[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 13:58:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2 3 ... 5   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรเว่ยหล่าง  (อ่าน 79393 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2553 11:46:52 »





พระสูตรเว่ยหล่าง
พุทธทาสภิกขุ แปล

ปาฐกถาธรรมนิกายเซ็น โดย นายแพทย์ ตันม่อเซี้ยง
สูตรอันประกาศบนมหาบัลลังก์
แห่ง  "ธรรมรถ"



คำชี้แจ้งของท่านพุทธทาสภิกขุ
เกี่ยวกับการศึกษา-สูตรของเว่ยหล่าง

           เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ มีเรื่องที่จะต้องทราบกันเสียก่อนในเบื้องต้นอยู่ 2 ข้อ

          ข้อแรก หนังสือเล่มนี้จะไม่เป็นที่เข้าใจได้สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่เคยศึกษาทางพุทธศาสนามาก่อนเลย, มันไม่ใช่หนังสือเล่มแรกสำหรับผู้ริเริ่มการศึกษาพุทธศาสนา.  อย่างน้อยที่สุดผู้ที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้  แม้จะไม่เคยอ่านหนังสือของทางฝ่ายมหายานมาบ้างแล้ว  ก็ควรจะได้เคยศึกษาศึกษาหลักแห่งพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาบ้างพอสมควรแล้ว  จนถึงกับ  จับใจความได้อย่างใดอย่างหนึ่งว่า พุทธศาสนาที่ตนศึกษาแล้วนั้นมีหลักอย่างไร หรือวิธีปฏิบัติอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ได้ โดยเฉพาะ.  และอีกทางหนึ่งสำหรับ.ผู้ที่เคยศึกษาแต่ฝ่ายเถรวาทมาอย่างเคร่งครัด   และยังแถมยึดถือทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งไว้อย่างเหนียวแน่นนั้น  อาจจะมองไปเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ผิดหลักพระพุทธศาสนาเป็นมิจฉาทิฏฐิ  หรือเป็นสิ่งที่น่าอันตรายไปอย่างยิ่ง  ไปก็ได้.  ทั้งนี้ เพราะเหตุที่  หลักคิด   และ  แนวปฏิบัติ  เดินกันคนละแนว  เหมือนการเดินของคนที่เดินตามทางใหญ่ที่อ้อมค้อม  กับคนที่เดินทางลัด หรือถึงกับดำดินไปผุดขึ้นในที่ที่ตนต้องการจะให้ไปถึงเสียเลย  ฉันใดฉันนั้น.

          ข้อที่สอง  ผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความสนใจ ความทราบไว้เสียก่อนว่า หลักนิกายเซ็นและโดยเฉพาะของพระสังฆปรินายกชื่อ เว่ยหล่าง นี้ นอกจากจะเป็นวิธีการที่ลัดสั้นแล้ว  ยังเป็นวิธีปฏิบัติที่อิงหลักธรรมชาติทางจิตใจของคนทั่วไป แม้ที่ไม่รู้หนังสือ  หรือไม่เข้าใจพิธีรีตองต่างๆ  จึงเป็นเหตุให้ลัทธินี้ถูกขนานนามว่า  "ลัทธิพุทธศาสนาที่อยู่นอกพระไตรปิฎก" หรืออะไรอื่นทำนองนี้อีกมากมาย.  ที่จริง ผู้ที่จะอ่านหนังสือนี้   ควรจะได้รับการชักชวนให้ลืมอะไรต่างๆที่เคยยึดถือไว้แต่ก่อนให้หมดสิ้นเสียก่อน  จึงจะเป็นการง่ายในการอ่านและเข้าใจ;  

โดยเฉพาะก็คือ  ให้ลืมพระไตรปิฎก ลืมระเบียบพิธีต่างๆทางพุทธศาสนา ลืมความคิดดิ่งๆด้านเดียว  ที่ตนเคยยึดถือ  กระทั่งลืมความเป็นพุทธบริษัทของตนเสีย   คงเอาไว้แต่ใจล้วนๆของมนุษย์  ซึ่งไม่จำกัดว่าชาติใดภาษาใด  หรือถือศาสนาไหน  เป็นใจซึ่งกำลังทำการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ว่า  "ทำอย่างไร จิตของมนุษย์ทุกคนในลักษณะที่เป็นสากลนี้  จักหลุดพ้นจากความบีบคั้นหุ้มห่อพัวพันได้โดยสิ้นเชิง?" เท่านั้น. การทำเช่นนี้จักเป็นประโยชน์อย่างสูงแก่ผู้อ่าน  ในการที่จะได้ทราบอย่างชัดแจ้งถึง ความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนาในขอบเขตของคัมภีร์  กับพุทธศาสนาซึ่งอยู่เหนือคัมภีร์;  พุทธศาสนาที่อิงอยู่กับพิธีรีตองต่าง ๆ กับพุทธศาสนาที่เป็นอิสระตามธรรมชาติ  และเดินตามหลักธรรมชาติ;  พุทธศาสนาที่ให้เชื่อก่อนทำ  กับพุทธศาสนาที่ให้ลองทำก่อนเชื่อ;  พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นวรรณคดี กับพุทธศาสนาประยุกต์;  

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ระหว่างพุทธศาสนาที่ใช้ได้แต่กับคนบางคน  กับพุทธศาสนาที่อาจใช้ให้สำเร็จประโยชน์ได้แก่บุคคลทุกคนแม้ที่ไม่รู้หนังสือ  ขอเพียงแต่ให้มีสติปัญญาตามปรกติสามัญมนุษย์เท่านั้น  ผู้ที่ได้ทราบเช่นนี้แล้วจะได้รับพุทธศาสนาชนิดที่ปฏิบัติได้จริง ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาปฏิบัติอย่างเหลือเฟือ  และลัดดิ่งไปสู่สิ่งที่จะให้เกิดความอิ่ม  ความพอ  ได้โดยเร็ว  ถ้ามิฉะนั้นแล้ว  เขาก็จะเป็นตัวหนอนที่มัวแต่กัดแทะหนังสือ หรือเป็นนักก่อการทะเลาะวิวาทตามทางปรัชญา ไปตามเดิมแต่อย่างเดียว.

          ผู้อ่านจะสังเกตเห็นได้เองเมื่ออ่านในตอนแรก ๆ ว่า หนังสือเรื่องนี้ ไม่ใช่หนังสือที่บรรจุไว้ด้วยข้อความที่ง่าย ๆ หรืออ่านเขาใจได้ง่าย ๆ เพราะเหตุว่าเรื่องการทำใจให้หลุดพ้นซากทุกข์จริง ๆ นั้น  ไม่ใช่ของง่ายเลย.  แต่เป็นสิ่งที่น่าแปลกประหลาดอย่างยิ่งว่า  ถ้าอ่านไปจนเข้าใจแล้ว  จะพบว่าทั้งที่มันเข้าใจยากมาก  ก็ยังอาจเป็นที่เข้าใจได้  แม้แต่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือ  หรือไม่เคยศึกษาพระไตรปิฎกมาก่อนอยู่นั่นเอง  และทั้งไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากสิ่งที่มนุษย์ควรรู้และอาจรู้ได้โดยไม่เหลือวิสัย  ข้อความทุกข้อชี้บทเรียนไปที่ตัวชีวิตนั่นเอง  และได้ถือเอาความพลิกแพลงแห่งกลไกในตัวชีวิต  โดยเฉพาะคือจิต  ซึ่งเป็นโจทย์เลขหรือปัญหาที่ต้องตีให้แตกกระจายไป และจบสิ้นกันเพียงเท่านั้น คือเท่าที่จำเป็นจริง ๆ ไม่มีปัญญาเหลือเฟือชนิดที่ตีปัญหาโลกแตก  ที่ชอบถกเถียงกันในหมู่บุคคล  ที่อ้างตัวว่าเป็นพุทธบริษัทอันเคร่งครัดเท่านั้นเลย.

          อย่างไรก็ตาม  หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นหนังสือในลักษณะตำราธรรมะโดยตรง   เป็นเพียงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นประวัติและคำสอนของเจ้าลัทธิท่านหนึ่งเท่านั้น.  เราไม่อาจจับเอาหลักธรรมะต่าง ๆ ที่จัดเป็นระเบียบเรียบร้อยจนสะดวกแก่การศึกษาไว้ก่อนแล้ว   โดยง่ายเลย.  ผู้ศึกษาจะต้องเลือกเก็บใจความที่เป็นหลักธรรมต่าง ๆ เอาจากเรื่องราวที่เป็นประวัติ   หรือบันทึกเหตุการณ์เหล่านั้น,จากข้อความที่เข้าใจได้ยาก ๆ นั่นแหละ  ผู้ศึกษาจะต้องทำการขุดเพชรในหินด้วยตนเอง.

          หนังสือเล่มนี้   แม้จะเป็นหนังสือของทางฝ่ายมหายานก็จริง   แต่หาใช่มหายานชนิดที่ชาวไทยเราได้เคยได้เห็น  ได้ยิน  ได้ฟัง  หรือเข้าใจกันอยู่โดยมากไม่; มหายานที่เราเคยได้เห็นได้ยินได้ฟังกันอยู่เป็นปรกตินั้น  ก็เป็นชนิดที่เกี่ยวเนื่องติดแน่นกันอยู่กับพระไตรปิฎกและพิธีรีตองต่าง ๆ  และไหลเลื่อนไปในทางเป็นของขลังและของศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน.  ส่วนใจความของหนังสือเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น คงเป็นไปแต่ในทางปฏิบัติธรรมทางใจโดยอาศัยปัญญาเป็นใหญ่หรือที่เราเรียกกันว่า   วิปัสสนาธุระล้วน ๆ  และทั้งเป็นแบบหนึ่งของตนเองซึ่งไม่ซ้ำใคร  เพราะมุ่งหมายจะให้เป็นวิธีลัดสั้นที่สุด  ดังกล่าวแล้ว.   เพราะฉะนั้นผู้ที่เคยตั้งข้อรังเกียจต่อฝ่ายมหายาน   และมีความยึดมั่นมาก  จนถึงกับพอเอ่ยชื่อว่า  มหายานแล้ว  ก็ส่ายหน้าดูถูกเหยียดหยาม  ไม่อยากฟังเอาเสียทีเดียวนั้น  ควรทำใจเสียใหม่ในการที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้  ซึ่งจะทำให้ท่านเกิดความรู้สึกอันตรงกันข้ามจากที่แล้ว ๆ มา  และเกิดความคิดใหม่ขึ้นมาแทนว่า  การตั้งข้อรังเกียจเดิม ๆ ของตนนั้นมันมากและโง่เกินไป.

           เมื่อกล่าวโดยหลักกว้างๆ แล้ว  ลัทธิของเว่ยหล่างนี้  เป็นวิธีลดที่พุ่งแรงบทหนึ่ง  อย่างน่าพิศวง  ถ้าจะชี้ให้เห็นกันง่ายๆ ว่า ลัทธินี้มีหลักหรือวิธีการอย่างใดแล้ว   ก็ต้องชี้ไปในทางที่จะวางหลักสั้นๆ ว่า  ก็เมื่อปุถุชนคนธรรมดาสามัญทั่วไป ย่อมเป็นผู้ที่กำลังมีความเห็นหรือความเข้าใจ  ที่ผิดจากความจริงเป็นปรกติอยู่แล้ว  สิ่งที่ตรงกันข้ามจากที่คนธรรมดาสามัญคิดเห็นหรือเข้าใจนั่นแหละ  เป็นความเห็นที่ถูก  เพราะฉะนั้นเว่ยหล่างจึงได้วางหลักให้คิดชนิดที่เรียกว่า  "กลับหน้าเป็นหลัง" เอาทีเดียว  ตัวอย่างเช่น  เมื่อผู้อื่นกล่าวว่าจงพยายามชำระใจให้สะอาดเถิด เว่ยหล่างกลับกล่าวเสียว่าใจของคนทุกคนสะอาดอยู่แล้ว จะไปชำระมันทำไมอีก  สิ่งที่ไม่สะอาดนั้นไม่ใช่ใจ จะไปยุ่งกับมันทำไม,

หรือถ้าจะกล่าวให้ถูกยิ่งขึ้นไปกว่านั้นก็กล่าวว่า เว่ยหล่าง ถือว่า  ใจมันไม่มีตัวไม่มีตน  แล้วจะไปชำระอะไรให้แก่ใคร  การที่จะไปเห็นว่าใจเป็นใจและไม่สะอาดนั้นเป็นอวิชชาของผู้นั้นเองต่างหาก  ดังนี้เป็นต้น.   โกอานหรือปริศนาธรรมที่ลัทธินี้วางไว้ให้ขบคิด  ก็ล้วนแต่ทำให้คนสามัญทั่วไปงงงวย  เพราะแต่ละข้อมีหลักให้คิดเพื่อให้เห็นสิ่งตรงกันข้าม  จากที่คนธรรมดาคิดกันอยู่  หรือเห็นๆกันอยู่.  ตัวอย่างเช่น  ถ้าหากว่ากามีสีดำนกยางก็ต้องมีสีดำด้วย  หรือถ้าเห็นว่านกยางมีสีขาว  กาก็ต้องขาวด้วย.  และถ้าให้ถูกยิ่งไปกว่านั้นก็คือนกยางนั่นแหละสีดำ  กานั่นแหละสีขาว  สังสารวัฏกับนิพพานเป็นของสิ่งเดียวกัน  ที่ที่เย็นที่สุดนั้น   คือที่ท่ามกลางกองเพลิงแห่งเตาหลอมเหล็ก  ดังนี้เป็นต้น

          ถ้าใครมองเห็นความจริงตามแบบของเว่ยหล่างเหล่านี้แล้ว  ก็ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่า  เขาได้เห็นสิ่งต่างๆ จนลึกถึงขั้นที่มันตรงกันข้าม  จากที่คนสามัญทั่วไปเขามองเห็นกันอยู่เป็นปรกติ.  ฉะนั้น  สำหรับการสรุปใจความของลัทธินี้อย่างสั้นที่สุด  ก็สรุปได้ว่า  พยายามคิดจนเห็นตรงกันข้ามจากความคิดของคนที่ยังมีอวิชชาหุ้มห่อแล้ว  ก็เป็นอันนับได้ว่า  ได้เข้าถึงความจริงถึงที่สุด.  และวิธีการแห่งลัทธินี้ได้วางรูปปริศนาให้คิด  ชนิดที่ผิดตรงกันข้ามไปเสียตั้งแต่แรกทีเดียว  ใครคิดออก  ก็แปลว่า  คนนั้นผ่านไปได้  หรือย่างน้อยที่สุดก็เป็นวิธีที่จะทำให้ผ่านไปได้โดยเร็วที่สุด  นั่นเอง.  คิดให้ตรงข้ามจากสามัญสัตว์ทั่วไปเถิด  ก็จะเข้าถึงความคิดของพระอริยะเจ้าขึ้นมาเอง.  ฉะนั้นนิกายนี้จึงเรียกตัวเองว่า  "นิกายฉับพลัน"  ซึ่งหมายความว่า  จะทำให้ผู้ปฏิบัติตามวิธีลัดนี้ให้บรรลุธรรมได้อย่างฉับพลันโดยไม่มีพิธีรีตอง.

          ส่วนปาฐกถาอีก 3 เรื่อง ของนายแพทย์ ตันม่อเซี้ยง  ซึ่งพิมพ์ไว้ต่อท้ายเรื่องสูตรของเว่ยหล่างนั้นเล่า  ก็เป็นข้อความที่จะให้ผู้อ่านได้เข้าใจในวิธีการปฏิบัติของ  "นิกายฉับพลัน"  ได้เป็นอย่างดี.  จากข้อความทั้งหมดนั้น  ผู้ศึกษาจะได้ความรู้ที่แน่นอนข้อหนึ่งว่า  วิธีการที่  "ฉับพลัน" นั้น  ย่อมขึ้นอยู่แก่ความช่วยเหลือของอาจารย์  หรือผู้ควบคุมที่สามารถจริงๆเป็นส่วนใหญ่.  เพราะตามธรรมดาแล้ว  "การเขี่ยให้ถูกจุด"  นั่นแหละ  เป็นความสำเร็จที่ฉับพลันเหนือความสำเร็จทั้งปวง.  ถ้ามีความจำเป็นถึงขนาดที่จะต้องให้ตัวเองเป็นอาจารย์ตัวเองแล้ว  ขอจงได้พยายามศึกษาและจับใจความสำคัญแห่งข้อความนั้นๆ ให้ได้ของจริงๆ จงทุกๆคนเถิด.

          ธรรมะนั้น  ไม่มีอะไรมากไปกว่าเรื่องของคนเราๆ ทุกๆ คน. เพราะมัวไปยกขึ้นให้สูง  เป็นเรื่องคัมภีร์หรือของศักดิ์สิทธิ์ไปเสียท่าเดียว  ก็เลยกลายเป็นเรื่องพ้นวิสัยของคนไป  เว่ยหล่างมีความมุ่งหมายให้ธรรมะนั้นกลับมาเป็นเรื่องของคนธรรมดาสามัญแม้ที่ไม่รู้หนังสือ. เพื่อประโยชน์แก่คนตามความหมายของคำว่า  "มหายาน"  หวังว่าผู้ที่คิดกรุ่นอยู่ในใจเสมอว่า  ตนเป็นคนฉลาดเพราะรู้หนังสือดีนั้น จักได้ทำตนให้เป็นบุคคลที่ไม่เสียเปรียบผู้ที่ไม่รู้หนังสือได้คนหนึ่งเป็นแน่

พุทธทาส   อินทปัญโญ
โมกขพลาราม ไชยา    31 มี.ค.2496




ผลงาน   ท่านพุทธทาสภิกขุ





สูตรอันประกาศบนมหาบัลลังก์
แห่ง  "ธรรมรถ"




ลำดับสารบัญของเนื้อหา

หมวดที่ 1 ชีวประวัติที่ท่านเล่าเอง
หมวดที่ 2 ว่าด้วย-ปรัชญา
หมวดที่ 3 ว่าด้วยข้อปุจฉา-แลวิสัชนา
หมวดที่ 4 ว่าด้วย สมาธิ และปรัชญา(*๑๖)
หมวดที่ 5 ว่าด้วย ธฺยานะ

หมวดที่ 6 ว่าด้วยบาปสำนึก (การสำนึกบาป)
หมวดที่ 7 ว่าด้วยคำสอนอันเหมาะแก่อุปนิสัย และสิ่งแวดล้อม
หมวดที่ ๘ สำนักฉับพลัน และ สำนักเชื่องช้า
หมวดที่ ๙ พระบรมราชูปถัมภ์
หมวดที่ ๑๐ คำสอนสุดท้าย




 หมวดที่ 1 ชีวประวัติที่ท่านเล่าเอง

   ครั้งหนึ่ง  เมื่อพระสังฆปริณายกองค์นี้  ได้มาที่วัดเปาลัม  ข้าหลวงไว่ แห่งเมืองชิวเจา  กับข้าราชการอีกหลายคน  ได้พากันไปที่วัดนั้น เพื่อขอให้ท่านกล่าวธรรมกถาแก่ประชาชนทั่วไป ณ ห้องโถง.แห่งวิหารไทฟัน  ในนครกวางตุ้ง.    
        ในไม่ช้า  มีผู้มาประชุมฟัง ณ โรงธรรมสภานั้น  คือข้าหลวงไว่แห่งชิวเจา, พวกข้าราชการและนักศึกษาฝ่ายขงจื้อ อย่างละประมาณ 30 คน, ภิกษุ, ภิกษุณี นักพรตแห่งลัทธิเต๋า  และคฤหัสถ์ทั่วไป  รวมเบ็ดเสร็จประมาณหนึ่งพันคน.
        ครั้นพระสังฆปริณายก  ได้ขึ้นนั่งบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว  ที่ประชุมได้ทำการเคารพ. และอาราธนาขอให้ท่านแสดงธรรมว่าด้วยหลักสำคัญแห่งพุทธศาสนา. ในอันดับนั้น   ท่านสาธุคุณองค์นั้น  ได้เริ่มแสดงมีข้อความดังต่อไปนี้-

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  จิตเดิมแท้ (Essence of Mind) ของเราซึ่งเป็นเมล็ดพืชหรือแก่นของการตรัสรู้นั้น  
เป็นของบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ (Pure by nature) และต้องอาศัย  จิตเดิมแท้ นี้เท่านั้น  
มนุษย์เราจึงจะเข้าถึงความเป็นพุทธะได้โดยตรงๆ
อาตมาจะเล่าให้ฟังถึงประวัติของอาตมาเองบางตอน  และเล่าถึงข้อที่ว่า อาตมาได้รับคำสอนอันเร้นลับ  
แห่งนิกายธยาน(เซ็น) มาด้วยอาการอย่างไร

        บิดาของอาตมาเป็นชาวเมืองฟันยาง  ถูกถอดจากตำแหน่งราชการ  ถูกเนรเทศไปอยู่อย่างราษฎรสามัญที่ซุนเจาในมณฑลกวางตุ้ง.  อาตมาโชคร้ายโดยที่บิดาได้ถึงแก่กรรมเสียแต่ในขณะที่อาตมายังเล็กอยู่เหลือเกิน  และทิ้งมารดาไว้ในสภาพที่ยากจนทนทุกข์  เราสองคนจึงย้ายไปอยู่ทางกวางเจา และอยู่ที่นั้นด้วยความทุกข์ยากเรื่อยมา.

        วันหนึ่ง  อาตมากำลังนำฟืนไปขายอยู่ที่ตลาดเพราะเจ้าจำนำคนหนึ่งเขาสั่งให้นำไปขายให้เขาถึงร้าน  เมื่อส่งของและรับเงินเสร็จแล้ว  อาตมาก็ออกจากร้าน  ได้พบชายคนหนึ่งกำลังบริกรรมสูตรๆ หนึ่งอยู่แถวหน้าร้านนั้นเอง  พอได้ยินข้อความแห่งสูตรนั้นเท่านั้น  ใจของอาตมาก็ลุกโพลงสว่างไสวในพุทธธรรม  อาตมาจึงถามชื่อคัมภีร์ที่เขากำลังสวดอยู่  ก็ได้ความจากชายคนนั้นว่า  พระสูตรนั้นชื่อ วัชรสูตร (วชฺรจฺเฉทิกสูตร  หรือพระสูตรอันว่าด้วยเพชรสำหรับตัด) อาตมาจึงไล่เรียงต่อไปว่า  เขามาจากไหน ทำไมเขาจึงจำเพาะมาท่องบ่นแต่พระสูตรนี้.  ชายคนนั้นตอบว่าเขามาจากวัดตุงซั่น ตำบลวองมุย เมืองคีเจา เจ้าอาวาสในขณะนี้มีนามว่าหวางยั่น(ฮ่งยิ้ม) เป็นพระสังฆปริณายก แห่งนิกายเซ็น องค์ที่ 5 มีศิษย์รับการสั่งสอนอยู่ประมาณพันคน  เมื่อเขาไหว้พระสังฆปริณายกที่วัดนั้น  เขาได้ฟังเทศน์หลายครั้งเกี่ยวกับพระสูตรๆนี้  เขาเล่าต่อไปว่า ท่านสาธุคุณองค์นั้นเคยรบเร้าทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตอยู่เสมอ  ให้พากันบริกรรมพระสูตรๆนี้  เผื่อว่าเมื่อเขาพากันบริกรรมอยู่  เขาจะสามารถเห็น  จิตเดิมแท้  ของตนเอง  และจะเข้าถึงความเป็นพุทธะได้โดยตรงๆ เพราะเหตุนั้น

        

        คงเป็นด้วยกุศลที่อาตมาได้ทำไว้แต่ชาติก่อนๆ จึงเป็นเหตุให้อาตมาได้ทราบเรื่องราวเหล่านี้  และอาตมายังได้รับเงินอีก 10 ตำลึงจากชายผู้อารีคนหนึ่งให้มาเพื่อมอบให้มารดาไว้ใช้สอย  ในระหว่างที่อาตมาไม่อยู่  ทั้งเขาเองเป็นผู้แนะนำให้อาตมารีบไปยังตำบลวองมุย  เพื่อพบพระสังฆปริณายกองค์นั้น  เมื่อได้จัดแจงให้มีคนช่วยดูแลมารดาเสร็จแล้ว  อาตมาก็ได้ออกเดินทางไปยังวองมุย และถึงที่นั้นได้ในชั่วเวลาไม่ถึงสามสิบวัน

        ครั้นถึงตำบลวองมุยแล้ว  อาตมาได้ไปนมัสการพระสังฆปริณายก  ท่านถามว่ามาจากไหน  และต้องประสงค์อะไร  อาตมาได้ตอบว่า  "กระผมเป็นคนพื้นเมืองซุนเจา  แห่งมณฑลกวางตุ้ง  เดินทางมาแสนไกลเพื่อทำสักการะเคารพแด่หลวงพ่อท่าน  และกระผมไม่ต้องการอะไร  นอกจากธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ (Buddha-nature) อย่างเดียวเท่านั้น"

        ท่านถามอาตมาว่า  "เป็นชาวกวางตุ้งหรือ?  เป็นคนป่าคนเยิงแล้วเธอจะหวังเป็นพุทธะได้อย่างไรกัน?"

        อาตมาได้เรียนตอบท่านว่า  "แม้ว่าจะมีคนชาวเหนือและคนชาวใต้ก็จริง แต่ทิศเหนือและทิศใต้นั้น หาได้ทำให้ความเป็นพุทธะซึ่งมีอยู่ในคนนั้นๆ แตกต่างกันได้ไม่.  คนป่าคนเยิงจะแตกต่างจากหลวงพ่อ ก็แต่ในทางร่างกายเท่านั้น, แต่ไม่มีความผิดแปลกแตกต่างกันในส่วนธรรมชาติของความเป็นพุทธะของเราทั้งหลาย"  แต่เผอิญมีศิษย์ของท่านเข้ามาหลายคน  ท่านจึงหยุดชะงัก  และสั่งให้อาตมาไปสมทบทำงานกับคนงานหมู่หนึ่ง

        อาตมากล่าวขึ้นว่า  "กระผมกราบเรียนหลวงพ่อว่า "วิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นในใจของกระผมเสมอๆ  เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้มีจิตเลื่อนลอยไปจาก  จิตเดิมแท้ ของตนแล้ว ก็ควรจะเรียกเขาผู้นั้นว่า  "ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก" เหมือนกัน  กระผมจึงไม่ทราบว่างานอะไร ที่หลวงพ่อให้ผมกระทำ?"

        พระสังฆปริณายกได้มีบัญชาว่า  "เจ้าคนป่านี้เฉลียวฉลาดเกินตัวไปเสียแล้ว จงไปที่โรงนั่น  แล้วอย่าพูดอะไรอีกเลย"  อาตมาจึงถอยหลีกไปทางลานข้างหลัง มีคนวัดที่ไม่ใช่บรรพชิตคนหนึ่ง มาบอกให้ผ่าฟืน และตำข้าว




Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กุมภาพันธ์ 2556 17:27:37 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2553 11:52:19 »




 ต่อมาไม่น้อยกว่าแปดเดือน  วันหนึ่งพระสังฆปริณายกได้พบอาตมา และท่านกล่าวว่า  "ฉันทราบดีว่า ความรู้ในพุทธธรรมของเธอนั้นมั่นคงดีมาก  แต่ฉันต้องหลีกไม่พูดกับเธอ  มิฉะนั้นจะมีคนทุศีลบางคนทำอันตรายเธอ,  เธอเข้าใจไหม?" อาตมาตอบว่า  "ขอรับหลวงพ่อ  กระผมเข้าใจ  เพื่อไม่ให้ใครสังเกตเห็นกระผมในข้อนี้  กระผมก็ไม่กล้าเข้าไปใกล้ๆห้องของหลวงพ่อ"

        อยู่มาวันหนึ่ง  พระสังฆปริณายกเรียกประชุมบรรดาศิษย์ทั้งหมด  แล้วประกาศว่า  "ปัญหาแห่งการเวียนเกิดไม่มีที่สิ้นสุด  เป็นปัญหาเฉพาะหน้าเวลานี้  วันแล้ววันเล่า  แท่นที่จะพยายามเปลื้องตัวเองออกมาเสียจากทะเลแห่งการเกิดตายอันขื่นขม  ดูเหมือนว่าพวกเธอกลับหมกหมุ่นอยู่แต่ในบุญกุศลชนิดที่ถูกตัณหาลูบคลำเสียแล้ว  อย่างเดียวเท่านั้น (กล่าวคือบุญกุศลที่เป็นเหตุให้เกิดใหม่) ถ้า จิตเดิมแท้ ของพวกเธอยังมืดมัวอยู่  บุญกุศลทั้งหลายก็ยังจะไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย จงตั้งหน้าค้นหาปรัชญา (ปัญญา) ในใจของเธอเอง  แล้วเขียนโศลก(คาถา) มาให้เราโศลกหนึ่ง ว่าด้วยเรื่อง จิตเดิมแท้ ผู้ใดเข้าใจได้ถูกต้องว่า จิตเดิมแท้นั้นเป็นอย่างไร  ผู้นั้นจะได้รับมอบผ้ากาสาวพัสตร์ (อันเป็นเครื่องหมายตำแหน่งพระสังฆปริณายก) พร้อมทั้งธรรมะ(อันเป็นคำสอนเร้นลับของนิกายธยาน) และฉันจะสถาปนาผู้นั้นเป็นสังฆปริณายกองค์ที่หก (แห่งนิกายนี้) จงไปโดยเร็วอย่ารีรอในการเขียนโศลก  การมัวตรึกตรองไม่จำเป็น และไม่มีประโยชน์อะไร  ผู้ที่รู้แจ้งชัดในจิตเดิมแท้  จะพูดได้ทันทีที่มีใครมาชวนพูดด้วยเรื่องนั้น  และมันจะไม่ละไปจากคลองแห่งญาณจักษุของเขา  แม้ว่าเขาจะกำลังรบพุ่งชุลมุนอยู่กลางสนามรบก็ตามที"

        เมื่อได้รับคำสั่งดังนั้น ศิษย์อื่นๆ (เว้นแต่ชินเชาหัวหน้าศิษย์)พากันถอยออกไปและกล่าวแก่กันและกันว่า "ไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับคนชั้นพวกเราๆที่จะไปตั้งสมาธิเพ่งจิตเขียนโศลก ถวายหลวงพ่อ เพราะว่าตำแหน่งสังฆปริณายกนั้น ใดๆ ก็เห็นว่าจะไม่พ้นมือท่านชินเชา ผู้เป็นหัวหน้าศิษย์ไปได้. เมื่อเราเขียนใช้ไม่ได้ มันก็เป็นการลงแรงเสียเปล่า" เมื่อได้ปรับทุกข์กันดังนี้แล้ว ศิษย์เหล่านั้นทุกคนได้พากันเลิกล้มความตั้งใจในการเขียน และว่าแก่กันว่า "เราจะไปทำให้มันเหนื่อยทำไม? ต่อไปนี้ เราคอยติดตามหัวหน้าของเรา คือ ชินเชา เท่านั้นก็พอแล้ว  ไม่ว่าเขาจะไปข้างไหน  เราจะตามเขาในฐานะเป็นผู้นำ"

        ในขณะเดียวกันนั้น ชินเชา ผู้เป็นเชฏฐอันเตวาสิก  ก็หยั่งทราบความเรื่องนี้ได้ด้วยตนเอง, เขารำพึงว่า "เมื่อพิจารณารดูถึงข้อที่ว่า เราเป็นครูสั่งสอนเขาอยู่ คงไม่มีใครเข้ามาเป็นคู่แข่งขันในการเขียนโศลกกับเรา  แต่เป็นครูสั่งสอนเขาอยู่เราจะเขียนโศลกถวายพระสังฆปริณายกดีหรือไม่  ถ้าเราไม่เขียน พระสังฆปริณายกจะทราบได้อย่างไรว่า  ความรู้ของเราลึกซึ้งหรือผิวเผินเพียงไหน ถ้าวัตถุประสงค์ในการเขียนของเราในครั้งนี้ ได้แก่ความหวังจะได้รับธรรมจากพระสังฆปริณายก ก็แปลว่าเจตนาของเราบริสุทธิ์  แต่ถ้าเราเขียนเพราะอยากได้ตำแหน่งสังฆปริณายก  นั่นแปลว่ามันเป็นความมีเจตนาชั่ว  ในกรณีดังกล่าวจิตของเราก็เป็นจิตที่ข้องอยู่ในโลก  และการกระทำของเราก็คือ  การปล้นยื้อแย่งบัลลังก์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระสังฆปริณายก  แต่ถ้าเราจะไม่เขียนโศลกยื่นท่านเราก็ไม่มีโอกาสจะได้รับทราบธรรมะนั้น. มันช่างยากที่จะตัดสินใจเสียจริงๆ"

        ที่หน้าหอสำนักของพระสังฆปริณายกนั้น มีช่องทางเดินตลอดสามช่อง ที่ผนังของช่องเหล่านี้ โลชูน จิตรกรเอกแห่งราชสำนักได้เขียนภาพต่างๆ  จาก "ลังกาวตารสูตร" แสดงถึงการกลับกลายร่างของผู้ที่เข้าประชุม  และเขียนภาพอันแสดงถึงชาติวงศ์  ของพระสังฆปริณายกทั้งห้าองค์  เพื่อเป็นความรู้ของประชาชน  และให้ประชาชนได้ทำสักการะบูชา

        เมื่อชินเชาแต่งโศลกเสร็จแล้ว  ได้พยายามที่จะส่งต่อพระสังฆปริณายกตั้งหลายหน  แต่เมื่อเดินเข้าไปใกล้จะถึงหอสำนักของพระสังฆปริณายกทีไรหัวใจเต้นเหงื่อกาฬแตกท่วมตัวทุกที.  เขาไม่สามารถที่จะแข็งใจเข้าไปส่งได้สำเร็จ  ชั่วเวลาเพียง 4 วัน เขาพยายามถึง 13 ครั้ง  ในที่สุดเขาก็ตกลงใจว่า "เราจะเขียนมันไว้ที่ฝาผนังช่องทางเดิน  ให้พระสังฆปริณายกท่านเห็นเองดีกว่า"  ถ้าถูกใจท่าน  เราจึงค่อยออกมานมัสการท่าน  และเรียนท่านว่าเราเป็นผู้เขียน  ถ้าท่านเห็นว่ามันผิดใช้ไม่ได้  ก็แปลว่าเราได้เสียเวลาไปหลายปีในการมาอยู่บนภูเขานี้  และทำให้ชาวบ้านหลงเคารพกราบไหว้เสียเป็นนาน  โดยไม่คู่ควรกันเลย  และเมื่อเป็นเช่นนี้  ก็แปลว่าเราไม่ได้ก้าวหน้าในการศึกษาพระธรรมเลยแม้แต่น้อยมิใช่หรือ?"  ครั้นถึงเวลาเที่ยงคืนในวันนั้น  ชินเชาถือตะเกียงลอบไปเขียนโศลกที่เขาแต่งขึ้นไว้  ที่ผนังช่องทางเดินทางทิศใต้  โดยหวังอยู่ว่า  พระสังฆปริณายกจะได้เห็นและหยั่งทราบถึงวิปัสสนาญาณที่เขาได้บรรลุ โศลกนั้นมีว่า:-


" กายของเราคือต้นโพธิ์ (*1)
ใจของเราคือกระจกเงาอันใส
เราเช็ดมันโดยระมัดระวังทุกๆ ชั่วโมง
และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ"


        พอเขียนเสร็จ เขาก็รีบกลับไปห้องของเขาทันที  โดยไม่มีใครทราบการกระทำของเขา  ครั้นไปถึงแล้วเขาก็วิตกต่อไปว่า  "พรุ่งนี้ถ้าพระสังฆปริณายกเห็นโศลกของเรา และพอใจ ก็แปลว่าเราพร้อมที่จะได้รับธรรมะอันลึกซึ้งของท่าน แต่ถ้าท่านติว่าใช้ไม่ได้ มันก็แปลว่าเรายังไม่สมควรที่จะได้รับธรรมะอันนั้น เนื่องจากความชั่วที่เราทำไว้แต่ชาติก่อนๆ มาหุ้มห่อใจเราอย่างหนาแน่น  มันเป็นการยากเย็นเหลือเกิน  ในการที่จะทายว่า  พระสังฆปริณายกจะมีความรู้สึกอย่างไรในโศลกอันนั้น"  เขาได้คิดทบทวนอยู่เช่นนั้นจนกระทั่งคืนยันรุ่ง  นั่งก็ไม่เป็นสุข  นอนก็ไม่เป็นสุข

        แต่พระสังฆปริณายกได้ทราบอยู่ก่อนแล้วว่า  ชินเชาผู้นี้ยังไม่ได้ก้าวเข้าไปในประตูแห่งการตรัสรู้  และเขายังไม่ซึมทราบในจิตเดิมแท้

        รุ่งเช้า พระสังฆปริณายกให้ไปเชิญ นายโลชุน  จิตรกรแห่งราชสำนักมาแล้วเดินไปตามช่องทางเดินทางทิศใต้พร้อมกัน  เพื่อให้เขียนภาพที่ผนังเหล่านั้น  จึงเป็นการประจวบเหมาะที่ทำให้พระสังฆปริณายกได้เห็นโศลกที่ชินเชาเขียนไว้

        พระสังฆปริณายก  ได้กล่าวแก่โลชุนช่างเขียนว่า  "เสียใจที่ได้รบกวนท่านให้มาจนถึงนี่  บัดนี้เห็นว่า ผนังเหล่านี้ไม่ต้องเขียนภาพเสียแล้ว  เพราะสูตรๆนั้นได้กล่าวไว้ว่า "สรรพสิ่งที่มีรูป หรือมีความปรากฏกิริยาอาการ ย่อมเป็นอนิจจังและเป็นมายา"  ฉะนั้น ควรปล่อยโศลกนั้นไว้บนผนังอย่างนั้น เพื่อให้มหาชนได้ศึกษาและท่องบ่น  และถ้าเขาปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อความที่สอนไว้นั้น เขาก็จะพ้นทุกข์  ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ  อานิสงส์ที่ผู้ปฏิบัติตามจะพึงได้รับนั้นมีมากนัก"



                


*1ต้นโพธิ์ในที่นี้  หมายถึงไม้เนื้ออ่อนไม่มีแก่น  ได้แก่ไม้ตระกูลมะเดื่อทั่วไป ข้อนี้หมายถึงความไม่มีแก่นสารของร่างกาย และเห็นความสำคัญอยู่ที่ใจ ซึ่งจะต้องคอยรักษาให้สะอาดตามสภาพเดิม อยู่เสมอ  ขอเตือนผู้อ่านและผู้ศึกษาให้กำหนดข้อความในตอนนี้ให้ดี เพราะเป็นข้อความที่ชี้ให้เห็นว่า เซ็นไม่เห็นพ้องกับมติที่ว่ามีอาตมัน ซึ่งจะทราบได้เมื่ออ่านต่อไปถึงตอนข้างหน้า  ซึ่งปฏิเสธความมีอยู่แห่งกระจก  (พุทธทาสผู้แปลไทย)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2553 16:58:38 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2553 14:05:20 »




ครั้นกล่าวดังนั้นแล้ว  พระสังฆปริณายกได้สั่งให้นำเอาธูปเทียนมาจุดบูชาที่ตรงหน้าโศลกนั้น และสั่งให้ศิษย์ของท่านทุกคนทำความเคารพ  แล้วจำเอาไปท่องบ่น  เพื่อให้เขาสามารถพิจารณาเห็น  จิตเดิมแท้  เมื่อศิษย์เหล่านั้นท่องได้แล้ว ทุกคนพากันออกอุทานว่า "สาธู"

        ครั้นเวลาเที่ยงคืน  พระสังฆปริณายกได้ให้คนไปตามตัวชินเชามาที่หอแล้วถามว่าเขาเป็นผู้เขียนโศลกนั้นใช่หรือไม่  ชินเชาได้ตอบว่า  "ใช่ขอรับ  กระผมมิได้เห่อเหิมเพื่อตำแหน่งสังฆปริณายก  เพียงแต่หวังว่าหลวงพ่อจะกรุณาบอกให้ทราบว่า โศลกนั้นแสดงว่ามีแววแห่งปัญญาอยู่ในนั้นบ้างสักเล็กน้อย  หรือหาไม่"

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  "โศลกของเจ้าแสดงว่าเจ้ายังไม่ได้รู้แจ้ง จิตเดิมแท้ เจ้ามาถึงประตูแห่งการบรรลุธรรมแล้วเป็นนาน  แต่เจ้ายังไม่ได้ก้าวข้ามธรณีประตูเข้าไป  การแสวงหาความตรัสรู้อันสูงสุด  ด้วยความเข้าใจอย่างของเจ้าที่มีอยู่ในขณะนี้นั้น ยากที่จะสำเร็จได้"

        "การที่ใครจะบรรลุอนุตรสัมโพธิได้นั้น ผู้นั้นจะต้องสามารถรู้แจ้งด้วยใจเอง ในธรรมชาติแท้ของตนเอง หรือที่เรียกว่า จิตเดิมแท้  อันเป็นสิ่งที่ใครสร้างขึ้นไม่ได้ หรือทำลายให้สูญหายไปก็ไม่ได้  ชั่วเวลาขณะจิตเดียวเท่านั้น  ผู้นั้นสามารถเห็นแจ้งจิตเดิมแท้  ได้โดยตลอดกาลทั้งปวง  ต่อจากนั้นทุกๆ สิ่งก็จะเป็นอิสระจากการถูกกักขัง  กล่าวคือจะเป็นวิมุติหลุดพ้นไป ตถตา (คือความเป็นแต่ที่เป็นอยู่เช่นนั้น ไม่อาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้, ซึ่งเป็นชื่อของจิตเดิมแท้อีกชื่อหนึ่ง) ปรากฏขึ้นเป็นครั้งเดียวหรือชั่วขณะจิตเดียว  ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระจากความหลงได้ตลอดกาลไม่มีที่สิ้นสุด  ไม่ว่าสถานการณ์รอบข้างจะเป็นเช่นไรใจของผู้นั้น  ก็จะยังคงอยู่ในสภาพแห่ง  "ความเป็นเช่นนั้น" สถานะเช่นนี้ที่จิตได้ลุถึงนั่นแหละคือตัวสัจจธรรมแท้  ถ้าเจ้าสามารถเห็นสิ่งทั้งปวง โดยลักษณะการเช่นนี้  เจ้าจะได้รู้แจ้งจิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นการตรัสรู้อันสูงสุด"

         "เจ้าไปเสียก่อน ไปคิดมันอีกสักสองวัน  แล้วเขียนโศลกอันใหม่มาให้ฉัน  ถ้าโศลกของเจ้าแสดงว่า เจ้าเข้าพ้นประตูไปแล้ว  ฉันจะมอบผ้ากาสาวพัสตร์และธรรมะ(แห่งนิกายธยาน) ให้แก่เจ้าสืบทอดไป"

        ชินเชา  กราบพระสังฆปริณายกแล้วหลีกไป  เวลาล่วงเลยมาหลายวันเขาก็ยังจนปัญญา  ในการที่จะเขียนโศลกอันใหม่  มันทำให้ใจของเขาหกหัวกลับไม่รู้บนล่างเหมือนคนถูกผีอำ  เป็นไข้ทั้งที่ตัวเย็นชืดเหมือนกับที่คนกำลังฝันร้ายจะนั่งหรือเดินอย่างไร ก็ไม่พบอริยาบทที่ผาสุก.

                เวลาล่วงมาอีกสองวัน  บังเอิญเด็กหนุ่มคนหนึ่งเดินผ่านมาทางห้อง  ที่อาตมาตำข้าวอยู่  เด็กคนนั้น  ได้เดินท่องโศลกของชินเชา ที่จำมาจากฝาผนังอย่างดังๆ พอได้ยินโศลกนั้น  อาตมาก็ทราบได้ทันทีว่าผู้แต่งโศลกนั้น  ยังไม่ใช่ผู้เห็นแจ้งใน  จิตเดิมแท้  แม้ว่าในเวลานั้น  อาตมายังมิได้รับคำอธิบายอะไรเกี่ยวกับข้อความในโศลกนั้น  อาตมาก็ยังเข้าใจในความหมายทั่วๆไปของมันได้เป็นอย่างดี  อยู่เองแล้ว

        อาตมาถามเด็กนั้นว่า  "โศลกอะไรกันนี่?"  เด็กเขาตอบว่า "ท่านคนป่าคนเยิง, ท่านไม่ทราบเรื่องโศลกนี้ดอกหรือ? พระสังฆปริณายกได้ประกาศแก่ศิษย์ทั้งหลายว่า  ปัญหาเรื่องการเกิดใหม่ไม่รู้สิ้นสุดนั้น  เป็นปัญหาเฉพาะหน้าของคนทั้งหลาย, และว่าผู้ใดปรารถนาจะได้รับมอบผ้ากาสาวพัสตร์และธรรมะ จะต้องเขียนโศลกให้ท่านโศลกหนึ่ง  และว่าผู้ที่รู้แจ้งจิตเดิมแท้  จะได้รับมอบของเหล่านั้น  และจะถูกแต่งตั้งเป็นสังฆปริณายกองค์ที่หก ท่านชินเชาศิษย์อาวุโส ได้เขียนโศลกเรื่อง "ไม่มีรูป"  โศลกนี้ไว้ที่ผนัง  ทางเดินด้านทิศใต้  และ  พระสังฆปริณายกให้สั่งให้พวกเราท่องบ่นโศลกอันนี้ไว้  และท่านยังได้กล่าวไว้ด้วยว่า  ผู้ใดเก็บเอาคำสอนนี้ไปปฏิบัติ  ผู้นั้นจะได้รับอานิสงส์เป็นอันมาก  จะพ้นจากทุกข์แห่งการเกิดในอบายภูมิ"

        อาตมาได้บอกแก่เด็กหนุ่มคนนั้นว่า  อาตมาก็ปรารถนาที่จะท่องบ่นโศลกนั้นเหมือนกัน  เผื่อว่าในภพเบื้องหน้า  จะได้พบคำสอนเช่นนั้นอีก  อาตมาได้บอกเขาด้วยว่า  แม้อาตมาจะได้ตำข้าวอยู่ที่นี่ตั้งแปดเดือนมาแล้ว  ก็ไม่เคยเดินผ่านไปแถวช่องทางเดินเหล่านั้นเลย  เขาจะต้องนำอาตมาไปถึงที่ที่โศลกนั้นเขียนไว้บนผนัง  เพื่อให้อาตมาได้มีโอกาสทำการบูชาโศลกนั้น  ด้วยตนเอง

        เด็กหนุ่มนั้น  นำอาตมาไปยังที่นั่น  อาตมาขอร้องให้เขาช่วยอ่านให้ฟังเพราะอาตมาไม่รู้หนังสือ  เจ้าหน้าที่เสมียนพนักงานแห่งตำบลกองเจาคนหนึ่งชื่อ จางตัตยุง เผอิญมาอยู่ที่นั้นด้วย ได้ช่วยอ่านให้ฟัง  เมื่อเขาอ่านจบ อาตมาได้บอกแก่เขาว่า  อาตมาก็ได้แต่งโศลกไว้โศลกหนึ่งเหมือนกัน  และขอให้เขาช่วยเขียนให้อาตมาด้วย  เขาออกอุทานว่า  "พิลึกกึกกือเหลือเกิน  ที่ท่านก็มาแต่งโศลกกับเขาได้ด้วย"

        อาตมาได้ตอบว่า  "ถ้าท่านเป็นผู้ที่เสาะแสวงหาการบรรลุธรรมอันสูงสุดคนหนึ่งกะเขาด้วยละก็,  ท่านอย่างดูถูกคนเพิ่งเริ่มต้น  ท่านควรจะรู้ไว้ว่า  คนที่ถูกจัดเป็นคนชั้นต่ำ  ก็อาจมีปฏิภาณสูงได้เหมือนกัน  และคนชั้นสูง  ก็ปรากฏว่ายังขาดสติปัญญาอยู่บ่อยๆ  ถ้าท่านดูถูกคน  ก็ชื่อว่า  ท่านทำบาปหนัก"



        เขากล่าวว่า  "ไหนเล่า จงบอกโศลกของท่านมาชี  ฉันจะช่วยเขียนให้ท่านแต่อย่าลืมช่วยฉันนะ  ขอให้ท่านลุความสำเร็จในธรรมของท่านเถิด" โศลกของอาตมามีว่า:-


"ไม่มีต้นโพธิ์
ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว
ฝุ่นจะลงจับอะไร?"



        เมื่อเขาเขียนโศลกลงที่ผนังแล้ว  ทั้งพวกศิษย์และคนนอกทุกคนที่อยู่ที่นั่น  ต่างพากันประหลาดใจอย่างยิ่ง  จิตใจเต็มตื้นไปด้วยความชื่นชม  เขาพากันกล่าวแก่กันและกันว่า  "น่าประหลาดเหลือเกิน  ไม่ต้องสงสัยเลย  เราไม่ควรตัดสินใครว่าเป็นอย่างไร  ด้วยการเอารูปร่างภายนอกเป็นประมาณ  มันเป็นไปได้อย่างไรกันหนอ  ที่เราพากันใช้สอยโพธิสัตว์ผู้อวตาร  ให้ทำงานหนักให้แก่เรา  มานานถึงเพียงนี้?"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2553 17:08:50 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2553 14:14:38 »



http://i306.photobucket.com/albums/nn251/jawrakea/MuangHongsa.jpg
พระสูตรเว่ยหล่าง

พระสังฆปริณายก  เห็นคนเหล่านั้นพากันเต็มตื้น  ไปด้วยความอัศจรรย์ใจ  ท่านจึงเอารองเท้าลบโศลก  อันที่เป็นของอาตมาออกเสีย  ถ้าไม่ทำดังนั้น  พวกคนที่มักริษยาจะพากันทำร้ายอาตมา  พระสังฆปริณายก  แสดงความรู้สึกบางอย่างออกมา  ซึ่งทำให้คนเหล่านั้นพอใจที่จะคิดว่า  แม้ผู้ที่เขียนโศลกอันนี้ก็ยังไม่ใช่เป็นผู้ที่เห็นแจ้ง  จิตเดิมแท้  เหมือนกัน

         วันรุ่งขึ้น  พระสังฆปริณายกได้ลอบมาที่โรงตำข้าวอย่างเงียบๆ ครั้นเห็นอาตมาตำข้าวอยู่ด้วยสากหิน  ท่านกล่าวแก่อาตมาว่า  "ผู้ค้นหาหนทางต้องยอมเสี่ยงชีวิตของตนเพื่อธรรมะ  เขาควรทำเช่นนั้นมิใช่หรือ?"  แล้วท่านถามอาตมาต่อไปว่า  "ข้าวได้ที่แล้วหรือ?"  อาตมาตอบท่านว่า  ได้ที่นานแล้ว  ยังรอคอยอยู่ก็แต่ตะแกรงสำหรับร่อนเท่านั้น"  ท่านเคาะครกตำข้าวด้วยไม้เท้า 3 ครั้ง  แล้วก็ออกเดินไป

        อาตมาทราบดีว่าการบอกใบ้เช่นนั้น  หมายความว่ากระไร  ดังนั้นในเวลาสามยามแห่งคืนนั้น  อาตมาจึงไปที่ห้องท่าน  ท่านใช้จีวรขึ้นขึงบังมิให้ใครเห็นเราทั้งสองแล้ว  ท่านก็ได้อธิบายข้อความอันลึกซึ้งในวัชรสูตร(กิมกังเก็ง) ให้แก่อาตมา  เมื่อท่านได้อธิบายมาถึงข้อความที่ว่า  "คนเราควรจะใช้จิตของตน  ในวิถีทางที่มันจะเป็นอิสระได้จากเครื่องข้องทั้งหลาย"(*2)  ทันใดนั้นอาตมาก็ได้บรรลุการตรัสรู้ธรรมโดยสมบูรณ์  และได้เห็นแจ้งชัดว่า  "ที่แท้ทุกๆ สิ่งในสากลโลกนี้ก็คือตัว  จิตเดิมแท้  นั่นเองมิใช่อื่นไกล"

        อาตมาได้ร้องขึ้นในที่เฉพาะหน้าพระสังฆปริณายก ในที่นั้นว่า "แหม! ใครจะไปคิดว่า จิตเดิมแท้ นั้น เป็นของบริสุทธิ์อย่างบริสุทธิ์แท้จริง
ใครจะไปคิดว่า จิตเดิมแท้ นั้น เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจ ความต้องเป็นอยู่ หรือภายใต้ความดับสูญ อย่างอิสระแท้จริง  
ใครจะไปคิดว่า จิตเดิมแท้ นั้น เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเอง อย่างสมบูรณ์แท้จริง  
ใครจะไปคิดว่า จิตเดิมแท้ นั้น เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความเปลี่ยนแปลง  อย่างนอกเหนือแท้จริง
ใครจะไปคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมานี้  ไหลเทออกมาจากตัว จิตเดิมแท้"

        เมื่อพระสังฆปริณายก สังเกตเห็นว่า  อาตมาได้เห็นแจ้งแล้วใน  จิตเดิมแท้  ท่านได้กล่าวว่า "สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักจิตใจของตนเอง ว่าคืออะไร  ก็ป่วยการที่ผู้นั้นจะศึกษาพุทธศาสนา  ตรงกันข้าม  ถ้าผู้ใดรู้จักจิตใจของตนเองว่าเป็นอะไร  และเห็นด้วยปัญญาอย่างซึมซับว่า ธรรมชาติแท้ของตนเองคืออะไรด้วยแล้ว  ผู้นั้นคือวีรมนุษย์(นายโรงโลก) คือครูของเทวดาและมนุษย์  คือพุทธะ"

        ดังนั้น, ในฐานะที่ความรู้ย่อมไม่เป็นของบุคคลใดแต่ผู้เดียว  ธรรมะอันนั้นจึงถูกมอบตกทอดมายังอาตมาในเที่ยงคืนวันนั้นเอง  ผลก็คืออาตมาเป็นทายาทผู้ได้รับมอบทอดช่วง คำสั่งสอนแห่งนิกาย  "ฉับพลัน" (sudden school) พร้อมทั้งจีวรและบาตร (อันเป็นเครื่องหมายตำแหน่งสังฆปริณายกแห่งนิกายนี้สืบลงมาตั้งแต่สังฆปริณายกองค์แรก)

        พระสังฆปริณายกได้กล่าวสืบไปว่า  "บัดนี้ ท่านเป็นสังฆปริณายกองค์ที่หก  ท่านต้องคุ้มครองตัวของท่านให้ดี  จงช่วยมนุษย์ให้มากพอที่จะช่วยได้ จงทำการเผยแพร่คำสอน และสืบอายุคำสอนไว้อย่าให้ขาดตอนลงได้"  จงจำโศลกโคลงอันนี้ของเราไว้:-

                  "สัตว์ที่มีความรู้สึกนึกคิด ซึ่งเราหว่านเมล็ดพืชพันธุ์แห่งการตรัสรู้ ลงในเนื้อนาแห่งความเป็นไป
                   ตามอำนาจแห่งเหตุและผลแล้ว จะเก็บเกี่ยวผลถึงพุทธภูมิ
                   วัตถุมิใช่สัตว์ที่มีความรู้สึกนึกคิด  เป็นสิ่งว่างเปล่าจากธรรมชาติแห่งพุทธะ  ย่อมไม่หว่านและไม่เก็บเกี่ยวเลย"


        ท่านได้กล่าวสืบไปว่า "เมื่อสังฆปริณายกนามว่า โพธิธรรมได้มาสู่ประเทศจีนนี้เป็นครั้งแรก  ชาวจีนส่วนมากไม่ยอมเชื่อในท่าน  ดังนั้น, ผ้ากาสาวพัสตร์นี้ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมที่จะต้องมอบต่อๆกันไป  จากพระสังฆปริณายกองค์หนึ่งไปยังอีกองค์หนึ่ง  ในฐานะเป็นเครื่องหมาย  สำหรับธรรมะนั้นเล่า ก็มอบทอดช่วงกันไปตัวต่อตัวโดยทางใจ(จิตถึงจิต) ไม่เกี่ยวกับคัมภีร์และผู้รับมอบนั้น  ต้องเป็นผู้ที่เห็นธรรมะนั้นแล้วอย่างแจ่มแจ้ง  ด้วยความพยายามของตนเองโดยเฉพาะ  นับตั้งแต่อดีตกาลอันกำหนดนับไม่ได้เป็นต้นมา เป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันสำหรับพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง  ก็จะมอบหัวใจคำสอนของพระองค์ให้แก่ผู้จะสืบอายุพระพุทธศาสนาต่อไป  แม้สำหรับพระสังฆปริณายกหัวหน้าแห่งนิกายองค์หนึ่งๆก็เหมือนกัน  ย่อมจะมอบคำสอนอันเร้นลับแห่งนิกายนั้นโดยตัวต่อตัว  ให้แก่พระสังฆปริณายกที่รองลำดับลงไปโดยความรู้ทางใจ (ไม่เกี่ยวกับตำรา) แต่สำหรับผ้ากาสาวพัสตร์และบาตรนี้อาจเป็นต้นเหตุแห่งการยื้อแย่งเถียงสิทธิกันขึ้นก็ได้  ท่านเป็นคนสุดท้ายที่ได้รับมอบในเวลานี้  ท่านควรมอบมันไปเสียแก่ผู้ที่จะรับสืบต่อจากท่านได้ ชีวิตของท่านกำลังล่อแหลมต่ออันตราย  จงเดินทางไปเสียจากที่นี่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้  มิฉะนั้นจะมีคนทำอันตรายท่าน

        อาตมาถามท่านว่า ควรจะไปทางไหน  ท่านตอบว่า "จงหยุดที่ตำบลเวย  แล้วซ่อนตัวอยู่ผู้เดียวที่ตำบลวุย"

        เมื่อได้รับผ้ากาสาวพัสตร์และบาตรในตอนเที่ยงคืนเสร็จแล้ว  อาตมาได้กล่าวกะท่านว่า  เนื่องจากตัวเป็นชาวใต้  จะรู้จักเดินทางไปตามภูเขาได้อย่างไรและไม่สามารถเดินไป(เพื่อลงเรือ) ที่ปากแม่น้ำได้  ท่านตอบว่า  "อย่าร้อนใจเราจะไปด้วย"



*2 บันทึกของ  ออน คณาจารย์แห่งนิกายธยานผู้หนึ่งมีว่า-เป็นอิสระได้จากเครื่องข้องทั้งหลาย นั้น หมายความว่า ไม่ข้องแวะอยู่ในรูปหรือวัตถุ ไม่ข้องแวะอยู่ในเสียง ไม่ข้องแวะอยู่ในความหลง ไม่ข้องแวะอยู่ในการตรัสรู้ ไม่ข้องแวะอยู่ในสิ่งอันเป็นตัวยืนโรง  ไม่ข้องแวะอยู่ในสิ่งอันเป็นคุณลักษณะที่อาศัย(อยู่กับตัวที่ยืนโรง) คำว่า "ใช้จิต" นั้น หมายความว่า ให้ "จิตเอก" (กล่าวคือ ตัวจิตร่วมของสากลโลก) ได้ปรากฏตัวมันเองในที่ทุกแห่ง อธิบายว่า เมื่อใดจิตประกอบอยู่ด้วยเมตตา หรือโทสะก็ตาม  เมื่อนั้นตัวเมตตาหรือตัวโทสะก็ปรากฏแทนเสีย ส่วนตัว "จิตเดิมแท้" ลับหายไป  แต่เมื่อจิตของเราไม่ประกอบอยู่ด้วยอะไรเลย เราก็ย่อมเห็นได้โดยประจักษ์ว่า  โลกนี้ทั้งสิบภาค(หรือสิบทิศ) ไม่ใช่อะไรอื่นไกล  นอกไปจากความปรากฏของ "จิตเอก" นั้นเท่านั้น

คำอธิบายข้างบนนี้แน่นแฟ้นและตรงจุด นักศึกษาที่เป็นเจ้าตำรานั้น ไม่สามารถให้คำอธิบายที่น่าพอใจเช่นนี้ได้ เพราะเหตุนั้น  คณาจารย์ฝ่ายธยาน (รวมทั้งท่าน ออน อาจารย์ฝ่ายธยานมีชื่อของประเทศด้วย ผู้หนึ่ง)  จึงอยู่สูงกว่าพวกที่เทศนาสั่งสอน ตามพระไตรปิฎก  (ดิปิงเซ่ ผู้แปลเดิม)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 เมษายน 2555 09:31:17 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพที่หายไป,จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2553 14:25:09 »




ท่านได้มาเป็นเพื่อนอาตมา  จนถึงกิวเกียง, ณ ที่นั้นท่านได้บอกให้อาตมาลงเรือลำหนึ่ง  ท่านแจวเรือนั้นด้วยตนเอง  อาตมาจึงขอร้องให้ท่านนั่งลงเสียและอาตมาจะแจวเอง  ท่านตอบว่า  "มันเป็นสิทธิฝ่ายเราผู้เดียวเท่านั้นในการที่จะพาท่านข้ามไป (ในที่นี้หมายถึงทะเลแห่งการเกิดตาย  ซึ่งคนเราจะต้องข้าม ก่อนแต่จะลุถึงฝั่งคือนิพพาน) อาตมาจึงตอบท่านว่า  "เมื่อกระผมยังอยู่ภายใต้โมหะ ก็เป็นหน้าที่ที่หลวงพ่อจะต้องพากระผมข้ามไป  แต่เมื่อได้บรรลุธรรมเป็นการตรัสรู้แล้ว กระผมก็ควรจะข้ามมันด้วยตนเอง (คำว่า "ข้าม" ทั้งสองแห่งนั้น แม้เขียนเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน)  โดยที่กระผมเกิดที่บ้านนอกชายแดน  แม้การพูดจาของกระผมยังแปร่งไม่ถูกต้องในการออกเสียงก็ตามแต่กระผมก็ได้รับเกียรติจากหลวงพ่อ ในการที่ได้รับมอบธรรมะอันนั้นจากหลวงพ่อ ฉะนั้นก็แปลว่ากระผมได้บรรลุธรรมแล้ว  มันควรจะเป็นสิทธิของกระผม  ในการที่จะพาตัวเองข้ามทะเลแห่งความเกิดตายไปได้ด้วยการที่ตนเห็นแจ้ง จิตเดิมแท้  ของตนเองแล้ว"

        "ถูกแล้ว  ถูกแล้ว"  ท่านรับรอง  แล้วท่านกล่าวต่อไปว่า  "นับจำเดิมแต่นี้เป็นต้นไป  เพราะอาศัยท่านเป็นเหตุ  พุทธศาสนา (หมายถึงนิกายธยาน)จะแผ่กว้างขวางไพศาล  นับตั้งแต่จากกันวันนี้แล้ว  อีกสามปีเราก็จะลาจากโลกนี้ไป  ท่านจงเริ่มต้นการจาริกของท่านตั้งแต่บัดนี้เถิด  จงลงไปทางใต้ให้เร็วเท่าที่จะเร็วได้  อย่าด่วนทำการเผยแพร่ให้เร็วเกินไป เพราะว่าพุทธธรรมนี้(หมายถึงนิกายธยาน) ไม่เป็นของที่เผยแพร่ได้โดยง่ายเลย

        เมื่อได้กล่าวคำอำลาแล้ว  อาตมาก็จากท่าน เดินทางลงมาทางทิศใต้ เป็นเวลาประมาณสองเดือน  อาตมาก็มาถึงภูเขาไต้ยู้ ณ ที่นี้ อาตมาได้สังเกตเห็นว่ามีคนหลายร้อยคนติดตามรอยอาตมา  ด้วยหวังจะยื้อแย่งผ้ากาสาวพัสตร์ และบาตร (เป็นปูชนียวัตถุของพระพุทธเจ้า)

        ในจำพวกคนที่ติดตามมานั้น  มีภิกษุอยู่ด้วยรูปหนึ่งชื่อไวมิง  เมื่อเป็นฆราวาสใช้แซ่สกุลว่า เซ็น  และมียศนายทหารเป็นนายพลจัตวา  มีกิริยาหยาบคายโทสะฉุนเฉียว  ในบรรดาคนที่ติดตามอาตมามานั้น  เขาเป็นคนที่สะกดรอยเก่งที่สุด  ครั้นเขามาใกล้จวนจะถึงตัวอาตมา  อาตมาก็วางผ้ากาสาวพัสตร์กับบาตรลงบนก้อนหิน  ประกาศว่า "ผ้านี้ไม่เป็นอะไรอื่น  นอกจากจะเป็นเครื่องหมายเท่านั้น  จะมีประโยชน์อะไร ในการที่จะยื้อแย่งเอาไปด้วยกำลัง?" (แล้วอาตมาก็หลบไปซ่อนเสีย)

        ครั้นภิกษุไวมิงมาถึงก้อนหินนั้น เขาพยายามที่จะหยิบมันขึ้น  แต่กลับปรากฏว่าเขาไม่สามารถจะทำเช่นนั้นได้  แล้วเขาได้ตะโกนว่า "พ่อน้องชาย พ่อน้องชาย  ฉันมาเพื่อหาธรรมะ  ไม่ใช่มาเพื่อเอาผ้า" (พึงทราบว่าเวลานี้  พระสังฆปริณายกองค์ที่หกนี้ยังไม่ได้รับการอุปสมบท จึงถูกเรียกว่า พ่อน้องชาย เหมือนที่ฆราวาสเขาเรียกกัน)

ต่อจากนั้น  อาตมาก็ออกจากที่ซ่อน  นั่งลงบนก้อนหินนั้น ภิกษุไวมิงทำความเคารพ  แล้วกล่าวว่า "น้องชาย แสดงธรรมแก่ฉันเถิด ช่วยที"

        อาตมาได้กล่าวกับภิกษุไวมิงว่า  "เมื่อความประสงค์แห่งการมาเป็นความประสงค์เพื่อจะฟังธรรมแล้ว ก็จงระงับใจไม่ให้คิดถึงสิ่งใดๆ แล้วทำใจของท่านให้ว่างเปล่า  เมื่อนั้นข้าพเจ้าจึงจะสอนท่าน"  ครั้นเขาทำดังนั้นชั่วเวลาพอสมควรแล้ว   อาตมาได้กล่าวว่า  "เมื่อท่านทำในใจไม่คิดทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว(รู้จักสิ่งที่ไม่ดีและไม่ชั่ว) แล้ว ในเวลานั้นเป็นอะไร ท่านที่นับถือ นั่นคือธรรมชาติแท้ของท่าน(ตามตัวหนังสือ  เรียก หน้าตาดั้งเดิมของท่าน)มิใช่หรือ?"

        พอภิกษุไวมิงได้ฟังดังนั้น  ท่านก็บรรลุธรรมทันที  แต่ท่านได้ถามต่อไปว่า  "นอกจากคำสอนและข้อคิดอันเร้นลับ  ที่พระสังฆปริณายกท่านมอบต่อๆ กันลงไป  หลายชั่วพระสังฆปริณายกมากันแล้วนั้น ยังมีคำสอนเร้นลับอะไรอีกบ้างไหม?"  อาตมาตอบว่า "สิ่งที่ข้าพเจ้าจำนำมาสอนให้ท่านได้นั้น  ไม่ใช่ข้อเร้นลับอะไร  คือถ้าท่านมองย้อนเข้าข้างใน (*3)  ท่านจะเห็นสิ่งเร้นลับมีอยู่ในตัวท่านแล้ว"



ภิกษุไวมิงได้กล่าวขึ้นว่า  "แม้ฉันจะอยู่ที่วองมุยมานมนาน ฉันก็ไม่ได้เห็นแจ้งตัวธรรมชาติแท้ของจิตฉันเลย  บัดนี้รู้สึกขอบคุณเหลือเกินในการชี้ทางของท่าน  ฉันรู้สิ่งนั้นชัดแจ้ง  เหมือนที่คนดื่มน้ำเขารู้แจ้งชัดว่า  น้ำที่เขาดื่มนั้นร้อนหรือเย็นอย่างไร  พ่อน้องชายเอ๋ย  บัดนี้ท่านเป็นครูของฉันแล้ว"

        อาตมาตอบว่า  "ถ้าเป็นดังนั้นจริงแล้ว  ท่านกับข้าพเจ้า ก็เป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกัน  ของพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า ท่านจงคุ้มครองตัวของท่านให้ดีเถิด"  เมื่อเขาถามอาตมาว่าต่อจากนี้ไป เขาควรจะไปทางไหน  อาตมาก็ตอบแก่เขาว่า  ให้เขาหยุดที่ตำบลยีวน  แล้วตั้งพำนักอาศัยที่ตำบลม็อง  เขาก็ทำความเคารพแล้วจากกันไป"



               ต่อมาไม่นาน  อาตมาก็ไปถึงตำบลโซกาย, ณ ที่นั้น พวกใจบาปได้ตามจองล้างจองผลาญอาตมาอีก ทำให้อาตมาต้องหลบซ่อนอยู่ที่ซีวุย  อันเป็นที่ซึ่งอาตมาได้อาศัยอยู่กับพวกพรานป่าตลอดเวลานานถึง 15 ปี ในบางโอกาส อาตมาก็หาทางสั่งสอนเขาตามที่เขาพอจะเข้าใจได้บ้าง  เขาเคยใช้อาตมาให้นั่งเฝ้าข่ายดักจับสัตว์ของเขา, เมื่ออาตมาเห็นสัตว์มาติดที่ข่ายนั้น  ก็ปลดปล่อยให้รอดชีวิตไป  ในเวลาหุงต้มอาหาร  อาตมานำผักมาใส่ลงไปในหม้อที่เขากำลังต้ม  หรือแกงเนื้อ  บางคนสงสัยก็ถามอาตมา  อาตมาตอบให้ฟังว่า แม้เนื้อนั้นแกงรวมกันอยู่กับผัก อาตมาก็จะคัดเลือกรับประทานแต่ผักอย่างเดียวเท่านั้น

        วันหนึ่ง  อาตมารำพึงในใจตนเองว่า  อาตมาไม่ควรจะเก็บตัวซ่อนอยู่เช่นนี้ตลอดไป  มันถึงเวลาแล้ว  ที่อาตมาจะทำการประกาศธรรม ดังนั้นอาตมาจึงออกจากที่นั้น  และได้ไปสู่อาวาสฟัดฉิ่นในนครกวางตุ้ง

        ในขณะนั้น  ภิกษุเยนชุง  ผู้เป็นธรรมาจารย์มีชื่อเสียงองค์หนึ่ง กำลังเทศนาว่าด้วยมหาปรินิวาณสูตร  อยู่ในอาวาสนั้น  มันเป็นการบังเอิญในวันนั้น เมื่อธงริ้วกำลังถูกลมพัดสะบัดพริ้วๆ อยู่ในสายลม ภิกษุสองรูปเกิดโต้เถียงกันขึ้นว่าสิ่งที่กำลังไหวสั่นระรัวอยู่นั้น ได้แก่ลม หรือได้แก่ธงนั้นเล่า  เมื่อไม่มีทางที่จะตกลงกันได้  อาตมาจึงเสนอข้อตัดสินให้แก่ภิกษุสองรูปนั้นว่า ไม่ใช่ลมหรือธงทั้งสองอย่าง ที่แท้จริง ที่หวั่นไหวจริงๆ นั้น ได้แก่จิตของภิกษุทั้งสองรูปนั้นเองต่างหาก ที่ประชุมที่กำลังประชุมกันอยู่ในที่นั้น พากันตื่นตะลึง.ในถ้อยคำที่อาตมาได้กล่าวออกไป และภิกษุเยนชุง  ได้อาราธนาอาตมาให้ขึ้นนั่งบนอาสนะอันสูงแล้วได้ซักถามปัญหาที่เป็นปมยุ่งต่างๆ ในพระสูตรที่สำคัญๆ หลายพระสูตร

        เมื่อได้เห็นว่า  คำตอบของอาตมาชัดเจนแจ่มแจ้งและมั่งคง  และเห็นว่าเป็นคำตอบที่มีอะไรสูงยิ่งไปกว่าความรู้ ที่จะหาได้จากตำราแล้ว  ภิกษุเยน
ชุงได้กล่าวแก่อาตมาว่า  "น้องชาย  ท่านต้องเป็นบุคคลพิเศษเหนือธรรมดาเป็นแน่ เราได้ฟังข่าวมานานแล้วว่า  บุคคลผู้ได้รับมอบผ้ากาสาวพัสตร์ และธรรมะจากพระสังฆปรินายกองค์ที่ห้านั้น  บัดนี้ได้เดินทางลงมาทางทิศใต้แล้ว  ท่านต้องเป็นบุคคลผู้นั้น เสียแน่แล้ว"

        อาตมา  ได้แสดงกิริยายอมรับโดยอ่อนน้อม  ทันใดนั้น  ภิกษุเยนชุงได้ทำความเคารพ  และขอให้อาตมานำผ้าและบาตร ซึ่งได้รับมอบ  ออกมาให้ที่ประชุมดูด้วย  แล้วได้ถามอาตมาสืบไปว่า  เมื่อสังฆปริณายกองค์ที่ห้ามอบธรรมอันเร้นลับสำหรับสังฆปริณายก  ให้แก่อาตมานั้น  อาตมาได้รับคำสั่งสอนอะไร อย่างใดบ้าง





*3 หลักสำคัญที่สุดในคำสอนของนิกายธยานนั้น คือ "การมองด้านใน" หรือ "การเฝ้าดูแต่ภายใน" หมายถึงการหมุนให้ "แสง"ของตัวเอง  ฉายกลับเข้าภายในถ้าจะเปรียบ  เราควรจะเปรียบกับตะเกียง  คือเราทราบดีว่าแสงของตะเกียงนั้น  เมื่อมีโป๊ะครอบอยู่โดยรอบ  ก็ย่อมกระท้อนกลับเข้าภายใน  พร้อมทั้งรัศมีทั้งหมดไปรวมจุดศูนย์กลางอยู่ที่ดวงไฟผิดกับตะเกียงที่ไม่มีโป๊ะครอบ  แสงก็จะพร่าจางหายไปในภายนอก  เมื่อเราคอยแต่จะวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น  ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามักเคยทำกันจนเคยตัว  ก็เป็นการยากที่จะหมุนความคิดนึกให้มาสนใจแต่ตัวเองโดยเฉพาะ  เพราะเหตุนั้น  จึงเป็นการยากที่จะทราบเรื่องต่างๆ ของตัวเอง  โดยลักษณะตรงกันข้าม  พวกนิกายธยานหมุนความสนใจส่องกลับเข้าภายในทั้งหมด  และส่องระดมลงไปที่  "ธรรมชาติแท้"  ของตัวเองซึ่งเรียกกันในระหว่างชนชาวจีนว่า  "หน้าตาดั้งเดิม" ของตัวเอง

เพื่อมิให้ผู้อ่านผ่านพ้นความสำคัญตอนนี้ไปเสีย  จึงควรบันทึกข้อความนี้ไว้เป็นเครื่องสะกิดใจว่า  ในประเทศจีนแห่งเดียวเท่านั้น  พุทธบริษัทจำนวนพันๆ ได้บรรลุธรรมถึงขั้นสูงโดยการปฏิบัติตามคำสอนอันฉลาด (ในการลัดทางตรง) ของพระสังฆปริณายกองค์ที่หกนี้ (ดิปิงเซ่ ผู้แปลเดิม)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2553 18:38:18 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2553 14:38:45 »




อาตมาตอบว่า  "นอกจากการคุ้ยเขี่ยด้วยเรื่องการเห็นแจ้งชัดใน  จิตเดิมแท้  แล้ว ท่านไม่ได้ให้คำสอนอะไรอีกเลย  ท่านไม่ได้เอ่ยถึงแม้แต่เรื่องธยานและวิมุต"  ภิกษุเย็นชุงสงสัย  จึงถามอาตมาว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  อาตมาตอบว่า เพราะว่ามันจะทำให้เกิดความหมายว่า มีหนทางขึ้นถึงสองทาง ก็ทางในพุทธธรรมนี้  จะมีถึงสองทางไม่ได้  มันมีแต่ทางเดียวเท่านั้น

        ภิกษุเยนชุง  ถามอาตมาต่อไปว่า  ที่ว่ามีแต่ทางเดียวนั้นคืออะไร  อาตมาตอบว่า  "ก็มหาปรินิรวาณสูตรซึ่งท่านนำออกเทศนาอยู่นั่นเอง  ย่อมชี้ให้เห็นอยู่แล้วว่า ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ(ซึ่งมีอยู่ในคนทุกคน) นั่นแหละคือทางทางเดียว  ยกตัวอย่างตอนหนึ่งในพระสูตรนั้นมีว่า พระเจ้าโกโกวตั่ก ซึ่งเป็นโพธิสัตว์องค์หนึ่ง  ได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า บุคคลที่ล่วงปาราชิกสี่อย่างก็ดี  หรือทำอนันตริยกรรมห้าอย่างก็ดี  และพวกอิจฉันติกะ (คือมิจฉาทิฏฐินอกศาสนา) ก็ดี ฯลฯ คนเหล่านี้  จะได้ชื่อว่าถอนรากเหง้าแห่งความดี  และทำลาย  ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ของตนเองเสียแล้ว  โดยสิ้นเชิงหรือหาไม่?  พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบว่า รากเหง้าของความดีนั้น  มีอยู่สองชนิดคือ ชนิดที่ถาวรตลอดอนันตกาล กับไม่ถาวร(Eternal, and Non-eternal) เพราะเหตุที่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้น จะเป็นของถาวรตลอดอนันตการก็ไม่ใช่ จะว่าไม่ถาวรก็ไม่ใช่  เพราะฉะนั้น  รากเหง้าแห่งความดีของเขา  จึงไม่ถูกถอนขึ้นโดยสิ้นเชิง"  ในบัดนี้ก็เป็นที่ปรากฏแล้วว่า  พุทธธรรมมิได้มีทางสองทาง  ที่ว่าทางฝ่ายดีก็มี  ทางฝ่ายชั่วก็มี  นั้นจริงอยู่   แต่เพราะเหตุที่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะนั้น  เป็นของไม่ดีไม่ชั่ว  เพราะฉะนั้น พุทธธรรมจึงเป็นที่ปรากฏว่าไม่มีทางถึงสองทาง  ตามความคิดของคนธรรมดาทั่วไปนั้นเข้าใจว่า ส่วนย่อยๆของขันธ์และธาตุทั้งหลายนั้น  เป็นของที่แบ่งแยกออกได้เป็นสองอย่าง  แต่ผู้ที่ได้บรรลุธรรมแล้ว ย่อมเข้าใจว่า  สิ่งเหล่านั้นตามธรรมชาติไม่ได้เป็นของคู่เลย พุทธภาวะหรือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธนั้นไม่ใช่เป็นของคู่"

        ภิกษุเยนชุง  พอใจในคำตอบของอาตมาเป็นอย่างสูง ได้ประนมมือทั้งสองขึ้นเป็นการแสดงความเคารพแล้ว  ท่านได้กล่าวแก่อาตมาว่า  "คำอธิบายความในพระสูตรที่ข้าพเจ้าเองอธิบายไปแล้วนั้น  ไร้มูลค่า เช่นเดียวกับกองขยะมูลฝอยอันระเกะระกะไปหมด  ส่วนคำอธิบายของท่านนั้น  เต็มไปด้วยคุณค่าเปรียบเหมือนทองคำเนื้อบริสุทธิ์" ครั้นแล้วท่านได้ช่วยจัดการให้อาตมาได้รับการ ประกอบพิธีปลงผม และรับการบรรพชาอุปสมบท  เป็นภิกษุในพุทธศาสนา และได้ขอร้องให้อาตมา รับท่านไว้ในฐานะเป็นศิษย์คนหนึ่งด้วย

        จำเดิมแต่นั้นมา  อาตมาก็ได้ทำการเผยแพร่คำสอนแห่งสำนักตุงซั่น (คือ สำนักแห่งพระสังฆปริณายกองค์ที่สี่และองค์ที่ห้า ซึ่งอยู่ในวัดตุงซั่น) ตลอดมาภายใต้ร่มเงาของต้นโพธิ์(*4)

          นับตั้งแต่อาตมาได้รับมอบพระธรรมมาจากสำนักตุงซั่นแล้ว  อาตมาต้องตกระกำลำบากหลายครั้งหลายหน  ชีวิตปริ่มจะออกจากร่างอยู่บ่อยๆ  วันนี้อาตมาได้มีเกียรติมาพบกับท่านทั้งหลาย  ในที่ประชุมนี้  ทั้งนี้ อาตมาต้องถือว่าเป็นเพราะเราได้เคยติดต่อสัมพันธ์กันมาเป็นอย่างดีแล้วแต่ในกัลป์ก่อนๆ รวมทั้งอานิสงส์แห่งบุญกุศล  ที่เราได้สะสมกันไว้  ในการถวายไทยธรรมร่วมกันมาแต่พระพุทธเจ้าหลายพระองค์ในชาติก่อนๆของเรานั่นเอง  มิฉะนั้นแล้วไฉนเราจะมีโอกาสได้ยินได้ฟังคำสอนแห่ง  "สำนักบรรลุฉับพลัน" อันเป็นรากฐานที่ทำให้เราเข้าใจพระธรรมได้แจ่มแจ้ง ในอนาคตนั้นเล่า

        คำสอนอันนี้  เป็นคำสอนที่  "ได้มอบสืบทอดต่อๆ กันลงมาจากพระสังฆปริณายกองค์ก่อนๆ หาใช่เป็นคำสอนที่อาตมาประดิษฐ์คิดขึ้นด้วยตนเองไม่  ผู้ที่ปรารถนาจะสดับพระธรรมนั้น  ในขั้นแรกควรจะชำระใจของตนให้บริสุทธิ์เสียก่อน ครั้นได้ฟังแล้ว ก็ควรจะชะล้างความสงสัยของตน  ให้เกลี้ยงเกลาไปเฉพาะตนๆ โดยทำนองที่พระมุนีทั้งหลายในกาลก่อนได้เคยกระทำกันมา จงทุกคนเถิด"

        ครั้นจบพระธรรมเทศนา  ผู้ฟังพากันปลาบปลื้มด้วยปิติ  ทำความเคารพแล้วลาไป


  จากประวัติการรับมอบธรรมะของพระสังฆปริณายกเว่ยหล่าง จะพบว่ามีสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นข้อบ่งชึ้ว่า พระสังฆปริณายกเว่ยหล่างท่านเกิดมาพร้อมด้วยการบรรลุธรรมแล้ว ท่านเกิดมาเพื่อทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอน ช่วยเหลือสรรพสัตว์ การรู้ซึ้ง เข้าใจ ในธรรมะชั้นสูงสุด จนเขียนโศลกว่า "ไม่มีต้นโพธิ์  ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใส สะอาด   เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว  ฝุ่นจะลงจับอะไร?" แม้แต่นักปราชญ์ราชบัณฑิต ก็ยังไม่สามารถที่เข้าใจได้ ชินเชา ศิษย์พี่ แม้ฝึกฝนปฏิบัติมามากกว่าสิบปี ก็ยังไม่สามารถเข้าใจได้ แต่ท่านซึ่งไม่รู้หนังสือไม่เคยได้รู้ได้เห็น เพียงได้ฟังโศลกของศิษย์ผู้พี่เท่านั้นก็รู้แจ้งแทงตลอดแล้ว อีกทั้งคำตอบโต้กับพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า ว่าตนแม้จะแตกต่างกับท่านก็เพียงความเป็นคนหนือกับคนใต้ คนป่ากับสังฆปริณายกผู้รู้ธรรมแล้วเท่านั้น แต่ธรรมชาติของการรู้ธรรมมิใช่จะต่างกัน

   จึงมิต้องสงสัยว่า ท่านเป็นผู้บรรลุพุทธภาวะแล้วกลับมาเกิดใหม่เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ จากการที่ท่านเข้าพบและรับมอบธรรมะจากพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า จะเห็นว่าสิ่งที่ได้รับ เป็นเพียง ธรรมะเพื่อยืนยันในสิ่งที่ท่านได้รู้แล้ว หรืออาจเสริมเติมบางสิ่งที่เลือนหายไปบ้างจากการเดินทางข้ามชาติข้ามภพเท่านั้น พระสังฆปริณายกเว่ยหล่าง ก็ไม่ต่างจาก พระสังฆปริณายกองค์ที่ 1 ของจีน คือท่านโพธิธรรม หรือตั๊กม้อ ซึ่งท่านก็คือ ผู้กลับชาติมาเกิดของพระโพธิสัตว์วัชรปาณีนั่นเอง ท่านถือกำเนิดเป็นองค์ชายแห่งอาณาปัลลวะ และต่อมาจึงเป็นโพธิธรรม นำพระพุทธศาสนานิกายเซ็นหรือธยานเข้าสู่ประเทศจีน ในราวพุทธศตวรรษที่ 10 หลักการปฏิบัติเพื่อการบรรลุของเซ็นจัดได้เป็นสองสายคือสายสูงถ่ายทอดธรรมด้วยจิตถึงจิต ไม่ยึดถือพระสูตรหรือพระคัมภีร์ใด เพียงรู้แจ้ง เห็นแจ้งใน ศูนยตา  ก็บรรลุ แต่ก็ไม่หนีไปจากปรัชญาแห่งนิกาย โยคาจารย์และวิชญาวาท เพื่อบรรลุศูนยตา แห่งปรัชญาแห่งมัธยมิก อีกสายหนึ่งคือสายสามัญ เน้นการฝึกฝนวิปัสสนา โดยเน้นหนักที่จิต ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งประกอบอื่นใด อีกทั้งไม่มีตัวช่วย ผู้ต้องการบรรลุต้องช่วยตนเอง โดยการตีปริศนาศูนยตา ให้แตก เมื่อนั้นก็จะได้บรรลุมรรคผลดังต้องการ



*4 คำว่าต้นโพธิ์ในที่นี้ เข้าใจว่าหมายถึงบารมีของพระพุทธเจ้า  หรือมิฉะนั้นก็หมายถึงพุทธภาวะหรือธรรมชาติแห่งพุทธะ  ซึ่งถือเป็นของสำคัญเพียงอย่างเดียวในนิกายนี้ (พุทธทาส ผู้แปลไทย)


  ที่มา :  http://www.mahayana.in.th/tmayana/พระสูตร/เวยหล่างสูตร.html 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 ตุลาคม 2553 19:50:41 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2553 15:28:00 »




หมวดที่ 2

ว่าด้วย-ปรัชญา

***********

วันต่อมา  ข้าหลวงไว่  ได้นิมนต์ขอให้พระสังฆปริณายกแสดงธรรมอีก  เมื่อพระสังฆปริณายกได้ขึ้นธรรมาสน์  และได้ขอร้องให้ที่ประชุมทั้งสิ้นทำจิตให้ผ่องใสและสวดข้อความแห่งมหาปรัชญาปารมิตาสูตรดัง ๆ พร้อมกันจบลงแล้ว  ท่านได้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้:-

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ปัญญาทำสัตว์ให้ลุถึงการตรัสรู้นั้น มีอยู่ในตัวเราทุกๆ คนแล้ว  แต่เป็นเพราะมีอวิชชาความมืดบอดที่ครอบงำใจของเราไว้  เราจึงไม่มองเห็นมันด้วยตนเอง จนเราต้องเที่ยวเสาะแสวงคำแนะนำตักเตือนจากผู้อื่น  ที่เขาได้เห็นแจ้งแล้วก่อนหน้าที่เราจะรู้จัก   ของเราเอง  ท่านทั้งหลายควรจะทราบเอาไว้ว่า  ถ้าธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ  ยังถูกห่อหุ้มเกี่ยวพันอยู่เพียงใดแล้ว  มันไม่มีความแตกต่างอะไรกันระหว่างผู้ที่เห็นแจ้งกับผู้ที่มืดบอด  ข้อที่แตกต่างกันนั้น  มันอยู่ที่คนหนึ่งได้ตรัสรู้แจ่มแจ้ง (เพราะพุทธสภาวะอันเกี่ยวกับผู้นั้นถูกเพิกถอนเครื่องห่อหุ้มได้หมดจดแล้ว) ส่วนอีกคนหนึ่งยังมืดมิดอยู่  เอาละ  บัดนี้อาตมาจะได้กล่าวถึงเรื่อง  มหาปรัชญาปารมิตากะท่านทั้งหลาย  เพราะท่านทุกๆ คนสามารถบรรลุถึงปัญญาอันนั้น.

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  บรรดาพวกคนที่สวดร้องถึงคำว่า "ปรัชญาๆ" (*5) อยู่ตลอดทั้งๆ วัน ก็ดูเหมือนว่าเขาเหล่านั้นไม่ได้ทราบเลยว่าปรัชญานั้น มันมีอยู่ในธรรมชาติเดิมของเขาเองแล้ว  ก็การที่เพียงแต่พูดกันถึงอาหาร  ย่อมไม่อาจบำบัดความหิวได้ฉันใด  ในกรณีของบุคคลผู้เอ่ยถึงปรัชญาแต่ปาก  ก็ไม่อาจขจัดความมืดบอดได้ฉันนั้น  เราอาจพูดกันถึงเรื่องศูนยตา(ความว่าง) เป็นเวลาตั้งแสนกัลป์ก็ได้  แต่ว่าลำพังการพูดอย่างเดียว  ไม่สามารถทำให้เราเห็นแจ่มแจ้งในจิตเดิมแท้ได้  และในที่สุดก็ไม่ได้อะไร  ตามที่ตนประสงค์เลย


*5 คำว่าปรัชญา  เป็นคำสันสกฤต ตรงกับคำว่า ปัญญา ในภาษาบาลี หรือภาษาไทย แต่ในภาษาไทยนำคำนี้ไปใช้มีความหมายเป็นอย่างอื่นจากคำว่าปัญญา  ตามที่ใช้กันอยู่โดยมากใช้หมายถึงหลักความคิด  ที่แสดงภูมิแห่งปัญญาอันสูงสุดสายใดสายหนึ่ง แล้วแต่เรียกว่าปรัชญาอะไร  หรือปรัชญาของใคร  แต่ในสูตรนี้ใช้คำนี้  หมายถึงปัญญาชนิดที่เพียงพอในการที่จะช่วยตัวให้พ้นทุกข์ทั้งปวง และถือว่าปรัชญานั้น มีตามธรรมชาติติดมาในคนทุกๆ คนแล้วแต่ดั้งเดิม หากแต่ว่ามีโมหะมาปกคลุมเสีย คนจึงไม่รู้จักปัญญาชนิดนี้ของตนเอง  ทั้งที่มีอยู่แล้ว  กลับไปหลงหาปัญญาจากภายนอก  ซึ่งเปรียบกับปัญญานี้ไม่ได้ (ผู้แปลไทย พุทธทาส)



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มิถุนายน 2555 00:10:03 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2553 21:53:17 »



 คำว่า  "มหาปรัชญาปารมิตา" นี้ เป็นคำสันสกฤต  มีความหมายว่า "ปัญญาอันใหญ่หลวง  เพื่อให้ลุถึงฝั่งฟากโน้น (แห่งทะเลสังสารวัฏ) สิ่งที่เราต้องทำนั้น คือต้องปฏิบัติมันด้วยใจของเรา  จะท่องบ่นมันหรือไม่นั้นไม่ใช่ข้อสำคัญ การท่องบ่นกันเฉยๆ โดยปราศจากการปฏิบัติด้วยใจนั้น  จะได้ผลเหมือนกะเราไปเล่นกับอสูรกาย  หรือเหมือนกับหยาดน้ำค้างตามใบหญ้า  แต่อีกทางหนึ่งนั้น ถ้าเราทำทั้งสองอย่าง(คือทั้งท่องบ่นและปฏิบัติด้วยใจ) แล้วใจของเราก็จะประเสริฐสมคล้อยกับสิ่งที่ปากของเรากำลังท่อง  ธรรมชาติแท้ของเรานั้น คือธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ  และนอกไปจากธรรมชาติอันนี้แล้วหามีพุทธะที่ไหนอีกไม่เลย

        คำว่า  "มหา"  หมายความว่าอะไร?  หมายความว่า  "ใหญ่หลวง" ขนาดใจนั้นใหญ่หลวงเหมือนกันกับอวกาศ(*6) มันเป็นสิ่งบัญญัติไม่ได้คือมันไม่ใช่ของกลมหรือของเป็นเหลี่ยม    ไม่ใช่ของซึ่งมีบนมีล่าง  ไม่ใช่ของสั้นหรือยาว  ไม่ใช่ความชังหรือความชื่น  ไม่ใช่ความถูกหรือความผิด  ไม่ใช่ของดีหรือของชั่ว ไม่ใช่ของอันแรกหรือของอันสุดท้าย  พุทธเกษตร(คือขอบเขตของพุทธะหนึ่งๆ) ทุกๆเกษตรนั้น  ว่างเหมือนกันกับอวกาศ  อย่างที่จะเป็นอื่นไปไม่ได้เลย  แม้ธรรมชาติ (แห่งความเป็นพุทธะ) อันประเสริฐของเรา ก็ว่างเช่นเดียวกัน และไม่ใช่เป็นภูมิธรรมอันเดียวเรื่องเดียวนี้เท่านั้น  ที่เราลุถึงด้วยการตรัสรู้ (เพราะว่าธรรมชาติอันนั้น)  มันเป็นของสิ่งเดียวกันกับจิตเดิมแท้  ซึ่งเป็นภาวะแห่ง "ความว่างเด็ดขาด" (กล่าวคือความว่างของสิ่งซึ่งมีอยู่แท้ๆ)

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เมื่อท่านทั้งหลายได้ฟังอาตมากล่าวถึงความว่างอันนั้น  ขอท่านทั้งหลายอย่าเข้าใจดิ่งไปจับเอาลัทธิที่ว่าขาดสูญไม่มีอะไรขึ้นมาว่าเป็นอันเดียวกัน  (เพราะว่าความเห็นว่า ขาดสูญเช่นนั้น  รวมอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ พวกอุจเฉททิฏฐิ)  มันเป็นสิ่งสำคัญอย่างที่สุด  ที่เราจะต้องไม่ตกดิ่งลงไปในมิจฉาทิฏฐิอันนี้  เพราะว่าเมื่อคนเรานั่งอยู่เงียบๆ ทำใจของเขาให้ว่างๆ เขาก็จะตั้งอยู่ในภาวะแห่ง  "ความว่างเพราะว่างเฉย"  ได้เหมือนกัน

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ความว่างอันไม่มีขอบเขตจำกัดของสกลจักรวาล  เป็นสิ่งที่มีความจุมากพอที่จะรวมเอาสิ่งต่างๆ ตั้งแสนๆ สิ่ง  ซึ่งมีรูปและสัณฐานแปลกๆ กันเข้าไว้ในตัวมันได้  สิ่งเหล่านั้น เช่น ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ดาวทั้งหลาย ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน น้ำพุ ลำธาร พุ่มไม้ ป่าไม้ คนดี คนชั่ว ธรรมะฝ่ายดี  ธรรมะฝ่ายชั่ว เมืองสวรรค์ เมืองนรก  มหาสมุทร ภูเขาทั้งหลายในเทือกเขามหาเมรุ (หิมาลัย)  อวกาศนั้น  ซึมเข้าไปมีอยู่ทั่วในสิ่งต่างๆ  ที่กล่าวนามมาแล้วทั้งหมดนี้  และ "ความว่าง" แห่งธรรมชาติแท้ของเรา ก็เข้าไปมีอยู่ในสิ่งต่างๆ อย่างเดียวกัน  เรากล่าว  จิตเดิมแท้  ว่าเป็นของใหญ่หลวง  ก็เพราะว่ามันรวมสิ่งต่างๆเข้าไว้หมด  โดยที่สิ่งทุกสิ่งนั้นมันอยู่ในตัวธรรมชาติแท้ของเรา  เมื่อเราพบเห็นความดี  หรือความชั่วก็ตามของบุคคลอื่น  เราไม่ถูกดึงดูดให้ชอบ  หรือไม่ถูกมันผลักดันให้ชัง  หรือเราไม่เกาะเกี่ยวกับมัน  เมื่อนั้นลักษณะแห่งจิตใจของเราเป็นของว่างเท่ากันกับอวกาศ  ด้วยเหตุนี้เราจึงกล่าวว่า  ใจของเราใหญ่หลวง (ไม่มีขอบเขตเหมือนอวกาศ)  เพราะฉะนั้น  เราจึงเรียกมันว่า  "มหา"



*6 อวกาศ (space) ในสูตรนี้  หมายถึงเนื้อที่ทั้งหมด  ที่สกลจักรวาลนี้ไปบรรจุอยู่  และรวมทั้งที่ยังมีเหลือเป็นที่ว่างเปล่า  เช่นท้องฟ้าระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวทั้งหลายเป็นต้น  หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่ง  เท่ากับเนื้อที่ของพาหิรากาศ(Ether) ทั้งหมดนั่นเอง (ผู้แปลไทย พุทธทาส)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 มีนาคม 2553 10:14:45 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2553 22:28:24 »



ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  สิ่งใดที่พวกคนเขลาพากันเพียงแต่พูดถึง เปล่าๆ ปลี้ๆ  สิ่งนั้นคนมีปัญญาได้นำเอามาปฏิบัติด้วยจิตใจของเขาเกิดมรรคเกิดผลจนได้  ยังแถมมีคนเขลาอีกพวกหนึ่ง  ซึ่งนั่งนิ่งๆเงียบๆและพยายามที่จะทำจิตให้ว่าง  เขาเว้นการคิดถึงสิ่งใดๆหมด  แล้วก็เรียกตัวเขาเองว่า  "มหา"  เมื่อเขามีความเห็นนอกลู่นอกทางเช่นนี้  ก็เป็นการยากที่เราจะกล่าวถึงเขาว่าอย่างไรให้ถูกตรงได้

         ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ท่านควรจะทราบไว้ว่า  ใจนั้นมีขนาดแห่งความจุอันใหญ่หลวง  โดยเหตุที่ใจนั้นสิงซึม (*7) (ติดเนื่องเป็นอันเดียวกันอยู่ทั่วไป) ตลอดสากลธรรมธาตุ (คือวงแห่งธรรมาณาจักร  กล่าวคือสกลจักรวาล) เมื่อเรานำมันมาใช้  เราก็สามารถจะทราบอะไรได้หลายสิ่งจากบรรดาสิ่งที่มีอยู่ทั้งหมด  แต่เมื่อใดเราใช้มันเต็มขนาดของมัน เมื่อนั้นเราก็ทราบได้สารพัดสิ่งไม่มีอะไรเหลือ  รู้ทุกๆ สิ่งภายในสิ่งหนึ่ง และหนึ่งสิ่งภายในทุกๆสิ่ง  เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่ของมันโดยไม่ติดขัด  และเป็นอิสระที่จะ  "ไป"  หรือ "มา"  เมื่อนั้นชื่อว่ามันอยู่ภาวะแห่ง "ปรัชญา"

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ปรัชญาทั้งสิ้นย่อมมาจากจิตเดิมแท้  และมิได้มาจากวิถีภายนอกเลย  ท่านทั้งหลายจงอย่างได้มีความเข้าใจผิดในเรื่องนี้  ข้อนี้เรียกว่า  "การใช้ประโยชน์ในตัวมันเอง"  ของสิ่งที่เป็นตัวธรรมชาติเดิมแท้"  ตถตา (ความเป็นแต่อย่างนั้นอย่างเดียวเท่านั้น  เป็นอย่างอื่นไม่ได้  กล่าวคือจิตเดิมแท้)  ปรากฏขึ้นครั้งเดียวเท่านั้น  แก่ผู้นั้นแล้วเขาก็เป็นอิสระจากโมหะ ไปชั่วนิรันดร.

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เพราะเหตุที่ใจนั้นมีรัศมีทำงานกว้างขวางใหญ่หลวง  เราจึงไม่ควรใช้มันทำงานกะจิริดไร้เดียงสา (เช่นการนั่งเงียบๆ ทำใจว่างๆเฉย) อย่างพูดกันถึง  "ความว่าง" เป็นวันๆ  โดยไม่ได้ทำจิตให้พบกับความว่างนั้น  คนที่ (พร่ำแต่ปากว่าว่างๆ แต่จิตไม่ได้สัมผัสความว่างจริงๆ เลย)  ทำเช่นนี้  ควรถูกเปรียบกันกับคนที่ประกาศตั้งตัวเองเป็นกษัตริย์ด้วยปากของเขา  แต่ที่จริงเขาก็เป็นราษฎรธรรมดา  โดยวิถีทางปฏิบัติเช่นนี้จะไม่ได้ลุถึงปรัชญาเลย  และผู้ที่ปฏิบัติทำนองนี้  จะเรียกว่าเป็นศิษย์ของอาตมาไม่ได้.

         ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  คำว่า ปรัชญา หมายความว่าอะไร? คำนี้หมายถึง  "ปัญญาความรู้รอบแจ้งชัด"  คือเมื่อใดเราสามารถรักษาจิตของเรา  ไม่ให้ถูกพัวพันด้วยความทะเยอทะยานอันโง่เขลาได้ทุกกาละเทศะ  ทำอะไรด้วยความฉลาดไปทุกโอกาส  เมื่อนั้นชื่อว่าเรา  กำลังประพฤติอบรมปรัชญาอยู่ ทีเดียว  ความรู้สึกที่โง่เขลาข้อเดียวเท่านั้น  ก็สามารถผลักปรัชญาให้หายวับไป  แต่ความคิดที่ปรีชาฉลาด  เป็นสิ่งที่อาจดึงเอาปรัชญากลับมาได้อีก  บุคคลพวกที่ตกอยู่ใต้อำนาจอวิชชา  หรือโมหะ ย่อมไม่มองเห็นปรัชญา  เขาพูดถึงปรัชญาด้วยลิ้น (ไม่ใช่พูดด้วยใจ)  ส่วนในใจของเขานั้นยังคงงมงายอยู่ตามเดิม  เขาพูดเสมอไปว่า  เขาประพฤติปรัชญา  และพูดถึง  "ความขาดสูญ(อุจเฉทะ) ไม่หยุดปาก  แต่เขาไม่ได้ทราบถึง  "ความว่างเปล่าเด็ดขาด" (ศูนยตา) เลย "หฤทัยแห่งความรอบรู้ชัดแจ้ง" นั้นแหละคือตัวปรัชญาอันเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง  ไม่มีท่าทางเครื่องให้สังเกตเสียเลย  ถ้าเราตีความหมายของคำว่าปรัชญากันโดยทำนองนี้ เมื่อนั้นชื่อว่าพูดกันถึงความรอบรู้แจ้งชัดของปรัชญาตัวจริง. อย่างถูกแท้



*7 คำว่าใจในสูตรนี้  หมายถึงวิญญาณธาตุที่ประจำอยู่ในที่ทั่วไป  มีอยู่ทั่วไปทำนองเดียวกับที่ฝ่ายรูปธาตุ ย่อมถือว่า มีอีเธ่อร์อยู่ในที่ทั่วไป ไม่ว่าในที่นั้นกำลังมีแต่อวกาศหรือมีวัตถุอื่นใดตั้งอยู่ด้วย  โดยถือว่าสรรพสิ่งตั้งอยู่ในอีเธ่อร์อีกทีหนึ่ง ใจในสูตรนี้ทำหน้าที่เหมือนกับอีเธ่อร์โดยเปรียบเทียบ (ผู้แปลไทย พุทธทาส)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 กุมภาพันธ์ 2553 12:26:10 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553 12:00:53 »



ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  คำว่า ปารมิตา หมายความว่าอะไร? คำนี้เป็นสันสกฤต  มีความหมายว่า  "สู่ฝั่งข้างโน้น" โดยกิริยาจริงมันหมายถึง  "พ้นการเกิดและการดับ"  โดยอุปทานการยึดถือในขันธ์ทั้งหลาย  อันเป็นวัตถุที่ตั้งของความรู้สึกทางวิญญาณ  เมื่อนั้นย่อมมีความเกิด และมีความดับผลุบโผล่เหมือนทะเลที่มีคลื่น  ภาวะเช่นนี้  เราเรียกโดยอุปมาว่า  "ฝั่งข้างนี้"  แต่เมื่อใดตัดอุปทานเสียได้เด็ดขาด  และลุถึงภาวะที่พ้นจากการเกิดและการตาย สงบเงียบเหมือนน้ำไหลนิ่ง นั่นแหละเรียกว่า  "ฝั่งโน้น"  การพ้นจากการเกิดและการดับนี้แหละ  ที่ทำให้ปรัชญานี้ได้นามว่า  "ปารมิตา"

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  คนเป็นอันมาก  ซึ่งอยู่ภายใต้โมหะ พากันท่องบ่น  "มหาปรัชญาปารมิตา"  ด้วยลิ้นเท่านั้น  และเมื่อเขากำลังท่องอยู่นั้นความคิดที่งมงายเป็นอกุศลกลับเกิดขึ้นแก่เขา  แต่ถ้าเขาจะได้ปฏิบัติมันด้วยใจโดยไม่หยุดหย่อน  ดังกล่าวจริงๆ เขาย่อมเห็นประจักษ์ชัดซึ่ง  "ตัวจริง"  ของมหาปรัชญาปารมิตา  การรู้ธรรมะอันนี้  ก็คือการรู้ธรรมชาติของปรัชญา  การปฏิบัติธรรมะอันนี้  ก็คือการปฏิบัติปรัชญา  ผู้ที่ไม่ประพฤติธรรมะอันนี้  คือปุถุชน  บุคคลผู้ตั้งจิตจดจ่อเพื่อปฏิบัติธรรมะอันนี้ แม้เพียงชั่วขณะหนึ่ง เขาเป็นผู้เทียบเท่ากับพุทธะ

        คนสามัญนี้เอง  คือพระพุทธเจ้า  และกิเลส ก็คือโพธิ (ปัญญาสำหรับการตรัสรู้) (*8) ความคิดที่โง่เขลา  ที่ผ่านเข้าออกทางจิตนั้น  ทำให้คนเป็นคนธรรมดาสามัญ  แต่ความคิดที่หายโง่  ประกอบด้วยความแจ่มแจ้งที่ตามมาทีหลัง  ทำให้คนเป็นพระพุทธเจ้า  ความคิดที่ผ่านเข้าออก  ที่ทำจิตให้ติดในอารมณ์นั้นคือกิเลส  แต่ความคิดที่มาเปลื้องจิตเสียจากความติดแน่น  อันเป็นความคิดซึ่งเกิดทีหลัง  นั้นคือโพธิ.

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  มหาปรัชญาปารมิตา (กล่าวคือปัญญาอันใหญ่หลวง ที่ทำสัตว์ ให้ข้ามถึงฝั่งโน้น) นั้นเป็นของสูงสุด ใหญ่ยิ่ง  และเด่นดวง  มันไม่หยุด  ไม่ไป  และไม่มา  โดยอำนาจของปัญญา  อันชื่อว่า มหาปรัชญาปารมิตานี้เอง  ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายในปัจจุบัน  ในอดีต  และในอนาคต  ได้บรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า เราควรใช้ปัญญาอันสูงสุดดวงนี้  เพื่อทำลาย (ความยึดถือใน) ขันธ์ทั้งห้าเสีย (*9) เพราะเหตุว่าการทำเช่นนี้ย่อมช่วยให้การได้บรรลุถึงพุทธภูมิ  เป็นสิ่งที่แน่นอน แล้วอกุศลมูลทั้งสาม (โลภะ โทสะ โมหะ)  ก็จะกลายเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ไปเอง


*8 คนธรรมดาคือพุทธะ  กิเลสคือโพธิ  เช่นนี้ เป็นอภิโวหารของนิกายนี้  ซึ่งพยายามอธิบายว่าความเป็นพระพุทธเจ้านั้น  มีอยู่แล้วในทุกๆคน  หากแต่ว่าของคนส่วนมากนั้น ถูกความมืดห่อหุ้มเสีย  หรือยังไม่ได้เจียรนัยออกมา  ทำนองเพชรทุกเม็ดมีน้ำเพชรมาแล้วด้วยกันทั้งนั้น  แต่บางเม็ดไม่มีโอกาสได้เจียระไน เพชรทุกเม็ดทั้งที่เจียระไนแล้ว และยังไม่ได้เจียระไนแล้วก็ตาม  ล้วนแต่เป็นเป็นเพชรเหมือนกัน ทำนองเดียวกับที่คนทุกคนเป็นพระพุทธเจ้าได้ด้วยกันทั้งสิ้น  เป็นแต่บางคน  เจ้าตัวไม่มีโอกาสทำให้ปรากฏออกมาได้ในเวลานี้ (ผู้แปลไทย พุทธทาส)

*9 คำว่า ใช้ปัญญาทำลายความยึดถือในขันธ์ทั้งห้าเสีย  ประโยคนี้ มักพูดกันสั้นๆ  แต่เพียงว่า  ทำลายขันธ์ทั้งห้าเสีย  แม้ในต้นฉบับเดิมของสูตรนี้ก็ใช้สั้นๆ เช่นนั้นเหมือนกัน จงเติมเข้าให้ความชัด  กันความเข้าใจผิดสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับคำประเภทนี้ (ผู้แปลไทย พุทธทาส)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มีนาคม 2553 13:09:55 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553 12:06:30 »



    ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ตามวิถีปฏิบัติแบบของอาตมานี้  ปัญญาดวงเดียวเท่านั้น  จะสร้างความรอบรู้ขึ้นถึงแปดหมื่นสี่พันวิถี  คือเท่ากับจำนวนของกิเลสที่เราจะต้องผจญ  แต่ว่าเมื่อผู้ใดพ้นจากอำนาจของกิเลส.  ปัญญาย่อมแสดงตัวปรากฏให้เห็นเอง  ที่ตัว จิตเดิมแท้ ไม่แยกจากกันได้  ผู้ใดเข้าใจหลักธรรมปฏิบัติอันนี้  ผู้นั้นจะมีจิตปราศจากความคิดอันท้อแท้  เฉื่อยชา

การเป็นอิสระจากการหลงรัก เพราะความคิดหมกมุ่น สยบจากการยึดติดในอารมณ์อันเร้าจิตให้ทะเยอทะยาน  และจากสิ่งอันเป็นของหลอกลวงมายา การให้ตัวตถตา (ความคงที่แต่อย่างนั้น  เท่านั้น  เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้) ทำหน้าที่ของมัน   การใช้ปัญญาพิจารณาหาความจริงในสิ่งทั้งปวง   และการมีท่าทีที่ (อันสงบ) ซึ่งไม่เป็นทั้งการผลักดัน หรือดึงดูดต่อสรรพสิ่งทั้งมวล  เหล่านี้  คือการรู้แจ้งแทงตลอดซึ่งตัว  จิตเดิมแท้  เพื่อ  การบรรลุถึงพุทธภูมิ (ความเป็นพุทธะ)

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ถ้าท่านปรารถนาจะแทงตลอดความลึกซึ้งของธรรมธาตุ  และสมาธิที่เป็นฝ่ายปัญญา  ท่านจะต้องอบรมปรัชญาโดยการท่องบ่น  และศึกษาไตร่ตรองในวัชรัจเฉทิกสูตร อันเป็นพระสูตรที่สามารถทำให้รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งจิตเดิมแท้  ท่านควรจะทราบไว้ว่า  กุศลผลความดีอันเกิดจากการศึกษาพระสูตรนี้  ตามที่ปรากฏชัดเจนอยู่ในพระบาลีนั้นมีมากเหลือประมาณ  ไม่มีขอบเขตจำกัด  ไม่สามารถพรรณนาให้ละเอียด  พระสูตรๆนี้เป็นของฝ่ายนิกายสุงสุดในพุทธศาสนา  

พระพุทธเจ้าตรัสพระสูตรนี้  เฉพาะแก่บุคคลที่มีปัญญาแก่กล้า  และสามารถเข้าใจอรรถอันลึกได้ในทันที (*10)  ถ้าหากว่าคนมีปัญญาน้อย และทึบต่อการเข้าใจอรรถอันลึก  เผอิญมาได้ฟังพระสูตรชนิดนี้เข้า   เขาจะเกิดความสงสัยไม่เชื่อข้อความในพระสูตรนั้น  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?  ข้อนี้อุปมาได้ว่า  ถ้าหากว่าเกิดฝนตกหนักในชมพูทวีปนี้ ด้วยอำนาจพญานาคในสวรรค์แล้ว นคร เมือง และหมู่บ้าน จะพากันไหลลอยไปตามกระแสน้ำ  เช่นเดียวกับใบของต้นอินทผลัม  

แต่ถ้าหากว่า  ฝนนั้นไปตกในมหาสมุทร  โดยทั่วๆ ไป ก็เหมือนกับไม่ได้รับความกระทบกระเทือนอะไรเลย  เมื่อนักศึกษาฝ่ายมหายาน  ได้ฟังพระสูตรชื่อวัชรัจเฉทิกนี้แล้ว ใจของเขาจะใสสว่าง  เขาทราบได้ว่าปัญญา (ที่จะทำให้สัตว์ลุถึงฝั่งโน้น) นั้น มีอยู่ใน จิตเดิมแท้ ของเขาแล้ว  และเชื่อตัวเองว่า  เขาไม่ต้องอาศัยพระไตรปิฎก  เพราะว่าเขาสามารถใช้ปัญญาในตัวเขาเอง ให้เป็นประโยชน์ โดยการเจริญวิปัสสนาภาวนาเป็นนิจ  นั่นเอง



*10 ทางฝ่ายมหายาน ยึดเป็นหลักอันแน่นแฟ้นว่า พระสูตรบางพระสูตร ตรัสเฉพาะแก่บุคคลพวกอุคคติตัญญู คืออาจเข้าใจได้ในทันทีทันใดนั้น  แม้ในฝ่ายเถรวาท หรือหินยาน ก็ยอมรับหลักอันนี้ เช่นอนุปุพพิกถา  ตรัสเฉพาะผู้จะบรรลุโสดาในที่นั่งอันนั้นเอง ไม่ตรัสแก่คนที่ยังหนาเป็นปุถุชนเกินไปเป็นต้น  ด้วยเหตุนี้เอง นิกายบางนิกายจึงยืนยันหลักธรรมของตน  ว่าเป็นคำที่ตรัสเฉพาะคนพวกหนึ่งประเภทหนึ่ง (ผู้แปลไทย พุทธทาส)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กุมภาพันธ์ 2553 05:57:42 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553 12:33:51 »



ปรัชญาซึ่งมีประจำอยู่ใน  จิตเดิมแท้  ของทุกๆ คนนั้นแล้ว  อาจจะเปรียบกันได้กับฝน  ซึ่งความชุ่มชื่นของมัน  ย่อมทำความสดชื่นให้แก่สิ่งที่มีชีวิตทุกๆสิ่ง  รวมทั้งต้นไม้และพืชพันธุ์ธัญญาหาร   ตลอดถึงสัตว์ทุกชนิด  เมื่อแม่น้ำและลำธารไหลไปถึงทะเล  น้ำฝนที่มันพาไป ย่อมผสมเป็นอันเดียวกันกับน้ำในมหาสมุทร  นี่คือข้ออุปมาอีกข้อหนึ่ง

 ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ที่นี้หากว่าฝน (ที่ทำความสดชื่นให้แก่สิ่งมีชีวิตนั่นเอง) ได้ตกกระหน่ำลงมาขนาดใหญ่ต้นไม้ซึ่งมีรากไม้ลึกพอ  ก็จะถูกน้ำพัดชะถอนรากขึ้นลอยตามน้ำ  และสูญหายไปในที่สุดไม่มีเหลือ  ข้อนี้เปรียบกันได้กับคนที่มีปัญญาทึบเข้าใจอะไรได้ยาก ที่ได้ฟังคำสอนของชั้น  "นิกายฉับพลัน"  แท้ที่จริง  ปรัชญาซึ่งมีอยู่ในบุคคลจำนวนนี้  ก็เป็นอย่างเดียวกันกับที่มีอยู่ในบุคคลจำพวกปัญญาไว  หากแต่ว่าเขาไม่สามารถทำตนให้ตรัสรู้ได้  ในขณะที่มีผู้สอนเขาด้วยธรรมะนั้น  เพราะเหตุใด?

เพราะว่าเขาถูกปกคลุมเสียหนาแน่น  ด้วยความคิดเห็นผิด  และกิเลสซึ่งได้ลงรากลึกแล้ว  ทำนองเดียวกับดวงอาทิตย์ถูกบดบังด้วยเมฆ  ไม่สามารถส่องแสงของตนลงมา (ทั้งที่แสงนั้นมีอยู่)  จนกว่าจะมีลมมากวาดเอาเมฆนั้นไปเสีย  ฉันใดก็ฉันนั้น

        ปรัชญานั้น  ไม่แตกต่างกัน แม้ว่าตัวบุคคลจะแตกต่างกัน ข้อที่แตกต่างกันนั้น  อยู่ตรงที่ว่าใจของเขาสว่างไสว  หรือมืดมนเท่านั้นเอง  คนที่ไม่รู้จักจิตเดิมแท้  ของตนเอง  และยังแถมมีความเขลาไปว่า  การบรรลุพุทธธรรมนั้น  มีได้ด้วยศาสนาพิธีต่างๆ ที่กระทำกันทางภายนอก (ไม่เกี่ยวกับจิต) นี้แหละ คือคนจำพวกที่เข้าใจอะไรได้ยาก  

คนจำพวกที่เข้าใจคำสอนของ "นิกายฉับพลัน" ไม่รู้สึกว่า
พิธีรีตองต่างๆ เป็นของสำคัญ

และใจของเขาก็ทำหน้าที่พิจารณาอยู่ด้วยสัมมาทิฏฐิอย่างเดียว
 
จนกระทั่งเขาหลุดพ้นเด็ดขาดจากกิเลสหรือมลทินต่างๆ
คนชนิดนี้แหละกล่าวว่า  เป็นผู้ทีได้รู้จัก  จิตเดิมแท้  ของตนเองแล้ว

       ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ขึ้นชื่อว่าใจ  เป็นสิ่งที่ควรได้รับการจัดวางไว้ในกรอบของการปฏิบัติ  ชนิดที่มันจะเป็นอิสระจากอารมณ์  ทั้งที่เป็นภายนอกและภายใน  ให้มีอิสระที่จะมาหรือจะไป  ไม่ถูกพัวพัน  และใสสว่างโดยทั่วถึงปราศจากสิ่งบดบังแม้แต่นิดเดียว  บุคคลที่สามารถทำได้เช่นนี้  ถือว่าดีถึงขนาดที่จะบัญญัติไว้ในสูตรทั้งหลายของนิกาย(มหา)ปรัชญา(ปารมิตา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2553 06:56:02 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553 13:17:49 »



น้ำตก Victoria มีความยาว 1.7 กม. และ สูง 108 เมตร ซึ่งทำให้เกิด แผงน้ำตก ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

    ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  สูตรและปิฎกทั้งสิ้น  ทั้งฝ่ายมหายานและหินยาน  รวมทั้งคัมภีร์อรรถกถาทั้งสิบสองภาค  ทั้งหมดถูกจำแนกไว้เป็นชั้นๆ  ก็เพื่อให้เหมาะกับความต้องการและอุปนิสัย  ของบุคคลผู้มีอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากันเป็นชั้นๆนั่นเอง  โอวาทต่างๆ มีสอนที่อยู่ในพระคัมภีร์เหล่านั้น  บัญญัติขึ้นมาโดยยึดหลักใหญ่ว่า  ตัวปรัชญามีแฝงอยู่ภายในบุคคลทุกคนแล้ว  ถ้าไม่มีคน  ก็ไม่จำเป็นต้องมีธรรมะ

 เหตุนั้น  เราจึงทราบได้ว่าธรรมะนั้นๆ บัญญัติขึ้นสำหรับคนโดยตรง  และสูตรต่างๆ นั้น  เกิดขึ้นเพราะศาสดาผู้ประกาศสูตรนั้นๆ นั่นเอง  เพราะเหตุที่คนบางพวกเป็นคนฉลาด  ซึ่งเราเรียกกันว่า คนเด่น และคนบางพวกเป็นคนโง่เขลา  ในเมื่อคนเขลาประสงค์จะให้สอนด้วยการทำเช่นนี้  คนเขลาก็อาจลุถึงความสว่างไสวชนิดรวดเร็วได้ และใจของเขาก็แจ่มแจ้งได้ด้วยเหตุนั้น  แล้วคนเขลาเหล่านั้น  ก็ไม่มีอะไรแตกต่างจากคนฉลาดอีกต่อไป

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ถ้าเอาการตรัสรู้ออกเสียแล้ว  ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันระหว่างพระพุทธเจ้ากับคนสามัญอื่นๆ  ความสว่างไสววาบเดียวเท่านั้น  ก็เพียงพอแล้ว  ที่จะทำใครก็ได้ให้กลายเป็นคนเสมอกันกับพระพุทธเจ้า  เพราะเหตุที่ธรรมะทั้งหลาย  เป็นของมีประจำอยู่ในใจของเราแล้ว  จึงไม่มีเหตุผลในข้อที่ว่า เราไม่สามารถเห็นซึมซาบแจ้งชัด  ในสภาวะแท้ของ ตถตา(สภาพที่มีแต่ความเป็นเช่นนั้น จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ) มีข้อความกล่าวไว้ในสูตรชื่อ  โพธิสัตว์ศีลสูตร  ว่า "จิตเดิมแท้ของเรา  เป็นของบริสุทธิ์โดยเด็ดขาด  และถ้าเราได้รู้จักใจของเราเอง  และรู้แจ้งชัดว่าตัวธรรมชาติแท้ของเราคืออะไรแล้ว  เราจะลุถึงพุทธภาวะได้ทุกๆคน (ที่มีความรู้เช่นนั้น)"ข้อความในสูตรชื่อ วิมลกิรตินิเทศสูตร  ก็ได้กล่าวว่า "ทันใดนั้น  เขาตรัสรู้แจ่มแจ้งสว่างไสว  และได้รับใจของเขาเองกลับคืนมา" *(11)

ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เมื่อพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า  ได้เทศน์ให้อาตมาฟัง  อาตมาได้เกิดความรู้แจ้งสว่างไสว  ตรัสรู้ข้อธรรมะนั้น  ในทันทีที่ท่านพูดจบ  และทันใดนั้นเอง  ได้เห็นแจ้งประจักษ์ชัดในตัวธรรมชาติแท้ของ  ตถตา  ด้วยเหตุนี้เอง  อาตมาจึงมีความมุ่งหมายโดยเฉพาะ  ในการที่จะประกาศคำสอนแห่ง  "นิกายฉับพลัน"  นี้ต่อไป  เพื่อว่าผู้ศึกษาจะได้ประสบกับโพธิ  และเห็นแจ้งชัดในตัวธรรมชาติแท้ของตนเอง  ด้วยการอบรมจิตในวิปัสสนาภาวนา

       ถ้าหากว่า  เขาไม่สามารถช่วยตัวเองให้เกิดความสว่างไสวได้  เขาก็จะได้ขอร้องต่อเพื่อนพุทธบริษัทผู้คงแก่เรียนและใจอารี  ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจคำสั่งสอนของสำนักชั้นสูง  ให้ช่วยชี้หนทางถูกให้แก่เขา  สำนักหลักแหล่งของพุทธบริษัทผู้คงแก่เรียนและมีใจอารี  ทำหน้าที่นำจูงผู้อื่นให้เห็นแจ้งในจิตเดิมแท้นั้น  เป็นสำนักซึ่งอยู่ในตำแหน่งสูงสุด  ด้วยความช่วยเหลือของบุคคลชนิดนี้ผู้อื่นจะถูกชักจูงเข้ามาสู่ธรรมะอันเป็นฝ่ายกุศลทุก ๆ ประการ  บรรดาปัญญาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  ทั้งในอดีต  ปัจจุบัน  และอนาคต  รวมทั้งความรู้ที่เป็นหลักคำสอน  ในพระคัมภีร์ทั้งสิบสองหมวดนั้น  ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ในใจของเรามาแต่เดิมแล้ว  

ในกรณีที่เราเองไม่สามารถปลุกให้สว่างไสวขึ้นมาได้ด้วยตนเองนั้น   เราจำต้องแสวงคำแนะนำจากบุคคลผู้คงแก่เรียน  และมีใจอารีเหล่านั้น  แต่ในทางที่ตรงกันข้าม  พวกที่ทำความสว่างไสวให้แก่ตนเองได้โดยลำพังนั้น  ย่อมไม่ต้องการความช่วยเหลือจากภายนอก  มันเป็นของผิดในการที่จะไปถือคติว่า  ถ้าปราศจากคำแนะนำของผู้คงแก่เรียน  และมีใจอารีแล้ว  เราไม่สามารถจะลุถึงวิมุติ  เพราะเหตุไร?  

เพราะเหตุว่า มันเป็นเพราะปัญญาภายในของเราเองต่างหาก  ที่ทำให้เราเกิดความสว่างไสวได้   ถึงแม้ความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก  และคำพร่ำสอนของเพื่อนผู้คงแก่เรียน  และใจอารี  ก็ยังอาจเป็นหมันไร้ประโยชน์ได้เหมือนกัน  ถ้าหากว่าเราทำไม่ถูกหลงงมงายเสียแล้ว โดยคำสอนที่ผิดและความเห็นผิด  เราควรเพ่งจิตของเราด้วยปัญญาตัวจริง  ความเห็นผิดทั้งมวลก็จะถูกเพิกถอนไปในขณะนั้น   และในทันทีทันใดที่เราได้รู้จักตัว  จิตเดิมแท้  เราย่อมลุถึงสถานะแห่งความเป็นพุทธะในทันใดนั้น


*11 คำว่าได้รับใจของเขาเองกลับคืนมา นี้หมายความว่า ใจเดิมที่บริสุทธิ์และสว่างไสว ไม่ได้ถูกกิเลสหุ้มห่อ  นั้นเรียกว่าใจของเขาแท้  ในปัจจุบันนี้ กิเลสหุ้มห่อจนไม่เป็นใจของเขาเสียแล้ว  เขาสู้รบกับกิเลส กันเอากิเลสออกไปเสีย  และเอาใจของเขาแท้กลับคืนมาได้ (ผู้แปลไทย พุทธทาส)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2553 07:00:25 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553 13:48:03 »



น้ำตก Angel มีชื่อเรียกขานตามภาษาพื้นเมืองว่า Kerepakupay Ven
เป็นน้ำตกที่สายน้ำดิ่งตกลงมาสูงที่สุด โดยไม่ผ่านโขดหินขวางกั้น
คือตกลงมาจากที่สูง 979 เมตร  (3,212 ฟุต)
อยู่ที่ Canaima National Park ประเทศ Venezuela

 ขอบพระคุณที่มาภาพจาก  http://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=6335.msg49828

 ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เมื่อเราใช้ปรัชญา  (ปัญญาดั้งเดิม)  ของเราในการเพ่งพิจารณาในภายใน  เราย่อมมีความสว่างแจ่มแจ้ง  ทั้งภายในและภายนอก  และเราอยู่ในฐานะที่จะรู้จักใจของเราเอง  การรู้จักใจของเราเองคือการลุถึงวิมุติ (การหลุดเป็นอิสระ)  การลุถึงวิมุติ  ก็คือการลุถึงสมาธิฝ่ายปรัชญา  ซึ่งเป็น  "ความไม่ต้องคิด"  "ความไม่ต้องคิด" คืออะไร?  "ความไม่ต้องคิด"  คือการเห็นและการรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวง (ตามที่เห็นจริง) ด้วยใจที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มพัวพัน  เมื่อเราใช้มัน  มันแทรกเข้าไปได้ในทุกสิ่งแต่ไม่ติดแจอยู่ในสิ่งใดเลย  

สิ่งที่เราจะต้องทำนั้น  มีเพียงการชำระจิตให้ใสกระจ่าง  เพื่อว่าวิญญาณทั้งหกเมื่อแล่นไปตามอายตนะทั้งหก (*12) จะไม่ถูกทำให้เศร้าหมองโดยอารมณ์ทั้งหก  เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่ของมันได้โดยอิสระ ปราศจากอุปสรรค  และอยู่ในสถานะที่จะ  "มา"  หรือ  "ไป"  ได้โดยอิสระเมื่อนั้น ชื่อว่าเราได้บรรลุ  สมาธิฝ่ายปรัชญา  หรืออิสรภาพ  สถานะเช่นนี้มีนามว่า  การทำหน้าที่ของ "ความไม่ต้องคิด"  แต่ว่า  การหักห้ามความคิดถึงสิ่งใดๆ ให้ความคิดทั้งหมดถูกกดเอาไว้  ย่อมเป็นการกดธรรมะไว้  (ไม่ให้ปรากฏหรือเป็นไปตามที่ควรจะเป็นไป) และข้อนี้ย่อมเป็นความเห็นผิด

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  บรรดาบุคคลผู้เข้าใจในวิถีทางแห่ง  "ความไม่ต้องคิด" เหล่านั้น  จะรู้แจ้งสิ่งทั้งหลายทั้งปวงทุกสิ่ง  จะได้ดื่มรสที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้เคยดื่มมาแล้ว  และย่อมบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า  ในกาลข้างหน้าต่อไป  ถ้าหากผู้ที่ได้รับคำสอนจากสำนักของอาตมาคนใด  จะให้สัจจปฏิญาณในท่ามกลางหมู่เพื่อนศิษย์ด้วยกันว่าจะอุทิศชีวิตของตนทั้งหมดเพื่อปฏิบัติตามคำสอนแห่ง  "สำนักฉับพลัน"  นี้  โดยไม่ย่อท้อถอยหลัง  ตั้งใจขนาดเดียวกันกับความตั้งใจที่จะปรนนิบัติรับใช้พระพุทธเจ้าแล้วไซร้  เขาก็จักลุถึงวิสุทธิมรรคา  โดยไม่มีการล้มเหลวเป็นแน่แท้  

เขาจักถ่ายทอดคำสอนที่พระสังฆปริณายกองค์หนึ่ง  ได้มอบหมายลงมายังพระสังฆปริณายกองค์ต่อๆ มา  ออกจากดวงใจของเขา  แล้วส่งลงไปยังดวงใจของบุคคลอื่น  ซึ่งสมควรแก่การนี้เป็นช่วงๆ กันไป  และพยายามที่จะไม่ปิดบังซ่อนเร้นคำสอนที่ถูกต้องไว้แม้แต่น้อย  สำหรับบุคคลพวกที่อยู่ในสำนักอื่นในนิกายอื่น  ซึ่งความเห็นและจุดมุ่งหมายของเขาผิดไปจากของพวกเรานั้น  ไม่ความจะถ่ายทอดหลักธรรมะอันนี้ไปให้เลยเพราะจะมีแต่ผลร้ายโดยประการต่างๆ ไม่มีผลดี การที่มีข้อยกเว้นไว้ดังนี้ ก็โดยเกรงว่า  พวกคนเขลาซึ่งไม่สามารถเข้าใจหลักคำสอนอย่างของเรา  จะมีคำกล่าวตู่ป้ายร้ายให้แก่คำสอนระบอบนี้  และข้อนั้นเองจะเป็นการทำลายเมล็ดพืชแห่งความเป็นพุทธะ  ซึ่งมีอยู่ในคนพวกนั้นให้เหือดแห้งเป็นหมันไป  ตลอดเวลาหลายร้อยกัลป์พันชาติ


*12 วิญญาณทั้งหกคือ  จักขุวิญญาณ  โสตวิญญาณ  ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ  มโนวิญญาณ  ได้แก่จิตส่วนที่ไมทำหน้าที่รู้สึกตามทวารต่างๆ  คือ ตา หู  เป็นต้น
อายตนะหก  หมายถึง  ตา หู จมูก ลิ้น  กาย  มโน  ที่ยังมีประสิทธิภาพ  คือให้วิญญาณทำหน้าที่ได้  เป็นสื่อระหว่างวิญญาณกับอารมณ์  
อารมณ์หก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ได้แก่ของข้างนอก  ที่จะเข้าไปพบของข้างใน  คือวิญญาณโดยอาศัยอายตนะเป็นสนาม  (ผู้แปลไทย พุทธทาส)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2553 07:11:25 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553 15:24:32 »




 
  ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  อาตมามีโศลกอันกล่าวถึง "นิรรูป"(*13)อยู่หมวดหนึ่ง  สำหรับท่านทั้งหลายท่องบ่นกัน  ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตควรปฏิบัติตามคำสอนซึ่งมีอยู่ในโศลกนั้น  ซึ่งถ้าปราศจากการปฏิบัติเสียแล้วมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร  ในการที่จะจำเอาถ้อยคำของอาตมาไปเปล่าๆ ท่านทั้งหลายจงคอยฟังโศลก ดังต่อไปนี้:-


"อาจารย์ผู้บัญญัติคัมภีร์พุทธธรรม  รวมทั้งคำสอนในสำนักนิกายธยานนี้ด้วย
อาจเปรียบกันได้กับดวงอาทิตย์  ซึ่งกำลังแผดแสงจ้า อยู่ ณ กึ่งกลางนภากาศ

บุคคลเช่นนี้จักไม่สอนอะไร  นอกจากธรรมะเพื่อให้เห็นแจ้ง  จิตเดิมแท้  อย่างเดียว
และความมุ่งหมายในการที่ท่านมาสู่โลกนี้ ก็เพื่อขจัดพรรคมิจฉาทิฏฐิฯ

เราจะแบ่งแยกธรรมปฏิบัติ  ออกเป็นชนิด "ฉับพลัน" และชนิด "เชื่องช้า" ได้โดยยากก็จริง
แต่ก็ยังมีคนบางพวก ที่จะรู้แจ้งได้เร็วกว่าคนพวกอื่นมากฯ

ตัวอย่างเช่นธรรมปฏิบัติระบอบนี้  ที่สอนมุ่งให้เห็นแจ้งจิตเดิมแท้
เป็นระบอบที่คนโฉดเขลา  จะเข้าใจไม่ได้ฯ
เราอาจจะอธิบายหลักธรรมะระบอบนี้ได้โดยวิธีต่างๆ ตั้ง 10,000วิธี

แต่ว่าคำอธิบายทั้งหมดนั้น  อาจจะลากให้หวนกลับมาสู่หลักดุจเดียวกันได้ฯ
การที่จะจุดไฟให้สว่างขึ้น ในดวงหฤทัยอันมืดมัว  เพราะเกรอะกรังไปด้วยกิเลสนั้น

เราจักต้องดำรงแสงสว่างแห่งปรัชญา  ไว้เนืองนิจฯ
มิจฉาทิฏฐิ  ย่อมทำเราให้ติดจมอยู่ในห้วงกิเลสฯ

ส่วนสัมมาทิฏฐิ  ย่อมเปลื้องเราออกจากกองกิเลสนั้นๆ
แต่เมื่อใด  เราอยู่ในฐานะที่เหนือกว่าทิฏฐิทั้งสองอย่างนี้

เมื่อนั้น  เราย่อมบริสุทธิ์  โดยเด็ดขาดฯ
โพธิ  เป็นสิ่งมีประจำอยู่แล้วภายใน  จิตเดิมแท้  ของเรา

การพยายามมองหาโพธิจากที่อื่นนั้น  เป็นความเขลาฯ
จิตที่บริสุทธิ์นั้น จะหาพบได้ภายในจิตอันไม่บริสุทธิ์ของเรา นั่นเอง

ในทันใดที่เราดำรงจิตถูกต้อง  เราย่อมเป็นอิสระจากสิ่งบดบัง 3 ประการ
( คือ กิเลส  บาปกรรม  และการต้องทนใช้บาปอยู่ในนรก)

ถ้าเราเดินอยู่ในมรรคาแห่งการตรัสรู้
เราไม่จำต้องกลุ้มใจด้วยสิ่งที่จะทำให้เราสะดุดล้มฯ

ถ้าเราคอยสอดส่ายตา  ระวังความผิดของเราเองอยู่เสมอ
เราก็เดินไกลออกไปนอกหนทางที่ถูกไม่ได้ฯ





* คำว่า "นิรรูป" แปลว่า ไม่มีรูป โดยศัพท์ตรงกับคำว่า อรูป,แต่คำว่า อรูป นั้นได้ใช้กันมาก่อนแล้ว หมายถึง อรูปสมาบัติ โดยเฉพาะ ถ้าไปใช้คำว่าอรูปเข้าในที่นี้อีก จะทำให้ผู้อ่านฟั่นเฝือ จึงแปลเสียว่า นิรรูป,ซึ่งหมายความคล้ายกัน คำว่าไม่มีรูปตามความหมายของนิกายนี้ หมายความว่าเขาไม่เห็นว่ารูปธรรมเป็นของสำคัญ หรือกล่าวให้ถูกต้องยิ่งขึ้นไปอีก ก็กล่าวว่ารูปไม่มี เพราะอะไรๆ ก็คือ จิตเดิมแท้ ไปทุกสิ่งทุกอย่าง จงมีแต่ใจเท่านั้น สนใจแต่เรื่องใจอย่างเดียวก็พอแล้ว. - ผู้แปลเป็นไทย พุทธทาส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 เมษายน 2555 07:09:10 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: ลงใหม่ค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553 15:42:02 »




เพราะเหตุที่ชีวิตทุกๆแบบ ย่อมมีวิถีทางแห่งความรอดพ้นเฉพาะของมันเอง ทุกแบบ

ฉะนั้น ชีวิตทั้งหลายจะไม่ก้าวก่าย หรือกระทบกระทั่งซึ่งกันและกันฯ
แต่ถ้าเราผละไปจากทางชนิดที่เป็นของเรา  ไปแสวงหาทางอื่นเพื่อจะรอดพ้น

เราจะไม่พบความรอดพ้นได้เลย
แม้ว่าเราจะหาเรื่อยไป จนกระทั่งความตายมาถึงเราก็ดี

ในที่สุด  เราจะพบแต่ความรู้สึกเสียใจภายหลังว่า  เราทำพลาดไปแล้วฯ
ถ้าท่านปรารถนาจะค้นหางทางที่ถูกต้อง

การทำให้ถูกวิธีจริงๆ เท่านั้น  ที่จะนำท่านดิ่งไปถึงได้
แต่ถ้าท่านไม่มีการดิ้นรนเพื่อลุถึงพุทธภูมิ

ท่านก็จะมัวคลำคว้าอยู่ในที่มืด  และไม่มีโอกาสพบเลยฯ
ผู้ที่ด่วนเดินมุ่งแน่วไปตามทางที่ถูกต้องนั้น

ย่อมไม่มองเห็นความผิดต่างๆ ในโลกนี้
ถ้าเราพบความผิดในบุคคลอื่น

เราเองก็ตกอยู่ในความผิดนั้นด้วยเหมือนกันฯ
เมื่อผู้อื่นทำผิด  เราไม่จำต้องเอาใจใส่

เพราะมันจะเกิดความผิดขึ้นแก่เราเอง  ในการที่จะไปรื้อหาความผิดฯ
โดยการสลัดนิสัยที่ชอบค้นหาความผิดของคนอื่น  ออกไปเสียจากสันดาน

เราย่อมตัดวิถีทางการมาของกิเลส   ได้เป็นอย่างดีฯ
เมื่อใดความชัง (คนเกลียด) และความรัก (คนรัก)  ไม่กล้ำกรายใจของเรา

เราหลับสบายฯ

บุคคลใด  ตั้งใจจะเป็นครูสอนคนอื่น
เขาเองควรจะมีความคล่องแคล่วในวิธีเหมาะสมนานาประการ  ที่จะนำผู้อื่นเข้าถึงความสว่างฯ

เมื่อศิษย์พ้นจากความสงสัยสนเท่ห์  โดยประการทั้งปวง
มันย่อมแสดงว่า  เขาได้พบ  จิตเดิมแท้  ของเขาแล้วฯ

จักรวรรดิของพระพุทธเจ้า(*13) อยู่ในโลกนี้


*13 จักรวรรดิของพระพุทธเจ้า หรือ Kingdom of the Buddha หมายถึงพุทธเกษตร หรือเขตที่อยู่ในอำนาจของพระพุทธเจ้า  ในการที่สิ่งทั้งหลายจะได้เป็นไปตามกฎแห่งธรรมะ  เช่นปฏิบัติเช่นนี้ ได้ผลเช่นนี้  ปฏิบัติถึงนิพพาน  ได้ผลถึงนิพพานเป็นต้น  ซึ่งเป็นเครื่องรับประกันให้หายห่วง ในการที่จะเกิดกลัวไปว่ากรรมจะไม่ให้ผลเป็นต้น  

หรือคำสอนของพระองค์ใช้ไม่ได้ในที่นี้ (ทำนองกฏหมายในเมืองไทย ใช้บังคับที่เมืองจีนไม่ได้เป็นต้น) แม้ว่าจะมีคำกล่าวในที่อื่น  ว่าพุทธเกษตรมีหลายเกษตรเพราะพระพุทธเจ้ามีหลายองค์  แต่ในที่นี้พิจารณากันแต่ในแง่ว่า  พระพุทธเจ้าทุกองค์มีปัญญาอย่างเดียวกัน ตรัสรู้และสอนอย่างเดียวกัน  หรือเป็นองค์เดียวกัน  นั่นเอง  การแบ่งเป็นองค์ๆ เป็นความเข้าใจผิด  หรือมิฉะนั้นก็เป็นการกล่าวอย่างสามัญตามสมมุติ ผู้แปลไทยพุทธทาส)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2553 07:17:47 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553 16:36:53 »



ซึ่งเราจะพบความสว่างไสวได้  ในเขตนั้นฯ
การเสาะแสวงหาความสว่างไสว  ในที่อื่นจากโลกนี้

เป็นของพิลึกกึกกือ  เหมือนการเที่ยวหาเขากระต่ายฯ
สัมมาทิฏฐิ  เป็นสิ่งที่ถูกขนานนามว่า  "เลิศเหนือโลก"

มิจฉาทิฏฐิ  เป็นสิ่งที่ถูกขนานนามว่า "ข้องอยู่ในโลก"
เมื่อใดทิฏฐิทั้งสองอย่าง ไม่ว่าสัมมาหรือมิจฉา  ถูกสลัดพ้นออกไป

เมื่อนั้นโพธิแท้   ย่อมปรากฏ ฯ
โศลกนี้มีไว้สำหรับพวก  "นิกายฉับพลัน"

และโศลกนี้ ยังถูกขนานนามว่า  "มหาธรรมนาวา" (เพื่อแล่นข้ามฝั่งสังสารวัฏ)
กัลป์แล้วก็กัลป์เล่า  คงตกอยู่ภายใต้ความมืดบอด

แต่ครั้นถึงคราวตรัสรู้ มันกินเวลาแวบเดียวเท่านั้น เขาก็เข้าถึงพุทธภูมิฯ

ก่อนจบเทศนา  พระสังฆปริณายกได้กล่าวเพิ่มเติมว่า  "บัดนี้ในวิหารแห่งไทฟันนี้  อาตมาได้แสดงธรรมให้ท่านฟัง  ถึงคำสอนแห่ง  "นิกายฉับพลัน" แล้ว ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงซึ่งล้วนแต่มีธรรมธาตุอันนั้นประจำอยู่  ในตัวทุกคนแล้วจงเข้าใจธรรมะนี้  และลุถึงความเป็นพุทธะเถิด"

        เมื่อได้ฟังธรรมกถาที่พระสังฆปริณายากล่าวจบลงแล้ว  ข้าหลวงไว่ แห่งชิวเจา  พวกข้าราชการ  นักศึกษาฝ่ายเต๋า  และชาวบ้านเหล่านั้นได้เข้าถึงความสว่างไสว ทั่วถึงกัน  เขาเหล่านั้น  พร้อมกันทำความเคารพและออกอุทานเป็นเสียงเดียวกันว่า "สาธุ สาธุ  ใครจะนึกไปถึงว่า  พระพุทธเจ้าได้มาอุบัติขึ้นในนครกวางตุ้ง"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มีนาคม 2553 00:58:50 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553 16:50:54 »




หมวดที่ 3

ว่าด้วยข้อปุจฉา-แลวิสัชนา

********************

วันหนึ่ง ท่านข้าหลวงไว่ ได้จัดให้มีการประชุมกันถวายภัตตาหารเจแด่ พระสังฆปริณายก  และขอร้องให้ท่านแสดงธรรมแก่ประชุมชนที่กำลังประชุมกันคับคั่ง เมื่อเสร็จจากการฉันแล้ว ท่านข้าหลวงไว่ได้อาราธนาให้ท่านขึ้นธรรมมาสน์ (ซึ่งท่านได้ตกลงรับ) เมื่อได้โค้งคำนับด้วยความเคารพ 2 ครั้ง 2 ครา  พร้อมๆกับบรรดาข้าราชการ  นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ได้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นั่นแล้ว  ข้าหลวงไว่ได้กล่าวขึ้นว่า  กระผมได้ฟังบทธรรมที่พระคุณเจ้าแสดงแล้ว รู้สึกว่าเป็นของลึกซึ้งเกินกว่ากำลังความคิดและถ้อยคำของกระผมจะบรรยายได้  และกระผมมีปัญหาอยู่บางประการ ซึ่งหวังว่าพระคุณเจ้าคงจะกรุณาชี้แจงให้เห็นกระจ่าง

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ถ้าท่านมีความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ก็ขอให้ท่านถามมา อาตมาจะได้ชี้แจง

        ข้าหลวงไว่ได้ถามขึ้นว่า หลักธรรมต่างๆ ที่พระคุณเจ้าได้แสดงไปแล้วนี้ เป็นหลักที่ประสังฆปริณายกโพธิธรรม ได้วางไว้บัญญัติไว้มิใช่หรือ?        

        พระสังฆปริณายก ตอบว่า ใช่

        กระผมได้สดับตรับฟังมาว่า เมื่อพระโพธิธรรมได้พบปะและสังสนทนากันเป็นครั้งแรกกับ พระจักรพรรดิวู่แห่งราชวงศ์เหลียง นั้น ท่านสาธุคุณองค์นั้นได้ถูกพระจักรพรรดิถามถึงข้อที่ว่า พระองค์จะได้รับกุศล (Merits) อะไรบ้าง ในการที่พระองค์ได้กระทำการก่อสร้างพระวิหาร การอนุญาตให้คนบวช(ซึ่งในสมัยนั้นพระบรมราชานุญาตเป็นของจำเป็นมาก) การโปรยทานและการถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสง์ในราชกาลของพระองค์ และท่านสาธุคุณองค์นั้น ได้ถวายพระพรว่า การกระทำเช่นว่านั้น ไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย  ในเรื่องนี้ กระผมไม่เข้าใจเลยว่า  ทำไมพระสังฆปริณายกโพธิธรรม จึงได้ถวายพระพร เช่นนั้น ของพระคุณเจ้าโปรดชี้แจงด้วยเถิด

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ถูกแล้ว  การกระทำเช่นว่านั้น ไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใด  ท่านอย่างได้มีความสงสัยในถ้อยคำของพระมุนีองค์นั้นเลย พระจักรพรรดิเองต่างหาก มีความเข้าพระทัยผิด และพระองค์ไม่ได้ทรงทราบถึงคำสอนอันถูกต้อง  ตามแบบแผน  ก็การกระทำเช่นสร้างวิหาร การอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน การถวายภัตตาหารเจ เช่นกล่าวนี้จะนำมาให้ได้ก็แต่เพียงความปิติอิ่มใจต่างๆ เท่านั้น ซึ่งไม่สมควรจะถือว่าเป็นกุศล กุศลจะมีได้ก็แต่ในธรรมกาย ไม่มีส่วนใดเกี่ยวข้องกันกับการทำเพื่อความปิติอิ่มใจ ดังกล่าวมานั้นเลย (*14)



*14 เราจะเห็นได้ว่า แม้ในสมัยโบราณ นิกายเซ็นแห่งประเทศจีน ก็ยังคงมีการถือคำว่ากุศลกันอย่างถูกต้องตามความหมายเดิมของคำว่า "กุศล"(กุศล-ตัดความชั่วสิ่งห่อหุ้ม สันดานเหมือนหญ้ารก) ซึ่งในที่นี้ หมายความถึงสิ่งที่จะช่วยขจัดเครื่องกางกั้น มิให้ลุถึงความรอดพ้นจากอำนาจกิเลส หรือกล่าวโดยตรง กุศล ก็ได้แก่เครื่องช่วยให้จิตหลุดรอดไปจากสิ่งครอบคลุมห่อหุ้ม จนไม่เห็นโพธินั่นเอง ฉะนั้น จึงไม่หมายความไปถึงวัตถุภายนอก เช่น การให้ทาน หรือการสร้างวิหารเป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ควรจะเรียกว่า "บุญ" มากกว่าที่จะเรียกว่า "กุศล" (ปุญญ-เครื่องให้ฟูใจ) ครั้นตกมาถึงสมัยพวกเรานี้ คำว่ากุศล ใช้ปนเปไปกับคำว่าบุญ จนอ่านข้อความตอนนี้เข้าใจได้ยาก (ผู้แปลไทย พุทธทาส)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มีนาคม 2553 00:46:44 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพที่หายไปค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553 17:20:57 »



พระสังฆปริณายกได้กล่าวต่อไปว่า การเห็นแจ้งชัดในจิตเดิมแท้ นั้น เรียกว่า กุง (กุศลวิบาก) และความคงที่สม่ำเสมอ นั้น เรียกว่า แต๊ก (กุศลสมบัติ) และเมื่อใด ความเป็นไปทางฝ่ายจิตของเรา มีการเคลื่อนไหวคล่องแคล่วไม่มีติดขัด จนทำให้เราทราบไม่ขาดสาย ถึงภาวะที่แท้จริง พร้อมทั้งการทำหน้าที่อย่างประหลาดลึ้ลับของใจของเราเอง  เมื่อนั้น เรียกว่าเราเข้าถึงแล้วซึ่ง กุงแต๊ก (กุศล)

        ที่เป็นภายใน  การระวังจิตของตนไว้ ให้คงอยู่ในภาวะที่ปราศจากความเผยอผยองพองตัวเรียกว่า กุง ที่เป็นภายนอก  การวางตัวไว้ในสภาพที่เหมาะสมทุกวิถีทาง เรียกว่า แต๊ก  รู้ว่าทุก ๆสิ่ง คือการแสดงออกของจิตเดิมแท้ เรียกว่า กุง  และรู้ว่าส่วนที่เป็นประธานของจิต เป็นอิสระแล้วจากความคิดอันเป็นเครื่องถ่วงทั้งหลาย นี้เรียกว่า แต๊ก  การไม่แล่นเพริดเตลิดไปจากจิตเดิมแท้ เรียกว่า กุง และการที่เมื่อใช้จิตนั้นทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่เผลอทำจิตนั้นให้มืดมัวเสียรูปไป นี้เรียกว่า แต๊ก  ถ้าท่านแสวงหากุศลภายในธรรมกาย  และทำตามที่อาตมาได้กล่าวนี้จริงๆแล้ว กุศลที่ท่านได้รับ  จะต้องเป็นกุศลจริง ผู้ปฏิบัติเพื่อกุศล จะไม่หมิ่นผู้อื่น และในที่ทุกโอกาสเข้าปฏิบัติต่อทุกๆ คนด้วยความยำเกรงนับถือ ผู้ซึ่งมีการดูหมิ่นผู้อื่นเป็นปรกตินิสัย ย่อมไม่สามารถขจัดมานะอหังการออกไปเสียได้  ซึ่งส่อว่าเขา ยังขาดกุง เพราะความถือตัว และความดูหมิ่นผู้อื่นเป็นปรกตินิสัยเขาย่อมไม่เห็นแจ้งต่อจิตเดิมแท้  และนี่ส่อว่าเขา ยังขาดแต๊ก

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  เมื่อใดความเป็นไปทางฝ่ายจิตทำหน้าที่ของมันได้โดยไม่มีที่ติดขัด เมื่อนั้นเรียกว่า มีกุง เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่ของมันในลักษณะที่ตรงแน่ว  เมื่อนั้นเรียกว่า มีแต๊ก การฝึก การฝึกทางจิต จัดเป็น กุง การฝึกทางที่เกี่ยวกับกาย จัดเป็น แต๊ก

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  กุศลนั้นเป็นสิ่งที่ต้องแสวงหาภายในจิตเดิมแท้ และเป็นสิ่งที่หาไม่ได้จากาการโปรยทาน การถวายภัตตาหาร ฯลฯ และอื่นๆ เหตุฉะนั้น  เราต้องรู้จักแยกให้เห็นความแตกต่างระหว่างความปิติอิ่มใจกับตัวกุศลแท้  คำที่พระสังฆปริณายกของเรากล่าวไปนั้นไม่มีอะไรผิด  พระจักรพรรดิวู่เองต่างหาก  ที่ไม่เข้าใจในหนทางอันแท้จริง

                ข้าหลวงไว่  ได้เรียนถามปัญหาข้อต่อไปอีกว่า  กระผมได้สังเกตเห็นเขาทำกันทั่วไป ไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรพชิต  ในการออกนามพระอมิตาภะและตั้งอธิษฐานจิตขอให้ไปบังเกิดในดินแดนอันบริสุทธิ์  ทางทิศตะวันตก เพื่อขจัดความสงสัยของกระผม  ขอพระคุณเจ้าจงกรุณาตอบให้แจ้งชัด  ว่ามันจะเป็นได้หรือไม่  ที่เขาเหล่านั้นจะพากันไปเกิดที่นั้น

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  ท่านทั้งหลายจงฟังอาตมาอย่างระมัดระวังสักหน่อย  แล้วอาตมาจะได้อธิบาย เมื่อกล่าวตามสูตรที่สมเด็จพระภควันต์ได้ตรัสไว้ที่นครสาวัตถี เพื่อนำประชาสัตว์ไปสู่แดนบริสุทธิ์ทางทิศตะวันตกนั้น มันก็เป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่า  แดนบริสุทธิ์นั้นอยู่ไม่ไกลไปจากที่นี่เลย  เพราะตามระยะทางคิดเป็นไมล์ ก็ได้108,000ไมล์เท่านั้น  ซึ่งโดยแท้จริงแล้วระยะทางนี้ หมายถึงอกุศล 10 และมิจฉัตตะ 8 ภายในตัวเรานั่นเอง (*15)  สำหรับ
คนพวกที่ยังมีใจต่ำ มันก็ต้องอยู่ไกลอย่างแน่นอน  แต่สำหรับพวกที่มีใจสูงแล้ว เราอาจกล่าวได้ว่า มันอยู่ใกล้นิดเดียว


*15 อกุศล 10 อย่าง (ซึ่งหมายถึงอกุศลกรรมบท) คงกำหนดให้อย่างละหมื่นไมล์ ส่วนมิจฉัตตะ 8 อย่างนั้น คงกำหนดให้อย่างละพันไมล์ จึงได้แสนแปดหมื่นไมล์
มิจฉัตตะนั้น คือความผิดตรงกันข้ามกับมรรคมีองค์แปด (ผู้แปลไทย พุทธทาส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มีนาคม 2553 07:23:45 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 19 กุมภาพันธ์ 2553 17:26:22 »



       แม้ว่าพระธรรมจะเป็นของคงเส้นคงวารูปเดียวกันทั้งนั้น  แต่คนนั้นๆย่อมแตกต่างกันโดยจิตใจ  เพราะขนาดแห่งความฉลาดและความเขลาของมนุษย์มีอยู่แตกต่างกันนี่เอง  จึงมีคนบางคนเข้าใจในพระธรรมได้ก่อนคนเหล่าอื่น เมื่อพวกคนไร้ปัญญากำลังพากันท่องนามของพระอมิตาภะ และอ้อนวอนของให้ได้เกิดในแดนบริสุทธิ์อยู่นั้น  คนฉลาดก็พากันชำระใจของเขาให้สะอาดแทน  เพราะเหตุว่า  ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้นั้นมีอยู่ว่า "เมื่อใจบริสุทธิ์  แดนแห่งพระพุทธเจ้า ก็บริสุทธิ์พร้อมกัน

        แม้ว่าพวกท่านทั้งหลายจะเป็นชาวตะวันออก  ถ้าใจของท่านบริสุทธิ์ท่านก็เป็นคนไม่มีบาป  อีกทางหนึ่งตรงกันข้าม  ต่อให้ท่านเป็นชาวตะวันตกเสียเอง  ใจที่โสมมของท่าน  หาอาจช่วยให้ท่านเป็นคนหมดบาปได้ไม่  เมื่อคนชาวตะวันออกทำบาปเข้าแล้ว  เขาออกนามอมิตาภะ  แล้วอ้อนวอนเพื่อไปเกิดทางทิศตะวันตก  ที่นี้ถ้าในกรณีที่คนบาปนั้นเป็นชาวตะวันตกเสียเองแล้ว เขาจะอ้อนวอนให้ไปเกิดที่ไหนเล่า? คนสามัญและคนเขลา ไม่เข้าใจในจิตเดิมแท้และไม่รู้จักแดนบริสุทธิ์อันมีอยู่พร้อมแล้วในตัวของตัว  ดังนั้นเขาจึงปรารถนาที่จะไปเกิดทางทิศตะวันออกบ้าง  ทางทิศตะวันตกบ้าง  แต่สำหรับคนที่มีปัญญาแล้วที่ไหนๆก็ไม่สำคัญ  เขาคงเป็นสุข และบันเทิงเริงรื่นอยู่เสมอ

        ท่านทั้งหลาย  เมื่อใจของท่านบริสุทธิ์จากบาปแล้ว ทิศตะวันตกก็อยู่ไม่ไกลจากที่ตรงนี้ มันลำบากนักก็อยู่ตรงที่ว่า คนใจโสมมต้องการจะไปเกิดที่นั่นด้วยการตะโกนร้องเรียกหาพระอมิตาภะเท่านั้น

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  ในเรื่องนี้  สิ่งที่จะต้องทำเป็นข้อแรกก็คือจัดการกับอกุศล 10 ประการเสียให้หมดสิ้นไป เมื่อนั้นก็เป็นอันว่าเราได้เดินทางเข้าไปแล้ว 100.000ไมล์  ขั้นต่อไป เราจัดการกับมิจฉัตตะ 8 เสียให้สิ้นสุดก็เป็นอันว่าหนทางอีก 8.000ไมล์นั้น เราเดินผ่านทะลุไปแล้ว (เมื่อเป็นดังนี้แดนบริสุทธิ์จะหนีไปข้างไหน)  ก็ถ้าเราสามารถเห็นแจ้งขัดในจิตเดิมแท้อยู่เสมอและดำเนินตนตรงแน่วอยู่ทุกขณะแล้ว  พริบตาเดียวเท่านั้นเราก็ไปถึงแดนบริสุทธิ์ได้และพบพระอมิตาภะอยู่ที่นั่น (นะโมอมิตาพุทธ)

        ถ้าท่านทั้งหลายเพียงแต่ประพฤติกุศล 10 ประการเท่านั้น  ท่านก็หมดความจำเป็นที่จะต้องไปเกิดที่นั่น ในฝ่ายตรงกันข้าม ถ้าท่านไม่จัดการกับอกุศล 10 ประการให้เสร็จสิ้นไปแล้ว พระพุทธเจ้าองค์ไหนเล่าที่จะพาท่านไปยังที่นั่น? ถ้าท่านเข้าใจในหลักธรรม  อันกล่าวถึงธรรมชาติที่ไม่มีการเกิด (ซึ่งหักเสียซึ่งวงกลมแห่งการเกิดและการตาย) ของนิกาย "ฉับพลัน" แล้ว มันจะพาท่านไปให้เห็นทิศตะวันตกได้ในอึดใจเดียว  แต่ถ้าท่านไม่เข้าใจ ท่านจะไปถึงที่นั้นด้วยลำพังการออกนามอมิตาภะได้อย่างไรกันหนอ  เพราะหนทาง 108,000ไมล์นั้นมันไกลไม่ใช่เล่น เอาละท่านทั้งหลายจะพอใจไหม ถ้าอาตมาจะยกเอาแดนบริสุทธิ์มาวางไว้ตรงหน้าท่านในเดี๋ยวนี้?

        ที่ประชุมได้ทำความเคารพ แล้วตอบพระสังฆปริณายกว่า ถ้าเราทั้งหลายอาจเห็นแดนบริสุทธิ์ได้ ณ ที่ตรงนี้แล้ว เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรารถนาไปเกิดที่โน่น ขอพระคุณเจ้าจงได้กรุณาให้เราทั้งหลายได้เห็นแดนบริสุทธิ์นั้น โดยยกมาวางที่นี่เถิด



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 เมษายน 2553 12:09:10 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  [1] 2 3 ... 5   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 2.439 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 13:10:25