[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 19:58:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เสาชิงช้า  (อ่าน 3085 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ขม..ค่ะึึ
สมาชิกขาประจำ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 1014


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13 Firefox 3.6.13


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2554 11:07:43 »

เสาชิงช้า

เสาชิงช้า สร้างสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2327

เชิงช้า ถือได้ว่าเป็นศิลปกรรมที่สำคัญชิ้นหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ระหว่าง ศาลาว่าการกรุงเทพฯ และ วัดสุทัศน์เทพวราราม เรียกกันสั้น ๆ ว่าเสาชิงช้า
สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ครั้งรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เป็นวัตถุสถานที่แสดงถึงคติความเชื่อในการสร้างเมือง เพื่อทำหน้าที่เป็นขวัญและกำลังใจแก่พสกนิกร
สถานที่ประกอบพิธีเพื่อความศักดิ์สิทธิ์และความมั่นคงของเมือง

เสาชิงช้าบ่งบอกถึงความเป็นชาติที่มีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอันยาวนานของไทย
อีกทั้งยังเป็นหลักฐานสำคัญแสดงถึงคติความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ ที่เข้ามาแพร่หลายอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิแต่ครั้งบรรพกาล
มีอิทธิพลต่อทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชน

ดังจะเห็นได้จากความสำคัญของเสาชิงช้า ในการเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย
หนึ่งในพระราชพิธี 12 เดือน ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ของชาวพระนคร ที่พระมหากษัตริย์ให้ความสำคัญ
และเป็นงานสนุกสนานรื่นเริงประจำปีสำหรับชาวเมือง ที่จะได้ชมขบวนแห่ของพระยายืนชิงช้า และชมการโล้ชิงช้า
ตลอดจนมหรสพนานาชนิดที่จัดขึ้น เพื่อความบันเทิงของชาวพระนคร

ใน พ.ศ.2477 ได้ยกเลิกการโล้ชิงช้า และขบวนแห่พระยายืนชิงช้าไป
ปัจจุบันเราจึงได้เห็นแต่เสาแดงที่ตั้งสงบนิ่ง โดยปราศจากกระดานหรือที่ยืนชิงช้า

แต่ในอดีตนั้น การโล้ชิงช้า เป็นพระราชพิธีอันสำคัญ มาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 และมาสิ้นสุดเอาในสมัยรัชกาลที่ 7
ก่อนจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตยได้เพียงปีเดียว

เป็นที่ทราบกันดีว่าศาสนาฮินดูนั้น เป็นศาสนาที่มีบทบาทในสังคมไทยคู่กับพุทธศาสนามานาน
เมื่อมาถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์ทรงพระราชทานที่ให้กับเหล่านักบวชพราหมณ์
ในเขตพระนครที่ไม่ห่างจากพระบรมมหาราชวังมากนัก

นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงโปรดให้สร้าง เทวสถาน เพื่อให้เป็นที่สถิตย์ของเทพเจ้าฮินดู
พร้อมทั้งเสาชิงช้ายักษ์เหมือนกับสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ

เหตุที่เชื่อกันว่าควรมีการโล้ชิงช้านั้น สมเด็จพระกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ทรงสันนิษฐานว่าน่าจะมีไว้แก้บน และการแก้บนนี้จะต้องทำต่อหน้ากษัตริย์
เนื่องจากกษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ (ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช)
แต่เนื่องจากกษัตริย์เองก็มีพระราชกรณียกิจที่ต้องทำมาก
จึงได้ทรงแต่งตั้งให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาเป็นผู้แทนพระองค์ และตัวแทนที่ว่านี้เรียกว่า พระยายืนชิงช้า

พิธีกรรมนี้สิ้นสุดลง เมื่อปีพ.ศ.2474 ในสมัยพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื่องจากเศรษฐกิจในสมัยนั้นตกต่ำถึงขีดสุด จำต้องมีการลดค่าใช้จ่ายลงไปเป็นอันมาก และพิธีนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอีกเลย

ที่มาแห่งพิธีโล้ชิงช้า จาก หนังสือ “ของดีกรุงเทพฯ” พบว่า
พิธีนี้ถือเป็นพิธีกรรมวันปีใหม่แบบโบราณของพราหมณ์ ในดินแดนชมพูทวีป โดยมีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพซึ่งบันทึกเอาไว้ว่า

พระอุมาเทวี ทรงมีความปริวิตกว่า โลกจะถึงกาลวิบัติ
พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวรโดยให้พญานาคขึงตนระหว่าง “ต้นพุทรา” ที่แม่น้ำ แล้วให้พญานาคแกว่งไกวตัว
โดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง เมื่อพญานาคไกวตัว เท้าพระอิศวรนั้นไม่ตกลง
แสดงว่า โลกที่ทรงสร้างนั้นมั่นคงแข็งแรง พระอิศวรจึงทรงชนะพนัน

ดังนั้นพิธีโล้ชิงช้าจึงเปรียบเสาชิงช้าเป็น “ต้นพุทรา” ช่วงระหว่างเสาคือ “แม่น้ำ”
ส่วนนาลีวันผู้โล้ชิงช้าคือ “พญานาค” โดยมีพระยายืนชิงช้านั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ

นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าเป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้น เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์
โดยเชื่อกันว่าพระอิศวรจะเสด็จลงมาเยี่ยมโลกมนุษย์ ปีละครั้งในเดือนยี่ ครั้งหนึ่งกำหนด 10 วัน คือจะลงมาในวันขึ้น 7 ค่ำ
และวันแรม 1 ค่ำ เสด็จขึ้นกลับ คณะพราหมณ์จึงได้จัดพิธีต้อนรับขึ้นในระยะเวลาดังกล่าว เพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่พระนคร

สำหรับการประกอบพิธีโล้ชิงช้านั้น ถือได้ว่าเป็นพิธีการที่สนุกสนานครึกครื้น
เริ่มด้วยการตั้งโรงราชพิธี จากนั้นให้พราหมณ์อันเชิญพระอิศวร
ครั้งได้ฤกษ์ดี ทางราชการจะให้ขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาพานทอง
แต่งตัวโอ่โถงสมมุติเป็นพระอิศวร เรียกว่า พระยายืนชิงช้า เสร็จแล้วให้มีกระบวนแห่ไปที่เสาชิงช้า

เมื่อพระยายืนฯ ไปถึงเสาชิงช้าก็เข้าไปนั่งในโรงราชพิธี
จากนั้นให้ผู้ที่จะโล้ชิงช้าขึ้นชิงช้าทีละ 4 คน(โล้ 3 กระดาน รวมเป็น 12 คน)
โดยมีเชือกที่ถือยึดไว้แน่นทั้งสี่ด้าน สองคนหันหน้าเข้าหากัน พนมมืออยู่กลางกระดาน มือสอดเชือกไว้
อีกสองคนอยู่หัวท้ายมีเชือกจับมั่นคง ถีบโล้ชิงช้าเพื่อฉวยเงินรางวัล 1 ตำลึง

ส่วนการที่จะฉวยเอาเงินรางวัลได้นั้น คนที่อยู่หัวกระดานเป็นคนฉวย โดยเงินนั้นผูกแขวนไว้กับฉัตรสูงที่ปักไว้
แล้วมีคันทวยยื่นออกไประยะห่างพอที่จะโล้ชิงช้ามาถึงได้ คนดูที่อยู่ข้างล่างก็เชียร์กันอย่างสนุกสนาน

การโล้ชิงช้านี้สำคัญอยู่ที่คนท้ายที่จะต้องเล่นตลก คือพอคนหน้าจะคาบถุงเงิน
คนท้ายจะทำกระดานโล้ ให้เบี่ยงไปเสียบ้าง ทำกระดานโล้ให้เลยถุงเงินเสียบ้าง จึงจะเรียกเสียงฮาจากคนดูได้

การโล้ชิงช้านี้ ได้มีติดต่อกันมาหลายรัชกาล จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 7 จึงได้ยกเลิกประเพณีการโล้ชิงช้าไปเสีย
และพิธีนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอีกเลย ซึ่งล่าสุดเมื่อคราวเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 222 ปี ถึงได้รื้อฟื้นพิธีจำลองกลับขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ประวัติการซ่อมบูรณะเสาชิงช้าที่สำคัญ

พ.ศ.2327 รัชกาลที่1 ก่อสร้างเสาชิงช้า
พ.ศ.2361 รัชกาลที่2 เกิดฟ้าผ่าบนยอดเสา แต่ไม่เสียหายมากนัก
พ.ศ.2463 รัชกาลที่6 เสาชิงช้าผุทั้งหมดจึงมีการเปลี่ยนเสาไม้ บริจาคไม้โดย บริษัท หลุย ที เลียวโนเวนส์
พ.ศ.2478 ได้มีการซ่อมกระจังเดิมที่ผุหัก และได้ใช้มาจนทุกวันนี้
พ.ศ.2490 เกิดไฟไหม้ที่โคนเสาแต่ได้มีการซ่อมประทังไว้
พ.ศ.2513 เสาชิงช้าผุชำรุดมาก จนต้องเปลี่ยนเสาโครงสร้างทั้งหมด

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549
อธิบดีกรมป่าไม้ (นายฉัตรชัย รัตโนภาส) ได้สั่งการให้สถานีบำรุงพันธุ์ไม้สัก (สถานีวนวัฒนวิจัยงาว ในปัจจุบัน) จังหวัดลำปาง
ทำการขยายพันธุ์ไม้สักมงคลทั้ง 6 ต้น ที่สำนักงานกรุงเทพมหานครจะตัดไปบูรณฏิสังขรณ์เสาชิงช้า ในท้องที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
ซึ่งทางสถานี ฯ ได้ดำเนินการไปเก็บกิ่งตามาทำการติดตา เก็บยอดไปฟอกฆ่าเชื้อ และขยายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
และได้เก็บเมล็ดจากไม้สักดังกล่าว ซึ่งมีเมล็ดเพียง 5 ต้น ไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มตัดต้นไม้ต้นแรก และสามารถทำการขยายพันธุ์ไม้สักทั้ง 6 ต้นได้ในระดับหนึ่ง


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

"มิตรภาพที่แสนดี..ทำให้ทุกวินาทีมีความหมายเสมอ"
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.289 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 20 ธันวาคม 2567 02:50:41