[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 ธันวาคม 2567 21:54:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Pessimism หรือ Optimism  (อ่าน 5374 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 23 มีนาคม 2553 18:21:14 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
Pessimism หรือ Optimism

<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/24.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/24.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/24.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>


............................พุทธศาสนา เป็นPessimism หรือ Optimism.................................



พุทธศาสนา ไม่ใช่ทั้ง Pessimism (ลัทธิเห็นสิ่งทั้งปวงเป็นไปในแง่ร้าย) และ Optimism (เห็นเป็นไปในแง่ดี) เพราะ
Pessimism และ Optimism เป็นลัทธิ ที่ดิ่งลงไป จนถึงที่สุด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทั้งสองอย่าง ส่วนพุทธศาสนา สั่งสอนสัจธรรม อันเดินไปตาม สายกลาง Pessimism นั้นจัดได้ว่าเป็นมูลแห่ง อัตตกิลมถานุโยค Optimism ก็เป็นทางมาแห่ง กามสุขัลลิกานุโยค ทั้งสองลัทธินั้นไม่กล่าวถึง
การแก้ไขให้ความ เป็นเช่นนั้น ๆ กลายเป็นตรงกันข้าม กับที่เป็นอยู่หรือที่เป็นมาแล้วได้ ส่วนพุทธศาสนา สอนให้ดูโลกในแง่ของ Pessimism ก่อนแล้ว และสอน หนทางแก้ไข ให้มันกลายเป็นดีไป ซึ่งเป็นอันว่า ไม่ปัด Optimism เสียทีเดียว พุทธศาสนาสอนว่า ชีวิตนี้ เต็มไปด้วย อาการที่ทนยากเป็น มายา เหลวไหลถูกกักขังและทรมานอยู่โดยอวิชชา ไม่ได้อย่างใจหวัง สักอย่างเดียว ทั้งส่วนร่างกายหรือส่วนจิตใจก็ตามนี่แสดงว่าคล้ายกับจะเอียงไปฝ่าย Pessimism แต่ พุทธศาสนา ไม่ได้สอน เพียงเท่านั้น ได้สอนวิธี ที่จะทำชีวิตให้ ตรงกันข้าม กับ อาการเช่นนั้นได้ด้วย คือ
อฏฐังคิกมัคค์ หรือ มัชฌิมาปฏิปทา อันมีหลักสั้น ๆ ว่า ชีวิตอาจบริสุทธิ์ และ หลุดพ้นจากการทรมานได้ ด้วยการประพฤติ อย่างถูกต้องของเราเองจนเราอาจเป็น ผู้ที่มีความเยือกเย็นใจของเราเองได้เสมอทุก ๆ
ฉากที่โลกมันจะปรวนแปรไความคิดนึกในใจ ของพุทธบริษัท ไม่ได้ถูกบังคับให้เชื่อ หรือ เห็นอยู่ในวงจำกัดดุจพวก Pessimist หรือ Optimist
เมื่อเขายังพอใจ ที่จะหมุนกลิ้งไปกับโลกอันเอิบอาบ ไปด้วยความดีใจ และเสียใจ เขาก็..............



รัก...................................อ่านและดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่นี่................................... รัก


http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=728&ss=

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มีนาคม 2553 20:16:29 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 23 มีนาคม 2553 18:37:37 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
Pessimism หรือ Optimism


มีอิสระ ที่จะทำเช่นนั้น เมื่อเขาเห็นว่า มันน่าเบื่อหน่าย เขาก็มีอิสระ และหนทาง ที่จะเอาชนะ มันเสียได้ อย่างเด็ดขาด เพราะเหตุนี้เอง พุทธศาสนาจึงมิใช่ Pessimism หรือ Optimism เลย เป็นแต่มี แง่บางแง่ ที่อาจลวงตา คนบางคน ให้เห็นเป็น Pessimism หรือ Optimism อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ เขาจะเห็น ไปในบางคราวเท่านั้น
จะมัวหัวเราะอะไรกัน บันเทิงอะไรกัน ก็เมื่อโลก อันเป็นที่อยู่อาศัย ของหมู่สัตว์นี้ มันลุกโพรงอยู่เป็นนิจ นี่เป็นพระพุทธภาษิต ชราวัคค์ ธ ขุ. ซึ่งแสดงว่าพระองค์ ก็ทรงเห็นโลก เช่นเดียวกันกับ พวก Pessimist เห็น แต่ติดต่อไปจากคำข้างต้นนั่นเอง พระองค์ ได้ตรัสสืบไปว่า พวกท่านทั้งหลาย ถูกความมืดบอด ครอบงำ หุ้มห่อ ไว้เต็มที่แล้ว ก็ยังไม่แสวงหา ประทีปเครื่องนำของตนเอง ซึ่งแสดงว่า แสงสว่าง แห่งความรอดพ้น นั้นมีอยู่ นี่เราจะเห็นได้ว่า ไม่ทรงปฏิเสธ พวก Optimist และพระองค์ เป็นพวกกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา โดยแท้
ในที่อื่นตรัสว่า สิ่งที่มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่ง ตัวมันเอง ทุก ๆ สิ่ง ไม่เที่ยงแท้ถาวร เป็นทุกข์ และทั้งสิ่งที่มี เหตุปัจจัย และไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ปรุงแต่ง ตัวมัน ทั้งสองอย่าง ไม่ใช่เป็นสิ่ง ซึ่งเป็นตัว เป็นตน หรือมีตัว มีตนอยู่ในมัน นี่แสดงว่า ทุก ๆ สิ่งในโลกนี้ เป็นพิษ แก่ผู้ที่เข้าไปยึดถือโดย
ประการทั้งปวง แต่มิได้แสดงว่า เราไม่มี หนทาง ที่จะวาง สิ่งนั้นๆ หรือเอาชนะ อยู่เหนืออิทธิพลของสิ่งนั้นได้ เพราะเหตุว่า พร้อมกันนั่นเอง พระองค์ได้ทรงสอน วิธีแห่ง โลกุตตรปฏิปทา ทางที่จะเป็น อิสระอยู่เหนือโลก ไว้อย่าง แจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งด้วย เมื่อเรามีใจหลุดพ้นแล้ว โลกก็ ไม่เป็น พิษต่อเรา เช่นนี้ เราจะมาบัญญัติว่า โลกนี้เป็นยาพิษ หรือ เป็นอาหารที่ดี ของมนุษย์ เด็ดขาด ลงไปอย่างไรได้ สุรา หรือ แอลกอฮอล์, เมื่อเราแพ้มัน ดื่มด้วย ความโง่เขลา มันก็เป็นของให้โทษ เมื่อใช้เป็นยา ด้วยความมี สติสัมปชัญญะ ก็ปรากฏว่า มันเคยช่วยชีวิตมนุษย์ไว้แล้ว มีจำนวนไม่น้อย เราจะกล่าวว่า สุราเป็นโทษ หรือ เป็นคุณ โดยส่วนเดียว อย่างใดอย่างหนึ่ง ยังมิชอบฉันใด การที่จะกล่าวว่า โลกนี้เป็น Pessimism หรือ Optimism โดยเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่ได้ฉันนั้น เรา หลงใหล ต่อโลก โลกก็เป็นพิษต่อเรา เมื่อเราเอาชนะโลกได้ มันก็เป็น เครื่องอุปกรณ์ แก่เราได้ อย่างดี เช่นเดียวกับ ช้างที่เรายังฝึกมันไม่ได้ กบเมื่อเรา ฝึก มันจนเชื่องดีแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น...............................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มีนาคม 2553 20:12:16 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 23 มีนาคม 2553 18:44:36 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
Pessimism หรือ Optimism


.................................พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการบังคับตัวเอง................................



เมื่อกล่าวสรุปให้สิ้นเชิง ในแง่แห่งการกระทำ หรือการปฏิบัติแล้ว พุทธศาสนาคือ ศาสนา แห่งการบังคับตัวเอง
มิใช่ศาสนาแห่งการอ้อนวอน พระเป็นเจ้าผู้มีอำนาจ หรือ เป็น ศาสนา แห่ง การแลกเปลี่ยน ทำนอง การค้าขาย ทำบุญ
ทำทานแลกนางฟ้าในสวรรค์ หรือ อะไรทำนองนี้แต่ประการใดเลยและเพราะความที่พุทธศาสนา เป็น ศาสนา แห่ง การบังคับตัวเอง โดยมีเหตุผล เพียงพอแก่ตนเอง จึงได้ชื่อว่าเป็น ศาสนา แห่ง เหตุผล ด้วย
พุทธศาสนา คือคำสั่งสอน อันเป็นแบบฝึกหัด บังคับตนเอง แต่ว่า ลำพังคำสั่งสอน อย่างเดียว หาใช่เป็น แก่น หรือ เป็นตัว พุทธศาสนา
อันแท้ไม่ แม้ว่าคำว่า ศาสนา จะแปลว่า คำสอน ก็ตาม ตัวศาสนาแท้ หรือ ตัวพรหมจรรย์นั้นได้แก่ การปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนนั้น ๆ
ซึ่งเรียกโดย ภาษาศาสนาว่า สีลสิกขา - จิตตสิกขา - ปัญญาสิกขา
พุทธมามกะ เป็นอันมาก เข้าใจว่า สิกขา ตรงตามรูปศัพท์ เกินไป คือ สิกขา แปลตามรูปศัพท์ ว่าการศึกษาแต่พระพุทธองค์ ตรัสไว้ เป็นหลักว่า
การศึกษาเล่าเรียน ปริยัตินั้น ไม่ใช่ สิกขา แต่การกระทำจริง ๆ ตามหลักที่เป็น การบังคับตนเอง ในส่วนที่เป็น ความ เสื่อมเสีย ทางกาย และ
วาจาเรียกว่า สีลสิกขา ในส่วนใจ เรียกว่า จิตตสิกขา และ ในส่วนที่เกี่ยวกับ ความคิดนึก เพื่อรู้สิ่งที่ชีวิต จะต้องรู้ เรียกว่า ปัญญาสิกขา
ในส่วน สีลสิกขา โดยประเภท คือ การบังคับตนให้ตั้ง หรือดำเนิน ไปด้วย กาย วาจา ตามกฏ อันเป็นระเบียบ มรรยาท หรือ จรรยาอันตนจะพึงประพฤติ ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และ ต่อวัตถุสิ่งของ อันเกี่ยวเนื่องกัน เป็นข้อบังคับตายตัว ในเบื้องต้น เรียกว่า ปาฏิโมกขสังวรสีล มีหลายพวก
เกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียม ของนักบวชก็มีเกี่ยวกับอนามัยของร่างกายก็มี เกี่ยวกับการเคารพปฏิสันถารปรนนิบัติ ฯลฯ ผู้อื่นก็มี เกี่ยวกับการรักษาสิ่งของเครื่องใช้สอยของตนหรือหมู่ก็มี และยังมีอย่างอื่นอีกซึ่งเป็นส่วนต้องรู้แล้วทำในเบื้องต้น อนุโลม ทำนองเดียวกัน ทั้งฆราวาส และบรรพชิตการควบคุม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ให้ กำเริบ ไปตาม รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันเป็นโลกธรรม เรียกว่า
อินทรียสังวรสีล การควบคุมตน ให้มีการแสวงการรับ การบริโภค ปัจจัย เครื่องอาศัย อันจำเป็น แก่ชีวิต อย่างบริสุทธิ์จากการหลอกลวงตนและผู้อื่นเรียกว่า อาชีวปาริสุทธิสีล และ การควบคุมตน ให้มีสติระลึก เพียงเพื่อยัง อัตตภาพ ให้เป็นไปในการบริโภค ปัจจัยนั้น ๆ ไม่บริโภค ด้วยตัณหา เรียกว่า ปัจจยสันนิสสิตสีล รวมเรียกว่า ปาริสุทธิศีลสี่ หรือ จตุปาริสุทธศีล เรียกภาวะแห่งการกระทำจริง ๆ ตามนี้ว่า สีลสิกขา อันได้แก่การ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มีนาคม 2553 20:12:50 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 23 มีนาคม 2553 19:02:13 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
Pessimism หรือ Optimism


บังคับตัวเองโดยตรงเป็นเหมือนถากโกลนกล่อมเกลาในขั้นต้น แต่ประสงค์เฉพาะส่วน ที่เป็นไปทางกายและวาจาเท่านั้น
ในส่วน จิตตสิกขา คือ การบังคับจิตของตน ให้อยู่ในวง ความต้องการของตนภายใน ขอบขีด ของวิสัย ที่บังคับได้ คือ ให้หยุดแล่น
ไปตามความกำหนัด พยาบาทหรือไม่ให้ง่วงซึม ฟุ้งซ่านง่อนแง่น คลอนแคลนรวมความว่าฝึกจนดีพอที่จะต้องการให้หยุดคิด
ก็หยุดให้คิดก็คิดให้คิดเฉพาะสิ่งนี้ ก็คิดเฉพาะสิ่งนี้ ด้วยกำลัง ของจิตทั้งหมดอย่างเต็มที่ โดย ไม่กลับกลอกแต่อย่างใดการพยายามฝึก
จนทำได้อย่างนี้เรียกว่า จิตตสิกขา ซึ่งเมื่อมีแล้วทำจิตให้สงบอยู่ในอำนาจได้ ต่อจากนั้นก็ใช้เป็นอุปกรณ์แก่ ปัญญาสิกขาอย่างจำเป็นยิ่ง
ในส่วน ปัญญาสิกขา คือ การควบคุมจิต ที่ฝึกจนอยู่ในอำนาจแล้วนั้นให้คิดแล้วคิดอีกจนแทงตลอดในข้อปัญหาของชีวิตหรือที่จำเป็นแก่ชีวิต
โดยย่อ คือ ปัญหาที่ว่า อะไรเป็น เหตุให้เกิดทุกข์ ทำอย่างไร จึงจะพ้นทุกข์ ทั้งนี้ เพราะเหตุว่า สิ่งทั้งปวงรวมทั้งทุกข์สุขของชีวิตเป็นเรื่องของใจ
คือ ทุกข์เพราะใจปลงไม่ตก ในสิ่งที่ตน เข้าใจผิดแล้ว หลงยึดถือไว้จะสุขได้ก็ด้วยบังคับแนวของความคิด อย่างแรงกล้าให้แล่นไปอย่างรู้แจ้ง
แทงตลอด จนปลงตก ในสิ่งที่ตน ยึดถือ ถึงกับรัก โกรธ เกลียด กลัว มัวเมา ฯลฯ นั้น ๆ เสีย โดยไม่มี ชื้อเหลือเพื่อความเป็นเช่นนั้นอีกต่อไป
การพยายามทำจนทำได้ เช่นนี้ เรียกว่า ปัญญาสิกขา ซึ่งมีบริบูรณ์ แล้วก็จบกิจแห่งพรหมจรรย์จบพรหมจรรย์ คือ จบศาสนา
ไม่มีเรื่องที่จะต้องทำอีกต่อไปนอกจากการเสวยสุขโดยนัยนี้ จะเห็นได้ว่าพุทธศาสนาคือศาสนาแห่งการ บังคับตัวเองถ้าหมายถึงคำสอนก็
คือ คำสอน แห่งการ บังคับตัวเอง ถ้าหมายถึง การทำ หรือ การปฏิบัติ ก็ คือ การกระทำ การบังคับตัวเองและเมื่อหมายถึง
ผลสุดท้ายคือปฏิเวธก็คือซึมซาบรส แห่งผลของการบังคับตัวเองอันเดียวกันนั่นเองเมื่อเรียนหรือเมื่อทำหรือ
เมื่อได้รับผล ของการทำก็มีเหตุพร้อมพอที่จะให้ตน เชื่อถือ มั่นใจตนเองได้ โดยไม่ต้องเชื่อ ตามคำผู้อื่น
จึงเป็นการบังคับตัวเองอย่างมีเหตุผล ของตนเองฃโดยตนเองเพื่อตัวเองอย่างที่เป็นอัน แน่ใจได้ว่า ไม่เป็นศาสนาแห่งความโง่เขลาถึงกับต้องการ
ล่อหลอกหรือขู่เข็ญอย่างใดแม้แต่น้อย.............................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มีนาคม 2553 20:13:14 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 23 มีนาคม 2553 19:10:27 »

http://img258.imageshack.us/img258/8182/120210.jpg
Pessimism หรือ Optimism


ลัทธิศาสนาบางลัทธิหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นจนไร้หลักแห่งการช่วยตนเองไฉนจะมีการบังคับตัวเองบางลัทธิมีการบังคับตัวเองแต่ไร้เหตุผล เพราะเป็นเพียงการนึกเอาอย่างตื้น ๆ หรือเป็นการเดาจึงเลยเถิดเป็นอัตตกิลมถานุโยคไปก็มีที่อ่อนแอเอาแต่ความสนุกสบายกลายเป็นอย่างที่เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยคก็มีจึงแปลกกับ พุทธศาสนาซึ่งมีหลักการบังคับตัวเองอย่างมีระเบียบเรียบร้อยชัดเจนมั่นคงปรากฏ เป็น ศีล สมาธิ ปัญญาหรือ
อัฏฐังคิกมรรค และมีเหตุผล พร้อมอยู่เสมอ เป็นอันกล่าวได้ว่า พุทธศาสนา คือ ศาสนา แห่งการบังคับตัวเอง ชนะตัวเอง เชื่อตัวเองพึ่งตัวเอง ฯลฯ
โดยแท้เนื้อความเท่าที่บรรยายมาแล้วนี้เป็นเพียงมุ่งให้ผู้อ่านมองเห็นจุดสำคัญอันเป็นที่สรุปรวมใจความของธรรมบรรยายอันกว้างขวางลึกซึ้งดุจมหาสมุทร เท่านั้นคือว่าเมื่อมีหลักก็ไม่ฟั่นเฝือ รู้อะไรเพิ่มเติมเข้ามาอีกเท่าไรก็ไม่งงเงอะจนไม่รู้ว่าจะจำไว้ อย่างไรไหว แต่อาจสงเคราะห์รวมเข้าชั้นเข้าเชิงของหลักธรรม ซึ่งที่แท้ ก็มีอยู่เพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา เท่านั้นเอง จึงเมื่อถ้า ยังไม่เข้าใจ ในส่วนไหนก็พึงศึกษาค้นคว้าจากเนื้อความที่ได้บรรยายในที่อื่น เฉพาะส่วนนั้นสืบไปเทอญ



.......................โดยพระธรรมโกศาจารย์ พุทธทาส อินทปัญโญ สวนโมกข์..........................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มีนาคม 2553 20:13:35 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 24 มีนาคม 2553 12:19:09 »




อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
 รัก  ยิ้ม   รัก

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.263 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 04 พฤศจิกายน 2567 06:33:30