[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 14:35:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 2 [3] 4 5   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตรเว่ยหล่าง  (อ่าน 79416 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2553 11:46:52 »





พระสูตรเว่ยหล่าง
พุทธทาสภิกขุ แปล

ปาฐกถาธรรมนิกายเซ็น โดย นายแพทย์ ตันม่อเซี้ยง
สูตรอันประกาศบนมหาบัลลังก์
แห่ง  "ธรรมรถ"



คำชี้แจ้งของท่านพุทธทาสภิกขุ
เกี่ยวกับการศึกษา-สูตรของเว่ยหล่าง

           เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ มีเรื่องที่จะต้องทราบกันเสียก่อนในเบื้องต้นอยู่ 2 ข้อ

          ข้อแรก หนังสือเล่มนี้จะไม่เป็นที่เข้าใจได้สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่เคยศึกษาทางพุทธศาสนามาก่อนเลย, มันไม่ใช่หนังสือเล่มแรกสำหรับผู้ริเริ่มการศึกษาพุทธศาสนา.  อย่างน้อยที่สุดผู้ที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้  แม้จะไม่เคยอ่านหนังสือของทางฝ่ายมหายานมาบ้างแล้ว  ก็ควรจะได้เคยศึกษาศึกษาหลักแห่งพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมาบ้างพอสมควรแล้ว  จนถึงกับ  จับใจความได้อย่างใดอย่างหนึ่งว่า พุทธศาสนาที่ตนศึกษาแล้วนั้นมีหลักอย่างไร หรือวิธีปฏิบัติอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ได้ โดยเฉพาะ.  และอีกทางหนึ่งสำหรับ.ผู้ที่เคยศึกษาแต่ฝ่ายเถรวาทมาอย่างเคร่งครัด   และยังแถมยึดถือทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่งไว้อย่างเหนียวแน่นนั้น  อาจจะมองไปเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ผิดหลักพระพุทธศาสนาเป็นมิจฉาทิฏฐิ  หรือเป็นสิ่งที่น่าอันตรายไปอย่างยิ่ง  ไปก็ได้.  ทั้งนี้ เพราะเหตุที่  หลักคิด   และ  แนวปฏิบัติ  เดินกันคนละแนว  เหมือนการเดินของคนที่เดินตามทางใหญ่ที่อ้อมค้อม  กับคนที่เดินทางลัด หรือถึงกับดำดินไปผุดขึ้นในที่ที่ตนต้องการจะให้ไปถึงเสียเลย  ฉันใดฉันนั้น.

          ข้อที่สอง  ผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยความสนใจ ความทราบไว้เสียก่อนว่า หลักนิกายเซ็นและโดยเฉพาะของพระสังฆปรินายกชื่อ เว่ยหล่าง นี้ นอกจากจะเป็นวิธีการที่ลัดสั้นแล้ว  ยังเป็นวิธีปฏิบัติที่อิงหลักธรรมชาติทางจิตใจของคนทั่วไป แม้ที่ไม่รู้หนังสือ  หรือไม่เข้าใจพิธีรีตองต่างๆ  จึงเป็นเหตุให้ลัทธินี้ถูกขนานนามว่า  "ลัทธิพุทธศาสนาที่อยู่นอกพระไตรปิฎก" หรืออะไรอื่นทำนองนี้อีกมากมาย.  ที่จริง ผู้ที่จะอ่านหนังสือนี้   ควรจะได้รับการชักชวนให้ลืมอะไรต่างๆที่เคยยึดถือไว้แต่ก่อนให้หมดสิ้นเสียก่อน  จึงจะเป็นการง่ายในการอ่านและเข้าใจ;  

โดยเฉพาะก็คือ  ให้ลืมพระไตรปิฎก ลืมระเบียบพิธีต่างๆทางพุทธศาสนา ลืมความคิดดิ่งๆด้านเดียว  ที่ตนเคยยึดถือ  กระทั่งลืมความเป็นพุทธบริษัทของตนเสีย   คงเอาไว้แต่ใจล้วนๆของมนุษย์  ซึ่งไม่จำกัดว่าชาติใดภาษาใด  หรือถือศาสนาไหน  เป็นใจซึ่งกำลังทำการคิดเพื่อแก้ปัญหาที่ว่า  "ทำอย่างไร จิตของมนุษย์ทุกคนในลักษณะที่เป็นสากลนี้  จักหลุดพ้นจากความบีบคั้นหุ้มห่อพัวพันได้โดยสิ้นเชิง?" เท่านั้น. การทำเช่นนี้จักเป็นประโยชน์อย่างสูงแก่ผู้อ่าน  ในการที่จะได้ทราบอย่างชัดแจ้งถึง ความแตกต่างระหว่างพุทธศาสนาในขอบเขตของคัมภีร์  กับพุทธศาสนาซึ่งอยู่เหนือคัมภีร์;  พุทธศาสนาที่อิงอยู่กับพิธีรีตองต่าง ๆ กับพุทธศาสนาที่เป็นอิสระตามธรรมชาติ  และเดินตามหลักธรรมชาติ;  พุทธศาสนาที่ให้เชื่อก่อนทำ  กับพุทธศาสนาที่ให้ลองทำก่อนเชื่อ;  พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นวรรณคดี กับพุทธศาสนาประยุกต์;  

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ระหว่างพุทธศาสนาที่ใช้ได้แต่กับคนบางคน  กับพุทธศาสนาที่อาจใช้ให้สำเร็จประโยชน์ได้แก่บุคคลทุกคนแม้ที่ไม่รู้หนังสือ  ขอเพียงแต่ให้มีสติปัญญาตามปรกติสามัญมนุษย์เท่านั้น  ผู้ที่ได้ทราบเช่นนี้แล้วจะได้รับพุทธศาสนาชนิดที่ปฏิบัติได้จริง ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาปฏิบัติอย่างเหลือเฟือ  และลัดดิ่งไปสู่สิ่งที่จะให้เกิดความอิ่ม  ความพอ  ได้โดยเร็ว  ถ้ามิฉะนั้นแล้ว  เขาก็จะเป็นตัวหนอนที่มัวแต่กัดแทะหนังสือ หรือเป็นนักก่อการทะเลาะวิวาทตามทางปรัชญา ไปตามเดิมแต่อย่างเดียว.

          ผู้อ่านจะสังเกตเห็นได้เองเมื่ออ่านในตอนแรก ๆ ว่า หนังสือเรื่องนี้ ไม่ใช่หนังสือที่บรรจุไว้ด้วยข้อความที่ง่าย ๆ หรืออ่านเขาใจได้ง่าย ๆ เพราะเหตุว่าเรื่องการทำใจให้หลุดพ้นซากทุกข์จริง ๆ นั้น  ไม่ใช่ของง่ายเลย.  แต่เป็นสิ่งที่น่าแปลกประหลาดอย่างยิ่งว่า  ถ้าอ่านไปจนเข้าใจแล้ว  จะพบว่าทั้งที่มันเข้าใจยากมาก  ก็ยังอาจเป็นที่เข้าใจได้  แม้แต่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือ  หรือไม่เคยศึกษาพระไตรปิฎกมาก่อนอยู่นั่นเอง  และทั้งไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากสิ่งที่มนุษย์ควรรู้และอาจรู้ได้โดยไม่เหลือวิสัย  ข้อความทุกข้อชี้บทเรียนไปที่ตัวชีวิตนั่นเอง  และได้ถือเอาความพลิกแพลงแห่งกลไกในตัวชีวิต  โดยเฉพาะคือจิต  ซึ่งเป็นโจทย์เลขหรือปัญหาที่ต้องตีให้แตกกระจายไป และจบสิ้นกันเพียงเท่านั้น คือเท่าที่จำเป็นจริง ๆ ไม่มีปัญญาเหลือเฟือชนิดที่ตีปัญหาโลกแตก  ที่ชอบถกเถียงกันในหมู่บุคคล  ที่อ้างตัวว่าเป็นพุทธบริษัทอันเคร่งครัดเท่านั้นเลย.

          อย่างไรก็ตาม  หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นหนังสือในลักษณะตำราธรรมะโดยตรง   เป็นเพียงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นประวัติและคำสอนของเจ้าลัทธิท่านหนึ่งเท่านั้น.  เราไม่อาจจับเอาหลักธรรมะต่าง ๆ ที่จัดเป็นระเบียบเรียบร้อยจนสะดวกแก่การศึกษาไว้ก่อนแล้ว   โดยง่ายเลย.  ผู้ศึกษาจะต้องเลือกเก็บใจความที่เป็นหลักธรรมต่าง ๆ เอาจากเรื่องราวที่เป็นประวัติ   หรือบันทึกเหตุการณ์เหล่านั้น,จากข้อความที่เข้าใจได้ยาก ๆ นั่นแหละ  ผู้ศึกษาจะต้องทำการขุดเพชรในหินด้วยตนเอง.

          หนังสือเล่มนี้   แม้จะเป็นหนังสือของทางฝ่ายมหายานก็จริง   แต่หาใช่มหายานชนิดที่ชาวไทยเราได้เคยได้เห็น  ได้ยิน  ได้ฟัง  หรือเข้าใจกันอยู่โดยมากไม่; มหายานที่เราเคยได้เห็นได้ยินได้ฟังกันอยู่เป็นปรกตินั้น  ก็เป็นชนิดที่เกี่ยวเนื่องติดแน่นกันอยู่กับพระไตรปิฎกและพิธีรีตองต่าง ๆ  และไหลเลื่อนไปในทางเป็นของขลังและของศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน.  ส่วนใจความของหนังสือเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น คงเป็นไปแต่ในทางปฏิบัติธรรมทางใจโดยอาศัยปัญญาเป็นใหญ่หรือที่เราเรียกกันว่า   วิปัสสนาธุระล้วน ๆ  และทั้งเป็นแบบหนึ่งของตนเองซึ่งไม่ซ้ำใคร  เพราะมุ่งหมายจะให้เป็นวิธีลัดสั้นที่สุด  ดังกล่าวแล้ว.   เพราะฉะนั้นผู้ที่เคยตั้งข้อรังเกียจต่อฝ่ายมหายาน   และมีความยึดมั่นมาก  จนถึงกับพอเอ่ยชื่อว่า  มหายานแล้ว  ก็ส่ายหน้าดูถูกเหยียดหยาม  ไม่อยากฟังเอาเสียทีเดียวนั้น  ควรทำใจเสียใหม่ในการที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้  ซึ่งจะทำให้ท่านเกิดความรู้สึกอันตรงกันข้ามจากที่แล้ว ๆ มา  และเกิดความคิดใหม่ขึ้นมาแทนว่า  การตั้งข้อรังเกียจเดิม ๆ ของตนนั้นมันมากและโง่เกินไป.

           เมื่อกล่าวโดยหลักกว้างๆ แล้ว  ลัทธิของเว่ยหล่างนี้  เป็นวิธีลดที่พุ่งแรงบทหนึ่ง  อย่างน่าพิศวง  ถ้าจะชี้ให้เห็นกันง่ายๆ ว่า ลัทธินี้มีหลักหรือวิธีการอย่างใดแล้ว   ก็ต้องชี้ไปในทางที่จะวางหลักสั้นๆ ว่า  ก็เมื่อปุถุชนคนธรรมดาสามัญทั่วไป ย่อมเป็นผู้ที่กำลังมีความเห็นหรือความเข้าใจ  ที่ผิดจากความจริงเป็นปรกติอยู่แล้ว  สิ่งที่ตรงกันข้ามจากที่คนธรรมดาสามัญคิดเห็นหรือเข้าใจนั่นแหละ  เป็นความเห็นที่ถูก  เพราะฉะนั้นเว่ยหล่างจึงได้วางหลักให้คิดชนิดที่เรียกว่า  "กลับหน้าเป็นหลัง" เอาทีเดียว  ตัวอย่างเช่น  เมื่อผู้อื่นกล่าวว่าจงพยายามชำระใจให้สะอาดเถิด เว่ยหล่างกลับกล่าวเสียว่าใจของคนทุกคนสะอาดอยู่แล้ว จะไปชำระมันทำไมอีก  สิ่งที่ไม่สะอาดนั้นไม่ใช่ใจ จะไปยุ่งกับมันทำไม,

หรือถ้าจะกล่าวให้ถูกยิ่งขึ้นไปกว่านั้นก็กล่าวว่า เว่ยหล่าง ถือว่า  ใจมันไม่มีตัวไม่มีตน  แล้วจะไปชำระอะไรให้แก่ใคร  การที่จะไปเห็นว่าใจเป็นใจและไม่สะอาดนั้นเป็นอวิชชาของผู้นั้นเองต่างหาก  ดังนี้เป็นต้น.   โกอานหรือปริศนาธรรมที่ลัทธินี้วางไว้ให้ขบคิด  ก็ล้วนแต่ทำให้คนสามัญทั่วไปงงงวย  เพราะแต่ละข้อมีหลักให้คิดเพื่อให้เห็นสิ่งตรงกันข้าม  จากที่คนธรรมดาคิดกันอยู่  หรือเห็นๆกันอยู่.  ตัวอย่างเช่น  ถ้าหากว่ากามีสีดำนกยางก็ต้องมีสีดำด้วย  หรือถ้าเห็นว่านกยางมีสีขาว  กาก็ต้องขาวด้วย.  และถ้าให้ถูกยิ่งไปกว่านั้นก็คือนกยางนั่นแหละสีดำ  กานั่นแหละสีขาว  สังสารวัฏกับนิพพานเป็นของสิ่งเดียวกัน  ที่ที่เย็นที่สุดนั้น   คือที่ท่ามกลางกองเพลิงแห่งเตาหลอมเหล็ก  ดังนี้เป็นต้น

          ถ้าใครมองเห็นความจริงตามแบบของเว่ยหล่างเหล่านี้แล้ว  ก็ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่า  เขาได้เห็นสิ่งต่างๆ จนลึกถึงขั้นที่มันตรงกันข้าม  จากที่คนสามัญทั่วไปเขามองเห็นกันอยู่เป็นปรกติ.  ฉะนั้น  สำหรับการสรุปใจความของลัทธินี้อย่างสั้นที่สุด  ก็สรุปได้ว่า  พยายามคิดจนเห็นตรงกันข้ามจากความคิดของคนที่ยังมีอวิชชาหุ้มห่อแล้ว  ก็เป็นอันนับได้ว่า  ได้เข้าถึงความจริงถึงที่สุด.  และวิธีการแห่งลัทธินี้ได้วางรูปปริศนาให้คิด  ชนิดที่ผิดตรงกันข้ามไปเสียตั้งแต่แรกทีเดียว  ใครคิดออก  ก็แปลว่า  คนนั้นผ่านไปได้  หรือย่างน้อยที่สุดก็เป็นวิธีที่จะทำให้ผ่านไปได้โดยเร็วที่สุด  นั่นเอง.  คิดให้ตรงข้ามจากสามัญสัตว์ทั่วไปเถิด  ก็จะเข้าถึงความคิดของพระอริยะเจ้าขึ้นมาเอง.  ฉะนั้นนิกายนี้จึงเรียกตัวเองว่า  "นิกายฉับพลัน"  ซึ่งหมายความว่า  จะทำให้ผู้ปฏิบัติตามวิธีลัดนี้ให้บรรลุธรรมได้อย่างฉับพลันโดยไม่มีพิธีรีตอง.

          ส่วนปาฐกถาอีก 3 เรื่อง ของนายแพทย์ ตันม่อเซี้ยง  ซึ่งพิมพ์ไว้ต่อท้ายเรื่องสูตรของเว่ยหล่างนั้นเล่า  ก็เป็นข้อความที่จะให้ผู้อ่านได้เข้าใจในวิธีการปฏิบัติของ  "นิกายฉับพลัน"  ได้เป็นอย่างดี.  จากข้อความทั้งหมดนั้น  ผู้ศึกษาจะได้ความรู้ที่แน่นอนข้อหนึ่งว่า  วิธีการที่  "ฉับพลัน" นั้น  ย่อมขึ้นอยู่แก่ความช่วยเหลือของอาจารย์  หรือผู้ควบคุมที่สามารถจริงๆเป็นส่วนใหญ่.  เพราะตามธรรมดาแล้ว  "การเขี่ยให้ถูกจุด"  นั่นแหละ  เป็นความสำเร็จที่ฉับพลันเหนือความสำเร็จทั้งปวง.  ถ้ามีความจำเป็นถึงขนาดที่จะต้องให้ตัวเองเป็นอาจารย์ตัวเองแล้ว  ขอจงได้พยายามศึกษาและจับใจความสำคัญแห่งข้อความนั้นๆ ให้ได้ของจริงๆ จงทุกๆคนเถิด.

          ธรรมะนั้น  ไม่มีอะไรมากไปกว่าเรื่องของคนเราๆ ทุกๆ คน. เพราะมัวไปยกขึ้นให้สูง  เป็นเรื่องคัมภีร์หรือของศักดิ์สิทธิ์ไปเสียท่าเดียว  ก็เลยกลายเป็นเรื่องพ้นวิสัยของคนไป  เว่ยหล่างมีความมุ่งหมายให้ธรรมะนั้นกลับมาเป็นเรื่องของคนธรรมดาสามัญแม้ที่ไม่รู้หนังสือ. เพื่อประโยชน์แก่คนตามความหมายของคำว่า  "มหายาน"  หวังว่าผู้ที่คิดกรุ่นอยู่ในใจเสมอว่า  ตนเป็นคนฉลาดเพราะรู้หนังสือดีนั้น จักได้ทำตนให้เป็นบุคคลที่ไม่เสียเปรียบผู้ที่ไม่รู้หนังสือได้คนหนึ่งเป็นแน่

พุทธทาส   อินทปัญโญ
โมกขพลาราม ไชยา    31 มี.ค.2496




ผลงาน   ท่านพุทธทาสภิกขุ





สูตรอันประกาศบนมหาบัลลังก์
แห่ง  "ธรรมรถ"




ลำดับสารบัญของเนื้อหา

หมวดที่ 1 ชีวประวัติที่ท่านเล่าเอง
หมวดที่ 2 ว่าด้วย-ปรัชญา
หมวดที่ 3 ว่าด้วยข้อปุจฉา-แลวิสัชนา
หมวดที่ 4 ว่าด้วย สมาธิ และปรัชญา(*๑๖)
หมวดที่ 5 ว่าด้วย ธฺยานะ

หมวดที่ 6 ว่าด้วยบาปสำนึก (การสำนึกบาป)
หมวดที่ 7 ว่าด้วยคำสอนอันเหมาะแก่อุปนิสัย และสิ่งแวดล้อม
หมวดที่ ๘ สำนักฉับพลัน และ สำนักเชื่องช้า
หมวดที่ ๙ พระบรมราชูปถัมภ์
หมวดที่ ๑๐ คำสอนสุดท้าย




 หมวดที่ 1 ชีวประวัติที่ท่านเล่าเอง

   ครั้งหนึ่ง  เมื่อพระสังฆปริณายกองค์นี้  ได้มาที่วัดเปาลัม  ข้าหลวงไว่ แห่งเมืองชิวเจา  กับข้าราชการอีกหลายคน  ได้พากันไปที่วัดนั้น เพื่อขอให้ท่านกล่าวธรรมกถาแก่ประชาชนทั่วไป ณ ห้องโถง.แห่งวิหารไทฟัน  ในนครกวางตุ้ง.    
        ในไม่ช้า  มีผู้มาประชุมฟัง ณ โรงธรรมสภานั้น  คือข้าหลวงไว่แห่งชิวเจา, พวกข้าราชการและนักศึกษาฝ่ายขงจื้อ อย่างละประมาณ 30 คน, ภิกษุ, ภิกษุณี นักพรตแห่งลัทธิเต๋า  และคฤหัสถ์ทั่วไป  รวมเบ็ดเสร็จประมาณหนึ่งพันคน.
        ครั้นพระสังฆปริณายก  ได้ขึ้นนั่งบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว  ที่ประชุมได้ทำการเคารพ. และอาราธนาขอให้ท่านแสดงธรรมว่าด้วยหลักสำคัญแห่งพุทธศาสนา. ในอันดับนั้น   ท่านสาธุคุณองค์นั้น  ได้เริ่มแสดงมีข้อความดังต่อไปนี้-

        ท่านผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย  จิตเดิมแท้ (Essence of Mind) ของเราซึ่งเป็นเมล็ดพืชหรือแก่นของการตรัสรู้นั้น  
เป็นของบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ (Pure by nature) และต้องอาศัย  จิตเดิมแท้ นี้เท่านั้น  
มนุษย์เราจึงจะเข้าถึงความเป็นพุทธะได้โดยตรงๆ
อาตมาจะเล่าให้ฟังถึงประวัติของอาตมาเองบางตอน  และเล่าถึงข้อที่ว่า อาตมาได้รับคำสอนอันเร้นลับ  
แห่งนิกายธยาน(เซ็น) มาด้วยอาการอย่างไร

        บิดาของอาตมาเป็นชาวเมืองฟันยาง  ถูกถอดจากตำแหน่งราชการ  ถูกเนรเทศไปอยู่อย่างราษฎรสามัญที่ซุนเจาในมณฑลกวางตุ้ง.  อาตมาโชคร้ายโดยที่บิดาได้ถึงแก่กรรมเสียแต่ในขณะที่อาตมายังเล็กอยู่เหลือเกิน  และทิ้งมารดาไว้ในสภาพที่ยากจนทนทุกข์  เราสองคนจึงย้ายไปอยู่ทางกวางเจา และอยู่ที่นั้นด้วยความทุกข์ยากเรื่อยมา.

        วันหนึ่ง  อาตมากำลังนำฟืนไปขายอยู่ที่ตลาดเพราะเจ้าจำนำคนหนึ่งเขาสั่งให้นำไปขายให้เขาถึงร้าน  เมื่อส่งของและรับเงินเสร็จแล้ว  อาตมาก็ออกจากร้าน  ได้พบชายคนหนึ่งกำลังบริกรรมสูตรๆ หนึ่งอยู่แถวหน้าร้านนั้นเอง  พอได้ยินข้อความแห่งสูตรนั้นเท่านั้น  ใจของอาตมาก็ลุกโพลงสว่างไสวในพุทธธรรม  อาตมาจึงถามชื่อคัมภีร์ที่เขากำลังสวดอยู่  ก็ได้ความจากชายคนนั้นว่า  พระสูตรนั้นชื่อ วัชรสูตร (วชฺรจฺเฉทิกสูตร  หรือพระสูตรอันว่าด้วยเพชรสำหรับตัด) อาตมาจึงไล่เรียงต่อไปว่า  เขามาจากไหน ทำไมเขาจึงจำเพาะมาท่องบ่นแต่พระสูตรนี้.  ชายคนนั้นตอบว่าเขามาจากวัดตุงซั่น ตำบลวองมุย เมืองคีเจา เจ้าอาวาสในขณะนี้มีนามว่าหวางยั่น(ฮ่งยิ้ม) เป็นพระสังฆปริณายก แห่งนิกายเซ็น องค์ที่ 5 มีศิษย์รับการสั่งสอนอยู่ประมาณพันคน  เมื่อเขาไหว้พระสังฆปริณายกที่วัดนั้น  เขาได้ฟังเทศน์หลายครั้งเกี่ยวกับพระสูตรๆนี้  เขาเล่าต่อไปว่า ท่านสาธุคุณองค์นั้นเคยรบเร้าทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตอยู่เสมอ  ให้พากันบริกรรมพระสูตรๆนี้  เผื่อว่าเมื่อเขาพากันบริกรรมอยู่  เขาจะสามารถเห็น  จิตเดิมแท้  ของตนเอง  และจะเข้าถึงความเป็นพุทธะได้โดยตรงๆ เพราะเหตุนั้น

        

        คงเป็นด้วยกุศลที่อาตมาได้ทำไว้แต่ชาติก่อนๆ จึงเป็นเหตุให้อาตมาได้ทราบเรื่องราวเหล่านี้  และอาตมายังได้รับเงินอีก 10 ตำลึงจากชายผู้อารีคนหนึ่งให้มาเพื่อมอบให้มารดาไว้ใช้สอย  ในระหว่างที่อาตมาไม่อยู่  ทั้งเขาเองเป็นผู้แนะนำให้อาตมารีบไปยังตำบลวองมุย  เพื่อพบพระสังฆปริณายกองค์นั้น  เมื่อได้จัดแจงให้มีคนช่วยดูแลมารดาเสร็จแล้ว  อาตมาก็ได้ออกเดินทางไปยังวองมุย และถึงที่นั้นได้ในชั่วเวลาไม่ถึงสามสิบวัน

        ครั้นถึงตำบลวองมุยแล้ว  อาตมาได้ไปนมัสการพระสังฆปริณายก  ท่านถามว่ามาจากไหน  และต้องประสงค์อะไร  อาตมาได้ตอบว่า  "กระผมเป็นคนพื้นเมืองซุนเจา  แห่งมณฑลกวางตุ้ง  เดินทางมาแสนไกลเพื่อทำสักการะเคารพแด่หลวงพ่อท่าน  และกระผมไม่ต้องการอะไร  นอกจากธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ (Buddha-nature) อย่างเดียวเท่านั้น"

        ท่านถามอาตมาว่า  "เป็นชาวกวางตุ้งหรือ?  เป็นคนป่าคนเยิงแล้วเธอจะหวังเป็นพุทธะได้อย่างไรกัน?"

        อาตมาได้เรียนตอบท่านว่า  "แม้ว่าจะมีคนชาวเหนือและคนชาวใต้ก็จริง แต่ทิศเหนือและทิศใต้นั้น หาได้ทำให้ความเป็นพุทธะซึ่งมีอยู่ในคนนั้นๆ แตกต่างกันได้ไม่.  คนป่าคนเยิงจะแตกต่างจากหลวงพ่อ ก็แต่ในทางร่างกายเท่านั้น, แต่ไม่มีความผิดแปลกแตกต่างกันในส่วนธรรมชาติของความเป็นพุทธะของเราทั้งหลาย"  แต่เผอิญมีศิษย์ของท่านเข้ามาหลายคน  ท่านจึงหยุดชะงัก  และสั่งให้อาตมาไปสมทบทำงานกับคนงานหมู่หนึ่ง

        อาตมากล่าวขึ้นว่า  "กระผมกราบเรียนหลวงพ่อว่า "วิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นในใจของกระผมเสมอๆ  เมื่อผู้ใดผู้หนึ่งไม่ได้มีจิตเลื่อนลอยไปจาก  จิตเดิมแท้ ของตนแล้ว ก็ควรจะเรียกเขาผู้นั้นว่า  "ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก" เหมือนกัน  กระผมจึงไม่ทราบว่างานอะไร ที่หลวงพ่อให้ผมกระทำ?"

        พระสังฆปริณายกได้มีบัญชาว่า  "เจ้าคนป่านี้เฉลียวฉลาดเกินตัวไปเสียแล้ว จงไปที่โรงนั่น  แล้วอย่าพูดอะไรอีกเลย"  อาตมาจึงถอยหลีกไปทางลานข้างหลัง มีคนวัดที่ไม่ใช่บรรพชิตคนหนึ่ง มาบอกให้ผ่าฟืน และตำข้าว




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กุมภาพันธ์ 2556 17:27:37 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #41 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553 10:29:56 »


http://img233.imageshack.us/img233/8937/niagara1oj8.jpg
พระสูตรเว่ยหล่าง

น้ำตกไนแองการ่า

เมื่อได้ฟังดังนั้น  ภิกษุฟัตห่อยมีความส่ว่างไสวในธรรมในขณะนั้นเอง เธอได้กล่าวสรรเสริญคุณพระสังฆปริณายกด้วยโศลกดังต่อไปนี้:-

ใจคือสิ่งใด  พุทธะคือสิ่งนั้น นี่เป็นความจริงเสียจริงๆ

แต่ข้าพเจ้ามัวไปปราบพยศของตัวเอง ทั้งที่ไม่เข้าใจในมัน

บัดนี้ข้าพเจ้ารู้จักเหตุอันเป็นประธานของปรัชญาและสมาธิ

ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ ข้าพเจ้าจักบำเพ็ญเพื่อเปลื้องตัวเสียจากรูปธรรมทั้งหลาย


http://i454.photobucket.com/albums/qq266/khowjong5/line/flowscalline040.gif
พระสูตรเว่ยหล่าง


    พระภิกษุฟัตตัต  ชาวเมืองฮุงเจา  ผู้เข้ามาบรรพชาในพระศาสนา  ตั้งแต่อายุพึ่งได้ 7 ปี  มีปรกติสาธยายสัทธรรมปุณฑริกสูตรอยู่เป็นนิจ  เมื่อท่านผู้นี้มาแสดงความเคารพต่อพระสังฆปริณายก  ท่านไม่ได้กราบให้ศีรษะจรดพื้น ท่านทำความเคารพอย่างขอไปที  พระสังฆปริณายกได้ตำหนิว่า ถ้าท่านรังเกียจที่จะทำความเคารพให้ศีรษะจรดพื้นแล้ว  การไม่ทำความเคารพเสียเลยจะมิดีกว่าหรือ  ต้องมีอะไรอยู่ในใจของท่านสักอย่างหนึ่ง  ซึ่งทำให้ท่านมีความทะนงเช่นนั้น  ขอถามว่า ท่านทำอะไรประจำหรือวัน?

       
ภิกษุฟัตตัตได้ตอบว่า  กระผมสาธยายสัทธรรมปุณทริกสูตร  กระผมท่องตลอดทั้งสูตร สามพันครั้งแล้ว

พระสังฆปริณายก ได้เตือนว่า ถ้าท่านจับใจความของพระสูตรนี้ได้ ท่านจะไม่มีการถือตัวเช่นเลย  แม้ท่านจะถึงกับเคยท่องพระสูตรนี้มาถึงสามพันครั้งแล้ว ถ้าท่านจับความหมายของพระสูตรนี้ได้จริงๆ ท่านก็จะต้องได้เดินอยู่ในทางๆ เดียวกันกับข้าพเจ้า  สิ่งที่ท่านเรียนสำเร็จ ได้ทำให้ท่านกลายเป็นคนหยิ่งไปเสียแล้ว  และหยิ่งกว่านั้น  ดูเหมือนท่านไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำไป  ว่าการที่เป็นเช่นนี้เป็นของผิด  ท่านจงฟังโศลกของข้าพเจ้าเถิด:-

ก็เมื่อความมุ่งหมายของระเบียบวินัยต่างๆเป็นไปเพื่อปราบปรามความทะลึ่งแล้ว

ทำไมท่านไม่กราบให้ศีรษะจดพื้น?

"การยึดถือในตัวตน" เป็นมายาแห่งบาป

แต่  "การถือว่าการได้บรรลุธรรมหรือผลใดๆ ก็ตาม เป็นเพียงของลมๆแล้งๆ"
นี้เป็นทางมาแห่งกุศลอันใหญ่หลวง

       จบแล้ว  พระสังฆปริณายกได้ไต่ถามถึงชื่อของท่านผู้นี้  เมื่อได้ฟังว่าชื่อฟัตตัต (ซึ่งแปลว่าผู้เข้าใจในธรรม)  พระสังฆปริณายกจึงได้กล่าวต่อไปว่า ท่านชื่อฟัตตัตก็จริง แต่ท่านยังไม่เข้าใจในธรรมเลย  แล้วท่านได้สรุปความด้วยโศลกต่อไปอีกว่า:-
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 มีนาคม 2553 12:44:04 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #42 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2553 10:53:39 »




 ชื่อของท่านว่า ฟัตตัด

ท่านสาธยายพระสูตรอย่างพากเพียรไม่ท้อถอย

การท่องพระสูตรด้วยปาก เป็นแต่การออกเสียงล้วนๆ

ส่วนผู้ที่มีใจสว่างไสวเพราะจับใจความได้  นั่นคือโพธิสัตว์แท้

เพราะเป็นเรื่องปัจจยาการ  อันอาจสืบสาวไปถึงภพก่อนๆ

ข้าพเจ้าจะอธิบายความข้อนี้แก่ท่าน

ถ้าท่านเพียงแต่เชื่อว่า  พระพุทธเจ้าไม่ตรัสอะไร  แม้แต่คำเดียว

เมื่อนั้น  ดอกบัวจะบานขึ้นในปากของท่านเอง

เมื่อได้ฟังโศลกนี้  ภิกษุฟัตตัตรู้สึกสลดใจ  และขออภัยต่อพระสังฆปริณายก เธอได้กล่าวต่อไปว่า แต่นี้ต่อไป กระผมจะเป็นคนสุภาพและถ่อมตนในทุกโอกาส  เนื่องจากกระผมไม่มีความเข้าใจในความหมายของพระสูตรที่ท่องนั้นอย่างถูกต้อง  กระผมก็ฉงนในการตีความหมายอันแท้จริงของพระสูตรนั้น ใต้เท้ามีความรู้และปัญญาอันลึกซึ้งที่สุด ขอได้โปรดอธิบายโดยสรุปแก่กระผมเถิด

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  ฟัตตัตเอ๋ย  พระธรรมเป็นของกระจ่าง เต็มที่อยู่เสมอ  ใจของท่านต่างหากซึ่งไม่กระจ่าง  พระสูตรนั้นไม่มีข้อความที่น่าฉงนเลย แต่ใจของท่านต่างหาก  ที่ทำให้พระสูตรนั้น เป็นของชวนฉงนไป  ในการสาธยายพระสูตรนั้น  ท่านทราบถึงความมุ่งหมายอันสำคัญ  ของพระสูตรนั้นหรือเปล่า?

        ภิกษุฟัตตัดได้ตอบว่า  กระผมจะทราบได้อย่างไร  ในเมื่อกระผมมีแต่ความมืดมัวทึบอยู่เช่นนี้  เท่าที่กระผมทราบก็คือท่องอย่างไรจึงจะว่าปากเปล่าต่อกันไปได้เท่านั้น

        พระสังฆปริณายกได้กล่าวต่อไปว่า  ท่านจงสาธยายพระสูตรออกมาเถิด ฉันอ่านเองไม่ได้  แล้วฉันจะอธิบายความหมายให้ฟัง

        ภิกษุฟัตตัตได้สาธยายพระสูตรนั้นขึ้น  ครั้นมาถึงบทอันมีชื่อว่า "นิยายเป็นเครื่องอุปมา"*38 พระสังฆปริณายกได้บอกให้หยุด  แล้วกล่าวว่า ความ
หมายของพระสูตรๆ นี้ ก็คือเพื่อแสดงให้ปรากฏถึงความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์  ของการที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาบังเกิดขึ้นในโลกนี้นั่นเอง  แม้ว่านิยายและภาพความหมายจะมีมาก  ในข้อความแห่งพระสูตรนี้  ก็ไม่มีเรื่องใดหรือภาพใดที่มุ่งหมายจะแสดงอะไรขึ้น  นอกไปจากจุดประสงค์อันสำคัญนี้  ทีนี้อะไรเล่า คือ วัตถุประสงค์?  อะไรเล่า คือ ความมุ่งหมายดังที่กล่าวมานั้น?  ข้อความในพระสูตรกล่าวว่า  "เพื่อวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียว  เพื่อความมุ่งหมายเพียงอย่างเดียว  เป็นวัตถุประสงค์อันสูงสุดจริงๆ เป็นความมุ่งหมายอันสูงสุดจริงๆ  ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาบังเกิดขึ้นในโลกนี้"  ในเรื่องนี้ วัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียว  ความมุ่งหมายเพียงอย่างเดียว  อันเป็นวัตถุประสงค์อันสูงสุด เป็นความมุ่งหมายที่สูงสุด  ที่กล่าวถึงในพระสูตร ก็คือ "การเห็น" ซึ่งพุทธธรรม*39



*38 คือบทที่3 ของพระสูตร ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 27 บท นิยานนั้นมีว่า พ่อเอาตุ๊กตาเครื่องเล่นล่อลูกเล็กๆ ให้วิ่งออกมาเสียจากเรือนที่กำลังถูกไฟไหม้ จนปลอดภัย  เปรียบกับพระพุทธองค์ในข้อที่พระพุทธองค์มียานต่างชนิดต่างขนาด สำหรับขนสัตว์ข้ามสังสารวัฏ. ผู้แปลไทย พุทธทาส

*39เอาใจความว่า  พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกนี้ ก็เพื่อทำให้เกิดมี "การเห็น ธรรมชนิดที่ทำผู้เห็นให้เป็นพุทธะ" ขึ้นได้ในโลกนั่นเอง  คือช่วยทำให้เกิดโอกาสแก่ "พุทธภาวะ"  ที่มีอยู่ในทุกๆคน แสดงตัวปรากฏออกมา ผู้แปลไทย พุทธทาส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 มีนาคม 2553 05:01:06 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #43 เมื่อ: 02 มีนาคม 2553 10:07:33 »



คนธรรมดาสามัญทั่วไป ทำตัวให้ติดพันอยู่กับวัตถุในภายนอก, ส่วนภายในก็จมอยู่ในความเห็นผิดเรื่อง "ความว่างเปล่า" เมื่อใดเขาสามารถเปลื้องตนเองออกมาเสีย  จากความผูกพันอยู่กับวัตถุต่างๆ ที่เขาได้ประสบ  และเปลื้องตัวเองออกมาเสียจากความเห็นผิด  เรื่องความขาดสูญ  อันเกี่ยวกับคำสอน เรื่อง "ศูนยตา"   เมื่อนั้น เขาจะเป็นคนอิสระจากอวิชชาความหลงผิดในภายใน  และจากสิ่งอันเป็นมายาในภายนอก  บุคคลที่เข้าใจแจ่มแจ้งในความจริงอันนี้  และใจของเขาสว่างไสวออกไปในทันที  นี่แหละควรเรียกว่า  ผู้ทีได้เปิดตาของเขาแล้ว  เพื่อการเห็นแจ้งซึ่งพุทธธรรม

คำว่า  "พุทธภาวะ"  นี้ มีความหมายเท่ากับคำว่า
"การตรัสรู้"

 ซึ่งควรจะถูกกำหนดไว้ภายใต้หัวข้อ (ดังที่กำหนดไว้ในสูตร) 4 หัวข้อ
 ดังต่อไปนี้

เปิดตาขึ้นเพื่อการเห็นแจ้ง  "ธรรม อันเป็นเหตุ ให้ ตรัสรู้"

แสดงความเห็นแจ้งใน "ธรรม อันเป็นเหตุ ให้ ตรัสรู้" นั้น 
ให้ปรากฏ

ตื่นขึ้นเพื่อการเห็นแจ้งใน  "ธรรม อันเป็นเหตุ ให้ ตรัสรู้"

เป็นผู้ตั้งมั่นใน  "ธรรม อันเป็นเหตุ ให้ ตรัสรู้"

เมื่อได้รับการสั่งสอนแล้ว  ถ้าเราสามารถจับฉวย  และเข้าใจโดยทั่วถึง  ในคำสอนอันว่าด้วย  "ธรรมอันเป็นเหตุให้ตรัสรู้"  เมื่อนั้นแหละคุณสมบัติอันประจำอยู่ภายใน  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมชาติอันแท้จริง อันได้แก่ "ธรรมอันเป็นเหตุให้ตรัสรู้"  นั้นก็จะมีโอกาสแสดงตัวออกมาให้ปรากฏ  ท่านไม่ควรตีความหมายในตัวพระสุตรอย่างผิดๆ แล้วลงมติเสียในที่สุดว่า  พุทธธรรมนั้นเป็นสิ่งที่มีไว้สำหรับพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ  ไม่เป็นของทั่วไปสำหรับเราทั้งหลายด้วย  โดยที่เผอิญไปพบข้อความในสูตรที่กล่าวไว้ว่า  "เปิดตาขึ้นเพื่อการแจ้งในพุทธธรรม  แสดงความเห็นแจ้งในพุทธธรรมให้ปรากฏ ฯลฯ" ดังนี้  การตีความหมายผิดเช่นนี้  จะถึงกับเป็นการป้ายร้ายให้แก่พระพุทธเจ้าและเป็นการแช่งด่าพระสูตรนั้นเอง ทุกๆคำที่ตนพูด เพราะเขาก็เป็นพุทธะด้วยคนหนึ่ง เขาจึงมีโพธิธรรมอันนี้มาด้วยพร้อมแล้ว  แต่ไม่มีโอกาสสำหรับเขาเอง  ที่จะเปิดตาออกดูสิ่งอันนั้น  เพราะฉะนั้น  ท่านควรจะรับเอาการตีความหมายที่ว่า พุทธธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นพุทธะ) นั้น คือ พุทธธรรมของใจเราเอง  หาใช่ของพระพุทธเจ้าอื่นใดที่ไหนไม่

        เมื่อถูกทำให้หลงรักโดยอารมณ์อันยั่วยวน  และปิดกั้นตัวเองเสียจากแสงสว่างของตัวเอง  ด้วยเหตุอันนั้น  สัตว์ทั้งปวงซึ่งระทมทุกข์อยู่เพราะอารมณ์ภายนอก  และความเร่าร้อนภายในจึงได้ตกเป็นเหมือนทาสแห่งตัณหาของตนเองโดยหมดสิ้น  เมื่อทรงเห็นเหตุการณ์อันนี้  พระพุทธองค์ของเรา  จึงได้ทรงลุกออกจากสมาธิ  เพื่อเร้าใจสัตว์เหล่านั้นด้วยพระโอวาทอันเป็นเครื่องกระตุ้นมีประการต่างๆ ให้ย่ำยีตัณหาของตนเอง  และเว้นขาดเสียจากการแสวงสุขจากอารมณ์ภายนอก  เพื่อว่าเขาจะได้เป็นผู้เสมอกันกับพระพุทธเจ้า เพราะเหตุอันนี้เอง  ข้อความในตัวสูตรจึงมีว่า "เปิดตาขึ้น  เพื่อเห็นแจ้งพุทธธรรม ฯลฯ"




บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #44 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553 07:19:21 »

http://i431.photobucket.com/albums/qq32/arsom/Water%20Fall/Waterfall2C_Letchworth_State_Park2C.jpg
พระสูตรเว่ยหล่าง

ข้าพเจ้าได้ตักเตือนคนทั่วไปอยู่เสมอ ให้เปิดตาของตนเอง  เพื่อเห็นแจ้งพุทธธรรมในภายในใจของตนเอง  แต่ด้วยอำนาจความผิดปรกติของคนเหล่านั้นเขาพากันทำบาปภายใต้อวิชชาอและความโง่เขลา  ปากของเขาว่ากรุณา  แต่ใจของเขาโหดร้าย  เขาเป็นคนตะกละ มุ่งร้าย ริษยา คดโกง สอพลอ เข้าข้างตัว  รุกรานคนอื่น  เป็นผู้ทำลายกระทั่งสิ่งที่ไม่มีชีวิต  ดั่งนั้น  จึงชื่อว่าเขาเปิดตาของเขาขึ้นเพื่อ "ปุถุชนธรรม"   ถ้าเขากลับใจของเขาเสีย ในลักษณะที่ปัญญาปรากฏตัวอยู่ตลอดกาล  ใจก็จะมีความเห็นแจ้งในภายในอยู่เป็นปกติ  การทำชั่วก็จะมีการทำดีเข้ามาแทนที่  แล้วเขาก็จะลากตัวเองเข้ามาในทางแห่งพุทธธรรมได้ด้วยเหตุนั้น

        เพราะฉะนั้น  ท่านควรจะเปิดตาของท่านอยู่ทุกๆ ขณะ มิใช่เพื่อปุถุชนธรรม  แต่เพื่อพุทธธรรม ซึ่งเป็นสิ่งอยู่เหนือวิสัยโลก  ในเมื่อปุถุชนธรรมเป็นของอย่างโลกๆ  อีกอย่างหนึ่งถ้าหากท่านติดแน่นอยู่แต่ในความคิดเห็นของตนเอง  ว่าเพียงแต่สาธยายพระสูตรเป็นประจำวันอย่างเดียว ก็เป็นการดีเพียงพอเสียแล้วดังนี้  ท่านจะหลงรักมันเหมือนจามรีหลงรักพวงหางของมันเอง (จามรีนั้น  เป็นสัตว์ที่รู้กันอยู่แล้วว่ามีความหวงแหนอย่างแรงกล้าในหางของมัน)

       ในขณะนั้น  ภิกษุฟัตตัดได้ถามขึ้นว่า  ถ้าเป็นดังนั้น  เราเพียงแต่รู้ความหมายของพระสูตรก็พอแล้ว  ไม่มีความจำเป็นที่เราต้องสาธยายข้อความนั้นๆถูกไหมขอรับ?

       พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  ไม่มีอะไรเป็นของผิดอยู่ในพระสูตร  จนถึงท่านจะต้องเลิกการสาธยายเสียเลย  การสาธยายพระสูตร จะช่วยให้ท่านตรัสรู้ธรรมได้หรือไม่ จะเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านหรือไม่ ข้อนั้นทั้งหมด มันเนื่องอยู่ที่ตัวท่านเอง  ผู้ที่ท่องพระสูตรอยู่ด้วยปาก และเอาข้อความไปปฏิบัติอยู่เสมอด้วยใจ  คนนั้นชื่อว่า "พลิก" พระสูตร  ส่วนผู้ที่ท่องพระสูตรด้วยปาก  ปราศจากการปฏิบัติแต่อย่างใด ผู้ใดชื่อว่า  "ถูกพลิกเสียแล้ว" โดยพระสูตรที่เขาท่องนั้นเอง ท่านจงฟังโศลกโคลงของข้าพเจ้าดังต่อไปนี้:-

เมื่อใจของเราตกอยู่ภายใต้อวิชชา  สัทธรรมปุณฑริกสูตร "พลิกเรา"

เมื่อมีใจสว่างไสวในธรรม  เมื่อนั้นเรากลับ  "พลิก" สัทธรรมปุณฑริกสูตร

การสาธยายสูตรนับไม่ถ้วนคร้ง  โดยไม่ทราบความหมาย นั้น

ย่อมแสดงว่า ท่านเป็นแขกแปลกหน้าต่อใจคามของพระสูตร

วิธีที่ถูกต้องสำหรับการสาธยายสูตรก็คือ อย่ายึดถือตามความเห็นของตัว

มิฉะนั้นแล้ว มันจะต้องพลาด

ผู้ที่อยู่เหนือ  "การรับ" และ  "การปฏิเสธ"

ย่อมนั่งอยู่เนืองนิจ บนเกวียนวัวขาว (กล่าวคือพุทธยาน)

       เมื่อได้ฟังโศลกนี้จบลงแล้ว  ภิกษุฟัตตัต  เกิดความสว่างไสวในธรรมและมีน้ำตาไหล ได้ร้องขึ้นว่า  เป็นความจริง  ที่ก่อนหน้านี้  ข้าพเจ้าไม่สามารถจะ "พลิก" พระสูตร  แต่เป็นข้างพระสูตรเสียเองมากกว่า ที่ "พลิก" ข้าพเจ้า
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #45 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553 08:00:03 »


http://i431.photobucket.com/albums/qq32/arsom/Water%20Fall/Upper_Yosemite_Falls2C_Yosemite_Nat.jpg
พระสูตรเว่ยหล่าง

ลำดับนั้น  ภิกษุฟัตตัต  ได้ยกเรื่องอื่นขึ้นมาถามต่อไปว่า พระสูตรได้กล่าวว่า "นับตั้งแต่พระสาวกขึ้นไปจนถึงพระโพธิสัตว์  แม้ท่านเหล่านี้จะได้พยายามจนสุดกำลัง  ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจทั่วถึงในพุทธธรรม" ดังนี้ แต่ใต้เท้า  ได้ทำให้กระผมเข้าใจว่า แม้คนธรรมดาเราถ้าเข้าใจแจ่มแจ้งถึงใจของตนเอง เขาก็ได้ชื่อว่าลุถึงพุทธธรรมแล้ว  ดังนี้  กระผมเกรงไปว่า  ยกเว้นพวกที่เฉียบแหลมอย่างยิ่งเสียแล้ว  คนนอกนั้นจะสงสัยไม่เชื่อคำสอนของใต้เท้า ยิ่งกว่านั้น  ในสูตรมีกล่าวถึงยาน 3 ชนิด คือเกวียนเทียมด้วยแพะ (สาวกยาน)เกวียนเทียมด้วยกวาง (ปัจเจกพุทธยาน)  และเกวียนเทียมด้วยวัว (โพธิสัตว์ยาน) แล้วก็ยานทั้งสามนี้ ผิดแปลกแตกต่างไปจากเกวียนวัวขาวได้อย่างไรเล่า?

       พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ในข้อนี้  พระสูตรได้แสดงไว้ชัดเจนแล้ว ท่านเองต่างหากที่เข้าใจผิด เหตุผลที่ว่า  ทำไมพระสาวก พระปัจเจกพุทธะและพระโพธิสัตว์  ไม่สามารถเข้าใจในพุทธธรรมได้ ก็เพราะท่านเหล่านั้นเพ่งจ้องต่อพุทธธรรม  ท่านเหล่านั้นสามารถประมวลกำลังความเพียรทั้งหมดเพื่อเพ่งก็จริง แต่เขายิ่งเพ่งหนังเข้าเท่าไร  เขาก็ยิ่งห่างออกไปจากธรรมนั้นมากขึ้นเพียงนั้น  พระโคตมะพุทธเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้  แก่คนธรรมดาทั่วไป  มิใช่ตรัสแก่พระพุทธเจ้าองค์อื่นๆด้วยกัน  แต่สำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับเอาคำสอนที่พระองค์ทรงแนะให้  พระองค์ก็ปล่อยให้เขาหลุดไปจากหมู่  ดูเหมือนท่านจะยังไม่ทราบว่า  เพราะเราได้นั่งอยู่บนเกวียนวัวขาวเรียบร้อยแล้ว  เราก็ไม่มีความจำเป็น  ที่จะออกเที่ยวแสวงหางเกวียนอื่นอีกสามชนิดเหล่านั้น ยิ่งกว่านั้น  พระสูตรก็ได้บอกแก่ท่านอย่างแจ่มแจ้งแล้วว่า มีพุทธยานเท่านั้น ไม่มียานอื่นที่ไหนอีก  ในฐานะเป็นยานที่สองที่สาม  เพราะเหตุที่จะให้เราเข้าใจในยานอันเอกอันนี้เอง พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนเรา  ด้วยวิธีที่พระองค์ทรงช่ำชองมาแล้ว  มีปริยายต่างๆ ทรงใช้เหตุผลและข้อถกเถียง มีปริยายต่างๆ พร้อมทั้งนิทานเปรียบและภาพเปรียบ  และอื่นๆ ทำไมท่านจึงไม่อาจเข้าใจได้ว่ายานทั้งสามเหล่านั้น  เป็นของสมมุติให้เด็กเล่น  สำหรับใช้กับเรื่องที่ล่วงไปแล้ว ส่วนยานอันเองคือพุทธยานนั้น เป็นของชั้นยอดเยี่ยม  และเพื่อใช้กับเรื่องในปัจจุบันๆ

        พระสูตรได้สอนให้ท่านตั้งหน้าบำเพ็ญไปโดยไม่ต้องเป็นห่วงถึงของสมมุติให้เด็กเล่นเหล่านั้น  และให้เพ่งตรงไปยังของชั้นสูงสุดอย่างเดียว เมื่อถึงขั้นสูงสุดแล้ว  ท่านก็จะพบว่า  สิ่งที่เรียกกันว่า "ชั้นสูงสุด" นี้ ก็มิได้มีอยู่เลย  ท่านจะรู้สึกเห็นด้วยในข้อที่ว่า ท่านเองผู้เดียว  เป็นเจ้าของสิ่งอันสูงค่าเหล่านี้  และสิ่งเหล่านี้ มันขึ้นอยู่กับการจัดการทำของท่านเองล้วนๆ*40 เมื่อใดท่านเปลื้องตัวออกมาเสียได้จากการนึกเดาเอาเองว่า  สิ่งเหล่านี้เป็นของพ่อหรือเป็นของลูกๆ หรือว่ามันอยู่ที่การจัดการทำของคนนั้นคนนี้  เมื่อนั้นแหละท่านจะได้ชื่อว่าดำเนินการสาธยายพระสูตรไปโดยถูกทาง  เมื่อทำได้ดังนี้ พระสูตรก็จะชื่อว่า  อยู่ในกำมือของท่านทุกกัปป์ทุกกัลป์  และท่านก็จะชื่อว่าสาธยายพระสูตรทุกเช้าเย็น  ตลอดทุกเวลาทีเดียว


*40การที่อ้างถึงบท "นิยายอุปมา"  ในพระสูตร เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นในข้อที่ว่าพุทธธรรมมีอยู่ในคนทุกคนแล้ว ผู้แปลไทย พุทธทาส
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #46 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553 09:11:52 »


http://i431.photobucket.com/albums/qq32/arsom/Light/light.jpg
พระสูตรเว่ยหล่าง

ที่มาภาพ จาก : http://www.asomsanti.com/forums/viewtopic.php?f=4&t=126

เมื่อภิกษุฟัตตัตได้รับคำสั่งสอนจนเห็นแจ้งเช่นนั้น  ได้กล่าวสรรเสริญพระสังฆปริณายก  
ด้วยความปลาบปลื้มใจเป็นล้นพ้น  ด้วยโศลกเหล่านี้ว่า:-



 ความสำคัญผิดว่าเราได้รับกุศลเป็นอันมากในการสาธยายพระสูตร
มากกว่าสามพันครั้ง

ได้ถูกขับไล่ไปหมดด้วยคำพูดคำเดียว ของ ท่านอาจารย์แห่งสำนักโซกาย*41

ผู้ที่ไม่เข้าใจในความมุ่งหมายของการที่  พระพุทธ   บังเกิดขึ้นในโลกนี้

ย่อมเป็นผู้   ไม่สามารถ   ข่มขี่กิเลสร้าย อันตนได้สะสมมา เป็นชาติๆ

ยานสามชนิด ซึ่งเทียมด้วยแพะ กวาง และวัว ตามลำดับ นั้นจะเป็นเพียงของเด็กเล่นไปเอง

ในเมื่อ  ระดับทั้งสาม คือ ชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นสุด อันเป็นของที่อธิบายกันอยู่ในชั้นที่

เรียนธรรมะไปตามแบบแผน
ได้ถูกจัดทำไปจนถึงที่สุดแล้ว จริงๆ

น้อยคนเหลือเกิน

ที่จะยอมเห็นด้วย ว่า ในเรือนที่ไฟกำลังจะไหม้นั่นเอง

มีพระธรรมราชา ซึ่งเราจะหาพบได้



พระสังฆปริณายก  ได้กล่าวแก่ภิกษุฟัตตัตต่อไปว่า  ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป

ภิกษุฟัตตัตควรจะเรียกตัวเองว่า  "ภิกษุผู้สาธยายพระสูตร" ได้แล้ว

หลังจากการสนทนากันครั้งนี้ ภิกษุฟัตตัตก็สามารถจับฉวยเอาใจความอันลึกซึ้งของพระพุทธศาสนาได้

และเธอยังคงสาธยายพระสูตรไปดังเช่นก่อน



*41 อาจารย์แห่งสำนักโซกาย  ก็คือ พระสังฆปริณายก ผู้แปลไทย พุทธทาส



ที่มาภาพ จาก : http://www.baanjomyut.com/gallery/india_painting/index.php?action=gallery&gallery=Krishna-Paintings

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 มีนาคม 2553 09:17:41 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #47 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553 09:42:26 »


http://i431.photobucket.com/albums/qq32/arsom/Water%20Fall/Tahquamenon_Falls_Upper_Falls2C_Upp.jpg
พระสูตรเว่ยหล่าง

ภิกษุชิท็อง  เป็นชาวบ้านชูเจาแห่งอานฟุง ได้อ่านลังกาวตารสูตรมาเกือบพันครั้ง

 แต่ก็ไม่สามารถเข้าใจความหมายของตรีกาย  และปรัชญาทั้งสี่
  เหตุนั้น จึงได้ไปหาพระสังฆปริณายก ให้ช่วยอธิบายความ

        พระสังฆปริณายกได้ให้คำอธิบายว่า ในกายทั้งสามนั้น 
ธรรมกายอันบริสุทธิ์  ก็คือ ตัวธรรมชาติตัวแท้ของท่าน  นั่นเอง 

สัมโภคกายอันสมบูรณ์ ก็คือ ตัวปรีชาญาณของท่าน 
ส่วนนิรมานกายนับด้วยหมื่นแสน ก็คือ การกระทำกรรมต่างๆของท่าน
 

ถ้าท่านจะให้กายทั้งสามนี้  เป็นของต่างหากจากจิตเดิมแท้ 
มันก็เกิดมี  "กายซึ่งปราศจากปัญญา"  ขึ้นมาเท่านั้นเอง 

ถ้าท่านเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า  กายทั้งสามนี้ ไม่มีตัวตน
แท้จริงของมันเอง อะไรที่ไหนอีก

(เพราะมันเป็นแต่เพียงสมบัติของจิตเดิมแท้) ดั่งนี้แล้ว 
ท่านก็จะลุถึงโพธิของปรัชญาสี่ประการโดยแน่นอน จงฟังโศลกของฉัน

ดังต่อไปนี้:-

กายทั้งสามมีอยู่แล้ว ในจิตเดิมแท้ของเรา
ซึ่งโดยการงอกงามของจิตเดิมแท้  นั่นเอง ปรัชญาทั้งสี่ก็ปรากฏตัว

เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านไม่ต้องหลับตาหรืออุดหูของท่าน
เพื่อหลีกเลี่ยงอารมณ์ภายนอก

ท่านก็สามารถเข้าถึง   พุทธภาวะ   ได้โดยจังๆหน้ากับอารมณ์
เมื่อข้าพเจ้าได้อธิบายแก่ท่านอย่างเปิดเผย (จนเห็นเอง) เช่นนี้แล้ว

จงเชื่ออย่างแน่วแน่เถิด  ท่านจะหลุดพ้น จากความหลงตลอดไป
อย่าไปตามคน พวกที่แสวงหา  "การตรัสรู้" จากภายนอก

คนพวกนี้ พูดถึงโพธิ อย่างพร่ำเพรื่อ (แต่ตัวยังไม่เคยรู้เห็นเสียเลย)


ภิกษุชิท็อง  ได้ขอร้องต่อไปว่า  "ขอใต้เท้าได้กรุณาให้กระผมทราบข้อความ  อันเกี่ยวกับปรัชญาทั้งสี่นั้นบ้างเถิด" พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า ถ้าท่านเข้าใจในเรื่องกายสามนี้แล้ว  ท่านก็จะเข้าใจในเรื่องปรัชญาทั้งสี่ได้เอง  ฉะนั้น  คำถามของท่านเป็นของไม่จำเป็น  ถ้าท่านทำให้ปรัชญาทั้งสี่อยู่ต่างหาก จากกายทั้งสามเสียแล้ว  ก็จะเกิดมี ปรัชญาซึ่งปราศจากกายขึ้นโดยแน่นอน ซึ่งเมื่อเป็นดังนี้ มันหาใช่เป็นปรัชญาไม่
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #48 เมื่อ: 03 มีนาคม 2553 10:39:44 »


http://i431.photobucket.com/albums/qq32/arsom/Landscape/Near_Iceberg_Lake2C_Glacier_Nationa.jpg
พระสูตรเว่ยหล่าง


พระสังฆปริณายก ได้กล่าวโศลกอื่นต่อไปอีกว่า:-


        "ปัญญาอันเปรียบด้วยกระจกส่อง"  นั้นบริสุทธิ์อยู่เอง  โดยธรรมชาติ

"ปัญญาเห็นความเสมอภาค"  นั้น ย่อมเปลื้องจิต เสียจากเครื่องกั้นทั้งปวง

"ปัญญา   เครื่องเห็น  สิ่งทั้งปวง"  นั้น  เห็น  สิ่งทั้งปวง  แจ่มแจ้ง
โดยไม่ต้อง
อาศัย  แนวแห่ง  เหตุและผล

"ปัญญา  เครื่องกระทำ  สิ่งทั้งปวง"  นั้น  มีลักษณะอย่างเดียว
กันกับ
"ปัญญา  อันเปรียบด้วย  กระจกส่อง"



        วิญญาณทั้งห้าข้างต้น*42 และอาลัยวิญญาณ*43 
ย่อม  "แปรรูป"
เป็น  ปรัชญา  ในขั้นที่  ตรัสรู้เป็นพุทธะ
 

อย่างเดียวกับที่  กลิษตมโนวิญญาณ*44  และ มโนวิญญาณ*45 
แปรรูปเป็น   ปรัชญา   ในขั้นที่   เป็นโพธิสัตว์*46

  คำที่เรียกว่า  "การแปรรูปของวิญญาณ"  ดังที่กล่าวนี้
เป็นเพียงการเปลี่ยนชื่อ   ที่ใช้เรียกเท่านั้น   ส่วน  ตัวจริง หามีอะไรเปลี่ยนไม่*47 

เมื่อใดท่านสามารถ  เปลื้อง ตัวเองให้หมดจด  จากความผูกพัน   ของโลกิยารมณ์

ในขณะที่   มี "การแปรรูปของวิญญาณ"
  ดังกล่าวมาแล้ว 

เมื่อนั้นท่านชื่อว่า   ตั้งอยู่ใน นาคสมาธิ อันทยอยกันเกิดขึ้นติดต่อกันไป  ตลอดกาลเนืองนิจ


*42 วิญญาณห้า คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ฯลฯ  ผู้อธิบายจีน

*43 วิญญาณคลังใหญ่ หรือวิญญาณโลก  ผู้อธิบายจีน

*44 วิญญาณเฉพาะตน  ผู้อธิบายจีน

*45 วิญญาณคิดนึก  ผู้อธิบายจีน

*46 ในระยะที่หนึ่ง คือระยะ "มุทิตา"  อันเป็นระยะที่โพธิสัตว์พิจารณาเห็นความว่างเปล่าของตัวตน  และของสิ่งทั้งปวงอย่างแจ่มแจ้ง นั่นเองที่ท่าน  "แปรรูป" กลิษตมโนวิญญาณ ไปเป็น  "ปัญญาเครื่องรู้สิ่งทั้งปวง"  เมื่อมีการบรรลุ  พุทธภาวะวิญญาณห้าข้างตน  จะถูก  "แปรรูป" ไปเป็น  ปัญญาเครื่องกระทำสิ่งทั้งปวง และอาลัยวิญญาณ  เป็น "ปัญญาเปรียบด้วยกระจกส่อง"  ผู้อธิบายจีน

*47 ในจิตเดิมแท้  ไม่อาจมีสิ่งที่เรียกกันว่า  "การแปรรูป"  เมื่อคนตรัสรู้ธรรมก็ใช้คำว่า "ปัญญา"  เมื่อยังไม่ตรัสรู้ใช้คำว่า  "วิญญาณ"  หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คำว่า  "การแปรรูป"  คำนี้ใช้เป็นเครื่องเปรียบ  หรือภาพพจน์ เท่านั้น  ผู้อธิบายจีน
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #49 เมื่อ: 05 มีนาคม 2553 18:21:27 »


http://i431.photobucket.com/albums/qq32/arsom/Landscape/Num_Village2C_Arun_River_Region2C_N.jpg
พระสูตรเว่ยหล่าง


ภิกษุชิท็อง  ได้ฟังคำอธิบายนี้  ได้มีความเห็นแจ้งในปรัชญา
แห่งจิตเดิมแท้ในขณะนั้นเอง  และได้กล่าวโศลกแก่พระสังฆปริณายกดังต่อไปนี้:-


แน่นอนเหลือเกิน  กายทั้งสาม มีอยู่ ในจิตเดิมแท้

เมื่อใจเรา รู้ธรรม สว่างไสว  ปรัชญาทั้งสี่ ก็ปรากฏเด่นอยู่ในนั้น

เมื่อใด กายและปรัชญาเหล่านั้น  เกิดความรู้แจ้ง ซึ่งกันและกัน ว่าเป็น ของ อันเดียวกัน

เมื่อนั่นเราก็สามารถตอบสนองคำขอร้องของสัตว์ทั้งปวง
(โดยเหมาะสม
แก่อุปนิสัยและอารมณ์ของสัตว์นั้น) ไม่ว่าสัตว์นั้นๆจะอยู่ในรูปร่างใด

การเริ่มต้นปฏิบัติ  ด้วยการ แสวงหา กายสามและปรัชญาสี่  นั้น
เป็นการ ถือเอาทางที่ผิด  โดยสิ้นเชิง 

               (เพราะเมื่อ  สิ่งเหล่านี้  มีอยู่ ในเราเองแล้ว  เรื่องของมัน--ก็คือทำให้  เห็นแจ้ง  ออกมา
                               ไม่ใช่เที่ยววิ่ง  แสวงหา)
                                                                                                                                                          
การพยายามจะ  "จับฉวย"  หรือ "กุมตัว" สิ่งเหล่านี้  เป็นการกระทำ
ที่ขัดขวางต่อ ธรรมชาติแท้ ของมัน อย่างตรงกันข้าม

เพราะได้อาศัยใต้เท้าแหละขอรับ  บัดนี้กระผมจึงสามารถ  จับใจความ  อันลึกซึ้ง  ของมันได้.

และตั้งแต่นี้ต่อไป กระผมสามารถ สลัดทิ้ง ความเท็จเทียมและชื่อต่างๆที่หลงตั้งขึ้นเรียก
ตามโมหะของตนๆตลอดนิจกาล*48


*48 บันทึก  เมื่อจับใจความของคำสอนได้แล้ว  ผู้ปฏิบัติก็ตั้งหน้าบำเพ็ญไปได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่ใช้เรียกสิ่งนั้นๆ เพราะว่าชื่อทั้งหมดเป็นเพียงของสมมุติให้เด็กเล่นเท่านั้นเอง (แม้สุดแต่ชื่อว่า มรรค ผล นิพพาน ฯลฯ) ผู้คัดลอกจีน
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #50 เมื่อ: 05 มีนาคม 2553 20:52:15 »


http://i431.photobucket.com/albums/qq32/arsom/Landscape/brimstone-sea.jpg
พระสูตรเว่ยหล่าง

    พระภิกษุ ชิซ็วง  เป็นชาวบ้านตำบลไกวกายแห่งชุนเจา  เข้ามาบวชตั้งแต่เป็นเด็ก  และเเข็งขันในการพากเพียรเพื่อการเห็นแจ้งจิตเดิมแท้  วันหนึ่งภิกษุรูปนี้ได้มานมัสการพระสังฆปริณายก  และถูกท่านสังฆปริณายกถามว่า มาแต่ไหน และมาทำไม

        ภิกษุ ชิช็วง ได้ตอบว่า  "เมื่อไม่นานมานี้  กระผมได้ไปที่ภูเขาผาขาวในเขตฮุงเจา เพื่อสนทนากับพระอาจารย์ต้าตุง  ผู้ที่สามารถพอจะสอนกระผมให้เห็นแจ้งจิตเดิมแท้  และลุถึงพุทธภาวะด้วยเหตุนั้น  แต่เพราะเหตุที่กระผมยังคงมีความสงสัยอยู่หลายประการ  จึงอุตส่าห์เดินทางมาไกลถึงที่นี่เพื่อนมัสการพระอาจารย์  ขอได้โปรดอธิบายข้อสงสัยเหล่านั้น  แก่กระผมด้วยเถิด

        พระสังฆปริณายกได้ถามขึ้นว่า  เขาได้แนะนำท่านว่าอย่างบ้างเล่า?

        ภิกษุ ชิช็วง เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ได้พักอยู่ที่นั่นจนถึงสามเดือนแล้วโดยมิได้รับคำแนะนำอย่างใดเลย   และมีความกระหายในธรรมแรงกล้าขึ้นทุกที  คืนวันหนึ่งกระผมลำพังผู้เดียว  ได้เข้าไปในห้องของท่านอาจารย์ต้าตุงนั้น  และถามท่านว่าจิตเดิมแท้ของผมคืออะไร  ท่านถามว่า  "เธอมองเห็นความว่างอันไม่มีขอบเขตจำกัดไหม?" 

กระผมตอบท่านว่า "มองเห็น"  ท่านถาม ต่อไปว่า  ความว่างที่ว่านั้น มีรูปร่างเฉพาะของมันเองหรือไม่?  ครั้นกระผมตอบว่า  ความว่างย่อมไม่มีรูปร่าง  ฉะนั้น  จึงไม่มีรูปร่างโดยเฉพาะของมันเอง  ดังนี้แล้ว  ท่านกล่าวต่อไปว่า  "จิตเดิมแท้ของเธอ"  เป็นเหมือนกับความว่างอย่างตรงเผ็งที่เดียวละ  การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า  ไม่มีสิ่งใดเลย  ที่เราอาจมองพบตัวมัน  นี่คือ "ทิฏฐิอันถูกต้อง" 

การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า  ไม่มีสิ่งใดเลยที่เราอาจรู้จักมัน (ให้ถูกต้อง) ได้ นี่แหละคือ "ความรู้อันถูกต้อง" การเห็นอย่าแจ่มแจ้งว่า มันไม่ใช่เขียว  มันไม่ใช่เหลือง  มันไม่ใช่สั้น มันไม่ใช่ยาว ว่ามันเป็นของบริสุทธิ์อยู่โดยธรรมชาติ  และว่าเนื้อแท้ของมันนั้น  สมบูรณ์และสดใส  นี่แหละคือการเห็นแจ้งจิตเดิมแท้  และลุถึงพุทธภาวะได้ด้วยเหตุนั้น  ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  "ธรรมะที่ทำให้คนเป็นพระพุทธะ" แต่กระผมไม่เข้าใจคำสอนของท่านอาจารย์ต้าตุงเสียเลย ขอใต้เท้ากรุณาทำความแจ่มแจ้งให้แก่กระผมด้วยเถิดขอรับ

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  คำสอนของท่านผู้นั้นชี้ชัดอยู่แล้วว่าเขายังมีความรู้สึกที่นึกเอาเอง  ในเรื่องอันเกี่ยวกับ  "ทิฏฐิ" และ  "ความรู้" เหลืออยู่  และอันนี้เอง  ที่ส่อให้เห็นว่า  ทำไมเขาจึงไม่สามารถทำความกระจ่างให้แก่ท่านได้  จงฟังโศลกของฉันดังต่อไปนี้:-
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #51 เมื่อ: 05 มีนาคม 2553 21:55:50 »


http://i431.photobucket.com/albums/qq32/arsom/Light/08.jpg
พระสูตรเว่ยหล่าง


การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า  ไม่มีสิ่งใดเลย  ที่เราอาจมองพบตัวมัน 
แต่แล้วก็ยังคง เก็บเอา ความรู้สึกว่า  "ความไม่อาจจะมองเห็นได้"  ไว้อีก

ข้อนี้  เปรียบเหมือนกับดวงอาทิตย์  ที่ถูกบังอยู่ด้วยเมฆที่ลอยมาขวางหน้า

การเห็นอย่างแจ่มแจ้งว่า ไม่มีสิ่งใดเลย  ที่เราอาจจะรู้จักมันได้  แต่แล้วก็เก็บเอา  ความรู้สึกว่า
"ความที่ไม่อาจจะรู้ได้"  ไว้อีก

ข้อนี้ อาจเปรียบกันได้กับท้องฟ้าแจ่มแจ้ง แต่เสียรูปไปเพราะสายฟ้าแลบ

การปล่อยให้ความรู้สึก นึกเอาเองเช่นนี้  เกิดขึ้นตามสบายในใจของท่าน

ย่อมแสดงว่า  ท่านไม่รู้จักจิตเดิมแท้อย่างถูกต้องด้วย  ทั้งไม่มีเครื่องมืออะไร 
ที่มีประสิทธิภาพพอที่จะทำให้ท่านรู้ได้ด้วย

ถ้าท่านรู้อย่างแจ้งฉาน  แม้เพียงขณะเดียวเท่านั้นว่า ความรู้สึกที่นึกเอาเองเช่นนี้
 เป็นความผิดใช้ไม่ได้แล้ว

แสงสว่างภายในจิตของท่านเอง  จะลุกโพลงออกมาอย่างถาวร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 มีนาคม 2553 22:07:57 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #52 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553 06:57:32 »





      เมื่อได้ฟังดังนั้น ภิกษุ ชิช็วง  รู้สึกว่า  ใจของตนได้สว่างไสวในขณะนั้นเอง  เพราะเหตุนั้น  
เธอจึงกล่าวโศลกแก่พระสังฆปริณายก ดังต่อไปนี้:-

การยอมให้ความรู้สึกว่า  "ความไม่อาจจะมองเห็นได้"  และ  "ความไม่อาจจะรู้ได้"  
เกิดขึ้นในใจ ตามความพอใจของตัวนั้น

เป็นการแสวงหาโพธิ  โดยไม่ต้องเปลื้องตัวเองไห้อิสระจากความคิดต่างๆ
ที่ตนเดาเอาเอง  ในเรื่องอันเกี่ยวกับสิ่งทั้งปวง

ผู้ที่ผยองพองตัว ด้วยความรู้สึกอันเบาเต็งว่า "บัดนี้เรารู้แจ้งแล้ว" นั้น
ก็ยังไม่ดีไปกว่าเมื่อเขายังไม่รู้สึกอะไรเลย

ถ้าหากข้าพเจ้าไม่ได้มาหมอบอยู่แทบเท้าของพระสังฆปริณายก
ข้าพเจ้าก็ยังคงงงงัน  ไม่รู้จะเดินทางไหนถูกอยู่นั่นเอง

        ในวันหนึ่ง  ภิกษุ ชิช็วง  ได้ถามพระสังฆปริณายกว่า  พระพุทธองค์ได้ประกาศคำสอน
เรื่อง "ยานสามชนิด"  และเรื่อง  "ยานชั้นสูงสุด" ไว้ด้วย  
แต่กระผมไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้  ขอให้ใต้เท้าจงกรุณาอธิบายเถิด"



พระสังฆปริณายกได้ตอบว่าในการพยายามเพื่อเข้าใจเรื่องเหล่านี้ ท่านควรจะส่องดูที่ใจของท่านเอง
และทำตัวต่อสิ่งทั้งปวง ในภายนอก อย่างมีอิสระ

 ความแตกต่างระหว่างยานทั้งสี่ชนิด มิได้อยู่ที่ตัวธรรมะ แต่อยู่ที่ความแตกต่าง
ของใจคนที่จะปฏิบัติธรรมะ


การดู การฟัง  การท่องพระสูตร  เป็นยานขนาดเล็ก  การรู้ธรรมและเข้าถึงความหมาย
เป็นยานขนาดกลาง

การเอาธรรมะ  ที่รู้นั้น  มาปฏิบัติจนเป็นปกติวิสัย นี่คือยานขนาดใหญ่  
การเข้าใจธรรม  ทั้งปวง  อย่างปรุโปร่ง ได้ดื่มรสธรรมะ  นั้น  อย่างสมบูรณ์  

เป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง มีใจอยู่เหนือสิ่งทั้งปวง และไม่ถืออะไรไว้
โดยความเป็นของของตน นี่แหละคือยานอันสูงสุด


เนื่องจากคำว่า "ยาน" (พาหนะ)  คำนี้ หมายถึง  "เครื่องเคลื่อน" (กล่าวคือ การน้อมนำมาปฏิบัติ)
ดังนั้น  ข้อโต้แย้งในเรื่องนี้  ไม่มีความจำเป็นเสียเลย

ทั้งหมดทั้งสิ้น มันขึ้นอยู่กับการฝึกฝนตัวเอง ดังนั้น ท่านไม่จำเป็นจะต้องถามปัญหาใดๆอีกเลย
แต่ฉันขอเตือนท่านให้ระลึกไว้ว่า  ตลอดทุกกาลเวลา   จิตเดิมแท้นั้นคงดำรงอยู่

ในภาวะแห่ง  "ความเป็นเช่นนั้น" อยู่เสมอ

        ภิกษุ ชิช็วง  แสดงความเคารพและขอบคุณพระสังฆปริณายก จำเดิมแต่นั้นมา
ท่าน  ได้ทำตน  เป็นผู้ปรนนิบัติพระสังฆปริณายก  จนตลอดชีวิตพระสังฆปริณายก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มิถุนายน 2555 23:41:02 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #53 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553 07:38:49 »



ทะเลสาปโตบา สุมาตรา อินโดนีเซีย

ภิกษุ ฉิต่าว เป็นชาวเมืองน่ำหอยแห่งกวางตุ้ง  ได้มาหาพระสังฆปริณายก  เพื่อขอคำแนะนำตักเตือน  ได้กล่าวแก่พระสังฆปริณายกว่า "นับแต่กระผมได้บวชมานี้ กระผมได้อ่านมหาปรินิวาณสูตรมากว่า 10 ปีแล้ว แต่กระผมก็ยังไม่สามารถจับฉวยเอาใจความสำคัญของสูตรนั้นได้  ขอใต้เท้าได้โปรดสอนแก่กระผมด้วยเถิด

        พระสังฆปริณายกได้ถามว่า  พระสูตรตอนไหนเล่า ที่ท่านยังไม่เข้าใจ?

        ภิกษุ ฉิฉ่าว จึงกล่าวตอบว่า  "ข้อความในพระสุตรตอนที่กระผมไม่เข้าใจนั้นมีว่า "สิ่งทุกสิ่งไม่คงตัวอยู่อย่างถาวร  ดังนั้น  สิ่งทั้งปวงจึงตกอยู่ใต้อำนาจ ของธรรมที่เป็นความเกิดขึ้น และความแตกดับ(กล่าวคือสังขตธรรม) เมื่อความเกิดขึ้นและความแตกดับมาสิ้นสุดลงด้วยกัน  ศานติสุขแห่งความหยุดได้โดยสมบูรณ์*49 และความสิ้นสุด ของการเปลี่ยนแปลง (กล่าวคือนิพพาน) ย่อมปรากฏขึ้นมา

   พระสังฆปริณายกได้ถามว่า  อะไรเล่าที่ทำให้ท่านสงสัย?

        ภิกษุ ฉิต่าว ได้ตอบว่า  สิ่งที่มีชีวิตทั้งปวงย่อมมีกาย 2 กาย กล่าวคือ กายเนื้อและกายธรรม กายเนื้อไม่คงตัวอยู่อย่างถาวร  มันมีอยู่  และตายไป. ส่วนกายธรรมนั้น ตั้งอยู่อย่างถาวร, ไม่รู้อะไร ไม่มีความรู้สึกอะไร. ทีนี้ ในพระสูตรกล่าวว่า "เมื่อความเกิดขึ้น" และความแตกดับ สิ้นสุดลงด้วยกัน ศานติสุขแห่งความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และความสิ้นสุดของการเปลี่ยนแปลง (กล่าวคือนิพพาน) ย่อมปรากฏขึ้นมา"  ดังนี้ กระผมไม่เข้าใจได้เลยว่า  กายไหนสิ้นสุดลง  และกายไหนยังอยู่เพื่อดื่มรสแห่งศานตินั้น. มันเป็นไปไม่ได้ที่กายเนื้อจะดื่มรสแห่งศานติ  เพราะว่าเมื่อมันตาย  มหาภูตะทั้งสี่ (วัตถุธาตุ กล่าวคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ) จะกระจัดกระจายจากกัน และการกระจัดกระจายจากกันนั้น  เป็นความทุกข์ล้วนๆ และตรงกันข้ามจากศานติสุขโดยสิ้นเชิง ถ้าหากว่าเป็นธรรมกายที่สิ้นสุดลงไป  แล้วมันก็จะตกอยู่ในลักษณะเช่นเดียวกันกับสิ่งที่ "มิใช่สัตว์" ซึ่งได้แก่ ผักหญ้า ต้นไม้ ก้อนหิน และอื่นๆ ฯลฯ  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว  ใครเล่าจะเป็นผู้ดื่มรสแห่งศานตินั้น

       ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ สภาวะธรรมดา ย่อมเป็นหัวใจหรือตัวการ ของความเกิดขึ้น และความแตกดับ.  อันแสดงตัวออกมาในรูปของขันธ์ทั้งห้า (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หรือถ้าจะกล่าวกันอย่างง่ายๆ ก็คือว่า มีตัวการแต่ตัวเดียว  แต่อาการของมันมีถึงห้าอย่างนั่นเอง  กระแสแห่งการเกิดขึ้นและการแตกดับนั้น เป็นสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด  เมื่ออาการหรือการทำตามหน้าที่ยัง  "มีออกมา" จากตัวการนั้นแล้ว  กระแสนั้นก็ไหลไปเรื่อย, เมื่อการปฏิบัติงานหรืออาการนั้น ถูก "ดูด" กลับคืนไปยังตัวการ  กระแสก็หยุดไหล  เมื่อการถือกำเนิดใหม่ยังมีได้อยู่เพียงใด  ก็ย่อมไม่มี  "การสิ้นสุดแห่งความเปลี่ยนแปลง"  อยู่เพียงนั้น  ดังจะเห็นได้ไนกรณีของสัตว์มีชีวิตทั่วไป.  ถ้าการถือกำเนิดใหม่  ไม่เข้ามาแทรกแซงแล้ว, สิ่งต่างๆก็จะอยู่ในสภาพของสิ่งที่ไร้ชีวิต  ดังเช่นวัตถุต่างๆ  ที่ไม่มีชีวิตทั้งหลาย  เมื่อเป็นดังนี้แล้ว, ภายในขอบเขตอันจำกัดเฉียบขาดของนิพพานนั้น  ย่อมมีไม่ได้แม้แต่ความมีอยู่ ของสัตว์  เช่นนี้แล้ว  จะมีความเปรมปรีดิ์ (ในการดื่มรสของนิพพาน) อะไรกันได้เล่า?

        พระสังฆปริณายกได้ตอบว่า  ท่านก็เป็นบุตรคนหนึ่งของพระชินะพุทธ (คือเป็นภิกษุ)  ทำไมจึงมารับเอกความเห็นผิดแห่งสัสตทิฏฐิ  และอุจเฉททิฏฐิ ของพวกเห็นผิดนอกพุทธศาสนา,  และทั้งกล้าตำหนิคำสอนของลัทธิอุตตรยาน?


*49ความหยุดได้โดยสมบูรณ์ หมายถึงความที่หลุดพ้นจากเครื่องปรุงแต่ง  คือ พ้นอำนาจของอวิชชา  ตัณหา นั่นเอง และหมายถึง นิพพาน ผู้แปลไทย พุทธทาส
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #54 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553 08:10:11 »



Ice Flowers

  ข้อแย้งของท่านยืนยันว่า มีกายธรรมอยู่ต่างหากจากกายเนื้อ,  และว่า "ความหยุดได้โดยสมบูรณ์"  และ "ความสิ้นสุดของความเปลี่ยนแปลง"  นั้นต้องแสวงหาจากที่อื่นนอกไปจาก  "ความเกิดขึ้นและความแตกดับ"  ยิ่งกว่านั้น  จากข้อที่กล่าวว่า  "นิพพานเป็นความเปรมปรีดิ์ไม่มีที่สิ้นสุด" นั่นเอง ท่านเชื่อโดยการพิสูจน์เอาว่า ต้องมีใครคนใดคนหนึ่ง  ที่ทำหน้าที่เป็นผู้เปรมปรีดิ์.

        ความเห็นผิดเหล่านี้เอง มิใช่อื่น ที่ทำให้คนทั้งปวงทะเยอทะยานอยากเกิดเป็นสัตว์ชนิดที่มีอวัยวะรู้รสของอารมณ์. และปรนปรือตัวเองด้วยความเพลิดเพลินอย่างวิสัยโลก.  และเพื่อคนเหล่านี้. ซึ่งเป็นเหยื่อของอวิชชา; ซึ่งถือว่าการประชุมของข้นธ์ทั้งห้า เป็นตัวตน และถือสิ่งนอกนั้นว่ามิใช่ตัวตน; ซึ่งหลงรักการเกิดของตัว  และเกลียดชังความตาย  อย่างสุดจิตสุดใจ; ซึ่งลอยไปมาอยู่  ในวังวนของความเกิด  และความตาย

 โดยไม่มีการสำนึกถึงความว่างกลวงไร้แก่นสารของโลกียภพ ซึ่งเป็นแต่เพียงความฝันหรือมายา; ซึ่งทำความทุกข์ขึ้นใส่ตัวเองโดยไม่จำเป็น  ด้วยการพ่วงตัวเองเข้ากับสังสารวัฏแห่งการเวียนเกิด; ซึ่งเข้าใจผิดต่อภาวะแห่งความแปรมปรีดิ์ ไม่มีที่สิ้นสุดของนิพพาน ในฐานะเป็นความทุกข์อีกแบบหนึ่ง; และซึ่งแล่นตามหาความเพลิดเพลินจากอารมณ์อยู่เนืองนิจ.  เหล่านี้เองแท้ๆ ที่พระพุทธองค์ผู้ทรงพระมหากรุณา  ได้ทรงแสดงศานติอันแท้จริงของนิพพานไว้ให้เขาโดยจำเพาะเจาะจง.

        ไม่ว่าในขณะใดหมด  นิพพานย่อมไม่มีปรากฏการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลง, หรือแห่งการแตกดับ.  ไม่มีแม้กระทั่งความสิ้นสุดของการทำหน้าที่ ของความเกิดขึ้นและความแตกดับ.  นิพพานเป็นการแสดงออกของ "ความหยุดได้โดยสมบูรณ์  และความสิ้นสุดของความเปลี่ยนแปลง"  แต่แม้ในขณะแห่งการแสดงออกนั้น  ก็ไม่มี  "ความเห็น"  ว่าเป็นการแสดงออก, ดั่งนั้นจึงถูกเรียกว่า  "ความเปรมปรีดิ์อันไม่รู้จักหมดสิ้น"  ซึ่งไม่ต้องมีตัวผู้เปรมปรีดิ์หรือผู้ไม่เปรมปรีดิ์  แต่อย่างใด.

        ไม่มีสิ่งใดที่จะกล่าวได้ว่า  "มีตัวการอยู่ตัวหนึ่ง  แล้วมีอาการของมันห้าอย่าง"  เหมือนที่ท่านยืนยัน, ท่านกำลังกล่าวป้ายร้ายพระพุทธองค์ และกำลังใส่ร้ายพระธรรม  โดยที่ท่านไปไกลจนถึงกับกล่าวว่า  ภายใต้ขอบเขตอันจำกัดเฉียบขาดของนิพพาน  ย่อมมีไม่ได้  แม้แต่ความมีอยู่ของสัตว์ทุกชนิด.  จงฟังโศลกของฉันดังต่อไปนี้:-
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #55 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553 08:33:03 »


http://i431.photobucket.com/albums/qq32/arsom/Water/ripples.jpg
พระสูตรเว่ยหล่าง



มหาปรินิพพานอันสูงสุดนั้น

เป็นสิ่งที่เต็มเปี่ยม  ถาวร  สงบ  และรุ่งเรืองสว่างไสว

คนสามัญและคนเขลา  หลงเรียกนิพพานนั้นว่าความตาย

ฝ่ายพวกมิจฉาทิฏฐิก็ถือเอาตามชอบใจว่า นิพพานนั้น เป็นความขาดสูญ

พวกที่เป็นฝ่ายสาวกยาน  และปัจเจกพุทธยาน

เห็นพระนิพพานว่าเป็นสิ่งที่  "ไม่มีการกระทำ"

ทั้งหมดนี้  เป็นเพียงการคำนวนเอาด้วยสติปัญญาของคนสามัญ

และย่อมจะสร้างรากฐาน  แห่งมิจฉาทิฏฐิ  62 ประการขึ้นมา.

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงชื่อต่างๆ ที่คิดเดาเอาเอง ประดิษฐ์ขึ้นเอง

ในขณะที่เขาไม่รู้จะทำอย่างไรต่อสัจจธรรมอันสูงสุดนั้น

เฉพาะพวกที่มีใจสูงเหนือสิ่งทั้งหลายเท่านั้น

ที่อาจจะเข้าใจได้ถูกต้องว่า  นิพพานนั้นคืออะไรกันแน่.และวางตนไว้ 

ในลักษณะที่เข้าพัวพันด้วยก็ไม่ใช่ เฉยเมยก็มิใช่ทั้งสองอย่าง*50


*50 ข้อนี้ท่านดิปิเซ่ ให้อรรถธิบายไว้ว่า เมื่อคนสามัญหลงอยู่ในวังวนของการเวียนเกิด  เวียนตาย, พวกสาวกและพวกปัจเจกพุทธะ  แสดงทีท่าเกลียดชัง อาการอันนี้. ทำเช่นนี้ไม่ถูกทั้งสองพวก ผู้ดำเนินไปในมรรคปฏิปทา  ย่อมไม่ติดใจ  ในการเกิดเป็นสัตว์เพื่อเสวยอารมณ์  แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีการจงเกลียดจงชังอะไรแก่สิ่งนี้.  เพราะความถือว่ "ตัวตน" หรือว่า "สัตว์บุคคล" ย่อมไม่มีแก่ผู้นี้ และเพราะว่า ท่านผู้นี้เสียสละได้ทั้งท่าทีแห่งการอยากได้ 

และท่าทีแห่งการเฉยเมยต่อสิ่งทั้งปวง. วิมุติ จึงอยู่ในกำมือของท่านตลอดเวลา,  และท่านอยู่เป็นผาสุขได้ในทุกๆ สถานการณ์ที่แวดล้อม. ท่านอาจผ่านไปในกระแสของการเกิดตาย แต่กระแสนั้น ไม่อาจพัวพันท่าน และสำหรับท่าน ปัญหาเรื่องเกิดตายไม่เป็นปัญหาอะไรเลย.  คนชนิดนี้แหละที่ควรเรียกว่ามีใจสูงเหนือสิ่งทั้งปวง (ได้พบพระนิพพานแล้ว)  ดิปิงเซ่ ผุ้บรรยายจีน
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #56 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553 11:19:21 »



Volcanic Lightning
ภูเขาไฟ Pinatubo ในประเทศฟิลิปปินส์ ระเบิด ในปี 1991

ท่านเหล่านั้น  ย่อมรู้ว่า ขันธ์ทั้งห้า

และสิ่งที่เรียกกันว่า  "ตัวตน"  อันเกิดขึ้นจากการประชุมพร้อมของขันธ์ทั้งห้านั้น

รวมทั้งวัตถุและรูปธรรมภายนอกทุกชนิด

และทั้งปรากฏการณ์ต่างๆ ของศัพท์และสำเนียง

ล้วนแต่ของเทียม  ดั่งเช่นความฝันและภาพมายา เสมอกันหมด

ท่านเหล่านั้นไม่เห็นว่ามีอะไรแตกต่างกัน  ระหว่างพระมุนีกับคนธรรมดา

หรือจะมีความคิดเดาเอาเอง ในเรื่องนิพพาน  ก็หาไม่.



ท่านเหล่านี้  ย่อมอยู่เหนือ "การรับ"  และ  "การปฏิเสธ"

และท่านเหล่านี้  ทำลายเครื่องกีดขวาง ทั้งที่เป็นอดีต  ปัจจุบัน และอนาคต

ท่านเหล่านี้ ย่อมใช้อวัยวะเครื่องทำความรู้สึก  ของท่านในเมื่อมีเรื่องต้องใช้

แต่ว่าความรู้สึกยึดถือใน  "การใช้" นั้น มิได้เกิดขึ้นเลย



ท่านเหล่านั้น อาจระบุเจาะจงสิ่งต่างๆ ได้ทุกชนิด.

แต่ว่าความรู้สึกยึดถือใน "การระบุเจาะจง" นั้น มิได้เกิดขึ้นเลย

ขณะที่ไฟประลัยกัลป์ล้างโลก ในที่สุดของกัลป์, เมื่อท้องมหาสมุทรแห้งไป

หรือขณะที่ลมมหาประลัยพัดทำลายโลก  จนภูเขาล้มชนกันระเกะระกะ

ศานติสุขอันแท้จริงและยั่งยืน ของ "ความหยุดได้โดยสมบูรณ์"

และความสุดสิ้นของความเปลี่ยนแปลง"แห่งนิพพาน, ย่อมยังคงอยู่ในสภาพเดิม

ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย.



นี่ฉันได้พยายามอธิบายแก่ท่าน ถึงสิ่งบางสิ่ง ที่เหลือที่จะพูดออกมาได้

เพื่อให้ท่านสามารถกำจัดความเห็นผิดของท่านเสีย.

แต่ถ้าท่านไม่ตีความแห่งคำพูดของฉันให้ตรง ตามความหมายแล้ว

ท่านอาจเรียนรู้ความหมายของนิพพาน  แต่เพียงกะจิริด นิดหนึ่งเท่านั้น
 

      เมื่อได้ฟังโศลกนี้แล้ว  ภิกษุ ฉิต่าว  ได้มีความสว่างไสวในธรรมอย่างสูง เธอรับฟังคำสอน
ด้วยใจอันปราโมทย์ และลาจากไป

***********
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 เมษายน 2553 17:07:54 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #57 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553 12:05:11 »



ภิกษุ ฮังฉิ อาจารย์องค์หนึ่งในนิกายธยานนี้ เกิดที่อันเซ้งแห่งกัตเจา ในตระกูลหลิว.  เมื่อได้ยินข่าวเล่าลือว่า  คำสอนของพระสังฆปริณายก ได้ทำให้คนจำนวนมากมีความสว่างไสวในธรรม  ท่านจึงได้ตรงมายังตำบลโซกายทันที  เมื่อทำความเคารพแล้ว  ได้ตั้งคำถามขึ้นว่า  "ผู้ปฏิบัติควรส่งจิตของตนพุ่งไปยังสิ่งใด  อันจะทำให้การบรรลุธรรมของเขาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดได้ด้วย  "เครื่องวัดคุณวิเศษ" ตามที่คนทั่วไปเขารู้กัน?"

        พระสังฆปริณายกถามว่า  ก็ท่านกำลังปฏิบัติอยู่อย่างไรเล่า?

        ภิกษุ ฮังฉิ ตอบว่า แม้ธรรมคืออริยสัจทั้งหลาย ที่พระพุทธเจ้าทุกๆองค์สอนไว้  ข้าพเจ้าก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องเข้าไปแตะต้องด้วย

        พระสังฆปริณายกถามต่อไปว่า แล้วก็เดี๋ยวนี้ท่านอยู่ใน "ชั้นแห่งคุณวิเศษ" ชั้นไหนเล่า?

        ภิกษุ ฮังฉิ ย้อนว่า จะมี "ชั้นคุณวิเศษ" อะไรที่ไหนเล่า ในเมื่อข้าพเจ้าปฏิเสธไม่เข้าเกี่ยวข้องด้วย  แม้กับอริยสัจที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สอนไว้?

        การตอบโต้อย่างทันควันของภิกษุฮังฉิ ได้ทำให้พระสังฆปริณายกเกิดความนับถือ
ถึงกับยกเธอขึ้นเป็นหัวหน้าคณะ.

        วันหนึ่ง พระสังฆปริณายกได้กล่าวแก่ท่านผู้นี้  ว่าท่านควรจะไปประกาศธรรม
ในท้องถิ่นของท่านเอง

 เพื่อว่าคำสอนจะไม่ลับหายสิ้นสุดไป  เพราะเหตุนั้น ภิกษุฮังฉิ ได้กลับไปภูเขาชิงอัน อันเป็นภูมิลำเนาของเท่าน.

 พระธรรม (แห่งนิกายนี้) ถูกมอบหมายทอดช่วงไปยังท่าน.

ท่านได้เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง และเป็นการทำให้คำสอนแห่งครูอาจารย์ของท่านลงรากอย่างมั่นคง

เพราะเหตุนั้น  เมื่อท่านมรณภาพแล้ว เขาพากันยกสมัญญาให้แก่ท่านว่า

"ฮุงไซ่ ผู้เป็นอาจารย์แห่งนิกายธยาน"

**********
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #58 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553 12:31:41 »



ภิกษุ เว่ยยาง  อาจารย์ในนิกายธยานอีกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลเต๋า ในกิมเจา เมื่อไปเยี่ยมท่านเว่ยออนแห่งภูเขาซุงซาน   ซึ่งเป็น "อาจารย์ประจำเมือง"  ได้ถูกท่านผู้นี้บังคับให้มายังตำบลโซกาย  เพื่อสนทนากับพระสังฆปริณายก

        ครั้นมาถึง และได้ทำความเคารพตามธรรมเนียมแล้ว ก็ถูกพระสังฆปริณายก ถามว่า มาจากไหน  
ตอบว่า  มาจากซุงซาน

        ถามว่า  สิ่งที่มานั้นเป็นอะไร มาได้อย่างไร          
 ตอบว่า  จะว่ามันเหมือนกับอะไร ก็เป็นการผิดทั้งนั้น

        ถามว่า  เป็นสิ่งที่ลุถึงได้ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติตนหรือ      
 ตอบว่า  มิใช่เป็นการสุดวิสัยที่จะลุถึงได้ด้วยการฝึกฝนปฏิบัติตน  แต่ว่าเป็นการสุดวิสัยจริงๆ ที่จะทำสิ่งนี้ไห้เศร้าหมองมีมลทิน

        เมี่อได้ฟังดังนั้น  พระสังฆปริณายกได้เปล่งเสียงขึ้นดังๆว่า มันได้แก่สิ่งที่ไม่รู้จักเศร้าหมองนี้จริงๆ ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เอาพระทัยใส่ ถึงท่านก็ต้องเป็นอย่างเดียวกัน ถึงแม้ข้าพเจ้าก็ต้องเป็นอย่างเดียวกัน พระสังฆปริณายกชื่อ  ปรัชญาตาระ แห่งอินเดีย ได้ทำนายไว้ว่า ลูกม้า*51ตัวหนึ่งจะออกมาจากใต้ฝ่าเท้าของท่าน และจะกระโจนเหยียบย่ำมหาชนไปทั่วโลก  ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องพยากรณ์ความข้อนี้เร็วเกินไป  เพราะว่าคำพยากรณ์นั้น ท่านหาดูได้ในใจของท่าน

        ภิกษุ เว่ยยาง  มีความเข้าใจปรุโปร่งในคำพูดของพระสังฆปริณายก ได้เข้าใจซึมทราบแจ่มแจ้งว่าพระสังฆปริณายกพูดหมายถึงอะไร  ตั้งแต่วันนั้นมา ได้เป็นศิษย์ติดสอยห้อยตามพระสังฆปริณายกอยู่เป็นเวลา 15 ปี มีความรู้ในทางพระพุทธศาสนาลึกซึ้งยิ่งขึ้นๆ ทุกๆวัน  ต่อมาได้ตั้งสำนักขึ้นที่เฮ็งชาน ทำการเผยแพร่คำสอนของพระสังฆปริณายกออกไปอย่างกว้างขวาง  เมื่อถึงมรณภาพแล้ว  ทางการแห่งราชสำนักของพระเจ้าจักรพรรดิ์  

ได้ถวายสมัญญาแก่ท่านว่า "ไถ่ไหว่ ผู้เป็นอาจารย์แห่งนิกายธยาน"





**********



*51ข้อนี้หมายถึงศิษย์อันมีชื่อเสียงของภิกษุเว่ยยาง ที่ชื่อว่า "ม้า โซ่" อันเป็นผู้ที่ได้แผ่คำสอนของนิกายธยานไปจนทั่วประเทศจีน ผู้คัดลอกจีนว่องมูล่ำ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 มีนาคม 2553 13:23:19 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #59 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553 14:01:13 »



อาจารย์นิกายธยาน  ชื่อ หยวนกว็อก แห่งวิงกา  เกิดในตระกูลไต๋  ในเว็นเจา  เมื่อยังหนุ่มได้ศึกษาในสูตรและศาสตร์เป็นอันมาก เป็นผู้แตกฉาน ในหลักสมถะ  และวิปัสสนาแห่งนิกายเท็นดาย  โดยที่ได้อ่านวิมลกีรตินิเทศสูตร  ท่านได้ทราบถึงข้อลี้ลับ  แห่งใจของท่านเองอย่างปรุโปร่ง

        มีภิกษุรูปหนึ่ง มีนามว่า อันแช็ก เป็นศิษย์ของพระสังฆปริณายกเผอิญได้ไปเยี่ยมนมัสการท่านอาจารย์ผู้นั้น เมื่อได้มีธรรมสากัจฉากันเป็นเวลานานแล้ว ภิกษุอันแช็กได้สังเกตเห็นว่า  ถ้อยคำของคู่สนทนานั้นลงกันได้ดีกับคำสอนต่างๆ ของพระสังฆปริณายก  จึงถามขึ้นว่า "ผมใคร่จะทราบนามอาจารย์ของท่าน ซึ่งได้สั่งสอนธรรมให้แก่ท่าน"

        หยวนกว็อกได้ตอบว่า  ผมมีอาจารย์มากมายที่สอนผม ในขณะที่ผมศึกษาสูตรและศาสตร์ต่างๆ แห่งสำนักไวปูลยะ, แต่หลังจากนั้นมาเป็นเพราะได้อ่านวิมลกีรตินิเทศสูตร  ผมจึงมองเห็นแจ่มแจ้งถึงความสำคัญของนิกายพุทธจิตตะ (คือนิกายธยาน)  แล้วในตอนนี้  ผมยังไม่มีอาจารย์คนใดที่จะพิสูจน์และยืนยันความรู้ของผม

        ภิกษุอันแช็กกล่าวขึ้นว่า ถ้าในยุคก่อนหน้าพระภิสมครรชิตศวร พระพุทธเจ้าองค์แรก ก็พอจะเป็นไปได้  ที่ใครๆจะรู้ธรรมได้โดยไม่ต้องเกี่ยวข้องกับอาจารย์  แต่หลังจากนั้นมาแล้ว  ผู้ที่บรรลุธรรมโดยไม่อาศัยความช่วยเหลือและยืนยันของอาจารย์คนใดคนหนึ่งแล้ว (ดูเหมือนจะ) ใช้ไม่ได้เป็นธรรมดา

        หยวนกว็อกได้ถามว่า ถ้าดังนั้นท่านช่วยเป็นผู้พิสูจน์การรู้ธรรมของผมได้ไหมเล่า?

        ภิกษุอันแช็กตอบว่า  คำพูดของผมไม่มีน้ำหนัก  ที่ตำบลโซกาย มีพระสังฆปริณายกองค์ที่หก อยู่ที่นั่น  คนจำนวนมากมาหาท่านจากทิศต่างๆ ด้วยความประสงค์อย่างเดียวกัน คือเพื่อรับเอาธรรม ถ้าท่านใคร่จะไปที่นั่น ผมยินดีที่จะไปเป็นเพื่อน

        ในเวลาอันสมควร  ภิกษุทั้งสองก็ได้ไปถึงโซกาย  และพบปะกับพระสังฆปริณายก  สำหรับท่านหยวนกว็อกนั้น  เมื่อได้เดินเวียนรอบๆ พระสังฆปริณายกสามครั้งแล้ว ก็หยุดยืนถือไม้เท้านิ่งอยู่ (ปราศจากการแสดงความเคารพแต่อย่างใด)

        พระสังฆปริณายกเห็นเช่นนั้น  จึงกล่าวขึ้นว่า  ก็ภิกษุย่อมเป็นที่เกาะอาศัยของศีลสิกขาบทสามพันข้อ  และสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ อีกแปดพันข้อ  ผมสงสัยเหลือเกินว่าท่านมาจากสำนักไหน และมีอะไรที่ทำให้ท่านถือตัวถึงเพียงนี้

        ท่านหยวนกว็อกได้ตอบว่า  ปัญหาเกี่ยวกับการเวียนเกิดไม่รู้สิ้นสุด เป็นปัญหาด่วนจี๋ และความตายอาจจู่มาถึงขณะจิตใดก็ได้ (ผมจึงไม่มีเวลามากพอที่จะเสียไปในการทำพิธีรีตองเช่นนั้น)

        พระสังฆปริณายกถามไปว่า  แล้วทำไมท่านไม่ทำความแจ่มแจ้งในหลักธรรมเรื่อง  "ความไม่เกิด" และแก้ไขความยุ่งยากแห่งความไม่เที่ยงแท้ของชีวิตให้หมดไปด้วยธรรมนั้นเล่า?

        ท่านหยวนกว็อกเสนอว่า  การเห็นแจ้งจิตเดิมแท้เป็นการทำตนให้เป็นอิสระจากการเวียนเกิด จัดการกับปัญหาข้อนี้ให้ลุล่วงไปเพียงข้อเดียว ปัญหาเรื่องความไม่เที่ยง ก็จะไม่มีเหลืออีกต่อไป

        พระสังฆณายกได้ตอบรับว่า ถูกแล้ว ถูกแล้ว


        ในตอนนี้ หยวนกว็อกได้ยอมทำความเคารพอย่างเต็มที่ตามธรรมเนียม  ไม่กี่อืดใจก็กล่าวคำอำลาพระสังฆปริณายก

        พะรสังฆปริณายกถามว่า  ท่านกำลังจะกลับเร็วเกินไปเสียแล้ว ใช่ไหมล่ะ?

        หยวนกว็อกย้อนว่า  "ความเร็ว" จะมีได้อย่างไรกัน  ในเมื่อความเคลื่อนไหวเอง ก็มิได้มีเสียแล้ว

        ย้อนกลับไปว่า ใครเล่า ที่จะรู้ว่าการเคลื่อนไหวก็มิได้มี?

        สวนมาว่า  ท่านขอรับ กระผมหวังว่าท่านจะไม่ชี้ระบุตัวตนอะไรที่ไหน

        พระสังฆปริณายกได้กล่าวสรรเสริญท่านหยวนกว็อกว่า  สามารถมีความเข้าใจในเรื่อง "ความไม่เกิด" (คือพระนิพพาน) ได้อย่างกว้างขวางปรุโปร่ง  แต่ท่านหยวนกว็อกได้ตั้งข้อสังเกตขึ้นมาอีกว่า ก็ใน "ความไม่เกิด" นั้น มี "ความเข้าใจ" อยู่ด้วยหรือ?

        พระสังฆปริณายกย้อนตอบไปว่า ไม่มี "ความเข้าใจ"แล้ว ใครเล่าที่สามารถชี้ระบุตัวตน?

        ท่านหยวนกว็อกตอบว่า สิ่งที่ชี้ระบุตัวตนนั้น หาใช่ "ความเข้าใจ" ไม่

        พระสังฆปริณายกร้องขึ้นว่า สาธุ แล้วได้ขอร้องให้ท่านหยวนกว็องยับยั้งการกลับไว้ก่อน  และค้างคืนด้วยกันสักคืนหนึ่ง เพราะเหตุนี้เอง ท่านหยวนกว็อก.จึงเป็นผู้ที่พวกเพื่อนๆ ในสมัยเดียวกันขนานนามว่า "ผู้รู้ ซึ่งเคยค้างคืนกับพระสังฆปริณายก"

        ต่อมาภายหลัง ท่านหยวนกว็อกได้ประพันธ์วรรณกรรมอันมีชื่อเสียงเรื่อง "บทขับเกี่ยวกับการบรรลุทางฝ่ายใจ"  ซึ่งแพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง เมื่อมรณภาพแล้ว ท่านได้รับสมัญญาว่า  "ปรมาจารย์ วู่เช็ง (ซึ่งแปลว่าผู้อยู่เหนือสิ่งต่างๆ ในโลก) พวกเพื่อนๆสมัยเดียวกันกับท่าน พากันเรียกท่านอีกว่า  ธยานาจารย์ ชุนกว็อก (ซึ่งแปลว่า ท่านที่รู้จริงๆ)


************
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มีนาคม 2553 14:04:39 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #60 เมื่อ: 06 มีนาคม 2553 15:50:52 »


http://i431.photobucket.com/albums/qq32/arsom/Water/red-leaves-blue-river.jpg
พระสูตรเว่ยหล่าง

ภิกษุ จิหว่าง เป็นนักศึกษาผู้หนึ่งในนิกายธยาน  หลังจากได้สอบถามพระสังฆปริณายกองค์ที่ห้า (เกี่ยวกับการก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมของตน)  แล้วก็เข้าใจเอาเองว่าตนได้บรรลุสมาธิ  ดังนั้น ท่านผู้นี้จึงเก็บตัวอยู่ในวิหารเล็กๆ แห่งหนึ่ง  เป็นเวลาถึงยี่สิบปี และเฝ้าแต่นั่งขัดสมาธิอยู่ตลอดเวลา

        มีศิษย์ของพระสังฆปริณายกองค์ที่หกผู้หนึ่งชื่อ ภิกษุอันแช็ก จาริกไปทางฝั่งเหนือของแม่น้ำฮวงโห  ได้ยินเรื่องราวของท่านผู้นี้ จึงเข้าไปเยี่ยมถึงที่วัดนั้น

        ภิกษุอันแช็กได้ถามว่า "ท่านทำอะไรอยู่ที่นี่"
        ภิกษุจิหว่างได้ตอบว่า "ข้าพเจ้ากำลังเข้าสมาธิอยู่"

        ภิกษุอันแช็กกล่าวขึ้นว่า "ท่านว่าท่านกำลังเข้าสมาธิอยู่อย่างนั้นหรือ? ข้าพเจ้าอยากทราบว่า ท่านทำสมาธิอยู่ด้วยความรู้สึก  หรือว่าปราศจากความรู้สึก เพราะว่าถ้าท่านทำสมาธิอยู่  โดยไม่มีความรู้สึก มันก็หมายความว่าสิ่งที่ไม่มีชีวิตทั้งปวง เช่น เครื่องกระเบื้อง, ก้อนหิน, ต้นไม้, และผักหญ้าทั้งหลาย ก็ลุถึงสมาธิได้เหมือนกัน. หรือไม่อย่างนั้น ถ้าท่านทำสมาธิอยู่โดยมีความรู้สึก, แล้วตัวสัตว์ที่มีชีวิตหรือมนุษย์ก็ตาม ทั้งหมดนั้น ก็จะพลอยเป็นผู้อยู่ในสมาธิไปด้วยทั้งสิ้น."



        ภิกษุจิหว่างได้กล่าวขึ้นว่า  "เมื่อข้าพเจ้าอยู่ในสมาธินั้น ข้าพเจ้าไม่รู้สึกเลยว่า 
มีความรู้สึกหรือไม่มีความรู้สึก"

        ภิกษุอันแช็กจึงพูดว่า  "ถ้าเอาอย่างที่ท่านว่า มันต้องเป็นความสงบตลอดกาล,
ซึ่งในภาวะเช่นนั้นไม่มีทั้งการเข้าอยู่และการออกมา.อาการที่ท่านยังเข้าๆ ออกๆ ได้อยู่นั้น
ยังไม่ใช่สมาธิชั้นเยี่ยม"

        ภิกษุจิหว่างรู้สึกงง หลังจากที่นิ่งอึ้งไปขณะหนึ่ง, แล้วท่านจึงได้ถามขึ้นว่า
"ข้าพเจ้าขอทราบว่าใครเป็นอาจารย์ของท่าน"
        ภิกษุอันแช็กตอบว่า "อาจารย์ของข้าพเจ้า คือพระสังฆปริณายกองค์ที่หกแห่งโซกาย"

        ภิกษุจิหว่างถามต่อไปว่า "อาจารย์ของท่าน ได้กล่าวสรูปความในเรื่องธยาน และ สมาธิ ไว้อย่างไรเล่า"
        ภิกษุอันแช็กกล่าวตอบว่า  "คำสอนของอาจารย์มีว่า ธรรมกายเป็นสิ่งที่เต็มเปี่ยมและสงบ.

ตัวแท้และการทำหน้าที่ของธรรมกาย ย่อมอยู่ในภาวะแห่ง "ความคงที่เสมอ" 
ขันธ์ทั้งห้า เป็นของว่างโดยแท้จริง  และอายตนะภายนอกทั้งหก เป็นของไม่มีอยู่

ในสมาธิไม่มีทั้งการเข้า และไม่มีทั้งการออก ไม่มีทั้งความเงียบ และไม่มีทั้งความวุ่นวาย.
ธรรมชาติของธยานไม่ใช่เป็นความเข้าอยู่ ดังนั้น
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  1 2 [3] 4 5   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.408 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 20 พฤศจิกายน 2567 17:53:42