[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 04:57:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมา ของพระไตรปิฎก  (อ่าน 3732 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 20 มีนาคม 2553 19:34:23 »




ความเป็นมา ของพระไตรปิฎก (๓)

ในเทศนาเรื่อง "เพชรในพระไตรปิฎก" พุทธทาสภิกขุ มองเห็นว่าในพระไตรปิฎกยังมีส่วนที่มิใช่พุทธพจน์อีกมาก ถ้าคิดเทียบเปอร์เซ็นต์ของส่วนที่ควรตัดออก

สำหรับนักศึกษาทั่วไปควรตัดออก ๓๐ เปอร์เซ็นต์ เหลืออยู่ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ สำหรับนักวิทยาศาสตร์ นักศึกษาโบราณคดี ครูบาอาจารย์ชั้นเลิศแล้ว ควรตัดออกได้อีก ๓๐ เปอร์เซ็นต์ เหลือ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่ควรตัดออกคือเรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์ เช่น เรื่องราหูจับอาทิตย์ ราหูจับจันทร์ ข้อความที่เป็นไปในลักษณะสัสสตทิฐิ เป็นตัว เป็นตน เป็นคนคนเดียวเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นลักษณะทิฐินอกพุทธศาสนาและในขั้นสุดท้ายพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมดควรตัดออกด้วย

"ที่นี้ที่เหลือ ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ก็มาเลือกเฟ้นได้โดยง่าย พบเครื่องขุดเพชรแล้วก็ขุดเพชร พบเพชรที่เรียกว่าหัวใจของพระไตรปิฎก คือ เพชรเม็ดเดียว ได้แก่ หลักคำสอนและวิธีการปฏิบัติและผลของการปฏิบัติที่ว่า "สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"

สำหรับพุทธทาสภิกขุ เครื่องชี้บ่งว่าเป็นพุทธพจน์หรือไม่ของพระไตรปิฎก มิได้อยู่ที่ "ข้อความ" นั้นๆ เป็น "คำพูด" ของพระพุทธเจ้าหรือไม่ หากอยู่ที่ "สาระ" ของคำสอนนั้นๆ เป็นหลักปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ได้จริงหรือไม่

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 มีนาคม 2553 19:40:06 »


การถ่ายทอดพระไตรปิฎก

ดังที่ทราบกันแล้วว่า สมัยพระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ เมื่อพระองค์เสด็จไปแสดงธรรมที่ไหน หรือทรงบัญญัติพระวินัยข้อไหน เมื่อใดสาวกที่ได้ยินได้ฟังก็ช่วยกันจดจำไว้ แล้วถ่ายทอดให้ศิษย์ด้วยวาจา เพราะสมัยนั้นยังไม่มีการจารคำสอนลงเป็นลายลักษณ์อักษร

เคยมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า สมัยพุทธกาลคนยังไม่รู้จักการเขียนหนังสือหรืออย่างไร จึงไม่ปรากฏว่ามีตำรับตำราจารึกไว้เป็นหลักฐาน แม้บริขารของพระภิกษุก็ไม่ระบุหนังสือไว้ด้วย

พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณฺณวณฺโณ แสดงทรรศนะไว้ในหนังสือ ภาษาศาสตร์ อะไรคือ บาลี ว่า

ความจริง การเขียนหนังสือน่าจะมีมาก่อนพุทธกาลแล้ว ในพระไตรปิฎกเอง ก็มีข้อความเอ่ยถึงการขีดเขียนเป็นครั้งคราว เช่น ตอนหนึ่ง ห้ามภิกษุเล่นเกม "อักขริกา" (ซึ่งพระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ได้แก่ การเล่นทายอักษรในอากาศหรือบนหลังของเพื่อนภิกษุ) วิชาเขียนหนังสือ (เลขา) ได้รับยกย่องว่าเป็นศิลปะพิเศษอย่างหนึ่ง สิกขาบทบางข้อห้ามภิกษุณีเรียนศิลปะทางโลก หนึ่งในศิลปะเหล่านี้มีวิชาเขียนหนังสือด้วยในบทสนทนาภายในครอบครัว พ่อปรารภว่าจะให้บุตรเรียนวิชาอะไรดี ถ้าจะให้เรียนเขียนหนังสือบุตรอาจยังชีพอยู่ได้สบาย แต่อาจเจ็บนิ้วมือ (เพราะเขียนหนังสือ) ถ้าภิกษุเขียนหนังสือพรรณนาคุณของอัตวินิบาตกรรม ปรับอาบัติทุกกฎทุกตัวอักษร ถ้ามีผู้อ่านพบข้อความนั้นเข้าเห็นดีเห็นงามด้วยแล้ว ฆ่าตัวตายตามนั้นปรับอาบัติปาราชิก หลักฐานเหล่านี้แสดงว่า อักษรหรือการเขียนหนังสือมีมาก่อนสมัยพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ที่พระพุทธองค์ไม่นิยมใช้หันมาใช้วิธีมุขปาฐะแทนน่าจะทรงเห็นประโยชน์อานิสงส์บางสิ่งบางอย่างกระมัง หรือว่าระบบการขีดเขียนยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร ทั้งยังไม่มีอุปกรณ์การขีดเขียนเพียงพอก็ยากจะทราบได้

แต่ที่น่าคิดอยู่อย่างหนึ่ง วิธีเรียนด้วยมุขปาฐะนี้ นอกจากจะสร้างสัมพันธภาพอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนแล้ว ยังเป็นการสร้างสมาธิฝึกจิตของผู้เรียนไปในตัวด้วย นักปราชญ์ยุคก่อนมีความคิดเช่นนี้ก็มีไม่น้อย เปลโตเคยกล่าวไว้ว่า "การคิดอักษรขึ้นใช้แทนการท่องจำทำให้มนุษย์ขาดอานุภาพแห่งความทรงจำ คือ แทนที่จะจดจำจากอินทรีย์ภายใน ต้องอาศัยสัญลักษณ์ภายนอกเข้าช่วย
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 มีนาคม 2553 19:50:08 »


ในพระสูตรหลายแห่ง เช่น อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต บอกวิธีศึกษาเล่าเรียนเพื่อให้การถ่ายทอดคำสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพไว้ ๕ ประการ คือ

๑. พหุสฺสุตา ต้องฟังให้มาก หาโอกาสสดับตรับฟังเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ให้มาก

๒. ธตา ฟังแล้วพยายามจำให้ได้ จับหลักหรือสาระได้ ทรงจำไว้แม่นยำ

๓. วจสา ปริจิตา ท่องบ่นสาธยายจนคล่องปาก

๔. มนสานุเปกฺขิตา เพ่งพินิจพิจารณาความหมายด้วยใจ จนนึกครั้งใดก็ปรากฏเนื้อความสว่างชัด

๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบให้แตก คือ ทำความเข้าใจลึกซึ้ง มองเห็นประจักษ์ด้วยปัญญา ทั้งแง่ความหมายและเหตุผล


วิธีการทั้ง ๕ นี้ เอื้ออำนวยให้ระบบการถ่ายทอดหลักคำสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสืบทอดต่อๆ กันมาเป็นเวลานานหลังจากพุทธปรินิพพาน เนื่องจากคำสอนของพระพุทธองค์มีมากมายเกินความสามารถของปัจเจกบุคคลคนเดียวจะจดจำได้หมด จึงได้มีการแบ่งหน้าที่กันในหมู่สงฆ์ ให้บางรูปที่เชี่ยวชาญทางพระวินัยรับผิดชอบท่องจำพระวินัย เรียกว่า วินัยธร ให้บางรูปรับหน้าที่ท่องจำพระสูตร เรียกว่า ธัมมธร แม้พระสูตรก็แบ่งหน้าที่ท่องจำเป็นส่วนๆ เช่น ทีฆภาณกะ (ผู้ท่องจำสูตรขนาดยาว) มัชฌิมภาณกะ (ผู้ท่องจำสูตรขนาดกลาง) เป็นต้น ระยะต้นๆ ก็เป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ต่อมาได้ขยายจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ละกลุ่มก็มีศิษย์ศึกษาเล่าเรียนอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก เมื่อพระธรรมวินัยได้รับการจัดแบ่งเป็น ๓ ปิฎกแล้ว การท่องจำพุทธวจนะได้พัฒนาเป็นระบบยิ่งขึ้น ถึงกับ (เชื่อว่า) มี "อาจริยปรัมปรา" หรือ "สำนัก" สืบทอดคำสอน มี ๓ สำนักด้วยกัน แต่ละสำนักล้วนอ้างว่าสืบทอดกันมายาวนาน ดังนี้ คือ

๑. สำนักพระวินัยปิฎก สืบทอดมาแต่พระอุบาลีเถระ

๒. สำนักพระสุตตันตปิฎก สืบทอดมาแต่พระอานนทเถระ

๓. สำนักพระอภิธรรมปิฎก สืบทอดมาแต่พระสารีบุตรเถระ

พระไตรปิฎกได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมา ด้วยวิธี มุขปาฐะ หรือการท่องจำอย่างเป็นระบบ จนได้รับการจารลงเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๕ ในรัชสมัยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย ประเทศลังกา ระบบมุขปาฐะจึงได้เพลาความเข้มลง แต่ก็ยังถือปฏิบัติอยู่บ้างในบางประเทศ เช่น ไทย และพม่า มาจนบัดนี้



 ยิ้ม  http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=saradee&month=01-2010&date=17&group=6&gblog=31
อนุโมทนาสาธุค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 มีนาคม 2553 19:53:35 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ย้ายแล้ว: ความเป็นมา ของพระไตรปิฎก
บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 0 1853 กระทู้ล่าสุด 03 เมษายน 2553 10:11:45
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ความเป็นมา ‘สังฆราช’ แห่งสยาม
สุขใจ ห้องสมุด
Maintenence 0 1453 กระทู้ล่าสุด 08 กุมภาพันธ์ 2560 14:44:11
โดย Maintenence
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.293 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 12 ตุลาคม 2567 07:01:55