[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 18:53:35 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟริตจ๊อฟ คาปร้ากับกระบวนทัศน์ใหม่ ( ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ )  (อ่าน 3563 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 มีนาคม 2554 08:41:06 »





ชัชรินทร์ ไชยวัฒน์



ดูเหมือนว่าอาหารแต่ละประเภทที่ออเดอร์กันมา จะถูกปรุง ถูกเสิร์ฟ ให้ลองลิ้มชิมรสกันไปหมดแล้ว จะเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม หรือจืดชืดไม่มีรสชาติ ก็อย่าได้ถือสาหาความอะไรกันมากมาย ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดความเห็นกันไปกันมาก็แล้วกัน สัปดาห์นี้เท่าที่เหลืออยู่ ก็คงเป็นความเห็นของคุณ “เดือนลับละลาย” ที่อุตส่าห์ไปเอาข้อมูลเรื่องตัว “เลมมิงจ์” มาเสริมเพิ่มเติมให้เป็นความรู้ยิ่งๆขึ้นไป...ซึ่งก็คงต้องขอขอบคุณเอาไว้ ณ ที่นี้...

ส่วนที่ชวนเสวนากันในเรื่องงานเขียนของ “ฟริตจ๊อฟ คาปร้า” อย่างเรื่อง “เต๋าแห่งฟิสิกส์” หรือ “จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ” นั้น สำหรับเรื่องแรก...ดูเหมือนว่าจะเคยได้อ่านผ่านๆ แต่เรื่องหลังคือ “จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ” น่าจะยังไม่เคยได้สัมผัส หรืออาจจะผ่านหู-ผ่านตาไปแล้วแต่ก็จำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม...โดยรวมๆแล้ว ก็คงเป็นอย่างที่คุณ “เดือนลับละลาย” ว่าเอาไว้นั่นแหละว่า จะด้วยเหตุที่นักเขียนหรือนักฟิสิกส์รายนี้ ท่านมีความสนใจในเรื่องราวทางศาสนา โดยเฉพาะศาสนาตะวันออก อย่าง พุทธ เซ็น เต๋า ฮินดู และพยายามนำเอาสิ่งเหล่านี้มาเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์กันอย่างเป็นหลักเป็นฐาน หรืออย่างเป็นระบบ ความคิดความอ่านของท่าน ก็เลยนอกจากจะเป็นของแปลก ใหม่ สำหรับชาวตะวันตกด้วยกันแล้ว ก็ยังเป็นที่ฮือฮาสำหรับชาวตะวันออกจำนวนไม่น้อย ที่โดยส่วนใหญ่...มักจะชอบ “วิ่งไล่ตามตะวันตก” กันแบบก้าวต่อก้าวมาโดยตลอด...

เท่าที่เคยอ่านผลงานของนักฟิสิกส์ท่านนี้แบบจริงๆจังๆ ก็น่าจะเป็นเรื่อง “โยงใยที่ซ่อนเร้น” (The Hidden Connections) ที่คุณ “วิศิษฐ์-ณัฐฬส วังวิญญู และ สว่าง พงศ์ศิริพัฒน์” แปลเอาไว้ และนำมาตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว(พ.ศ. 2548)เนื่องจากต้องนำเอามาใช้เป็นข้อมูลในงานเขียนพ๊อคเก็ตบุ๊ค และบทความหลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน และก็พอที่จะทำให้จับแนวคิดหลักๆ หรือจะเรียกว่า “กระบวนทัศน์” ของ “คาปร้า” ได้อยู่บ้างเล็กๆน้อยๆ ซึ่งก็คงต้องถือว่าเป็นการ “ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์” จากแนวคิดเดิมๆของพวกตะวันตกระดับใหญ่โต มโหฬาร พอสมควรทีเดียว หรืออาจถือเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับถึงรากถึงโคนก็ว่าได้ พูดง่ายๆว่าถ้าหากพวก “ฝรั่ง” ทั้งหลาย หันมายอมรับแนวคิดหรือกระบวนทัศน์ของ “คาปร้า” อย่างทั่วถึงกันหมด พวกฝรั่งก็จะกลายเป็นพวกที่หันมา “วิ่งไล่ตามตะวันออก” กันไปทั้งแผงนั่นแล...

คือถ้าจะลองไล่ให้เห็นเป็นขั้นๆ สิ่งถือกันว่าเป็น “แนวคิดแบบตะวันตก” ซึ่งสืบทอดกันมาจนกระทั่งปัจจุบันนั้น ก็คือแนวคิดที่เรียกๆกันว่า “ลัทธิเหตุผลนิยม” (rationalism)นั่นเอง ซึ่งก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมานับตั้งแต่นาย “เรเน่ เดคาร์ตส์” นักคิด นักปรัชญาชื่อดัง ชาวฝรั่งเศส ผู้ได้ชื่อฉายาว่า “บิดาแห่งปรัชญาสมัยใหม่” แกได้เอ่ยถ้อยคำสั้นๆเป็นภาษาละตินเอาไว้ในช่วงประมาณปีค.ศ. 1644 ว่า “Cogito,Ergo sum” หรือแปลเป็นภาษาปะกิตว่า “I Think Therefore I am” ที่ใครต่อใครในบ้านเรานำมาพูดๆกันว่า “เพราะฉันคิด...ฉันจึงเป็นอยู่” นั่นเอง นับแต่นั้น “ยุคแห่งเหตุผล” (Age of Reason) หรือ “ยุคเหตุผลนิยม” (Age of Rationalism)หรือ “ยุคแห่งแสงสว่างทางปัญญา” (Enlightenment)ก็แล้วแต่จะเรียก จึงได้ปรากฏตัวขึ้นมาในหมู่พวกฝรั่งทั่วทั้งยุโรปตลอดไปจนถึงอเมริกามาจนทุกวันนี้...

ความหมายของคำว่า “เพราะฉันคิด...ฉันจึงเป็นอยู่” ของนาย “เรเน่ เดคาร์ตส์” นั้น จะกินความลึกซึ้งสุดลิ่มทิ่มกระดานกันในระดับไหน คงไม่ต้องเสียเวลามาอธิบาย หรือเสียเวลาขนมะพร้าวห้าวมาขายสวนให้ต้องเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เอาเป็นว่า...จากบรรทัดฐานของคำพูดในลักษณะเช่นนี้ มันได้ก่อให้เกิด “กระบวนทัศน์” ชนิดหนึ่งในการมองโลก มองจักรวาล มองธรรมชาติ มองสรรพสิ่งต่างๆเปลี่ยนไปจากยุคเดิมๆแบบถอนรากถอนโคน หรือจากยุคที่พวกฝรั่งยังถูกพระคริสเตียนคาธอลิค สอนให้เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเกิดจาก “การเนรมิตสร้าง” ของ “พระผู้เป็นเจ้า” ด้วยกันทั้งสิ้น แต่หลังจากนั้น...โลกที่เคยเชื่อๆกันว่าพระเจ้าสร้างขึ้นมาภายใน 6 วัน ก็กลายเป็นโลกที่ไม่มีใครสร้าง แต่อุบัติขึ้นมาโดย “ความบังเอิญ” ในช่วงเวลานับเป็นพันๆล้านปีเอาเลยทีเดียว สรรพชีวิตต่างๆก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับพระเจ้าหรือใครที่ไหนอีกนั่นแหละ แต่เป็นเพราะ “สารเคมี” บางชนิด ในสระน้ำอุ่นโบราณ มันเผอิญรวมตัวกันขึ้นมาเป็นเซลล์หยาบๆ โดยอุบัติเหตุแบบไหน? อย่างไร?ก็มิอาจทราบได้ ก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นกุ้ง หอย ปู ปลา แล้วจู่ๆก็กระโดดขึ้นมายืนตระหง่านอยู่บนบก โดยไม่ได้มีใครช่วยเหลือ ประคับประคองใดๆแม้แต่น้อย แต่เป็นเพราะ “สัญชาติญานแห่งความอยู่รอด” ล้วนๆ ไม่ต่างไปจากมนุษย์เรา ที่ไม่ได้เป็นลูกหลาน “อาดัม-เอวา” ผู้ซึ่งพระเจ้าปั้นมาจากดินจากโคลน แต่โคตรเหง้าสักหลาดของเรานั้นก็คือ “ลิง” ตัวหนึ่ง ที่ดันเกิดการ “ผ่าเหล่าทางพันธุกรรม” โดยบังเอิญอีกเช่นกัน...ฯลฯ

และภายใต้กระบวนทัศน์เช่นนี้นี่แหละ ที่ทำให้เกิดทฤษฏีการเมือง เศรษฐกิจ สังคม นานาชนิดขึ้นมาอย่างมากมายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทุนนิยม สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ อนาคิสต์ หรือแม้กระทั่งฟาสซิสต์ นาซี ฯลฯ ก็ล้วนแล้วแต่อุบัติขึ้นมาจากรากฐานแนวคิดเช่นนี้ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งทำให้พวกเราชาวตะวันออกทั้งหลาย ที่ชอบ “วิ่งไล่ตามตะวันตก” กันมาโดยตลอด ก็เลยหันไป “ก๊อปปี้” แนวคิดต่างๆเหล่านี้ เอามายึดมั่น ถือมั่น ไปตามรสนิยมของใคร-ของมันกันตามสภาพ...

แต่ในเรื่อง “โยงใยที่ซ่อนเร้น” ของ “ฟริดจ๊อฟ คาปร้า” นั้น ได้พยายามนำเสนอ “กระบวนทัศน์” ที่แตกต่างออกไปจากกระบวนทัศน์ในแบบที่ว่า ชนิดคนละเรื่อง คนละม้วน ก็ว่าได้ นั่นก็คือ...พยายามชี้ให้เห็นว่า การรวมตัวของ “สารเคมี” ในสระน้ำอุ่นโบราณเมื่อหลายพันล้านปีที่แล้ว จนกลายมาเป็นเซลล์หยาบๆ หรือเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั้น มันไม่ได้เป็นไปด้วย “อุบัติเหตุ” หรือ “ความบังเอิญ” แต่มันมี “บางสิ่งบางอย่าง” ที่อยู่เบื้องหลังการรวมตัวเหล่านี้ และสิ่งที่ว่านั้นถ้าหากพูดกันแบบง่ายๆ ไม่ต้องดัดจริตให้เป็นวิชาการจนเกินไปนัก ก็คือสิ่งที่เรียกว่า “วิญญาณ” หรือ “จิตวิญญาณ” ตามแบบฉบับแนวคิด ความเชื่อ ของชาวตะวันออกทั้งหลายนั่นเอง...อันเป็นสิ่งที่พวก “เหตุผลนิยม” ต่างก็พากันปฏิเสธมาโดยตลอด...

เหตุผลที่ “คาปร้า” นำมาโน้มน้าว เพื่อให้พวก “เหตุผลนิยม” ยอมรับนั้น มีอยู่เยอะแยะมากมาย จนทำให้หนังสือเล่มนี้หนาระดับน่าจะเอามาหนุนหัวนอนแทนที่จะเอามาอ่านกันแบบสบายๆ แต่ที่เด่นๆก็เห็นจะเป็นการหยิบเอาผลงานการวิจัย ค้นคว้า ของนักชีววิทยารุ่นใหม่ 2 รายคือ “ฮัมเบอร์โต มาตูรานา” กับ “ฟรานซิสโก วาเรลา” ที่เรียกๆกันว่า “ทฤษฏีซานติอาโก” มาใช้อ้างอิง ซึ่งถ้าหากอยากจะล้วงลึกลงไปในรายละเอียด ว่าทฤษฏีที่ว่านี้มีเนื้อหา สาระ แบบไหน?อย่างไร? ลองอาศัยบริการของ “กูเกิล” ดูก็ได้ สำหรับผู้ที่มีความรู้ภาษาปะกิตแตกฉาน คงไม่ถึงกับเหลือบ่ากว่าแรงเกินไปนัก...แต่สรุปง่ายๆก็คือว่า ถ้าหากแนวคิด ทฤษฏี ตลอดไปจนถึงเหตุผล ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ตามแบบฉบับของ “คาปร้า” กลายเป็นที่ยอมรับ หรือกลายเป็น “กระบวนทัศน์ใหม่” ขึ้นมาอย่างเป็นจริงเป็นจังแล้วล่ะก็ บรรดาทฤษฏีทางการเมือง เศรษฐกิจใดๆก็ตาม ที่เคยอุบัติขึ้นมาบนพื้นฐานกระบวนทัศน์แบบเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นทุนนิยม สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ อนาคิสต์ ฯลฯ ก็เท่ากับว่า...จะต้องถึงกาลอวสาน หรือจะต้องล่มสลายลงไปแบบฉับพลัน-ทันที!!!

เรื่องทำนองนี้...อันที่จริงยังสามารถหยิบเอามาแลกเปลี่ยนกันได้อีกเยอะแยะ แต่เผอิญเนื้อที่ดันมาหมดซะก่อน เอาเป็นว่าก็ขอเสิร์ฟแค่ “น้ำจิ้ม” ไปพลางๆก่อน ส่วนคุณ “นายหน้า” ที่อุตส่าห์ย้ำแล้วย้ำอีกในเรื่องวรรณกรรมซีไรท์ปีนี้(ลับแล แก่งคอย?) อันนี้คงต้องบอกตรงๆว่า...ยังไม่เคยอ่านมาก่อนเลย จะไปให้ความเห็นอะไรคงลำบาก ขออนุญาตสรุปสั้นๆว่า ขอแสดงความยินดีด้วยคนก็แล้วกัน....
 
 
http://www.innnews.co.th/chatcharin.php?nid=187122

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.356 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 20 ธันวาคม 2567 04:32:00