[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 17:49:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะไม่ใช่ของยาก พระไพศาล วิสาโล  (อ่าน 3615 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553 10:28:12 »




ธรรมะไม่ใช่ของยาก
พระไพศาล วิสาโล

ย้อนหลังไปเมื่อ ๔๐ ปีก่อน มีชาวอเมริกันน้อยคนมากที่รู้จักประเทศธิเบต
อย่าว่าแต่พุทธศาสนาแบบธิเบตเลย แต่ผ่านไปไม่ถึง ๒ ทศวรรษ
ศูนย์ภาวนาแบบธิเบตนับร้อยได้ผุดขึ้นในสหรัฐอเมริกา
จนทุกวันนี้พุทธศาสนาแบบธิเบตกลายเป็นที่รู้จักของผู้คนในประเทศนี้
บุคคลที่มีส่วนสำคัญในการวางรากฐานของพุทธศาสนาแบบธิเบตในประเทศดังกล่าว
นอกจากเชอเกียม ตรุงปะ และท่านกรรมปะแล้ว อีกผู้หนึ่งย่อมได้แก่ ลามะเยเช่

สหรัฐอเมริกาในทศวรรษ ๑๙๗๐ นั้น คนหนุ่มสาวจำนวนมากปฏิเสธศาสนา
และไม่ยอมรับนับถืออะไรง่าย ๆ โดยเฉพาะอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ พิธีกรรม
และระเบียบกฎเกณฑ์ทั้งหลาย
แต่ท่านลามะเยเช่ สามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่
ให้หันมาสนใจพุทธศาสนาแบบธิเบตหรือวัชรยานได้
 
จุดเด่นของท่านคือ แทนที่จะเริ่มต้นด้วยการอธิบายหลักธรรมของพุทธศาสนา
ท่านถามคนเหล่านั้นว่า คุณทำสองอย่างนี้ได้ไหม
๑) หายใจเข้าและออก ๒) มีเมตตากรุณา
ถ้าทำได้ทั้งสองประการก็เพียงพอแล้วสำหรับการปฏิบัติธรรม
หรืออย่างน้อยก็เพียงพอแล้วสำหรับการเริ่มต้นการพัฒนาชีวิตด้านในให้โปร่งเบา

หากใครสงสัยว่าทั้งสองประการสำคัญอย่างไร
ท่านก็จะอธิบายว่าการมีสติกับลมหายใจเข้าและออกนั้น
สามารถเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างเรากับร่างกายและชีวิตของเรา
ส่วนการบ่มเพาะเมตตากรุณานั้นจะช่วยเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างเรากับโลกได้

วิธีการสอนของท่านไม่เรียกร้องให้ผู้เรียนต้องนับถือพระรัตนตรัย
เชื่อในพระนิพพาน เข้าใจอริยสัจสี่ หรือสมาทานศีลก่อน
หากเริ่มต้นจากจุดที่ทำได้ง่ายที่สุดหรือสามารถทำได้ทันที
โดยไม่ต้องถกเถียงกันในเรื่องปรัชญาหรือต้องผ่านพิธีรีตองก่อน

การชักชวนคนทำสิ่งดีงามนั้น ควรเริ่มต้นจากจุดที่เขาทำได้เลย
เขาสามารถ(หรือพร้อม)ทำได้แค่ไหนก็เริ่มต้นจากตรงนั้น
ครูบาอาจารย์ที่ฉลาดคือผู้ที่สามารถทำให้ศิษย์(โดยเฉพาะผู้ใหม่)

เห็นว่าความดีเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
กล่าวอีกนัยหนึ่งความสำเร็จของครูบาอาจารย์อยู่ที่การยอมรับเขาอย่างที่เขาเป็น
มิใช่เรียกร้องให้เขาเป็นอย่างที่ครูอยากให้เป็นเสียก่อน

คราวหนึ่งมีศิษย์มากราบหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ (วัดสะแก อยุธยา)
ศิษย์ผู้นั้นมีนักเลงเหล้าตามมาด้วย เมื่อสนทนากันได้พักหนึ่ง
ศิษย์ผู้นั้นได้ชักชวนเพื่อนให้สมาทานศีล ๕ พร้อมกับทำสมาธิภาวนา
นักเลงเหล้าผู้นั้นแย้งต่อหน้าหลวงปู่ว่า

“จะให้ผมสมาทานศีลและปฏิบัติได้ยังไง
ก็ผมยังกินเหล้าเมายาอยู่นี่ครับ”

หลวงปู่ดู่แทนที่จะคาดคั้นหรือคะยั้นคะยอเขา กลับตอบว่า
“เอ็งจะกินก็กินไปซิ ข้าไม่ว่า แต่ให้เอ็งปฏิบัติให้ข้าวันละ ๕ นาทีก็พอ”
ชายผู้นั้นเห็นว่านั่งสมาธิแค่วันละ ๕ นาทีไม่ใช่เรื่องยาก จึงรับคำหลวงปู่

นับแต่วันนั้นเขาก็นั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอตามที่รับปากเอาไว้ ไม่ขาดแม้แต่วันเดียว
บางวันถึงกับงดกินเหล้ากับเพื่อน ๆ เพราะได้เวลาปฏิบัติพอดี
เมื่อได้สัมผัสกับความสงบจากสมาธิภาวนาเขาก็มีความสุข จึงโหยหาเหล้าน้อยลง
จนในที่สุดก็เลิกเหล้าไปโดยไม่รู้ตัว หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ละชีวิตทางโลก
อุปสมบทเป็นพระภิกษุและมุ่งมั่นกับการปฏิบัติธรรม

คงมีภิกษุเคร่งศีลน้อยรูปที่จะบอกฆราวาสว่า “เอ็งจะกิน(เหล้า)ก็กินไปซิ ข้าไม่ว่า”
แต่หลวงปู่รู้ดีว่าการขอร้องให้เขาเลิกเหล้านั้นเป็นเรื่องยาก
ดังนั้นแทนที่ท่านจะห้ามเขากินเหล้า
ท่านกลับขอให้เขาทำสิ่งที่ง่ายกว่านั้นคือ นั่งสมาธิแค่วันละ ๕ นาที
ท่านรู้ดีว่าใครที่ทำสมาธิภาวนาทุกวันแม้จะไม่กี่นาที
ไม่นานก็จะเห็นอานิสงส์ของการปฏิบัติ และปฏิบัตินานขึ้นเอง จนเลิกเหล้าได้ในที่สุด

ทุกวันนี้เรามักได้ยินเสียงบ่นว่าคนทำชั่วมากขึ้น ทำดีน้อยลง
สาเหตุสำคัญนั้นไม่ใช่เป็นเพราะคนทุกวันนี้มีนิสัยเลวร้ายกว่าคนแต่ก่อน
แต่เป็นเพราะปัจจุบันการทำชั่วนั้นทำได้ง่าย ส่วนการทำดีกลับทำได้ยาก
เหตุปัจจัยที่ทำให้เป็นเช่นนั้นมีมากมาย สภาพสังคมเศรษฐกิจก็เป็นปัจจัยหนึ่ง
(เช่น สื่อที่กระตุ้นให้อยากมากกว่าส่งเสริมให้รู้จักพอ พื้นที่เสี่ยง
เช่น ผับ บาร์ ร้านเหล้า หาได้ง่ายกว่าพื้นที่ดี เช่น ห้องสมุด สนามกีฬา
หรือสถานปฏิบัติธรรม การสอบเข้าโดยใช้เส้นสาย

ทำได้ง่ายกว่าการสอบเข้าด้วยความสามารถ)
อย่างไรก็ตามอีกปัจจัยหนึ่ง แม้ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุด แต่ก็มีอิทธิพลไม่น้อย
นั่นคือ วิธีการสอนศีลธรรม ที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อย
โดยเฉพาะเยาวชนรู้สึกว่าการทำดีนั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก

เช่น กว่าจะสมาทานศีลได้ก็ต้องผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ มากมาย
อีกทั้งต้องกราบไหว้ให้ถูกต้องตามหลักเบญจางคประดิษฐ์
ที่สำคัญคือต้องมีพระเป็นผู้ให้ศีล หากไม่มีพระให้ศีล ก็สมาทานไม่ได้ เป็นต้น
ทั้ง ๆ ที่การสมาทานศีลนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ทุกที่ทุกเวลา




Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553 11:23:40 »




พูดเช่นนี้มิได้หมายความว่าพิธีกรรมไม่มีประโยชน์
พิธีกรรมนั้นมีประโยชน์อย่างแน่นอน
อาทิ ช่วยเตรียมใจให้เกิดความพร้อมในการทำความดี
แต่ทุกวันนี้พิธีกรรมมักจะถูกยกให้มีความสำคัญ

จนกลายเป็นสิ่งกีดขวางการทำความดีไปโดยไม่รู้ตัว
โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่รู้สึกเหินห่างกับพิธีกรรม
หลายคนจึงรู้สึกว่าการสมาทานศีลนั้น
เป็นเรื่องยุ่งยากกว่าการไปเที่ยวห้าง หรือการมั่วสุมกัน

การทำสมาธิภาวนาก็เช่นกัน มักถูกทำให้เป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน
ต้องผ่านพิธีกรรมมากมาย หรือมีเงื่อนไขหลายประการ
ทั้ง ๆ ที่สมาธิภาวนาเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา
ขอเพียงแต่มีลมหายใจและความรู้สึกตัวก็พอแล้ว
ครูบาอาจารย์ที่ฉลาดสามารถทำให้สมาธิภาวนากลายเป็นของง่าย
ใคร ๆ ก็ทำได้


ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ทั้งนี้โดยเริ่มจากสิ่งที่เขามีอยู่ หรือเป็นอยู่
(แทนที่จะเริ่มจากจุดที่เขาควรจะเป็น
เช่น ต้องละเลิกสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือมีนั่นมีนี่เสียก่อนจึงจะปฏิบัติได้)

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับหลวงปู่ขาว อนาลโยว่า
เช้าวันหนึ่งมีโยมพาหลานวัย ๓ ขวบมาถวายอาหารให้ท่าน
เด็กเห็นเงาะในฝาบาตรของหลวงปู่ ก็อยากกิน
หลวงปู่รู้ว่าเด็กคิดอะไรอยู่ จึงเรียกมานั่งใกล้ ๆ แล้วถามว่า อยากกินเงาะไหม
เด็กตอบว่า อยากกิน หลวงปู่จึงบอกว่า มาแลกกัน

ถ้าหนูนั่งสมาธิให้หลวงปู่เห็น หลวงปู่จะให้เงาะทั้งฝาบาตรเลย
เด็กถามว่า นั่งสมาธิทำอย่างไร หลวงปู่แนะนำว่า
ให้นั่งขัดสมาธิ ขวาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย
พร้อมกับหลับตาและภาวนาไปด้วย เด็กถามต่อว่า ภาวนาทำอย่างไร
หลวงปู่แนะนำเป็นภาษาอีสานว่า “ให้ภาวนาว่า หมากเงาะ หมากเงาะ”

ด้วยความอยากกินเงาะ เด็กจึงนั่งสมาธิ และภาวนาว่า “หมากเงาะ ๆ ๆ”
ทีแรกเด็กภาวนาพลางเลียริมฝีปากไปพลางเพราะอยากกินเงาะมาก
แต่ไม่นานจิตก็เป็นสมาธิ รู้สึกสบาย สงบ เหมือนอยู่อีกโลกหนึ่ง
มาลืมตาอีกทีก็เมื่อได้ยินเสียงระฆังดังขึ้น

เห็นแต่หลวงปู่นั่งสมาธิอยู่ไม่มีใครในศาลาเลย ผู้คนหายไปหมด
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะตอนนั้นเป็นเวลาบ่ายสามโมงแล้ว
เสียงระฆังดังขึ้นเพื่อเรียกพระเณรมากวาดลานวัด
แสดงว่าเด็กนั่งสมาธิเป็นเวลานานถึง ๘ ชั่วโมง

เด็กอยากกินเงาะก็จริง แต่หลวงปู่ก็รู้ว่าความอยากนั้น
สามารถส่งเสริมให้เกิดสมาธิได้หากใช้ให้เป็น
เด็กไม่จำเป็นต้องลดละความอยากเสียก่อนจึงจะภาวนาได้
ขณะเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องภาวนาว่า “พุท-โธ”อย่างที่นิยมทำกันก็ได้
ภาวนาว่า “หมากเงาะ”ก็ใช้ได้เช่นกัน

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ก็มีประสบการณ์คล้ายกัน
มีพระบวชใหม่รูปหนึ่งทำสมาธิภาวนาไม่ได้เลย
หลับตาทีไรก็เห็นหน้าแฟนทุกที เมื่อหลวงพ่อทราบปัญหาของเขา

แทนที่จะแนะนำให้เขากดข่มหรือเลิกคิดถึงแฟน
ก็ให้เขาภาวนาโดยนึกถึงชื่อของแฟนอยู่ตลอดเวลา
หายใจเข้าก็บริกรรมชื่อแฟน หายใจออกก็บริกรรมชื่อแฟน
ในที่สุดจิตของเขาก็สงบ จิตเป็นสมาธิ

ตัณหานั้นถ้าใช้ให้เป็นก็มีประโยชน์
ในสมัยพุทธกาลมีหลายท่านที่บรรลุธรรม
ก็เพราะมีตัณหาเป็นแรงผลักดันให้เข้าหาธรรม
บางท่านมาฟังธรรมจากพระพุทธองค์เพราะเห็นแก่ค่าจ้างจากพ่อ
(บุตรชายอนาถบิณฑิกเศรษฐี)
 
บางท่านบำเพ็ญสมณธรรม
เพราะอยากเห็นนางฟ้าที่งดงามยิ่งกว่าคู่หมั้นของตน (พระนันทะ)
บางท่านตัดสินใจบวชต่อเมื่อนึกถึงความยากลำบาก
หากสึกไปเป็นฆราวาส (พระนังคลกูฏะ)

แม้ไม่มีศรัทธาในศาสนา สงสัยว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่
หรือถึงจะยังมีกิเลสมากมาย
สิ่งเหล่านี้หาได้เป็นสิ่งกีดขวางหนทางสู่การปฏิบัติธรรม
หรือการทำความดีไม่

ใช่แต่เท่านั้น หากรู้จักใช้ มันกลับจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติธรรม
หรือส่งเสริมการทำความดีด้วยซ้ำ
ครูบาอาจารย์ที่ฉลาดย่อมไม่เกี่ยงงอนหรือเรียกร้องให้เขาละทิ้ง
สิ่งเหล่านั้นเสียก่อน
ถึงค่อยแนะนำธรรมแก่เขา เพราะไม่ว่าเริ่มจากจุดไหน
ก็สามารถก้าวหน้าบนเส้นทางธรรมได้ทั้งนั้น

จะว่าไปแล้ว ไม่ว่าอะไรที่เกิดกับเรา
ล้วนมีส่วนช่วยบ่มเพาะธรรมในใจเราให้งอกงามได้ทั้งสิ้น
ไม่เว้นแม้แต่ความทุกข์ ความเจ็บป่วยหรือเคราะห์กรรมทั้งปวง
ความทุกข์นั้นมีประโยชน์เสมออย่างน้อย ๓ประการคือ

๑. สอนใจเรา (เช่น สอนเรื่องความไม่เที่ยง ชี้ให้เห็นโทษของ
โลภะ โทสะ โมหะ
หรือสอนว่าสรรเสริญกับนินทาเป็นของคู่กัน)
 
๒. เตือนใจเรา (ให้ไม่ประมาท ไม่เพลินในโลกธรรม)
๓.ฝึกใจเรา (ให้มีความอดทน รู้จักปล่อยวาง รู้จักให้อภัย หรือมีสติอยู่เสมอ)

แม้แต่เมตตากรุณาก็สามารถบ่มเพาะให้งอกงามได้โดย
อาศัยความเจ็บป่วย วิธีการอย่างหนึ่งที่ครูบาอาจารย์ธิเบตแนะนำแก่ผู้ป่วย
ก็คือ ให้ถือว่าตนกำลังรับเอาโรคภัยไข้เจ็บและความทุกข์
ของสรรพสัตว์มาไว้ที่ตัวเอง

เพื่อสรรพสัตว์จะได้บรรเทาจากความทุกข์
ขณะเดียวกันก็เพื่อทำลายความเห็นแก่ตัวในใจตน
การน้อมใจดังกล่าวทำให้จิตเกิดเมตตากรุณา
คิดถึงตนเองน้อยลง และนึกถึงผู้อื่นมากขึ้น
อานิสงส์จากเมตตากรุณาดังกล่าวทำให้ความทุกข์ใจมีน้อยลง
ในหลายกรณียังสามารถเยียวยาร่างกายให้บรรเทา
หรือหายเจ็บป่วยด้วยซ้ำ

ในการชักนำผู้คนสู่ธรรมหรือความดี สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การยอมรับเขา
อย่างที่เขาเป็น
มิใช่ยึดติดอยู่กับสิ่งที่เขาควรเป็น แทนที่จะมองว่าเขายังขาดอะไรอยู่บ้าง
ควรมองว่าเขามีอะไรอยู่บ้าง หรือพร้อมจะทำอะไรได้บ้าง
แล้วใช้สิ่งนั้นเป็นสื่อพาเขาเข้าหาธรรมหรือความดีที่สูงขึ้นไปเป็นลำดับ
โดยไม่ควรให้พิธีกรรมหรือสูตรสำเร็จของคนดีเป็นอุปสรรค

ความดีนั้นทำได้ง่าย แต่เป็นเพราะผู้สอนนั้นติดยึดในรูปแบบ หรือสูตรสำเร็จ
จึงทำให้ผู้คนจำนวนมากรู้สึกว่าความดีทำได้ยาก
จึงเบือนหน้าหนีจากความดีไปอย่างน่าเสียดาย



ที่มา... มติชนรายวัน วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
http://www.visalo.org/article/matichon255309.htm

ขอบพระคุณที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=34603
Pics by : Google

: อกาลิโกโฮม
: ใต้ร่มธรรมดอทเน็ท

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ
บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7871


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 2.0.157.2 Chrome 2.0.157.2


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2553 11:24:54 »

อ้างถึง

อย่างไรก็ตามอีกปัจจัยหนึ่ง แม้ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุด แต่ก็มีอิทธิพลไม่น้อย
นั่นคือ วิธีการสอนศีลธรรม ที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อย
โดยเฉพาะเยาวชนรู้สึกว่าการทำดีนั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก


ใช่เลยครับ ข้อนี้ต้องยอมรับจริง ๆ ว่าการสอนผิด ๆ ทำให้เด็กคิดผิด ๆ

เมื่อคิดผิด ๆ แต่เด็ก ก็จะส่งผลต่อความคิดตอนโต

ห่างวัด ห่างการทำดี ห่างการช่วยเหลือผู้ด้อยกว่า เพราะมองเป็นเรื่องยาก


 เคี้ยว เคี้ยว เคี้ยว
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ยากตรงที่ไม่ทำ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความสุขที่ใครๆ ต่างไข่คว้า : พระไพศาล วิสาโล
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
มดเอ๊ก 2 2923 กระทู้ล่าสุด 21 ธันวาคม 2553 00:25:45
โดย wondermay
จิตวิวัฒน์ : คำสอนสุดท้ายของหลวงพ่อคูณ โดย พระไพศาล วิสาโล
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 1456 กระทู้ล่าสุด 29 มิถุนายน 2559 20:25:12
โดย มดเอ๊ก
พระไพศาล วิสาโล ภิกษุแห่งสันติวิธี
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2934 กระทู้ล่าสุด 25 กรกฎาคม 2559 12:59:17
โดย มดเอ๊ก
ความสงบอันประเสริฐ โดย พระไพศาล วิสาโล
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
มดเอ๊ก 0 1515 กระทู้ล่าสุด 25 กรกฎาคม 2559 13:17:23
โดย มดเอ๊ก
พุทธปัญญาภิรมย์ : ฉลาดทำบุญ ( พระไพศาล วิสาโล )
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
มดเอ๊ก 0 1463 กระทู้ล่าสุด 30 กรกฎาคม 2559 21:07:18
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.513 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 20 พฤศจิกายน 2567 17:37:47