23 พฤศจิกายน 2567 17:55:47
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
.:::
เครื่องรางของขลัง
:::.
หน้า:
1
2
3
1
[
2
]
3
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: เครื่องรางของขลัง (อ่าน 49348 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #20 เมื่อ:
08 มกราคม 2562 15:28:55 »
ท้าวเวสสุวัณ วัดสุทัศน์
แต่โบร่ำโบราณมาเมื่อเอ่ยนาม "ท้าวเวสสุวัณ" มักจะนึกถึงความเป็น "เจ้า" หรือ "นาย" แห่งภูตผีปีศาจทั้งหลาย เป็นอธิบดีแห่งอสูรหรือยักษ์
"ท้าวเวสสุวัณ" แปลตามตัวว่า "พ่อค้าผู้มั่งคั่งร่ำรวยด้วยทองคำ" เป็นอธิบดีแห่งอสูรหรือยักษ์ เป็นเจ้าแห่งภูตผีปีศาจ เป็น 1 ในบรรดาท้าวจตุโลกบาล ผู้คุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ทางด้านทิศเหนือ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมาก ประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ มียักษ์ อสูร รากษส ภูตผีปีศาจเป็นบริวาร
คนไทยโบราณนิยมบูชายักษ์ติดตัว และนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็ก เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควานแก่เด็ก "ท้าวเวสสุวัณ" เป็นภาคหนึ่งของพระธนบดีหรือท้าวกุเวร เป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง ซึ่งตรงกับ "ไฉ่ซิงเอี๊ย" เทพแห่งความมั่งคั่ง ความร่ำรวย ความมีโชคลาภของจีน
นอกจากนี้ความหมายของชื่อ "ท้าวเวสสุวัณ" นั้น คำว่า "เวส" แปลว่า พ่อค้า "เวสสุวัณ" จึงหมายถึง พ่อค้าอันมีทรัพย์ อันได้แก่ ทองคำ เนื่องจากท้าวเวสสุวัณเคยมีอดีตชาติเป็นพราหมณ์ เปิดโรงงานค้าขายหีบอ้อยจนร่ำรวย และได้นำเงินทองบริจาคให้ผู้ยากไร้ เมื่อเกิดใหม่จึงได้ครองเมืองวิสานะนคร ผู้คนจึงเรียกว่า "เวสาวรรณ" และด้วยกุศลดังกล่าวจึงได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะไม่ตาย และให้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติต่างๆ ทั่วแผ่นดิน
ผู้คนจึงนิยมจัดสร้างหรือจำหลัก "รูปท้าวเวสสุวัณ" ไว้เคารพบูชาเพื่อความมั่งคั่ง
ปรากฏตำนานการจัดสร้างท้าวเวสสุวัณจนกลายเป็นวัตถุมงคลอันดับหนึ่งของประเทศไทยนั้น เริ่มต้นขึ้นที่วัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งมีชื่อเสียงเลื่องลือ หาได้ยากขึ้นเรื่อยๆ โชคดีที่ในปีนี้ทางวัดสุทัศน์ได้จัดสร้างท้าวเวสสุวัณ และพระพิฆเนศวร รุ่นบารมีศรีสนธิ์ (เลื่อนสมณศักดิ์) วัดสุทัศนเทพวราราม และพระสุนทรีวาณี ตามตำราโบราณของสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสะเทวะ) และเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ประกอบพิธีเททองวัตถุมงคล วันเพ็ญเดือน 12 อันเป็นมงคลฤกษ์ (วันเพ็ญพุธที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 50 ปี ณ ศาลาการเปรียญวัดสุทัศนเทพวราราม
โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภัททจารี) เป็นประธานในพิธี เนื่องในโอกาสที่ท่านเจ้าคุณพระพุทธมนต์วราจารย์ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชภัทรญาณ วิ. และจัดสร้างหารายได้ช่วยพระสงฆ์ที่อาพาธ รวมทั้งเป็นทุนการศึกษาเด็กยากจน ตลอดจนจัดสร้างเสนาสนะ
วัตถุมงคล รุ่นบารมีศรีสนธิ์ ประกอบไปด้วย รูปหล่อลอยองค์ท้าวเวสสุวัณ พระพิฆเนศวร และพระสุนทรีวาณี มีเนื้อทองคำ นวโลหะ เงิน เนื้อฝาบาตร ทุกองค์มีโค้ดและหมายเลขกำกับ ชนวนมวลสารมีแผ่นยันต์ 108 ปถมัง 14 นะ, ยันต์ นะสี่ทิศ, ชนวนมวลสารพระ 25 พุทธศตวรรษ, ชนวนพระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ), ตะกรุดหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง, ชนวนพระกริ่งหลวงปู่โต๊ะ
ผู้สนใจสามารถรีบจองบูชาได้ที่ ศาลาการเปรียญ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม. ครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์
ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #21 เมื่อ:
07 กุมภาพันธ์ 2562 16:09:23 »
.
พญาหมูพลิกแผ่นดิน หลวงปู่ทวน
"หลวงปู่ทวน ปุสสวโร" วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี พระเถระผู้มีเมตตาธรรมสูง พุทธาคมเข้มขลัง ศิษย์สายตรงหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
นามเดิม ทวน โสภา เกิดวันพฤหัสบดีที่ 14 พ.ค.2451 ปีวอก ที่ ต.ชอนสารเดช อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี
พ.ศ.2466 บรรพชาอยู่กับหลวงพ่อทรัพย์ พระอุปัชฌาย์ วัดชอนสารเดช ได้ 1 ปี เดินทางไปปรนนิบัติรับใช้และฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ เรียนอักขระเลขยันต์และวิทยาคม
พ.ศ.2471 อุปสมบทที่วัดเขาพระงาม อ.เมือง จ.ลพบุรี โดยมี หลวงปู่อ่ำ (พระเทพวรคุณ) วัดเขาพระงาม เป็นพระอุปัชฌาย์
จากนั้นออกธุดงค์ ฝากตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ศึกษาวิชาจิตตภาวนา เสร็จแล้วเดินทางกลับวัดชอนสารเดช และลาสิกขาในเวลาต่อมา
อุปสมบทครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2533 ที่วัดวังน้ำเย็น อ.สระแก้ว จ.ปราจีนบุรี โดยมีพระธรรมญาณประยุกต์ เป็นพระอุปัชฌาย์
หลังอุปสมบท ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลานาน 11 ปี ปฏิบัติกิจวิปัสสนากัมมัฏฐานตลอดเส้นทาง จนมาจำพรรษาอยู่ที่วัดจันทคุณาราม (วัดโป่งยาง) จนถึงปัจจุบัน
มรณภาพอย่างกะทันหัน ด้วยวัย 110 ปี วันที่ 19 ต.ค.2561 หลังประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ ขณะเดินทางไปประกอบศาสนกิจ
ในปี พ.ศ.2561 หลวงปู่ทวน ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "พญาหมูพลิกแผ่นดิน"
ทั้งนี้ พญาหมูพลิกแผ่นดิน สืบเนื่องจากในนารายณ์สิบปาง ซึ่งหมูเป็นหนึ่งในนั้นอวตารของพระนารายณ์ที่ลงมาปราบอสูรร้าย
วัตถุมงคลดังกล่าว จัดสร้างเป็นเนื้อเงิน อุดผง ฝังตะกรุดทองคำ 168 ตัว, เนื้อนวะ 599 ตัว, เนื้อเหล็ก น้ำพี้ 599 ตัว, เนื้อชนวน 2,999 ตัว, เนื้อชนวน (ช่อ) 111 ช่อ, เนื้อเงิน หุ้มเกราะทองคำ 29 ตัว, เนื้อตะกั่วอวน 999 ตัว, เนื้อทองระฆัง 999 ตัว
ลักษณะเป็นรูปหมูยืนบนแท่น ที่ขอบแท่นมีอักขระขอม "พิ โร เท หิ อุ มะ กา สะ" ขอบแท่นอีกด้าน หนึ่งมีอักษรไทย "หลวงปู่ทวน ปุสฺสวโร"
ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 วาระ มีพระเกจิอาจารย์เข้าร่วมพิธีปลุกเสก อาทิ หลวงปู่ทวน วัดโป่งยาง, หลวงปู่ฟู วัดบางสมัคร, พระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่, หลวงปู่อ่อง วัดถ้ำเขาวงกต, หลวงพ่อบุญมา วัดบ้านแก่ง, หลวงพ่อรวย วัดมาบตาพุด, หลวงพ่อเมียน วัดบ้านจะเนียง, หลวงพ่อดำ สำนักสงฆ์สมุนไพรเขาเกลือ เป็นต้น ติดต่อ-ทุกวัน
ที่มา ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #22 เมื่อ:
10 เมษายน 2562 10:45:01 »
.
เบี้ยแก้หลวงพ่อคัมภีร์(แห้ง)
หลวงพ่อคัมภีร์ จิตตสาโร" หรือ "พระอาจารย์แห้ง" พระเกจิอาจารย์แห่งวัดป่าเลไลย์ ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี เป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าอีกรูปหนึ่ง ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา
เป็นศิษย์สายตรงหลวงพ่อสมควร วิชชาวิสาโล วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีต
ปัจจุบัน สิริอายุ 54 ปี พรรษา 30
มีนามเดิมว่า เลิศ เพ็ชรหมัด เชื้อสายไทยทรงดำ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 20 ก.ย.2508 ปีมะเส็ง ที่บ้านแหลมทอง ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์
อายุ 12 ปี บรรพชาที่วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ) รับใช้หลวงพ่อสมควร เรียนอักขระขอม-บาลี และวิทยาคม พร้อมติดตามไปสร้างวัดเขาพระยาพายเรือ อ.ลานสัก และวัดเขาหินเทิน อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี
อายุครบ 24 ปี อุปสมบท เมื่อวันที่ 26 ก.ค.2532 ที่พัทธสีมา วัดปากน้ำโพใต้ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีพระครูนิยุติวีรวัฒน์ เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2560 พระราชอุทัยโสภณ เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลย์ จ.อุทัยธานี
ในปี พ.ศ.2561 จัดสร้างวัตถุมงคล "เบี้ยแก้เนื้อตะกั่ว" ให้เป็นเอกลักษณ์ของวัดป่าเลไลย์ จัดทำด้วยมือท่านเอง พร้อมเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส ปี 2561
ลักษณะเป็นหอยเบี้ยแก้ ใส่กรอบ มีหูห่วง (พร้อมใช้) ภายใบรรจุตะกั่วผสมดีบุก หลังเรียบ ตอกโค้ดวัด
วิธีการสร้างไม่ใช้โรงงาน ท่านนำแผ่นตะกั่วมา 299 แผ่น จารอักขระขอม ยันต์ 108 ทุกแผ่น ด้วยมือท่านเอง และหุงหลอมรวมกันกับดีบุกและนำตะกั่วที่ผสมดีบุกเหลวๆ เทใส่เปลือกหอยเบี้ยแก้ ได้ 254 ตัว พร้อมนำมาเสกเดี่ยว ตลอดไตรมาสและนำไปจ้างใส่กรอบอีกทีหนึ่ง
เบี้ยแก้ชุดนี้ หลวงพ่อคัมภีร์(แห้ง) ตั้งใจทำเองเป็นพิเศษ เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของวัดป่าเลไลย์
ข่าวสดออนไลน์
เบี้ยแก้หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ จ.อ่างทอง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าพูดถึงเครื่องรางของขลังประเภทเบี้ยแก้ ส่วนใหญ่เราก็จะนึกถึงแต่เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง เบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว และเบี้ยแก้สายของวัดกลางบางแก้วกันเป็นส่วนใหญ่ เบี้ยแก้ของสายทางจังหวัดอ่างทองนั้นก็มีและก็มีชื่อเสียงโด่งดังมากเช่นกัน และหายากมาก อย่างเช่น เบี้ยแก้ของหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ ตำบลโพธิ์ม่วงพันธุ์ อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง ในบรรดาเบี้ยแก้สายอ่างทองนั้น เบี้ยแก้ของหลวงพ่อพักวัดโบสถ์นับว่าหายากและมีสนนราคาสูงที่สุดของสายนี้ครับ
หลวงพ่อพัก จนฺทสุวณฺโณ
อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2425 ที่บ้าน ท่ามะขาม ตำบลดอนปรู อำเภอวิเศษชัยชาญ (ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี) โยมบิดาชื่อถมยา โยมมารดาชื่อพุก ในตอนเด็กๆ บิดาของท่านได้นำท่านไปฝากเรียนหนังสือกับหลวงปู่เถื่อน วัดหลวง ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จนอ่านออกเขียนได้ ต่อมาเมื่อหลวงพ่อพักอายุครบ 20 ปี ในปีพ.ศ.2445 ท่านจึงอุปสมบทที่วัดอ้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ โดยมีหลวงปู่เถื่อนเป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อท่านอุปสมบทแล้วท่านได้ติดตามท่านเจ้าคุณรัตนมุณี ซึ่งเป็นพระพี่ชายของท่านมาอยู่ที่วัดหงส์ฯ กทม. เพื่อศึกษาคันถธุระ และวิปัสสนากรรมฐาน อยู่ที่สำนักพระอาจารย์อูฐ ศึกษาอยู่ 9 พรรษา หลวงพ่อพักท่านก็เชี่ยวชาญทั้งคันถธุระโดยเฉพาะทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน ต่อมาในปีพ.ศ.2454 หลวงปู่เนตร เจ้าอาวาสวัดโบสถ์ได้มรณภาพ ญาติโยมและชาวบ้านแถบบ้านอบทมและบ้านโคกจันทร์จึงได้มานิมนต์หลวงพ่อพักขอให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดโบสถ์ และในปีพ.ศ.2455 หลวงพ่อพักก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโบสถ์
หลวงพ่อพักมีอาจารย์อยู่หลายท่าน ได้แก่ อาจารย์วาต ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ชายของท่าน อยู่ที่บ้านท่ามะขาม ตำบลดอนปรู อดีตเคยเป็นขุนโจรผู้ยิ่งใหญ่แถวชานเมืองอ่างทองและสุพรรณบุรี และเป็นผู้ที่มีวิชาอาคมสูง ล่องหนหายตัวได้ ต่อมาได้เลิกราในอาชีพทุจริตโดยสิ้นเชิง แล้วหันเข้าสู่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ต่อมาจึงถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อพักจนหมดสิ้น โดยเฉพาะวิชาเบี้ยแก้ ตะกรุดโทน ผ้ายันต์แดง ฯลฯ อาจารย์ของหลวงพ่อพักอีกองค์หนึ่งคือหลวงปู่บุญ ผู้มีวิชาอาคมสูงจากแขวงเมืองพิจิตร ซึ่งได้ธุดงค์ล่องมาถึงแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ จนได้มาพบกับหลวงพ่อพัก และได้ถ่ายทอดวิชาปลุกเสกเขี้ยวเสือแกะ งาช้างแกะ และวิทยาคมต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อพัก
หลวงพ่อพักได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่างด้วยกัน ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เช่น เหรียญรูปท่านที่มีทั้งเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง แต่เป็นเหรียญที่ค่อนข้างหายากและมีสนนราคาสูงครับ ส่วนเครื่องรางของขลังนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิงห์งาแกะ เมื่อนำติดตัวผ่านฝูงวัว ฝูงวัวเหล่านั้นถึงกับแตกตื่นวิ่งหนี และเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี ตะกรุดโทนนั้นก็มีคุณวิเศษ ถ้ารูดไปข้างหน้าจะเป็นมหาอุด รูดไปด้านซ้ายจะเป็นเมตตามหานิยม รูดไปด้านขวาเป็นมหาอำนาจ รูดไปด้านหลังศัตรูไม่สามารถตามทัน ตะโพนงาแกะของหลวงพ่อพัก ท่านสร้างไว้แจกพวกศิลปิน มีคุณวิเศษทางด้านเมตตามหานิยม มีชื่อเสียงโด่งดัง เมื่อนำติดตัวจะเป็นมหานิยมแก่ผู้พบเห็น
ส่วนเบี้ยแก้ของหลวงพ่อพัก เป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางของขลัง ที่มีพุทธคุณครบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านป้องกันคุณไสย ยาสั่ง แก้เหตุร้ายให้กลายเป็นดี แคล้วคลาดปลอดภัยและคงกระพันชาตรี เบี้ยแก้ของหลวงพ่อพักท่านจะเรียกปรอทเข้าตัวเบี้ยแล้วอุดด้วยชันโรงใต้ดินแล้วปิดทับด้วยตะกรุดที่ม้วนแล้วทุบให้แบน แปะทับบนชันโรง จากนั้นจึงถักเชือกทับอีกทีหนึ่ง การถักเชือกนั้นจะถักเปิดด้านบนของตัวเบี้ยให้เห็นลายหอยเบี้ย ลายถักส่วนมากมักถักเป็นลายกระสอบ วนเป็นเส้นรูปไข่ตามตัวเบี้ย การถักห่วงจะถักเป็นด้านหลังสองห่วง หรือด้านบนหูเดียวก็มี บางตัวนั้นอาจจะมีที่ทำเป็นตะกรุดร้อยเชือกคาดเอวก็มี มีทั้งจุ่มรักและไม่จุ่มรักก็มี
วันนี้ผมได้นำรูปเบี้ยแก้ของหลวงพ่อพัก วัดโบสถ์จากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ
ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 เมษายน 2562 10:49:08 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #23 เมื่อ:
11 เมษายน 2562 10:52:18 »
.
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเครื่องรางของขลังกันครับ ตะกรุดเป็นเครื่องรางที่นิยมสร้างกันมาก และมีมากมายหลากหลายรูปแบบ อุปเท่ห์การใช้ก็แตกต่างกันไปตามแต่ละเกจิ อาจารย์ที่ท่านได้สร้างไว้ ตะกรุดส่วนใหญ่นั้นจะทำด้วยตะกั่ว ทอง แดง เงิน นาก และทองคำ ที่เป็นใบลานก็มีบ้าง หรือเป็นตะกรุดกระดาษสาก็มี ตะกรุดหนังเก้ง ตะกรุดหนังปลากระเบนก็มีพบเห็นบ้าง และที่แตกต่างออกไปและหาพบน้อยก็คือ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ อาจจะเป็นเพราะหนังหน้าผากเสือนั้นหายากและมีเนื้อที่จำกัด จึงมีการสร้างน้อยมาก แต่ก็มีการสร้างอยู่บ้างในสมัยโบราณที่ยังมีเสือชุกชุมอยู่
เหตุที่ท่านบูรพาจารย์นำหนังหน้าผากเสือมาทำตะกรุดนั้น ก็คงมีผู้นำมาให้ท่านไว้ลงตะกรุดนะครับ และก็เป็นอุปเท่ห์ที่ว่า เสือนั้นโดยธรรมชาติเป็นสัตว์ป่าที่ทรงอำนาจ เป็นที่เกรงขามของสัตว์ทั่วๆ ไป เมื่อนำมาลงจารอักขระเป็นเครื่องรางของขลังก็จะทำให้มีผู้คนยำเกรง ให้ผลทางปกป้องคุ้มครอง และเหมาะแก่ผู้ที่มีหน้าที่บังคับบัญชาคนหมู่มาก อีกตำราหนึ่งก็ว่า ณ กาลครั้งหนึ่งพระจุลนาคมหาเถระ เคยถือกำเนิดเป็นพระยาเสือเหลืองซึ่งเป็นส่วนใหญ่กว่าบรรดาเสือทั้งปวง
พอสรุปได้ว่าหนังหน้าผากเสือนั้นดีทางอำนาจ เนื่องจากเสือนั้นมีสายตาที่ดุ ว่ากันว่าไม่มีใครกล้าที่จะจ้องตาเสือ ท่านโบราณาจารย์จึงได้นำเอาหนังหน้าผากเสือมาประดิษฐ์คิดแต่งเป็นตะกรุด เพื่ออานิสงส์ทางปกครองและอำนาจ ตามตำรานั้น ท่านให้ลงในหนังหน้าผากเสือที่ตายพราย (แก่ตาย) และถ้าเป็นเสือตัวที่เคยกินคนมาแล้วยิ่งขลังดี ท่านว่าไว้อย่างนั้น มีบางอาจารย์ให้ลงในหนังหน้าผากเสือไฟก็มี เมื่อได้หนังหน้าผากเสือมาแล้วท่านให้ตากให้แห้งหรือรมควันกำยาน และเครื่องหอมต่างๆ ถ้าเก็บไว้ไม่ดีจะเป็นขมวนกินหมด และถ้าใช้ตะกรุดโดยห้อยหรือแขวนพอถูกเหงื่อกลิ่นยิ่งพิลึก ถ้าในบ้านเลี้ยงหมาพอได้กลิ่นเสือเท่านั้นว่ากันว่าวิ่งกันหางจุกตูดไปเลย
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ที่ขึ้นชื่อลือชาเป็นที่แสวงหากันมาก ได้แก่ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของพระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค) วัดอรุณราชวราราม ซึ่งท่านเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) วัดอรุณฯ พระธรรมมานุสารี (สว่าง) วัดเทียนถวาย และเป็นสหธรรมิกกับ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงปู่นาค มีขนาดยาวประมาณ 2 นิ้ว ขนาดย่อมกว่ามวนบุหรี่ และมักรัดด้ายหรือสายสิญจน์ 3 เปลาะ
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ รุ่นเก่าอีกองค์หนึ่งก็คือของพระวิเชียรโมลี (ปลั่ง) พรหมโชโต วัดพระบรมธาตุเจดีย์ราม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นอีกหนึ่งตะกรุดหนังหน้าผากเสือที่หายาก
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของทั้งสองท่านนี้ปัจจุบันหาได้ยากมากครับ เพราะมีจำนวนน้อย เนื่องจากวัสดุคงหาได้ยากและมีจำนวนที่จะทำได้น้อยครับ พุทธคุณเด่นทางมหาอำนาจ เมตตา คงกระพัน และแคล้วคลาด
ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงปู่นาค วัดอรุณฯ จากหนังสือ ตามรอยตำนาน สุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม มาให้ชมกันครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์
ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #24 เมื่อ:
11 กรกฎาคม 2562 14:40:27 »
.
พญานาคเกี้ยวมหาสิทธิโชค
พญานาค มีความเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนามายาวนานแต่ครั้งพุทธกาล ในปี พ.ศ.2545 หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังสายวิปัสสนาวัดพระธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม ที่เชื่อว่ามีความผูกพันกับพญานาคในอดีตชาติ
ในปีดังกล่าว หลวงปู่คำพันธ์ ได้อนุญาตให้พระเทพมงคลเมธี เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.นครพนม จัดสร้างวัตถุมงคลพญานาค เพื่อนำปัจจัยบูรณะอุโบสถวัดมหาธาตุ
ประกอบด้วยเนื้อโลหะ เนื้อทองเหลือง และเนื้อทองแดง ก้นอุดผงมหามงคล 108 ที่หลวงปู่อธิษฐานจิตนานนับสิบปี และจัดสร้างจำนวนน้อยมาก
ปัจจุบันวัตถุมงคลรุ่นนี้หาได้ยากยิ่ง และไม่ค่อยพบเจออีก เนื่องจากผู้ที่มีวัตถุมงคลรุ่นนี้ไว้ในครอบครอง ต่างมีประสบการณ์มากมาย
ปี พ.ศ.2560 ชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและพุทธศิลป์นครพนม ได้จัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเครื่องราง "พญานาคเกี้ยว รุ่นมหาสิทธิโชค" มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแจกให้ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สังคม ประชาสัมพันธ์หลวงปู่คำพันธ์ รวมทั้งพระธาตุประจำวันเกิดทั้ง 7 แห่ง และพญาศรีสัตตนาคราช
เป็นวัตถุมงคลหล่อ มีเนื้อทองคำ 1 องค์ เนื้อเงิน 30 องค์ และเนื้อทิพย์ 2,560 องค์ เท่า พ.ศ.สร้าง
ด้านหน้ารูปทรงคล้ายพญานาค 2 ตน คดเคี้ยวเกี้ยวกัน หมายถึงรักใคร่สามัคคีปรองดองกัน เมตตาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน วรรณะของสีจะออกมาสวย โดยนำชนวนชนิดต่างๆ ที่เคยหล่อพระกริ่งของหลวงปู่คำพันธ์มาหล่อหลอม
ใต้ฐานบรรจุหินปฐวีธาตุเม็ดเล็กของหลวงปู่คำพันธ์ และมีผ้ายันต์ของพระเกจิหลายรูป รวมทั้งผ้ายันต์ของหลวงปู่คำพันธ์ ใต้ก้นวัตถุมงคลสลักอักขระธรรมคล้ายคำว่า ดี หมายถึงโชคดี มีสุข มีชัยชนะทุกอย่าง
ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 3 วาระ โดยวาระแรกที่ลานพญานาค วาระ 2 ที่วัดมหาธาตุ และวาระที่ 3 ที่วัดพระธาตุพนม
โดยพระเกจิชื่อดัง อาทิ หลวงปู่คำไหล ปริสุทโธ วัดอูนนา อ.นาหว้า จ.นครพนม, หลวงปู่สอ ขันติโก วัดโพธิ์ศรี อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม, พระอาจารย์บุญอุ้ม อาภัสสโร วัดป่าโนนแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม, พระอาจารย์กัณหา สัญญโม วัดนาเรียงถ้ำคิ้ว อ.บ้านแพง, พระเทพวรมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครพนม, พระอาจารย์ สุริยันต์ โฆสปัญโญ วัดป่าวังน้ำเย็น จ.มหาสารคาม และพระครูโฆษิตพัฒนคุณ เจ้าอาวาสวัดพระยอดโฆษิตวราราม จ.นครพนม นั่งปรกอธิษฐานจิต
[/size]
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์
เครื่องรางเสือเฮง หลวงตาสิทธิ์
พระครูประทีปปัญญาวุธ หรือ หลวงตาสิทธิ์ เจ้าคณะตำบลละทาย และเจ้าอาวาสวัดบ้านโอ้น ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์ ศึกษาจากหลวงปู่เพ็ง จันทรังสี
ปัจจุบัน อายุ 62 ปี พรรษา 41
เกิดวันที่ 30 ม.ค.2500 ที่บ้านยางน้อย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา
อุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 บริบูรณ์ พ.ศ.2521 ณ พัทธสีมาวัดละทาย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ โดยมีพระครูอนุรักษ์กันทรารมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์
ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาทั่วประเทศ อาทิ ป่าทางภาคเหนือ มีโอกาสได้กราบนมัสการหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ซึ่งหลวงปู่แหวนอบรมสั่งสอนการเจริญภาวนาให้
นอกจากนี้ ยังธุดงค์ข้ามไปไปยังฝั่งประเทศ สปป.ลาว นาน 3 พรรษา ศึกษาวิทยาคมจากหมอธรรมโต่น ศึกษาตำราของสำเร็จลุน นครจำปาสัก และยังเดินทางไปศึกษาวิทยาคมจากหมอธรรมขาว ที่ประเทศกัมพูชา เป็นต้น
เมื่อเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทยยังได้เข้ากราบสักการะศึกษาเจริญจิตตภาวนากับพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) รวมการออกธุดงค์นานถึง 7 ปี จึงเดินทางกลับ จ.ศรีสะเกษ
ในปี พ.ศ.2528 คณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านโอ้น จนถึงปัจจุบัน
สำหรับวัดบ้านโอ้น เป็นวัดที่อยู่ในชนบทยังขาดการพัฒนาในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะกุฏิที่จำวัดพระภิกษุ-สามเณร อยู่ในสภาพทรุดโทรม จะสร้างใหม่ แต่ขาดปัจจัย
ดังนั้น จึงเห็นชอบร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลเครื่องราง เสือเฮงรุ่นแรก เพื่อมอบให้ผุู้ร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนสร้างกุฏิที่พักสงฆ์หลังใหม่
เครื่องรางเสือเฮงรุ่นดังกล่าว พุทธศิลป์คล้ายกับเสือแกะที่ออกจากวัดอื่นๆ แต่สำหรับเสือแกะวัดบ้านโอ้น พุทธศิลป์ค่อนข้างจะประณีต แกะได้สวยงาม โดยเฉพาะวัตถุดิบที่นำมาสร้างเป็นเขาควายที่ถูกฟ้าผ่าทั้งควายเผือกและควายดำ ที่บริเวณด้านซ้ายและด้านขวาและกลางหลังเสือจะมีอักขระยันต์ 3 ตัว พุทธคุณเด่นรอบด้าน
ส่วนที่ใต้ฐานจะอุดด้วยมวลสารศักดิ์สิทธิ์หลายอย่างอาทิ ตะกรุดทองคำ ผงงาช้าง ผงพญาว่าน แร่ทองคำ แร่เงิน เครือสาวหลง เป็นต้น
จำนวนการสร้าง อาทิ นำฤกษ์อุดตะกรุดทองคำ 4 ดอก สร้าง 999 ตน อุดตะกรุดทองคำ 1 ดอก สร้าง 999 ตน เป็นต้น
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกโดยพระครูประทีปปัญญาวุธเสกเดี่ยวที่นานหลายเดือน
เปิดตลับพระใหม่ ข่าวสดออนไลน์
ตะกรุดใบลานบางปืน หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในจังหวัดสมุทรสงครามนี้ พระเกจิอาจารย์ที่อาวุโสมากที่สุดและเรารู้กันดี ก็คือหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ซึ่งนับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่โด่งดังมาก และเป็นที่รักเคารพของชาวแม่กลอง
หลวงพ่อแก้วเกิดเมื่อปี พ.ศ.2393 ที่ ต.บางแค อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โยมบิดาชื่อกัน โยมมารดาชื่อเนียม ท่านได้บวชตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เป็นสามเณร ที่วัดบางแคใหญ่ อ.อัมพวา พออายุได้ 20 ปี ก็ได้อุปสมบทที่วัดบางแคใหญ่ โดยมีหลวงพ่อเพ็ง เจ้าอาวาสวัดบางแคใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามยาว่า "พรหมสโร" และได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดแห่งนี้
หลวงพ่อแก้วได้เรียนวิทยาคมมาจากบิดาของท่านซึ่งเป็นอดีตทหารของวังหน้า และท่านมีวิชาอาคมขลังมาก สามารถเสกดอกจำปีให้กลายเป็นแมลงภู่ และบินไปหาญาติมิตรที่รู้จักกันได้ แล้วตกลงมากลายเป็นดอกจำปีอย่างเดิม นอกจากนี้ท่านก็ยังมีวิชาคงกระพันชาตรีเป็นเลิศอีกด้วย วิชาต่างๆ เหล่านี้หลวงพ่อแก้วได้เรียนมาจากบิดาของท่าน นอกจากนี้หลวงพ่อแก้วก็ได้เรียนคันถธุระและวิปัสสนาธุระกับหลวงพ่อเพ็ง พระอุปัชฌาย์ของท่าน และหลวงพ่อเพ็ง ก็ยังเก่งในด้าน พุทธาคมอีกด้วย ต่อมาหลวงพ่อแก้วได้เดินทางมาอยู่ที่เพชรบุรี เพื่อเรียนวิปัสสนาธุระและพุทธาคมที่วัดเขาตะเครา เพชรบุรีอีก และมาเรียนเพิ่มเติมกับพระอาจารย์เกตุ พระพี่ชายของท่าน ที่วัดทองนพคุณ เพชรบุรี ท่านอยู่จำพรรษาที่เพชรบุรีนานมากจนบางท่านเข้าใจว่าท่านเป็นคนเพชรบุรี
ต่อมาในปี พ.ศ.2424 เจ้าอาวาสวัดช่องลม จ.สมุทรสงคราม ได้ว่างลง ประชาชนชาวสมุทรสงครามจึงได้ขึ้นไปนิมนต์ท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ท่านจึงได้เดินทางมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม พร้อมด้วยหลวงพ่อบ่าย และพระอีก 3 รูป ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมอยู่ได้ 6 ปี พอปี พ.ศ.2430 ท่านก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ โดยให้หลวงพ่อบ่ายเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลมสืบแทน พอท่านมาอยู่ที่วัดพวงมาลัยแล้วท่านก็ได้ก่อสร้างกุฏิ ศาลาต่างๆ เพิ่มเติมอีกหลายหลัง สร้างศาลาท่าน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ท่านยังสร้างขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น วัดเขาอีโก้ และวัดสาธุชนาราม เป็นต้น ชาวแม่กลองเคารพนับถือในตัวท่านเป็นอย่างมาก หลวงพ่อแก้วมรณภาพในปี พ.ศ.2462 สิริอายุได้ 69 ปี พรรษาที่ 49
หลวงพ่อแก้วได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น ตะกรุดใบลานบางปืน เหรียญปั๊ม และเหรียญหล่อหลายรุ่น วัตถุมงคลของหลวงพ่อแก้วนั้น เป็นที่นิยมและหวงแหนกันมาก สนนราคาค่อนข้างสูงครับ เช่น เหรียญรุ่นแรกที่เป็นปั๊มเหรียญพระพุทธและเหรียญรูปท่านที่สร้างในปี พ.ศ.2459 นอกจากนี้ยังมีเหรียญหล่อ พิมพ์เศียรโล้น และเศียรแหลม ที่สร้างในปี พ.ศ. 2460 ล้วนแต่มีราคาสูงทั้งสิ้น
ส่วนตะกรุดที่ทำจากใบลานบ้านบางปืนนั้น เป็นวัตถุมงคลของหลวงพ่อแก้วที่ชาวแม่กลองหวงแหนมาก พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน มีประสบการณ์มามากมาย ท่านสร้างทั้งเป็นแบบตะกรุดโทน และเป็นแบบตะกรุดพิสมร และจะมีการลงรักถักเชือกหุ้มตะกรุดใบลานอีกทีหนึ่งซึ่งนิยมมาก ปัจจุบันหาแท้ๆ ยาก ของปลอมมีมากมาย เวลาเช่าหาต้องพิจารณาดีๆ
วันนี้ผมได้นำรูปตะกรุดโทน และตะกรุดพิสมร ใบลานบางปืน ของหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
ปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ปลัดขิกของภาคตะวันออกที่เก่าแก่และโด่งดังมากจะมีของ 2 หลวงพ่อ และ 2 วัด คือ ปลัดขิกของหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา และของหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี ใครใกล้ทางไหนก็จะไปขอกับหลวงพ่อนั้น โด่งดังไม่แพ้กันเลยและอยู่ในยุคเดียวกัน คนชลบุรีและระยองก็มักจะไปขอจากหลวงพ่ออี๋ คนทางแปดริ้ว พนัสนิคมก็จะไปขอหลวงพ่อเหลือ ปลัดขิกของ 2 หลวงพ่อนี้จะมีรูปร่างคล้ายกัน ผิดกันนิดๆ หน่อยๆ ถ้าสังเกตที่ตัวยันต์ของหลวงพ่อเหลือที่หน้าประธานจะจารตัวอักขระตัวอุ ส่วนหลวงพ่ออี๋จะจารตัวมิ และของหลวงพ่ออี๋ที่ด้านบนใกล้ขุนคอหยัก จะจารวงกลมๆ ไว้ มักจะเรียกว่าตาพระอินทร์ ของหลวงพ่อเหลือจะไม่มี ปลัดขิกของทั้ง 2 หลวงพ่อนั้นขลังมาก และหายากในปัจจุบัน
วันนี้เรามาคุยกันถึงหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบกันนะครับ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้คนเคารพนับถือกันมาก โดยเฉพาะชาวบ้านและทหารเรือแถบสัตหีบ เสมือนหนึ่งเทพเจ้าแห่งภาคตะวันออกในสมัยนั้น เครื่องรางของขลังของท่านที่มีชื่อเสียงก็คือปลัดขิก กล่าวกันว่าถ้าปลุกปลัดของท่านแล้วปล่อยลงน้ำจะสามารถวิ่งทวนน้ำได้ทีเดียว
พระครูวรเวทย์มุนี (หลวงพ่ออี๋) เกิดที่ชลบุรี เมื่อปี พ.ศ.2408 โยมบิดาชื่อกองคำ โยมมารดาชื่อเอียง ในวัยเด็กเป็นเด็กที่มีความฉลาดหลักแหลม และชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอ ผิดกับเด็กทั้งหลายในวัยเดียวกัน ต่อมาพออายุได้ 21 ปี จึงได้อุปสมบทที่ วัดอ่างศิลา ชลบุรี โดยมีหลวงพ่อจั่น วัดเสม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า "พุทธสโร" อยู่จำพรรษาที่วัดอ่างศิลา และก็ได้ศึกษาวิชาวิปัสสนาธุระ ที่สำนักพระอาจารย์แตง วัดอ่างศิลา ท่านจึงพิจารณาเห็นสังขารไม่เที่ยงแท้ เมื่อถึงเวลาออกพรรษาท่านก็เริ่มออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อหาแหล่งอันสงบวิเวกนั่งวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อได้พบกับพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านใดหลวงพ่ออี๋ก็จะศึกษาหาความรู้กับพระอาจารย์ท่านนั้น พร้อมทั้งปฏิบัติจนเห็นจริง แล้วก็จะเริ่มธุดงค์ต่อไปเรื่อยๆ บรรดาพระคณาจารย์ของหลวงพ่ออี๋จึงมีมากมาย แต่ที่พอสรุปได้ก็คือ พระอาจารย์แตง วัดอ่างศิลา พระอาจารย์จั่น วัดเสม็ด หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย เป็นต้น
หลวงพ่ออี๋ยึดการธุดงค์และสันโดษเป็นหลัก จนกระทั่งมีฌานสมาบัติพลังจิตสูงองค์หนึ่ง ท่านสามารถนำพระเวทมาใช้ได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าจะธุดงค์ไปที่ไหนๆ ก็ตาม ท่านมักจะให้ความเมตตาช่วยเหลือผู้เจ็บไข้ได้ป่วยเสมอ พร้อมทั้งแสดงธรรมให้ลูกศิษย์ลูกหาฟัง จนกระทั่งชื่อเสียงของหลวงพ่อโด่งดัง จากปากหนึ่งไปอีกปากหนึ่ง ต่อมาหลวงพ่ออี๋ธุดงค์มาจนถึงอ่าวสัตหีบในราวปี พ.ศ.2450 ณ ที่นั้นเป็นบริเวณที่สงบเงียบพอที่จะยึดเป็นที่ปฏิบัติธรรม หลวงพ่อจึงปักกลดจำวัดที่นั่น พอบรรดาพวกชาวบ้านรู้ข่าวว่าหลวงพ่อมาปักกลดอยู่ต่างก็มากราบนมัสการหลวงพ่ออี๋กันมาก ต่างก็นำอาหารมาถวายและผู้คนก็เดินทางมานมัสการกันแทบทุกวัน
บรรดาชาวบ้านในแถบนั้นต่างมีความเห็นตรงกันว่า ควรนิมนต์หลวงพ่ออี๋ให้สร้างวัด ณ ที่ตรงนั้น เพื่อชาวบ้านจะได้พึ่งบารมีหลวงพ่อ จึงได้พากันนิมนต์หลวงพ่ออี๋ให้อยู่จำพรรษาและสร้างวัดที่ตรงนั้น หลวงพ่ออี๋ก็ไม่ขัดข้อง พวกลูกศิษย์ลูกหาต่างก็ดีอกดีใจ ช่วยกันคนละไม้คนละมือและบริจาคทรัพย์สร้างวัดขึ้น และได้นามวัดต่อมาว่า "วัดสัตหีบ" จนมาถึงทุกวันนี้
ต่อมาในปี พ.ศ.2473 ทางวัดสัตหีบได้กำหนดหล่อพระพุทธรูปพระประธาน ประจำพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตหลวงพ่อสร้างเหรียญรูปเหมือนของหลวงพ่อขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมสมทบทุนสร้างในครั้งนั้น ปัจจุบันได้รับความนิยมสูงมาก นอกจากเหรียญรูปท่านแล้ว เครื่องรางของขลังที่ท่านได้สร้างไว้ก็มีหลายอย่าง เช่น ปลัดขิก ตะกรุด เม็ดพริก ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ผ้าคาดหัว ซึ่งวัตถุมงคลของหลวงพ่ออี๋นั้นมีประสบการณ์มากมาย ในครั้งสงครามโลกก็เช่นกันใครมีวัตถุมงคลของหลวงพ่ออี๋จะแคล้วคลาดปลอดภัยทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋นั้นว่ากันว่าท่านปลุกเสกปลัดขิกแล้วปล่อยลงน้ำจนวิ่งในน้ำได้ทุกตัว พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย และคงกระพัน ปัจจุบันจะหาปลัดขิกแท้ๆ ของหลวงพ่ออี๋นั้นยากมาก หลวงพ่ออี๋ได้อยู่เป็นมิ่งขวัญจนถึงปี พ.ศ.2489 ก็มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 57
วันนี้ผมได้นำรูปปลัดขิก ของหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
เบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ. นครปฐม เมื่อกล่าวถึงใครๆ ก็รู้จักกันดี และก็นึกถึง หลวงปู่บุญ ผู้สร้างเบี้ยแก้ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และยาวาสนาจินดามณี 2 สิ่งนี้ถือเป็นสุดยอดวัตถุมงคลของสายวัดกลางบางแก้ว และมีการสืบทอดวิทยาคมกันต่อๆ มา ผู้ที่สืบต่อจากหลวงปู่บุญก็คือหลวงปู่เพิ่ม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจากหลวงปู่บุญ และท่านก็ได้สร้างเบี้ยแก้และยาวาสนาจินดามณีต่อจากหลวงปู่บุญ ปัจจุบันก็หายากเช่นกัน
ก่อนอื่นก็คงต้องพูดถึงประวัติของ วัดกลางบางแก้ว กันซะหน่อย วัดกลางบางแก้วแต่เดิมมีชื่อว่า "วัดคงคราม" เป็นวัดเก่าแก่มาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ในอดีต ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อกันเรื่อยมา ต่อมาในสมัยพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จมาที่วัดคงคารามเห็นว่าเป็นวัดที่อยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรีตรงปากคลองบางแก้ว ตั้งอยู่ระหว่างกลาง 2 วัดคือ วัดตุ๊กตาและวัดใหม่ สุประดิษฐ์ ท่านจึงได้ประทานนามวัดให้ใหม่ว่า "วัดกลางบางแก้ว" เมื่อราวๆ พ.ศ.2465 ในสมัยที่หลวงปู่บุญเป็นเจ้าอาวาส
พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่เพิ่ม ปุณณวสโน) นามเดิมว่า "เพิ่ม" เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2429 ที่ตำบลไทยวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ เกิด โยมมารดาชื่อ วรรณ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 8 ขวบ สืบต่อมาจนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2450 ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ วัดสรรเพชญ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็ได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา และถือได้ว่าท่านเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่บุญมากที่สุด เพราะท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ก็อยู่ปฏิบัติรับใช้หลวงปู่บุญมาตลอดจนกระทั่งหลวงปู่บุญมรณภาพ เป็นเวลาถึง 39 ปี ตลอดเวลานั้นท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนเวทวิทยาคมต่างๆ ไว้มากมาย หลวงปู่เพิ่มเป็นพระสงฆ์ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยศีล สมาธิ และปัญญาธรรม เปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรม หมดสิ้นกิเลสทั้งปวง หลวงปู่เป็นพระที่พูดจาไพเราะอ่อนหวาน สำเนียงของท่านนั้นมีแววความเมตตาผสานเอาไว้ ใครได้ฟังแล้วจะรู้สึกชุ่มชื่นใจ ใครๆ ได้สนทนากับท่านแล้วจะรู้สึกเคารพศรัทธาท่านทุกคนไป
หลวงปู่เพิ่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดกลางบางแก้ว เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 ปี พ.ศ.2482 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2483 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี ปี พ.ศ.2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูพุทธวิถีนายก ปี พ.ศ.2495 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนามเดิม ปี พ.ศ.2503 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ มีราชทินนามว่าพระพุทธวิถีนายก หลวงปู่เพิ่มมรณภาพด้วยโรคชราด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2526 สิริอายุได้ 97 ปี พรรษาที่ 76
หลวงปู่เพิ่มได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น พระเครื่อง เหรียญ ผงยาวาสนาจินดามณี ตะกรุดและเบี้ยแก้ เป็นต้น ในส่วนของเบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่มจะสร้างตามตำรับของหลวงปู่บุญอย่างเคร่งครัด โดยผู้ที่จะขอให้ท่านสร้างเบี้ยแก้ให้ต้องไปหาหอยเบี้ยปรอทแผ่นตะกั่วมาให้พร้อม โดยในสมัยนั้นก็สามารถไปหาซื้อได้ในตลาดนครชัยศรี เขาจะจัดให้เป็นชุดพร้อมสรรพ
จากนั้นก็นำไปถวายหลวงปู่เพิ่ม เขียนชื่อของเจ้าของไว้ในถาดที่นำเครื่องหอยเบี้ยไปถวาย หลวงปู่จะให้รอประมาณ 3 เดือนแล้วให้กลับมาดูว่าใช้ได้หรือยัง ผมเคยไปกราบขอเบี้ยแก้กับหลวงปู่ก็เกิดความสงสัยว่าทำไมต้องรอ 3 เดือน แล้วก็ยังไม่รู้ว่าใช้ได้หรือยัง แต่ก็ไม่กล้าถาม หลวงปู่ท่าจะรู้ว่าผมสงสัย แต่ท่านก็ไม่ได้พูดอะไร ได้แต่ยิ้มๆ
พอออกมาผมก็ถามคนแก่ที่อยู่หน้ากุฏิหลวงปู่ จึงทราบว่าหลวงปู่จะเสกจนกว่าเบี้ยจะเดินได้จึงจะมอบให้ การสร้างเบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่มนั้นพิถีพิถันมาก ไม่มีให้เช่าบูชาที่วัดนะครับ ใครอยากได้ก็ต้องไปขอให้หลวงปู่สร้างให้เท่านั้น ปัจจุบันก็หายากมากเช่นกัน เบี้ยของหลวงปู่เพิ่มห่วงใต้ท้องเบี้ยโดยส่วนมากจะเป็นลวดทองแดง แต่ก็มีอยู่บางรุ่นจะมีห่วงเป็นลวดสแตนเลส น่าจะเริ่มสร้างประมาณปี พ.ศ.2518 เรื่อยมา
วันนี้ผมได้นำรูปเบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่ม ทั้งที่เป็นห่วงทองแดง และห่วงสแตนเลสจากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กรกฎาคม 2562 15:59:44 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #25 เมื่อ:
22 กันยายน 2562 12:24:28 »
หนุมานหลวงพ่อสุ่น
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางของขลังที่แกะเป็นรูปหนุมานนั้น ที่นิยมที่สุดคือหนุมานของหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุล เกาะเกร็ด นนทบุรี ปัจจุบันหายากมาก สนนราคาก็สูงมากเช่นกัน พุทธคุณก็เข้มขลังมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ใครมีต่างก็หวงแหนเป็นเครื่องรางที่หายากของจังหวัดนนทบุรี
หลวงพ่อสุ่นนั้นประวัติโดยละเอียดไม่มีผู้บันทึกไว้ จึงสืบค้นยากมาก แต่ก็พอจะทราบเพียงคร่าวๆ ว่า หลวงพ่อสุ่น นามเดิมว่า สุ่น ตระกูลปานกล่ำ เป็นชาวนนทบุรีโดยกำเนิด ท่านอุปสมบทเมื่อไรไม่มีใครทราบ แต่ที่ทราบคือฉายาของท่านคือ "จันทโชติ" จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุล ในสมัยที่เป็นพระลูกวัดนั้น ชาวบ้านก็เริ่มเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาการปฏิบัติธรรมของท่าน พอเจ้าอาวาสองค์เดิมมรณภาพ ชาวบ้านจึงได้อาราธนาท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน หลวงพ่อสุ่นเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ กิจวัตรประจำวันของท่านคือ จะตื่นแต่ย่ำรุ่ง มีไม้กวาดติดมือ ทำความสะอาดลานวัดจนสะอาดตาจึงพอ และชาวบ้านในสมัยนั้นก็จะร่วมมือกันในการพัฒนาวัดเป็นอย่างดี ส่วนการจำวัดนั้นท่านจะจำวัดน้อยมาก จะนั่งวิปัสสนากรรมฐานทุกคืนจนดึกดื่นค่อนคืน ส่วนการศึกษาเล่าเรียนนั้นไม่มีใครทราบว่าท่านศึกษามาจากที่ไหน รู้แต่เพียงว่าจะสนิทสนมกับหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง มีอะไรถึงกันหมด ไปมาหาสู่กันเป็นประจำ หลวงพ่อสุ่นเป็นพระที่มีเมตตา ใครเจ็บไข้ได้ป่วยท่านก็จะช่วยรักษาให้หายทุกคนไป
ในเรื่องการสร้างเครื่องรางของขลังนั้น ท่านสร้างเพียงผ้าประเจียดและหนุมานเท่านั้น หลวงพ่อสุ่นได้ปลูกต้นรักซ้อน และต้นพุดซ้อนไว้ตั้งแต่ยังเป็นพระลูกวัด โดยจะทำน้ำมนต์รดอยู่ทุกวัน พอต้นรักแก่ได้ที่ และได้ฤกษ์ดีแล้ว ท่านก็จะทำการพลี แล้วจึงนำมาตากจนแห้งดีแล้ว ก็จะให้ไปตามช่างมาแกะ ทราบว่าช่างที่มาแกะนั้นอยู่กรุงเทพฯ มีฝีมือทางแกะสลัก ระหว่างที่แกะหนุมานนั้น ช่างจะมาอยู่กินนอนที่วัด พอแกะเสร็จจึงจะกลับ และเมื่อท่านจะทำอีกช่างก็มาแกะที่วัดอีกเช่นเคย เมื่อช่างแกะหนุมานเสร็จได้จำนวนหนึ่งแล้ว หลวงพ่อสุ่นก็จะนำหนุมานทั้งหมดมาใส่บาตรของท่าน แล้วเอาผ้าขาวมาห่อไว้อีกที เก็บไว้ในกุฏิของท่าน
พอวันเสาร์ก็จะนำลูกศิษย์ยกเข้าไปในโบสถ์แล้วบวงสรวงบัดพลี เสร็จแล้วจะปิดประตูหน้าต่างลั่นดาลโบสถ์ทั้งหมด โดยท่านอยู่ในโบสถ์องค์เดียว ปลุกเสกและจัดเวรยามไม่ให้ใครไปรบกวนในขณะที่ท่านกำลังปลุกเสกอยู่ บางครั้งเกือบสว่าง บางทีก็เที่ยงคืน ท่านจะทำประจำทุกๆ วันเสาร์ พอเสร็จแล้วก็จะมาปลุกเสกต่อในกุฏิเช่นนี้ตลอดมา จนกระทั่งครบถ้วนตามวิธีการของท่าน ท่านจึงจะแจกลูกศิษย์ลูกหาทั่วไป
หนุมานของหลวงพ่อสุ่นนั้น จะมีทั้งแบบหน้ากระบี่ และแบบหน้าโขน เนื้อของหนุมานก็มีทั้งที่เป็นเนื้อไม้รักและไม้พุดซ้อน และที่เป็นงาแกะ แต่ที่เป็นงาแกะนั้นมีน้อยกว่า หลวงพ่อสุ่นมรณภาพในปี พ.ศ.2482 ปัจจุบันนั้นหนุมานของหลวงพ่อสุ่น หาชมของแท้ได้ยากมากครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปหนุมานของหลวงพ่อสุ่น จากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชมกันครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
เครื่องรางหนุมาน หลวงปู่แสง
"พระครูอุดมรังสี" หรือ "หลวงปู่แสง จนฺทวํโส" อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย หมู่ 4 บ้านโนนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม
เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม
ปัจจุบัน ยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 108 ปี พรรษา 89
นามเดิม นายแสง วงค์ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2454 ที่บ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม
อุปสมบทที่วัดบ้านแก้ง อ.เขมราฐ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง เป็นพระอุปัชฌาย์
มุมานะศึกษาพระปริยัติธรรม สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมกับศึกษาวิทยาคม อักขระเลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ
หลายปีต่อมา กลับมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัย บ้านโนนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม บ้านเกิด
เนื่องจากท่านเป็นพระที่ปฏิบัติ จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูอุดมรังสี และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย รวมทั้งเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง
สำหรับวัตถุมงคลจัดสร้างออกมาหลายรุ่น ทุกรุ่นล้วนได้รับความสนใจ
เนื่องจากหลวงปู่แสง มีอายุถึง 108 ปี คณะศิษยานุศิษย์มีโครงการหาปัจจัยเป็นกองทุนรักษาธาตุขันธ์หลวงปู่ นำโดย "อ๊อฟ พระใหม่" จึงขออนุญาตจัดสร้างวัตถุ มงคลเครื่องรางหนุมานรุ่นแรก เพื่อหาปัจจัยสมทบเข้ากองทุน
วัตถุมงคลรุ่นนี้พุทธศิลป์สวยงาม ออกแบบเป็นรูปหนุมานนั่งยองบนฐานเขียง มือจับที่หัวเข่าสองข้าง
ด้านหลัง ส่วนหางหนุมานจะโอบฐานมาโผล่ด้านหน้า เอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่ซ้ำกับหนุมานทั่วไป นั่นคือ เข็มขัดจะแกะเป็นอักขระยันต์และลายเส้นคมชัดมาก โดยหลวงพ่ออนันต์ วัดบางพลีน้อย เมตตาจารอักขระและอธิษฐานจิต ก่อนนำไปแช่น้ำว่าน อาทิ น้ำมันว่านดอกทอง น้ำมันมหาราช น้ำมันช้างตกมัน เป็นต้น
มวลสารอุดผงประกอบด้วยผงว่านมหาเสน่ห์หลวงปู่ทวน แบงก์เสกหลวงปู่สรวง ผงธูปหลวงปู่แสง ฯลฯ
จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อทองคำอุดผง 11 ตน เนื้อเงินนำฤกษ์ (ตัดช่อ) 19 ตน เนื้อทองแดงนำฤกษ์ (ตัดช่อ) 199 ตน เนื้อเงิน 199 ตน นวโลหะ 399 ตน ฯลฯ
ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2562 ที่วัดโพธิ์ชัย พระเกจิอาจารย์ที่นั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่แสง จันทวังโส, หลวงพ่ออนันต์ วัดบางพลีน้อย เป็นต้น
ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #26 เมื่อ:
08 พฤศจิกายน 2562 16:29:53 »
ตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องเครื่องรางของขลัง ประเภทตะกรุดกันบ้างดีกว่านะครับ ท่านอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวขวัญถึงตะกรุดที่มีชื่อว่าตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง มาบ้าง ซึ่งเป็นตะกรุดยอดนิยมสำหรับท่านที่ชื่นชอบเครื่องรางของขลัง ปัจจุบันหาชมของแท้ๆ ได้ยากมาก สนนราคาสูงมากเช่นกันครับ
หลวงพ่อพิธเกิดที่ตำบลฆะมัง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2418 โยมบิดาคือ ขุนหิรัญสมบัติ (ประดิษฐ์) โยมมารดาชื่อปุย หลวงพ่อพิธอุปสมบทในปีพ.ศ.2440 ที่วัดบึงตะโกน อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยมีพระครูธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (เอี่ยม) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาวิจิตร วัดฆะมัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์พลอย วัดราชช้างขวัญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากที่ท่านได้บวชแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่หลายวัดด้วยกัน เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมต่างๆ เช่น วัดหัวดง วัดบางคลาน ได้ศึกษาอยู่กับหลวงพ่อเงินจนแตกฉานในทุกด้าน วัดวังปราบ วัดบางไผ่ วัดดงป่าคำ วัดสามขา วัดใหญ่ (วัดพระศรีมหาธาตุ พิษณุโลก) หลังจากนั้นท่านจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดฆะมังจวบจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2488 สิริอายุได้ 70 ปี พรรษาที่ 48
หลวงพ่อพิธมีดวงตาที่ดูดุ จนในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงพ่อพิธตาเสือ และในวันที่ฌาปนกิจท่านนั้นหลังจากที่เจ้าหน้าที่วัดและลูกศิษย์ของท่านกำลังเก็บอัฐิอยู่นั้น ทุกคนต่างตะลึงงันเมื่อได้พบดวงตาของหลวงพ่อพิธไม่ไหม้ไฟทั้งสองดวง ชาวบ้านจึงกล่าวขวัญกันว่า "หลวงพ่อพิธตาไฟ" ปัจจุบันยังเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่วัดฆะมัง
หลวงพ่อพิธได้ทำตะกรุดแจกให้แก่ศิษย์ ซึ่งเป็นยันต์เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นยันต์หนึ่งในตำราพิชัยสงคราม และยันต์นี้ได้สืบทอดต่อมาจากหลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า จนถึงหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อพิธเรียนมาจากหลวงพ่อเงินอีกต่อหนึ่ง ยันต์นี้เรียกกันว่า "ยันต์คู่ชีวิต" มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัยให้แก่ผู้ที่บูชา ตะกรุดของหลวงพ่อพิธโดยส่วนมากจะมีอั่วทองเหลืองเป็นแกนกลาง อั่วก็คือแกนกลางเป็นหลอดทองเหลือง ปกติจะมีบัดกรีเสริมหัวท้ายด้วยลวดทองเหลือง ตะกรุดหลวงพ่อพิธที่พบมีทั้งที่เป็นเนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อเงิน เนื้อฝาบาตร และที่พบส่วนใหญ่คือเนื้อตะกั่ว เข้าใจว่าเนื้อโลหะพิเศษคงจะมีผู้นำโลหะไปให้ หลวงพ่อพิธทำเป็นพิเศษ ตะกรุดของหลวงพ่อพิธที่เราพบเห็นมากที่สุดก็คือครั้งที่ท่านทำให้วัดสามขา เพื่อแจกให้แก่ผู้สมทบทุนสร้างพระอุโบสถวัดสามขา ตะกรุดคู่ชีวิตนี้จะมีทั้งลงรักถักเชือก และชนิดเปลือยๆ ลายถักก็มีอยู่หลายแบบครับ
พุทธคุณของตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ มีประสบการณ์มากมาย เรื่องอยู่ยงคงกระพันนั้นชาวเมืองพิจิตรต่างทราบ กันดี ปัจจุบันหาตะกรุดหลวงพ่อพิธแท้ๆ ยากครับ และมีของปลอมเลียนแบบมาก การเช่าหาควรจะหาจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญจริงเท่านั้นครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ แบบมีลงรักถักเชือก จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลัง ขมังเวทย์ ของคุณพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย มาให้ชมกันด้วยครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง คือตะกรุดหนังหน้าผากเสือ คนโบราณจะนิยมตะกรุดหนังหน้าผากเสือมาก แต่ก็หายากทั้งวัสดุที่นำมาใช้ทำตะกรุด และพระคณาจารย์ที่ทำตะกรุดหนังหน้าผากเสือก็มีน้อยรูปเช่นกันครับ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือรุ่นเก่าๆ ของพระอาจารย์ที่โด่งดังมากๆ ก็คือ พระธรรมานุสารี (สว่าง) วัดเทียนถวาย ปทุมธานี พระพิมลธรรม (นาค) วัดอรุณฯ กทม. พระวิเชียรโมลี (ปลั่ง) วัดบรมธาตุฯ กำแพงเพชร เป็นต้น
ในบรรดาพระเกจิอาจารย์ที่กล่าวมาแล้ว พระธรรมานุสารี (สว่าง) นั้นอาวุโสมากที่สุด ตะกรุดของท่านก็โด่งดังมาก และหายากที่สุดเช่นกัน เนื่องจากมีจำนวนน้อยมาก ส่วนมากจะอยู่กับคนดั้งเดิมที่อยู่ในละแวกวัดเทียนถวาย
วัดเทียนถวายเป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี สุนทรภู่เคยพรรณนาไว้ในนิราศพระบาท ครั้งร่วมขบวนเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ไปนมัสการพระพุทธบาท สระบุรี เมื่อปี พ.ศ.2350 ตอนที่ผ่านวัดเทียนถวายว่า
ถึงวัดเทียนถวายท่าใหม่ข้าม ก็รีบตามเรือที่นั่งมากลางหน
ทุ่งละลิ่วทิวเมฆเป็นหมอกมน สะพรั่งต้นตาลโตนดอนาถใจ
เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น ระวังตนตีนมือระมัดมั่น
เหมือนคบคนคำหวานรำคาญครัน ถ้าพลั้งพลันก็เจ็บอกเหมือนตกตาล
พระธรรมานุสารี (สว่าง) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2398 โยมบิดาชื่ออ่อน โยมมารดาชื่อทิม ที่บ้านหลังวัดเทียนถวาย พออายุพอสมควร บิดาจึงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่กับพระปลัดปิ่น วัดบางกระดี ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรและอยู่กับพระปลัดปิ่น จนกระทั่งอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทที่วัดเทียนถวาย โดยมีพระปลัดปิ่นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ยัง วัดเทียนถวายเป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็อยู่จำพรรษาที่วัดบางกระดี 3 พรรษา จากนั้นก็เข้ามาศึกษาต่อที่วัด สระเกศ ศึกษาคันถธุระ วิปัสสนาธุระ โหราศาสตร์ และวิทยาคมต่างๆ
ต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระสมุห์ของพระวินยานุกูลเถร (ศรี) จนกระทั่งพระวินยานุกูลเถร (ศรี) มรณภาพ ท่านจึงกลับมาอยู่ที่วัดบางกระดี จนถึงปี พ.ศ.2435 วัดเทียนถวายว่างเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านจึงได้มาอาราธนาหลวงพ่อสว่างมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย
ปี พ.ศ.2435 เป็นเจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย และเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.2455 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรให้เป็นพระครูศีลานุโลมคุณ
พ.ศ.2461 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูธรรมานุสารี และเป็นเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี
พ.ศ.2464 ได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะที่ พระธรรมานุสารี
หลวงพ่อสว่างเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาก และมักเรียกท่านว่า "หลวงพ่อหว่าง หรือหลวงปู่หว่าง" วัตถุมงคลของท่าน จะทำตะกรุดหนังหน้าผากเสือ และผ้าประเจียด ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคไปพระราชวังบางปะอิน เมื่อถึงวัดเทียนถวายได้ทรงแวะขึ้นไปนมัสการพระอุปัชฌาย์สว่าง และทรงให้พนักงานฉายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์กับพระอุปัชฌาย์สว่าง ในครั้งนั้นพระอุปัชฌาย์สว่างก็ได้ถวายตะกรุดหนังหน้าผากเสือแก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วย
พระธรรมานุสารี (สว่าง) มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2475 สิริอายุได้ 77 ปี
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงพ่อหว่างในปัจจุบันนั้นหายากมากครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวาย จากหนังสือ ตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมกันครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
พญาเต่าแสนมงคลทวีทรัพย์
เมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นพญาเต่าเรือน นามว่า "มหาจิตรจุล" อาศัยอยู่บนเกาะแห่งหนึ่ง อยู่มาไม่นานเกิดเหตุพายุเข้าบริเวณเกาะเป็นเหตุให้เรือสำเภาที่ผ่านมาอับปาง ผู้คนที่ว่ายน้ำหนีตายมาอาศัยบนเกาะเป็นจำนวนมากต่างขาดอาหารและน้ำ จึงคิดทำร้ายพญาเต่า
ในครั้งนั้นพญาเต่าโพธิสัตว์คิดว่า เมื่อชาวบ้านต่างเดือดร้อนถึงขนาดต้องคิดฆ่าตัวเราเพื่ออยู่รอด จึงมีจิตอนุเคราะห์กลิ้งตัวจากภูเขาหมายจะบริจาคทานด้วยเลือดและเนื้อของตน ผู้คนเหล่านั้นจึงได้อาศัยเนื้อมาบริโภค แล้วเอากระดองทำเป็นพาหนะกลับสู่บ้านเมืองอย่างปลอดภัย
ภายหลังผู้คนเหล่านั้นระลึกถึงบุญคุณของพญาเต่าเรือน จึงได้วาดภาพไว้สักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล
กาลต่อมาจึงได้มีการสร้างวัตถุมงคลรูปเต่า ลงอักขระเลขยันต์ปลุกเสกและบูชาสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ด้วยอานุภาพแห่งมหาทานอันยิ่งใหญ่ในครั้งนั้น
วัตถุมงคล "พญาเต่าเรือน" พระเกจิที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคือ "หลวงปู่หลิว ปัณณโก" อดีตเจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เกจิอาจารย์ดัง เป็นเจ้าตำรับ "เหรียญพญาเต่าเรือน" อันเลื่องชื่อ
ทั้งนี้ คณะศิษย์ "หลวงปู่แสน ปสันโน" วัดบ้านหนองจิก อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญพญาเต่าแสนมงคล ทวีทรัพย์"
นับเป็นครั้งแรก ในการจัดสร้างเหรียญพญาเต่าบรรจุกริ่ง ซึ่งผสานจุดเด่นของพญาเต่าหลวงปู่หลิว วัดไร่แตงทอง และพญาเต่าของหลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย อักขระเลขยันต์สมบูรณ์ตามการสร้างของบูรพาจารย์สายพญาเต่า
พญาเต่าแสนมงคล ทวีทรัพย์ จัดสร้าง 2 ขนาด ได้แก่ พิมพ์ใหญ่บรรจุกริ่ง และพิมพ์เล็กไม่บรรจุกริ่ง
ลักษณะเป็นรูปเต่า มี 4 ขา ปลายหัวด้านบนมีหู ลักษณะเดียวกับหูเหรียญ ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่แสนครึ่งองค์หันหน้าตรง ด้านหลังเป็นอักขระยันต์
ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ในวาระสำคัญ 2 วาระ พร้อมกับพระขุนแผนแสนมงคลพิมพ์เล็ก
วาระที่ 1 นำฤกษ์ พิธีสมโภชหน้า พระประธาน ซึ่งในพิธีดังกล่าว มีพระเกจิคณาจารย์สายเมตตา อาทิ หลวงปู่บุญหลาย, หลวงปู่อุดมทรัพย์ ร่วมพิธีสวดชัยมงคลคาถาข้ามคืน ที่โบสถ์วิหารวัดบ้านหนองจิก จ.ศรีสะเกษ โดยช่วงเวลาก่อนเที่ยงของวันที่ 5 ก.ค.2562 หลวงปู่แสนแผ่เมตตาอธิษฐานจิตให้ เพื่อเป็นสิริมงคล
และวันที่ 12 ก.ค.2562 วาระสำคัญอีกครั้งในวิหารหลวงปู่หลิวขี่เต่า ที่วัดไร่แตงทอง จ.นครปฐม โดยพระอาจารย์สายชล จิตตกาโร เจ้าอาวาสวัดไร่แตงทอง เมตตาปลุกเสกเดี่ยวให้อย่างยาวนาน
รายได้ในการเปิดให้บูชาสั่งจองวัตถุมงคลรุ่นนี้ จะถวายให้กับหลวงปู่แสน เพื่อสร้างภาพจิตรกรรมพุทธประวัติประดับบนผนังโบสถ์ ศาลาการเปรียญ ที่วัดบ้านหนองจิก ให้เสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากหลวงปู่แสน ปสันโน มีอายุครบ 112 ปี ในปี พ.ศ.2562
มวลสารในการจัดสร้างพระเนื้อผง พระขุนแผนแสนมงคลพิมพ์เล็ก ได้แก่ ผงอังคารธาตุศิษย์บูรพาจารย์หลวงปู่มั่น, ผงว่าน 108, ผงเหล็กไหล, ผงเหล็กน้ำพี้, ผงไม้มงคล 9 อย่างพญางิ้วดำ, เครือเถาหลง, ว่านดอกทอง, ผงพรายกุมาร และจีวร เกศา หลวงปู่แสน พระธาตุข้าวบิณฑ์ครูบาชัยวงศา แร่ดูดทรัพย์หลวงพ่อประสิทธิ์ พลอยเสก ผงไม้เสาโบสถ์เก่า วัดหนองบัว สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่หลวงปู่ยิ้มปฏิบัติศาสนกิจ และผงดินยอดจอมปลวก
ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #27 เมื่อ:
11 พฤศจิกายน 2562 12:50:22 »
หลวงพ่อโศก วัดปากคลองบางครก
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระครูอโศกธรรมสาร (หลวงพ่อโศก) วัดปากคลองบางครก ท่านก็เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากรูปหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี เครื่องรางของขลังที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันดี ก็คือพระขรรค์แกะจากเขาควายเผือกที่โด่งดังมาก นอกจากนี้ก็ยังมีเหรียญหล่อพระจันทร์เสี้ยว ที่เป็นเหรียญหล่อรุ่นแรกของท่าน ปัจจุบันหายากครับ
พระครูอโศกธรรมสาร หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงพ่อโศก วัดปากคลอง (ชาวบ้านชอบเรียกว่า "วัดปากคลองบางครก") ท่านเกิดเมื่อวันอังคาร ปี พ.ศ. 2415 ที่บ้านแควใหญ่ ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี โยมบิดาชื่อ พันธุ์ โยมมารดาชื่อ นาก เมื่อท่านอยู่ในวัยอันสมควรบิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอธิการเพิ่ม วัดสวนทุ่ง ท่านเป็นคนที่สนใจในการศึกษาเล่าเรียน จึงสามารถอ่านออกเขียนได้อย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นพออายุครบบวชบิดามารดาก็ได้อุปสมบทให้ ที่วัดปากคลอง ในปี พ.ศ.2435 ได้รับนามฉายาว่า "สุวณฺโณ" โดยมีพระอธิการคล้ำ วัดปากคลอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการทรัพย์ วัดเขาตะเครา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเพิ่ม วัดทุ่งสวน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้อยู่ปฏิบัติพระอุปัชฌาย์พอสมควรแล้ว ท่านก็ได้เดินทางมาอยู่ที่วัดมหาธาตุฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย บาลีไวยากรณ์ และวิปัสสนากรรมฐาน ในสำนักพระอธิการครุฑ ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนาธุระ ศึกษาอยู่ได้ปีเศษๆ พระอธิการครุฑท่านก็ถึงแก่มรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษาต่อกับพระสุวรรณมุนี (ฉุย) วัดคงคาราม ต่อมาในปี พ.ศ.2447 พระอธิการหลุบ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุสืบแทน แต่ก็ดำรงตำแหน่งได้เพียงปีเศษเท่านั้น วัดปากคลองก็ว่างเจ้าอาวาสลง ชาวบ้านบางครกต่างก็มานิมนต์หลวงพ่อโศกให้ไปช่วยเป็นเจ้าอาวาสและช่วยพัฒนาวัดให้ หลวงพ่อจึงต้องกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากคลอง
หลังจากที่ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดปากคลองแล้ว ก็ได้จัดระเบียบและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมให้เรียบร้อย สร้างศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ ศาลาบำเพ็ญกุศล โรงเรียน พระอุโบสถ จนวัดปากคลองเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ.2452 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวดบางครก พ.ศ.2465 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2478 เป็นเจ้าคณะอำเภอบ้านแหลม และเป็นพระครูอโศกธรรมสาร
หลวงพ่อโศกออกบิณฑบาตทุกวัน และทำวัตรเช้าเย็นมิได้ขาด ท่านมีเมตตาปรานีแก่ทุกผู้ทุกนาม จึงเป็นที่รักเคารพของชาวบ้านเป็นอย่างมาก หลวงพ่อท่านมรณภาพในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2482 สิริอายุได้ 67 ปี พรรษาที่ 47 หลวงพ่อท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น พระขรรค์เขาควายเผือก ตะกรุด ผ้ายันต์ น้ำเต้ากันไฟ ปลัดขิก พระเนื้อผงและเนื้อชิน เหรียญรุ่นแรกคือเหรียญจันทร์เสี้ยว สร้างปี พ.ศ.2465 ยังมีเหรียญพระพุทธชินราช ปี พ.ศ.2468 และยังมีอีกหลายเหรียญ
วันนี้ผมได้นำเหรียญหล่อโบราณพระจันทร์เสี้ยว จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องราง ของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
เหรียญพญาเต่าเรือน หลวงปู่ขำ
"หลวงปู่ขำ เกสโร" หรือ "พระครูโสภณสราธิการ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม พระเถระที่อายุพรรษามากที่สุดรูปหนึ่งของเมืองมหาสารคาม เป็นพระเถระทรงศีลบริสุทธิ์สมถะ
ปัจจุบัน สิริอายุ 93 ปี พรรษา 73
เกิดที่บ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม
เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดบ้านค้อธิ มีหลวงปู่รอด พรหมสโร วัดหนองกุง อ.นาเชือก เป็นพระอุปัชฌาย์
ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่เนาว์ ยโสธโร อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง
พ.ศ.2512 หลวงปู่เนาว์อาพาธหนัก จึงได้สั่งให้ญาติโยมไปนิมนต์มาจำพรรษา ที่วัดบ้านหนองแดง
ต่อมาภายหลังหลวงปู่เนาว์มรณภาพ ท่านได้รับการแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสตราบจนปัจจุบัน
เป็นพระที่เคร่งครัดในธรรมวินัย วัตรปฏิบัติดี ร่วมมือกับญาติโยม ทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัดอย่างต่อเนื่อง
ในปี พ.ศ.2562 เนื่องจากวัดหนองแดงมีโครงการก่อสร้าง "เจดีย์บูรพาจารย์" ประดิษฐานไว้ที่วัดหนองแดง แต่ยังขาดปัจจัยอยู่จำนวนมาก คณะศิษยานุศิษย์ที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ขำ นำโดย "เล็ก มหาบัณฑิต" และ "ตา ยางนคร" ขออนุญาต หลวงปู่ขำ จัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญ "พญาเต่าเรือนกฐิน 62 เศรษฐี อายุยืน" เพื่อมอบให้กับผู้บริจาคสมทบทุนสร้างเจดีย์บูรพาจารย์ให้แล้วเสร็จ
วัตถุมงคลรุ่นนี้ ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงเต่ามีหัวและหาง
ด้านหน้าที่ขาเต่าและหัวเต่า มีอักขระยันต์ อ่านว่า นะ มะ พะ ทะ คาถาหัวใจธาตุ 4 บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์ห่มจีวรเฉียง ที่บริเวณสังฆาฏิมีอักขระยันต์ ที่ขอบเหรียญด้านขวาเขียนว่า หลวงปู่ขำ เกสาโร วัดหนองแดง ส่วนขอบเหรียญด้านซ้ายเขียนว่าพญาเต่าเรือนเศรษฐี อายุยืน
ด้านหลังบริเวณกลางเหรียญเป็นอักขระยันต์พญาเต่าเรือน ล้อมรอบด้วยคาถาพระเจ้า 16 พระองค์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน
จำนวนการสร้าง อาทิ เนื้อทองคำ ไม่เกิน 11 เหรียญ เนื้อเงินไม่ตัดปีกตอก 9 รอบหน้ากากทองคำ 32 เหรียญ เนื้อนวโลหะลงยาธงชาติหน้ากากทองคำ 62 เหรียญ เนื้อนวะธงชาติหน้ากากเงิน 199 เหรียญ และชุดของขวัญรับพระ 7 เหรียญ สร้าง 100 ชุดเป็นต้น
ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก จัดขึ้นในวันที่ 25 ต.ค.2562 นี้ ที่ปะรำพิธีวัดหนองแดง โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่ขำ เกสโร, หลวงปู่เสาร์ ธัมมโชโต, พระครูเหมสารคุณ (ทองดี) เป็นต้น
ข่าวสดออนไลน์
องคตหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางของขลังต่างๆ เป็นของคู่กับคนไทยที่มีมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นของที่เกิดขึ้นเองแล้วผิดธรรมชาติ ที่เรียกว่าของทนสิทธิ์ เช่น คดต่างๆ เขี้ยวหมูตัน เขี้ยวเสือกลวง งาช้างดำ เขากวางคุด กะลาตาเดียว หมากทุย เป็นต้น เหล่านี้เชื่อกันมาแต่โบราณว่าเป็นของดีในตัว แล้วนำมาให้พระเกจิอาจารย์ปลุกเสกให้ เพื่อไว้คุ้มครองป้องกันตัว อีกทั้งเครื่องรางของขลังที่พระเกจิสร้างขึ้น เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ เสื้อยันต์ ลูกอม แหวนพิรอด หรือเครื่องรางรูปสัตว์ต่างๆ เช่น เสือ สิงห์ วัวธนู ควายธนู แพะ ลิง หนุมาน ปลัดขิก นกสาลิกา ปลาตะเพียน เต่า จิ้งจก แม้กระทั่งรักยม กุมารทอง และหุ่นยนต์ เป็นต้น ก็เรียกรวมกันเป็นประเภทเครื่องรางของขลัง ซึ่งเชื่อกันว่าพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ท่านได้ปลุกเสกไว้ให้แก่ศิษย์เพื่อคุ้มครองป้องกันตัว หรือเพื่อเป็นเมตตามหานิยม เพื่อการค้าขาย เป็นต้น
เครื่องรางของขลังประเภทที่แกะเป็นรูปต่างๆ เช่น เสือ สิงห์ ลิง หนุมาน แพะ ก็มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ได้ปลุกเสกไว้หลายอย่าง และปัจจุบันก็หายากเป็นที่นิยม ของผู้นิยมเครื่องรางของขลังมาก อุปเท่ห์ในการสร้างและใช้ก็ต่างกันไปแต่ละเกจิอาจารย์ อย่างเช่นหลวงพ่อปานวัดบางกระสอบ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบอันโด่งดัง หลวงพ่อปานได้สร้างองคตไว้แจกจ่ายให้แก่ลูกศิษย์ ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ
วัดบางกระสอบเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่โบราณหลายร้อยปี พระเกจิอาจารย์ที่พอสืบทราบได้ก็คือหลวงพ่อปาน แต่ประวัติของท่านนั้นไม่ได้มีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีแต่คำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเดียวกับหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย และมรณภาพเมื่อประมาณปี พ.ศ.2446 และท่านก็ได้สร้างเครื่องรางของขลังที่เป็นรูปองคตอันโด่งดังของเมืองสมุทรปราการ มูลเหตุที่หลวงพ่อปาน ได้สร้างองคตนั้นมีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า มีปีหนึ่งหลวงพ่อปานได้ให้ช่างมาซ่อมหลังคาโบสถ์ ซึ่งชำรุดน้ำฝนรั่ว ช่างที่มามุงกระเบื้องใหม่อยู่ดีๆ ก็พลัดตกลงมา พอขึ้นไปเปลี่ยนกระเบื้องใหม่ก็พลัดตกลงมาอีก เป็นอยู่หลายครั้งหลายหน จนพวกช่างต่างก็กลัวไม่กล้าที่จะขึ้นไปบนหลังคาโบสถ์กันอีก ลูกศิษย์ก็ไปบอกหลวงพ่อปานว่าช่างกลัวไม่กล้าขึ้นบนหลังคาโบสถ์ เพราะตกลงมาแล้วหลายคน หลวงพ่อปานก็บอกว่าไม่เป็นไรเดี๋ยวจะทำของให้ขึ้นไปทำใหม่ได้ จากนั้นหลวงพ่อปานก็ได้บอกกับลูกศิษย์ให้เอาด้ามตาลปัตรเก่าๆ ที่ชำรุดมาให้แล้วให้แกะเป็นรูปองคต มีหางขมวดเป็นฐาน เมื่อแกะเสร็จหลวงพ่อปานปลุกเสกและแจกให้แก่ช่างที่มาซ่อมหลังคาโบสถ์ แล้วบอกว่าเอาขึ้นไปใหม่ทีนี้ไม่ต้องกลัวว่าจะตกลงมา ช่างก็เริ่มมั่นใจปีนขึ้นไปซ่อมหลังคาโบสถ์จนเสร็จเรียบร้อยโดยไม่มีใครตกลงมาอีกเลย ก็เป็นที่โจษขานกันมากในสมัยนั้น
ต่อมาลูกศิษย์หลวงพ่อปานที่สงสัยว่าทำไมหลวงพ่อจึงให้แกะเป็นรูปองคต หลวงพ่อก็เล่าเรื่ององคตให้ฟังว่า องคตเป็นลูกของพาลี และเป็นทหารเอกของพระราม องคตผู้นี้มีฤทธิ์มากไม่กลัวใคร ตอนที่พระรามใช้ให้ไปเจรจากับทศกัณฐ์นั้นก็ได้แผลงฤทธิ์ไว้มาก ตอนที่เข้าไปในวังของทศกัณฐ์เห็นว่าทศกัณฐ์นั่งอยู่บนบัลลังก์สูง องคตจึงเอาหางมาม้วนขดจนสูงนั่งบนหางเสมอกับทศกัณฐ์แล้วค่อยเจรจา
แสดงว่าองคตไม่กลัวทศกัณฐ์ และไม่ยอมก้มหัวให้คนไม่ดี ด้วยฤทธิ์เดชขององคตตามเรื่องรามเกียรติ์จึงนำมาสร้างเครื่องรางของขลัง แจกให้แก่ช่างที่มาซ่อมหลังคาโบสถ์ ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อปานก็อยากได้บ้าง หลวงพ่อก็ให้แกะเป็นรูปองคตแจกให้ไป ตลอดจนชาวบ้านในแถบนั้นก็มาขอองคตหลวงพ่อกันมาก จนด้ามตาลปัตรชำรุดไม่มีเหลือ ก็ได้นำไม้พุดมาแกะบ้างก็มี ช่างที่แกะก็มีอยู่หลายฝีมือ ดังนั้นเวลาเช่าหาก็ต้องพิจารณาให้ดีว่าใช่องคตหลวงพ่อปานหรือเปล่า เพราะของปลอมก็มี เนื่องจากมีคนเสาะหากันมากและมีราคาสูงในปัจจุบัน เช่าหาจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านจะดีกว่า
องคตของหลวงพ่อปานนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด เมตตามหานิยม ปัจจุบันหายากมาก วันนี้ผมได้นำรูปขององคตหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
เหรียญเต่ามังกรรวยทันใจ หลวงปู่ถนอม
หลวงปู่ถนอม จันทวโร หรือ พระครูโพธาภิวัฒน์ รองเจ้าคณะอำเภอโพนสวรรค์ และเจ้าอาวาสวัดขามเตี้ยใหญ่ ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม พระป่าที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตร ปฏิบัติดี เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา
เป็นศิษย์สืบสายธรรมของหลวงปู่สนธิ์ สุรชโย วัดท่าดอกแก้วเหนือ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ศิษย์เอกหลวงปู่ศรีทัตถ์ ญาณสัมปันโน เกจิผู้สร้างพระธาตุท่าอุเทน พระพุทธบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และพระบาทโพนฉัน สปป.ลาว
ดำรงชีวิตอยู่ในวัย 79 ปี พรรษา 59
มีนามเดิมว่า ถนอม นนทศรี เกิดวันจันทร์ที่ 1 มี.ค.2438 ปีมะโรง ที่บ้านขามเตี้ยใหญ่ ต.นาขมิ้น อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม
ขณะอายุ 18 ปีบวชเณรที่อุโบสถวัดโพธิ์ศรี บ.ขามเตี้ยใหญ่ ต.ขามเตี้ยใหญ่ อ.ท่าอุเทน (ในขณะนั้น)
พ.ศ.2503 เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีหลวงปู่สนธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูโสตถิรธรรมคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่ที เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ศึกษาพระปริยัติธรรมที่สำนักวัดศรีทอง ต.โพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จบนักธรรมชั้นเอก ร่ำเรียนวิทยาคมจากหลวงปู่สนธิ์ ผู้เป็นอาจารย์นาน 7 ปี จนช่ำชอง
ธุดงค์ไปในภาคเหนือของลาว ศึกษาคัมภีร์มูลกัจจายน์ อักษรธรรม ขอม และลาว ก่อนเดินธุดงค์ต่อฝึกกัมมัฏฐานภูเขาควาย ฝั่งลาว พ.ศ.2538 หยุดธุดงค์กลับสู่วัดมาตุภูมิจนปัจจุบัน
เดือน มี.ค.2562 คณะศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญพญาเต่ามังกร รุ่นรวยทันใจ หลวงปู่ถนอม
วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้สมทบบำรุงเสนาสนะภายในวัดให้แล้วเสร็จ
วัตถุมงคลจัดสร้างเป็นหลายเนื้อด้วยกัน มีเนื้อทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อเงินหน้าทองคำเต็มแผ่น 19 เหรียญ, เนื้อเงินลงยาลายธงชาติ 168 เหรียญ, เนื้อแร่เหล็กเปียกพระธาตุหน้ากากทองทิพย์หลังจารยันต์ 80 เหรียญ, เนื้อสัมฤทธิ์ชุม 3K (งานพรีเมียมจิวเวลรี่) 333 เหรียญ, และชุดกรรมการ 333 เหรียญ
ด้านหน้าเหรียญ เป็นเหรียญรูปเต่า ส่วนหัวเป็นหัวมังกร เท้าเต่าทั้ง 4 ข้างสลักตัวหนังสือข้างละ 1 ตัวอ่านว่า นะ มะ พะ ทะ ใต้หัวมังกรสลักยันต์อุณาโลม ด้านข้างใบหูด้านซ้ายสลักยันต์เต่าต้นตำรับหลวงปู่หลิว วัดไร่แตง ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ใน ท่านั่งขัดสมาธิ บนแท่นฐานพญานาค 2 เศียรขดหาง ด้านล่างสลักคำว่า รวยทันใจ
ด้านหลังเหรียญ แบนราบ หัวเต่าสลักอักขระยันต์ นะฤๅชา เท้าเต่า 4 ข้างสลักอักขระข้างละ 1 ตัวอ่านว่า นะ มะ พะ ทะ ตรงกลางเหรียญสลักอักขระ 2 บรรทัดซึ่งเป็นอักขระประจำตัวหลวงปู่ซึ่งใช้ทำเหรียญรุ่นแรก ถัดจากอักขระสลักตัวหนังสือ 4 บรรทัด อ่านว่า หลวงปู่ถนอม จันทวโร วัดขามเตี้ยใหญ่ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม พ.ศ.๒๕๖๒ หางเต่าสลักยันต์ อุ
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกหน้าองค์พญาศรีสัตตนาคราช ริมฝั่งแม่น้ำโขง วันที่ 23 พ.ย.2562 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป มีหลวงปู่ถนอม นั่งอธิษฐานจิตปลุกเสก
ข่าวสดออนไลน์
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 พฤศจิกายน 2562 15:46:57 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #28 เมื่อ:
02 ธันวาคม 2562 14:41:23 »
เครื่องรางทองคำเศรษฐี หลวงปู่ทองคำ
หลวงปู่ทองคำ โสรวโร อาศรมป่าช้าแคนทะเล ต.สระบัว อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ ได้ชื่อว่าเป็นพระเกจิที่มีวัตรปฏิบัติสมถะเรียบง่าย เสมอต้นเสมอปลาย ได้รับความเคารพเลื่อมใส
ปัจจุบันสิริอายุ 93 พรรษา 31
นามเดิม ทองคำ แกชวดดง เกิดเมื่อปี พ.ศ.2469 ที่บ้านแคนทะเล ต.สระบัว อ.สตึก จ.บุรีรัมย์
อายุ 14 ปี เข้าพิธีบรรพชา ที่วัดบ้านยางสีสุราช จ.มหาสารคาม มุมานะศึกษาพระธรรมวินัยสอบได้นักธรรมชั้นโท พร้อมกับฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาไสยเวทกับอดีตพระเกจิอาจารย์หลายท่านในยุคนั้น แต่ในช่วงที่เรียนนักธรรมชั้นเอก เกิดอาพาธหนัก จึงลาสิกขาออกมารักษาตัวที่บ้าน
ในปี พ.ศ.2532 เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดเทพทราวาส ต.แคนดง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ (ปัจจุบัน ขึ้นอำเภอแคนดง) โดยมีพระครูอรุณปัญญาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
ด้วยความที่ท่านมีอุปนิสัยชมชอบความสันโดษ จึงไปจำพรรษาในป่าช้าประจำหมู่บ้าน หลวงปู่ปฏิบัติธรรมฝึกสมาธิ เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติเป็นอย่างมาก ก่อนตัดสินใจออกเดินธุดงค์จาริกไปทั่วประเทศ
ต่อมา ในปี พ.ศ.2557 อาพาธหนัก ลูกหลานญาติโยมเกิดความเป็นห่วง จึงได้สร้างอาศรมป่าช้าแคนทะเล ให้หลวงปู่ที่ท้ายหมู่บ้าน ท่านรับนิมนต์จำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่อาศรมแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน
เนื่องจากอยู่ในช่วงบั้นปลายของชีวิตมักเกิดอาพาธ "พระครูปลัดสุรินทร์ ภัททมุนี" ซึ่งให้ความเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ทองคำ จึงมีโครงการที่จะหาปัจจัยสมทบทุน เพื่อเป็นกองทุนการกุศลและกองทุนรักษาธาตุขันธ์ รวมทั้งช่วยเหลือพระสงฆ์ที่อาพาธ จึงจัดสร้างวัตถุมงคล "เครื่องรางทองคำเศรษฐี" เพื่อมอบให้กับพุทธศาสนิกชนที่ร่วมทำบุญ
วัตถุมงคลรุ่นนี้ จำลองจากเงินตำลึงจีน ในสมัยโบราณที่เรียกว่า "หยวนเป่า" หรือ "ง้วนป้อ" ลักษณะเป็นแท่งเงินปลายโค้งสูงทั้งสองข้าง มีรูปร่างคล้ายเรือ ด้านข้างมีอักขระยันต์ พร้อมตัวอักษรเขียนคำว่า ทองคำเศรษฐี ส่วนอีกด้าน เขียนคำว่า มีความสุขและให้ร่ำรวย ใต้ฐานบรรจุอุดผงพุทธคุณ ผงว่านสายเมตตา สายโภคทรัพย์ และลงอักขระยันต์คาถาหัวใจมหาเศรษฐี
สำหรับวัฒนธรรมจีน หยวนเป่า เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งร่ำรวย จึงนับว่า เครื่องรางทองคำเศรษฐี รุ่นนี้ เป็นสุดยอดวัตถุมงคลแห่งยุค มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน อาทิ โชคลาภ แคล้วคลาด ค้าขาย หนุนดวง หนุนชีวิต จากร้ายให้กลายเป็นดี เป็นต้น
จำนวนสร้าง อาทิ นำฤกษ์เนื้อเงินอุดผงพรายกุมารฝังตระกรุดทองคำสร้าง 80 ก้อน นำฤกษ์เนื้อแร่เหล็กไหลอุดผงพรายกุมารฝังตะกรุดทองคำ สร้าง 149 ก้อน เนื้อเหล็กน้ำพี้ชุบทอง 3 กษัตริย์อุดผงพรายกุมาร-พลอยมหาลาภ 199 ก้อน เป็นต้น
พิธีพุทธาภิเษก วันที่ 30 ธ.ค.2562 ที่วัดสุทธาวาสวิปัสสนา พระเกจิร่วมพิธี อาทิ หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย จ.พระนครศรี อยุธยา อธิษฐานจิตนำฤกษ์ หลวงปู่ทองคำ โสรวโร จ.บุรีรัมย์, หลวงปู่ปัน จ.นครปฐม, หลวงปู่บุญมา จ.ปราจีนบุรี, หลวงปู่หลักชัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
ข่าวสดออนไลน์
พญากบกินเดือน หลวงปู่เสาร์
พระครูสังฆรักษ์เสาร์ ธัมมโชโต หรือ หลวงปู่เสาร์ ธัมมโชโต เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี บ้านโคกศรี ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พระเกจิที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนทั้งในและนอกพื้นที่
ปัจจุบันสิริอายุ 101 ปี พรรษา 34
นามเดิม นายเสาร์ ศิริพล เกิดเมื่อวันที่ 3 ม.ค.2462 ที่บ้านหนองแวง ต.แวงน่าง อ.เมือง จ.มหาสารคาม ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา
หลังจบการศึกษาระดับประถมศึกษาชั้น ป.4 จากโรงเรียนในหมู่บ้านแล้ว ออกมาช่วยงานครอบครัวด้วยความขยันขันแข็ง
จนถึงปีพ.ศ.2528 เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส จึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เข้าพิธีอุปสมบทที่อุโบสถวัดใต้แวงน่าง อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยมีพระครูชัยสิทธิคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์พระเทพสารคามมุนี เจ้าอาวาสวัดอภิสิทธิ์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม)
ภายหลังอุปสมบทออกจาริกแสวงหาโมกขธรรมไปตามป่าเขาหลายแห่งในภาคอีสาน โดยเฉพาะเทือกเขาภูพาน
จากนั้นจึงกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านหนองแวง บ้านเกิด ต่อมาวัดโพธิ์ศรี บ้านโคกศรี ต.หนองปลิง อ.เมือง จ.มหาสารคาม ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดว่างลง คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้ท่านมาอยู่จำพรรษา และให้ดำรงตำแหน่งตราบจนปัจจุบัน
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสังฆรักษ์ ฐานานุกรม พระเทพสารคามมุนี ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม
สำหรับวัดโพธิ์ศรี บ้านโคกศรี แห่งนี้เป็นวัดที่อยู่ในชนบทยังขาดแคลน คณะศิษยานุศิษย์ นำโดย "อ้อด ศิลาอาสน์" จึงได้ขออนุญาตจัดสร้างเครื่องรางพญากบกินเดือน รุ่นแรก
สำหรับเครื่องรางพญากบกินเดือน เป็นเครื่องรางที่มีการสร้างมาตั้งแต่สมัยโบราณ วัตถุประสงค์การสร้างเพื่อจะได้มอบตอบแทนแก่พุทธศาสนิกชนที่มีจิตศรัทธาบริจาคร่วมทำบุญพัฒนาวัด
เครื่องรางพญากบกินเดือน ออกแบบได้สวยงาม เป็นรูปพญากบ ในท่านั่งขัดสมาธิมือสองข้างกำลังจับเดือน (พระจันทร์) ใส่เข้าไปในปาก ที่เดือนมีตัว ส บาลีตัวย่อชื่อหลวงปู่เสาร์ ส่วนด้านหลังจะมีอักขระยันต์ นะโมพุทธายะ พุทธคุณรอบด้าน
จำนวนการสร้างน้อยมาก ประกอบด้วย เนื้อเงิน เนื้อนวะ เนื้อตะกั่วทวารวดี-นาดูน สร้างเป็นชุดรวม 38 ชุด เนื้อเมฆสิทธิ์ 99 ตัว เนื้อเหล็กน้ำพี้ 168 ตัว เนื้อมหาชนวน 499 ตัว เนื้อกระพรวนเรียกทรัพย์ 168 ตัว เนื้อมหาชนวน 168 ตัว เนื้อกระพรวนเรียกทรัพย์ 199 ตัว เป็นต้น
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกภายในอุโบสถวัดบ้านกุดแคน ต.หนองโน อ.เมือง จ.มหาสารคาม เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ต.ค.2562 โดยมีพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมนั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิ หลวงปู่เสาร์ ธัมมโชโต วัดโพธิ์ศรี จ.มหาสารคาม, หลวงปู่ขำ เกสโร วัดหนองแดง จ.มหาสารคาม, หลวงปู่พา สุนทโร วัดฮ่องแฮ จ.ร้อยเอ็ด เป็นต้น
ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #29 เมื่อ:
10 มกราคม 2563 15:40:45 »
เหรียญพญาเต่าเสาร์ 5 หลวงปู่แสน
หลวงปู่แสน ปสันโน หรือ "เทพเจ้าแห่งภูเขาฝ้าย" แห่งวัดบ้านจิก หมู่ 2 ต.ภูฝ้าย อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดังอีสานใต้
ขณะบวชเณรศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อมุม อินทปัญโญ วัดปราสาทเยอใต้ จนจบชั้น ป.4 ร่ำเรียนตำราพระเวท ทั้งภาษาขอม-บาลี
อายุ 21 ปี อุปสมบทที่วัดบ้านโพง มีหลวงพ่อบุญมา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อมุม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ อายุ 24 ปี มีเหตุต้องลาสิกขาบท
หลังหมดภาระทางบ้าน จึงเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ อีกครั้ง โดยไปจำพรรษาที่วัดกุดเสล่า อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ จากนั้นย้ายไปจำพรรษาที่วัดบ้านโพง และสำนักสงฆ์วัดโนนไทย (วัดกูไทยสามัคคีในปัจจุบัน)
ต่อมาเห็นสภาพวัดหนองจิกจะกลายเป็นวัดร้าง จนอายุ 97 ปี ลูกหลานจึงไปนิมนต์กลับมาจำพรรษาสืบมา
ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง เมื่อเวลา 22.45 น. วันที่ 25 ก.ค. 2562 หลวงปู่แสนละสังขารอย่างสงบที่กุฏิ สิริอายุ 112 ปี ท่ามกลางความเศร้าสลดของคณะศิษย์
เมื่อเดือน เม.ย. 2562 คณะศิษย์หลวงปู่แสน คือ ทีมงาน "แสนยานุภาพ" ได้ขออนุญาตหลวงปู่แสน จัดสร้างวัตถุมงคล เป็นเหรียญพญาเต่าหัวมังกร หลวงปู่แสน "รุ่นเสาร์ 5 รับทรัพย์ เงินไหลมา" เพื่อจัดหารายได้สมทบสร้างอุโบสถ
จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 9 เหรียญ, เนื้อนวะผสมแร่เจ้าน้ำเงินหน้ากากเงินลงยา 99 เหรียญ, เนื้ออัลปาก้าเปลือกมุกลงยา 199 เหรียญ, เนื้อนวโลหะผสมแร่เจ้าน้ำเงินหน้ากากเงินลงยาจีวร ลงยาราชาวดี ชนิดละ 168 เหรียญ
เนื้ออัลปาก้าลงยาราชาวดี 4 สี เนื้อชนวนชุบ 3 กษัตริย์หน้ากากลงยาน้ำเงิน แดง ชนิดละ 250 เหรียญ, เนื้อชนวนเสาร์ 5 แช่น้ำมนต์ 1,999 เหรียญ
ด้านหน้าเป็นเหรียญรูปทรงเต่าหัวมังกร ขอบเหรียญส่วนนอกฝั่งซ้ายสลักตัวหนังสือคำว่า ที่ระลึกสร้างอุโบสถวัดบ้านหนองจิก ๒๕๖๒ ขอบเหรียญฝั่งขวาสลักคำว่า หลวงปู่แสน ปสันโน อายุวัฒนมงคล ๑๑๑ ปี วงรอบถัดวงรีสลักอักขระคาถาเรียกทรัพย์ เงินล้าน มหาเศรษฐี โภคทรัพย์ เรียกเงินทอง ตรงกลางเหรียญสลักรูปเหมือนพระสังกัจจายน์ถือถุงเงินถุงทอง ฐานมีเงินจีนโบราณเรียงเป็นชั้น ด้านล่างสลักตัวหนังสือคำว่า รับทรัพย์เงินไหลมา
ด้านหลัง มียันต์มหาเศรษฐี ยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ ยันต์พุฒซ้อน ยันต์โสฬส ยันต์หัวใจเศรษฐี ยันต์มหาลาภ ยันต์ธงชัยมหาโชค คาถาพระพุทธเจ้า 16 พระองค์ คาถาหัวใจธาตุ 4 คาถาหัวใจพระไตรปิฎก คาถาหัวใจพระสังกัจจายน์
มีพิธีปลุกเสก 8 วาระ วาระที่ 1 ตรงกับเสาร์ 5 มีพระเกจิชื่อดัง อาทิ หลวงปู่แสน ปสันโน, พระอาจารย์ปั่น กวิสสโร วัดใหม่กระทุ่มล้ม จ.นครปฐม, หลวงปู่แสง จันทวังโส วัดโพธิ์ชัย จ.นครพนม เป็นต้น นั่งปรกอธิษฐานจิต
ข่าวสดออนไลน์
ท้าวเวสสุวัณ รุ่นทรัพย์อุดมรังสี
พระครูอุดมรังสี หรือ หลวงปู่แสง จันทวังโส อดีตเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดโพธิ์ชัย บ้านโพนตูม หมู่ 4 ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม
ปัจจุบันอยู่ในวัย 108 ปี พรรษา 89
เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า และยังเป็นสหธรรมิกหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม
ชาติภูมิ มีชื่อเดิมว่า นายแสง วงค์ ตาผา เกิดเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2454 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นชาวบ้านดอนโทน ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม
อุปสมบท ที่วัดบ้านแก้ง อ.เขมราฐ โดยมีพระครูบริหารเกษมรัฐ วัดบ้านแก้ง เป็นพระอุปัชฌาย์
มุมานะศึกษาพระธรรมวินัย สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ พร้อมศึกษาวิทยาคม อักขระเลขยันต์ จนเชี่ยวชาญ
หลายปีต่อมา เมื่อหลวงปู่กลับมาจำพรรษาอยู่วัดโพธิ์ชัย บ้านโนนตูม ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม บ้านเกิด เนื่องจากท่านเป็นพระที่ปฏิบัติดี จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่"พระครูอุดมรังสี" และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย รวมทั้งเป็นเจ้าคณะตำบลก้านเหลือง
นอกจากหลวงปู่จะเป็นผู้มีพุทธาคมที่เข้มขลัง ยังเป็นพระที่เชี่ยวชาญการวิปัสสนากัมมัฏฐาน ศึกษาแนวทางปฏิบัติจากพระป่ากัมมัฏฐานสายหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
เมื่อครั้งหลวงปู่คำพันธ์ยังมีชีวิตอยู่ ท่านทั้งสองจะไปมาหาสู่กันตลอด
สำหรับวัตถุมงคลมีการจัดสร้างออกมาหลายรุ่น ทุกรุ่นล้วนได้รับความสนใจจากนักสะสมที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน
ในเดือน ก.ย.2561 คณะศิษย์ที่เลื่อมใส "เอ้ พัทยา" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเป็นท้าวเวสสุวัณ รุ่นทรัพย์อุดมรังสี เพื่อสมทบสร้างกำแพงวัดและสมทบเข้ากองทุนดูแล หลวงปู่ในวัย 108 ปี
จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ 11 องค์, เนื้อเงินฐานทองคำ 11 องค์, เนื้อเงิน 199 องค์, เนื้อนวะ 399 องค์, เนื้อกะไหล่ทอง 399 องค์, เนื้อสัมฤทธิ์ 999 องค์ เนื้อทองแดงเถื่อน 1,599 องค์ และผ้ายันต์ท้าวเวสสุวัณ สีแดงขนาด 14X20 นิ้ว 599 ผืน, สีขาวขนาด 8X12 นิ้ว 999 ผืน
ด้านหน้าท้าวเวสสุวัณ รุ่นทรัพย์อุดมรังสี หรือ ยักษ์เจ้าแห่งทรัพย์ ความกว้าง 1 เซนติเมตร สูง 3 เซนติเมตร ยืนถือกระบอง บริเวณส่วนฐานสลักอักขระ 5 ตัว
ด้านหลังส่วนฐาน สลักตัวหนังสือคำว่า วัดโพธิ์ชัย ใต้ก้นฐานอุดผงมวลสาร และสีผึ้งของหลวงปู่ตั้งแต่ยุคแรก ผสมกับว่านยา 108 ผงพุทธคุณ ผงตะไบกริ่งรุ่นแรก ผงจากการสร้างพระผงรุ่นแรกและรุ่นสรงน้ำ เป็นต้น
ประกอบพิธีพุทธาเทวาภิเษก เมื่อวันที่ 23 พ.ย. มีหลวงปู่แสง นั่งปรกอธิษฐานจิต
ข่าวสดออนไลน์
เหรียญพรพรหม วัดเพลง
พระครูสังฆรักษ์ประสิทธิ์ สิทธิโก หรือ หลวงพ่อประสิทธิ์ เจ้าอาวาสวัดเพลงอุโบสถสีชมพู ต.ไทรม้า อ.เมืองจ.นนทบุรี สร้างเหรียญพระพรหม "รุ่นพรพรหม" ที่ระลึกร่วมทำบุญ บูรณปฏิสังขรณ์ พระอุโบสถ, วิหาร, หอระฆัง และกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
รุ่นนี้ ตั้งใจจัดสร้างและออกแบบด้วยพุทธศิลป์ที่สวยงดงามตามแบบโบราณโดยใช้มวลสาร 108 อาทิ ปรอทเพชร, ผงธูป จากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ, เกสรดอกไม้ในพิธีกรรมที่เป็นมงคลต่างๆ เก็บมากว่า 20 ปี,ผงไม้มงคล, ว่านมงคล เป็นต้น
นั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว ที่อุโบสถสีชมพู วัดเพลง จ.นนทบุรี เป็นเวลา 1 ไตรมาส และให้พระภิกษุที่จำพรรษาที่วัด สวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร 16 จบ ทุกวันพระ เป็นเวลา 1 พรรษา
ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านหน้า เป็นรูปพระพรหม มี 4 กร หัตถ์เบื้องซ้ายถือคัมภีร์ใบลาน หัตถ์เบื้องขวามีสายสร้อยไข่มุก หัตถ์ขวาถือคันโท อีกหัตถ์หนึ่งถือพิณ และหัตถ์ที่เหลือถือตรี คทา จักร สังข์ ประทับบนบัลลังก์ ด้านล่างเขียนคำว่า พรพรหม วัดเพลงอุโบสถสีชมพู ขอบเหรียญ เป็นยันต์เขียนกำกับไว้รอบทั้ง 3 ด้าน
ด้านหลัง เป็นยันต์ 12 นักษัตร เขียนยันต์ ครอบจักรวาลครบทุกด้านอยู่รอบเหรียญ อาทิ ยันต์เกาะเพชร,อิติปิโส 8 ทิศ, มงคลโสฬส 16 ซึ่งเป็นยันต์โบราณที่พระเกจิอาจารย์หลายรูปใช้กำกับ มีความหมายดีทุกด้าน ทั้งค้าขาย โชคลาภ เมตตามหานิยม "มั่นคง ร่ำรวย เงินทอง"
ร่วมทำบุญได้ที่วัดเพลงอุโบสถสีชมพู อ.เมือง จ.นนทบุรี
ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #30 เมื่อ:
04 กุมภาพันธ์ 2563 16:20:40 »
เหรียญหางแมงป่อง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญหางแมงป่องของหลวงปู่ภูวัดท่าฬ่อ จังหวัดพิจิตร เป็นเหรียญหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากในอดีต เป็นที่หวงแหนของชาวพิจิตรเหรียญหนึ่งเลยทีเดียวครับ
พระครูธุรศักดิ์เกียรติคุณ (ภู ธัมโชติ) เกิดที่อยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2398 ที่บ้านผักไห่ โยมบิดาชื่อแฟง โยมมารดาชื่อขำ ต่อมาบิดามารดาได้ย้ายมาทำมาหากินอยู่ที่บ้านหาดมูลกระบือ ต.ไผ่ขวาง อ.เมือง จ.พิจิตร ได้ศึกษาหนังสือไทย-ขอมกับพระอาจารย์นิ่ม วัดหาดมูลกระบือ พออายุได้ 16 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรม 1 ปี จึงได้สึกออกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ ทำนา จนกระทั่งอายุได้ 23 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดท่าฬ่อ โดยมีพระครูศีลธรารักษ์ (จัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการนิ่ม วัดหาดมูลกระบือ กับพระอาจารย์เรือน วัดท่าฬ่อ เป็นพระคู่สวด ได้ฉายาว่า "ธมฺมโชติ"
เดิมท่านตั้งใจว่าจะบวชแค่เพียงพรรษาเดียว แต่บวชแล้วก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมและออกรุกขมูลธุดงค์ ได้ติดตามหลวงพ่อเงิน วัดวังตะโก บางคลาน ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ฝึกจิตจนกล้าแกร่ง ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมสารพัดอย่างจากหลวงพ่อเงิน รวมทั้งพระอาจารย์อื่นๆ ที่พบกันกลางป่า นอกจากนี้ท่านยังมีความรู้ในเรื่องสมุนไพรใบยาและวิชาแพทย์แผนโบราณ
หลวงปู่ภูได้ช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยโรคต่างๆ มากมาย จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว ทั้งทางด้านน้ำมนต์รดอาบหายเคราะห์หายโศก ผีเจ้าเข้าสิงหายทุกราย ในด้านวัตถุมงคลนั้นก็มีผู้เข้ามาขอจากท่านเสมอและท่านก็เมตตาทำให้ทุกราย จนกระทั่งพรรษาที่ 10 วัดท่าฬ่อว่างเจ้าอาวาสลง ทางคณะสงฆ์พร้อมด้วยทายกทายิกา ได้ขอร้องท่านให้เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อ หลวงปู่ภูปกติท่านชอบทางวิเวกไม่มีความประสงค์จะเป็นเจ้าอาวาสแต่ก็ขัดความศรัทธาของชาวบ้านมิได้ ท่านจึงรับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าฬ่อสืบต่อมา เมื่อท่านเป็นเจ้าอาวาสแล้วก็ได้พัฒนาวัดและพัฒนาจิตใจชาวบ้านเต็มความสามารถ จนวัดท่าฬ่อเจริญรุ่งเรือง
ภายในวัดท่าฬ่อสมัยที่หลวงปู่ภูเป็นเจ้าอาวาสนั้น มีคนนำสัตว์ต่างๆ มาปล่อยที่วัด หลวงปู่ก็เมตตารับเลี้ยงไว้ มีทั้งไก่ เป็ด ห่าน สุนัข แมว จนกระทั่งถึงกวาง และไก่ป่าก็มี และหลวงปู่จะเสกข้าวเสกหญ้าให้กินก็จะเชื่องทุกตัว เคยมีคนมาลองดี เอาปืนมาแอบยิงสัตว์ต่างๆ ของวัด โดยเฉพาะกวาง แต่ยิงเท่าไหร่ก็ยิงไม่ออกจนคนยิงเข็ดไปเอง วัตถุมงคลของหลวงปู่ท่านทำไว้หลายอย่าง ทั้งพระเครื่องเป็นพระปิดตา พระพุทธ เหรียญหางแมงป่อง เหรียญใบมะยม แต่เป็นเหรียญที่ลงอักขระไว้เฉยๆ ไม่มีรูปองค์พระ ตะกรุด ผ้าประเจียดและไม้ครู เป็นต้น
วัตถุมงคลของหลวงปู่ภูมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะเรื่องคงกระพันชาตรีเชื่อถือได้ คนพิจิตรทราบดี แต่ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านก็หายากเช่นกันครับ ของปลอมมีกันมานานแล้ว เวลาเช่าหาก็ต้องดูให้ดี
วันนี้ผมขอนำรูปเหรียญหางแมงป่อง เนื้อชินตะกั่ว และตะกรุดพองครั่ง ของหลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ จากหนังสือตามรอยตำนาน สุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 คณาจารย์แดนสยามมาให้ชมกันครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
เบี้ยแก้
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเบี้ยแก้ คนโบราณนิยมนำมาห้อยติดตัวเพื่อปกป้องคุ้มครองป้องกันตัว ทั้งแก้และกันได้สารพัด เบี้ยแก้ของพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ หายาก สนนราคาสูง
เบี้ยแก้คือเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง มีกันมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา หรืออาจจะนานกว่านั้น มีตำราการสร้างเบี้ยแก้ตกทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เบี้ยแก้ก็คือการ นำเอาหอยเบี้ย ที่เรียกว่าเบี้ยพลู และเบี้ยจั่น ซึ่งเป็นหอยชนิดหนึ่ง และในยุคหนึ่งเคยนำมาเป็นเบี้ยแทนเงินตราในการซื้อ-ขาย ความเชื่อในอินเดียทางศาสนาฮินดู มีความเชื่อว่าเป็นตัวแทนพระลักษมี นิยมห้อยคอเด็ก เพื่อปกป้องคุ้มครองสรรพอันตรายต่างๆ ในวรรณคดีของไทยเราก็ยังกล่าวถึงเรื่อง เบี้ยแก้ไว้มากมาย เช่น ในเรื่องขุนช้างขุนแผน และเรื่องอิเหนา เป็นต้น
เบี้ยแก้ที่เป็นเครื่องรางของขลังของไทยเรา เท่าที่ปรากฏหลักฐานเป็นที่นิยมกันนั้น ทำมาจากเบี้ยพลูและเบี้ยจั่น โดยมีการบรรจุปรอทเข้าไปไว้ในท้องเบี้ย แล้วจึงอุดด้วยชันโรงใต้ดินปิดทับ บ้างก็หุ้มด้วยตะกั่วหรือผ้าแดงอีกครั้งหนึ่ง มีการลงอักขระลงยันต์ต่างๆ ตามสูตรของแต่ละอาจารย์ จากนั้นบ้างก็นำไปถักเชือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง เพื่อสะดวกในการพกติดตัวด้วยการคาดเอว หลังจากถักเชือกแล้ว ก็มีการลงรักหรือทายางมะพลับ เพื่อให้เชือกมีความคงทนในการใช้งาน
พุทธคุณของเบี้ยแก้นั้น มีความเชื่อว่าใช้ในการแก้และกัน สามารถคุ้มครองป้องกันมิให้สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บ คุณไสย ไม่สามารถทำร้ายได้ และปกป้องคุ้มครองผู้ที่มีเบี้ยแก้ให้พ้นภัยต่างๆ ได้ หรือแก้กันสิ่งอัปมงคลต่างๆ
เบี้ยแก้เท่าที่มีการสืบค้นได้และได้รับความนิยมมาแต่โบราณได้แก่ เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง ถือว่าเก่าแก่และหายากมาก หลวงปู่รอดท่านศึกษาวิชาเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่แขก วัดบางบําหรุ เบี้ยแก้สายนี้ก็มีสืบทอดต่อกันมาอีก เช่น หลวงพ่อม่วง วัดคฤหบดี และหลวงพ่อทัต วัดคฤหบดี
เบี้ยแก้สายวัดกลางบางแก้ว หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ศึกษาวิชาเบี้ยแก้มาจากหลวงปู่ทอง วัดกลางบางแก้ว ซึ่งหลวงปู่ทองเป็นพระธุดงค์มาจากอยุธยา ผู้สืบทอดวิชาเบี้ยแก้ต่อมาจากหลวงปู่บุญคือ หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ต่อมาก็เป็น หลวงปู่ใบ วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว
เบี้ยแก้สายจังหวัดอ่างทอง ได้แก่ หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ หลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่ หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ เป็นต้น เบี้ยทางสายอ่างทองมีทั้งที่ลงรักถักเชือก และเป็นเบี้ยเปลือย นอกจากนี้ยังมีที่เลี่ยมหุ้มด้วยโลหะเงิน ทอง และนาก โดยเจ้าของนำไปให้ร้านทองในตลาดวิเศษชัยชาญเลี่ยมให้ ในสมัยก่อน และมักจะตอกชื่อ "หมง ดำ หรือ เฮง" ซึ่งเป็นชื่อช่างทองในสมัยนั้นที่ใต้ท้องเบี้ย ส่วนมากที่เจอเลี่ยมเก่ามักจะเป็นของ หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ หรือหลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน ซึ่งเป็นเบี้ยที่มีขนาดย่อมหน่อย เหมาะแก่การเลี่ยมหุ้ม
เบี้ยแก้ตามที่ได้กล่าวไว้ขั้นต้น ปัจจุบันหายากแล้วครับ พระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสกเบี้ยแก้ตามที่กล่าวมานั้น ท่านมรณภาพหมดแล้ว อย่างเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง ตัวสวยๆ สมบูรณ์ก็ต้องมีตัวเลขหกหลักครับ เบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วก็เช่นกัน หายากมาก ตัวเลขก็ต้องมีหกหลักเช่นกันครับ เบี้ยแก้สายอ่างทอง เช่น หลวงพ่อพัก วัดโบสถ์ ก็ต้องมีหกหลักเช่นกัน นอกจากนั้นก็ว่ากันตามความหายากหาง่ายลดหลั่นกันลงมา แต่ก็มีสนนราคาสูงทั้งสิ้น และก็หาแท้ๆ ยากนะครับ ต้องเช่าหาจากผู้ที่รู้จริง หรือสืบสายการตกทอดมาครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปเบี้ยแก้ยอดนิยม ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
ตะกรุดลูกอมโลกธาตุ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ตะกรุดลูกอมโลกธาตุ เป็นตะกรุดที่มีลักษณะสั้นๆ กว่าตะกรุดทั่วๆไป เมื่อม้วนเป็นตะกรุดแล้ว ลักษณะจะกลมๆ เล็กๆ มองดูคล้ายเครื่องรางประเภทลูกอม ซึ่งเป็นเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง จึงมักจะเรียกกันว่าตะกรุดลูกอม ต้นตำรับเท่าที่สืบความได้ก็คือตะกรุดลูกอมของหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว พระคาถาที่ลงในตัวตะกรุดคือพระคาถาหัวใจโลกธาตุ "อิชชันโต จิตโต อิชชันโต โลกะ ธาตุมหิ อัตตะ ภาเวนัง นาทุยิ วาระ วีสะติ สิทธังละอะ" จึงมักเรียกกันว่า ตะกรุดลูกอมโลกธาตุ
หลวงปู่ยิ้ม เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 4 ปีมะโรง พ.ศ.2387 ที่บ้านวังด้ง ต.วังด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี โยมบิดาชื่อยิ่ง โยมมารดาชื่อเปี่ยม เมื่อท่านอายุครบบวชก็ได้อุปสมบทที่สำนักวัดหนองบัว โดยมีพระอาจารย์กลิ่น เจ้าอาวาสวัดหนองบัว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง วัดเทวสังฆารามกับพระอาจารย์อิน วัดทุ่งสมอ เป็นพระคู่สวดได้รับฉายาว่า "จันทโชติ" เมื่อท่านบวชศึกษา พระธรรมวินัยอยู่ที่วัดหนองบัว 2 พรรษา ท่านก็ได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์แดง ว่าแม่กลองมีพระอาจารย์ที่ทรงกิตติคุณอยู่หลายวัดประกอบด้วยวิชาแขนงต่างๆ ไม่ซ้ำกัน หลวงปู่ยิ้มจึงได้ เดินทางมาที่แม่กลอง มาเรียนกับพระปลัดทิม วัดบางลี่น้อย อ.อัมพวา พระปลัดทิม ท่านเก่งทางด้านทำน้ำมนต์ โภคทรัพย์ ผงเมตตามหานิยม และเชี่ยวชาญทางด้านโหราศาสตร์ ต่อมาจึงได้ไปศึกษากับหลวงพ่อพ่วง วัดลิงโจน หลวงพ่อพ่วงเก่งทางด้านวิชาทำธงกันฟ้าผ่า และลมพายุคลื่นลมในทะเล ชาวทะเลเคารพกันมาก นอกจากนี้ยังมีวิชาลงอักขระหวายขดเป็นรูปวงกลม โยนลงทะเลอาราธนาตักน้ำในวงหวายกลายเป็นน้ำจืดได้ และยังมีวิชาทำลูกอมหมากทุย วิชามนต์จินดามณี เมื่อศึกษาจบแล้วหลวงปู่ยิ้มก็ได้ไปศึกษากับหลวงพ่อกลัด วัดบางพรหม อ.อัมพวา ซึ่งท่านเป็นเยี่ยมทางด้านวิชามหาอุด อยู่ยงคงกระพัน และมหานิยม นอกจากนี้ยังเก่งทางด้านย่นระยะทางและสามารถเดินบนผิวน้ำได้ และหลวงปู่ยิ้มท่านยังเดินทางไปศึกษากับหลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ อ.อัมพวา ซึ่งท่านเก่งทางด้านทำมีดหมอปราบปีศาจ และวิชามหาประสาน วิชาทำเชือกคาด ตลอดจนวิชาแพทย์แผนโบราณอีกด้วย หลังจากเชี่ยวชาญในวิชาของแต่ละอาจารย์แล้ว หลวงปู่ยิ้มก็ยังกลับมาเรียนวิชาต่อกับหลวงปู่กลิ่น พระอุปัชฌาย์ของท่านอีก ซึ่งหลวงปู่กลิ่นโด่งดังทางด้านวิชากำบังกายหายตัว วิชาแหวกน้ำดำดิน
หลวงปู่กลิ่นพิจารณาเห็นว่าหลวงปู่ยิ้มมีวัตรปฏิบัติงดงาม และมีพลังจิตกล้าแกร่ง จึงถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้น หลวงปู่ยิ้มจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองบัวจนกระทั่งหลวงปู่กลิ่นมรณภาพ ท่านจึงได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองบัวสืบแทน ในสมัยที่หลวงปู่ยิ้มเป็นเจ้าอาวาสนั้นชาวบ้านและประชาชนทั่วไป ตลอดจนพระภิกษุสำนักต่างๆ ในภูมิภาคใกล้เคียง ต่างก็แวะเวียนไปนมัสการหลวงปู่ยิ้มและขอเครื่องรางของขลังจากหลวงปู่ยิ้มมิขาดสาย จนถึงเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ท่านยังทรงมานมัสการหลวงปู่ยิ้ม และขอวัตถุมงคลจากหลวงปู่ยิ้มถึง 2 ครั้งด้วยกัน หลวงปู่ยิ้มมรณภาพในปีพ.ศ.2453 สิริอายุได้ 66 ปี พรรษาที่ 46
วัตถุมงคลของหลวงปู่ยิ้ม มีมากมายหลายอย่าง เช่น พระปิดตาพิมพ์ต่างๆ มีดหมอ สิงห์งาแกะ ลูกอม ตะกรุดโทน ตะกรุดลูกอม แหวนพิรอด หวายมงคล พิรอดแขน เชือกคาดเอว และประคำ เป็นต้น เครื่องรางของขลังที่โด่งดังมาก และรู้จักกันมากก็คือ ตะกรุดลูกอมโลกธาตุ ลูกศิษย์ที่รับถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงปู่ยิ้มและสร้างตะกรุดลูกอมโลกธาตุต่อมาที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คือหลวงปู่ดี วัดเหนือ หลวงปู่เปลี่ยน วัดใต้ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ เป็นต้น
วันนี้ผมขอนำรูปตะกรุดลูกอมโลกธาตุ เนื้อทองคำของหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 กุมภาพันธ์ 2563 16:22:48 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #31 เมื่อ:
02 มีนาคม 2563 15:32:11 »
เบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้จะมาพูดกันถึง พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่เพิ่ม) วัดกลางบางแก้วกับวัตถุมงคลของท่าน ถ้าพูดถึงวัดกลางบางแก้ว หลายๆ ท่านก็คงจะรู้จักกันดี และมักจะนึกถึงหลวงปู่บุญ แต่ในวันนี้ผมจะมาพูดถึงหลวงปู่เพิ่ม ศิษย์เอกของหลวงปู่บุญบ้างนะครับ
พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่เพิ่ม ปุณณวสโน) นามเดิมว่า "เพิ่ม" เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2429 ที่ตำบลไทยวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อ เกิด โยมมารดาชื่อ วรรณ ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ อายุ 8 ขวบ สืบต่อมาจนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2450 ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ วัดสรรเพชญ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็ได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา และถือได้ว่าท่านเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่บุญมากที่สุด เพราะท่านบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ก็อยู่ปฏิบัติ รับใช้หลวงปู่บุญมาตลอดจนกระทั่งหลวง ปู่บุญมรณภาพ เป็นเวลาถึง 39 ปี ตลอดเวลานั้นท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนเวทวิทยาคมต่างๆ ไว้มากมาย หลวงปู่เพิ่มเป็นพระสงฆ์ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยศีล สมาธิ และปัญญาธรรม เปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรม หมดสิ้นกิเลสทั้งปวง หลวงปู่เป็นพระที่พูดจาไพเราะอ่อนหวาน สำเนียงของท่านนั้นมีแววความเมตตาผสานเอาไว้ ใครได้ฟังแล้วจะรู้สึกชุ่มชื่นใจ ใครๆ ได้สนทนากับท่านแล้วจะรู้สึกเคารพศรัทธาท่านทุกคนไป
หลวงปู่เพิ่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดกลางบางแก้ว เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 ปี พ.ศ.2482 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2483 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี ปี พ.ศ.2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่พระครูพุทธวิถีนายก ปี พ.ศ.2495 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนามเดิม ปี พ.ศ.2503 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญมีราชทินนามว่า พระพุทธวิถีนายก หลวงปู่เพิ่มมรณภาพด้วยโรคชราด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2526 สิริอายุได้ 97 ปี พรรษาที่ 76
หลวงปู่เพิ่มได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุดและเบี้ยแก้ นอกจากนี้ ก็ยังมีพระเครื่องอีกหลายอย่าง ปัจจุบัน เบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่มหายากแล้วครับ สนนราคาก็สูงรองมาจากเบี้ยของหลวง ปู่บุญ เบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่มในสมัยก่อนใครอยากได้ก็ต้องไปขอให้ท่านทำให้ และท่านก็เมตตาทำให้ทุกคน แล้วต้องรอมารับอีกครั้งหนึ่ง ส่วนมากจะไปขอให้ท่านทำให้ในช่วงเข้าพรรษา และมารับอีกครั้งหลังจากออกพรรษาแล้ว วันนี้นำเบี้ยแก้ของหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์ [/i
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 มีนาคม 2563 15:35:21 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #32 เมื่อ:
08 เมษายน 2563 15:48:42 »
ตะกรุดปลอกลูกปืน หลวงตาสิทธิ์
พระครูประทีปปัญญาวุธ หรือหลวงตาสิทธิ์ ปัจจุบันสิริอายุ 63 ปี พรรษา 42 ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลละทาย และเจ้าอาวาสวัดบ้านโอ้น ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
เป็นพระที่สมถะ เรียบง่าย ปฏิบัติชอบเสมอต้นเสมอปลาย เข้าหาสะดวก ทรงวิทยาคม และยังมีความเชี่ยวชาญ ทางโหราศาสตร์ที่ศึกษาจากหลวงปู่เพ็ง จันทรังสี
เกิดเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2500 ที่บ้านยางน้อย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม
เข้าพิธีอุปสมบท เมื่ออายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ ที่พัทธสีมาวัดละทาย ต.ละทาย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มีพระครูอนุรักษ์กันทรารมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์
ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาทั่วประเทศ อาทิ ป่าทางภาคเหนือ มีโอกาสได้กราบนมัสการหลวงปู่แหวน สุจิณโณ และได้รับความเมตตาอบรมสั่งสอนการเจริญภาวนาให้
นอกจากนี้ ยังธุดงค์ข้ามไปยังฝั่งประเทศ สปป.ลาว นาน 3 พรรษา ศึกษาวิทยาคมจากหมอธรรมโต่น ศึกษาตำราของสำเร็จลุน นครจำปาสัก และยังเดินทางไปศึกษาจากหมอธรรมขาว ที่ประเทศกัมพูชา เป็นต้น
เมื่อเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทย ยังได้เข้ากราบสักการะศึกษาเจริญจิตตภาวนากับพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)
ปีพ.ศ.2528 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านโอ้น
สำหรับวัดบ้านโอ้น เป็นวัดที่อยู่ในพื้นที่ชนบท ยังขาดการพัฒนาในหลายด้าน โดยเฉพาะกุฏิที่พักสงฆ์พระภิกษุ-สามเณร อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม อีกทั้งมีโครงการจัดสร้างสำนักงานเจ้าคณะตำบล แต่ยังขาดปัจจัยอยู่เป็นจำนวนมาก
จึงได้หารือจัดสร้างวัตถุมงคล "ตะกรุดปลอกลูกปืน รุ่นแรก" ที่ระลึกที่ร่วมบริจาคปัจจัยสมทบทุนสร้างกุฏิที่พักสงฆ์หลังใหม่ และสร้างสำนักงานเจ้าคณะตำบล
ประกอบด้วย 1.ตะกรุดปลอกลูกปืน อุดแผ่นยันต์ทองคำจารมือ ฝังเหล็กไหลโคตรเศรษฐี ผงพุทธคุณ สร้าง 99 ดอก 2.ตะกรุดปลอกลูกปืน ชุดกรรมการ อุดแผ่นยันต์เงินแท้จารมือ 1 ดอก แผ่นยันต์สามกษัตริย์จารมือ 1 ดอก สร้าง 63 ชุด และ 3.ตะกรุดปลอกลูกปืน อุดแผ่นยันต์ทองเหลืองจารมือ ผงเหล็กไหลโคตรเศรษฐี สร้าง 1,999 ดอก
เครื่องรางตะกรุดปลอกลูกปืนรุ่นนี้ ใช้ปลอกกระสุนปืน 2 ปลอกเชื่อมติดกัน ที่บริเวณด้านข้างจะมีอักขระยันต์ พุทธคุณเด่นรอบด้าน สลักชื่อ พระครูประทีปปัญญาวุธ วัดบ้านโอ้น (รุ่นมั่งมี) ไว้อีกด้านหนึ่ง
ข่าวสดออนไลน์
ล็อกเกตนั่งหลังเสือ หลวงปู่วัน
หลวงปู่วัน จันทวังโส วัดโนนไทยเจริญ ต.ภูฝ้าย อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดังแห่งแดนอีสานใต้
ปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่ในวัย 93 ปี
มีนามเดิมว่า วัน ทาประจิตร เกิด เมื่อวันที่ 2 ก.ย.2470 ชาว บ.หนองสิม ต.หนองไฮ อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี บิดามารดาชื่อ นายจันทร์ และนางทองดี ทาประจิตร บุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้องร่วมอุทร 6 คน
ช่วงวัยเยาว์หลังจบ ป.4 บิดาเป็นไวยาวัจกรวัด จึงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
บรรพชาและศึกษาสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี อุปัฏฐากรับใช้นาน 3 ปี ก่อนลาสิกขาช่วยบุพการีทำนา
อายุ 20 ปี อุปสมบทเดินธุดงค์ป่าเขาพบกับพระอาจารย์น้อย วัดถ้ำผาเสด็จ จ.สระบุรี จึงขอศึกษาธรรม จึงเดินธุดงค์ตามป่าตะเข็บชายแดนไทย-กัมพูชา
ขณะธุดงค์ได้พบหลวงปู่สรวง วัดไพรพัฒนา ร่ำเรียนวิชานาน 3 เดือน ธุดงค์ต่อไปประเทศกัมพูชา ร่ำเรียนวิชากับพระเกจิชื่อดังอีกหลายรูป
พ.ศ.2533 เข้าพิธีอุปสมบทอีกรอบ ที่วัดบ้านนานวล อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ จำพรรษาที่วัดบ้านหนองจิก ก่อนกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านโนนไทยเจริญ พัฒนาเจริญรุ่งเรืองสืบมา
เดือนม.ค.2563 คณะลูกศิษย์ "ประมวล วงธรกิตติกุล" ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เป็นล็อกเกตรูปเหมือนหลวงปู่วัน รุ่นนั่งหลังเสือเรียกทรัพย์
เพื่อจัดหารายได้สมทบสร้างเจดีย์พระธาตุวัดโนนไทยเจริญ
จัดสร้างล็อกเกตรูปเหมือนฉากรวมทุกสี 9 องค์, ฉากทอง ฉากแดง ชนิดละ 100 องค์, ฉากฟ้าและฉากขาว ชนิดละ 19 องค์ และเสือรุ่นพยัคฆ์ขุนหาญ หล่อช่อทองแดง 9 ตัว, หล่อช่อทองแดงกะไหล่เงิน 9 ตัว, เนื้อเงิน 49 ตัว, เนื้อนวะ 99 ตัว, เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง กะไหล่เงิน ชนิดละ 249 ตัว, เนื้อทองแดงผิวไฟ 604 ตัว
ด้านหน้ามีภาพเหมือนหลวงปู่เต็มองค์ ห้อยลูกประคำนั่งถือไม้เท้าบนหลังเสือ สองข้างระหว่างหัวไหล่สลักอักขระยันต์กำกับไว้ ด้านข้างซ้ายสลักตัวหนังสือแนวตั้งคำว่า อ.ขุนหาญ ด้านขวาเขียนคำว่า จ.ศรีสะเกษ ด้านล่างสุดสลักคำว่า หลวงปู่วัน จนฺทวํโส
ด้านหลังมีมวลสาร รูปหล่อท้าวเวสสุวัณ ตะกรุด เสือแกะจิ๋วไม้คูนตายพราย
วัตถุมงคลรุ่นนี้ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่วัดวัดโนนไทยเจริญ โดยมี 5 พระเกจิชื่อดัง จ.ศรีสะเกษ นั่งปรกอธิษฐานจิต
ข่าวสดออนไลน์
กุมารไข่ซุ้มเรือนแก้ว
วัดเจดีย์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 7 ต.ฉลอง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช เคยเป็นวัดร้างที่เชื่อกันว่าสร้างมาเป็นเวลานับ 1,000 ปี จนเมื่อประมาณ พ.ศ.2500 มีการบูรณะวัดเจดีย์ขึ้นมาใหม่ และเป็นที่ประดิษฐานของ "พ่อท่าน" พระพุทธรูปเก่าแก่ที่อยู่มาตั้งแต่ยังป็นวัดร้าง
ไอ้ไข่วัดเจดีย์ หรือ ตาไข่วัดเจดีย์ คือรูปไม้แกะสลักของเด็กชายอายุประมาณ 9-10 ขวบ ตั้งอยู่ในศาลาในวัดเจดีย์ เชื่อกันว่าเป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ ณ วัดแห่งนี้
เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านตั้งแต่ในละแวกใกล้วัดไปจนถึงต่างจังหวัดในแถบภาคใต้จากศรัทธาที่เชื่อกันว่า "ขอได้ ไหว้รับ" โดยเฉพาะโชคลาภและการค้าขาย
ตำนานไอ้ไข่มีหลายเรื่องด้วยกัน บ้างก็ว่าไอ้ไข่ คือ วิญญาณเด็กที่ติดตามหลวงปู่ทวด เมื่อหลวงปู่ทวดธุดงค์มาถึงวัดร้างแห่งนี้ และรับรู้ด้วยญาณว่าที่แห่งนี้มีทรัพย์สินโบราณฝังอยู่ จึงให้วิญญาณดวงนี้เฝ้าดูแลปกปักรักษาทรัพย์สินของแผ่นดินอยู่ที่วัดแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมา
กล่าวสำหรับวัตถุมงคลไอ้ไข่ รุ่นสั่งให้รวย จัดสร้างเป็นพระเนื้อผงไอ้ไข่ ซุ้มเรือนแก้ว และลูกอมมหาลาภ ฝังตะกรุดทองคำ ประกอบพิธีกรรมตามตำรับกุมารแดนใต้ ที่วัดวังตะวันออก เมืองนครศรีธรรมราช โดยพระคณาจารย์ชื่อดังเมืองใต้เพื่อร่วมบารมีกับไอ้ไข่
เพื่อสร้างสำนักปฏิบัติธรรม เสนาสนะวัตรธรรมธัช อำเภอทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช, เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ กุฏิสงฆ์วัดวังตะวันออก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช, เพื่อมอบทุนการศึกษา นักเรียนเรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และเพื่อมอบให้โรงพยาบาลซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์
กุมารไข่ซุ้มเรือนแก้ว สร้างขึ้นจากมวลสารมหาลาภศักดิ์สิทธิ์สายใต้ ว่านมหาลาภ 108 ชนิด ผงศักดิ์สิทธิ์พรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ผงมงคลมหาลาภ หลวงปู่ดู่ ผงแร่เหล็กไหล ผงแร่เหล็กน้ำพี้ บ่อศักดิ์สิทธิ์ จ.อุตรดิตถ์ ผงดินกากยายักษ์ ผงไม้เทพ ทาโร พระธาตุสีวลี และมวลสารมงคลหลวงปู่สรวง หลวงปู่หมุน รวมทั้งมวลสารศักดิ์สิทธิ์มหาลาภจากบูรพาจารย์แดนอีสานใต้ ถูกรวบรวมเพื่อนำมาผสมสร้างกุมารไข่ซุ้มเรือนแก้ว
โดยประกอบพุทธาภิเษกในวันเสาร์ห้า ที่วัดวังตะวันออก จ.นครศรีธรรมราช
ข่าวสดออนไลน์
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 เมษายน 2563 15:54:33 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #33 เมื่อ:
21 เมษายน 2563 12:31:38 »
ตะกรุดหลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวอยุธยาเคารพนับถือมากรูปหนึ่ง ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง ล้วนเป็นที่หวงแหนของชาวอยุธยาทั้งสิ้น ในด้านเครื่องรางของขลัง ตะกรุดของหลวงพ่อเทียมก็เป็นตะกรุดที่เป็นที่นิยมมาก ปัจจุบันก็หายากพอสมควรครับ
หลวงพ่อเทียมเป็นชาวบ้านป้อม พระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อปีพ.ศ.2447 บิดาชื่อสุ่น โยมมารดาชื่อเลียบ เมื่ออายุได้ 10 ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระภิกษุมอน ผู้เป็นน้าชาย ที่วัดกษัตราธิราช ต่อมาเมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดกษัตราธิราช เมื่อปี พ.ศ.2467 โดยมีพระครูวินยานุวัติคุณ (มาก) วัดกษัตราธิราช เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์หล่ำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทองดี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ได้จำพรรษาที่วัดเสนาสนาราม เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม เรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อสี วัดสนามไชย และได้เรียนกับพระอาจารย์จาบ พระอาจารย์เหม็ง วัดประดู่ทรงธรรม หลังจากนั้นได้กลับมาจำพรรษาที่วัดกษัตราธิราช เนื่องจากพระครูวินยานุวัติคุณพระอุปัชฌาย์อาพาธหนัก ท่านได้คอยมารับใช้และปฏิบัติจนกระทั่งพระอุปัชฌาย์มรณภาพ หลวงพ่อเทียมได้จัดการภาระอันเกี่ยวกับงานฌาปนกิจของพระอุปัชฌาย์เรียบร้อยแล้ว ก็ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเขากบนครสวรรค์ และไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสวนหงส์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ต่อมาชาวบ้านและคณะศิษย์ได้อาราธนาหลวงพ่อเทียมกลับมาจำพรรษาที่วัดกษัตราธิราช และเป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2496 หลังจากที่หลวงพ่อเทียมได้เป็นเจ้าอาวาสแล้ว ท่านก็ได้บูรณะซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดให้เจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอด ระหว่างที่ท่านอยู่ที่วัดนั้นชาวบ้านเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็มาขอให้หลวงพ่อช่วยรักษาให้ ท่านมีความรู้เรื่องแพทย์แผนโบราณอยู่แล้วท่านก็ได้ช่วยรักษาให้หายได้ทุกราย นอกจากนั้นชาวบ้านและลูกศิษย์ ก็ยังขออนุญาตหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคลอีกหลายอย่าง เช่น พระนาคปรก พระพุทธชินราช รูปเหมือน พระสมเด็จ เหรียญรูปท่าน ตะกรุดต่างๆ
วัตถุมงคลของหลวงพ่อเทียม ชาวบ้านที่นำไปห้อยแล้วมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย บางคนถูกยิงหลายนัดที่หัว แต่ลูกกระสุนมาตกอยู่ที่คอ ไม่ได้รับอันตรายใดๆ เลย เป็นที่โจษจันกันมาก และเสาะหาวัตถุมงคลของหลวงพ่อกันมาก หลวงพ่อเทียมเป็นเจ้าอาวาสจนถึงปี พ.ศ.2522 สิริอายุได้ 75 ปี พรรษาที่ 55 จึงได้มรณภาพ ยังความโศกเศร้าให้แก่ลูกศิษย์และชาวบ้านเป็นอย่างมาก
วัตถุมงคลของหลวงพ่อเทียมทุกรุ่นนิยมเสาะหากันมาก โดยเฉพาะตะกรุดเป็นที่นิยมมาก หลวงพ่อเทียมได้สร้างตะกรุดไว้หลายอย่างเช่น ตะกรุด 4 มหาอำนาจ ตะกรุดรัตนมาลา ตะกรุดมหาระรวย ตะกรุดมหาระงับ และตะกรุดมหาระงับพิสดารยาว 12 นิ้ว ตะกรุดยอดกัณฑ์ไตรปิฎก ตะกรุดทุกรุ่นปัจจุบันหายากและมีของปลอมทำเลียนแบบ เวลาจะเช่าหาก็ต้องดูดีๆ หรือเช่าจากผู้ที่เชื่อถือได้
วันนี้ผมได้นำรูปตะกรุด 4 มหาอำนาจ ของหลวงพ่อเทียมจากหนังสือ ตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #34 เมื่อ:
27 พฤษภาคม 2563 16:09:33 »
กะลาราหูแกะล้านนา
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งคือกะลาแกะรูปพระราหู ซึ่งที่เรารู้จักกันดีก็คือกะลาราหูของหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง นครปฐม ซึ่งความจริงแล้วกะลาพระราหูนั้นก็มีหลากหลายอาจารย์ ที่ท่านสร้างไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งอักขระที่ลง จารนั้นจะเป็นตัวหนังสือล้านนาหรือตัวเมืองแทบทั้งสิ้นไม่ว่า จะเป็นของหลวงพ่อน้อย หรืออาจารย์อื่นๆ ก็ตาม ในวันนี้เราก็จะมาคุยกันถึงกะลาแกะราหูของท่านเกจิอาจารย์ล้านนากันบ้าง
การสร้างกะลาราหูนั้น ล้านนามีการสืบทอดต่อกันมาช้านานแต่โบราณ เอกลักษณ์คือจะลงอักขระด้วยตัวหนังสือล้านนา หรือที่เรียกกันว่าตัวเมือง การสร้างกะลาราหูแบบล้านนามีทั้งที่เป็นแบบเดี่ยวและแบบคู่ แบบเดี่ยวมักจะรวมยันต์สุริยะกับจันทรประภาไว้ด้วยกัน ส่วนแบบคู่นั้นจะแยกกะลาฝาหนึ่งเป็นสุริยะและอีกฝาหนึ่งเป็นจันทระ
วัสดุที่นำมาใช้สร้างราหูนั้นจะใช้กะลาตาเดียว คือกะลาโดยปกติทั่วไปจะมีตาอยู่สามตา มีตารูงอก 1 รู และเป็นตาอีก 2 ตาแต่กะลาตาเดียวนั้นมีแค่ 1 รูเท่านั้นกะลาตาเดียวโบราณถือว่าเป็นอาถรรพ์มีฤทธิ์ในตัวเอง เมื่อนำมาทำเป็นเครื่องรางปลุกเสกจะทวีความขลังมากขึ้น และโดยส่วนมากกะลาพระราหูของล้านนามักจะมีการลงรักปิดทองล่องชาด
กะลาราหูล้านนาที่ผมจะพูดถึงวันนี้ ก็คือกะลาราหูของครูบานันตา ท่านเป็นบรมครูในเรื่องการสร้างกะลาราหูของล้านนา โดยท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ ร่วมยุคกับครูบาศรีวิชัย อีกทั้งยังได้เคยถวายราหูให้กับครูบาศรีวิชัยคู่หนึ่งด้วย จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ว่า ครูบานันตาท่านจะทำกะลาแกะรูปราหูนั้น จะปลุกเสกที่กลางแม่น้ำวังบริเวณหน้าวัด สมัยก่อนนั้นแม่น้ำวังจะแห้งแล้งจะมีเกาะกลางแม่น้ำ ท่านครูบานันตาจะทำพิธีแกะพระราหูประมาณ 7 คู่ ตลอดทั้งคืน และจะปลุกเสกกลางแม่น้ำวัง ก่อนที่จะปลุกเสกนั้นจะต้องมีพิธีราชวัติคือการปักธงสี่มุมตั้งเครื่องบายศรี เสร็จแล้วท่านก็จะตรวจดูว่ามีมดแมลงต่างๆ ในบริเวณหรือไม่ ถ้ามีท่านจะรอให้มดแมลงต่างๆ ไปที่อื่นก่อน การปลุกเสกท่านจะทำพิธีปลุกเสกกะลาพระราหูทั้ง 7 คู่ จนกระทั่งถึงรุ่งเช้า จากนั้นท่านจึงจะมอบให้แก่ลูกศิษย์ไว้ใช้ติดตัว
กะลาราหูของล้านนาโดยส่วนใหญ่ จะมีการลงรักปิดทองล่องชาด และก็มีหลายพระอาจารย์ที่สร้างไว้เช่นกัน เช่น ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก พระมหาเมธังกร วัดน้ำคือ จ.แพร่ หลวงพ่อปั้น วัดหอธรรม จ.เชียงใหม่ เป็นต้น ในวันนี้ผมได้นำรูปกะลาราหูแกะของครูบานันตาวัดทุ่งม่านใต้ จ.ลำปาง จากหนังสือตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลังขมังเวทย์ มาให้ชมกันครับ
ขอขอบคุณ คุณวีระชัย ไชยเจริญ (โจ๊กลำพูน) ที่กรุณามอบข้อมูลครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #35 เมื่อ:
10 มิถุนายน 2563 12:45:13 »
ตะกรุดพระเจ้าห้ามโรคเสาร์ ๕ บูรณะวัดป่าช้า สปป.ลาว
วัดธรรมรังสีวนาราม (วัดป่าช้า)
ตั้งอยู่บ้านนาคำนนน้อย เมืองสองคอน แขวงสะหวันนะเขต ประเทศ สปป.ลาว ปัจจุบันมี หลวงปู่สุริมา คัมภีรปัญโญ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด มีพระภิกษุ 2 รูป สามเณร 1 รูปจำพรรษาอยู่ที่นี่
วัดแห่งนี้เดิมเป็นป่าช้าเก่า พื้นที่ของวัดมีความกว้าง 160 เมตร ยาว 200 เมตร ส่วนด้านข้างวัดเป็นป่าช้ามีพื้นที่กว่า 10 ไร่ ประชาชน 4 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านหลักเมือง บ้านนาคำนน บ้านนาคำนนน้อย และบ้านโนนสมบูรณ์ ยังคงใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นป่าช้าเผาศพ นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน โดยใช้วิธีเผาแบบกองฟอน
ประวัติความเป็นมา เมื่อประมาณปี พ.ศ.2529 มีประชาชนจากหลายหมู่บ้าน ออกมาตั้งบ้านเรือนอยู่ตามไร่นา ต่อมากลายเป็นชุมชนเล็กๆ มีบ้านรวมกันกว่า 40 ครัวเรือนจึงยกฐานะขึ้นเป็นหมู่บ้านนาคำนนน้อยดังในปัจจุบัน
ชาวบ้านนาคำนนน้อย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนาเหมือนชาวชนบททั่วไป มีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อตั้งหมู่บ้านเป็นหลักฐานมั่นคงแล้ว ในปี พ.ศ.2540 จึงร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นในส่วนบริเวณป่าช้าเก่า จนแล้วเสร็จสมบูรณ์เป็นศูนย์รวมใจของชุมชน
โดยได้กราบนิมนต์หลวงปู่ตู้ พระเถระที่พุทธศาสนิกชน ในแถบนั้นให้ความเลื่อมใส ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด และท่านได้นำพาชุมชนร่วมกันพัฒนาสร้างถาวรวัตถุในวัด อาทิ กุฏิ ศาลาการเปรียญ ห้องน้ำ เป็นต้น
ตลอดระยะเวลากว่ายี่สิบปี มีเจ้าอาวาสผลัดเปลี่ยนกันมาปกครองหลายรูปจนถึงปี 2559 ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลงอีก ชาวบ้านได้กราบนิมนต์หลวงปู่สุริมา มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสที่วัดนี้ตราบจนปัจจุบัน
หลังก่อตั้งมากว่า 20 ปีผ่านไป ถาวรวัตถุต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมลงด้วยขาดปัจจัยจะบูรณปฏิสังขรณ์
จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.2563 "ญาครูทองคำ สิริเมธี" พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในพื้นที่ สปป.ลาว ซึ่งเป็นศิษย์ หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย วัดสุทธาวาสวิปัสสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ได้มาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้เห็นสภาพความทรุดโทรมของวัด จึงมีโครงการจัดสร้างวัตถุมงคลเครื่องราง "ตะกรุดพระเจ้าห้ามโรคเสาร์ ๕" เป็นที่ระลึกและบริจาคทำบุญร่วมกับวัด นอกจากบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุที่ทรุดโทรม ยังสมทบทุนก่อสร้างกำแพงวัดและศาลาการเปรียญ ซึ่งขณะนี้กำลัง อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง โดยพระภิกษุ-สามเณรในวัดร่วมแรงกันลงมือสร้างเอง เพราะไม่มีปัจจัยจ้างช่าง
เครื่องรางตะกรุดพระเจ้าห้ามโรคเสาร์ ๕ ญาครูทองคำ จารอักขระด้วยมือท่านทุกดอก และประกอบพิธีอธิษฐานจิตเดี่ยวในวันเสาร์ 5 ขึ้น 5 ค่ำ ภายในศาลาการเปรียญวัดธรรมรังสีวนาราม โดยญาครูทองคำ ประกอบพิธีอธิษฐานจิตเดี่ยวตลอดคืน จำนวนการสร้างน้อยมากแค่เพียง 108 ดอกเท่านั้น
เครื่องรางตะกรุดรุ่นนี้ จัดสร้างด้วยแผ่นเงินและถักด้วยเชือกสีขาว หมายถึงความบริสุทธิ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ส่วนพุทธคุณเด่นรอบด้าน
กล่าวสำหรับ "ญาครูทองคำ สิริเมธี" เป็นพระเถระรุ่นใหม่ในแวดวงคณะสงฆ์ประเทศ สปป.ลาว ถึงแม้อายุและพรรษายังน้อย แต่ก็เป็นพระเกจิอาจารย์ที่พุทธศาสนิกชนในพื้นที่เมืองสองคอน แขวงสะหวันนะเขต ประเทศ สปป.ลาว ให้ความเลื่อมใสศรัทธาเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์บรรพชาเมื่ออายุเพียง 7 ขวบ
กระทั่งอุปสมบท ศึกษาวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ใน สปป.ลาว หลายรูป อาทิ หลวงปู่พัตร หลวงปู่ยัง เป็นต้น
เคยไปธุดงค์ที่แขวงสาละวัน นานถึง 6 ปี ต่อมาท่านทราบกิตติศัพท์ของ "หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย" วัดสุทธาวาสวิปัสสนา จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของไทย จึงเดินทางข้ามฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามากราบขอฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมกับหลวงพ่อรักษ์ ซึ่งได้รับความเมตตาถ่ายทอดวิชาทำตะกรุดให้
ผู้มีจิตศรัทธาประสงค์ร่วมทำบุญ ติดต่อญาครูทองคำ สิริเมธี ได้ทางเฟซบุ๊ก นักบุญแห่งล้านช้าง
ข่าวสดออนไลน์
เครื่องรางไม้แกะหลวงปู่รอด
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในอดีต วัตถุมงคลของท่านก็ได้รับความนิยมกันมาก เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ มากมายเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนโดยทั่วๆ ไป
หลวงปู่รอดเป็นชาวปทุมธานี มีเชื้อสายรามัญ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2406 โยมบิดาชื่อทองดี โยมมารดาชื่อเกษร เมื่อตอนที่ท่านเด็กๆ ท่านมีร่างกายอ่อนแอขี้โรค บิดา-มารดาจึงได้นำท่านไปถวายเป็นบุตรบุญธรรม ของพระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวน ซึ่งท่านเป็นพระเถระที่มีเชื้อสายรามัญ และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวรามัญในสมัยนั้น หลังจากที่บิดา-มารดาของหลวงปู่รอดได้ยกท่านให้แก่พระอุปัชฌาย์แคแล้ว ปรากฏว่าหลวงปู่รอดก็เป็นเด็กที่เลี้ยงง่ายหายจากโรคภัยนานา พระอุปัชฌาย์แคจึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "รอด" ตั้งแต่บัดนั้นมา พอท่านอายุได้ 12 ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร อยู่ศึกษาเล่าเรียนกับพระอุปัชฌาย์แค วัดบางน้ำวนจนกระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบางน้ำวน โดยมีพระอุปัชฌาย์แค เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับฉายาว่า "พุทธสณฺโฑ"
เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้ปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์ และศึกษาวิทยาคมต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์แค หลวงปู่รอดเป็นพระที่รักสงบมุ่งปฏิบัติอย่างเคร่งครัด วิชาที่ท่านเรียนกับพระอุปัชฌาย์แคก็คือ เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี วิชาทำธงไม่ให้ฝนตก และป้องกันฟ้าผ่า วิชาเสกของหนักให้เบาดั่งปุยนุ่น ฯลฯ นอกจากท่านจะเรียนวิทยาคมแล้ว ท่านก็ยังเรียนวิปัสสนากรรมฐานอีกด้วย จนเป็นที่ไว้ใจของพระอุปัชฌาย์ หลังจากที่พระอุปัชฌาย์แคมรณภาพ ท่านก็ได้รับการนิมนต์จากชาวบ้านขอให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน
ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาต่อท่านเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงมาช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ นอกจากจะพัฒนาวัดของท่านแล้วท่านยังช่วยเหลือวัดอื่นๆ อีกด้วย เรื่องของการศึกษาท่านก็ได้จัดให้มีการสอนพระปริยัติธรรมและสร้างโรงเรียนประชาบาลให้เด็กๆ ในแถบนั้นได้ศึกษาเล่าเรียนชื่อ "โรงเรียนรอดพิทยาคม" ในปี พ.ศ.2439 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางน้ำวน ปี พ.ศ.2447 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบางโทรัด ปี พ.ศ.2452 ได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2482 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน และเป็นกรรมการศึกษา หลวงปู่รอดมรณภาพในปี พ.ศ.2488 สิริอายุได้ 82 ปี พรรษาที่ 62
หลวงปู่รอดเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งกล้าทางด้านวิทยาคมมาก ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น เหรียญหล่อเหรียญปั๊มรุ่นแซยิด เหรียญหล่อพิมพ์พนมมือ เหรียญปั๊มพิมพ์เสมาอัลปาก้า เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องรางของขลังของท่านก็มีหลายอย่าง เช่น ตะกรุดโทน มีดหมอ ผ้ายันต์ พิรอดแขน ตลอดจนเครื่องรางไม้แกะ ซึ่งท่านใช้ไม้ขนุนมาแกะเป็นรูปต่างๆ เช่น สิงห์ ชูชก นางกวัก ปัจจุบันหาแท้ๆ ยากมากครับ และในวันนี้ผมก็ได้นำสิงห์และชูชกไม้ขนุนแกะมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
เหรียญเวสสุวรรณ-หลวงปู่แผ้ว
หลวงปู่แผ้ว ปวโร พระเกจิชื่อดังแห่งวัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
ได้รับการขนานนามว่า เทพเจ้าแห่งเมืองกำแพงแสน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวอำเภอกำแพงแสนและใกล้เคียง
ปัจจุบัน สิริอายุ 97 ปี พรรษา 77
สร้างคุณูปการสืบสานจรรโลงพระพุทธศาสนาอย่างรอบด้าน อาทิ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ทั้งในเขตอำเภอกำแพงแสนและพื้นที่ใกล้เคียง ท่านจะอุดหนุนด้วยการสร้างวัตถุมงคลที่ระลึก เพื่อให้ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาได้สมทบทุนปัจจัยนำไปใช้เพื่อการสาธารณประโยชน์
แม้วัยล่วงเลยถึงเกือบร้อยปี แต่ยังคงรับกิจนิมนต์นั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่เป็นประจำ
วิทยาคมอันเข้มขลังที่ใช้นั่งบริกรรมระหว่างนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคล ล้วนแต่เป็นวิทยาคมของหลวงพ่อหว่าง อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพงแสน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตกอีกทอดหนึ่ง
ต่อมา ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ตั้งแต่เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2551 จนถึงปัจจุบัน
เมื่อคราวอายุครบ 8 รอบ 96 ปี ในปี พ.ศ.2562 สร้างวัตถุมงคล เพื่อนำปัจจัยโดยไม่หักค่าใช้จ่ายเข้าสมทบทุนสร้างอาคารโรงพยาบาลอนุสรณ์ 96 ปี และซื้อเครื่องมือแพทย์มอบให้โรงพยาบาลกำแพงแสน
จัดสร้าง "เหรียญเม็ดแตงท้าวเวสสุวรรณ หลังยันต์สวน"
เหรียญปฐมฤกษ์ ชุดทองคำ สร้างจำนวน 9 ชุด ชุดละ 100,000 บาท เนื้อทองคำจำนวนสร้าง 29 เหรียญ เหรียญละ 40,000 บาท เนื้อเงิน จำนวนสร้าง 1,999 เหรียญ เหรียญละ 1,500 บาท เนื้อชนวน 999 เหรียญ เหรียญละ 800 บาท เนื้อทองฝาบาตร จำนวน 2,999 เหรียญ เหรียญละ 500 บาท และเนื้อทองแดง สร้างจำนวน 4,999 เหรียญ เหรียญละ 100 บาท เพื่อนำปัจจัยมอบให้ ร.พ.นครปฐม
ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ หูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปนูนท้าวเวสสุวรรณ ยืนถือกระบอง ด้านล่าง เขียนคำว่า "ท้าวเวสสุวรรณ"
ด้านหลังเหรียญ เป็นอักขระยันต์ ด้านบน เขียนคำว่า "หลวงปู่แผ้ว ปวโร" ด้านล่าง เขียนคำว่า "วัดรางหมัน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม"
เมื่อวันที่ 31 มี.ค.2563 หลวงปู่แผ้ว พร้อมด้วยพระอธิการสมศักดิ์ อินโท (หลวงพี่โกรน) เจ้าอาวาสวัดรางหมัน (วัดประชาราษฎร์บำรุง) จ.นครปฐม พร้อมคณะศิษย์มอบเงินจำนวน 5,000,000 บาท ให้กับศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลนครปฐม นำไปซื้อเครื่องมือแพทย์ สำหรับตรวจภายในด้วยคลื่นเสียงความถี่ชนิดสูง เพื่อดูแลรักษาประชาชนที่เจ็บป่วย
ติดต่อสอบถามได้ที่ แผนกวัตถุมงคล โทร.08-6757-7280 วัดรางหมัน หรือร่วมทำบุญบูชาวัตถุมงคลรุ่นนี้ โอนบัญชีธนาคารกสิกร เลขที่บัญชี 0133925937 ชื่อ วัดประชาราษฎร์บำรุง (
ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 86.0.4240.111
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #36 เมื่อ:
29 ตุลาคม 2563 11:55:52 »
ปลัดขิก หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบกันนะครับ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีผู้คนเคารพนับถือกันมาก โดยเฉพาะชาวบ้านและทหารเรือแถบสัตหีบ เสมือนหนึ่งเทพเจ้าแห่งภาคตะวันออกในสมัยนั้น เครื่องรางของขลังของท่านที่มีชื่อเสียงก็คือปลัดขิก กล่าวกันว่าถ้าปลุกปลัดของท่านแล้วปล่อยลงน้ำ จะสามารถวิ่งทวนน้ำได้ทีเดียว
พระครูวรเวทย์มุนี (หลวงพ่ออี๋) ท่านเกิดที่ชลบุรีเมื่อปี พ.ศ.2405 โยมบิดาชื่อกองคำ โยมมารดาชื่อเอียง ในวัยเด็กท่านเป็นเด็กที่มีความฉลาดหลักแหลม และชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอ ผิดกว่าเด็กทั้งหลายในวัยเดียวกัน ต่อมาพออายุได้ 21 ปีท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดอ่างศิลาชลบุรี โดยมีหลวงพ่อจั่น วัดเสม็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาว่า “พุทธสโร” อยู่จำพรรษาที่วัดอ่างศิลา และท่านก็ได้ศึกษาวิชาวิปัสสนาธุระที่สำนักพระอาจารย์แตง วัดอ่างศิลานั่นเอง ท่านจึงพิจารณาเห็นสังขารไม่เที่ยงแท้
เมื่อถึงเวลาออกพรรษาท่านก็เริ่มออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อหาแหล่งอันสงบวิเวกนั่งวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อได้พบกับพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านใด หลวงพ่ออี๋ก็จะศึกษาหาความรู้กับพระอาจารย์ท่านนั้น พร้อมทั้งปฏิบัติจนเห็นจริงแล้วก็จะเริ่มธุดงค์ต่อไปเรื่อยๆ บรรดา พระคณาจารย์ของหลวงพ่ออี๋จึงมีมากมาย แต่ที่พอสรุปได้ก็คือ พระอาจารย์แตง วัดอ่างศิลา พระอาจารย์จั่น วัดเสม็ด หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย
หลวงพ่ออี๋ยึดการธุดงค์และสันโดษเป็นหลัก จนกระทั่งท่านมีญาณสมาบัติ พลังจิตสูงองค์หนึ่ง ท่านสามารถนำพระเวทมาใช้ได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าท่านจะธุดงค์ไปไหนๆ ก็ตาม ท่านมักจะให้ความเมตตาช่วยเหลือผู้เจ็บไข้ได้ป่วยพร้อมทั้งแสดงธรรมให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังเสมอ จนกระทั่งชื่อเสียงของหลวงพ่อโด่งดังจากปากหนึ่ง ไปอีกปากหนึ่ง
ต่อมาหลวงพ่ออี๋ธุดงค์มาจนถึงอ่าวสัตหีบในราวปี พ.ศ.2450 ณ ที่นั้นเป็นบริเวณที่สงบเงียบพอที่จะยึดเป็นที่ปฏิบัติธรรม หลวงพ่อจึงปักกลดจำวัดที่นั่น พอบรรดาพวกชาวบ้านรู้ข่าวว่าหลวงพ่อมาปักกลดอยู่ต่างก็มานมัสการหลวงพ่ออี๋กันมาก ต่างก็นำอาหารมาถวาย และผู้คนก็เดินทางมานมัสการกันแทบทุกวัน
บรรดาชาวบ้านในแถบนั้นต่างมีความเห็นตรงกันว่าควรนิมนต์หลวงพ่ออี๋ให้สร้างวัด ณ ที่ตรงนั้น เพื่อชาวบ้านจะได้พึ่งบารมีหลวงพ่อ จึงได้พากันนิมนต์หลวงพ่ออี๋ให้อยู่จำพรรษาและสร้างวัดที่ตรงนั้น หลวงพ่ออี๋ก็ไม่ขัดข้อง พวกลูกศิษย์ลูกหาต่างก็ดีอกดีใจ ช่วยกันคนละไม้คนละมือและบริจาคทรัพย์สร้างวัดขึ้น และได้นามวัดต่อมาว่า “วัดสัตหีบ” จนมาถึงทุกวันนี้
ต่อมาในปี พ.ศ.2473 ทางวัดสัตหีบได้กำหนดหล่อพระพุทธรูปพระประธานประจำพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตหลวงพ่อสร้างเหรียญรูปเหมือนของหลวงพ่อขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมสมทบทุนสร้างในครั้งนั้นปัจจุบันได้รับความนิยมสูงมาก หลวงพ่ออี๋ท่านได้อยู่เป็นมิ่งขวัญจนถึงปี พ.ศ.2489 ก็มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 85 ปี พรรษา 64
ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปปลัดขิกของหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
พญาครุฑเฮง ฮก ลก ซิ่ว
ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 2 ถนนสุขุมวิท ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี จัดสร้างวัตถุมงคลพญาครุฑ “รุ่น เฮง ฮก ลก ซิ่ว” เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบทุนเปลี่ยนสายไฟรอบลานฝึกและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับการฝึก ซึ่งเกิดจากความเสียสละ ความรักความสามัคคีของศิษย์เก่าสถาบันแห่งนี้
วัตถุมงคลพญาครุฑ “รุ่น เฮง ฮก ลก ซิ่ว” ถอดแบบมาจากพญาครุฑไม้พะยุง จากศิลปินผู้สร้างสรรค์ เป็นรูปแบบที่มีเพียงหนึ่งเดียว
ตั้งชื่อและอธิบายความหมายของพญาครุฑองค์นี้ ว่า
“ฮก” มงกุฎปลียอดและเครื่องทรงเป็นเครื่องบ่งบอกของเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ที่ได้จากพระนารายณ์
“ลก” พญาครุฑยืนอยู่บนกองเงินกองทอง บ่งบอกถึงจะมีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาล
“ซิ่ว” รูปกายาที่ล่ำสัน มีสุขภาพแข็งแรง มีอิทธิฤทธิ์ไม่กลัวภยันตรายทั้งปวง มีอายุยืนยาว มือขาวถือดอกบัว หมายถึงผู้เลื่อมใสศรัทธา เป็นผู้สืบสานทำนุบำรุงบวรพระพุทธศาสนา
“เฮง” มือซ้ายถือแก้วสารพัดนึก แค่คิดถึงสิ่งใดก็สมปรารถนา แค่ยามกางปีก ลมเมฆจะพัดพามาซึ่งทรัพย์สมบัติให้มากองรวมกันมากยิ่งๆ ขึ้นไป เปรียบว่าชีวิตเสวยสุขมีเงินทองมาใช้ไม่ขาด สุขสบายไปตลอดชาติ มีครุฑบริวารรายรอบทั้ง 4 ทิศ เปรียบเสมือนว่าไปสถานที่แห่งหนใดจะมีบริวาร มีคนคอยระแวดระวังให้ตลอดเวลา ศัตรูวินาศปราชัยไปเอง
วัตถุมงคลพญาครุฑ รุ่น เฮง ฮก ลก ซิ่ว ได้รับเมตตาจากพระเกจิอาจารย์ มอบแผ่นจาร ทอง เงิน นาก เพื่อให้เกิดความเป็น สิริมงคล อาทิ แผ่นจาร หลวงพ่อรัตน์ วัดป่าหวาย, พระมงคลสุทธิคุณ (หลวงปู่ฟูอติภัทโท) วัดบางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่อเชย ชยธัมโม วัดละหารไร่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง, หลวงปู่ฮก รตินธโร วัดมาบลำบิด อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี, หลวงพ่อสิน ภัททาจาโรวัดละหารใหญ่ จ.ระยอง, พระเทพสุทธาจารย์ (อนันต์ กัลยาณวัฑฒโน) เจ้าอาวาสวัดเขาบางทราย อ.เมือง จ.ชลบุรี
วัตถุมงคลรุ่นดังกล่าว ประกอบด้วย ขนาดบูชา สูง 12 นิ้ว เนื้อปิดทองแท้, เนื้อ 3 กษัตริย์ ฝังพลอย, เนื้อ 3 เค, เนื้อมันปู และเนื้อขันลงหิน
ประกอบพิธีมังคลาภิเษก เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2563 ที่ผ่านมา ที่ศาลาปะรำพิธี ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 2 โดยมีสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธัมมธโช) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เป็นประธานจุดเทียนชัย นั่งปรกอธิษฐานจิตและดับเทียนชัย รวมทั้งยังได้รับเมตตาจาก พระเถรานุเถระ พระเกจิอาจารย์ นั่งปรกอธิษฐานจิต
ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 86.0.4240.198
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #37 เมื่อ:
01 ธันวาคม 2563 14:49:37 »
เบี้ยแก้หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงเรื่องเบี้ยแก้ของหลวงพ่อนุ่ม วัดนางในธัมมิการาม อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งหลวงพ่อนุ่มเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัดอ่างทองเช่นกันครับ
พระอุปัชฌาย์นุ่ม ธมฺมาราโม ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2426 อ่อนกว่าหลวงพ่อพัก 1 ปี โยมบิดาของท่านชื่อสอน โยมมารดาชื่อแจ่ม นามสกุลศรแก้วดารา หลวงพ่อนุ่มเกิดที่บ้านสามจุ่น ตำบลวังน้ำชัย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ตอนที่ท่านอายุได้ 10 ขวบได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาขอมกับพระอธิการพ่วง ผู้เป็นพระพี่ชายที่วัดสามจุ่น ซึ่งอยู่ใกล้บ้านของท่าน และเมื่ออายุท่านครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดปลายนา ตำบลปลายนา อำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2446
โดยมีพระครูธรรมสารรักษา (อ้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดดี วัดปู่เจ้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการช้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจุ่น ศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม พรรษาที่ 8 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลวง ตำบลศาลเจ้าโรงทอ เพื่อสะดวกในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ไปช่วยก่อสร้างอุโบสถวัดสามจุ่น ประชาชนในท้องที่นั้นเคารพศรัทธาเลื่อมใสช่วยสละปัจจัยในการก่อสร้างพระอุโบสถวัดสามจุ่นจึงสำเร็จด้วยดี เมื่อสร้างพระอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจุ่นตามเดิม
พอถึงปี พ.ศ.2459 ท่านก็ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงอีก 10 ปี ต่อมาจึงได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนางในธัมมิการาม ตำบลศาลเจ้าโรงทอ อำเภอวิเศษชัยชาญ ในปี พ.ศ.2469 ในสมัยนั้นวัดนางในชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านจึงเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัดนางใน จนเป็นวัดที่พร้อมด้วยเสนาสนะอันสวยงาม เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ ถึงปี พ.ศ.2477 ท่านจึงได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ผลงานต่างๆ ของหลวงพ่อมีมากมายหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งในวัดนางในและนอกวัด หลวงพ่อนุ่มปกครองวัดนางในเป็นเวลา 30 ปี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2479 ท่านจึงมรณภาพ สิริอายุได้ 71 ปี พรรษาที่ 51
อนึ่ง งานประจำปีของวัดนางในทุกปี จะจัดงานตรงกับเทศกาลตรุษจีน เป็นงานที่ใหญ่โต ทางวัดเปิดโอกาสให้ประชาชนปิดทองรูปหล่อหลวงพ่อนุ่ม มีประชาชนและชาวอ่างทองไปร่วมงานเป็นหมื่นคนทุกปี เนื่องจากชาวเมืองอ่างทองโดยเฉพาะชาววิเศษชัยชาญเคารพศรัทธาในตัวหลวงพ่อนุ่มมากนั่นเองครับ
ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น เหรียญปั๊ม เหรียญหล่อ พระเนื้อผง พระเนื้อดินเผา และเบี้ยแก้ เป็นต้น วัตถุมงคลทุกชนิดของหลวงพ่อนุ่มล้วนแล้วแต่เป็นที่นิยมเสาะหา และหวงแหนของชาววิเศษชัยชาญ เหรียญรุ่นแรกของท่านนั้นสนนราคาสูง
สำหรับเบี้ยแก้ของท่านนั้นก็เป็นที่นิยมกันมาก เนื่องด้วยมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เบี้ยแก้ของหลวงพ่อนุ่มนั้นท่านได้สร้างไว้ มีทั้งเบี้ยพลู ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับของหลวงพ่อพัก และเบี้ยจั่น ซึ่งเป็นหอยเบี้ยขนาดเล็ก มีสีขาว นิยมให้เด็กและผู้หญิงห้อยคอครับ ลักษณะเบี้ยของหลวงพ่อนุ่มนั้น ถ้าเป็นเบี้ยพลูด้านหลังเบี้ยก็จะเหมือนๆ กับเบี้ยของสายวิเศษฯ อีกหลายองค์ แต่สามารถสังเกตที่ด้านใต้ท้องเบี้ยจะเห็นว่าการอุดชันโรงนั้นจะอุดปิดเกือบเต็มใต้ท้องเบี้ย ส่วนเบี้ยจั่นนั้นก็จะอุดเกือบเต็มเช่นกัน แต่สังเกตดูจะเห็นว่ามีฝ้าขาวๆ ปกคลุมอยู่ เนื่องจากท่านจะปิดทับด้วยกระดาษสาบางๆ อีกทีหนึ่งครับ
วันนี้ก็ได้นำรูปเบี้ยแก้ของหลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน มาให้ชมกัน ร่วมทั้งด้านบนและด้านล่างครับ
ชมรมพระเครื่อง แทน ท่าพระจันทร์ ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 88.0.4324.190
Re: เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #38 เมื่อ:
09 มีนาคม 2564 20:04:35 »
เหรียญหมู
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เราคุยกันถึงพระเครื่องและเครื่องรางของขลังมาแล้วมากมาย
สำหรับผู้นิยมพระเครื่องนั้นก็ยังเล่นหาสะสมเหรียญที่ระลึกควบคู่กันไปด้วย
วันนี้เรามาคุยกันถึงเหรียญที่ระลึกกันบ้างนะครับ
เหรียญที่ระลึกเป็นเหรียญที่เกี่ยวเนื่อง กับประวัติศาสตร์ที่สร้างในวาระโอกาสต่างๆ มีเกร็ดความรู้ประกอบด้วย และบางเหรียญก็มีสนนราคาสูง นอกจากนี้เหรียญที่ระลึก ยังน่าจะมีพิธีทางศาสนาและปลุกเสกควบคู่ไปด้วย เหรียญที่ระลึกบางเหรียญก็ยัง เกี่ยวเนื่องกับสถานที่สำคัญๆ
วันนี้ผมจะนำเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง หรือที่มักจะเรียกกันว่า “เหรียญหมู” มา คุยกัน
ที่มาของเหรียญนี้เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างเป็น ที่ระลึกในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระชนมพรรษาครบ 50 พรรษา เหรียญนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า “เหรียญหมู”
เนื่องจากเหรียญนี้ด้านหน้าเป็นรูปหมู (อันเป็นปีประสูติ) ยืนแท่นหันหน้าทางซ้ายของเหรียญ ริมขอบมีข้อความว่า “ปีกุญ พ.ศ.๕๖ ของสิ่งนี้เป็น ที่รฤก” “ว่าล่วงมาครบ ๕๐ ปี บริบูรณ์” ด้านหลังกลางเหรียญเป็นรูปจักรี ริมขอบมีข้อความซ้อน 2 แถว ความว่า “ขอเชิญท่านจงจำรูปหมูนี้คือ เสาวภา ซึ่งอุบัติมาเป็นเพื่อน” “ร่วมชาติภพ อันมีใจหวังดีต่อท่านเสมอ” ด้านหลังมีอยู่ 2 แบบ อีกแบบหนึ่งมีข้อความว่า “งานเฉลิมพระชนมพรรษา” “สมเด็จพระศรีพัชรินทรา” “บรมราชินีนาถ” “พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง”
เหรียญนี้มีสร้างเป็นเนื้อทองคำลงยา เงินลงยา ทองคำ และเงิน สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2456
สถานที่อันเกี่ยวเนื่องกับเหรียญที่ระลึกเหรียญนี้ มีอนุสาวรีย์รูปหมู ที่ถนนราชินี ด้านวัดราชประดิษฐ์ ตรงข้ามกระทรวงมหาดไทย คนละฝั่งคลองหลอด ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา องค์สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พร้อมทั้งสร้างเหรียญหมู ในปี พ.ศ.2456
ปัจจุบันมีผู้คนไปกราบสักการะและขอพรกันอยู่เสมอมิได้ขาด สังเกตได้จากดอกไม้ธูปเทียนที่ปรากฏอยู่ที่อนุสาวรีย์ และก็มีผู้คนที่ไปขอโชคลาภและได้สมประสงค์อยู่มากมายครับ
เหรียญหมูปัจจุบันหายากครับ ราคาค่อนข้างสูง ของปลอมเลียนแบบก็มีเช่นกันครับ เนื่องจากมีราคาสูงจึงมีผู้ไม่หวังดีทำปลอมครับ
ครับที่บอกเล่ามาก็เพื่อจะได้ทราบถึงอนุสาวรีย์รูปหมูที่ริมคลองหลอด และเผื่อมีโอกาสผ่านไปทางริมคลองหลอดแถวหน้าวัดราชประดิษฐ์ ก็อย่าลืมแวะไปสักการะขอพรกันครับ
ในวันนี้ผมนำรูปเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ มาให้ชมครับ
… ข่าวสดออนไลน์
บ่วงนาคบาศหลวงพ่อพัฒน์
พญานาค ตามตำนานเผ่าพันธุ์พญามุจลินท์นาคราช หรือ พญานาค 7 เศียร มีนามว่าพญาศรีสัตตนาคราช เป็นหนึ่งในพญานาคผู้มีฤทธิ์เดชและอานุภาพ ในเหล่าพญานาคทั้งปวง เชื่อว่าเป็นกษัตริย์ ฝั่งลาว
ส่วนพญาศรีสุทโธนาคราช (นาคาธิบดีศรีสุทโธ) เชื่อว่าเป็นกษัตริย์พญานาคเป็นใหญ่ในฝั่งผืนน้ำประเทศไทย เป็นพญานาคเศียรเดียว
หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิชื่อดัง วัดพระธาตุมหาชัย จ.นครพนม เล่าว่า พญานาคทั้งสองตนเป็นสหายรักกันมาก พญาศรีสุทโธนาคราช มีนิสัยอ่อนโยนเมตตา ไม่ชอบการต่อสู้ บำเพ็ญศีลบำเพ็ญเพียรปฏิบัติธรรม ที่วัดพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
สำหรับหลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม พระเกจิเรืองวิทยาคมชื่อดัง วัดห้วยด้วน (ธารทหาร) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ ศิษย์ พุทธาคมหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่ออิน วัดหางน้ำสาคร หลวงพ่อหมึก วัดสระทะเล และหลวงพ่อโหมด วัดโคกเดื่อ
มีนามเดิมว่า พัฒน์ ก้อนจันเทศ เกิดเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2465 พื้นเพเป็นชาวบ้านสระทะเล ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ บิดา-มารดาชื่อ นายพุฒและนางแก้ว (สกุลเดิม) ฟุ้งสุข
เข้าพิธีอุปสมบท พ.ศ.2489 ที่พัทธสีมาวัดสระทะเล อ.พยุหะคีรี มีพระธรรมไตรโลกจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อกัน เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระอธิการชั้ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เดือน มิ.ย.2563 คณะศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา “ทองอุบล” มณีทอง คำข่อง ขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลเป็นเครื่องรางบ่วงนาคบาศ หลวงพ่อพัฒน์ รุ่นทรัพย์อนันต์
เพื่อจัดหารายได้สมทบสร้างศาลา 100 ปี วัดห้วยด้วน จ.นครสวรรค์
เครื่องรางรุ่นนี้จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ, เนื้อเงินลงยาปล้องพระนาภี สีน้ำเงิน เขียว ทอง ฝังพลอยสีประจำวันเกิด 7 สี ชนิดละ 60, เนื้อเงินลงยาปล้องพระนาภี สีธงชาติ ลุ้นพิเศษติดพลอย 7 สี 7 ประจำวันเกิด 50, เนื้อ 2เค เนื้อ 3เค ลำตัวสีเงิน, สีทอง ติดคริสตัล ชนิดละ 120, เนื้ออัลปาก้า ลงยาเขียว 7 สีติดคริสตัล และเนื้อชนวนลงยาตัวสีดำ ครีบทอง ชนิดละ 120
เนื้อทองทิพย์ลงยาซาติน ติดตาคริสตัล 168, เนื้อทองทิพย์ผิวลำตัวประกายรุ้งไฟ 289, เนื้อทองทิพย์ผิวเงา ลงยาตาแดง 400, เนื้อทองทิพย์ผิวลำตัวประกายรุ้งไฟ คริสตัล ติดตาสีเขียว ฟ้า ม่วง ส้ม ชนิดละ 500 เป็นต้น
ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2563 ที่ผ่านมา ที่วัดห้วยด้วน มีหลวงพ่อพัฒน์, หลวงปู่บุญหลาย วัดปุดเนียม จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่บุญมา โชติธัมโม วัดบ้านแก่ง จ.ปราจีนบุรี นั่งปรกอธิษฐานจิต
… ข่าวสดออนไลน์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2476
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: ‘เบี้ยแก้’ หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน - เครื่องรางของขลัง
«
ตอบ #39 เมื่อ:
09 มิถุนายน 2566 14:42:07 »
เบี้ยแก้ หลวงพ่อนุ่ม
หลวงพ่อนุ่ม ธัมมาราโม
‘เบี้ยแก้’ หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน พระเกจิดัง จ.อ่างทอง
ที่มา - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2566
เผยแพร่ - วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2566
“เบี้ยแก้” เป็นเครื่องรางของขลังทำด้วยเบี้ยจั่น ซึ่งเป็นหอยทะเลชนิดหนึ่ง บรรจุปรอทเอาไว้ภายใน แล้วปลุกเสกด้วยอาคม
สร้างมาแต่ครั้งโบราณ มีความเชื่อว่าใช้แก้กันได้สารพัด ป้องกันคุณไสยต่างๆ ป้องกันภูตผีปีศาจ ป้องกันไข้ป่า ป้องกันยาพิษยาสั่ง ป้องกันและแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้
ในด้านร้ายกลับเป็นดี จะมีคุณสมบัติในเรื่องช่วยให้เรื่องร้ายๆ หรือเรื่องที่ไม่ดีต่างๆ ให้กลับกลายเป็นดี จุดสำคัญของคำว่า “เบี้ยแก้” ที่มีความหมายว่า แก้ในสิ่งที่ไม่ดี ให้กลับเป็นดีขึ้นได้
“หลวงพ่อนุ่ม ธัมมาราโม” วัดนางในธัมมิการาม ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัด
สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น เหรียญปั๊ม เหรียญหล่อ พระเนื้อผง พระเนื้อดินเผา เป็นต้น
วัตถุมงคลทุกชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นที่นิยมและเสาะหาของนักสะสมวัตถุมงคล
สำหรับเบี้ยแก้นั้นเป็นที่นิยมกันมากเช่นกัน เนื่องด้วยมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย
เบี้ยแก้ที่ได้จัดสร้างไว้ มีทั้งเบี้ยพลู ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับของหลวงพ่อพัก จันทสุวัณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ และเบี้ยจั่น ซึ่งเป็นหอยเบี้ยขนาดเล็ก มีสีขาว นิยมให้เด็กและผู้หญิงห้อยคอ
ลักษณะเบี้ยของหลวงพ่อนุ่ม ถ้าเป็นเบี้ยพลูด้านหลังเบี้ย จะเหมือนกับเบี้ยของพระเกจิสายวิเศษชัยชาญอีกหลายรุป ถ้าสังเกตที่ด้านใต้ท้องเบี้ยจะเห็นว่าการอุดชันโรง จะอุดปิดเกือบเต็มใต้ท้องเบี้ย
ส่วนเบี้ยจั่นจะอุดเกือบเต็มเช่นกัน แต่สังเกตดูจะเห็นว่ามีฝ้าขาว ปกคลุมอยู่ เนื่องจาก หลวงพ่อนุ่ม จะปิดทับด้วยกระดาษสาบางๆ อีกทีหนึ่ง
ปัจจุบัน เบี้ยแก้หลวงพ่อนุ่ม หายากยิ่ง
หลวงพ่อนุ่ม หรือพระอุปัชฌาย์นุ่ม เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2426 เกิดที่บ้านสามจุ่น ต.วังน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
ตอนอายุ 10 ขวบ ศึกษาภาษาไทยและภาษาขอมกับพระอธิการพ่วง ผู้เป็นพระพี่ชายที่วัดสามจุ่น ซึ่งตั้งอยู่ใกล้บ้าน
เมื่ออายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดปลายนา ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2446 มีพระครูธรรมสารรักษา (อ้น) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระปลัดดี วัดปู่เจ้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการช้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
อยู่จำพรรษาที่วัดสามจุ่น ศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระอธิการพ่วง ส่วนด้านวิทยาคมต่างๆ รวมถึงการฝึกสมาธิ การฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน เดินทางไปร่ำเรียนกับหลวงพ่ออ้น แห่งวัดดอนบุปผาราม จ.สุพรรณบุรี โดยได้เป็นศิษย์ร่วมสำนักกับหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อสม แห่งวัดดอนบุปผาราม และจากฆราวาสอีกท่านหนึ่งชื่อว่า อาจารย์เชตุ
พรรษาที่ 8 ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหลวง ต.ศาลเจ้าโรงทอง เพื่อสะดวกในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ไปช่วยก่อสร้างอุโบสถวัดสามจุ่น
ประชาชนในท้องที่นั้นเลื่อมใสศรัทธา ช่วยสละปัจจัยในการก่อสร้างอุโบสถจนสำเร็จด้วยดี เมื่อสร้างอุโบสถเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้กลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสามจุ่นตามเดิม
กระทั่งปี พ.ศ.2459 วัดหลวง ว่างเจ้าอาวาส ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจอาราธนานิมนต์ให้ไปเป็นเจ้าอาวาส ขณะมีพรรษา 14
ช่วงที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ
จนพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของชาวอำเภอวิเศษชัยชาญ นำโดยนายเผ่า ชัชวาลยางกูร คหบดี และเป็นเจ้าของตลาดสดในอำเภอวิเศษชัยชาญ ต่างเห็นพ้องต้องกัน ควรที่จะอาราธนามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนางในธัมมิการาม ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชุมชนใหญ่ และเป็นศูนย์กลางอำเภออย่างแท้จริง อันจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทางมากราบนมัสการ
ดังนั้น ใน พ.ศ.2469 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนางในธัมมิการาม
วัดนางในธัมมิการาม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองอ่างทอง
ตามประวัติสร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2393 ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดนางใน” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณปี พ.ศ.2453 โดยการบูรณะพัฒนาวัดได้เริ่มจริงจังขึ้นมากในสมัยของพระอุปัชฌาย์นุ่ม เป็นเจ้าอาวาสนับตั้งแต่ พ.ศ.2468 เป็นต้นมา
เกี่ยวกับการศึกษา ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ.2485
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2473 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลศาลเจ้าโรงทอง
พ.ศ.2477 เป็นพระอุปัชฌาย์
ในสมัยนั้นวัดชำรุดทรุดโทรมมาก ท่านจึงเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์ จนกระทั่งเป็นวัดที่พร้อมด้วยเสนาสนะอันสวยงาม เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้
ผลงานต่างๆ มีมากมายหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งในวัดนางในและนอกวัด
ท่านได้สร้างโรงเรียนประชาบาล วัดนางใน สร้างถนนรอบวัด สร้างสะพานข้ามลำน้ำสามจุ่นเชื่อมระหว่างจังหวัดอ่างทองกับสุพรรณบุรี สร้างโรงเรียนประชาบาลบ้านสามหน่อ ที่สุพรรณบุรี
หลวงพ่อนุ่ม ปกครองวัดนางในเป็นเวลา 30 ปี กระทั่งเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2497 ท่านมรณภาพ สิริอายุ 71 ปี พรรษาที่ 51
ปัจจุบัน วัดนางในธัมมิการามเเละบรรดาศิษย์จัดวันทำบุญประจำปี ตรงกับเทศกาลตรุษจีน เป็นงานที่ใหญ่โต ทางวัดเปิดโอกาสให้ประชาชนปิดทองรูปหล่อหลวงพ่อนุ่ม มีประชาชนและชาวอ่างทองไปร่วมงานทุกปี
แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่ชื่อเสียงเรียงนามยังอยู่ในศรัทธาตราบจนปัจจุบัน •
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:
1
2
3
1
[
2
]
3
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ
เริ่มโดย
ตอบ
อ่าน
กระทู้ล่าสุด
กำเนิดความเป็นมา เครื่องรางของขลัง
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
ไอย
6
5343
23 ธันวาคม 2552 19:41:00
โดย
Sweet Jasmine
ความจริงของ "วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง" โดยหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
That's way
1
2913
27 เมษายน 2556 03:33:56
โดย
That's way
กำลังโหลด...