[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 12:31:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฝนดาวตก มาแล้ว!  (อ่าน 2623 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ขม..ค่ะึึ
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 1014


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.12 Firefox 3.6.12


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2553 10:37:44 »



ฝนดาวตก มาแล้ว! 17-18พฤศจิกาฯนี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เชิญชวนคนไทยร่วมชมปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์" หรือ "ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวสิงโต"
ที่หวนกลับมาให้เห็นกันอีกครั้ง 17-18 พฤศจิกายน!

ฝนดาวตก, ฝนดาวตกลีโอนิดส์, ดาวสิงโต, พายุฝนดาวตก,Meteor Stormกลาง
เดือนพฤศจิกายนของทุกปีจะเกิดปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกลีโอนิดส์"
ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลกมากบ้างน้อยบ้าง
โดยปีที่มองเห็นสูงสุดต้องย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ.2541 และ 2544

ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เกิดจากเศษซากหลงเหลือของ "ดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล"

มีวงโคจรรอบ "ดวงอาทิตย์" เป็นวงรี โดยหนึ่งรอบใช้เวลา 33.2 ปี

และ ทุกๆ 33 ปี ดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
ทำให้เกิดฝนดาวตกมากเป็นพิเศษ เรียกว่า "พายุฝนดาวตก" (Meteor Storm)
ซึ่งการโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
และจะเข้าใกล้ครั้งต่อไปในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2556

อย่างไรก็ตาม สำหรับเดือนนี้
นักดาราศาสตร์พยากรณ์ว่า คนไทยทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ
จะมีโอกาสชม ฝนดาวตกลีโอนิดส์นับร้อยดวงแบบชัดๆ อีกครั้ง
โดยช่วงเวลาที่คาดว่าจะมองเห็นฝนดาวตกสูงสุด คือ
ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 17 ต่อเนื่องไปจนถึงรุ่งเช้า 18 พฤศจิกายนนี้
ตกราวๆ 150-160 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตก, ฝนดาวตกลีโอนิดส์, ดาวสิงโต, พายุฝนดาวตก,Meteor Storm
ขณะ ที่ "เจเรอมี่ โวเบลลอน" นักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ อเมริกา
ชี้ว่า ช่วงก่อนตีห้าเล็กน้อยตามเวลาประเทศไทย
ถ้าโชคดีชาวโลกอาจได้เห็นฝนดาวตกลีโอนิดส์ร่วมๆ 500 ดวง พุ่งสว่างวาบบนฟากฟ้า!

สำหรับสถานที่ที่เหมาะสมกับการดูฝนดาวตกลีโอนิดส์
ถ้าจะให้ดีควรเป็นจุดที่ไม่มีแสงไฟรบกวน
หรือห่างจากเมืองใหญ่ไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หันหน้าไปทางดาวเหนือ

ส่วนการถ่ายภาพควรตั้งความไวแสง ISO 400-800
ถ้าใช้กล้องสองตาควรมีหน้าเลนส์ไม่ต่ำกว่า 50 มิลลิเมตร และกำลังขยาย 7 เท่าขึ้นไป

สถิติปรากฏการณ์ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ ช่วงกลาง เดือนพฤศจิกายนของทุกปี
จะเกิดปรากฏการณ์ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ (Leonid Meteor shower) หรือ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต
ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า ศูนย์กลางการกระจายของฝนดาวตกอยู่บริเวณตำแหน่งหัวของสิงโต
มีลักษณะเป็นริ้วสีขาวพาดผ่านท้องฟ้า และเกิดลูกไฟควบคู่กันไปด้วย
ซึ่งเกิดจากเศษซากหลงเหลือของ "ดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล"
มีวงโคจรรอบ "ดวงอาทิตย์" เป็นวงรี โดยหนึ่งรอบใช้เวลา 33.2 ปี
และทุก ๆ 33 ปี ดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด
ทำให้เกิดฝนดาวตกมากเป็นพิเศษ เรียกว่า "พายุฝนดาวตก" (Meteor Storm)
ซึ่งการโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
และจะเข้าใกล้ครั้งต่อไปในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2556

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 พฤศจิกายน 2553 10:45:36 โดย ขม..ค่ะ » บันทึกการเข้า

"มิตรภาพที่แสนดี..ทำให้ทุกวินาทีมีความหมายเสมอ"
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.231 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 01:00:44