[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
05 ธันวาคม 2567 09:05:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์  (อ่าน 12552 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5774


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 สิงหาคม 2557 20:22:40 »

.

วัดพระแท่นศิลาอาสน์
ที่ประดิษฐาน "พระแท่นศิลาอาสน์" ปูชนียวัตถุสถานสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
อำเภอลับแล  จังหวัดอุตรดิตถ์

เมืองลับแล
เมืองลับแล (อำเภอลับแล) มีเมืองเก่าอยู่ ๒ เมือง คือ เมืองทุ่งยั้งตั้งอยู่ริน้ำยกเก่า จากการสันนิษฐานในด้านประวัติศาสตร์ของกรมศิลปากร เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาติละว้าเพราะขุดพบกลองมโหระทึกและพร้าสัมฤทธิ์ได้ในบริเวณนี้ ต่อมาได้มีพวกไทยอพยพมาทางใต้ ก่อนสมัยกรุงสุโขทัยเข้ามาอยู่แทน และในสมัยสุโขทัยเมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองหน้าด่านชั้นนอกของเมืองสุโขทัย โดยขึ้นอยู่กับเมืองเชลียง อีกเมืองหนึ่งคือเมืองลับแล ตั้งขึ้นในสมัยอยุธยาเดิมเป็นตำบลที่ชาวเมืองเหนือหนีความเดือดร้อนอพยพมาอยู่กัน ภายหลังได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองเรียกว่าเมืองลับแล

มูลเหตุที่เรียกกันว่า เมืองลับแล เนื่องจากสภาพภูมิประเทศประกอบด้วยดงทึบ มีภูเขาและเนินดินสูงๆ ต่ำๆ สลับซับซ้อนอยู่โดยรอบ อยู่ในหุบเขายากแก่การเข้าออก ท้องที่มีลำห้วยลำธารไหลผ่านช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นในการประกอบอาชีพทางเรือกสวน ไร่ นา จึงปรากฏว่าอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและผลไม้นานาชนิด โดยมากผู้ที่เข้าไปอยู่ไม่ค่อยอยากจากไปด้วยความพึงพอใจของธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า ลับแล


วัดพระแท่นศิลาอาสน์
วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ  ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

พระแท่นศิลาอาสน์เป็นพุทธเจดีย์ เช่นเดียวกับพระแท่นดงรัง เป็นที่เชื่อกันมาแต่โบราณว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งห้าพระองค์ในภัทรกัปนี้ ได้เสด็จมาประทับนั่งบนพระแท่นแห่งนี้ เพื่อเจริญภาวนา และได้ประทับยับยั้งในเวลาที่ตรัสรู้แล้ว เพื่อโปรดสัตว์ ซึ่งแสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์นี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างต่อเนื่องในพระพุทธศาสนามายาวนาน ตัวพระแท่นเป็นศิลาแลง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๘ ฟุต ยาวประมาณ ๑๐ ฟุต สูง ๓ ฟุต ที่ฐานพระแท่นประดับด้วยลายกลีบบัวโดยรอบ มีพระมณฑป ศิลปะเชียงแสนครอบ อยู่ภายในพระวิหารวัดพระแท่นศิลาอาสน์

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า พระแท่นศิลาอาสน์อาจมีมาก่อนแล้วช้านาน ก่อนที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา เสด็จไปบูชา เพราะพระแท่นศิลาอาสน์อยู่ริมเมืองทุ่งยั้งซึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งสมัยอาณาจักรเชียงแสนก่อนสุโขทัย และบางทีชื่อทุ่งยั้งนั้นเอง จะเป็นนิมิตให้เกิดมีพระแท่น เป็นที่พระพุทธเจ้าประทับยับยั้ง เมื่อเสด็จผ่านมาทางนั้น ในทางตำนานมีคติที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จยังประเทศต่างๆ ภายนอกอินเดียด้วยอิทธิฤทธิ์ฌานสมาบัติ และได้ประดิษฐานเจดีย์ หรือตรัสพยากรณ์อะไรไว้ในประเทศเหล่านั้น เป็นคติที่เกิดในลังกาทวีป และประเทศอื่นได้รับเอาไปเชื่อถือด้วย จึงเกิดมีเจดีย์วัตถุและพุทธพยาการณ์ ที่อ้างว่าพระพุทธองค์ได้ทรงประดิษฐานเจดีย์ไว้ มากบ้าง น้อยบ้างทุกประเทศ เฉพาะเมืองไทย มีปรากฏในพงศาวดารโดยลำดับมาว่า พบรอยพระพุทธบาท ณ ไหล่เขาสุวรรณบรรพต เมื่อรัชกาลพระเจ้าทรงธรรม รัชกาลพระเจ้าเสือได้เสด็จไปบูชาพระพุทธฉาย ณ เขาปัถวี และพระเจ้าบรมโกศ เสด็จไปบูชาพระแท่นศิลาอาสน์

มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า นายช่างที่สร้างวิหาร วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝาง และวัดสุทัศน์ เป็นนายช่างคนเดียวกัน บานประตูเก่าของพระวิหารเป็นไม้แกะสลักฝีมือดี แกะไม้ออกมาเด่น เป็นลายซ้อนกันหลายชั้น แม่ลายเป็นก้านขด ปลายเป็นรูปภาพต่าง ๆ เป็นลายเดียวกับลายบานมุขที่วิหารพระพุทธชินราช อาจสร้างแต่ครั้งพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านนา เคียงคู่กับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยนั้น

ต่อมาพระเจ้าบรมโกศมีพระราชศรัทธา ให้ทำประตูมุขตามลายเดิมถวายแทน แล้วโปรดให้เอาบานเดิมนั้นไปใช้เป็นบานวิหารวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ประตูวิหารเก่าบานดังกล่าวได้ถูกไฟไหม้ไปเมื่อ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๑  ไฟป่าลุกลามไหม้เข้ามาถึงวัด ไฟไหม้ครั้งนั้น เหลือกุฏิซึ่งประดิษฐานหลวงพ่อธรรมจักรอยู่เพียงหลังเดียว ต่อมาพระยาวโรดมภักดีศรีอุตรดิตถ์นคร (อั้น หงษนันท์) เจ้าเมืองอุตรดิตถ์ ได้เรี่ยไรเงินสร้างและซ่อมแซมวิหาร ภายในวิหารมีซุ้มมณฑปครอบพระแท่นศิลาอาสน์ไว้
...วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี






 

ตำนานพระแท่นศิลาอาสน์
ตำนานพระแท่นศิลาอาสน์ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์แน่ชัด
ว่าค้นพบหรือสร้างในสมัยใด ใครเป็นผู้ค้นพบหรือผู้สร้าง
เพียงแต่มีผู้ตั้งข้อสันนิษฐาน โดยเล่ากันอย่างพิสดารไว้เท่านั้น
โอกาสนี้ จึงขอเสนออีกหนึ่งตำนานความเป็นมาของพระแท่นศิลาอาสน์
จากบันทึกประกอบภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่
ติดไว้เกือบชนเพดานวิหารพระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งมีทั้งหมดจำนวน ๑๕ ภาพ
.....คัดได้ดังนี้....



๑.  เมืองกัมโพชนคร ยังมีหมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่งซึ่งอยู่นอกเมืองมาก ชาวบ้านมีอาชีพทำไร่ทำนา หาของป่าและล่าสัตว์เพื่อยังชีพ ซึ่งนำของที่ได้มาขายแลกเปลี่ยนที่เมืองกัมโพชนคร  

๒. วันหนึ่ง นายพรานหนุ่มออกจากบ้านเดินทางเข้าป่าพร้อมอาวุธคู่มือเพื่อไปล่าสัตว์  นายพรานได้ลัดเลาะไปจนถึงเขาซอก รอนแรมไปค่ำไหนนอนนั่นจนกว่าจะล่าสัตว์ได้ แต่เขาก็ไม่ได้พบอะไรเลย และแล้วเขาได้ลุล่วงไปในบริเวณสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์

๓. เมื่อเวลาพลบค่ำ นายพรานจึงหาที่หลับนอน เขาได้เอาเครื่องมือล่าสัตว์วางลงบนแท่นศิลาแลง ส่วนตนเองนอนใกล้แท่นศิลาแลงแห่งนั้น ได้นิมิตฝันว่ามีอารักขเทวดาบอกว่า สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ พรานป่าไม่ควรเอาเครื่องมือล่าสัตว์วางแท่นนี้

๔. นายพรานตื่นขึ้นมาระลึกถึงนิมิตฝัน ก็มิได้คิดอะไรมาก เพราะความเคยชินที่ไม่กลัวต่อผีสางนางไม้นอนต่อไป อารักขเทวดาจึงปรากฏกายประจักษ์ให้เห็น และขับไล่ไปให้พ้นจากสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้

๕. นายพรานจึงรีบเดินทางออกจากสถานที่นั้นเพื่อกลับบ้าน และได้พบฤๅษีตนหนึ่ง เขาดีใจมาก ได้เล่าเรื่องความฝันที่รุกขเทวดามาขับไล่ตนให้ฤๅษีฟัง  ฤๅษีจึงขอให้นายพรานพาไปดูยังสถานที่ ที่ได้พบแท่นศิลาแลงแท่งนั้น

๖. ฤๅษีได้พบแท่นศิลาแลงมีลักษณะสีเลื่อมมันเกลี้ยง จึงรู้ได้ปัญญาญาณว่า สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ ได้เคยเสด็จมาบำเพ็ญเพียรบารมีครั้งยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์คือพระกกุสันโธ พระนาคะมโน พระกัสสะโป พระโคนาโม และพระเมตเตยโย

๗. ฤๅษีพร้อมด้วยนานพราน จึงเดินทางเข้าแจ้งแต่เจ้าธรรมกุมาร เจ้าเมืองกัมโพชนคร (เมืองทุ่งยั้ง) ที่ตนได้พบพระแท่นศิลาอาสน์อันศักดิ์สิทธิ์ เจ้าธรรมกุมารทรงดีพระทัยยิ่งนักใคร่จะไปนมัสการพระแท่นแห่งนั้น

๘. เจ้าธรรมกุมารพร้อมด้วยอำมาตย์ราชเสนาตามเสด็จ ออกนอกเมืองกัมโพชนครสู่บริเวณเขาซอกเพื่อทอดพระเนตรพระแทนศิลาอาสน์อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนั้น

๙. เมื่อเจ้าธรรมกุมารและอำมาตย์ราชเสนามาถึง เจ้าธรรมกุมารทรงทอดพระเนตรพระแท่นศิลาอาสน์ เห็นจริงดังฤๅษีบอกพร้อมกับทำการนมัสการ และทรงตรัสว่า “เป็นลาภอันประเสริฐแต่เมืองเราแล้ว”

๑๐. เจ้าธรรมกุมารเสด็จกลับสู่พระนครแล้ว จึงได้ให้ราชเสนานำใบบอกแจ้งแต่พระราชบิดาแห่งเมืองเชลียง เพื่อทูลขอพระราชทานสร้างมณฑปวิหารพระแท่นศิลาอาสน์แห่งเมืองกัมโพชนคร

๑๑. เจ้าธรรมกุมารให้เสนาผู้ใหญ่เชิญฤๅษีทั้ง ๕ พราหมณ์ทั้ง ๔ และอำมาตย์ท้าวพระยาทั้งหลายมาประชุมหารือ เรื่องสร้างมณฑปพระแท่น สร้างวิหารอันใหญ่อันรามครอบมณฑปพระแท่นศิลาอาสน์ในครั้งนี้

๑๒. เจ้าธรรมกุมารพร้อมด้วยฤๅษีทั้ง ๕ พราหมณ์ทั้ง ๔ ปู่ครูทั้งหลาย ยกพลเสนามาทำการก่อสร้างมณฑป และวิหารพระแท่นนานนับปีจึงแล้วเสร็จ

๑๓. เมื่อได้ฤกษ์ยามดีพร้อมแล้ว เจ้าธรรมกุมารจึงทรงทำพิธีเปิดงานนมัสการพระท่านศิลาอาสน์ (สมโภชเฉลิมฉลอง) อันโอฬารยิ่งนัก

๑๔. หมู่เหล่าอำมาตย์ราชเสนา ไพร่ฟ้าประชาชนทั้งหลาย ต่างทำการสมโภชเฉลิมฉลองไหว้พระแท่นศิลาอาสน์ มีมหรสพการแสดง ซื้อขายเปลี่ยนสินค้า ๓ วัน ๓ คืน คือ วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปีแต่นั้นสืบมา

๑๕. พระครูถาวรธรรมโกวิทเจ้าอาวาสวัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง ได้ขยายวันนมัสการเพิ่มขึ้นนับแต่ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๓ ถึงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ รวมเป็น ๑๐ วัน ๑๐ คืน และวัน ๑๕ ค่ำ เป็นวันมาฆะบูชาจัดให้มีการเวียนเทียนรอบวิหารพร้อมพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย














พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ ประดิษฐานในวัดพระแท่นศิลาอาสน์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๔


พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๖ ประดิษฐานในวัดพระแท่นศิลาอาสน์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)  
ขณะทรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร
ทรงเสด็จยกช่อฟ้า วิหารพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒
(ไฟไหม้วิหารวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๑)


ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์ คือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดพระแท่นศิลาอาสน์
ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์มีไม้ดอกไม้ประดับ สวนสมุนไพร และรถพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่
ชั้นล่างจัดแสดงภาพเขียนภาพถ่ายในอดีตของวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ชุดผ้าไทยโบราณ 
ชั้นสองจัดแสดงพระพุทธรูปเก่าแก่ พระพุทธรูปที่แกะสลักจากไม้ รวมทั้งเครื่องมือใช้สอย
ในชีวิตประจำวันของชาวบ้านในชุมชน เช่น เครื่องมือจับสัตว์น้ำแบบโบราณ เครื่องถ้วยชาม หม้อ 
เครื่องจักสาน อุปกรณ์ทำมาหากิน และการละเล่นต่างๆ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กันยายน 2558 12:25:08 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.38 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 19 พฤศจิกายน 2567 10:28:57