24 พฤศจิกายน 2567 02:41:53
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
สุขใจในธรรม
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
.:::
การฝึกหัดจิตให้มีสติตลอด หลวงปู่เทสก์
:::.
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: การฝึกหัดจิตให้มีสติตลอด หลวงปู่เทสก์ (อ่าน 3366 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13
การฝึกหัดจิตให้มีสติตลอด หลวงปู่เทสก์
«
เมื่อ:
28 กุมภาพันธ์ 2554 15:34:22 »
Tweet
การฝึกหัดจิตให้มีสติตลอด
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔
จากหนังสือ
เทสกานุสรณ์
หน้า ๑๗๑
วันนี้ จะเทศนาเรื่อง การฝึกหัดจิต จิตของคนเราต้องฝึกหัด เช่นเดียวกับสัตว์ที่อยู่ในป่าที่เขาจับมาใช้ จะใช้งานได้ต้องฝึกต้องหัดเสียก่อน จิตของเรายังไม่ได้ฝึกหัดก็เหมือนกับสัตว์ที่อยู่ในป่านั่นแหละ เราจับจิตมาฝึกหัด คือ เราตั้งใจฝึกหัดจริงๆ จึงจะเรียกว่าเราฝึกหัดจิต
การ ฝึกหัดสัตว์ป่า เช่น ช้าง เป็นต้น พอจับได้มาเขาก็ผูกมันไว้กับต้นเสา ตอนแรกมันก็แข็งแรงอยู่จะต่อสู้ดิ้นรนมาก เขาจึงไม่ให้กินหญ้ากินนํ้า หรือให้แต่เพียงเล็กน้อยพอไม่ให้ตาย จนซูบซีดผอมลงไป ทีนี้ก็เริ่มหัดมัน หัดจนกระทั่งมันยอมคนขึ้นขี่คอได้ หัดให้อยู่ในอำนาจของเราทุกอย่างได้ เมื่อมันอยู่ในอำนาจของเราเรียบร้อยดีแล้ว เราจึงให้อาหารมันกินอย่างอุดมสมบูรณ์
การฝึกหัดจิตก็คล้ายๆกันนั่น แหละ แต่ไม่ต้องถึงอย่างนั้น เพราะสัตว์เป็นของภายนอกมีตัวตน ต้องฝึกหัดด้วยการทรมาน
การฝึกหัดจิตต้องหัดด้วยอุบายวิธี
จิตเป็นของไม่มีตัว
จะขับขี่ก็ไม่ได้ จะตีก็ไม่ได้ แต่ทำให้มันอยู่ในอำนาจของตนนั้นได้ แต่ก็ยากแสนยากที่มันจะอยู่ในบังคับของเรา ต้องฝึกฝนอบรม
ที่ว่า คล้ายกัน คือ ให้อดอาหารหรือฉันอาหารเพียงเล็กน้อย เพื่อให้มัน
มักน้อย
ที่สุด เป็นการฝึกหัดอบรมกาย แต่มัน
เนื่องถึงจิต
เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า พระองค์ไม่เสวยพระกระยาหาร แต่ไม่สำเร็จมรรคผลนิพพาน พระองค์จึงค่อยผ่อนเสวยพระกระยาหารทีละน้อยๆ จนกระทั่งพอดีพองาม ฉันพอสมควรไม่ฉันฟุ่มเฟือย พอให้กายอยู่ได้ไปวันๆหนึ่ง อาหารนั้นถ้าฉันมากจิตใจมันทื่อ มันกำเริบเฟิบฟาย มันไม่อยู่ในอำนาจของตน ผู้ที่ไม่ได้ฝึกฝนอบรม รับประทานอย่างอิ่มหนำสำราญก็ให้มันรับประทานเรื่อยไป แต่ สำหรับคนที่ฝึกหัดอบรมใจนั้นจะฉันน้อยพอประมาณพอบำรุงร่างกาย
เพื่อยังชีวิตให้เป็นไปในวันหนึ่งๆเท่านั้น แล้วก็ไม่สะสม
การสะสมเป็นเรื่องของ
กิเลส
ลองคิดดู ถ้าสะสมแล้วมันเป็นการพะวักพะวน ท่านจึงไม่ให้สะสม นี่พูดเฉพาะเรื่องของพระภิกษุ คือ ฉันแล้วก็ทิ้งไป ให้มันหมดเรื่องหมดราว วันหลังหาใหม่ ได้เท่าไรก็ฉันเท่านั้น ฉันเท่าที่มีอยู่ ถึงฆราวาสก็ดี ผู้ฝึกหัดจิตต้องฝึกฝนอบรมอย่างนั้น คือรับประทานมื้อเดียว ไม่ให้เกี่ยวข้องพัวพันในเรื่องอื่นๆ เอาปัจจุบัน
แม้ว่าจะต้อง
เกี่ยวข้องพัวพันบ้าง
ก็ตาม
หากลง
ปัจจุบัน
ในขณะนั้น
ก็ไม่มีอะไร
เอาปัจจุบันเท่านั้น
ไม่คิดอดีต อนาคต
มันถึงจะเป็นไปได้ การฝึกฝนอบรมใจมันต้องไปจากกายนี้เหมือนกัน
นอก จากอบรมทางกายแล้ว ยังต้องอบรมวาจาด้วย พูดให้น้อย
พูดด้วยความสำรวมระวัง
การที่ว่าสำรวมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงไม่ให้พูด พูดได้แต่หากว่าให้
มี
สติ
ควบคุมอยู่ พูดก็
รู้เรื่องว่า
พูดอยู่ พูดดีชั่ว หยาบละเอียด
จะพูดสักเท่าไรก็ตามแต่
รู้เท่ารู้ทันอยู่ทุกขณะ เรียกว่าสำรวมวาจา
จะพูดอะไรก็พูดเถอะ การทำอะไรก็ทำเถอะ
แต่รู้เรื่องอยู่ทุกขณะ
สติควบคุมอยู่อย่างนี้ เรียกว่า มีสติระวังกายวาจา
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13
Re: การฝึกหัดจิตให้มีสติตลอด หลวงปู่เทสก์
«
ตอบ #1 เมื่อ:
28 กุมภาพันธ์ 2554 16:24:50 »
ส่วนการสำรวมระวังใจ ถ้าอยู่เฉยๆ
ใจไม่มีเครื่องอยู่
ให้เอาคำบริกรรมอันใดอันหนึ่งมาเป็นเครื่องอยู่มาเป็นหลักผูกใจ เช่น พุทโธ อานาปานสติ ตามลมหายใจเข้าออก ยุบหนอพองหนอ หรือสัมมาอรหังก็ได้
เอาอันนั้นมาเป็นเครื่องอยู่เสียก่อน นึกคิดอยู่เสมอๆจนเป็นอารมณ์
มีสติควบคุมจิต
อยู่ตรงนั้นแหละ จิตอยู่ที่ใดให้เอาสติไปตั้งตรงไว้ในที่นั่น จึงจะเรียกว่า
ควบคุมจิต รักษาจิต
ที่จะห้ามไม่ให้คิดไม่ให้นึกนั้น ห้ามไม่ได้เด็ดขาด
ธรรมดาของจิตมันต้องมีคิดมีนึก
แต่หากมีสติควบคุมจิตอยู่เสมอ
คิดนึกอะไรก็รู้ตัวอยู่ทุกขณะ เรียกว่า
บริกรรมภาวนา
การบริกรรมภาวนานี้ มิใช่ของเลว คนบางคนเข้าใจว่าเป็นของเลว เป็นเบื้องต้น ที่จริงไม่ใช่เบื้องต้น ธรรมไม่มีเบื้องตน ท่ามกลาง ที่สุดหรอก
ธรรมะ
อันเดียวกันนั่นแหละ
ถ้าหาก
สติอ่อน
เมื่อไรก็เป็นเบื้องต้นเมื่อนั้น
สติแก่กล้า
เมื่อไรก็เป็น
ท่ามกลาง
และ
ที่สุด
เมื่อนั้น
คือหมายความว่าสติคุมจิตอยู่ทุกขณะ จนกระทั่งเป็น
มหาสติปัฏฐาน
จะยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใดๆทั้งหมด มีสติรอบตัวอยู่เสมอ
โดยที่ไม่ได้ตั้งใจให้มีสติ
แต่มันเป็นของมันเอง สติ ควบคุมจิตไปในตัว เมื่อมีสติเช่นนั้น
มันก็ไม่เกี่ยวข้องพัวพัน
กันกับสิ่งต่างๆ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นลิ้มรสต่างๆ กายได้สัมผัส มันก็เป็น
สักแต่ว่า
สัมผัสแล้วก็หายไปๆ ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์ ไม่เอามา
คำนึงถึงใจ
อันนั้นเป็น
มหาสติ
แท้ทีเดียว
ถ้าจิตอ่อนเมื่อไร
จิตจะส่งไปตามอายตนะทั้ง ๖
เมื่อนั้น เช่น ตาได้เห็นรูปอะไร หูได้ยินเสียงอะไร มันก็จะพุ่งไปตามรูปที่ เห็น เสียงที่ได้ยินนั้นแหละ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ต้องเอา
บริกรรม
มาใช้อีก ให้จิตมันอยู่กับบริกรรมนั้นอีก บริกรรม คือ สัมมาอรหัง พุ ทโธ อานาปานสติ อะไรต่างๆก็ตาม ที่ท่านสอนแต่ละสำนักนั้น มันเป็นไป
ตาม ความชำนาญ
ของแต่ละท่าน มันเป็นนโยบายของท่านต่างหาก
แท้ที่จริงก็อันเดียวกันนั่นแหละ
ใครจะเลือกภาวนาบริกรรม อันใดก็ได้ ความต้องการคือ มุ่งหมายเอาสติอย่างเดียว
เพื่อตั้งสติให้มั่นคง
จึงว่าคำบริกรรมเป็นคู่กับ
การฝึกหัดจิต
คำบริกรรม
เปรียบเหมือนกับเครื่องล่อ
จิต
เหมือนกับเด็กเล็กๆที่มันร้องไห้ เราเอาขนมมาล่อให้มันกิน มันก็หยุดร้อง จิตของเราก็ยังเป็นเด็กอยู่เหมือนกัน คือว่ายังไม่เป็นผู้ใหญ่
ยังรักษาตัวเองไม่ได้
ยังต้องอาศัยคำบริกรรมอยู่ จึงเรียกว่าเป็นเด็ก คน เฒ่าคนแก่กระทั่งผมหงอกผมขาวก็ตาม
ถ้ายังควบคุมจิตของตนไม่ได้
ก็ยังเป็นเด็กอยู่นั่นแหละ ถ้าหากควบคุมจิตได้แล้ว แม้จะเป็นเด็กก็ตามนับเป็นผู้ใหญ่ได้ ในพุทธศาสนา ผู้บวชตั้งร้อยพรรษา
โดยธรรมแล้ว
ถ้าควบคุมจิตไม่ได้ก็เรียกว่ายังเป็นเด็กอยู่ องค์ใดบวชในพรรษานั้นแต่ว่าควบคุมจิตได้ ก็เรียกว่าเป็นเถระ
การรักษาจิตควบคุมจิต
จึงต้องมีเครื่องอยู่ ได้แก่ การบริกรรม
จิต เป็นของสูงๆตํ่าๆ คือ ฝึกหัดไม่สมํ่าเสมอ
สูงหมายถึงว่า
เจริญขึ้นไป
คือ มีสติควบคุมอยู่
ขณะที่มีสติควบคุมอยู่ก็กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ต่อสู้กับอารมณ์ได้ อะไรมาก็ไม่กลัว
พอสัมผัสมากระทบเข้า
จริงๆจังๆ อ่อนปวกลงไปเลย นั่นมันตํ่าลงไปแล้ว มันไม่เป็นผู้ใหญ่
ดังนั้นจึงต้องหัดสติตัวนี้ให้แก่กล้า
ให้แข็งแรงที่สุด
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กุมภาพันธ์ 2554 16:36:48 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เพิ่มข้อธรรมค่ะ
»
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์
เพศ:
Thailand
กระทู้: 7493
ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.13
Re: การฝึกหัดจิตให้มีสติตลอด หลวงปู่เทสก์
«
ตอบ #2 เมื่อ:
28 กุมภาพันธ์ 2554 17:55:13 »
ใน พุทธศาสนานี้มีการฝึกหัดสติอันเดียว การฝึกหัดเรื่องอะไรก็ตาม
ฝึกหัดสติอันเดียวเท่านั้น
พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนสาวกทั้งหลายแต่ก่อนนี้ ก็ทรงสอนให้ฝึกสติอันเดียวเท่านั้น ทรงสอนฆราวาสก็เหมือนกัน ทรงสอนเรื่องสติ ให้มนุษย์คนเราพากันมีสติ พวกเราก็พากันถือคำสอนของพระองค์นั่นแหละมาพูด เช่น พอพลั้งๆเผลอๆ ก็ว่า ไม่มีสตินี่ ก็พูดกันไปอย่างนั้นแหละ ตัวผู้พูดเองก็ไม่รู้เรื่องว่าตัวสติมันเป็นอย่างไร พูดไปเฉยๆ อย่างนั้นแหละ มิหนำซํ้าบางคนไม่มีสติอยู่แล้ว ยิ่งไปดื่มสุรายาเมาเข้า ยิ่งไปใหญ่จนเสียสติเป็นบ้าไปก็มี
เหตุนี้จึงว่า
คำสอนของพุทธศาสนาทั้งหมด
มาลงที่
สติ
อันเดียว
ตั้งแต่เบื้องต้นก็สอนสติ ท่ามกลาง ที่สุดก็สอนสติ เป็นศาสนาที่สอนถึงที่สุด แต่คนทำนั่น ทำสติไม่ถึงที่สุดสักที
ทำมากี่ปีกี่ชาติก็ไม่สมบูรณ์สักที
พระพุทธเจ้าพระองค์ใดก็ทรงสอนสติตัวเดียวนี้
เรา เกิดมากี่ภพกี่ชาติก็มาหัดสติตัวเดียวนี้ แต่ก็หัดสติไม่สมบูรณ์สักที เหตุนั้นจึงควรที่พวกเราจะพากันรีบเร่งหัดสติทุกคนแต่บัดนี้ อายุอานามมาถึงป่านนี้แล้ว เรียกว่าจวนเต็มที จวนจะหมดสิ้น จวนจะตายอยู่แล้ว ไม่ทราบว่าจะตายวันไหน ควรที่จะหัดสติให้อยู่ในเงื้อมมือของตนให้ได้
อย่าให้จิตไปอยู่ในเงื้อมมือของ
ความ
หลง
มัวเมา
ผู้ใดจิตไม่อยู่ในอำนาจของตนก็
ชื่อว่าเราเกิดมาแล้วเสียเปล่า
ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียเปล่า
เปล่าจากประโยชน์
อย่า ให้จิตอยู่แต่ใน
อำนาจของกิเลส
ให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของสติ
สติ
เป็นตัวระมัดระวัง
อันนั้นแหละเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยแท้ ถ้าจิตอยู่ใต้อำนาจของกิเลสแล้วหมดท่า ตัวของเราจึงเป็น
ทาสของ
กิเลส
เหตุนั้นจึงควรที่จะ
พากันรู้สึกตัว ตื่นตัวเสีย
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป แล้วฝึกอบรมกัมมัฏฐาน
การอบรมกัมมัฏฐานนั้น ทุกคนต้องอบรมเหมือนกันหมด มิใช่อบรมเฉพาะพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสกอุบาสิกาเท่านั้น การฝึกหัดธรรมะก็ต้องหัดสติตัวนี้แหละ ถือพุทธศาสนาก็ต้องหัดสติตัวนี้แหละ
มี
สติสมบูรณ์
บริบูรณ์ก็
เรียกว่าถึง
ศาสนา
ถ้ายังไม่มีสติเสียเลยก็เรียกว่ายังไม่ถึงศาสนา เอาละ วันนี้เทศน์ให้ฟังเพียงเท่านี้ เอวํฯ
หลวงปู่
เทสก์ เทสรังสี
แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔
จาก
หนังสือ เทสกานุสรณ์
หน้า ๑๗๑
mi
ra
cle
of
love
P
ic
s b
y
:
G
o
o
gle
อกาลิโกโฮม
*
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
บันทึกการเข้า
คำค้น:
ธรรมเทศนา
คัดลอกจากหนังสือ
เทสกานุสรณ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ
เริ่มโดย
ตอบ
อ่าน
กระทู้ล่าสุด
ศรัทธา โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
เงาฝัน
0
2578
11 กุมภาพันธ์ 2553 13:11:05
โดย
เงาฝัน
มรรคแท้มีอันเดียว โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
หมีงงในพงหญ้า
0
2656
15 กรกฎาคม 2553 22:14:03
โดย
หมีงงในพงหญ้า
คุณค่าของกาลเวลา หลวงปู่เทสก์
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน
1
2725
05 มกราคม 2554 15:29:51
โดย
เงาฝัน
เพียงมายาหรือของไม่เที่ยง หลวงปู่เทสก์
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน
2
3118
28 กุมภาพันธ์ 2554 11:46:14
โดย
เงาฝัน
ธรรมะปฏิบัติ:งามอยู่ที่ผี ดีอยู่ที่พระ ละอยู่ที่ใจ:หลวงปู่เทสก์
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน
1
2107
18 พฤษภาคม 2554 12:55:30
โดย
เงาฝัน
กำลังโหลด...