จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา จิตนั้นเป็นสุญญตา หรืออนัตตาธรรม ซึ่งเป็นของว่าง
ในความว่างที่เป็นสุญญตา จิตไม่บริสุทธิ์และจิตบริสุทธิ์จะสร้างอายตนะหรือขันธ์แตกต่างกัน
(1.) อายตนะหรือขันธ์ ที่จิตซึ่งว่างเข้าไปอยู่ ถ้าเกิดจากจิตที่มีกิเลสตัณหา(จิตสังขาร) อายตนะหรือขันธ์นั้น จะไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ มีสภาพเป็นอนิจจัง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป (เกิด แก่ เจ็บ ตาย)
= อนัตตา (2.) อายตนะหรือขันธ์ ที่จิตซึ่งว่างเข้าไปอยู่ ถ้าเกิดจากจิตที่ไม่มีกิเลส ไม่มีตัณหา อายตนะหรือขันธ์นั้น จะเที่ยง และไม่เป็นทุกข์ ไม่มีสภาพเป็นอนิจจัง คือ เป็นนิจจังแทน ไม่เกิดขึ้น ไม่ตั้งอยู่ และไม่ดับไป (ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย) =
อัตตา จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนเพื่อให้ทิ้ง จิตที่มีกิเลส ตัณหา ที่สร้างขันธ์หรืออายตนะ ที่ไม่เที่ยง และเป็นทุกข์ มีสภาพเป็นอนิจจัง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป (เกิด แก่ เจ็บ ตาย)
= อนัตตา จุดมุ่งหมายที่ต้องทิ้งจิตไม่บริสุทธิ์ ก็เพื่อจะได้ จิตที่ไม่มีกิเลส ไม่มีตัณหา ที่สร้างขันธ์หรืออายตนะ ที่เที่ยง และไม่เป็นทุกข์ ไม่มีสภาพเป็นอนิจจัง คือ เป็นนิจจัง ไม่เกิดขึ้น ไม่ตั้งอยู่ และดับไป (ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย)
= อัตตา