงไปเกาะลังกาหลายเที่ยว ชาวพุทธไทยก็อ้างเช่นนั้น พระสาวกที่ตามเสด็จก็คือพระอานนท์พุทธอุปฐาก ในตำนานเมืองหริภุญชัย กล่าวว่า สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมายังป่าใหญ่แห่งหนึ่ง ณ ภูมิภาคแถบนี้ ตามเสด็จด้วยพระอานนท์ พระพุทธเจ้าเสวยผลมะขามป้อมแก้กระหาย เสร็จแล้วทรงเพาะเมล็ดมะขามป้อมลงที่พื้น เอาน้ำล้างพระหัตถ์รดเมล็ดมะขามป้อมนั้น รับสั่งกับพระอานนท์ว่า

"อานนท์ สถานที่นี้ต่อไปจะเป็นเมืองใหญ่ ที่มีพระพุทธศาสนารุ่งเรือง"

ตำนานไม่ได้บอกว่าพระพุทธองค์เสด็จมาโปรดใคร ระบุเพียงว่ามาเสวยมะขามป้อมที่นี้แล้วเสด็จกลับ

ต่อมาเมื่อมีการสร้างเมืองขึ้น จึงได้ขนานเมืองตามเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นว่า "หริภุญชัย" แปลว่าเมืองที่พระพุทธเจ้าเสวยมะขามป้อม

คนแปลก็พยายาม "ลากเข้าวัด" จนได้ครับ

ท่านแยกศัพท์แสง พร้อมทั้งวิเคราะห์ (คือกระจายคำตามหลักไวยากรณ์) เสร็จว่า หริภุญชัย มาจาก หริ-ภุญชัย คำ หริ นั้น กร่อนมาจากคำเต็มว่า หรีตกี (มะขามป้อม) คำว่า ภุญชัย นั้นมาจากธาตุ (รากคำ) ว่า ภุชฺ (กริยาว่า ภุญฺชติ แปลว่ากิน) กลัวคนจะไม่เชื่อ ท่านจึง "วิเคราะห์" ว่า หรีตกี ภุญฺชติ เอตฺถาติ หริภุญชยํ = พระพุทธเจ้าเสวยมะขามป้อม ณ สถานที่นี้ เพราะฉะนั้น สถานที่นี้จึงชื่อว่า หริภุญชัย ด้วยประการฉะนี้แล

นับว่า "ลากเข้าวัด" ได้สำเร็จ

ได้ยินผู้ใหญ่เล่าว่า การจัดทำพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นไปด้วยความล่าช้ามาก เพราะกรรมการแต่ละท่านชำนาญมาคนละสาขา ต่างไม่ยอมกัน เถียงกันอยู่นั่นแล้วฝ่ายที่เป็น "เปรียญลาพรต" เช่น พระสารประเสริฐ ก็มักอ้างบาลีสันสกฤตจนบางท่านค่อนแคะเอาว่า "จะลากเข้าวัด" อยู่เรื่อย

สมัยนี้ก็มีการอธิบายแบบ "ลากเข้าวัด" หรือ "จับบวช" กันมาก เช่น บวช ก็ว่ามาจาก ปวช (การเว้นทั่ว, เว้นสิ้นเชิง) วัด ก็มาจาก "วัตร" (ความประพฤติ, การปฏิบัติ) หากใครจะอธิบายคำแบบลากเข้าวัดหรือจับบวชก็อย่าไปว่าเขาเลยครับ โบราณท่านก็ทำมาแล้ว

เมื่อลากเข้าวัดได้ ก็ลากออกนอกวัดได้เช่นกัน เพื่อนผมคนหนึ่งบอกว่า คนอีสานมีเชื้อมาจากพวกอารยัน (ฝรั่ง)

"ดั้งหักๆ นี่นะเรอะ" ผมย้อนถาม

เพื่อนบอกว่าใช่ สังเกตภาษาสิ มีคำคล้ายกันหลายคำเช่น eel ตรงกับคำ "เอี่ยน" hug ที่แปลว่ากอด ก็ตรงกับ "ฮัก"

เมื่อแย้งว่า กอดกับฮักไม่เห็นตรงกัน กอดก็กอด ฮัก (รัก) ก็ฮัก คนละเรื่อง

"คนไม่ฮักกันจะให้กอดหรือวะ" เพื่อนยังยืนยันความเห็น ของตน

ผมว่าถ้าขืนใช้วิธีอธิบายแบบนี้ ภาษาไทยคงเพี้ยนพิลึก



พงส์-พงศ์-พงษ์

คนที่นั่งโต๊ะข้างๆ ผมแกชื่อ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ผมหันไปถามว่าทำไมชื่อคุณจึงเขียนไม่เหมือนชาวบ้าน แกหันมาตาเขียวใส่ "ก็ชื่อผมมันไม่เหมือนชาวบ้าน จะให้เขียนเหมือนได้ยังไง" ผมถามใหม่สุภาพกว่าเดิมว่า "ทำไมเขียน พงษ์ ไม่ พงศ์ ขอรับ" แกจึงบอกว่า เขียน พงศ์ พงส์ หรือ พงษ์ ก็ได้แปลเหมือนกัน

ว่าแล้วแกก็งัดเอาหนังสือตำราภาษาไทยชื่อ "ปกีรณําพจนาดถ์" ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เปิดคำนำ โดย "น.ม.ส." ให้ผมอ่าน

"น.ม.ส." เป็นนามปากกาของพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ (ไม่มีการันต์ครับ) ซึ่งนักเลงหนังสือรู้จักกันดี พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุล "รัชนี" และเป็นปราชญ์พระองค์หนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

คำนำ มีดังนี้ครับ

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ผู้แต่งหนังสือ ปกีรณําพจนาดถ์ นี้เป็นใหญ่ในพวกอาจารย์หนังสือภาษาไทยในต้นรัชกาลที่ ๕ ตลอดมา ราวครึ่งรัชกาลเป็นศาลฎีกาในเรื่องหนังสือไทย เมื่อตัดสินว่ากระไรเป็นคำพิพากษาสุดท้าย ใครจะมาเถียงว่ากระไรอีกก็ฟังไม่ขึ้นในสมัยนั้น

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนรุ่นใหญ่แล้ว เคยได้ยินผู้คัดค้านตัวสะกดบางคำ ที่พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ใช้ เป็นต้นว่า คำที่เคยเขียนกันว่า วงษ์ นั้นมีคำคัดค้านว่า คำนี้ภาษาบาลี เป็น วํโส สํสกฤตเป็น วํศ ใช้ ษ การันต์โดยหลักอะไร ควรต้องเขียน วงส์ หรือ วงศ์ จึงจะถูก

ตำหนินี้พระยาศรีสุนทรฯ (น้อย) จะตอบว่ากระไร หรือไม่ตอบว่ากระไรเลย ข้าพเจ้าไม่ทราบ แต่ข้าพเจ้านึกว่า ถ้าพระยาศรีสุนทรฯ (น้อย) ตอบ ก็คงจะตอบเป็นใจความว่า คำในภาษาบาลีว่า วํโส ก็ทราบแล้ว เพราะเป็นเปรียญถึง ๗ ประโยค และ คำสํสกฤตว่า วํศ ก็ทราบแล้วเหมือนกัน

การเขียน วงษ์ ใช้ ษ การันต์นั้นเพราะอักขรวิธีเดิมของไทยใช้ ษ ตัวเดียวเป็นตัวการันต์ ตัว ส กับ ศ อยู่ท้าย ก็ต้องเปลี่ยนเป็น ษ อันเป็นตัวเดียวในสามสอที่ใช้เป็นตัวการันต์"

ขอบคุณคุณเสฐียรพงษ์ วรรณปก ที่ได้ให้ความกระจ่างแก่ผม ต่อไปจะไม่ถามอะไรให้ตาเขียวอีก แล้วครับ

วาสนา

คําพังเพยว่า "แข่งเรือแข่งพายพอแข่งได้ แข่งบุญวาสนานั้นไซร้อย่าแข่งขัน" ก็ดี คำพูดว่า "บุญมาวาสนาส่ง" ก็ดี หรืออีกหลายคำในทำนองนี้ ผู้พูดและผู้ฟัง เข้าใจในแนวเดียวกันว่า บุญ ก็ดี วาสนา ก็ดี เป็นสิ่งที่ดีที่สั่งสมมานาน โดยเฉพาะ "วาสนา" ใครมีมากก็เป็นบุคคลพิเศษไม่มีใครสามารถแข่งได้ เพราะเป็นทุนเดิมที่สั่งสมมาแต่ปางก่อน วาสนาจึงเป็นสิ่งที่ดี ที่พึงประสงค์

นี้คือความเข้าใจของชาวบ้าน

แต่สำหรับชาววัด "วาสนา" มิใช่สิ่งดี วาสนา หมายถึงสิ่งที่ฝังลึกในจิตสันดาน ลึกมากจนละไม่ได้ ไม่ว่าในแง่ดีหรือแง่ไม่ดี (ส่วนมากมักเน้นแง่ไม่ดี) คัมภีร์ศาสนาพุทธกล่าวว่า โพธิญาณเท่านั้นที่ตัดวาสนาได้เด็ดขาด ว่ากันว่ากิเลสตัณหาพร้อมทั้งวาสนา พระพุทธเจ้าทรงละได้เด็ดขาด พระอรหันต์นั้นละกิเลสตัณหาได้ แต่ละวาสนาไม่ได้

แล้วท่านก็ยกตัวอย่างให้ฟัง ๒ เรื่องคือ

พระสารีบุตรอัครสาวก เวลาเดินทางไปพบรมณียสถาน เช่น มีน้ำใสไหลเย็นท่านจะดีใจ กระโดดโลดเต้น ดังกับเด็กได้พบของถูกใจ ถูกพระทั้งหลายตำหนิว่าพระอัครสาวกน่าจะสำรวมมากกว่านี้

เพราะพระพุทธเจ้าตรัสว่า นั่นเป็น "วาสนา" ของสารีบุตร ชาติก่อนติดต่อกันหลายร้อยชาติ สารีบุตรเคยเกิดเป็นลิง มาชาตินี้วาสนาเดิมยังแกะไม่ออก (เป็นยังงั้นไป)

พระปิลินทวัจฉะ พูดคำ "ไอ้ถ่อย" เสมอ จนเกิดเรื่อง ถามพ่อค้าดีปลีว่า ขนอะไรมาไอ้ถ่อย พ่อค้าดีปลีร้องตอบฉุนๆ ว่า "ขี้หนูเว้ย ไอ้ถ่อย" ทำให้ดีปลีเขากลายเป็นขี้หนูทันที ต้องกราบขอขมากันยกใหญ่ ดีปลีจึงกลับคืนสภาพ

พระพุทธเจ้าท่านว่า เป็น "วาสนา" ของปิลินทวัจฉะ ชาติก่อนเกิดในตระกูลพราหมณ์ติดต่อกันยาวนาน ชอบตวาดคนอื่นเสมอ มาชาตินี้จริงมี "วาสนา" นั้นติดตัวละไม่ได้

สมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่งในอดีต เวลาประทับ ณ ที่ไหน เผลอไม่ได้ท่านจะกระดิกพระบาท ดูไม่สำรวมเลย อธิบดีกรมการศาสนาสมัยนั้น จะคอยมาดูแลการจัดสถานที่ จะนำโต๊ะมาตั้งบังไม่ให้เห็นพระบาท เมื่อมีคนถามว่า ทำไมสมเด็จฯ ชอบกระดิกพระบาทเสมอ

อธิบดีตอบสั้นๆ ว่า "เป็นวาสนาแก้ไม่ได้"

หลวงพ่อคูณชอบพูดคำแทนตัวท่านว่า "กู" เรียกคนอื่นโดยสรรพนามว่า "มึง" เหมือนกันหมด ไม่ว่ายศศักดิ์จะสูงขนาดไหนก็ตาม ถ้าเป็นสมัยพ่อขุนฯ ก็ไม่แปลกอันใด แต่มาสมัยนี้คนหาว่าหยาบ ความจริงท่านไม่มีเจตนาให้หยาบ

นี้ก็เข้าข่าย "วาสนา" นั้นเอง คือเป็นวาสนาของหลวงพ่อคูณ ไม่มีใครถือท่าน และไม่เห็นเป็นเรื่องเสียหาย

ถ้าเมื่อใดหลวงพ่อคูณพูด "อาตมา" หรือ "เจริญพร" คงตกใจไปตามๆ กัน

นึกว่าหลวงพ่อไม่สบาย



อธิฏฐาน-อธิษฐาน โมกษมูลาจารย์ โมกขพลาราม

ศัพท์เดิมเขียน อธิฏฐาน อ่าน "อะทิดถาน" ต่อมานิยมใช้ อธิษฐาน ซึ่งเป็นรูปเพี้ยนอิงสันสกฤต (สันสกฤตจริงๆ ไม่เขียน อธิษฐาน) มีเพี้ยนไปถึงขั้น "พิษฐาน" ก็มีดังเพลงว่า พิษฐานเอย...อะไรทำนองนั้นแหละ (ไม่แน่ใจ)

อธิฏฐาน หรือ อธิษฐาน ความหมายเดิม คือ

(๑) ความตั้งใจ ตั้งใจธรรมดาๆ เช่น พระภิกษุตั้งใจจะใช้ผ้าผืนหนึ่งเป็นผ้าห่ม หรือเป็นผ้าห่มซ้อนก็เรียกว่า อธิษฐานจีวร อธิษฐานสังฆาฏิ เรียกจีวรนั้นว่า จีวรอธิษฐาน เรียกสังฆาฏินั้นว่า สังฆาฏิอธิษฐาน

(๒) ความตั้งใจมั่น ตั้งใจแน่วแน่ ตัดสินใจเด็ดเดี่ยวว่าจะต้องทำให้สำเร็จจนได้ ดังพระโพธิสัตว์ท่านต้องการสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าท่าน "อธิษฐาน" คือตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าจะบรรลุถึงเป้าหมายนี้ให้ได้

การตั้งใจเด็ดเดี่ยวนี้เรียก "อธิษฐาน" เป็นการบำเพ็ญบารมีอย่างหนึ่งในบารมี ๑๐

ต่ำลงมากว่านั้น มีกระทาชายนายหนึ่ง ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีให้ได้ แม้จะเดินทางหมื่นไมล์ก็ตาม ถูกเยาะเย้ยถากถางจากปากคนว่า ต่อให้เดินอีกสักสองแสนไมล์ก็ไม่มีทางได้เป็นนายกรัฐมนตรี ถ้าเป็นนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งละก็พอมีทาง แต่ในที่สุดกระทาชายนายนั้นก็บรรลุถึงเป้าหมายเพราะการ "อธิษฐาน" (ความตั้งใจแน่วแน่มั่นคง) ของเขา

แต่เมื่อมาถึงแล้ว คงรู้ว่าตนคาดผิดก็อาจเป็นได้ เพราะแทนที่จะสุขสบาย กลับถูกด่าวันละสามเวลาหลังอาหาร ว่าเป็นผู้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศชาติตกต่ำ

ต่อมา อธิษฐาน มีความหมายในทำนอง "การขอ, การอ้อนวอน" ซึ่งไม่อยู่บนพื้นฐานของการกระทำประกอบ จุดธูปเทียนยกมือร้องขออยากได้นั่นอยากได้นี่ บางทีก็ให้คำมั่นสัญญาเสร็จว่า ถ้าได้ตามที่ขอก็จะมาตอบแทนบุญคุณ โดยนำสิ่งของไปให้ การขออย่างนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บน" และการนำของไปให้เมื่อคิดว่าตนได้ตามที่ขอแล้วเรียกว่า "แก้บน"

วันดีคืนดีเราจึงเห็น "หลังบ้าน" กระทาชายคนที่เดินทางหลายหมื่นไมล์ จนลุถึงเป้าหมายนั้น นำช้างสีชมพูไปเซ่นเจ้า เพราะคิดว่าสามีของตนได้ตำแหน่งใหญ่โตนั้น เจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาลให้ตามที่ขอ

อธิษฐานในความหมายสุดท้าย (การร้องขอ อ้อนวอน) ไม่มีและไม่เป็นที่ยอมรับในพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาสอนว่าอยากได้อยากเป็นอะไร ให้กระทำหรือสร้างสรรค์เอาเอง ด้วยวิริยะ อุตสาหะอย่ามัวแต่อ้อนวอนร้องขอผีสางเทวดาด้วยความหวังลมๆ แล้งๆ
โมกษมูลาจารย์
โมกขพลาราม


พระสารประเสริฐ หรือ "นาคะประทีป" ได้แปลงนามของนักปราชญ์เยอรมันท่านหนึ่งคือ Max Muller ว่า "โมกษมูละ" เรียกเต็มว่า "โมกษมูลาจารย์" แปลเอาความว่า อาจารย์ผู้บุกเบิกทางแห่งโมกษะ (ในประเทศตะวันตก) นับว่าคมขำอย่างยิ่ง

คมขำที่ท่านนาคะประทีปได้คิดคำซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับ "การงาน" ของท่าน แม็กซ์ มูลเลอร์ เป็นอย่างยิ่ง ท่านแม็กซ์ มูลเลอร์ เป็นนักปราชญ์ในด้านพุทธศาสตร์ ท่านเชี่ยวชาญภาษาบาลี สันสกฤต ได้เป็นผู้ริเริ่มการแปรคัมภีร์พระพุทธศาสนา ได้เฉพาะพระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษ และเยอรมัน

ผลงานแปลพุทธวจนะอันลือเลื่องของท่าน คือ Sacred Book of the East หรือคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งตะวันออก เป็นสักขีพยานแห่งความพยายามในการบุกเบิกการศึกษาแนวทางแห่งความพ้นทุกข์ตามหลักของพระพุทธศาสนา

Max แปลงเป็น โมกษ Muller แปลงเป็น มูละ ช่างสอดคล้อง เหมาะเจาะดีแท้

อีกท่านหนึ่งที่คิดคำได้คมมากคือ ท่านพุทธทาสภิกขุ เมื่อครั้งท่านมองหาทำเลสร้างที่พำนัก ท่านเห็นป่าแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งสวนโมกข์ในปัจจุบันสงบ สงัด ร่มรื่น เป็น "สัปปายะ" สำหรับผู้พัฒนาจิตอย่างยิ่ง จึงตัดสินใจพำนักอยู่ ณ ที่นี้ เห็นว่าป่าแห่งนี้ต้นไม้ "โมก" และต้นไม้ "พลา" อยู่จำนวนมาก จึงเอาชื่อต้นไม้ทั้งสองมาบวกกัน "จับบวช" นิดหน่อย เติมคำ "อาราม" ข้างท้าย

แล้วก็ได้ชื่อเหมาะเจาะว่า "โมกขพลาราม" โมก (= โมกข) + พลา+อาราม = โมกขพลาราม แปลว่า อารามหรือสถานที่รื่นรมย์อันเป็นพลังแห่งโมกษะ

อารามแห่งนี้ได้กลายเป็นพลังแห่งการพ้นทุกข์ได้จริงๆ เพราะท่านผู้ตั้งชื่อได้พยายามสอนแนวทางแห่งปัญญา ให้คนได้รู้อะไรควรละ อะไรควรพัฒนา ปลุกคนที่ลุ่มหลงงมงายมามากต่อมาก ดังกรณีคุณยายบ้าหวยคนหนึ่ง

คุณยายบ้าหวยคนนี้ เห็นคนไป สวนโมกข์จำนวนมาก นึกว่าหลวงพ่อวัดนี้คงบอกหวยแม่น จึงเข้าไปกราบท่านพุทธทาส เมื่อถูกถามว่ามาธุระอะไร ก็บอกว่ามาขอหวยจากหลวงพ่อ หลวงพ่อตอบว่า "อาตมาไม่รู้ดอก ให้ไปถามสมภาร" แล้วก็ชี้ให้คุณยายเดินไปอีกทางหนึ่ง คุณยายเดินไปเห็นสามเณรผ่านมาจึงถามหาสมภาร สามเณรชี้ไปที่สุนัขตัวหนึ่งซึ่งนอนอยู่ใต้โต๊ะ

"นั่นไงโยม สมภาร"

สุนัขตัวนั้นหลวงพ่อตั้งชื่อให้ว่า "สมภาร" ใครมาขอหวย หลวงพ่อให้ไปขอที่หมาชื่อสมภารเท่ากับบอกว่า เรื่องหวยเป็นเรื่องอบายมุข เรื่องหมาๆ อย่างนี้ก็ไปเอาที่หมาเถอะอะไรทำนองนั้น

ใครเจอวิธี "ปลุกโพธิ" แบบนี้ ไม่ตื่นจากงมงาย ก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว


ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด


บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #51 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2561 14:42:03 »




บวชทดแทนคุณพ่อแม่

การบวชในพระพุทธศาสนา จุดประสงค์เดิมคือเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ (วิถีดำเนินชีวิตอันประเสริฐ) เพื่อหลุดพ้นจากทุกข์ เพราะฉะนั้นเวลามีคนมาขอบวช พระพุทธเจ้าจะตรัสว่า จงเป็นภิกษุเถิด เพื่อทำที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ (ในกรณีที่ผู้ขอบวชยังไม่บรรลุอริยมรรคอริยผล) และ "จงมาเป็นภิกษุเถิด (ในกรณีที่ผู้นั้นบังเอิญได้ฟังธรรมแล้วบรรลุธรรมแล้วจึงขอบวช)

ต่อมาเมื่อมีผู้มาขอบวชมากขึ้น และจุดประสงค์ของการมาก็มิใช่ผู้เบื่อโลกแล้วต้องการทางพ้นทุกข์ แต่อาจมีจุดประสงค์อย่างอื่นพ่วงมาด้วย พระพุทธเจ้าจึงทรงมอบอำนาจหน้าที่ในการพิจารณารับคนมาบวชให้อยู่ในดุลพินิจของพระสงฆ์ ทรงวางมาตรการ หรือวิธีกรองคนที่จะเข้ามาบวชไว้ให้ด้วย ว่าจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ๆ ถ้าคุณสมบัติไม่ครบบวชไม่ได้ เช่น คนต้องคดีอาญา คนมีหนี้สิน คนเป็นโรคติดต่อร้ายแรง คนมีเพศไม่ปกติเป็นกะเทย คนพิกลพิการ เป็นต้น บวชไม่ได้

ถ้าใครซึ่งมีลักษณะดังกล่าวมาขอบวช พระสงฆ์ให้บวช คนขอบวชเป็น "องค์พระ" คือบวชขึ้น แต่อุปัชฌาย์ผู้ทำหน้าที่บวชให้มีความผิดเรียกว่า "ต้องอาบัติ" เพราะฉะนั้น กะเทยบวชก็เป็นพระ (แม้ว่าจะเป็นพระกะเทยก็ตาม) แต่อุปัชฌาย์มีความผิด

แต่ก่อนบวชพระบวชเณรก็เรียกว่า บรรพชา เหมือนกัน ต่อมาการบวชพระเรียก อุปสมบท การบวชเณรเรียกว่า บรรพชา

ผู้บวชแล้วต้องฝึกฝนอบรมตนตามหลักไตรสิกขา คืออบรมศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งก็คือ "องค์รวม" ของอริยมรรคมีองค์แปด อันเรียกว่า "พรหมจรรย์" นั้นเอง

เมื่อฝึกฝนตนจนมีคุณสมบัติระดับใดระดับหนึ่งแล้ว พระภิกษุต้องปฏิบัติหน้าที่สั่งสอนประชาชน ชี้แนะวิถีดำเนินชีวิตให้แก่ชาวบ้านด้วย ตัวท่านเองก็อยู่ในศีลาจารวัตรดีงามเป็น "นาบุญ" ของทายกทายิกาผู้ประสงค์บุญด้วย

นาบุญนี้เป็นคำแปลของคำบาลีว่า "บุญเขต" เป็นภาษาเปรียบเทียบว่า นาที่ไม่ดีหว่านข้าวกล้าลงไป ก็ไม่ได้ผลผลิตสมบูรณ์ แต่นาที่อุดมสมบูรณ์ ผู้ทำนาย่อมได้ผลผลิตสมบูรณ์พระสงฆ์ก็เปรียบเสมือนที่นาดังกล่าว พระทุศีลเปรียบเหมือนนาที่ไม่อุดมสมบูรณ์ พระมีศีลเปรียบเสมือนนาที่อุดมสมบูรณ์

ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนามาถึงเมืองไทยได้ผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น เกิดประเพณีการบวชสามเดือน เพื่อเอากุลบุตรมาบวชเรียนก่อนจะทำงานรับใช้ราชการและมีครอบครัวในภายหน้า การบวชอย่างนี้จึงมีคำเรียกติดปากว่า "บวชเรียน" คือบวชแล้วศึกษาเล่าเรียนฝึกฝนตนเองไปด้วย และถือกันเคร่งครัดว่าเป็นชายมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ต้องบวชเรียน ใครไม่บวชเรียนถือว่าเป็น "คนดิบ" ไม่เป็นที่ปรารถนาของผู้คน พ่อแม่หญิงสาวไม่ยินยอมยกให้ชายที่ยังไม่ผ่านการบวชเรียนมาก่อน เพราะถือว่าเป็นคนดิบดังกล่าว

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า การบวชเป็นการทดแทนคุณพ่อแม่ พ่อแม่ได้ "เกาะชายผ้าเหลืองลูกชายขึ้นสวรรค์" จริงเท็จอย่างไร น่าจะลองพิจารณาดู

ถามว่า พอลูกชายบวชปั๊บ พ่อแม่ได้เกาะชายจีวรลูกขึ้นสวรรค์จริงหรือเปล่า โบราณสอนกันมาอย่างนี้จนเป็นระบบความเชื่อที่ฝังลึกในจิตใจชาวไทยมาช้านาน

ค้นในคัมภีร์พระพุทธศาสนาก็ไม่เห็นมีที่ไหนกล่าวไว้ ถ้าจะหาทางอธิบายก็คงจะเป็นว่า คำว่า "เกาะชายจีวรขึ้นสวรรค์" คงมิได้แปลตามตัวอักษร คงหมายถึงว่า ถ้าพ่อแม่ที่ได้บวชลูกชายแล้ว ย่อมจะมีโอกาสดีกว่าไม่มีลูกบวช เพราะพ่อแม่บางคนไม่เคยเข้าวัดฟังธรรมเลย แต่พอลูกชายตัวเองมาบวช ก็ได้มีโอกาสเข้าวัด ได้ฟังธรรม รักษาศีล ถวายทาน อย่างนี้เรียกว่า พ่อแม่ได้ "เกาะชายจีวร" ของลูกขึ้นสวรรค์ในระดับหนึ่ง

ยิ่งถ้าพระลูกชายได้เทศน์สอนพ่อแม่ที่ไม่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาให้มีศรัทธา พ่อแม่ที่ไม่ค่อยมีศีลให้รักษาศีล พ่อแม่ที่ไม่ค่อยให้ทานให้เป็นคนใจบุญสุนทาน พ่อแม่ที่หลงงมงายมีความเชื่อความคิดเห็นผิดทำนองคลองธรรม ให้มีความเห็นถูกตามทำนองคลองธรรม ก็นับว่าพระลูกชายได้ยื่นชายจีวรให้พ่อแม่เกาะขึ้นสวรรค์สูงขึ้นไปอีก

ถ้า (สมมติ) พระลูกชายสอนพ่อแม่ให้บรรลุมรรคผล ก็นับว่าพระลูกชายได้ทดแทนคุณของพ่อแม่ได้หมดสิ้น


ดังกรณีพระสารีบุตรเถระเป็นตัวอย่าง

มารดาของพระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฐิ ต่อต้านพระพุทธศาสนา เพราะลูกชาย (คือพระสารีบุตร) หนีไปบวช บวชแล้วก็ยังมาชวนน้องชายและหลานชายไปบวชอีก นางสารีจึงตั้งตนเป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนา ประพฤติขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกทาง เพราะความแค้นส่วนตัว

ต่อมาเมื่อวันที่พระสารีบุตรจะนิพพาน ท่านกลับมายังบ้านเกิดของท่าน แม่เห็นว่าพระลูกชายกลับมาบ้าน และแจ้งความจำนงจะขออยู่ในห้องที่ท่านเกิด จึงมีจิตใจอ่อนโยนขึ้น นึกว่าพระลูกชายคงจะกลับมาอยู่บ้านตามเดิม จึงตั้งใจฟังคำพูดของลูกชายทุกเรื่องที่ท่านพูด จนในที่สุดได้บรรลุโสดาปัตติผล

พระสารีบุตรเมื่อได้โปรดมารดาเป็นสัมมาทิฐิแล้ว นับว่าได้ตอบแทนบุญคุณของมารดาบังเกิดเกล้าได้หมดสิ้นแล้วก็นิพพาน ณ ห้องเกิดของท่านเอง

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอังคุตรนิกายทุกนิบาต (ผมจำไม่ได้ทุกถ้อยคำ แต่จำสาระได้ดังนี้)

"ถึงลูกจะยกพ่อแม่ไว้บนบ่า ให้ท่านถ่ายอุจจาระปัสสาวะรดตลอดเวลา ๑๐๐ ปี ก็ไม่นับว่าตอบแทนคุณพ่อแม่ ถึงลูกจะสถาปนาพ่อแม่ไว้ในความเป็นใหญ่เหนือปฐพี ก็ไม่นับว่าตอบแทนคุณพ่อแม่ แต่ถ้าลูกสอนพ่อแม่ผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีศีล ไม่ทำบุญสุนทาน และมีความเห็นผิดทำนองคลองธรรม ให้มีศรัทธา มีศีล มีใจบุญสุนทาน และมีความเห็นถูกทำนองคลองธรรม นั่นแหละจึงจะชื่อว่าได้ตอบแทนคุณของพ่อแม่"

ตามนัยนี้จะเห็นว่า เพียงแต่โกนผมนุ่งเหลือง ห่มเหลือง ไม่นับว่าได้ทดแทนคุณพ่อแม่ อย่างมาก ก็ทำให้พ่อแม่ปลื้มใจที่ได้บวชลูกชายเท่านั้น พระลูกชายต้องประพฤติตนอยู่ในศีลาจารวัตรที่ดีงาม ศึกษาและปฏิบัติธรรมแล้วสั่งสอนพ่อแม่ในทางดีงาม จึงจะพอนับว่าได้ตอบแทนคุณของพ่อแม่



เถรส่องบาตร

คําว่า เถร อ่าน "เถ-ระ" เมื่อเป็นศัพท์สมาส อ่าน "เถน" เมื่อลงท้ายคำ ดังพระราชทินนามพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ เช่น พระวิสุทธิสารเถร พระอุดมวิชาญาณเถร อ่านว่า "พระ-วิ-สุด-ทิ-สา-ระ-เถน" "พระ-อุ-ดม-วิ-ชา-ยาน-เถน"

เมื่อคราวพระราชทานเพลิงศพ พระโพธิญาณเถร หรือ หลวงพ่อชา คุณรวงทอง ยศธำรง ซึ่งทำหน้าที่พิธีกรถ่ายทอดสดร่วมกับผมหันมาถามว่าอ่านอย่างไร ผมบอกว่าให้อ่าน "...เถน" ท่านผู้รู้ด่ากันขรมว่า มหาเปรียญนั่งอยู่ด้วยทำไมปล่อยให้อ่านผิด "เถน" ก็แปลว่าขโมยสิ ไปกล่าวหาพระอาจารย์วิปัสสนาเป็นขโมยขะโจรเวรกรรมแท้

ผมได้เขียนชี้แจงภายหลังว่า ถูกต้องแล้ว เถน ถ้าเป็นคำศัพท์แปลว่าขโมย ถูกต้องแล้ว แต่นี้เป็นเสียงอ่านของคำว่า "เถร" คนละอย่างกัน คำนี้ถ้าลงท้ายศัพท์ อ่าน "เถน" ถูกแล้ว ถ้ามีหมื่นเปอร์เซ็นต์ก็ถูกหมื่นเปอร์เซ็นต์ โชคดีที่ได้ "ลุงประสก" ทางสยามรัฐช่วย ท่านร้องผ่าน "ช้างวัด" ว่า อ่าน "เถน" ถูกต้องที่สุดในโลก ท่านว่าอย่างนั้น

เถรส่องบาตร จึงอ่านว่า "เถน-ส่อง-บาด" ความหมายคือทำอะไรตามๆ กันมาโดยไม่พิจารณาถึงเหตุผลหรือจุดประสงค์ สิ่งที่ประพฤติตามๆ กันมาอาจผิดก็ได้ ถูกก็ได้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสให้ใช้ปัญญาพิจารณาอย่าเพิ่งด่วนเชื่อ ตรงนี้ก็มิได้หมายความว่าไม่ให้เชื่อเลย เชื่อได้ แต่หลังจากพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว

แค่ไหนจึงจะเรียกว่ารอบคอบ พระองค์ทรงวางเกณฑ์ไว้ว่า
๑. สิ่งนั้นเป็นกุศลหรือไม่ คือดีหรือไม่ ทำใจให้สูงให้สะอาดขึ้นหรือไม่ หรือว่ายิ่งทำจิตยิ่งตกต่ำลง
๒. สิ่งนั้นวิญญูชนตำหนิหรือไม่ฟังเสียงสะท้อนจากวิญญูชนเป็นหลัก ไม่เอาเสียงจากพาลชน (คนโง่)
๓. ตนเองติเตียนตนเองได้ไหม มโนธรรมสำนึกบอกว่าควรหรือไม่ควร
๔. ทำลงไปแล้วเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่นและสังคมส่วนรวมไหม

คำ "เถรส่องบาตร" เกิดจากพระสงฆ์ฉัน สมภารล้างบาตรและข้าว พอฉันเสร็จ สมภารล้างบาตรและเช็ดบาตรเอง เพื่อดูว่าแห้งหรือยัง ถ้ายังไม่แห้งก็เช็ดอีกแล้วยกขึ้นส่องอีก พระลูกวัดไม่ทราบความหมาย เมื่อสมภารทำก็ทำตามบ้าง เมื่อกาลเวลาผ่านไปนานเข้า การยกบาตรขึ้นส่องจึงกลายเป็น "รูปแบบ" ประเพณีที่ทำกันเคร่งครัดยิ่งขึ้น โดยไม่มีใครรู้ความหมาย

โบราณท่านผูกนิทานเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อสอนว่า จะทำอะไรอย่ายึดถือเพียงรูปแบบ ควรคำนึงถึงสาระด้วยว่าทำไปทำไม ทำแล้วตนและสังคมจะได้ประโยชน์อะไร การนับถือพระศาสนา (ทุกศาสนานั่นแหละ) ถ้าสักแต่ว่านับถือเพียงรูปแบบ ไม่รู้สาระที่แท้จริง ก็ไม่ได้ประโยชน์ที่พึงได้จากพระศาสนา

คณิตกรณ์
มีศัพท์บัญญัติเกิดขึ้นมากมาย บ้างก็คิดขึ้นโดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นเป็นทางการ อย่างเช่น คณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ ของราชบัณฑิตยสถาน บ้างก็เป็นนักวิชาการบัญญัติขึ้นเป็นส่วนตัว ศัพท์ที่บัญญัติขึ้นมาบางคำก็ "ติด" (คือประชาชนนิยมใช้ทั่วไป) บางทีก็ไม่ติด หายต๋อมไปเลยก็มี

เล่ากันว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบัญญัติคำว่า football ว่า "หมากตีน" ซึ่งก็ฟังเข้าท่าดีและมองเห็นภาพชัดเจน แต่ก็ไม่ "ติด" จนบัดนี้ก็ยังไม่มีใครบัญญัติคำมาใช้แทน football ได้ต้องทับศัพท์ว่า "ฟุตบอล" ซึ่งก็น่าจะอ่าน "ฟุต-บอน" ตามเสียงไทย

แต่ก็ได้ยินนักพากย์กีฬาเดาะเอ๊กเซนซ์ฝรั่งว่า "ฟุต-บอล์"

อีกคำหนึ่งที่คนไทยยุคโลกาภิวัตน์รู้จักกันแพร่หลายคือ computer ได้มีความพยายามบัญญัติศัพท์ขึ้นหลายครั้ง สืบเนื่องมาจาก ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น อยากให้มีคำไทยใช้แทนคำนี้ ทบวงมหาวิทยาลัยได้เสนอคำว่า "เครื่องคณิตกล"

ฯพณฯ ท่านนายกฯ มีความพอใจ แต่ต้องการให้ราชบัณฑิตยสถานพิจารณาด้วย ราชบัณฑิตยสถาน โดยคณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์ พิจารณาว่า คำ "คณิตกล" ไม่สู้จะตรง เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีส่วนใดที่เป็นเรื่องการทำงานของเครื่องกลเลย จึงไม่ควรมีคำว่า "กล" อยู่ด้วย  และถ้าพิจารณาในแง่วิวัฒนาการของเครื่อง การใช้คำ "คณิต" ก็ตรงกับหน้าที่เบื้องต้น ของคอมพิวเตอร์เท่านั้น ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวไกลกว่าการคำนวณตัวเลขเพียงอย่างเดียว

แต่ในที่สุดคณะอนุกรรมการเห็นว่า แม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะวิวัฒนาการไกลไปกว่าเครื่องคิดเลขหรือเครื่องคำนวณแล้วก็ตาม แต่คำภาษาอังกฤษ computer ก็ยังแปลว่าคำนวณ, นับ, ประมาณ, อย่างเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนไปใช้คำใหม่ตามความหมายของเครื่อง จึงเห็นสมควรให้คงคำ "คณิต" ไว้เพื่อให้ตรงกับภาษาอังกฤษ computer และให้ใช้คำ "กร" แทน "กล" เป็น "คณิตกร"

เมื่อเสนอให้คณะกรรมการบัญญัติศัพท์วิทยาศาสตร์อีกชั้นหนึ่ง คณะกรรมการเห็นด้วยแต่ขอแก้ไขเป็น "คณิตกรณ์" เพราะคำ "กร" มักจะหมายถึงคนมากกว่าเครื่องมือ

ตกลงเราก็เลยมีศัพท์บัญญัติว่า คณิตกรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล

แต่มีใครสักกี่คนที่ทราบว่าราชบัณฑิตยสถาน ได้บัญญัติคำว่า คณิตกรณ์ ขึ้นใช้แทนคำว่า computer ดูเหมือนว่าคำนี้ คงไม่ถูกใจคนทั้งหลาย เพราะไม่เห็นมีใครใช้สักเท่าไรเลย แม้กระทั่งกรรมการบัญญัติศัพท์บางท่านก็ยังคงใช้ทับศัพท์ว่า "คอมพิวเตอร์" อยู่เหมือนเดิม

สงสัยจะไม่ "ติด" ดุจเดียวกับ "หมากตีน" เสียแล้วละครับ

ผมได้ทราบว่าล้นเกล้าฯ รัชกาลปัจจุบัน ทรงบัญญัติคำ computer ว่า สัณจินตกร แปลว่าเครื่องช่วยคิดเครื่องช่วยจำ ฟังไพเราะเข้ากับหูไทยๆ ดีกว่า คณิตกรณ์ ซึ่งฟังแล้วนึกถึงวิชาเลขคณิต (ที่ผมไม่ค่อยได้คะแนน) มากกว่าจะนึกไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์  



กินนร/ทัศนวิหค


กินนร

เพิ่งพบเพื่อนพ้องผู้เชี่ยวชาญในภาษาไทยคนหนึ่ง ทันทีที่เจอหน้า เธอก็ถามเราว่า "อาจารย์ได้ดูรายการทีวี...หรือเปล่า เมื่อไม่นานมานี้ เรา (หมายถึงเธอคนนั้น) กำลังนั่งอ่านหนังสืออยู่ ได้ยินเสียงจากทีวีว่า (เสียงอ่าน) กินนอน มาจาก กึ บวก นอน รวมเป็น กินนอน"

ผมบอกว่า ไม่ได้ดู ถึงดูก็คงไม่ดูรายการที่ว่านั้น เธอบ่นว่า ไม่น่าเชื่อว่าอาจารย์...ผู้เขียนสคริปต์ จะผิดพลาดถึงขนาดนั้น ผมแย้งว่าถ้าเป็นอาจารย์คนที่ว่าจริง ท่านคงไม่พลาดดอกครับ ท่านคงเขียนถูกแต่คนอ่านอ่านผิดไปเอง

ภาษาบาลีนั้น ไม่มีสระอึ ถ้าเห็นคำที่มีสิ่งคล้ายสระอึ นั่นหมายความว่าเป็น สระอึ กับ นิคหิต (นฤคหิต) แต่ถ้าสังเกตดีๆ สระอิ กับ นิคหิต จะอยู่ห่างกันพอสมควร นิคหิตจะลอยอยู่เหนือสระอิ เล็กน้อย ต่างจากสระอึ ซึ่งจุดกลมๆ ติดกับสระอิเลยทีเดียว

มีเรื่องเล่าตลกๆ ว่า พระบวชใหม่ท่องบทสวดมนต์ที่ว่า "ถูเป ฆเร โพธิฆเร ตหึ ตหึ" (อ่านว่า ถูเป คะเร โพทิคะเร ตะหิง ตะหิง) ท่านออกเสียงว่า "ถูเป คะเร โพธิคะเร ตะหึ ตะหึ" นี้ก็เพราะไม่รู้ว่า ในภาษาบาลี ไม่มีสระอึ

กินนร ก็เช่นเดียวกัน ถ้าผู้อ่าน รู้ว่าในภาษาบาลีไม่มีสระอึ มีแต่สระอิ ก็จะไม่อ่านว่า "มาจาก กึบวกนอน" ที่ถูกต้องอ่านว่า "มาจาก กิงบวกนอน"

กินนร อ่านว่า "กินนอน" หมายถึงนกในวรรณคดี รูปร่างครึ่งสัตว์ครึ่งคน จะว่านกก็ไม่ใช่ เพราะส่วนบนเป็นคน จะว่าคนก็ไม่ใช่ เพราะว่าส่วนล่างเป็นนก

เมื่อฤๅษีชีไพร หรือนักสิทธิ์ วิทยาธร มาเห็นเข้าก็ร้องด้วยความฉงนว่า กินนโร "คนหรือเปล่า" หรือ "มันคนอะไรกันวะนี่ ไม่เห็นเหมือนคนทั่วไปเลย"

คำว่า "กินนโร" (ไทยถอดเป็นกินนร อ่าน "กินนอน") มาจาก กึ (อ่าน "กิง" แปลว่าอะไร) บวก นโร (คน) ถอดเป็นไทยว่า กินนร

ที่รวมกันแล้วเป็น กินนร มิใช่ กึนร ก็เพราะตามหลักภาษา นิคหิตต้องเปลี่ยนตามพยัญชนะที่ตามหลัง ถ้าพยัญชนะตามหลังเป็นอักษรวรรคใด ก็ต้องเปลี่ยนนิคหิตเป็นอักษรวรรคนั้น ในที่นี้พยัญชนะ น ที่ตามหลัง เป็นพยัญชนะวรรค ต (ต ถ ท ธ น) นิคหิตจึงเป็น น, กึ+นร จึงเป็น กินนร ด้วยประการฉะนี้

เปิดดู อภิธานัปปทีปิกาสูจิ (พูดหลวมๆ คือ พจนานุกรมภาษาบาลี) ท่านนิยามคำนี้ไว้น่าสนใจดังนี้ครับ กินฺนโร หมายถึง (๑) คนที่น่าเกลียด ในทำนองว่าคนอะไรก็ไม่รู้ไม่น่าดูเลยอะไรๆ ทำนองนั้น (กุจฺฉิโต นโร) (๒) สัตว์คล้ายคน (นรสทิสตฺตา วา. กิ สทิโส นเร นาติ นโร นิคฺคหิตาคโม)

ในที่นี้ท่านไม่ให้คำนิยามเหมือนที่เราเข้าใจกันทั่วไปว่า กินนร มาจาก กึ (อะไร) + นร (คน) แต่ท่านว่ามาจาก กิ (คล้าย) + นร (คน) แล้วลงนิคหิต จึงมีรูปเป็น กินนร ด้วยประการฉะนี้

ที่อยากฝากอีกเรื่องก็คือ พยัญชนะโดดๆ ในภาษาบาลี มีเสียง "อะ" อยู่ในตัว เมื่อเห็นรูปอย่างนี้ให้อ่านมีเสียง "อะ" ทุกแห่ง รับรองว่าไม่ผิด ยกตัวอย่าง "พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย" สามพยางค์หลังให้อ่าน "หิ-ตา-ยะ-สุ-ขา-ยะ" อย่าอ่าน "หิ-ตาย-สุ-ขาย" เป็นอันขาด เดี๋ยวใครไม่รู้จะถามว่า

ใครตาย ใครขายอะไร


ทัศนวิหค
ภาษาไทยนั้นเป็นภาษาคำโดด ส่วนมากมีพยางค์เดียวเช่น มี ดี สี แสง เมื่อต้องการให้เป็นประโยคก็นำคำเหล่านั้นมาต่อกันยาวๆ ก็ได้ความเป็นเรื่องเป็นราว การเอาคำสองคำมาต่อกัน ขึ้นอยู่ว่าจะต่อข้างหน้าหรือต่อข้างหลัง ต่อข้างหน้ามีความหมายอย่างหนึ่ง ต่อข้างหลังมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น ชมเชย-เชยชม นอนหลับ-หลับนอน เป็นต้น (ความจริงเมื่อ "เช่น" ก็ไม่ต้อง "เป็นต้น" แต่ผมชอบอย่างนี้นี่หว่า)

ครูอาจารย์สอนผมว่า ภาษาไทยไม่มีเครื่องหมายวรรคตอน แต่ปัจจุบันนี้ต้องเขียนวรรคตอนให้ถูกต้องจึงจะอ่านเข้าใจ เขาว่าอย่างนั้น นี้ก็ไม่จริงเสมอไป ไม่เชื่อท่านลองอ่านหนังสือที่นักเขียนทั้งหลายท่านเขียนอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ได้เครื่องหมายวรรคตอนไม่เอาไหนเลย แต่เราก็ยังอ่านรู้เรื่อง เพราะในใจเรากำหนดวรรคตอนเอาเอง และอ่านไปก็ด่าในใจว่า "มันพิมพ์อะไรของมันวะ" (ท้าย "วะ" ไม่มี? เหมือนภาษาฝรั่ง)

ไม่ได้ด่าว่า "มันเขียนอะไรของมันวะ" ส่วนมากรู้กันว่า เป็นฝีมือของคนพิมพ์และคนตรวจปรู๊ฟ ซึ่งบัญญัติศัพท์โก้หรูว่า "เจ้าหน้าที่พิสูจน์อักษร"

ภาษาไทยที่มีใช้อยู่ในยุคโลกาภิวัตน์นี้ มีคำบาลีสันสกฤตมากมายเหลือเกิน มากจนเกินจำเป็น จนคำไทยเดิมๆ หายไป แม้ไม่หายก็ถูกลดชั้นลงเป็นภาษาชั้นต่ำ หรือภาษาไม่สุภาพไป

ยกตัวอย่างคำว่า กิน, ตีน เวลาชาวบ้านธรรมดาอย่างคุณ อย่างผม (ถ้าคุณเต็มใจจะอยู่ในระดับเดียวกับผม) พูดว่า "กินข้าว" ได้สบายมาก

เมื่อวานนี้สุภาพสตรีท่านหนึ่งโทรศัพท์มาว่าจะมาหาเวลาบ่ายโมง ผมตอบไปว่า ผมไม่ว่างเพราะนัด "กินข้าวกลางวัน" กับเพื่อน ให้มาบ่ายแก่ๆ ก็แล้วกัน เธอถามว่า "ท่านมีนัดทานอาหารกลางวันหรือคะ ไม่เป็นไรค่ะ ดิฉันจะไปประมาณบ่ายสามโมงก็ได้ค่ะ"

ผม "กินข้าว" สุภาพสตรีท่านนั้นเห็นว่าไม่สุภาพ จึงเลื่อนชั้นขึ้นเป็น "ทานข้าว" ซึ่งที่ถูกคือ "รับประทานข้าว" ไม่รู้เพราะเหตุใดจึงกร่อนเหลือแต่ "ทาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ให้" มิใช่ "กิน" นี้ก็เป็นคำเพี้ยนในยุคโลกาภิวัตน์คำหนึ่ง

คำว่า "ตีน" นี้ดูเหมือนจะต่ำเอามากๆ ใครพูดคำนี้จะถูกมองว่าเป็นคนไม่มีการศึกษา เผลอๆ จะหาว่า "พ่อแม่ตายแต่ยังเด็ก" (คือไม่มีเวลาอบรมสั่งสอน) ทั้งๆ ที่ "ตีน" เป็นคำไทยแท้ ความหมายธรรมดาๆ คำหนึ่ง "ตีนเขา" พูดได้ "ตีนของผม" พูดไม่ได้ (ไม่สุภาพ) "ผู้ดีตีนแดง" พูดได้ (เพราะเป็นคำพังเพย) "ส้นตีน" นี้ไม่ได้เป็นอันขาด เดี๋ยวเกิดเรื่อง ดังกรณีเจ้าคุณโชดกฯ (สมณศักดิ์สุดท้าย คือ พระธรรมธีรราชมหามุนี)

หลวงพ่อสอนกรรมฐานให้แก่พระบวชใหม่ สั่งให้เดินจงกรม ตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวอิริยาบถ "ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ..." ลูกศิษย์รูปหนึ่งถามว่า "สติกำหนดที่ไหนครับ"

"ที่ส้นตีน" หลวงพ่อพูดเรียบๆ ทันใดนั้นเองเสียง "พัวะ" หลวงพ่อล้มลงนั่งกับพื้นทันที

ไอ้ลูกศิษย์อันธพาลมันนึกว่าหลวงพ่อยวน จึงเตะขาท่านด้วยความโมโห บาปกรรมแท้ๆ

เห็นหรือยัง คำไทยดีๆ แท้ๆ มาแบ่งแยกชั้นวรรณะให้มัน บางคำเป็นคำต้องห้าม ห้ามนำมาใช้ในที่รโหฐาน (คำนี้ก็อีกแหละความหมายของมันคือ "ที่ลับ" กลายมาใช้ในความหมายว่า "โอ่โถง โอ่อ่า" นี่ก็คำเพี้ยนอีกคำหนึ่งในยุคโลกาภิวัตน์)

ภาษาไทยปัจจุบันมีคำบาลีสันสกฤตปนมากมายจนเกือบจะถึงขั้นถามกันแล้วครับ คุณหมายความอย่างไร เพราะที่พูดๆ กันนั้นไม่มีคำไทยแท้พอจะให้เข้าใจได้เลย (สงสัยต่อไปคนไทยต้องถือพจนานุกรมติดตัวคนละเล่ม ไว้คอยเปิดเวลาสนทนากัน) ราชบัณฑิตและนักวิชาการต่างก็บัญญัติศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาใช้กันมากมาย ที่มีมาแล้วก็มากจนจำไม่ไหว ยังจะมีมาอีกมากมายไม่รู้เท่าไร

นักบัญญัติศัพท์ก็เหลือเกิน แทนที่จะหาคำไทยๆ มาบัญญัติบ้าง ก็เปิดแต่พจนานุกรมบาลีสันสกฤตหยิบเอาศัพท์มาบัญญัติ บัญญัติออกมาแล้ว ก็ต้องถามว่าแปลอย่างไร ผู้ถูกถามก็มักจะแปลไม่ได้ มีทางเดียวคือหันกลับไปหาคำเดิมว่าศัพท์นี้บัญญัติจากคำฝรั่งว่า อย่างนี้ๆ จึงจะร้องอ๋อ แล้วอย่างนี้จะบัญญัติไปทำไมไม่รู้สิ

พวกที่ไม่มี "ภูมิ" ทางภาษาหลายคน มักชอบบัญญัติศัพท์ให้เป็นที่เฮฮา เช่น ละมุนภัณฑ์ (soft ware) กระด้างภัณฑ์ (hard ware) คำหลังนี้บางท่านอุตส่าห์เปิดดิกชันนารี งัดเอาคำบาลีมาใช้ว่า "กักขฬภัณฑ์" มหาบาเรียนฟังแล้วหัวร่อจนฟันปลอมจะหลุด

สัปดาห์ก่อนได้ยินเสียงแว่วมาจากทีวี (ที่ผมมักเปิดให้ผีดู) ว่า "ทัศนวิหค" จนสะดุ้งหันไปดูว่าเสียงใครพูด ภาพก็หายไปแล้ว ผมเล่าให้เพื่อนฟังพร้อมถามว่า มันคืออะไร เพื่อนบอกว่า ก็คงมาจาก (bird’s-eye view กระมัง

อ้อ แล้วทำไมไม่บัญญัติว่า ทัศนปักษี ทัศนสกุณา ทัศนสกุนตา ทัศนอัณฑชะ ทัศนปตังคะ ทัศนทวิช ทัศนปัตตยาน ทัศนปตันตะ ทัศนวักกังคะ ให้รู้แล้วรู้รอดไป

ขอได้ไหมครับ ท่านนักบัญญัติศัพท์สมัครเล่นทั้งหลาย ที่มีอยู่แล้วก็จะปวดหัวตายอยู่แล้ว ขอความกรุณาพูดหรือเขียนโดยใช้คำไทยๆ ได้บ่ครับ




ศาสตราภิชานศาสตราจารย์/ปราชญ์บัญญัติศัพท์

ด๊อกเตอร์สันสกฤตชาวอินเดียท่านหนึ่งชมว่า คนไทยดัดแปลงภาษาบาลีสันสกฤตมาใช้ได้เก่งกว่าเจ้าของภาษาเดิมเขา

ท่านพุทธทัตตมหาเถระ ชาวลังกา เก่งในการบัญญัติศัพท์บาลีขึ้นใช้ใหม่ ท่านผลิตพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี ออกมาสองเล่ม ท่านยังออกปากว่าบางครั้งก็รู้สึกว่าคำบัญญัตินั้นๆ ไม่ค่อยจะถูกใจท่านนัก

ยกตัวอย่างเช่น papaya ท่านบัญญัติว่า นาวาผลํ แปลตามศัพท์ว่า "ผลไม้เรือ" เมื่อมีผู้ถามว่า ทำไม "บักหุ่ง" ของชาวอีสานจึงเป็น "นาวาผลํ" ไปได้ ท่านบอกว่า มันเหมือนเรือน่ะ ครั้นซักว่า เหมือนยังไง ดูยังไงก็ไม่เหมือนเลย ท่านกล่าวต่อว่า

"ลองเอามีดผ่าออกเป็นสองชิ้นดูสิ เหมือนเรือยังกับแกะ"

แหม ต้องมองให้ลึกถึงสองชั้นจึงจะรู้ว่ามันเหมือนกัน อะไรจะปานนั้น

เรามีศัพท์บัญญัติเรียกผู้เชี่ยวชาญในสาขา (ของตน) ว่า ศาสตราจารย์ คำนี้เป็นศัพท์บัญญัติแทนคำฝรั่งว่า professor ใช้กันมาจนรับรู้และยอมรับโดยทั่วหน้ากัน

ถ้าถามว่า ศาสตราจารย์ เป็นมาอย่างไร ก็ต้องแยกศัพท์ดู ศาสตร (บาลีว่า สัตถ) ที่แปลว่าศาสตร์ หรือวิชาการแขนงนั้นๆ บวก อาจารย์ ที่แปลว่าครู, ผู้สอน รวมกันเป็น ศาสตราจารย์ หมายถึงครูผู้สอนซึ่งสาขาวิชาการ (ของตน) และครูผู้สอนนี้ก็จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นด้วย จึงจะเรียกว่า ศาสตราจารย์ ครูที่พอสอนได้ก็ไม่เรียกศาสตราจารย์

เมื่อเปิดดูพจนานุกรมฯ ของท่านพุทธทัตตะท่านกลับไม่ใช้คำว่า สัตถาจาริย (สันสกฤตเป็นศาสตราจารย์) ท่านใช้คำว่า ปัณฑิตาจาริย (ปัณฑิตาจารย์) หรือ มหัชฌาปก ไพเราะสู้ "ศาสตราจารย์" ของเราไม่ได้

ส่วนคำ ศาสตราภิชาน ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัญญัติขึ้น และมอบให้เป็นเกียรติแก่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตปลัดกระทรวงการคลังนั้น แปลว่าอย่างไร ถ้าจะใช้ภาษาฝรั่งควรจะเป็นอย่างไร

ข้อนี้ผมไม่ทราบ แต่มีความรู้สึกว่า ผู้บัญญัติศัพท์เก่งมาก เข้าใจเลือกคำมาใช้ ใช้ปั๊บก็ "ติด" เลย คือคนยอมรับว่า เข้าทีดี

ถ้าให้ผมแยกศัพท์ก็จะได้ดังนี้ ศาสตร-อภิชาน ศาสตร รู้กันแล้ว ส่วน อภิชาน มาจาก อภิ-ชาน แปลว่า "รู้ยิ่ง" คำนี้จะแปลเป็นกรรตุว่า "ผู้รู้ยิ่ง" หรือแปลเป็นกรรมว่า "ผู้ที่คนอื่นพึงรู้ยิ่ง (หมายถึงมีชื่อเสียง)" ก็ได้ ดุจคำว่า สุวิชาโน ในพุทธสุภาษิตว่า สุวิชาโน ภวํ โหติ จะแปลว่า "ผู้รู้ดี" หรือ "ผู้อันบุคคลอื่นพึงรู้ง่าย" ฉะนั้นแล

สรุปแล้ว ศาสตราภิชาน ก็คงหมายถึง "ผู้ที่รู้ยิ่งในศาสตร์ของตน" (ในกรณีของ "หม่อมเต่า" ก็หมายถึง การเงิน การคลัง) หรือ ผู้ที่บุคคลอื่นพึงรู้ยิ่งในศาสตร์ของตน (หมายถึงเป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่าท่านผู้นี้เก่งในศาสตร์นั้น)

ผมมิใช่คนบัญญัติศัพท์จึงไม่รู้ว่าที่แท้จริงเป็นอย่างไร ถ้าจะกรุณาแจ้งให้ทราบก็จะเป็นพระคุณยิ่ง


ปราชญ์บัญญัติศัพท์
เคยพูดถึงปราชญ์ไทยบางท่านบัญญัติฝรั่งเป็นคำไทยได้เข้าท่าเช่น ชื่อคน ศาสตราจารย์แมกซ์ มุลเลอร์ นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ปราชญ์ ท่านบัญญัติว่า โมกษมูลาจารย์ แปลว่า อาจารย์ผู้บุกเบิกทางแห่งโมกษะ (ในประเทศตะวันตก) ที่เน้นในประเทศตะวันตก ก็เพราะท่านนี้เป็นหนึ่งในจำนวนผู้บุกเบิกการศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศตะวันตก ดังได้แปลพระไตรปิฎกชุด "คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งตะวันออก" มาแล้ว

ปราชญ์ที่คิดคำนี้ขึ้นคือ พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) ครับ

อีกคำหนึ่งคือ สวนโมกขพลาราม นับเป็นการบัญญัติศัพท์ที่เก๋ มาก เอาคำว่า โมก (ชื่อต้นไม้) มาแผลงเป็นบาลีว่า โมกข กับคำว่า พลา (ชื่อต้นไม้) มารวมกันเป็น โมกขพลา แล้วต่อด้วยคำ อาราม เป็น โมกขพลาราม แปลว่าเป็นสวนอันเป็นพลังแห่งโมกษะ

ท่านพุทธทาสภิกษุ เป็นผู้คิดคำนี้

นักปราชญ์ไทยอีกท่านหนึ่งที่ควรทราบไว้คือ พระสิริมังคลาจารย์ แห่งล้านนา ผู้มีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ผู้แต่งหนังสือ มังคลัตถทีปนี ชินกาลมาลีปกรณ์ และอื่นๆ อีก โดยเฉพาะใน ชินกาลมาลีปกรณ์ ท่านสิริมังคลาจารย์ได้แปลชื่อบุคคลและสิ่งของ เป็นภาษาบาลีหมด ซึ่งตามปกติ อสาธารณนาม (วิสามานยนาม) เขาไม่แปลกัน การที่ท่านแปลชื่อเฉพาะเป็นภาษาบาลี จึงมีความริเริ่มใหม่ที่น่าสนใจและทำได้คมคายมาก

"พระเจ้าแสนเมืองมา" ท่านใช้ว่า ลกฺขปุราคโม ลกฺข (แสน)-ปุร (เมือง) อาคโม (มา) = ลกฺขปุราคโม

"หนองขวาง" ท่านใช้ว่า ติริยวาปี ติริย (ขวาง)-วาปี (หนอง) = ติริยวาปี

ที่ขำก็คือท่านแปลคำ "พะงั่ว" เป็น พาลราชา ซึ่งแปลว่าพระราชาโง่ คงจะนึกอยู่นานว่าจะแปลเป็นบาลีว่าอย่างไร บังเอิญคำว่า งั่ว ฟังคล้าย ง่าว ในภาษาชาวเหนือ

ก็เลยเกณฑ์ให้ขุนหลวงพะงั่วเป็น พระราชาโง่ ไปเลย

ปราชญ์อีกท่านหนึ่งที่ไม่ควรลืมก็คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ ทรงคิดพระนามของพระราชโอรสและพระราชธิดาเป็นคำไทยแล้วทรงแปลเป็นบาลีได้อย่างคมคายยิ่ง มีโอกาสไว้เล่าภายหลัง วันนี้ขอพูดถึงศัพท์ ตรีทศเทพ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติไว้ในรัชกาลที่ ๔ ก่อน

พอเห็นศัพท์ นักบาลีก็คงร้องอ๋อ มาจาก ติทสเทว อันเป็นชื่อของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หามิได้ครับ เมื่อเป็นศัพท์บัญญัติ ย่อมมีความหมายเฉพาะ

พระราชโอรสองค์โตในรัชกาลที่ ๔ อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย พระนามทรงกลมว่า กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ ทรงสร้างวัดถวายพระมารดา สร้างยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นพระชนม์ไปก่อน พระราชโอรสองค์รองพระนามว่า กรมหมื่นวิษณุราถริภาธร ทรงสร้างต่อ แต่ยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นพระชนม์อีก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงทรงสร้างต่อจนสำเร็จแล้วพระราชทานนามว่า วัดตรีทศเทพ แปลว่า วัดที่เจ้าฟ้าชายสามพระองค์ทรงสร้าง

ทรงแยกศัพท์ดังนี้ครับ ตรี(สาม)-ทศ (มาจากทสา ที่แปลว่าชาย)- เทพ(เจ้า) รวมเป็น ตรีทศเทพ แปลว่า เจ้าฟ้าชายสามพระองค์หมายถึงวัดนี้เจ้าฟ้าชายสามพระองค์จึงสำเร็จ

นี้แหละครับ ศัพท์บัญญัติ ผู้ไม่รู้ที่ไปที่มา แปลได้ตามรูปศัพท์ แต่อาจไม่ตรงความหมายที่ผู้บัญญัติต้องการ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พฤศจิกายน 2561 15:12:24 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #52 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2561 15:14:20 »




ภิกษุ

มีคำศัพท์คำหนึ่ง ที่ผู้บวชเรียนในพรรษากาลจะพบบ่อยที่สุด เพราะมีในหนังสือ นวโกวาท ที่พระบวชใหม่จะต้องท่อง เช่น "ภิกษุพูดปด ต้องปาจิตตีย์ ภิกษุแกล้งภิกษุต้องปาจิตตีย์ ภิกษุ..."

ถามอุปัชฌาย์อาจารย์ว่า ภิกษุคืออะไร ก็จะได้รับคำตอบว่า หมายถึง พระนั้นเอง บางทีเรียกรวมกันว่าพระภิกษุ เพื่อให้ต่างจากภิกษุสงฆ์ (ภิกษุจำนวนตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป)

ถ้าถามให้ลึกลงไปอีก คำว่าภิกษุมาจากคำอะไร (มีรากคำมาอย่างไร ประกอบวิภัติปัจจัยอะไร จึงเป็นภิกษุ) ก็ต้องว่าโดยละเอียดเป็นเรื่องของความรู้ทางอักษรศาสตร์

ภิกษุ เป็นรูปสันสกฤต ถ้าเป็นบาลีเขียนว่า ภิกขุ มาจาก ภิกฺขฺธาตุ แปลว่า ขอ รูปัจจัย ประกอบกัน แล้วสำเร็จรูป ตามหลักไวยากรณ์เป็น ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ขอ

พูดให้สั้นก็ว่า คำว่า ภิกษุ (หรือบาลีว่า ภิกขุ) แปลว่าผู้ขอ ขออะไร ก็ขอข้าวจากชาวบ้านนั้นแล กิริยาอาการที่ท่านไปขอเรียกว่า ภิกขาจาร (เที่ยวไปเพื่อภิกษา) หรือไปเพื่อ (บิณฑบาต)

ตามจารีตทางพระพุทธศาสนา ผู้สละบ้านเรือนไปบวชจะต้องสมาทานหรือถือ นิสัย ๔ อกรณียกิจ ๔

นิสัย ๔ ก็คือสิ่งที่ต้องอาศัยดำรงชีวิต ได้แก่ จีวร (เครื่องนุ่งห่ม ครองผ้าบังสุกุล คือผ้าที่ทำจากเศษผ้าที่หามาเย็บทำจีวร ต่อมาอนุญาตให้รับผ้าสำเร็จรูปจากชาวบ้านได้) บิณฑบาต (ขอข้าวจากชาวบ้านฉัน) เสนาสนะ (อยู่ตามโคนไม้ต่อมาอนุญาตให้อยู่ในสิ่งปลูกสร้างได้) คิลานเภสัช (ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า คือยาดองปัสสาวะต่อมาอนุญาตให้ใช้เภสัชอย่างอื่นได้)

อกรณียกิจ ๔ คือสิ่งที่ผู้บวชไม่พึงทำ คือ เสพเมถุน ลักทรัพย์ ฆ่ามนุษย์ อวดอุตริมนุสธรรม ต่อมาสิ่งไม่พึงทำ ๔ ประการนี้บัญญัติเป็นปาราชิก ๔ บรรพชิตต้องไม่ทำเด็ดขาด ใครขืนทำต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที

การขออาหารของภิกษุ มิใช่ขอดังขอทาน แต่เป็นการขอเพื่อได้อาหารมายังชีพและมีกำลังประพฤติพรหมจรรย์สืบพระศาสนา ผู้ขอเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ เป็น "เนื้อนาบุญ" ของชาวบ้าน ชาวบ้านถวายของแก่ภิกษุผู้บริสุทธิ์ เป็นการทำบุญ ได้บุญได้กุศลด้วยตัวเขาเอง

เพียงแต่อาศัยรูปแบบของผู้สละโลก แต่ไม่สละจริง ขอเขากินเป็นอาชีพ ไม่นับว่าเป็น "ภิกษุ" ในความหมายแท้จริง

อีกความหมายหนึ่งของคำ ภิกษุ (ภิกขุ) คือ "ผู้เห็นภัยในสังสารวัฏ" มีที่มาต่างจากที่กล่าวข้างต้น คือมาจาก ภย (ภัย) - อิกฺขฺ (ธาตุหรือรากคำ แปลว่า เห็น) กระจายคำตามหลักไวยากรณ์บาลีว่า สํสาเร ภยํ อิกฺขตีติภิกฺขุ = ผู้ใดเห็นภัยในสังสารวัฏ ผู้นั้นเรียกว่า ภิกษุ

แปลไทยเป็นไทยก็คือ ผู้เห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดด้วยอำนาจกรรมดีกรรมชั่วเป็นสิ่งน่ากลัว จึงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อ "ตัดวงจร" แห่งสังสารวัฏ บรรลุอรหัตผลเป็นพระอรหันต์ แล้วจะได้ไม่เวียนเกิดเวียนตายอีกต่อไป

ดูความหมายที่แท้แล้ว ผู้ที่จะได้ชื่อว่า ภิกษุ มิใช่เป็นได้ง่ายๆ ภิกษุในอุดมคติ จะต้องเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ และเห็นภัยในสังสารวัฏ ประพฤติเพื่อหลุดพ้นอื่น จากนี้เป็นได้เพียง "ผู้ขอข้าวเขากิน"


ปริวาสกรรม อยู่กรรม
มี "แฟชั่น" อย่างหนึ่งในวงการพระพุทธศาสนาในปัจจุบันคือ ปริวาสกรรม หรือ การอยู่กรรม ทำกันเป็นล่ำเป็นสันในหมู่พระภิกษุทั้งหลาย ดูเหมือนมีฤดูกาลเฉพาะด้วย พอถึงฤดูกาลนั้นพระสงฆ์จะอยู่กรรมกันเป็นจำนวนมาก ถึงขั้นมี "ทัวร์ปริวาสกรรม" ไปตามจังหวัดต่างๆ อีกด้วย พระบางรูป เขาจัดพิธีอยู่กรรมกันที่ไหนท่านก็ไปร่วมกับเขาทุกครั้ง

ผมยังนึกไม่ออกว่า แนวความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับปริวาสกรรม หรือการอยู่กรรมของพระพุทธเจ้ามันเปลี่ยนแปลง หรือพูดให้ถูกมันผิดเพี้ยนไปจากเดิมตั้งแต่เมื่อใด

ปริวาส แปลว่าการอยู่ชดใช้ ชาวบ้านเรียกว่า "การอยู่กรรม" เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อออกจากอาบัติหนักอย่างหนึ่ง ซึ่งภิกษุผู้ต้องอาบัติหนักระดับ "สังฆาทิเสส" แล้วปกปิดไว้จะต้องประพฤติเป็นการลงโทษตนเองชดใช้ให้ครบเท่าจำนวนวันที่ปิดอาบัติไว้

ขยายความอีกนิดก็คือ พระภิกษุที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส อันเป็นความผิดอย่างหนักรองลงมาจากปาราชิกข้อใดข้อหนึ่ง เช่น "จงใจปล่อยสุกกะ" (masturbation) สมมติว่าปกปิดไว้ ๗ วันแล้วจึงบอกเพื่อนภิกษุด้วยกัน

พระคุณเจ้ารูปนี้จะต้องอยู่ปริวาส ลงโทษตัวเอง ๗ วันเท่าจำนวนที่ปกปิดไว้ ระหว่างอยู่ปริวาส พระภิกษุรูปนั้นจะต้องงดใช้สิทธิทุกอย่างที่ตนเคยมี เช่น ห้ามบวชให้คนอื่น ห้ามให้นิสสัย ห้ามให้โอวาทแก่ภิกษุรูปอื่น ห้ามใช้สิทธินับอายุพรรษา ต้องกราบไหว้แม้กระทั่งภิกษุบวชใหม่เรียกว่า "ถูกถอด" ออกจากความเป็นพระปกติ เป็นพระที่อยู่ในระหว่างรับโทษทัณฑ์ ว่าอย่างนั้นเถอะ

ให้นึกถึงภาพทหารที่ทำผิดแล้วถูก "กัก" บริเวณ หรือไม่ก็ตัวอย่างเร็วๆ นี้ก็ได้ นายตำรวจที่พัวพันส่วยถูกสั่งพักราชการชั่วคราวในระหว่างสอบสวน อะไรทำนองนั้น

การอยู่ปริวาสมีอยู่ ๓ ประเภทคือ
- อยู่ปริวาสตามจำนวนวันที่ปกปิดอาบัติไว้เรียกว่า "ปฏิจฉันนปริวาส"
- ต้องอาบัติหลายตัวปกปิดไว้ไม่เท่ากัน เอาจำนวนวันที่ปกปิดไว้รวมกันแล้วอยู่ปริวาสตามจำนวนวันนั้น เรียกว่า "สโมธานปริวาส"
- ต้องอาบัติมั่วไปหมด จำไม่ได้ว่าเท่าไรและปิดไว้นานเท่าใด ให้อยู่ปริวาสจนกว่าจะแน่ใจว่าบริสุทธิ์ เรียกว่า "สุทธันตปริวาส"

ใครจะอยู่ปริวาสแบบไหนแล้วแต่ชนิดของความผิดที่กระทำ เมื่ออยู่ครบจำนวนวันแล้ว ต้องประพฤติ "มานัต" อีก ๖ วัน พูดง่ายๆ คือให้อยู่กรรมแถมอีก ๖ วัน เผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ เป็นการปลอดภัยไว้ก่อน

สมมติว่าพระภิกษุชวน ภยาตีโต (แปลว่าพ้นภัย) จงใจปล่อยสุกกะ (อธิบายแล้วว่าคืออะไร) ปกปิดเพื่อนไว้ ๗ วัน พระภิกษุชวน พ้นภัย ต้องอยู่ปริวาส ๗ วัน เมื่อครบ ๗ วันแล้ว พระภิกษุชวนต้องอยู่ "มานัต" เพิ่มอีก ๖ วัน รวมเป็น ๑๓ วัน เมื่อครบ ๑๓ วันแล้ว พระสงฆ์ไม่ต่ำกว่า ๒๐ รูป จะต้องประชุมกันรับรองความบริสุทธิ์ รับให้อยู่ร่วมกับภิกษุทั่วไปได้

เรียกพิธีนี้ว่า "อัพภาน" (คือเรียกเข้าหมู่)

ปริวาสกรรมจึงเป็นวิธีการทำโทษพระที่ผิดพระวินัยอย่างแรงให้ชดใช้ความผิดเป็นกิจกรรมลับภายในสงฆ์ เปิดเผยให้คนภายนอกทราบไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องน่าอาย

แต่ปัจจุบันนี้กลายเป็นว่าเป็นเรื่องดีเรื่องที่เปิดเผย เป็นเรื่องบุญเรื่องกุศล และเป็นบุญกุศลอย่างยิ่งใหญ่กว่าบุญกุศลอย่างอื่นอีกด้วย จึงมีการชักชวนให้ชาวบ้านมาร่วมทำบุญถวายทานแด่พระสงฆ์ที่อยู่ปริวาสกรรม โฆษณาประชาสัมพันธ์กันเปิดเผยว่า การถวายทานแด่พระที่อยู่ปริวาสกรรม ได้อานิสงส์มากกว่าถวายทานแด่พระทั่วไปอีกด้วย

พระสงฆ์องค์เจ้าก็เข้าใจ (ผิดๆ) ว่า การอยู่ปริวาส บ่อยๆ จะทำให้ตนมีศีลบริสุทธิ์ จึงแห่ไปร่วมอยู่ปริวาสกันปีละหลายครั้ง

ตกลงพากัน "เข้ารกเข้าพง" ทั้งพระทั้งโยม และก็ไม่มีใครให้ความสนใจมาให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง คงปล่อยให้กระแสแห่งความผิดเพี้ยนนี้ไหลต่อไป

กลายเป็นการทำพระธรรมวินัยให้วิปริตอีกเรื่องหนึ่งในหลายเรื่อง



อัญจารี-วิปริตจารี

ตามปกติผมก็จะเปิดโทรทัศน์ไว้ แล้วก็นั่งพิมพ์หนังสือ หรืออ่านหนังสือไปด้วยขณะพักจากอ่านหรือพิมพ์หนังสือก็เหลือบไปดูทีวี เป็นการ "พักสมอง" หรือพักอะไรก็แล้วแต่ ทำจนเคยชิน

วันหนึ่งขณะพิมพ์หนังสืออยู่ หูแว่วเสียงห้าวของสุภาพสตรีนางหนึ่ง จนหันไปดู เป็นรายการผู้หญิงรายการหนึ่ง ผู้สัมภาษณ์ดูเหมือนจะเป็นคุณอรุณโรจน์ เลี่ยมทอง ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นสุภาพสตรีเสียงห้าวท่านหนึ่ง เรียกตัวเองว่าเป็นผู้แทนสตรี "กลุ่มอัญจารี"

ที่ผมสะดุด ถึงกับหยุดพิมพ์หนังสือก็เพราะได้ยินคำว่า "อัญสตรี" เป็นคำใหม่ ไม่เคยได้ยินมาก่อน และเมื่อนั่งดูนั่งฟังข้อความที่สนทนาก็ยิ่งสะดุด

อัญจารี แปลอย่างไรไม่ทราบ แต่ฟังตามที่ให้สัมภาษณ์เป็นชื่อกลุ่มบุคคลผู้ประพฤติแตกต่างไปจากสามัญชนทั่วไป เธอเรียกว่า "กลุ่มชายรักชาย หญิงรักหญิง" อ้อ กลุ่มพวกรักร่วมเพศ หรือพวกไม้ป่าเดียวกันนั้นเอง คนพวกนี้ฝรั่งเขาเรียกว่าพวกโฮโมเซ็กช่วล (ชาย) และเลสเบี้ยน (หญิง)

เธอกล่าวว่า พฤติกรรมอย่างพวกเธอไม่เห็นเสียหายอะไร น้ำเสียงทำนองตำหนิว่าคนไทยล้าหลัง ไม่ทันสมัยเหมือนฝรั่งเขา อะไรทำนองนั้น ผมจับได้ดังนี้ครับ ถ้าผิดก็ขออภัยด้วย เธอกล่าวว่า "ความจริงที่เมืองนอกเขาไม่เห็นเป็นเรื่องผิดปกติ อเมริกาก็อยู่ห่างจากเมืองไทยไม่กี่ชั่วโมงบิน แต่ทำไมคนไทยถึงไม่ค่อยรับรู้เรื่องนี้กัน"

ต้องยอมรับว่ามีบุคคลประเภทนี้ในสังคมไทยมานมนานแล้ว แต่เนื่องจากวัฒนธรรมไทยเราไม่ยอมรับพฤติกรรมประเภทนี้ ใครมีพฤติกรรมอย่างนี้จึงเป็นที่รังเกียจในสังคม ถือเป็นพวกวิปริตผิดเพศ พวกไม่อายฟ้าดิน คนที่มีพฤติกรรมแบบนี้จึงพยายามปิดตัวเองเรียกว่าเป็นพวก "แอบจิต"

มายุคหลังๆ นี้มีบางคนกล้าเปิดเผยตัวเอง ก็พลอยให้คนอื่นที่แอบจิตอยู่กลายเป็น "สว่างจิต" ขึ้นมาบ้าง กอปรกับกระแสทางตะวันตก (ซึ่งแต่เดิมก็ถูกต่อต้านจากคนในสังคมเขา แต่ต่อมาก็จำต้องยอมรับมากขึ้น) ไหลบ่ามาแรง มีคนประพฤติผิดเพศเช่นนี้มากขึ้น ดูเหมือนว่าความรังเกียจเดียดฉันท์ที่เคยมีค่อยผ่อนคลายดีกรีลง คนประเภทนี้ก็กล้าเปิดเผยตัวเองมากขึ้น ดาราสาวบางคนก็ควงคู่ออกประกาศทางทีวีว่าเป็น "ผัวเมีย" กัน สังคมก็ไม่ว่ากระไร ถ้าเป็นอย่างสมัยก่อนถูกจับทำโทษเอาทีเดียว

หม่อมไกรสร ผู้รับผิดชอบกรมการสังฆการีร่วมกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็น "คู่อริ" ของพระเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ตอนหลังจับได้ว่าเป็นประเภทชอบไม้ป่าเดียวกัน ถึงกับถูกจับประหารชีวิต เมื่อสิ้นชีพแล้วพระเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ถึงกับสร้างพระไพรีพินาศเลยทีเดียว

มีความพยายามที่จะบอกสังคมว่า คนเราเลือกเกิดไม่ได้ เมื่อเกิดมาแล้วเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ไม่น่าจะถือว่าเป็นความผิดปกติ เมื่อชายรักหญิง หญิงรักชายได้ แล้วทำไมชายจะรักชาย หญิงจะรักหญิงไม่ได้ คนเราจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ ตราบใดที่ไม่ทำความเดือดร้อนแก่สังคมก็น่าเพียงพอแล้ว

อัญจารี ถ้าจะให้ผมแปล ผมแปลว่า "ผู้มีปกติประพฤติเป็นอย่างอื่น" คืออย่างอื่นจากที่มนุษย์ธรรมดาทั่วไปเขาประพฤติ รู้สึกว่าผู้คิดคำเก่งไม่น้อย ออกมาเก๋ แต่เขามีศัพท์เรียกอยู่ก่อนแล้ว คือ บัณเฑาะก์ กับอุภโต พยัญชนก

บัณเฑาะก์ (ปณฺฑโก) คือกะเทย อุภโต พยัญชนก (อุภโตพฺยญฺชนโก) คือคนมีสองเพศ มีความหมายสองนัย คือ (๑) คนมีอวัยวะเพศปรากฏทั้งสองเลย กับ (๒) คนที่ทำหน้าที่ได้ทั้งบุรุษและสตรี อย่างสมัยนี้เรียกว่า "เสือไบ" (สระไอไม้มลายครับ) หรือ bisexual นั้นเอง

คนสองประเภทนี้ทางพระพุทธศาสนาถือเป็นคนต้องห้าม ห้ามบวชเป็นภิกษุเด็ดขาดสังคมไม่ว่ายุคไหนก็ยังไม่ยอมรับว่าเป็นคนปกติ แม้ใจจะกว้างอย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่ยอมรับอยู่นั้นเอง ไม่ว่ากฎหมายประเทศใด

คนที่เป็นกะเทย สมมติมีใจเป็นหญิงชื่อ นายสมยศ ขวนขวายไปผ่าตัดแปลงเพศเป็นผู้หญิงเต็มตัวแล้ว กฎหมายก็ยังไม่ยอมให้เปลี่ยนนายสมยศเป็นนางสาวสมยศ ถึงเวลาเกณฑ์ทหาร สมยศในร่างของสาวแปลงเพศก็ยังต้องเดินสะบัดสะบิ้งไปเกณฑ์ทหารอยู่ดี เพราะในทะเบียนบ้านยังเป็นนายสมยศอยู่

ผมคิดว่าน่าจะเอาคำศัพท์ที่มีอยู่แล้วมาบัญญัติ เช่น กลุ่มบัณเฑาะก์ กลุ่มอุภโตพยัญชนก หรือถ้าจะให้ทันสมัยและไพเราะก็น่าจะเป็นกลุ่มวิปริตจารี รับรองว่าถูกต้องที่สุด

อุภโตสุชาต
เขียน อุภโตสุชาต (ไม่มีสระอิ) เพราะเป็นคุณศัพท์ แปลว่า "ผู้เกิดดีทั้งสองฝ่าย" หมายถึงบริสุทธิ์ทั้งสองฝ่าย หรือสองข้าง คือข้างบิดาและข้างมารดา ถ้าข้างใดข้างหนึ่งไม่บริสุทธิ์ไม่นับว่าเป็น อุภโตสุชาต คำว่า "บริสุทธิ์" หมายถึงสายเลือด เช่น เลือดกษัตริย์ เลือดพราหมณ์ มาตรฐานอย่างนี้มีอยู่ในหมู่ชนที่ถือวรรณะถือชั้น

เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาใหม่ๆ พวกพราหมณ์ที่ถือว่าตนเกิดจาก "โอษฐ์" ของพรหมัน (พระพรหม) วรรณะอื่นเกิดจากส่วนอื่นของพรหม ถือว่าต่ำกว่าวรรณะตน พากันดูหมิ่นเหยียดหยามพวก "สมณะศากยบุตร" (คือพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า)

แม้พระพุทธเจ้าเองก็เคยถูกคนในวรรณะพราหมณ์ดูหมิ่นเช่นกัน หาว่าวรรณะกษัตริย์โดยเฉพาะกษัตริย์แคว้นเล็กๆ เช่นศากยะนั้นต่ำต้อย เมื่อพระสมณโคดม (คนนอกศาสนามักเรียกพระพุทธองค์ด้วยคำนี้) เกิดจากวรรณะต่ำต้อย คำสอนก็คงต่ำต้อยไร้คุณค่าไปด้วย

ตรรกะแบบนี้ความจริงใช้ไม่ได้ แต่เมื่อคนจะหาเหตุแล้วย่อมหาจนได้แหละ

คราวหนึ่งมีการสนทนาระหว่างพราหมณ์ผู้ถือตนว่ามีวรรณะสูงกับพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ตรัสถามไปทีละประเด็นๆ ดังนี้

พุทธ "พราหมณ์ คนที่จะนับว่าเป็นพราหมณ์แท้จริง มีคุณสมบัติอย่างไร"

พราหมณ์ "มี ๕ ประการ สมณโคดม คือ
๑.ต้องเกิดในวรรณะพราหมณ์ เป็น อุภโตสุชาต
๒.ต้องท่องจำพระเวทได้
๓.ต้องมีรูปงาม
๔.ต้องมีศีล
๕.ต้องมีปัญญา"

พุทธ "ถ้าจะลดเหลือลง ๔ ข้อจะได้ไหม"

พราหมณ์ "ได้ สมณโคดม ลดโดยตัดข้อรูปงามออก"

พุทธ "ถ้าจะตัดออกอีกเหลือ ๓ ข้อจะได้ไหม"

พราหมณ์ "ได้ ตัดข้อว่าด้วยท่องจำพระเวทออก"

พุทธ "ถ้าตัดออกเหลือเพียง ๒ ข้อได้ไหม"

พราหมณ์ "ได้ ตัดข้อว่าด้วยเกิดในวรรณะพราหมณ์ออก"

พุทธ "ถ้าจะตัดออกอีกให้เหลือเพียงข้อเดียวจะได้ไหม"

พราหมณ์กล่าวว่า ที่ตัด "วรรณะพราหมณ์" ออกนี้ก็กัดฟันตัดแล้ว ความจริงพราหมณ์ทั้งหลายเขาถือว่าการเกิดในวรรณะพราหมณ์ที่เป็นอุภโตสุชาตนั้นเป็นที่สุดแล้ว แต่เมื่อพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้ว ศีลกับปัญญาสำคัญกว่า เพราะฉะนั้นคุณสมบัติสองข้อนี้ตัดออกอีกไม่ได้แล้ว

นับว่าพราหมณ์คนนี้มีความยุติธรรม ถือความถูกต้องเป็นหลัก พระพุทธเจ้าจึงสรุปว่าที่พราหมณ์นั้นพูดถูกต้องแล้ว คนที่จะเรียกว่า "พราหมณ์" ที่ถูกต้อง ไม่ควรกำหนดเอาที่วรรณะ ควรจะกำหนดเอาที่ศีล (ความประพฤติดี) กับปัญญา (ความรู้) ผู้มีศีลและปัญญานับว่าเป็น "พราหมณ์ในความหมายใหม่"

คงเพราะพุทธวจนะนี้กระมังครับที่คนไทยเราในปัจจุบันนี้ มีคำพูดติดปากเสมอว่า "ความรู้คู่กับคุณธรรม"

ถ้าจะถืออุภโตสุชาต ในความหมายใหม่ก็น่าจะถือเอาความรู้เป็นฝ่ายหนึ่ง คุณธรรมเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง เพราะพระพุทธเจ้าตรัสว่า คนจะบริสุทธิ์ได้ก็ด้วยคุณธรรมสองประการนี้แล



พ่อแม่

วัฒนธรรมไทย พ่อมาก่อนแม่ ดังในการเรียกขาน "พ่อ-แม่" หรือ "บิดา-มารดา" แต่ส่วนลึก แม่ อาจมีความหมายและสำคัญมากกว่าพ่อก็ได้ ดังใครจะว่าจะด่าก็พออนุโลมไม่ถือสา แต่อย่าด่า "แม่" ก็แล้วกัน ด่าแม่เดี๋ยวได้เรื่องแน่

ในวัฒนธรรมแขก พ่อน่าจะสำคัญกว่าแม่ เพราะเพศชายถือว่าเป็นเพศประเสริฐ แต่งงานแล้วต้องได้ลูกชายเพื่อสืบสกุล ถ้าไม่สามารถมีลูกชายสืบสกุล ถือว่าเป็นความผิดความชั่ว เผลอๆ ความผิดนั้นมาตกที่ฝ่ายผู้หญิง ที่ไม่สามารถมีลูกชายให้เขาสืบสกุล เป็นถึงขนาดนั้น

ตระกูลที่ไม่มีบุตรชาย เดือดร้อนขนาดหนักดุจตกนรกฉะนั้น (ดังพูดว่า ไม่มีบุตรชายจะตกนรกขุมปุตตะ)

แต่ในทางพระพุทธศาสนาดูจะกลับกัน ให้เกียรติสตรีมากกว่าบุรุษ ดังมีคำเรียกว่า มาตาปิตา (มารดา-บิดา) ในมงคลสูตร พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้บุตรธิดาดูแล รับใช้พ่อแม่ โดยตรัสว่า มาตาปิตุอุปฏฐานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ = การอุปฐากมารดาบิดาเป็นมงคลสูงสุด แสดงว่าให้ความสำคัญแก่แม่มากกว่าพ่อ

ที่ว่ามานี้ ตีความตามคำที่ใช้ ว่าคำไหนมาก่อนคำไหนมาหลัง ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องถูก หรือจริงตามนี้เสมอไป ความจริงอาจตรงกันข้ามก็ได้เพียงแต่เป็นข้อสังเกตเท่านั้น

บิดา (บาลี= ปิตา) แปลว่ารักษา (คุ้มครอง) โลก "ผู้ใดย่อมรักษาโลกทั้งมวลไว้ ผู้นั้นชื่อ ปิตา" (สพฺพโลกํ ปาตี รกฺขตีติ ปิตา) ความหมายก็คงหมายถึงว่า บิดาเป็นผู้ให้กำเนิด เมื่อไม่มีผู้ให้กำเนิด คนก็เกิดมาไม่ได้ โลกทั้งปวงจะเป็นโลกไม่ได้ เพราะไม่มีประชากรสืบพันธุ์ต่อมา

พูดอย่างนี้มีช่องเถียงได้ ถึงมีผู้จะให้กำเนิดแต่ไม่มีสตรีผู้อุ้มท้องผู้คลอดลูก คนก็เกิดมาไม่ได้เช่นกัน แล้วแต่ใครจะเป็นคนให้นิยาม บุรุษให้นิยาม บุรุษก็ต้องว่า บิดา เป็นผู้ให้กำเนิด เรื่องมันก็เป็นเช่นนี้แหละท่านสารวัตร

อีกความหมายหนึ่ง บิดา แปลว่าผู้รักลูก "ผู้ใดย่อมรักลูก ผู้นั้นชื่อ "ปิตา (ปุตฺตํ ปิยายตีติ ปิตา)

มารดา แปลกันว่า ผู้นับถือ (หรือให้เกียรติ) ลูก "ผู้ใดย่อมนับถือบุตร ผู้นั้นชื่อ "มารดา" (ปุตตํมาเนตีติ มาตา)

อีกความหมายหนึ่ง มารดา แปลว่าผู้ปกป้องลูก "ผู้ใดย่อมปกป้องลูก ผู้นั้นชื่อ มาตา" (ปุตตํ ปาตีติ มาตา)

อีกความหมายหนึ่ง มารดา แปลว่าผู้ให้ลูกดื่มนม (หรือผู้เลี้ยงลูก) "ผู้ใดย่อมยังบุตรให้ดื่มนมผู้นั้นชื่อ มาตา" (ปาเยตีติ มาตา)

นี้คือคำแปลว่า คำ มาตา ตามรูปศัพท์ แต่เมื่อว่าโดยอรรถะ (ความหมาย) แล้ว ก็คือสิ่งเดียวกัน คือผู้ที่ปกป้องลูก ผู้เลี้ยงดูลูก ผู้รักลูกสุดชีวิตจิตใจก็คือแม่ ว่ากันว่า ความรักของแม่ค่อนข้างบริสุทธิ์กว่าความรักของพ่อ พ่อส่วนมากรักลูกเพราะมีเงื่อนไข เช่น อยากให้ลูกเรียนวิศวกรรมศาสตร์ ถ้าลูกไม่เรียน ไพล่ไปชอบวาดรูป เป็นต้น พ่อก็ชักไม่รักลูกแล้ว พ่อเป็นทหาร อยากให้ลูกเป็นทหารด้วย แต่ลูกเกลียดอาชีพทหาร พ่อก็ชักไม่รักลูกแล้ว เพราะลูกไม่เป็นตามที่พ่อต้องการ

ส่วนความรักของแม่นั้นไม่มีเงื่อนไข รักลูกเพราะรัก ลูกจะเป็นคนดีคนเลว ก็ลูกของแม่ ดูแม่องคุลิมาลเป็นตัวอย่าง เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลจะยกกองทัพย่อยๆ ไปปราบ ปุโรหิตผู้เป็นพ่อ ตัดใจได้ว่าลูกของตนเป็นโจร มีความผิดต่อแผ่นดิน สมควรได้รับโทษทัณฑ์ แม้ถึงตายก็ควร

แต่แม่ พอทราบข่าว ก็กลัวลูกจะตาย จึงตัดสินใจเดินทางล่วงหน้า เพื่อจะบอกให้ลูกชายทราบ ทั้งหมดนี้เพราะความรักที่แม่มีต่อลูกเป็นความรักที่ไม่มีเงื่อนไข

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเมื่อตรัสสอนเหล่าสาวก ให้แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ ท่านให้ทำใจให้เปี่ยมด้วยความรักที่บริสุทธิ์ต่อสรรพสัตว์ ดุจเดียวกับมารดารักบุตรสุดที่รักคนเดียว ฉันใดก็ฉันนั้นแล



ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ
(๑) พุทธ-สัมพุทธ-สัมมาสัมพุทธ/ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ
(๒) กิเลส-เกลศ

ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ (๑) พุทธ-สัมพุทธ-สัมมาสัมพุทธ

บทสวดมนต์ไหว้พระที่ไพเราะมาก ครูบาอาจารย์ให้เราสวดทุกสัปดาห์ ในโรงเรียนคือบทนมัสการพระรัตนตรัยคำประพันธ์ ขึ้นต้นด้วย "องค์ใดพระสัมพุทธ" ปัจจุบันนี้ยังมีอยู่บ้างในบางโรงเรียน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เมื่อเสด็จฯ แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงเป็นประธานประกอบพระราชพิธีเวียนเทียน ณ พุทธมณฑล ทรงนำสวดบท "องค์ใดพระสัมพุทธ" เสมอ พระสุรเสียงไพเราะกังวาน นำมาซึ่งศรัทธาปสาทะต่อพระรัตนตรัยอย่างยิ่ง

มีผู้ถามผมว่า บทประพันธ์นี้ใครเป็นผู้แต่ง ก็ตอบไม่ได้ในเบื้องต้น ต่อเมื่อกราบเรียนถาม ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ท่านบอกว่าเป็นบทประพันธ์ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ท่านอาจารย์ได้เมตตาบอกต่อไปว่า พระยาศรีสุนทรโวหาร "น้อย" เป็นเปรียญ ๗ ประโยค บวชอยู่ที่วัดสระเกศ (วัดสระเกศ ภูเขาทองนั่นแหละครับ) กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์สุชีพ เป็นอย่างยิ่ง ว่างๆ ผมจะไปหาประวัติของท่านมหาน้อย วัดสระเกศมาให้รับทราบกัน

เริ่มด้วยศัพท์ สัมพุทธ ก่อนก็แล้วกัน คำว่า พุทธ สัมพุทธ สัมมาสัมพุทธ มาจากแหล่งเดียวกัน จะเรียกว่าเป็นคำเดียวกันก็ไม่ผิด

พุทธ แปลว่า ผู้รู้ ส่วนที่แปลต่อไปว่า ผู้ตื่น ผู้รู้ ผู้เบิกบาน เป็นความหมายรอง ความหมายดั้งเดิม คือ ผู้รู้แล้ว ผู้ตรัสรู้แล้ว (คำว่า ตรัส เป็นคำเขมร แปลว่า แจ้ง ตรัส-รู้ = ตรัสรู้ แปลว่า ผู้รู้แจ้ง) ในที่นี้ท่านหมายถึง รู้อริยสัจ (ความจริงอันประเสริฐ) ๔ ประการคือ

รู้ทุกข์ (ปัญหาของชีวิต) ว่าคืออะไร รู้ว่าทุกข์พึงกำหนดรู้

รู้เหตุแห่งทุกข์ ว่ามีอะไรบ้าง รู้ว่าเหตุแห่งทุกข์พึงละ

รู้ภาวะดับทุกข์ รู้ว่าภาวะดับพึงทำให้กระจ่างแจ้ง

รู้ทางดับทุกข์ รู้ว่าทางดับทุกข์พึงทำให้เจริญหรือพึงลงมือทำอย่างจริงจัง

ถ้าถามว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร คำตอบก็คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ หรือจะตอบว่าตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท (อิทัปปัจจยตา) ก็ตอบได้เหมือนกัน เพราะเป็นเรื่องเดียวกัน เพียงเน้นคนละแง่เท่านั้น ในที่นี้จะไม่พูดถึงให้สับสน เพราะมิใช่เขียนตำราเรียนวิชาพระพุทธศาสนา

สัมพุทธ (สัม-พุทธ) แปลว่า ผู้รู้พร้อมหรือรู้เอง รู้พร้อม หมายถึงรู้อย่างสมบูรณ์ รู้เอง หมายถึงไม่มีใครสอน รู้ด้วยตนเอง

สัมมาสัมพุทธ (สัมมา-สัม-พุทธ) แปลว่า ผู้รู้ชอบและรู้เอง หรือรู้ชอบด้วยพระองค์เอง รู้ชอบ คือรู้ไม่ผิด อันหมายถึงรู้อริยสัจ รู้เอง หมายถึงไม่มีใครสอน

ทั้ง พุทธ สัมพุทธ สัมมาสัมพุทธ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า ส่วนพระอรหันต์สาวกเรียกว่า พุทธ เฉยๆ ได้ แต่ไม่เรียก สัมพุทธ หรือ สัมมาสัมพุทธ

ในพระพุทธศาสนาจึงแบ่ง พุทธออกเป็น ๓ ประเภท ต่อมาเพิ่มอีกหนึ่ง รวมเป็น ๔ คือ

๑. สัมมาสัมพุทธ (ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง)

๒. ปัจเจกพุทธ (ผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง แต่ไม่ประกาศพุทธศาสนา)

๓. อนุพุทธ (ผู้รู้เพราะได้ฟังหรือปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า)

๔. สุตพุทธ (ผู้รู้ที่มีสุตะมาก)

สุตพุทธ นี้ไม่ได้ตรัสรู้ธรรม ไม่ได้เป็นพระอริยบุคคล หากเป็นนักปราชญ์ผู้คงแก่เรียน อนุโลมให้เป็นพุทธคนหนึ่ง สุตพุทธ เพิ่งเติมมาภายหลัง


ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ (๒) กิเลส-เกลศ
บทสวดมนต์ว่า "ตัดมูลเกลศมาร" ความหมายก็คือ ตัดรากแห่งกิเลสมาร

กิเลสมาร ได้แก่มารคือกิเลส ภาษาบาลีเขียน กิเลส ภาษาสันสกฤตเขียน เกลศ ส่วนคำไทย บางทีก็เขียนแบบบาลี บางทีก็เขียนแบบสันสกฤต แล้วแต่ว่าแบบไหนจะถนัดลิ้นคนไทย ในกรณีนี้ส่วนมากมักเขียนว่า กิเลส

กิเลส คืออะไร กิเลส ตามศัพท์แปลว่า เศร้าหมอง สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมองเรียกว่ากิเลส "กิเลส" จึงเป็นคำรวมๆ ความชั่วทุกชนิดที่มาทำให้จิตสกปรกเศร้าหมอง เรียกรวมว่า "กิเลส" ทั้งนั้น ต่อเมื่อต้องการบอกว่า มันตัวไหนบ้างล่ะ นั่นแหละจึงจะ (จิกหัว) เรียกชื่อออกมา

น่าสังเกตว่า พระพุทธเจ้าท่านไม่ทรงใช้คำว่า "กิเลส" (มีใช้เพียงบางครั้งว่า อุปกิเลส) เพราะฉะนั้น คำนี้ (กิเลส) เป็นศัพท์บัญญัติภายหลังพุทธกาล

พระพุทธองค์ เวลาตรัสถึงสิ่งเหล่านี้ พระองค์ตรัสระบุชื่อมันตรงๆ เลย เช่น ราคะ โทสะ มานะ ตัณหา...นี้เป็นข้อสังเกตของผมครับ ผิดหรือถูกฝากไว้พิจารณา ถ้าพิจารณาได้ก็บอกมาด้วย อย่าอุบไว้คนเดียว

กิเลส หรือสิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมองมีมากมาย โบราณาจารย์ท่านบอกจำนวนว่า กิเลสมีพันห้า ตัณหามีร้อยแปด มิใช่พูดเล่นๆ จำแนกได้จำนวนนั้นพอดี อย่าอยากทราบเลยครับว่ามีอะไรบ้างจะปวดศีรษะเปล่าๆ

เอาแค่ย่อๆ ก็แล้วกัน กิเลสที่เป็น "หัวหน้า" ของกิเลสทั้งปวงมี ๓ ประเภท ศัพท์ทางศาสนาเรียกกิเลส ๓ ตัวนี้ว่า อกุศลมูล แปลว่ารากเหง้าแห่งความไม่ดีไม่งามทั้งปวง นี้แหละคือ "โคตรแห่งกิเลส" ละ ได้แก่

๑.โลภะ (บางครั้งเรียก ราคะ) คือกิเลสประเภทคิดแต่จะได้คิดแต่จะเอามาเป็น ของตน ได้ล้านแล้วไม่พอจะเอาห้าล้าน หกล้าน ร้อยล้าน พันล้าน อะไรทำนองนั้น

๒.โทสะ คือกิเลสประเภทคิดแต่จะทำลายทำความพินาศฉิบหายให้กับคนอื่น เห็นใครดีไม่ได้อยากจะฟาดฟันให้มันบรรลัยไปเลย (บางทีคิดแต่จะฟาดฟันให้เขาบรรลัย ตัวเองบรรลัยเสียเองก็มี)

๓.โมหะ คือกิเลสประเภทหลง ไม่ใช่หลงลืมอย่างที่ส่วนมากเข้าใจ หมายถึงลุ่มหลง หลงใหล ยึดติดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนงมงาย

สามตัวนี้คือ "หัวหน้าใหญ่" ของบรรดากิเลสทั้งหลาย ตัวไหนอยู่สายไหน ก็ต้องมีลักษณะสอดคล้องกันแบ่งกันเองโดยธรรมชาติ ไม่มีเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา  


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พฤศจิกายน 2561 15:24:46 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #53 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2561 15:29:05 »




ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ (๓)
โอฆกันดาร ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ (๔)เบญจพิธจักษุ

ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ (๓)
โอฆกันดาร

"โปรดหมู่ประชากร มะละโอฆกันดาร" มะละ ในที่นี้คือ "มาละ" รัสสะเสียงที่ "มา" ลงเป็น "มะ" เพื่อเข้าฉันทลักษณ์ คือ โปรดประชากรให้มาละ พาให้มาละเว้น โอฆกันดาร

โอฆกันดาร แปลว่า ที่กันดารคือโอฆะ คำว่า "กันดาร" ย่อมเป็นที่ทราบกันดี หมายถึงที่ที่ลำบากอย่างยิ่ง เช่น ทางกันดาร ทางที่ไปมาลำบากอย่างยิ่ง ป่าดงกันดาร คือป่าดงที่ข้ามไปยากยิ่ง "โอฆะ" แปลตามศัพท์ว่าห้วงน้ำใหญ่ รวมสองคำเข้าด้วยกัน "โอฆกันดาร" หมายถึง ห้วงน้ำที่ข้ามได้ยากอย่างยิ่ง

พระพุทธเจ้านั้นเปรียบเสมือนนายเรือ ที่พายหรือแจวเรือ พาผู้โดยสารข้ามห้วงน้ำกระแสเชี่ยวกรากย่อมต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและมีพละกำลัง นำพา ผู้โดยสารให้ข้ามไปยังฝั่งโน้นได้อย่างปลอดภัย

มีพระสูตรสูตรหนึ่งชื่อ นาวาสูตร เปรียบครูอาจารย์มีหน้าที่คล้ายนายเรือพาผู้คนข้ามฟากโดยปลอดภัย เพราะฉะนั้นคำพูดที่ว่า "ครูคือเรือจ้าง" จึงเป็นคำให้เกียรติ มิใช่คำในแง่ลบดังที่เข้าใจกัน เพราะพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายท่านอยู่ในฐานะ "ผู้แจวเรือ" เช่นเดียวกัน

เพียงแต่ไม่ได้ "รับจ้างแจวเรือ" เท่านั้นเอง

ห้วงน้ำที่ข้ามได้แสนยาก เป็นคำเปรียบเทียบ มิได้หมายถึงห้วงน้ำจริง หากหมายถึงกิเลส (กิเลสคืออะไร ได้พูดไว้ในตอนที่ ๒ แล้ว) ๔ ตัวใหญ่ๆ คือ

๑.กาโมฆะ (ห้วงน้ำคือกาม) กามนี้หมายรวมทั้งกิเลสกาม (ตัวกิเลส ความกำหนัดยินดี) และวัตถุกาม (วัตถุ หรือเรื่องที่ให้เกิดความกำหนัดยินดี) ห้วงน้ำที่ข้ามได้ยากยิ่ง ผู้ปฏิบัติธรรมไปไม่ถึงไหนก็เพราะกามตัวนี้ตัวเดียว ขนาดฝึกสมาธิจนได้ฌานเหาะได้ยังแพ้แก่กาม (ดูในหาลิทฺทชาดก) พระอนาคามีขึ้นไปจึงจะละกามได้

๒.ภโวฆะ (ห้วงน้ำคือภพ) ภาวะความมีความเป็น ยึดติดอยู่ในความเป็นนั่นเป็นนี่ ยึดติดในความมี ความเป็น ห้วงน้ำนี้ก็ข้ามได้ยากยิ่ง

๓.ทิฏโฐฆะ (ห้วงน้ำคือทิฐิ) ยึดติดในความเห็น หรือทฤษฎีต่างๆ ชนิดฝังหัว "ความเห็นนี้เท่านั้นถูก อย่างอื่นผิดหมด" อะไรทำนองนี้ แม้เป็นความเห็นที่ถูกต้อง ถ้ายึดมั่นถือมั่นพระท่านก็ว่าไม่ดีเลย ไม่จำต้องพูดถึงทิฐิผิดๆ ห้วงน้ำนี้ก็ข้ามได้ยากยิ่ง

๔.อวิชโชฆะ (ห้วงน้ำคืออวิชชา) ความโง่งมงาย ไม่รู้ความเป็นจริงแห่งสิ่งทั้งหลาย ไม่รู้บาปบุญคุณโทษ ไม่รู้อริยสัจ (ไม่รู้เหตุปัจจัย) ไม่รู้อิทัปปัจจยตา (ความที่เหตุปัจจัยอิงอาศัยกัน) ห้วงน้ำนี้ก็ข้ามได้ยากยิ่ง

พระพุทธองค์ทรงโปรดเวไนยสัตว์พาข้ามห้วงน้ำใหญ่ที่ข้ามได้ยากยิ่งถึง "ฝั่งโน้น" คือพระนิพพาน เป็นจำนวนมากแล้ว


ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ (๔) เบญจพิธจักษุ

"พร้อมเบญจพิธจักษุจรัสวิมลใส" พระพุทธเจ้าทรงมีจักษุที่ใสสะอาดสว่างปราศจากมลทิน ๕ ประการ คือ "มี ๕ ตา" ว่าอย่างนั้นเถอะครับ

"มีตาอะไรบ้าง ไม่เคยได้ยิน เคยได้ยินแต่มีสามตา" เพื่อนคนหนึ่งเอ่ยขึ้นด้วยความสงสัย

ครับ เราอ่านวรรณคดีทราบว่า พระอิศวร หรือพระศิวะ มีสามตา ตาที่สามมักจะปิดไว้เสมอ ไม่ลืม เมื่อลืมตาที่สามขึ้นเมื่อใดเป็นต้องไหม้สิ่งที่อยู่ข้างหน้าทันที

ดังเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งพระศิวะกำลังเข้าสมาธิอยู่ กามเทพแสนซนแผลงศรไปต้องพระศิวะ พระศิวะลืมตาที่สามขึ้น ไหม้กามเทพแหลกเป็นจุณเหลือแต่เถ้าถ่าน

เดือดร้อนพระศิวะต้องชุบชีวิตกามเทพขึ้นมาใหม่ ว่าอย่างนั้น ตั้งแต่นั้นมา กามเทพแสนซนแกจึงได้นามอีกนามหนึ่งว่า "อนงค์" แปลตามตัวอักษรว่า ไม่มีองค์ คือ ไม่มีรูปร่าง

(ถูกไฟไหม้หมดไงครับ)

พระศิวะมีสามตา แต่พระพุทธเจ้ามีห้าตาคือ

๑. มังสจักษุ (ตาเนื้อ) ตาสองข้างที่มีหน่วยตา มีจักษุประสาท สามารถมองเห็นได้นี้แหละครับ

๒. ทิพยจักษุ (ตาทิพย์) ทรงได้อภิญญาสามารถมีตาทิพย์มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ไม่มีกำหนดสามารถนึกย้อนหลังดูอดีตชาติหาที่สิ้นสุดมิได้เวลาเราเรียนพุทธประวัติ อ่านถึงตอนที่ตรัสรู้ในยามที่สองพระองค์ได้ จุตูปปาตญาณ (ญาณหยั่งรู้การเกิดตายของสรรพสัตว์) จุตูปปาตญาณนี้แหละคือ ตาทิพย์

๓. ปัญญาจักษุ (ตาคือปัญญา) หมายถึงทรงมีปัญญาเฉียบคม สามารถหยั่งรู้อริยสัจ ๔ ประการ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๔. พุทธจักษุ (ตาของพระพุทธเจ้า) คือทรงมีตาพิเศษสามารถดูออกว่าใครมีอินทรีย์แก่กล้าพอจะตรัสรู้ธรรมหรือไม่ ใครมีอัธยาศัยและอุปนิสัยอย่างไร ควรจะไปโปรดโดยวิธีใดจึงจะบรรลุธรรม

๕. สมันตจักษุ (ตารอบด้าน) หมายถึงทรงมี พระสัพพัญญุตญาณ หยั่งรู้สรรพสิ่ง รู้ธรรมทุกประการ

เพราะทรงมีตาครบถ้วนทั้งห้าประการนี้ จึงได้รับสรรเสริญว่า ทรง "พร้อมเบญจพิธจักษุจรัสวิมลใส" ด้วยประการฉะนี้

แถมท้ายนิดเดียว มีผู้สงสัยว่า เมื่อพระพุทธเจ้า (และพระอรหันต์บางองค์) มีทิพยจักษุ ตาทิพย์ ย่อมทรงเห็นหมดอะไรเป็นอะไร แต่ทำไมบางครั้งพระพุทธองค์ไม่เห็น ไม่ทราบ ต้องถามคนอื่นจึงทราบ เช่น เรื่องพระปิณโฑละ แสดงอิทธิปาฏิหาริย์เหาะไปเอาบาตรที่เศรษฐีคนหนึ่งแขวนไว้ ต้องการทดลองว่ามีพระอรหันต์ทรงอภิญญาจริงหรือไม่ เมื่อท่านปิณโฑละเหาะไปเอาบาตรเศรษฐีและประชาชนก็เลื่อมใสเป็นจำนวนมาก เมื่อท่านกลับพระเชตวัน ก็แห่ตามไปด้วย ส่งเสียงอื้ออึง พระพุทธเจ้าตรัสถามพระอานนท์ว่าเสียงอะไร ทำไมพระพุทธองค์ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงทราบ ในเมื่อทรงมีตาทิพย์ ทรงมีพุทธจักษุญาณ

คำตอบก็คือ พระองค์ทรงมีตาทิพย์ก็จริงแต่ถ้าไม่กำหนดใจจะดูก็ไม่เห็น มิใช่ว่า ใครเดินผ่านไปผ่านมาจะเห็นหมดว่าใครนุ่งกางเกงในสีอะไร ต้องกำหนดใจดูจึงจะเห็น และจะต้องเป็นเรื่องควรกำหนดดูด้วย ไม่ใช่ดูพร่ำเพรื่อ

ผมว่าอย่างนี้แหละครับ คนอื่นจะว่าอย่างไรก็เชิญว่าเถิดครับ

จะให้รู้บ้างก็ดีเหมือนกันนะครับแบ่งๆ กันรู้บ้าง



ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ (๗) ธรรมะคือคุณากร/ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ (๘)
ดุจดวงประทีปชัชวาล/ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ (๙) มรรคผลและนิพพาน

ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ (๗) ธรรมะคือคุณากร

มีโจ๊กเล่าขานกันมาเสมอว่า นักเรียนที่เรียนวิชาศีลธรรมจบออกไปแล้วจำได้อยู่อย่างเดียวคือความหมายของธรรมะ "ธรรมะคือคุณากร" นอกนั้นจำไม่ได้

และที่จำได้นี้ก็ใช่ว่าถูกต้อง จำเอาตามบทสวดมนต์เท่านั้นเอง มีเรื่องเล่าอีกเช่นกันว่า เด็กน้อยนาม โชติ แพร่พันธุ์ หลับขณะครูศีลธรรมสอน ครูจึงถามว่า เด็กชายโชติธรรมะคืออะไร เด็กชายโชติงัวเงียขึ้นมาตอบว่า "ธรรมะคือคุณากรครับ"

"ไอ้เด็กอัปรีย์" ครูด่าด้วยความโกรธจัด เด็กชายโชติเดินออกจากห้องเรียนทันที มิไย ครูผู้สำนึกผิดที่ตนรุนแรงไปจะตามไปขอร้องให้กลับเข้าห้องเรียน โดยแก้เกี้ยวว่า "ครูมิได้ด่าเธอนะ อัปรีย์ ที่ว่านี้คือ อับ-ปรีชา (มีปัญญาน้อย) เพราะเธอตอบไม่ถูก ครูจึงพูดว่า "อัปรีย์"

แต่เด็กชายโชติไม่เชื่อ จึงไม่ไปโรงเรียนแต่วันนั้น ไปขลุกอยู่ที่โรงพิมพ์ เป็นเด็กส่งโอเลี้ยงบ้าง ส่งต้นฉบับบ้าง ต่อมากลายเป็นนักเขียนยิ่งใหญ่นาม "ยาขอบ" ด้วยประการฉะนี้แล

ธรรมะ อ่าน "ทำมะ" (บาลีเขียน ธัมมะ) แปลได้หลายอย่าง อาทิ

๑. สิ่งที่ทรงสภาพเดิมไว้ นี้แปลตามศัพท์ (มีรากมาจาก ธฺร=ทรงไว้) หมายถึงความดีก็ทรงเป็นความดีไว้ ความชั่วก็ทรงเป็นความชั่วไว้ ไม่เปลี่ยนแปลง ใช้เป็นกลางๆ หมายถึงความดีก็ได้ (เรียกว่า กุศลธรรม) ความชั่วก็ได้ (เรียก อกุศลธรรม) กลางๆ ไม่ดีไม่ชั่วก็ได้ (เรียกว่า อัพยากตธรรม)

๒. ความยุติธรรม เช่น ปกครองประเทศชาติโดยธรรม ในที่นี้หมายถึงยุติธรรม

๓. คำสั่งสอนของพระศาสดา เช่น ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุโสดาปัตติผลธรรม ในที่นี้หมายเอาคำสั่งสอน

๔. สิ่ง หรือปรากฏการณ์ทั้งหลาย เช่น ธรรมทั้งหลายไม่พึงยึดมั่นถือมั่น ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ธรรมในที่นี้หมายเอา "สิ่ง"

ธรรม แปลได้มากกว่านี้ ยกมาพอเป็นตัวอย่าง ธรรม หรือ ธรรมะ ในคำว่า "ธรรมะคือคุณากร" หมายเอาตามข้อที่ ๓ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และหมายเอาธรรมะระดับสูงที่สอนให้คนพ้นทุกข์

คุณากร แปลว่า บ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย หรือแหล่งแห่งความดีงามทั้งหลาย ธรรมะระดับโลกๆ ที่ทรงสอนก็เป็นบ่อเกิดแห่งความดีงามอย่างโลกๆ แต่ดีงามอย่างสูงสุดนั้นต้องเป็นธรรมะเหนือโลก

ขอรับ ดีงามอย่างไร เห็นจะต้องพูดถึงในตอนต่อไป

ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ (๘)
ดุจดวงประทีปชัชวาล

ในการสรรเสริญพระคุณแห่งพระธรรมตอนหนึ่งว่า "ดุจดวงประทีปชัชวาลสว่างกระจ่างใจกมน (มล)" ไม่แน่ใจว่า "ใจมน" (คือสว่างใจ-ใจ คำไทย มน คำบาลีรวมกันแล้วมีความหมายเดียวคือ "ใจ" มิใช่ "ใจ-ใจ" คำประเภทนี้ภาษาไทยมิใช่เยอะ) หรือ "ใจมล" (คือทำใจที่มีมลทินให้สว่าง) เชื่อว่าเป็นอย่างแรกมากกว่า

ปราชญ์ไทยโบราณเมื่อบัญญัติสัญลักษณ์แทนพระรัตนตรัย เอา "เทียน" แทนพระธรรม เทียน ๒ เล่มแทนพระธรรม สองระดับคือ โลกียธรรม กับโลกุตตรธรรม (บางอาจารย์อธิบายว่า หมายถึงธรรม กับวินัย ก็ได้ไม่ว่ากัน)

บัญญัติ ธูป ๓ ดอก แทนพระพุทธ ให้ความหมายว่า ๓ เป็นจำนวนพระพุทธคุณโดยสรุป ๓ ประการ คือ พระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ (มิใช่ มหากรุณาธิคุณ) ด้วยเหตุนี้ ธูปจึงจัดมา ไว้เพียง ๓ ดอกเท่านั้น มิใช่ว่าขาดแคลนธูป แต่จัดเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธคุณทั้ง ๓ ประการ

ดอกไม้บัญญัติเป็นสัญลักษณ์ แทนพระสงฆ์โดยให้อรรถาธิบายว่า ดอกไม้ต่างสีต่างพรรณ ถ้าวางไม่เป็นระเบียบก็ไม่สวยงาม ต่อเมื่อจัดเป็นระเบียบ เช่น ใส่พาน หรือแจกัน ก็ดูสวยงามฉันใด พระสงฆ์ที่ออกบวชต่างตระกูล ต่างพื้นฐานความรู้ และต่างนิสัยใจคอ เมื่อมาอยู่ในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ถือเพศเดียวกัน ศีลเท่ากัน มีระบบดำเนินชีวิตเดียวกัน ย่อมงดงามด้วยศีลฉันนั้น

พระสงฆ์ในพระรัตนตรัย โดยอุกฤษฏ์ หมายเอาเฉพาะพระอริยสงฆ์ (ผู้บรรลุธรรมตั้งแต่โสดาปัตติมรรคขึ้นไป จนอรหัตผล)

การเปรียบพระธรรมดุจดวงประทีปหรือตะเกียง มีกล่าวถึงทั่วไปในคัมภีร์พระศาสนา เช่น เมื่อใครมาฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าจนเข้าใจแจ่มแจ้ง ละความเห็นผิดโดยสิ้นเชิง เขาผู้นั้นจะกล่าวว่า เขาได้รู้แจ่มแจ้งหายสงสัย ดุจพระพุทธองค์ได้หงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด และชูตะเกียงส่องทางในความมืดมิดเพื่อให้คนตาดี มองเห็นทางฉะนั้น

ธรรมที่ส่องสว่างกระจ่างใจมนนี้ โดยอุกฤษฏ์ คือ นวโลกุตตรธรรม (ธรรมเหนือโลก ๙ ประการ) คือ มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ มรรค ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามีมรรค อนาคามีมรรค อรหัตมรรค ผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล รวมเป็น ๘

กับนิพพานอีก ๑ เป็น ๙ ด้วยประการฉะนี้แล

ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ (๙)
มรรคผลและนิพพาน

"ธรรมใดนับโดยมรรคผลเป็นแปดพึงยล และเก้ากับทั้งนฤพาน" ข้อความในบรรทัดนี้หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ ประการ โดยแบ่งเป็น มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพานอีก ๑ รวมเป็น ๙ ด้วยประการฉะนี้

พระธรรม ในรัตนตรัยนี้หมายเอา โลกุตตรธรรม (ธรรมเหนือโลก) ส่วนโลกิยธรรม (ธรรมระดับโลก, ธรรมะพื้นฐานที่สอนชาวโลกทั่วไป) ไม่นับเข้าใน "พระธรรมรัตนะ"

นี้ว่าโดยอุกฤษฏ์ หรือโดยนัยสูงสุด แต่ถ้าจะ "ลดเพดาน" ให้ต่ำลงมา ธรรมะระดับโลกๆ ก็อนุโลมเข้าด้วยได้ เพราะธรรมระดับโลกๆ ก็สอนให้คนพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นตามลำดับ ไม่มีธรรมะข้อใดของพระพุทธเจ้าที่สอนคนให้ทำชั่ว สอนคนให้ไม่เอาไหน

โลกุตตรธรรม ๙ นี้แล ที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่าเป็น สวากขาโต (ตรัสไว้ดีตรัสไว้ถูกแล้ว) สันทิฏฐิโก (ผู้ปฏิบัติพึงรู้เห็นด้วยตนเอง=เน้น "ผู้ปฏิบัติ" ด้วยครับ ผู้ไม่ปฏิบัติไม่มีทางเห็น) อกาลิโก (ไม่ขึ้นกับกาลเวลาล่วงไปกี่ปีกี่ชาติก็ยังดีเหมือนเดิม, หรือใครปฏิบัติเมื่อใดก็ได้ผลเมื่อนั้น, หรือไม่ล้าสมัย ทันสมัยอยู่ทุกเวลา) เอหิปัสสิโก (ท้าให้พิสูจน์ได้ เพราะเป็นของจริง ของแท้) โอปนยิโก (เป็นสิ่งดีที่ควรน้อมนำมาปฏิบัติ) ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ (อันวิญญชน คนรู้แจ้งพึงรู้เฉพาะตน=เน้น "วิญญูชน" ด้วย คนโง่ก็ไม่มีทางรู้)

โลกุตตรธรรม แยกเป็น มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑

มรรค ในที่นี้มิได้แปลว่าทาง แปลว่าญาณความรู้ที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด มี ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค

ผล หมายถึงผลสำเร็จหลังจากญาณได้ตัดสังโยชน์ขาดสิ้นแล้ว มี ๔ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตผล

ส่วน นิพพาน หมายถึงการดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งมวล มีอย่างเดียวเท่านั้น ที่บางแห่งแบ่งเป็นสองคือดับกิเลสมีขันธ์เหลือ (การดับกิเลสของพระอรหันต์) กับดับกิเลสไม่มีขันธ์เหลือ (การสิ้นชีวิตของพระอรหันต์) ก็หมายเอา สภาวะเดียวคือ การดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งมวลนั้นเอง ไม่ต้องแบ่งไม่ต้องแยกก็ได้

ในบทสวดมนต์นี้ ผู้แต่งคือ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร เปรียญ ๗ สำนักวัดสระเกศ) ได้ "ลดเพดาน" ลงมายัง โลกียธรรมด้วย คือนับธรรมที่เป็นหลักทฤษฎีและหลักปฏิบัติ อันเรียกว่า ปริยัติ กับ ปฏิบัติ เข้าด้วย เพราะทั้งสองนี้เป็นแนวทางและการฝึกฝนตามแนวทาง เรียกอีกนัยหนึ่งว่า เป็นแผนที่และการเดินทางตามแผนที่ เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด (มรรคผลนิพพาน)

"อีกธรรมต้นทางครรไล นามขนานขานไขปฏิบัติปริยัติเป็นสอง คือทางดำเนินดุจคลองให้ล่วงลุปอง ยังโลกอุดรโดยตรง"

ฉะนี้แล



ศัพท์ในบทสวดมนต์ไหว้พระ (๑๐) องค์สมเด็จภควันต์

"สงฆ์ใดสาวกศาสดา รับปฏิบัติมาแต่องค์สมเด็จภควันต์" ข้อความนี้มีความหมายง่ายๆ ว่า พระสงฆ์ใดที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ภควันต์ เป็น "เนมิตตกนาม" หนึ่งในหลายพระนามของพระพุทธเจ้า

ท้ายบทสรรเสริญพระพุทธคุณว่า "ภควา" นั้นแหละครับ เป็นคำเดียวกันกับ ภควันต์ คำเดียวกันกับ ภวัต คำเดียวกันกับ พระผู้มีพระภาค พูดให้ชัดก็คือ คำว่า ภควา ภควัต พระผู้มีพระภาค เป็นคำเดียวกันสำหรับเรียกพระพุทธเจ้า

เปิดตำราระดับอรรถกถาชื่อ สมันตปาสาทิกา เพื่อหาคำจำกัดความของคำว่า ภควา ท่านให้ความหมายไว้หลายประการดังนี้

ภควา แปลว่า มีกุศลมีทานศีลเป็นต้นอันเป็นเหตุให้ทรงมีความสุขทั้งโลกิยะและโลกุตตระตรงนี้ตรงกับทางไทยแปลว่า "ทรงมีโชค"

ภควา แปลว่า ทรงหักหรือทำลายกิเลสเครื่องเร่าร้อนทั้งหลาย คือ โลภ โกรธ หลง ความหมายง่ายๆ คือ ทรงทำลายกิเลสได้

ภควา แปลว่า ผู้ที่คนทั้งหลาย (ทั้งโลกิยชนและอริยบุคคล) นับถือเป็นอันมาก

ภควา แปลว่า ผู้คบ คือ ทรงทำให้มากซึ่งทิพยวิหาร พรหมวิหาร อริยวิหาร ทำให้มากซึ่งกายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก แปลเอาความง่ายๆ ก็คือ ผู้ทรงบำเพ็ญพรหมวิหาร และความสงบเป็นต้นบ่อยๆ

ภควา แปลว่า ผู้มีภคธรรม (ธรรมที่เป็นโชคดี) คือ มีความเป็นอิสระ โลกุตตรธรรม ความมียศ ความสง่า ความสมปรารถนา และความพากเพียร

ภควา แปลว่า ทรงละการไปในภพทั้งหลายได้ แปลไทยเป็นไทยว่า ทรงหมดการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

ภควา แปลว่า ทรงจำแนกธรรมหรือแสดงธรรมได้โดยพิสดาร

มีอีกหลายความหมาย ยกมาให้ดูพอเป็นตัวอย่าง แต่ดูเหมือนว่าความหมายที่รู้โดยทั่วไปมีอยู่ ๒ ประการ คือ (๑) ผู้มีโชค และ (๒) ทรงจำแนกธรรม

เพราะเหตุนี้ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกเมื่อทรงรวบรวม พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ ท่านให้ความหมายของคำว่า ภควา ดังนี้

"ภควา พระผู้มีพระภาค พระนามพระพุทธเจ้า แปลว่า ทรงเป็นผู้มีโชค คือหวังพระโพธิญาณก็ได้สมหวัง ประกาศพระศาสนาก็ชักจูงคนให้ได้บรรลุธรรมสมปรารถนา มีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำร้ายได้ อีกนัยหนึ่งว่าทรงเป็นผู้จำแนกแจกธรรม"

ศัพท์ว่า องค์สมเด็จภควันต์ (ภควา, พระผู้มีพระภาค, ภควัต) มีความหมายโดยสรุปสองประการดังกล่าวมาแล้ว ฉะนี้แล

คำแปลบทสวดมนต์ไหว้พระ (จบ)
ได้นำคำศัพท์ควรทราบในบทสวดมนต์ไหว้พระมาลงตามลำดับ มีเพื่อนคนหนึ่งทักขึ้นว่า ทำไมไม่แปลให้ฟังบ้าง ผมบอกว่า บทสวดมนต์ก็เข้าใจง่ายอยู่แล้วมิใช่หรือ เพื่อนบอกว่าง่ายสำหรับผู้รู้ภาษาไทยดีแต่คนทั่วไปเขายังฟังไม่รู้ หรือรู้ก็ไม่แน่ใจว่าจะถูกหรือไม่ ช่วยสงเคราะห์ทีเถิด ผมจะได้ไปให้ลูกสาวอ่าน ว่าอย่างนั้น

วันนี้จึงขอนำคำแปล (ลวกๆ) มาให้อ่าน

เริ่มจาก บทสรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ ตามลำดับดังนี้ครับ

บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ทรงมีพระทัยบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส ตัดรากเหง้าแห่งกิเลสได้หมดสิ้น พระทัยปราศจากราคี เบิกบาน ดุจดอกบัวบานที่มีกลิ่นหอมขจร

พระองค์ทรงประกอบด้วยพระกรุณายิ่งใหญ่ดุจมหาสมุทร ทรงชี้ทางดับทุกข์ ชี้ทางนำไปสู่สุขแท้จริง คือพระนิพพาน โปรดเหล่าเวไนยสัตว์ให้ข้ามพ้นห้วงทุกข์ในสังสารวัฏ

พระองค์ทรงมีพระจักษุ (ตา) ๕ ประการคือ ตาเนื้อ (มังสจักษุ) ตาทิพย์ (ทิพพจักษุ) ตาปัญญา (ปัญญาจักษุ) ตาพุทธะ (พุทธจักษุ) และตารอบด้าน (สมันตจักษุ)

พระองค์ทรงสอนให้ชายและหญิงละบาปอันชั่วช้า หันมาบำเพ็ญบุญ ทรงเป็นที่พึ่งพิงของสัตว์โลกทั้งหลาย

ข้าพระองค์ทั้งหลายขอน้อมเศียรเกล้านมัสการพระมหากรุณาธิคุณนั้นชั่วนิรันดร

บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
ธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นบ่อเกิดแห่งความดีงามทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ดีดุจดวงประทีปที่เจิดจรัสชัชวาล ส่องจิตใจคนให้สว่างไสว พระธรรมนั้นคือ มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ รวมเป็น ๙ ประการ อันเรียกว่า นวโลกุตตรธรรม

พระธรรมนี้รวมเอาธรรมะที่เป็นต้นทางปฏิบัติ ๒ ประการ อันเรียกว่า ปริยัติธรรมกับปฏิบัติธรรมด้วย เพราะทั้งสองประการนี้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุโลกุตตรธรรมนั้นโดยตรง

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมเศียรเกล้านมัสการพระธรรมนั้นด้วยทั้งกาย วาจา และใจ

บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้รับปฏิบัติสืบต่อจากพระศาสดา ได้บรรลุอริยสัจ 4 อันเป็นทางดับทุกข์ได้แล้ว มีปัญญาบริสุทธิ์สะอาดปราศจากมัวหมอง ท่านได้ปราศจากกิเลสอันเป็นข้าศึก มีกายวาจาใจสงบ ระงับ เป็นเนื้อนาบุญที่ก่อเกิดประโยชน์แก่ชาวโลก ได้นามว่าเป็น "โอรสของพระพุทธเจ้า" มีคุณมากมายเหลือคณนา

ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนมัสการเหล่าสาวกของพระพุทธองค์ ผู้มีพระคุณสุดจะพรรณนานั้น ด้วยอานุภาพแห่งการกราบไหว้พระรัตนตรัยอันมีพระคุณสูงสุดนี้ ขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลายปราศจากภยันตรายทั้งปวง ด้วยเทอญ


ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 พฤศจิกายน 2561 15:31:08 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #54 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2562 15:31:55 »



นวกะ

ดูเหมือนว่าได้เขียนถึงคำว่า เถระ ไว้แล้ว วันนี้ขอพูดถึง นวกะ บ้าง

นวกะ แปลว่า "ผู้ใหม่" เป็นคุณศัพท์มาจากคำว่า นว (ใหม่ หรือ เก้า แต่ในที่นี้หมายเอาความหมายแรก) ภาษาฝรั่งว่า nov, new หรือแม้แต่คำว่า now ก็น่าจะมาจาก นว นี้เหมือนกัน

โดยความหมายทั่วๆ นวกะ ก็หมายถึงอะไรก็ได้ที่ใหม่ เช่น ผลไม้ใหม่ ก็ว่า นวกํ ผลํ แขกผู้มาใหม่ ก็ว่า นวโก อาคนฺตุโก นโยบายใหม่ ก็ว่า นวโก อุปาโย

นวกะ ที่เป็นศัพท์เฉพาะทาง ใช้เรียกพระภิกษุที่บวชใหม่ และ "ใหม่" ที่ว่านี้มีระยะเวลาถึง ๕ ปี บวช วันนี้เรียกว่า นวกภิกษุ (ศัพท์สมาสไม่ต้องประวิสรรชนีย์) บวชนานกว่านั้นก็เรียก นวกภิกษุ จนกระทั่งย่างเข้าพรรษาที่ ๖ จึงจะพ้นภาวะนวกภิกษุ

ทำไม คำว่า "พระบวชใหม่" จึงกินระยะเวลายาวปานนั้น คำตอบก็คือ ในช่วงพรรษาที่ ๑ ถึงพรรษาที่ ๕ นี้ ผู้บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา จะต้องอยู่ในความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดของอุปัชฌาย์และอาจารย์ อุปัชฌาย์ ผู้บวชให้เป็นเสมือน "บิดาบังเกิดเกล้า" ผู้ให้กำเนิดทางธรรม พ่อก็ต้องอบรมสั่งสอนว่าอะไรควรละ อะไรควรบำเพ็ญ ตลอดจนอากัปกิริยาต่างๆ ที่ควรแก่สมณสารูป

อาจารย์ หมายถึง กรรมวาจาจารย์ และอนุสาวนาจารย์ (ไม่ใช่อนุศาสนาจารย์ นะขอรับ) ก็เปรียบเสมือน "พี่" ผู้คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ การฝึกฝนอบรมกว่าจะรู้ว่าอะไรควรละ ควรเว้น ครบสมบูรณ์จริงๆ ก็ต้องใช้เวลา ๕ ปี เพราะฉะนั้นในช่วง ๕ ปีนี้จึงเป็นนวกภิกษุ (ภิกษุใหม่)

และต้องถือ "นิสสัย" อันได้แก่ มอบตนอยู่อาศัยพระอุปัชฌาย์ ขอให้อุปัชฌาย์เป็นที่พึ่ง พูดง่ายๆ ว่า ขอให้เป็นที่พึ่งในทางการศึกษาอบรมนั้นเอง (เรื่องนี้จะเขียนถึงภายหลัง)

พระอุปัชฌาย์ จึงเป็น "ทุกอย่าง" ของพระบวชใหม่ ไม่เฉพาะอบรมบ่มนิสัยและให้ความรู้ทางพระศาสนาเท่านั้น ต้องเป็นกำลังใจสนับสนุนให้ศิษย์มีฉันทะในการประพฤติพรหมจรรย์อยู่นานๆ ด้วย เมื่อศิษย์ "กระสัน" (ภาษาพระแปลว่าอยากสึก) ก็จะคอยให้สติว่าอย่ากลับไปสู่เพศภาวะที่ยุ่งยากเลย บวชอยู่ต่อไปเถิด เพศบรรพชิตนี้สงบดี ถ้าเอาไว้ไม่อยู่ บางครั้งก็ต้องขอแรงพระพุทธองค์ทรงช่วย

ดังกรณีพระภาคิไนย สังฆรักขิต

สังฆรักขิต บวชใหม่ ได้ผ้าเนื้อดีมาสองผืน นำไปถวายสังฆรักขิต ผู้เป็นหลวงลุง ท่านไม่รับนึกน้อยใจสึกดีกว่า ขายผ้าสองผืนนี้ได้เงินมาซื้อแพะแม่พันธุ์มาเลี้ยง เมื่อตกลูกมาหลายตัวก็ขายเอาเงินมาซื้อนา ตั้งเนื้อตั้งตัวได้พอสมควรแล้วก็แต่งงานกับสตรีงามสักคนหนึ่ง ได้ลูกชายน่ารักน่าชังมาหนึ่งคน วันดีคืนดีก็นั่งยานพาลูกเมียมาไหว้หลวงลุง ขณะขับยานมาเมียอุ้มลูกเหนื่อย วางลูกไว้บนพื้นเกวียน ลูกร้องไห้ เราโกรธเมียที่ไม่ดูแลลูกให้ดี เอาปฏักฟาดหัวเธอเป็นการสั่งสอน

ขณะคิดฟุ้งซ่านอยู่นั้น เธอกำลังพัดวีหลวงลุงอยู่เผลอเอาพัดตีหัวหลวงลุงโป๊ก หลวงลุงเป็นพระอรหันต์รู้ความคิดของพระหลานชายจึงพูดว่า สังฆรักขิตเธอโกรธมาตุคาม (สตรี) ทำไมมาตีหัวพระแก่อย่างเราด้วย

พระบวชใหม่รู้อะไรเป็นอะไร จึงวิ่งหนีด้วยความอายจะสึกให้ได้ พระทั้งหลายต้องจับไปหาพระพุทธองค์ พระองค์ตรัสถามว่าทำไมอยากสึก เธอบอกว่า บวชเป็นพระอึดอัด มีศีลวินัยจะต้องรักษามากเกินไป จนแทบกระดิกไม่ได้ สึกเป็นฆราวาสดีกว่า มีอิสรเสรีดี พระพุทธองค์ตรัสว่า

"ถ้าตถาคตจะลดศีลวินัยเหลือเพียงข้อเดียว เธอจะยินดีบวชอยู่ต่อไปไหม"

"สบาย พระพุทธเจ้าข้า ถ้ารักษาศีลเพียงข้อเดียว ข้าพระพุทธเจ้ายินดีอยู่จนตลอดชีวิตเลย" สังฆรักขิตกราบทูล

"แน่นะ" ทรงย้ำ

"แน่นอน พระพุทธเจ้าข้า" พระหนุ่มยืนยัน

"ถ้าเช่นนั้น ตั้งแต่นี้ต่อไป ขอให้เธอจงรักษาจิตของเธออย่างเดียวให้ดี" พระพุทธองค์ตรัส

โอ้โฮ ข้อเดียวก็จริง แต่ถ้ารักษาจิตของตนได้ศีลข้ออื่นๆ ก็ไม่จำเป็นต้องพูดถึง เพราะทุกอย่างมันมาจากใจเราทั้งนั้น

เป็นอันว่า ภิกษุหนุ่มที่คิดสึก จำต้องบวชอยู่ต่อไป เพราะได้สัญญากับพระพุทธองค์แล้วว่าจะรักษาศีลข้อเดียว เรื่องราวต่อไปเล่าว่า หลังจากนั้นเธอก็มีฉันทะบวชอยู่ต่อไปจนบรรลุมรรคผล

ภารกิจดังว่ามานี้เป็นภารกิจของอุปัชฌาย์ถ้าเหลือบ่ากว่าแรง ก็ต้องขอแรงพระพุทธองค์ และพระสาวกผู้เป็นใหญ่อื่นๆ ช่วย นี้เป็นบรรยากาศสมัยพุทธกาล

ในสมัยนี้ ไม่มีพระพุทธองค์ ไม่มีพระสาวก ผู้ใหญ่ทั้งหลาย เราก็ยังมีพระเถรานุเถระอื่นๆ ที่เป็นหลักให้พึ่งพาได้อยู่

ถ้าอุปัชฌาย์บำเพ็ญตนเป็น "อุปัชฌาย์ไก่" ไข่แล้วฟักเป็นตัว คือบวชให้แล้วดูแลอย่างเข้มงวด ไม่ใช่ "อุปัชฌาย์เป็ด" ไข่แล้วร้องก๊าบๆ หนีไป ไม่หันมาดูเลยว่าไข่ของตนจะเป็นตัวเป็นตนหรือไม่ ก็ลำบากหน่อยละครับ



นิสสัย

เขียน นิสสัย (ส สองตัว) ที่ใช้ในภาษาพระ มีความหมาย ๒ นัย

ที่เน้น "ภาษาพระ" เพราะไม่รวมความหมายทั่วไปอีกอย่างหนึ่งคือ ความเคยชิน เช่น "พูดเท็จเป็นนิสัย"

ความหมาย ๒ นัยของ นิสสัย คือ

๑.แปลว่า ปัจจัยเครื่องอาศัย ปัจจัยเครื่องดำรงชีวิต อันได้แก่ปัจจัยพื้นฐาน ๔ ประการ คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (สถานที่อยู่อาศัย) และคิลานเภสัช (ยารักษาโรค) พระคุณเจ้ารูปหนึ่งแปลด้วยภาษาไทยง่ายๆ ว่า "ข้าว ผ้า ยา บ้าน" ก็เข้าทีดี

๒. แปลว่า ที่พึ่ง, ที่อาศัย ดังคำว่า ขอนิสสัย ก็คือ ขอให้พระอุปัชฌาย์ให้เป็นที่พึ่งที่อาศัยในที่นี้ขอพูดถึงความหมายหลัง

เวลาบวชนาค นาคจะกล่าวคำขอนิสสัย คือขอมอบตนอยู่ในปกครองของอุปัชฌาย์ ขอให้อุปัชฌาย์เป็นที่พึ่งของตน ในการประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา ดังนี้

อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต โหหิ (ว่าสามหน)

ความว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอนิสสัยแม้ครั้งที่สอง ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอนิสสัยแม้ครั้งที่สาม ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอนิสสัย"

"ขอท่านจงเป็นอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าเถิด (สามครั้ง)"

อุปัชฌาย์ก็จะต่อว่า "โอปายิก" (เป็นการชอบแล้ว) ปฏิรูปํ (เป็นการเหมาะสมแล้ว) ปาสาทิเกน สมฺ ปาเทหิ (จงยังการให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด) อุปัชฌาย์กล่าวจบแต่ละคำ ผู้ขอบวชจะต้องรับว่า "สาธุ ภนฺเต" (ขอรับ กระผม) ทุกครั้งไป

เท่านี้ก็เป็นอันว่าได้มอบตัวอยู่ภายใต้การดูแลของอุปัชฌาย์แล้ว จากนั้นผู้ขอบวชก็จะกล่าวยืนยันอีกว่า

"อชฺชตคฺเคทานิ เถโร มยฺหํ ภาโร อหมฺปิ เถรสฺส ภาโร" (ตั้งแต่วันนี้ไป ข้าพเจ้าเป็นภาระของอุปัชฌาย์ แม้อุปัชฌาย์ก็เป็นภาระของข้าพเจ้า) อันหมายความว่า ตนจะต้องเป็นภาระอยู่ในความดูแลของอุปัชฌาย์อย่างเคร่งครัด อุปัชฌาย์จะต้องเอาเป็นภารธุระตักเตือนพร่ำสอน และตนเองในฐานะเป็นศิษย์ก็ต้องเอาภารธุระในการอุปฐากรับใช้อุปัชฌาย์ และเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน ต่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน อยู่กันฉันพ่อลูก

คำว่า ภาโร ต้องออกเสียง ร เรือ ให้ชัดเจน อย่าออกเสียงว่า พาโล เป็นอันขาด เดี๋ยวจะกลายเป็นว่า "ขอให้อุปัชฌาย์จงเป็นคนพาลของข้าพเจ้า และข้าพเจ้าก็จะเป็นคนพาลของอุปัชฌาย์" ไป เดี๋ยวก็เกิดเรื่อง แทนที่จะให้โอวาทกันจะกลายเป็นให้กำปั้นให้บาทากัน จะยุ่งใหญ่

ภิกษุบวชใหม่ (รวมระยะเวลา ๕ ปี) ถ้าไม่ได้อยู่ในปกครองของอุปัชฌาย์ ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งทำให้นิสสัยระงับ

เช่น อุปัชฌาย์ไปอยู่เสียที่อื่น ต้องถือนิสสัยในอาจารย์ คือขอให้ภิกษุผู้เป็นเถระรูปใดรูปหนึ่งเป็นที่พึ่งอาศัยของตน จะอยู่โดยลำพัง ไม่มีใครดูแลไม่ได้ วิธีถือนิสสัยในอาจารย์ ก็คล้ายกับอุปัชฌาย์ เปลี่ยนแต่คำขอว่า

"อาจาริโย เม ภนฺเต โหหิ อายสฺมโต นิสฺสาย วจฺฉามิ" (ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจักอาศัยท่านอยู่)

เมื่ออาศัยศึกษาอบรมอยู่กับอุปัชฌาย์ หรืออาจารย์จนครบ ๕ ปีแล้ว ภิกษุนวกะรูปนั้นเป็น "พ้นนิสสัย" เรียกว่าเป็น "นิสสัยมุตตกะ" (ผู้พ้นแล้วจากนิสสัย) ถือว่าท่านเป็นผู้มีความรู้พระธรรมวินัยเพียงพอที่จะรักษาตนเอง หรือสามารถปกป้องตนเองได้แล้ว ปีกกล้าขาแข็งแล้ว

ปล่อยให้อยู่ตามลำพังได้




สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

นาคปรก

นาคปรก น่าจะเพี้ยนมาจาก นาคปก แปลว่า นาคปกป้อง นาคกำบัง นาคปิดบัง ซึ่งก็ตรงกับเรื่อง เรื่องมีอยู่ว่า หลังตรัสรู้ได้สองสัปดาห์เข้าสัปดาห์ที่สาม พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับเสวยวิมุตติสุข ใต้ต้น "มุจลินท์" แปลกันว่าต้นจิก เป็นเวลา ๗ วัน

เสวยวิมุตติสุข หมายถึงเสวยสุขอันเกิดจากการหลุดพ้นจากกิเลส ผมเคยเปรียบง่ายๆ ว่าเหมือนเราเรียนคร่ำเคร่งมาอย่างหนัก สามสี่ปี สอบเสร็จ ปรากฏว่าสอบได้แล้ว เราก็พักผ่อนอย่างมีความสุขสักกี่วันก็ว่ากันไป ก่อนที่จะเริ่มทำงานหนักต่อไป ช่วงที่พักผ่อนนี้แล เทียบได้ (เทียบเฉยๆ ไม่เหมือนดอก) กับการเสวยวิมุตติสุขของพระพุทธเจ้า

การเสวยวิมุตติสุข จึงแปลง่ายๆ ว่า พักผ่อน ภาคภูมิใจในผลสำเร็จที่เกิดจากความพากเพียรพยายาม

ขณะนั้นมีฝนตกพรำๆ ตลอด ๗ วัน พัดพาเอาไอหนาวมา ต้นจิกที่ว่านี้ใบก็ไม่ดกหนาพอที่จะป้องกันลมฝนให้พระพุทธองค์ พญานาคตนหนึ่งชื่อเหมือนต้นไม้ว่า "มุจลินท์" จึงขึ้นมาจากนาคภพ มาขดรอบเป็นบัลลังก์ให้พระพุทธองค์ประทับนั่งแล้วแผ่พังพานบังลมและฝนให้

ตามนัยนี้นาคขดเป็นหลายรอบ พระพุทธองค์ประทับบนขนดนั้น ไม่ใช่ขดเป็นโพรงหรือถ้ำ แล้วให้พระพุทธองค์ประทับในโพรงนั้น

เมื่อฝนหายแล้ว พญานาคนั้นก็จำแลงกายเป็นมาณพน้อย ยืนประคองอัญชลีอยู่ต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธองค์

เรื่องราวมีแค่นี้ ไม่ปรากฏพระพุทธองค์ตรัสอะไรกับมาณพน้อย เพียงแต่ทรงเปล่งพระพุทธอุทานว่า

ความสงบวิเวกของคนที่รู้จักยินดีในสิ่งที่มี เห็นแจ้งธรรม เป็นความสุข

การไม่เบียดเบียนกัน เป็นสุขในโลก

การกำจัดกามราคะเสียได้เป็นสุข

และยอดแห่งความสุขคือการละ "อัสมิมานะ" (ความถือว่ามีตัวตน)

มีพระพุทธรูปที่ชาวพุทธสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์จากเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นพระพุทธรูปในพระอิริยาบถประทับบนขนดพญานาค ในท่าสมาธิ เบื้องบนมีเศียรพญานาค (ส่วนมาก ๗ เศียร) แผ่พังพานเต็มที่คลุมอยู่ ดุจร่มใหญ่กั้นลมและฝนให้พระพุทธองค์

เราเรียกว่า พระพุทธรูปปางนาคปรก (ร เรือ มาจากไหนไม่ทราบ)

มีเกร็ดเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนี้ เมื่อเจ้าจอมองค์หนึ่งในพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ จะมีพระประสูติกาล ก่อนนั้นเล็กน้อยท้องฟ้าแจ่มใส พอพระราชโอรสประสูติเท่านั้น ไม่รู้ว่าลมฝนมาจากไหน กระหน่ำอย่างแรงจนน้ำนองชาลาพระตำหนัก รัชกาลที่ ๔ ทรงหวนรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งพญานาคมาบังลมและฝนให้พระพุทธเจ้าขึ้นมาทันที จึงทรงถือเอาศุภนิมิตนั้นขนานพระนามพระราชโอรสพระองค์นั้นว่า พระองค์เจ้ามนุษยนาคมาณพ แปลว่า นาคจำแลงเป็นคนหนุ่ม หรือคนหนุ่มผู้ที่นาคจำแลงมา อะไรทำนองนั้น ทรงดำริว่า ลูกคนนี้เห็นทีที่เจริญรุ่งเรืองในพระศาสนา

ซึ่งเป็นไปตามนั้น เมื่อพระองค์เจ้ามนุษยนาคมาณพทรงผนวช ก็เสด็จอยู่ในพระพุทธศาสนาจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ เจ้านายพระองค์นี้คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระผู้ประสาธน์การ (แปลว่าสร้างความสำเร็จ) แก่วงการพระสงฆ์ โดยทรงนิพนธ์ตำราทางพระพุทธศาสนามากมาย ดังที่ทราบกันดี

เรื่องแปลกแต่จริงทำนองนี้มีมาก ในแวดวงยุทธจักรดงขมิ้น ไว้เล่าสู่กันให้ฟังเมื่อมีโอกาส



เทฺววาจิกาอุบาสก

คําแปลของคำข้างต้นคือ อุบาสกผู้เปล่งวาจาถึงรัตนะสองเป็นสรณะ อุบาสกที่ว่านี้มีสองคน เป็นพ่อค้าเดินทางมาจากชนบทนามว่า อุกกละ ไม่ทราบว่าที่ไหน ไปยังพุทธคยา สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อรรถกถา (คัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎก) ว่าสองคนนี้เป็นพี่น้องกัน คนพี่ชื่อตปุสสะ คนน้องชื่อ ภัลลิกะ

ในช่วงเวลานั้นพระพุทธเจ้าเพิ่งตรัสรู้ใหม่ๆ ล่วงได้เพียง ๔ สัปดาห์ พระองค์ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นราชายตนะ (ต้นเกด) สองพี่น้องพบพระพุทธองค์แล้ว มีจิตเลื่อมใสศรัทธา คิดว่าพระองค์ไม่มีพระกระยาหารเสวย จึงน้อมนำเอาเสบียงกรังที่นำติดตัวมาด้วย คือ สัตตุผง และสัตตุก้อน (ก็คงเป็นข้าวตากที่บด กับข้าวตากที่ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นก้อนๆ) ไปถวาย

พระพุทธองค์เสวยข้าวสัตตุผงและสัตตุก้อนนั้นแล้ว พ่อค้าสองพี่น้องก็กล่าววาจาแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ เนื่องจากสมัยนั้นยังไม่มีพระสงฆ์ พ่อค้าสองพี่น้องจึงเป็นอุบาสกประเภท "เทฺววาจิกา" (ผู้กล่าววาจาถึงพระรัตนะทั้งสองเป็นสรณะ) นับเป็นอุบาสกคู่แรกในพระพุทธศาสนา

คัมภีร์พระไตรปิฎกพูดไว้แค่นี้ แต่อรรถกถา (คัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎก) แต่งต่อว่า พ่อค้าสองพี่น้องนั้นกราบทูลว่า พวกตนมาจากต่างเมือง เมื่ออยู่ห่างไกลพระพุทธองค์ เวลารำลึกถึงอยากจะกราบไหว้บูชาจะทำอย่างไร จะมีสิ่งใดเป็นที่อนุสรณ์ถึง (คล้ายสมัยนี้ก่อนจากก็ขอพระไปบูชาไม่มีผิดแฮะ)

พระพุทธเจ้าจึงเอาพระหัตถ์ลูบพระเศียร เส้นพระเกศาก็หลุดติดพระหัตถ์มา ๘ เส้น พระองค์จึงประทานให้พ่อค้าสองพี่น้องนั้นไปบูชา

อรรถกถาแต่งเพียงเท่านี้ มีชาวพุทธพม่าแต่งต่อ อ้างว่าพ่อค้าสองพี่น้องนั้นเป็นชาวพม่าไปจากหงสาวดี ไปค้าขายที่ชมพูทวีป พบพระพุทธองค์ ถวายสัตตุผงสัตตุก้อนแล้วกราบทูลขอพระเกศธาตุจากพระพุทธองค์ พอมาถึงบ้านเกิดเมืองนอนจึงก่อพระเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุนั้นไว้บูชาตราบเท่าทุกวันนี้พระเจดีย์นี้คือ พระธาตุชเวดากองนั้นแล ว่ากันอย่างนั้น จริงเท็จอย่างไรก็ฝากท่านผู้รู้พิจารณาก็แล้วกัน

สังเกตว่ามีการแต่งเติมเป็นทอดๆ จนในที่สุดชาวพุทธพม่าเหมาเอาว่าตปุสสะกับภัลลิกะ "เป็นหม่อง" นุ่งโสร่งไปเสียฉิบ

ผมเคยพูดตลกๆ ว่า ไทยเราก็มีสิทธิ์อ้างตปุสสะกับภัลลิกะเป็นชาวไทยบ้างเหมือนกัน สังเกตได้จากชื่อของทั้งสอง ฟังเป็นไทยๆ จังเลย ตปุสสะก็ "ตาบุตร" ภัลลิกะ ก็ "ตาพัน" ตาบุตรกับตาพันไปจากลุ่มเจ้าพระยาไปพบพระพุทธองค์บ้างจะไม่ได้เชียวหรือ

ผู้รู้อีกท่านหนึ่งแย้งว่า ถ้าอย่างนั้นก็มีสิทธิ์อ้างว่าสองพี่น้องเป็นคนจีนไปจากผืนแผ่นดินใหญ่ สังเกตจากของถวาย มีคำว่า "มันถัง" อยู่ด้วย น่าจะเป็น "หมั่นโถว" กระมังหวา

ขืนสันนิษฐานกันอย่างไม่มีหลักการและหลักเกณฑ์เช่นนี้เรื่องคงจะไปกันใหญ่ เอาเป็นว่าฟังเท่าที่พระไตรปิฎกและอรรถกถาว่าไว้ก็พอ ใครจะต่อจะเติมอะไรอย่างไรผ่านๆ ไปก่อนจะดีกว่าครับ



นาคาวโลก

นาคาวโลก มาจาก นาค (นาค, พญาช้าง) - อวโลก (มองดู, เหลียวมอง) รวมเป็น นาคาวโลก แปลว่า มองอย่างนาค หรือมองอย่างพญาช้าง

นาค แปลได้หลายนัยคือ แปลว่า งูใหญ่ ดังเรื่องเล่าว่า หลังตรัสรู้ ขณะประทับนั่งใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) มีฝนตกพรำๆ ๘ วัน นาค ขึ้นมาขดเป็นบัลลังก์ให้พระพุทธองค์ประทับ แผ่พังพานบังลมและฝนให้ นาคในที่นี้แปลกันว่างูใหญ่ หรือ นาค ที่จำแลงกายเป็นมนุษย์มาบวชในพระพุทธศาสนา ก็ว่าเป็น งูใหญ่ชนิดหนึ่ง

นาค แปลว่า ผู้อยู่บนภูเขา หรือ ชาวเขา โดยอธิบายว่า นาค มาจาก นค (ภูเขา) นาค เป็นคุณศัพท์ แปลว่า "ผู้อยู่บนภูเขา" หมายถึงชาวเขา

นาค แปลว่าพญาช้าง ดังพุทธวจนะตรัสว่า อหํ นาโคว สงฺคาเม จาปาโต ปติตํ สรํ อติวากฺยํ ติติกฺขิสฺสํ=เราจักอดกลั้นคำล่วงเกินของคน ดุจดังนาคอดทนต่อลูกศรที่ยิงใส่ในยามสงคราม

นาค ในที่นี้หมายเอาพญาช้าง

นาค แปลว่า ผู้ประเสริฐ ปราศจากกิเลส อันหมายถึงพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย

นาคาวโลก ในที่นี้หมายเอาความหมายหลัง คือ พญาช้าง การเหลียวมองอย่างช้าง เป็นอาการที่พระพุทธองค์ทรงทำครั้งแรกและครั้งสุดท้าย เมื่อตอนเสด็จออกจากเมืองไพศาลี คือทรงเอี้ยวพระศอหันไปทอดพระเนตร ดุจดังการที่ช้างเหลียวหลัง

เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับคำเชิญของมารเพื่อเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทรงปลง "อายุสังขาร" คือตัดสินพระทัยปรินิพพาน เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองไพศาลี โดยมีพระอานนท์ตามเสด็จ ขณะเสด็จออกจากเมืองไพศาลี ทรงยืนแล้วเอี้ยวพระศอกลับไปทอดพระเนตรพระนครไพศาลีชั่วขณะหนึ่ง

พระกิริยาอาการทรงเหลียวดูนั้นดุจดังพญาช้างเหลียวหลัง จึงเรียกว่า "นาคาวโลก"

พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า การเห็นเมืองไพศาลีครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว คิดแบบปุถุชนคนสามัญอย่างผมก็ว่า พระพุทธองค์ทรงคุ้นเคยและมีความผูกพันกับเมืองไพศาลีมาก เพราะนอกเมืองไพศาลีนี้มีป่าใหญ่อันเป็นรมณียสถาน พระพุทธองค์เสด็จมาพำนักเสมอ

เมืองไพศาลีเองเป็นเมืองหลวง ของแคว้น วัชชี อาณาจักรที่ปกครองด้วยระบอบ "สามัคคี ธรรม" (ปกครองผ่านรัฐสภา อันเป็นประชาธิปไตยระดับหนึ่ง) เป็นศูนย์กลางศาสนาสำคัญถึงสองศาสนา คือ ศาสนาเชน และศาสนาพุทธ เหล่ากษัตริย์ลิจฉวี ทรงนับถือทั้งสองศาสนา ดูเหมือนจำนวนผู้นับถือพระพุทธศาสนามีมากขึ้นในช่วงหลังๆ คนสำคัญของศาสนาเชน อาทิ สัจจกนิครนถ์ อุบาลีอุบาสก ได้ละทิ้งความเชื่อดั้งเดิม หันมาเป็นพุทธมามกะและเป็นกำลังเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายมากขึ้น

นอกจากเมืองราชคฤห์ ก็มีเมืองไพศาลี แห่งนี้ และในช่วงปลายพุทธกาลก็เมืองสาวัตถี ที่พระพุทธองค์ประทับอยู่บ่อยและนาน จึงเป็นของธรรมดาเมื่อจากไปก็ย่อมจะมีความผูกพันอาลัย

แต่นี่เป็นการคิดแบบปุถุชนอย่างผมนะครับ สำหรับพระพุทธองค์อาจไม่เป็นดังนี้ก็ได้ ที่ทรงทำ "นาคาวโลก" จะด้วยวัตถุประสงค์ใด เป็นเรื่องที่เราจะพึงหาคำตอบเอาเอง

อาจจะทรงเตือนอนุชนรุ่นหลังให้ยึดมั่นในคุณธรรมบางอย่างก็เป็นได้

นึกถึงเรื่องหนึ่งขึ้นมาได้ ในยุค "มาลานำไทย" ในสยามประเทศนี้แล ท่านผู้เฒ่าท่านหนึ่ง เปิดหมวกคำนับตึกหลังหนึ่ง ทุกครั้งที่เดินผ่าน เด็กหนุ่มคนหนึ่งสังเกตเห็นมานาน อดรน ทนไม่ได้จึงเข้าไปถามในวันหนึ่งว่า ลุงคำนับตึกทำไม

ลุงตอบว่า "ลุงไม่ได้คำนับตึก ลุงคำนับคนที่ออกแบบตึกนี้ เขาช่างเก่งกาจจริงๆ ออกแบบได้สมบูรณ์แบบแท้ๆ"

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า (แน่ะ ยังกะนิทานอีสป) คนเราควรตระหนักและซาบซึ้งในความดีและความสามารถของผู้อื่น ดังลุงคนนี้แสดงให้เป็นแบบอย่าง

อาการที่พระพุทธองค์ทรงทำ "นาคาวโลก" ก็อาจเป็นการเตือนให้อนุชนรุ่นหลังให้ความสำคัญแก่กตัญญูกตเวทิตาธรรมก็ได้นะครับ ใครมีบุญคุณต่อประเทศชาติ ต่อโลก แม้ไม่เกี่ยว กับเรา เราก็ควร "อภิเชต" (appreciate)

มีพระพุทธรูปปางหนึ่ง (ไม่ค่อยเห็นบ่อยนัก) เป็นอนุสรณ์เหตุการณ์ครั้งนี้ เรียกว่า พระพุทธรูปปางนาคาวโลก ครับ



อ.อุ.ม. = โอม

คําว่า โอม ว่ากันว่าเป็นคำย่ออันหมายถึงเทพเจ้าสามองค์ อันเรียกว่า ตรีมูรติ (รูปสาม) คือ พระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหม อ หมายถึงพระวิษณุหรือพระนารายณ์ อุ หมายถึงพระศิวะหรือพระอิศวร ม หมายถึงพระพรหม ใช้กล่าวนำบทมนตร์ต่างๆ เพื่อความศักดิ์สิทธิ์

เทพของชาวชมพูทวีปนั้นผสมผสานกับเทพของชาวอารยัน (ฝรั่ง) ที่อพยพมาครองชมพูทวีป เดิมนับถือเทพหลายองค์ ต่อมาในบรรดาเทพเจ้าหลายองค์นั้นก็ยกเทพองค์ใดองค์หนึ่งขึ้นเป็นใหญ่ เป็นประธานเฉพาะเรื่องเฉพาะกรณีไป เช่น ยกให้พระพฤหัสบดีเป็นใหญ่ในทางวิชาการ ต่อมาก็ยกความเป็นใหญ่ให้เทพองค์เดียวเลย เช่น ยุคแรกยกตำแหน่งหัวหน้าเทพทั้งปวงให้พระอินทร์ พระอินทร์จึงถือว่าเป็นเทวราชา หรือเทวานิมนทะ ต่อมาพระอินทร์ที่เป็นหัวหน้าเทพทั้งหลายมัวเมาในกาม ผิดศีลผิดธรรมบ่อย แถมยังดื่มน้ำโสมเมามายเป็นนิตย์ ก็เกิดมีความเบื่อหน่ายขึ้นในหมู่มนุษย์ (ที่สร้างเทพขึ้นมา) จึงยกความเป็นใหญ่ให้เทพองค์ใหม่นามว่า พรหม

เทพองค์ใหม่นี้มีบุคลิกและคุณสมบัติแตกต่างจากพระอินทร์แบบหน้ามือเป็นหลังมือทีเดียว

พระอินทร์ยุ่งเกี่ยวกับกามารมณ์ พระพรหมไม่ยุ่งเกี่ยวกับกามารมณ์

พระอินทร์ชอบสนุกสนาน ดื่มน้ำโสม เมามาย พระพรหมไม่ชอบสนุกสนาน อยู่องค์เดียวเงียบๆ ถือความบริสุทธิ์ อันเรียกว่า "พรหมจรรย์"

พระอินทร์เป็นเทพไม่อมตะ ตายได้ พระพรหมมีภาวะเป็น "อมตะ" ไม่รู้จักตาย เป็นนิรันดร์

แถมพระพรหมยังมีหน้าที่ในการสร้างโลกสร้างมนุษย์อีกด้วย ซึ่งแต่เดิมไม่มีหน้าที่นี้

เปิดหน้าประวัติศาสตร์ดู ยุคที่พระอินทร์ "โดนปลด" ยกพระพรหมขึ้นแทนนั้น พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นและเจริญรุ่งเรืองพอดี เพราะฉะนั้นในคัมภีร์พระไตรปิฎกจึงมักพูดถึงพระพรหม และวิธีเข้าถึงพระพรหม พระพุทธเจ้าทรงถกเถียงเรื่องการเข้าถึงพระพรหม หรือเรื่องการเป็นพระพรหมกับพวกพราหมณ์บ่อย บางครั้งพระองค์ชี้ว่า พรหมที่คิดเอาว่ามีนั้นอยู่ไกลตัวเรา มีจริงหรือไม่ไม่รู้ ได้แต่คาดเดาเอา แต่พรหมที่สัมผัสได้เห็นๆ อยู่ในโลกนี้มี คือคนที่มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขานั้นเอง ใครมีคุณธรรมทั้ง ๔ นี้เรียกว่า "เข้าถึงพรหม" หรือเป็นพรหมด้วยตัวเอง

ต่อมาเทพอีกสององค์ที่เคยมีชื่อมาก่อนหน้านั้นแต่ภายหลังตกอันดับไปได้โผล่ขึ้นมาใหม่ คราวนี้ได้รับความนิยมจากชาวชมพูทวีปมากขึ้นๆ จนเทียบรัศมีพระพรหมได้ เทพสององค์นั้นคือ พระวิษณุ หรือพระนารายณ์ กับพระศิวะ หรือพระอิศวร โดยองค์แรกเป็นเทพของคนใต้ องค์ที่สองเป็นเทพของคนเหนือ

จึงเกิดคติเทพสามองค์ (ตรีมูรติ = สามรูป) ขึ้น แล้วก็แบ่งอำนาจหน้าที่กัน (มนุษย์อีกนั่นแหละเป็นคนแบ่งให้) คือ

พระพรหม มีหน้าที่ในการสร้างโลก

พระศิวะหรือพระอิศวร มีหน้าที่ในการทำลาย

พระวิษณุหรือพระนารายณ์ มีหน้าที่ในการรักษา

ถ้าไปอินเดียตอนนี้จะเห็นว่า พระนารายณ์ กับพระศิวะ มีผู้นับถือมาก มีโบสถ์หรือเทวาลัยสำหรับพระนารายณ์ พระศิวะมากมาย แต่พระพรหมดูจะเงียบๆ มีผู้นับถือน้อยลง

คำว่าโอม เป็นคำย่อ หมายถึงเทพเจ้าทั้งสามพระองค์ดังว่ามา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ ทรงดัดแปลงคติเรื่องโอม จากของฮินดูมาเป็นพุทธ โดยทรงอธิบายว่า โอม มาจาก อ.อุ.ม. โดย อ. มาจาก อรหํ (พระอรหันต์) หมายถึงพระพุทธเจ้า อุ. มาจาก อุตฺตมธมฺม (ธรรมสูงสุด) หมายถึงพระธรรม ม. มาจาก มหาสงฺฆ (สงฆ์หมู่ใหญ่) หมายถึงพระสงฆ์

สรุป โอมก็คือพระรัตนตรัยนั้นแล เพราะฉะนั้นถ้าชาวพุทธจะเปล่งคำว่าโอม ก็ไม่ต้องตะขิดตะขวงใจว่าเปล่งสรรเสริญเทพของศาสนาอื่น เพราะแท้ที่จริงแล้วกำลังกล่าวสรรเสริญพระรัตนตรัย  



คาถาพาหุง

สมัยเป็นเณรน้อยได้ยินพระผู้ใหญ่ที่ไปอยู่กรุงเทพฯ กลับมาเยี่ยมบ้านเกิดคุยกับสมภาร ท่านถามไถ่กันว่าที่กรุงเทพฯ เป็นอย่างไร การขบฉันลำบากไหม พระผู้ใหญ่รูปนั้นตอบว่า "ก็ต้องพาเณรสวดพาหุงแทบทุกวัน" ทั้งสองก็เข้าใจกันดี แต่เณรน้อยอย่างผมสงสัยว่า ถามเรื่องอาหารบิณฑบาต แต่ไหงตอบเรื่องสวดคาถา มันคนละเรื่องแท้ๆ

ต่อมาจึงทราบว่า "สวดพาหุง" หมายถึงบิณฑบาตไม่พอฉัน

"อ้าว สวดพาหุงแล้วจะมีฉันทันทีหรือ"

"มีทันที สวดเสร็จก็ได้ฉันเลย"

"มันเป็นยังไง"

"อ้าว หุงข้าวเสร็จก็ตักใส่จานเลยสิ"

อ้อ สวดพาหุง ก็คือ พาเณรหุงข้าวนั้นเอง ฮิฮิ

ที่เรียกกันว่าคาถาพาหุง เพราะบทแรกขึ้นต้นด้วยคำว่า "พาหุง" กล่าวถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้าแปดเหตุการณ์ เหตุการณ์แรกทรงเอาชนะพญามารชื่อ วสวัตตี จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

มีการแปลตามตัวอักษรว่า มีการรบกับมาร กองทัพมารพร้อมด้วยเสนามารมากมายล้วนหน้าตาน่าสะพรึงกลัวมารบกับพระโพธิสัตว์ ตัวพญามารเองขี่ช้างนามว่า ครีเมขละ พันมือถืออาวุธครบครัน หน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว มาไล่พระโพธิสัตว์ผู้ประทับนั่งเข้าวิปัสสนาอยู่ใต้ต้น "อัสสัตถะ" (ต้นไทรตระกูลหนึ่ง ภายหลังรู้จักในนามว่า "โพธิ" เพราะพระโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้โพธิญาณใต้ ต้นไม้นี้)

พญามารไล่ให้พระโพธิสัตว์ลุกขึ้น อ้างว่าที่นั่งนี้เป็นของเขา เมื่อพระองค์ตรัสว่าเป็นที่นั่งของพระองค์เอง พราหมณ์ชื่อโสตถิยะได้ถวายหญ้ากุศะ ๘ กำ พระองค์จึงเอามาปูลาดเป็นอาสนะ พญามารถามว่าท่านมีพยานไหม พระองค์ทรงชี้พระดรรชนีลงยังแผ่นดิน ขอให้พระแม่ธรณีเป็นพยาน ทันใดนั้นพระแม่ธรณีก็โผล่ขึ้นมาบีบมวยผม บันดาลให้กระแสน้ำไหลบ่ามาท่วมกองทัพพญามาร จนพ่ายไปในที่สุด

มีพระพุทธรูปสองปางเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ ปางแรกประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย เรียกว่า "ปางสมาธิ" อีกปางหนึ่งพระหัตถ์ขวาพาดที่พระเพลาชี้พระดรรชนี (ส่วนมากชี้ลงทั้งห้านิ้ว) ลง เราเรียกว่า "ปางมารวิชัย" (อ่าน "มา-ระ-วิ-ไช) เป็นปางที่พระพุทธองค์ทรงอ้างสักขีพยานแล้วเอาชนะมารในที่สุด

ข้อความตรงนี้ถ้าแปลตามตัวอักษรก็อ้างนางธรณีให้ออกมาช่วยจริงๆ ดังกล่าวข้างต้น แต่จริงๆ แล้วคงมิได้หมายความอย่างนั้น คงเป็นภาษาสัญลักษณ์ รบกับพญามารก็คือรบกับความคิดกลับไปกลับมาในพระทัยของพระองค์ คือแสวงหามานาน ไม่บรรลุผลสักที ก็อาจคิดว่าจะเดินต่อหรือจะกลับหลังดี ความคิดลังเลอันอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ก็ดุจมีมารมาขัดขวาง ทันทีที่ตัดพระทัยเด็ดขาดว่าเป็นไงเป็นกัน จะต้องบรรลุให้ได้นั้นแหละ สัญลักษณ์จึงออกมาเป็นการชี้พระดรรชนีลงพื้นดิน และจากนั้นพญามารก็พ่าย

มารวิชัย = ชนะมาร ก็คือการเอาชนะกิเลสในจิตใจได้โดยเด็ดขาดนั้นเอง คาถาพาหุงนี้เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า บทถวายพรพระ เวลานิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธีทำบุญ พระท่านสวดมนต์จบแล้วจะต่อด้วยคาถาพาหุงหรือบทถวายพรพระ เป็นการอำนวยอวยพรทายกทายิกาทั้งหลาย

ผู้รู้ธรรมเนียมพอพระเริ่มสวด "พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง..." เขาจะยกสำรับที่เตรียมไว้เข้าไปตั้งหน้าโต๊ะหมู่บูชา ที่จัดไว้เป็นพิเศษ กล่าว "ถวายข้าวพระ" เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วทายกก็จะไปยกสำรับนั้นออก กล่าวคำ "ลาข้าวพระ" ด้วย

ถามว่า พิธีนี้มีความเป็นมาอย่างไร คงจะเนื่องมาจากสมัยพุทธกาล ชาวบ้านมักจะอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหาร แม้ไม่มีพระพุทธองค์เสด็จไปด้วย เขาก็ลาดอาสนะไว้สำหรับพระพุทธองค์ ทำเสมือนหนึ่งว่ามีพระพุทธเจ้าประทับเป็นประธานอยู่ด้วย

เมื่อกาลผ่านมานานเข้าชาวพุทธที่ทำบุญนิมนต์พระมาสวดมนต์ฉันเพลที่บ้านตน ก็มักจัดอาสนะไว้ถวายพระพุทธองค์ด้วย หรือเมื่อมีโต๊ะหมู่บูชาแล้วก็ไม่ต้องจัดอาสนะไว้เพื่อพระพุทธองค์อีกต่างหาก ไปๆ มาๆ เลยยกสำรับกับข้าวไปถวายพระพุทธรูปด้วย จะได้มีความรู้สึกว่าตนกำลังถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าประทับเป็นประธาน (จริงๆ)

ถวายข้าวเปล่าๆ ไม่มีกล่าวอะไรเลยก็ ดูจะ "ลุ่นๆ" จึงแต่งคำถวายสวดกันต่อๆ มา ว่า อิมัง สูปะพยัญชะนะสัมปันนัง สาลีนัง โอทะนัง อุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ" = ข้าพเจ้าขอน้อมนำบูชาข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันพร้อมด้วยแกงและกับนี้ และน้ำอันประเสริฐ แด่พระพุทธเจ้า ขณะลาข้าวพระก็กล่าวสั้นๆ ว่า "เสสัง มังคะลัง ยาจามิ" = ข้าพเจ้าขออาหารที่เหลือที่เป็นมงคล

พระพุทธศาสนาในไทยเป็นพระพุทธศาสนาในรูปสถาบัน มิใช่อยู่ในสภาพสัจธรรมล้วนๆ หากนำสัจธรรมมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวิธีชีวิตไทยๆ สัจธรรมของพระศาสนาจึงกลายมาเป็นวัฒนธรรมให้ยึดถือปฏิบัติสืบกันมาจนทุกวันนี้ การถวายข้าวพระพุทธเป็นหนึ่งในหลายตัวอย่างของการปรับสัจธรรมมาเป็นวัฒนธรรมดังกล่าวแล  


ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กุมภาพันธ์ 2562 15:38:03 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5767


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #55 เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2562 15:35:49 »



ปุถุชน

เมื่อเอ่ยถึงคำว่า "ปุถุชน" หลายท่านอาจรู้จักดี เพราะคนเราทุกคนได้นามว่าปุถุชนกันทั้งนั้น ปุถุชน มาจากคำว่า ปุถุ (หนา)-ชน (คน) รวมแล้ว ปุถุชนคือคนหนา หนาด้วยอะไร ตอบว่าหนาด้วยกิเลสคือ โลภ โกรธ หลงปุถุชนแบ่งเป็นสองระดับคือ ปุถุชนที่มีกิเลสหนาจริงๆ ไม่เบาบางบ้างเลย มีความรู้สึกรัก โกรธ หลง อย่างไรก็แสดงออกเต็มที่ เรียกว่า อันธพาลปุถุชน ส่วนปุถุชนที่มีศีลมีธรรมพอสมควรจนกระทั่งมีศีล ๕ บริบูรณ์ เรียกว่า กัลยาณปุถุชน

สูงกว่าระดับกัลยาณปุถุชนก็กลายเป็นพระอริยะ ซึ่งแบ่งย่อยออกได้ถึง ๔ ขั้น หรือ ๔ ระดับ

เปิดหนังสือ อรรถกถา มโนรถปูรณี พบความหมายของปุถุชนมากกว่าที่เคยรู้มา น่าสนใจดี จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับ

๑. ความหมายแรก แปลว่า ผู้มีกิเลสหนาดังกล่าวแล้ว

๒. ปุถุชน หมายถึงผู้มี "สักกายทิฐิ" สักกายทิฐิ แปลว่าความเห็นว่ามีตัวตน ความเห็นแก่ตน ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ปุถุชนทั่วไปมักจะมีความถือตัวสูงว่า ข้าคือข้า ข้านี้หนึ่งในตองอู ยิ่งได้เรียนมาสูงๆ ความเห็นว่าตัวตนสำคัญยิ่งมีมาก "ข้าด๊อกเตอร์นะเว้ย เอ็งอย่ามาเถียงข้า" อะไรทำนองนี้ ทั้งๆ ที่ความคิดความอ่านก็ขี้เท่อเต็มทีก็มีเหมือนกัน คนทั่วไปนั้นไม่มีใครที่เห็นตัวตนไม่ใช่ตัวตนดอกครับ พระท่านสอนว่า ตัวตนไม่มี มีแต่ประชุมกันแห่งธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้นเอง แต่ก็มักไม่เชื่อท่าน จำพวกที่ไม่เชื่อพระเหล่านี้แหละเรียกว่า พวกมี "สักกายทิฐิ" ละครับ

๓. ปุถุชนหมายถึงผู้ไม่ออกไปจากคติทั้งหลาย คติ คือที่ไปหลังจากตายแล้ว เช่น ภูมิสัตว์เดียรัจฉานบ้าง ภูมิมนุษย์บ้าง ภูมิสวรรค์บ้าง ปุถุชนต่างก็ทำกรรมทั้งดีและชั่ว ตายไปแล้วก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในคติทั้งหลายเหล่านี้ ไม่มีปัญญาพ้นจากคติเหล่านี้ไปได้ อย่างที่สำนวนว่า "เวียนว่ายตายเกิด" จนกว่าจะบรรลุอรหัตผลโน่นแหละจึงจะตัดวงจรแห่งการเวียนว่ายตายเกิดนี้ได้

๔. ปุถุชนหมายถึงผู้ถูกปรุงแต่งด้วยเครื่องปรุงแต่ง ข้อนี้ความหมายคล้ายข้อ ๑ และข้อ ๓ นั้นแล เครื่องปรุงแต่งจิตก็คือกิเลสต่างๆ อันเป็นเหตุให้ทำบุญบ้าง บาปบ้าง นักการเมืองก็คิดแต่เรื่องทำอย่างไรจึงจะเล่นงานคู่แข่งให้มันม่อยกระรอก หรือทำอย่างไรจึงจะได้อะไรๆ มันไหลมาตามน้ำบ้าง ทำอย่างไรจึงจะชนะการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล น้อยนักจะคิดว่าทำอย่างไรประเทศชาติจึงจะพ้นวิกฤต ล้วนเป็นความปรุงแต่งด้านไม่ดีทั้งนั้น นานๆ จะแว้บมาด้านดีเสียที นักการเมืองแกเป็นปุถุชนนี่ครับ ก็ต้องถูกปรุงแต่งอย่างนี้เป็นธรรมดา คนอื่นๆ ที่ไม่ใช่นักการเมืองก็เช่นกัน

๕. ปุถุชน หมายถึง ผู้ถูกกระแสน้ำพัดพาไป ผู้ที่ไปตามกระแสดุจสวะลอยน้ำเรียกว่าปุถุชน กระแสที่ว่านี้คือ กาม (ความสนุกเพลิดเพลินในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส) ภวะ (ความมีความเป็น อยากได้อยากดีอยากมีอยากเป็น อยากสลัดทิ้งสิ่งที่ได้ที่มีที่เป็นที่ไม่พึงพอใจ) ทิฐิ (ยึดมั่นในทฤษฎีผิดๆ ความหลงยึดติดในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง) อวิชชา (ความโง่งมงาย ลุ่มหลงต่างๆ) กระแสเหล่านี้แหละที่พัดพาเอาปุถุชนให้ไหลไปตาม จนไม่เป็นตัวของตัว ถ้าเป็นห้วงน้ำจริงๆ ปุถุชนก็กำลังจะจมน้ำอยู่รอมร่อแล้วครับ

๖. ปุถุชน หมายถึงผู้เร่าร้อนกระวนกระวายด้วยกิเลส โลภ โกรธ หลง ดังกล่าวข้างต้น จิตใจไม่มีความสงบเย็น เพราะไฟกิเลสมันเผาลนจิตใจ ร้อนกายที่ว่าร้อน ยังร้อนน้อย ร้อนดอกเบี้ย ร้อนตกงานเพราะพิษไอเอ็มเอฟ ก็ว่ามากแล้ว จนบางคนฆ่าตัวตาย แต่เทียบกับร้อนพิษกิเลสไม่ได้ เพราะคนที่ถูกกิเลสครอบงำอาจถลำทำบาปกรรมมากมายเป็นเหตุให้ตกนรกหมกไหม้สิ้นกาลนาน เรียกว่าร้อนอมต นิรันดร์กาล เชียวแหละ

๗. ปุถุชน หมายถึง ผู้ยินดีพอใจในกามคุณ ๕ กามคุณ ๕ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อันน่าใคร่ น่าพอใจ พระท่านว่า ถ้าเอาสัตว์ ๖ ตัว คือ ลิง จระเข้ นก งู สุนัขจิ้งจอก สุนัขบ้าน ผูกติดกันไว้ มันก็พยายามดึงดันจะไปสู่ที่อยู่ที่มันเคยชิน ลิงจะขึ้นต้นไม้ จระเข้จะลงน้ำ นกจะบินขึ้นฟ้า งูจะเลื้อยเข้าจอมปลวก สุนัขจิ้งจอกจะเข้าป่า สุนัขบ้านจะเข้าบ้าน ปุถุชนก็มักดิ้นรนไปสู่กามคุณ ๕ ฉันนั้นแล อุปมาอุปไมยชัดไหมครับ

๙. ปุถุชน หมายถึงผู้ถูกนิวรณ์ ๕ ครอบงำ นิวรณ์หมายถึงกิเลสที่ปิดกั้นมิให้ก้าวหน้าด้วยคุณธรรม ความใคร่ในกาม ความพยาบาทมุ่งร้ายเขา ความหดหู่เซื่องซึม ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ และความลังเลสงสัย ผู้ตกอยู่อิทธิพลของนิวรณ์ ๕ ประการนี้แลเรียกว่าปุถุชน

ข้อสังเกต ถึงท่านจะพยายามอธิบายว่าปุถุชนแปลได้หลายนัย แต่ก็อยู่ในขอบเขตของนัยที่หนึ่งนั้นเอง คือ "ผู้หนาด้วยกิเลส" จะกิเลสชนิดไหนบ้าง โลภโกรธหลง หรือนิวรณ์ หรือ กามคุณ นั่นเป็นเพียงรายละเอียด

แต่จำไว้ประดับความรู้ก็ดีเหมือนกัน



ธรรมสหาย-ธรรมสวัสดี/สวรรค์บนดิน

ธรรมสหาย-ธรรมสวัสดี

ได้ดูรายการที่แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ออกทีวีวันหนึ่ง รายการอะไรก็จำไม่ได้ เพราะท่านออกทีวีบ่อยบรรยายธรรมได้ไพเราะจับใจอย่างยิ่ง ได้ยินท่านกล่าวสวัสดีผู้ชมผู้ฟังว่า "ธรรมสวัสดี" (ทำมะสะหวัดดี) ก็สะดุดใจ ดูเหมือนอาจารย์รัญจวน อินทรกำแหง ก็ใช้ เลยมานั่งลำดับความเป็นว่า ธรรมสวัสดี มีใช้มาตั้งแต่เมื่อใด

คงจะไม่นานนัก แต่ก่อนก็เห็นพูด "สวัสดี" เฉยๆ มีพระเท่านั้นที่ไม่ใช้ ท่านจะใช้ว่า "เจริญพร คุณโยมทั้งหลาย..." สวัสดี เป็นคำที่ (ถ้าจำไม่ผิด) มหานิ่ม กาญจนาชีวะ หรือ พระยาอุปกิตศิลปสาร บัญญัติขึ้นใช้และก็ติดปากชาวไทยมาจนบัดนี้

ไปอินเดียจะได้ยิน "สฺวาคตัม" "นมัสการ" หรือ "นมัสเต" ไปลังกาจะได้ยิน "อายุภวัน" หรือหูไทยได้ยินว่า "อายุบวร" ไปภูฏาน ก็จะได้ยินคำทักทายด้วยใบหน้ายิ้มแย้มว่า "กุสุซัมโป" หรือ "ตะชิดีเรก"

สมัยผมอยู่อังกฤษประมาณ พ.ศ.๒๕๐๘-๒๕๑๔ วัดไทยในลอนดอนเพิ่งจะก่อตั้ง แต่พระลังกามาอยู่ลอนดอนนานแล้ว พระสงฆ์ลังกาสมัยนั้นมีท่านสัทธาติสสะ มหาเถระ เป็นประมุข ท่านรูปนี้เป็นพระนักปราชญ์ ทำงานแปลพระไตรปิฎกและชำระคัมภีร์บาลีให้สมาคมบาลีปกรณ์ (Pali TextSociety) ธรรมเนียมของชาวพุทธในอังกฤษสมัยนั้นคือ เวลาจะบรรยาย หรืออภิปราย จะต้องพูดว่า "Friends in Dhamma" ทุกครั้ง ไม่มี "Ladies and Gentlemen" เป็นอันขาด ใครไม่ใช้ "Friends in Dhamma" ถือว่าเชย และมิได้อยู่ในแวดวงพระศาสนาด้วยกัน

คำนี้ถอดเป็นไทยก็คือ ธรรมสหาย (สหายในธรรม) นั้นแล

ธรรมสวัสดี (สวัสดีในธรรม) ก็คงได้อิทธิพลมาจากนี้ แต่ว่ามาอย่างไร ใครเป็นคนนำมาใช้ ไม่รู้สิครับ หรือคิดตรงกันโดยบังเอิญ แต่ก็ดูดี แม้จะเชยนิดๆ ก็ตาม

การบัญญัติคำใหม่บางทีก็ง่าย บางทีก็ยาก คิดคำมาแทบตายแต่ไม่เป็นที่ยอมรับ ใครใช้คำนั้นก็ตายไปตั้งแต่แรกเกิด บางคำนักปราชญ์ราชบัณฑิตไม่ได้คิด แต่เป็นที่ยอมรับแพร่หลาย น.ม.ส. ทรงบัญญัติคำ "หมากตีน" แทน ฟุตบอล (ซ็อกเกอร์) แต่ไม่ติด จนแล้วจนรอดคำนี้ก็ยังต้องทับศัพท์มาจนบัดนี้ ส่วนคำว่า "จักรยาน" นักปราชญ์มิได้บัญญัติ ใครก็จำไม่ได้คิดขึ้นมา ติดปากประชาชนทันที

พระลังกาท่านเรียกเจ้าอาวาสว่า Incumbent ต่อมาเห็นว่า ไม่ใหญ่พอ เติม Senior เข้าไปอีกเป็น Senior Incumbent ยังไม่หนำใจเติมใหม่อีกเป็น Seniormost Incumbent จนพวกเราเรียกล้อว่า "ซีเนียร์ คิวคัมเบอร์"

ธรรมเนียมอย่างนี้เมืองไทยมีมานานเหมือนกัน ดังจะเห็นได้จากเรียกพระราชาคณะทั้งหลายว่า พระเดช พระคุณ...เจ้าพระคุณ...เจ้าประคุณ...จนไม่รู้ว่าอย่างไหนสูงกว่าอย่างไหน

เพราะที่มีใช้อยู่แล้วมันไม่ใหญ่พอ จึงต้องเพิ่มต้องเติมให้มันใหญ่สมใจ ด้วยเหตุนี้ บังสุกุล เฉยๆ จึงกลายเป็น "มหาบังสุกุล" กุศล กลายเป็น "มหากุศล" เผลอๆ อาจเป็น "อภิอมตมหากุศล" ไปในไม่ช้า

สวรรค์บนดิน  สวรรค์บนฟ้านั้นรู้กันโดยทั่วไป จากวรรณคดีพระพุทธศาสนา ที่วาดภาพไว้ว่า สวรรค์-นรก เป็นภพภูมิที่ตรงข้ามกัน สวรรค์ เป็นภพที่เต็มไปด้วยความสุข สนุกสนาน ดังที่บรรยายว่า มีวิมานทิพย์ มีอาหารทิพย์ เสพสุขบนทิพยวิมาน แวดล้อมด้วยนางฟ้าห้าร้อยคอยปรนนิบัติ (ทำไมต้องห้าร้อย ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน จำนวนช่างลงตัวเป๊ะๆ อีกความหมายถึงอาจหมายถึง "มาก" ก็ได้ มิได้หมายถึงจำนวนเท่านั้นจริง)

สรรค์นี้ ฟังเสียงผู้เขียนตำราแล้วคล้ายกับว่า อยู่โน้น บนฟากฟ้าแสนไกล ไม่ทราบว่าอยู่บนจริงหรือจินตนาการเอา

ภาพของนรก เป็นภพภูมิที่เต็มไปด้วยความทุกข์สาหัสสากรรจ์นานัปการ สัตว์นรกต้องตกนรกหมกไหม้ บ้างก็ปีนต้นงิ้วหนามแหลมคม มีกาปากเหล็กคอยจิกกินเนื้อ มีสุนัขดุร้ายคอยไล่กัด ถูกยมบาลจับโยนลงกระทะทองแดง เอาน้ำร้อนๆ กรอกปาก รับทุกขเวทนาแสนสาหัส ร้องโอดโอยครวญครางอย่างน่าเวทนา

นรกนี้ท่านก็ว่ามีเป็นขุมๆ หลายขุม และอยู่ใต้พื้นดิน ลึกขนาดไหนไม่ทราบ

ในความรับรู้ของคนทั่วไป สวรรค์ นั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขสบายทุกอย่าง ซึ่งเป็นผลของการทำทานรักษาศีล บำเพ็ญคุณงามความดีในชาตินี้ ตายไปแล้วชีวิตก็จะได้สุขสบายอย่างที่ว่านี้ จึงมักเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไป

ส่วนนรก เป็นสัญลักษณ์แห่งความทุกข์ยากลำบากนานา ไม่เป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไป การตกนรกเป็นผลของการทำชั่ว ผิดศีลธรรม ตายไปแล้วจึงต้องไปรับใช้กรรมที่ก่อไว้แต่ชาตินี้

สวรรค์ และนรก ไม่สามารถเข้าถึงได้ในชีวิตนี้ เพราะฉะนั้นเมื่อบางครั้งชีวิตประสบความสำเร็จในสิ่งที่ต้องการ มีความสุขสบายมาก เราจึงมักพูดว่า เหมือนอยู่บนสรวงสวรรค์ หรือเราได้มี "สวรรค์บนดิน" ในขณะเดียวกัน ถ้าชีวิตได้รับความลำบาก เช่นถูกจับ ถูกไล่ออกจากงาน เงินทองไม่มีใช้ มีปัญหาครอบครัว เราก็มักจะพูดว่า เหมือนตกนรกทั้งเป็น หรือมี "นรกบนดิน"

สวรรค์บนดิน เข้าใจว่าเป็นสำนวนที่มีมานาน ที่เป็นรูปธรรมที่สุด น่าจะเป็นสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์แห่งชมพูทวีป ผู้หลังจากมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ได้ประยุกต์คำสอนของพระพุทธเจ้ามาใช้ในการปกครองประเทศ อันเรียกว่าระบบ "ธรรมวิชัย" หรือ "ธรรมราชา"

พระเจ้าอโศกจารึกไว้ในศิลาจารึกหลักหนึ่ง เพราะนโยบายธรรมวิชัยของพระองค์นี้เอง ประชาชนทั่วทั้งประเทศจึงมีแต่ความสงบสันติสุขโดยทั่วหน้ากัน บรรดาเหล่าเทพยดาทั้งหลายได้ลงมาปะปนกับมนุษย์บนดินจนมองไม่แตกต่างกันระหว่างมนุษย์กับเทวดา เพราะต่างก็มีความสุขสบายเหมือนๆ กัน เรียกว่าพระองค์ได้สร้าง "สวรรค์บนดิน" แล้วในพระราชอาณาจักรของพระองค์

ความหมายของพระองค์ก็คือมนุษย์ทุกผู้ทุกนามตั้งแต่มนุษย์ชั้นสูงจนกระทั่งชั้นต่ำ ต่างก็มีความสุขกันทั่วหน้า เพราะพระองค์ได้ "ปิดช่องว่าง" ระหว่างชนชั้นหมดแล้ว สร้างความเสมอภาคโดยสมบูรณ์ นั่นคือความเสมอภาคแห่งธรรมะ มีธรรมะเป็นหลักยึดแห่งชีวิตโดยทั่วหน้ากัน

การสร้างสวรรค์บนดิน จึงเป็นอุดมคติของเหล่ากษัตราธิราชในยุคต่อๆ โดยพยายามเอาเยี่ยงอย่างพระเจ้าอโศกมหาราชให้ได้ เรียกว่าอยากเป็นอโศกที่สอง กันทุกพระองค์ว่าอย่างนั้นเถอะ  



KARMA ON LINE

ตามหลักของกรรม ๑๒ ประการ (จะเขียนภายหลังเมื่อมีโอกาส) ท่านเปรียบกรรมที่คนเราทำไปแล้วเหมือนหมาไล่เนื้อ ทันทีที่ทำกรรม ไม่ว่าดีหรือร้าย กรรมนั้นก็พร้อมจะอำนวยผลให้แก่ผู้กระทำ

โอกาสหรือเวลาที่กรรมจะให้ผล ท่านว่ามีอยู่ ๔ ประการ คือ

๑. กรรมบางอย่างทำแล้วให้ผลทันที กรรมชนิดนี้ต้องเป็นกรรมหนักหนาสาหัสมาก ชนิดที่แผ่นดินไม่สามารถจะธารไว้ได้ (ต้องการเขียน ธาร นะครับ) เรียกว่า อนันตริยกรรม มี ๕ ประการคือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ใส่ร้ายพระอริยะเจ้า และทำร้ายพระพุทธเจ้าจนพระโลหิต (ห้อเลือด) หรือกรรมบางอย่างไม่ร้ายแรงขนาดนั้น แต่ก็ใกล้เคียงกัน คนทำกรรมชนิดนี้แล้ว จะได้รับผลทันตาเห็น ยังไม่ทันตายเราก็ได้เห็นผลกรรมแล้ว อย่างที่ชาวบ้านเรียกว่า "อยัมภทันตา"นั่นแล

๒. กรรมบางอย่างจะให้ผลในชาติหน้า ชาตินี้อาจไม่ทันให้ผล เพราะกรรมดีๆ อย่างอื่นที่เขาทำไว้อาจมีอยู่ ก็ต้องรอโอกาส เมื่อได้โอกาสในชาติหน้าก็จะให้ผล

๓. กรรมบางอย่างชาติหน้าก็ยังไม่มีโอกาส ก็ต้องรอไปจนถึงชาติต่อไป จึงจะสามารถให้ผลได้

๔. กรรมบางอย่างรอแล้วก็รอหาย เพราะคนคนนั้นก็ทำกรรมดีๆ ไว้มาก มากเกินกว่ากรรมที่ทำไว้จะบันดาลผลได้ ดังกรณีองคุลิมาลโจร ที่เห็นๆ ในชาตินี้ ท่านก็ฆ่าคนมาจำนวนมากเป็นร้อยๆ แต่บังเอิญว่ามีเงื่อนไขใหม่เข้ามาขัดจังหวะคือ พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด ทรงแสดงธรรมให้ฟัง ท่านเกิดบรรลุพระอรหัตกรรมชั่วที่ทำไว้ตั้งท่าไว้เรียบร้อยว่าจะตามสนอง แต่ถูกขัดจังหวะ หรือจะเรียกให้ถูกก็ว่า ถูกตัดรอนโดยอรหัตมรรคอรหัตผลที่ท่านองคุลิมาลได้บรรลุ จึงกลายสภาพเป็น "อโหสิกรรม"(หมดโอกาสให้ผล) ไป

การให้ผลของกรรมตามกาลเวลาทั้ง ๔ ประการนี้ ท่านจึงเปรียบให้เห็นภาพพจน์ว่าเหมือนเนื้อสมันที่วิ่งหนีหมาซึ่งตามไล่ หมาก็จะไล่เนื้อไปเรื่อยๆ ทันเมื่อใดก็กัดเมื่อนั้น ถ้าไม่ทันจริงๆ เนื้อก็รอดชีวิต

กรรมก็เช่นเดียวกัน ถ้ามันตามสนองคนทำกรรมไม่ทัน เพราะมีเงื่อนไขอื่นคอยเข้ามาขัดจังหวะ หรือตัดรอน ก็อาจไม่มีโอกาสให้ผลเลย ถือว่า เจ๊ากันไป กรรมชนิดนี้ ทางพระท่านเรียกว่า อโหสิกรรม ดังกล่าวแล้วข้างต้น

อโหสิกรรม มีความหมายสองอย่างคือ (๑) หมายถึงกรรมที่ให้ผลเสร็จแล้ว (อโหสิ แปลว่าได้มีแล้วคือได้ให้ผลแล้ว) และ (๒) กรรมที่ไม่มีโอกาสให้ผลเลย ดังกล่าวข้างต้น (อโหสิ ในกรณีนี้แปลว่า มีไม่ได้แล้วคือไม่มีโอกาสให้ผลแล้ว)

แต่กรรมที่ไม่มีโอกาสให้ผล มันก็ไม่ว่าอะไร ไม่น้อยใจ ไม่โวยวายเหมือนนักการเมืองที่ไม่มีโอกาสได้เป็นรัฐมนตรี

กรรมเขามีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว และยุติธรรมที่สุด แต่บางครั้งก็มักจะไม่ทันใจมนุษย์ เห็นคนอื่นทำกรรมชั่วช้าสารเลว ทำร้ายสังคมอย่างหนัก เช่นเป็นนักปกครองคอร์รัปชั่นโกงเงินภาษีอากรของประชาชน ประชาชนก็เฝ้ารอว่าเมื่อไรมันจะได้รับผลกรรมตามสนองสักที ครั้นไม่ทันใจก็มักจะบ่น ในกรณีที่กรรมมันให้ผลบ้างบางส่วน เช่น พระอลัชชีสร้างมลทินแก่พระศาสนา พระศาสนากระเทือนหนัก ถูกสั่งสึก ชาวพุทธหลายท่านก็สะใจ บอกว่า เห็นไหม กรรมมันติดจรวด ให้ผลทันตา ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า

กรรมติดจรวด เป็นคำใหม่ดูเหมือนจะเป็นพระพยอม กัลยาโณ หรือเจ้าคุณพระพิศาลธรรมพาที เป็นผู้เอ่ยคำนี้เป็นท่านแรก ฟังเข้าทีดี เมื่อเห็นใครบางคนทำความชั่วเสียหาย ก็มักจะเตือนกันว่า อย่าทำเป็นเล่นไปนาเดี๋ยวนี้กรรมติดจรวดนะเว้ย อะไรทำนองนั้น

คำว่า กรรมออนไลน์ ก็คงหมายถึงกรรมมันทันทีทันใดมาก ดุจโอนเงินเข้าธนาคารออนไลน์เลย ได้เดี๋ยวนั้น ไม่ต้องรอนาน กรรมที่ให้ผลทันตาเห็น ให้ผลอย่างรวดเร็ว เรียกว่า กรรมออนไลน์ ก็เป็นศัพท์ทันสมัยดี ถ้าคำนี้ติด ก็จะได้ศัพท์ธรรมะเพิ่มขึ้นอีกศัพท์หนึ่งคือ KARMA ON LINE : karma to be experienced here and now ; immediately effective karma.


สแลงอายุยืน

ภาษาเป็นสิ่งมีชีวิต ใครไม่รู้กล่าวคำนี้ ผมเห็นด้วย เพราะภาษาที่ใช้สื่อสารกันอยู่มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ นั่นแสดงถึงความมีชีวิต ต่อเมื่อหยุดการเปลี่ยนแปลงนั่นแหละ จึงจะเรียกว่า ตายแล้ว

ตายแล้ว เป็นภาษาไหม ตอบว่า เป็นเหมือนกัน แต่เป็นภาษา "ที่ตายแล้ว" เพราะฉะนั้น ภาษาจึงแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือภาษาที่ตายแล้ว กับภาษาที่มีชีวิต ที่เราพูดภาษาเป็นสิ่งที่มีชีวิต เราหมายเอาภาษาที่เราใช้สื่อสารกันจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ส่วนที่ตายแล้วคนไม่ค่อยใช้ก็ปล่อยมันไว้ที่ "ป่าช้า" โน่นแหละ

คำหรือวลีที่เกิดใหม่ จะมีเป็นระยะๆ บางคำเกิดมาแล้วชั่วประเดี๋ยวประด๋าวก็หายไป บางคำอยู่นานพอสมควร แต่ในที่สุดก็หายไปจากความทรงจำของคน แต่บางคำเกิดมาแล้วเกิดเลย คืออยู่นานมาก นานจนได้รับการบันทึกในพจนานุกรมฯ

คำที่เกิดมาแล้วอยู่ชั่วคราวเราเรียกว่า สแลง ภาษาฝรั่งเขียน salang คงหมายถึงคำที่ใช้เฉพาะกลุ่มย่อยๆ หรือคำตลาด ที่คิดขึ้นมาใช้กันเล่นๆ ในกลุ่มย่อยๆ หรืออย่างเก่งก็ในประเทศหนึ่ง ถ้าบังเอิญประเทศนั้นค่อนข้างใหญ่เช่น สหรัฐอเมริกา หรือจักรภพอังกฤษ ที่ภาษาของเขาใช้กันทั่วโลก คำคำนั้น ก็อาจรู้กันแพร่หลาย เรียกว่า สแลงระดับนานาชาติ

เฉพาะภาษาไทย สื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ มักเป็นผู้ให้กำเนิดมากกว่าแหล่งอื่น หนังสือพิมพ์จะบัญญัติคำนั้นขึ้นใช้ก่อน หนังสือพิมพ์ ก. ใช้คำนั้นก่อน หนังสือพิมพ์ ข. เห็นด้วยก็เอาไปใช้ ประชาชนอ่านแล้ว รู้สึกว่าเข้าท่าดี ก็นำไปใช้สื่อสารในไม่ช้าไม่นาน คำนั้นก็ติดปากคนทั่วไป ถ้าใครไม่รู้จัก กลัวจะถูกหาว่า "เชย" คนก็เลยรับรู้และใช้กันไปทั่ว

อย่างคำว่า ตุ๋ย เป็นชื่อคน คนคนนี้ มีพฤติกรรมชอบ "เข้าประตูหลัง" ของเพศเดียวกัน ชื่อของเขาก็เลยกลายเป็นคำกริยา ถ้าขอให้นักภาษาท่านให้คำนิยามคำนี้ ท่านก็คงเขียนดังนี้ ตุ๋ย (สแลง) ก. เสพกาม ทางวัจมรรคของเพศชาย, "เข้าประตูหลังของเพศชาย"

ที่ไม่ให้นิยามว่า รักร่วมเพศ หรือมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน ก็เพราะ "ตุ๋ย" ใช้กับการร่วมเพศโดยทางอื่นไม่ได้แม้จะเป็นชายกับชายก็ตาม หรือใช้กับการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างหญิงกับหญิงก็ไม่ได้

สมัยผมยังหนุ่ม มีคำว่า วันชัย แปลว่าข่มขืนผู้เยาว์ คำนี้เกิดขึ้นเพราะคนชื่อนี้ถูกหาว่าข่มขืนเด็กหญิง เป็นคดีในศาล ประชาชนนำไปสื่อสารกันโดยทั่วไป เวลาเห็นหญิงสาวแก่นนัก หนุ่มๆ ก็จะร้องว่า ทำอวดเก่ง เดี๋ยวก็ "วันชัย" ซะหรอก อะไรทำนองนี้

ไม่นาน "วันชัย" ก็หายไปจากความทรงจำของคน คำว่า "ตุ๋ย" นี้ก็คงเช่นเดียวกัน ไม่ช้าไม่นานก็คงหายไป

รวมถึงคำอื่นๆ ที่ถือกำเนิดที่ข่าวสด มติชนด้วย เช่น ท้วยส์ เชลียร์

ถ้าสแลงอยู่นาน คนยังนิยมใช้กันอยู่ สแลงนั้นก็อาจได้รับเกียรติบันทึกในพจนานุกรมฯ ก็ได้ คำว่า "เชย" (ทำอะไรเปิ่นๆ เหมือนลุงเชย) ได้เลื่อนขั้นไปแล้ว คำว่า "ไอ้เณร" (ทหารเกณฑ์ ทหารใหม่ที่เซ่อๆ ซ่าๆ เลียนมาจากคำ "สามเณร") ไม่มีทีท่าว่าจะหายไป แต่พจนานุกรมฯ บันทึกไว้หรือยังไม่ทราบ

สแลงที่มี แหล่งที่มาจากศาสนา ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรม หรือบุคคลของศาสนา มักไม่เป็นที่ปรารถนาของผู้ที่เคร่งพระศาสนา อย่างคำ "ไอ้เณร" ก็ถูกต่อว่า ว่าไม่น่าบัญญัติขึ้นมาใช้ เป็นการดูหมิ่นศาสนา  





เคารพ-การแสดงความเคารพ

เคารพ เป็นคำนาม ภาษาบาลีว่า คารว (อ่าน "คา-ระ-วะ" แปลตามศัพท์ว่า "การทำให้หนัก" หมายถึง การให้ความสำคัญแก่สิ่งนั้นๆ

เคารพมี ๖ ประการ คือ

๑. เคารพในพระพุทธ

๒. เคารพในพระธรรม

๓. เคารพในพระสงฆ์

๔. เคารพในการศึกษา คือให้ความสำคัญแก่การฝึกฝนอบรม

๕. เคารพในปฏิสันถาร คือให้ความสำคัญแก่การต้อนรับ, มีมนุษยสัมพันธ์

๖. เคารพในความไม่ประมาท คือให้ความสำคัญแก่ความไม่ประมาท มีสติอยู่เสมอ

การแสดงความเคารพ คือแสดงออกทางกาย วาจา ให้รู้ว่าเรามีความเคารพ ทางใจ ในวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนา จัดลำดับหรือขั้นตอนของการแสดงความเคารพไว้ดังนี้

๑. อัญชลี ประคองอัญชลี คือยกมือไว้ตรงอก คือยกมือไหว้

๒. วันทา (หรือ นมัสการ) ยกมือที่ไหว้นั้นขึ้นจรดศีรษะ

๓. อภิวาท คุกเข่ากราบโดยให้อวัยวะ ๕ ส่วน (ข้อศอก, เข่าสอง, ศีรษะหนึ่ง) เรียก กราบ "เบญจางคประดิษฐ์"

๔. ปัจจุฏฐาน ยืนขึ้นรับ

เฉพาะ อภิวาท นั้น ถ้าตามวัฒนธรรมแขก หรือทิเบต เขาจะกราบแบบ "อัษฎางคประดิษฐ์" คือให้อวัยวะ ๘ ส่วนจรดพื้น แปดส่วนคือส่วนไหนบ้าง ผมไม่แน่ใจ เพราะไม่เคยมีใครบอก คงจะเป็น เข่าสอง ปลายเท้าสอง แขนสอง ท้องหนึ่ง หน้าผากหนึ่ง ใครทราบบอกด้วยก็แล้วกัน

การแสดงความเคารพนี้ โดยปกติคนผู้อายุน้อยกว่าแสดงต่อผู้มีอายุมากกว่า เช่น พระนวกะ แสดงความเคารพต่อพระมัชฌิมะ และพระเถระ ในบางกรณีคนสูงอายุพรรษา จะแสดงความเคารพต่อผู้อายุน้อยที่เจริญด้วยคุณวุฒิ (ความรู้สูงกว่าตน) แล ชาติวุฒิ (มีชาติสกุลสูง) ก็ได้ แต่ผู้มีอายุน้อยกว่านั้น (แม้จะมีคุณวุฒิ และชาติวุฒิสูงกว่า) ที่เป็นบัณฑิต มักจะไม่เปิดโอกาสให้คนแก่กว่าแสดงความเคารพ จะรีบเคารพเขาก่อนเสมอ

ในสังคมพระสงฆ์ ท่านมักถือเคร่งครัด เวลาพระผู้เฒ่าที่พรรษามากกว่าแต่มีสมณศักดิ์หรือตำแหน่งทางบริหารต่ำกว่ามาหา พระผู้อายุพรรษาน้อยกว่าแม้จะมีตำแหน่งหรือสมณศักดิ์สูงกว่า จะเป็นผู้กราบเสียเอง ไม่ยอมให้พระผู้เฒ่ากราบ ทั้งนี้เพราะท่านถือ "พรรษา" ตามบัญญัติของพระพุทธองค์เป็นสำคัญ

เพศภาวะก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ถือสำคัญ เพศฆราวาสถือว่าด้อยกว่าเพศบรรพชิต เพราะบรรพชิตถือพรหมจรรย์ ในขณะที่เพศฆราวาสเป็น "กามโภคี" (ยุ่งเกี่ยวในกาม) คฤหัสถ์ไม่ว่าจะอายุมากกว่า หรือชาติสกุลสูงเพียงใด ก็ย่อมกราบไหว้ภิกษุแม้บวชในวันนั้น นี้ถือเพศภาวะเป็นสำคัญ

เพราะเพศภาวะเป็นตัวกำหนดนี้เอง แม้บางครั้งคฤหัสถ์ที่บรรลุอริยผล (เช่นเป็นพระโสดาบัน) ยังต้องแสดงความเคารพต่อพระภิกษุแม้เป็นปุถุชน

แต่ในส่วนจิตใจแล้ว ภิกษุที่เป็นปุถุชน ย่อมมีความเคารพต่อคฤหัสถ์ที่เป็นอริยบุคคลอยู่ เพียงแต่ไม่แสดงออกทางกาย วาจาเท่านั้น

ดุจเดียวกับภิกษุลูกชาวนา เวลาพระมหากษัตริย์ทรงไหว้ แม้จะไม่ไหว้ตอบ แต่จิตใจก็นอบน้อมสำนึกในพระคุณของพระมหากษัตริย์ในใจฉันนั้นแล

ถึงตรงนี้ ขอสรุปว่า ความเคารพ กับการแสดงความเคารพ พึงแยกกันด้วยประการฉะนี้แล  



แม่พิมพ์-พ่อพิมพ์

ตามปกติ ผมกลับจากที่ทำงาน ถึงบ้านก็อาบน้ำอาบท่า กินข้าว เสร็จแล้วก็เอกเขนกดูและฟังทีวี ซึ่งมักจะตกเวลาประมาณทุ่ม หรือทุ่มกว่าๆ ฟังข่าวไปด้วย ดูกีฬาไปด้วย เป็นการผ่อนคลาย ก่อนจะเข้านอน

วันหนึ่งก็สะดุ้ง เมื่อหูแว่วผู้สื่อข่าวรายงานเกี่ยวกับวงการครูบาอาจารย์ เธอหลุดคำพูดออกมาว่า "พ่อพิมพ์ของชาติ" ก็เลยเงยหน้าดูผู้รายงานให้ชัดๆ หน่อยหน้าตาเป็นอย่างไร ทำไมจึงเรียกครูว่า "พ่อพิมพ์" อ้อ เธอคงหมายถึง "ครูผู้ชาย" ถ้าเป็นครูผู้หญิง เธอคงจะเรียกว่า "แม่พิมพ์" ซีนะ

คำว่า "แม่พิมพ์" นี้มีบอกเพศด้วยแฮะ

เท่าที่ทราบ ไม่เคยมีใครบอกว่า "แม่พิมพ์" ใช้หมายถึงครูเพศหญิง ถ้าเป็นครูเพศชายให้เรียก "พ่อพิมพ์" ครูบาอาจารย์สอนผมมาว่า "แม่พิมพ์" เป็นคำที่ใช้เรียกครู ครูหญิงก็ "แม่พิมพ์" ครูชายก็ "แม่พิมพ์" กระทั่งครูกะเทย ก็ "แม่พิมพ์"

ไม่มี "พ่อพิมพ์" เป็นอันขาด

ผมก็จำมาอย่างนี้ตั้งแต่เด็กแล้ว และก็สอนลูกศิษย์ลูกหามาอย่างนี้เหมือนกัน อยู่ๆ ก็มีผู้มาสอนประชาชน (ออกอากาศทั่วบ้านทั่วเมือง ผ่านสื่อโทรทัศน์ ไม่เรียกว่า "สอน" ก็ไม่รู้จะเรียกอะไร) ว่า ครูผู้ชายเรียกว่า "พ่อพิมพ์"

อยากทราบว่า เธอ (ผู้สื่อข่าว) คนนี้ได้ความรู้ใหม่นี้มาจากไหน ความรู้ที่ว่า ครูผู้ชายเรียก "พ่อพิมพ์" ครูผู้หญิงเรียก "แม่พิมพ์" น่ะ มันต้องมีที่มาสิน่า วันนี้เปิดพจนานุกรมเพื่อดูสะกดการันต์คำอื่นดอก แต่บังเอิญไปพบ "พ่อพิมพ์" เข้าเต็มตา

บอกไว้เสียเลยเพื่อเป็นเกียรติยศ พจนานุกรมฉบับนี้คือ พจนานุกรมไทย ฉบับที่บอกว่า "สมบูรณ์ที่สุด ทันสมัยที่สุด" ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๘ พ.ศ.๒๕๒๖ ของสำนักพิมพ์รวมสาส์น ผู้จัดทำคือ มานิต มานิตเจริญ หน้า ๗๔๔ คอลัมน์ขวามือ มีดังนี้ครับ

แม่พิมพ์ . บล็อก, สิ่งที่เป็นต้นแบบ, คนที่เป็นแบบอย่าง, ครูหญิง

แม่พิมพ์ของชาติ . ครูหญิง

นึกเสียวๆ ว่าพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คงว่าเหมือนกัน เพราะพจนานุกรมที่เอกชนจัดทำขึ้น ส่วนมากมักจะ "ลอก" คำนิยามจากฉบับราชบัณฑิตยสถาน ต่อเติมบ้างเล็กน้อย เพื่อมิให้เห็นว่าเป็นการลอกทั้งดุ้น มีบ้างบางฉบับลอกมาทั้งหมดเลย กระทั่งปรู๊ฟผิดก็ผิดตามไปด้วย ดังได้มีการฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันมาแล้ว จึงกลั้นใจเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานดู พบดังนี้ครับ

แม่พิมพ์ น. สิ่งที่เป็นต้นแบบ, โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นแบบอย่าง

ค่อยหายใจโล่งอกหน่อย

คำว่า แม่พิมพ์ หมายถึงแม่แบบ โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นต้นแบบ หรือคนที่เป็นแบบอย่างในทางดี อาชีพครู ถือว่าเป็น แม่พิมพ์ จึงมีคำพูดว่า "แม่พิมพ์ของชาติ" คำคำนี้ไม่มีเพศครับ ใครก็ตามที่เป็นครู เรียกว่า "แม่พิมพ์" ทุกคน เพราะต่างก็เป็นแม่แบบที่ดีให้เด็กๆ

ของเดิมเขาดีอยู่แล้ว ไม่ต้องเปลี่ยนของเขาดอกครับ หาไม่ก็คงต้องเปลี่ยน แม่ทัพ เป็น "พ่อทัพ" สิครับ เพราะผู้นำกองทัพล้วนเป็นเพศชายทั้งนั้น  



อมิตตพุทธ

ชอบอ่านหนังสือกำลังภายใน ชอบหลวงจีนเส้าหลิน หรือคุนลุ้น เวลาประจันกับศัตรูผู้มุ่งร้าย ท่านจะไม่ทำร้ายตอบ ถ้าถูกสถานการณ์บีบบังคับให้ต้อง "ลงมือ" ก็จะเอ่ยคำ "อมิตตพุทธ" ก่อนจะลงมือ ถ้าเมื่อใดหลวงจีนท่านร้อง "อมิตตพุทธ" ละก็ ให้ระวังให้จงหนัก ชั่วพริบตาเดียวอาจจะลงไปกองอยู่กับพื้นโดยไม่ทันรู้ตัวก็ได้ รวดเร็วปานนั้นแหละขอรับ

อมิตตพุทธ คงจะเป็นคำเพี้ยนมาจาก อมิตาภพุทธ ซึ่งเป็นคำยาวเกินไป ออกเสียงเร็วๆ มันจึงหดสั้นเข้าเหลือแต่ "อมิตตพุทธ" ดุจดัง ผู้พิพากษา เหลือเพียง "พูกษา" มหาวิทยาลัย เหลือเพียง "มหาลัย" (หรือถ้าออกเสียงเร็วกว่านั้น จะได้ยินว่า "หมาลัย" เลยทีเดียว ไม่เชื่อผม ลองสังเกตดีๆ เถอะครับ)

อมิตาภพุทธ เป็นพระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ซึ่งเกิดจากพระพุทธเจ้าผู้เป็น "ต้นเดิม" (อาทิพุทธ) พูดอย่างนี้ชาวพุทธเถรวาทไม่เข้าใจดอก ต้องอธิบาย

ตามความเชื่อของชาวพุทธฝ่ายมหายาน เขาเชื่อกันว่า มีพระพุทธเจ้าผู้เป็นองค์เดิมแท้อยู่องค์เดียว เรียกว่า อาทิพุทธ เรียกว่า ธรรมกาย เรียกว่า วัชรสัตว์ พระพุทธเจ้าผู้เป็นองค์เดิมแท้นี้เป็น อมตะ ไม่มีเกิด ไม่มีตาย ประทับอยู่โน่น "พุทธเกษตร" (แดนแห่งพระพุทธะ) หรือชาวจีนเรียกว่า "สุขาวดี"

จากพระพุทธเจ้าผู้เป็นต้นเดิมแท้นี้ จึงเกิดพระพุทธเจ้าอื่นๆ อีกหลายองค์ เรียกว่าเกิดจากฌานของพระอาทิพุทธ พระพุทธเจ้าเหล่านี้มีมากมายยิ่งกว่าเมล็ดทราย นับไม่ถ้วนว่ามีเท่าไร แต่ที่แน่ๆ คือมีมากมายไพศาล

ที่ปรากฏพระนามดังๆ เป็นที่รู้กันทั่วไปก็มี ๕ องค์ คือ

๑. พระไวโรจนพุทธ

๒. พระอักโษภยพุทธ

๓. พระรัตนสัมภวพุทธ

๔. พระอมิตาภพุทธ

๕. พระอโมฆสิทธิพุทธ

อมิตาภพุทธ บังเอิญดังกว่าองค์อื่น ทั้งชาวจีน ชาวญี่ปุ่นก็รู้จักกันดี จึงถูกกล่าวขวัญถึงบ่อยๆ ในหนังกำลังภายในก็จะถูกเอ่ยถึงบ่อย จนกลายเป็นคำอุทาน "อมิตตพุทธ" ดังกล่าวข้างต้น

พระอมิตาภพุทธ เป็นที่เคารพนับถือมาก ถึงกับเชื่อกันว่า ถ้าสวดมนต์เอ่ยพระนามพระอมิตาภพุทธบ่อยๆ จะได้รับเข้าไปอยู่ในแดนสุขาวดีของพระองค์ ทำให้เกิดการ "ยึดติด" ในพิธีกรรม คือสวดมนต์อ้อนวอน โดยไม่อยู่บนพื้นฐานของการฝึกฝนอบรมตน

อาจารย์เซ็นท่านหนึ่ง หวังจะเตือนชาวพุทธที่ติดอยู่กับพิธีกรรมอันเป็นเปลือกกระพี้ มากกว่าจะใส่ใจใน "แก่น" ท่านจึงลงทุนปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง โดยทิ้งวัดไปอยู่กับพวกขอทานใต้สะพาน ยังชีพด้วยข้าวคลุก "มิโสะ" เอาชีวิตรอดไปวันๆ

ท่านเอารูปพระอมิตาภพุทธออกมาตั้งไว้บนหัวนอน เขียนข้อความว่า นาย อมิตาภพุทธ เอ๋ย ที่อยู่ไม่สมเกียรติเจ้าเท่าใดนัก อย่าถือสา และอย่าคิดว่าข้าจะสวดอ้อนวอนให้เจ้าช่วยให้ข้าไปเกิดในแดนสุขาวดีของเจ้าเป็นอันขาด"

นัยว่าท่านลงทุน "เล่น" กับพระพุทธรูปขนาดนี้ ก็เพื่อสะกิดให้ชาวพุทธได้คิดว่า เพียงสวดอ้อนวอนพระพุทธเจ้ามิได้ช่วยให้หลุดพ้นดอก ต้องลงมือปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงจะบรรจุถึงเป้าหมายของชีวิต

พูดถึงวิธีเตือนสติคนที่ยึดติดในตัวบุคคล นึกถึงอีกเรื่องหนึ่ง อาจารย์เซ็นท่านหนึ่งไปงานศพเพื่อนอาจารย์ด้วยกันที่เพิ่งมรณภาพ เห็นบรรดาศิษย์ร้องห่มร้องไห้หน้าศพอาจารย์ จึงเดินอาจๆ เข้าไป เอาไม้เท้าเคาะโลง ร้องว่า

"เฮ้ย เพื่อนรัก เพื่อนสอนศาสนาประสาอะไร จึงทำให้เหล่าลูกศิษย์ ยึดติดในตัวเพื่อนปานฉะนี้วะ"

ว่าแล้วก็เดินลงศาลาไป

อมิตตพุทธ


ที่มา คอลัมน์ "ฟ้าสางเมื่อใกล้ค่ำ"
โดย ศาสตราจารย์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กุมภาพันธ์ 2562 15:40:36 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  1 2 [3]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.021 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 14:37:31