[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 21:19:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธฤทธิ์ พิชิตโรค คิริมานนทสูตร ยาขนานเอก รักษากายใจ ยามเจ็บป่วย  (อ่าน 2080 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 09 สิงหาคม 2559 12:04:47 »



คิริมานนทสูตร

ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตะวันมหาวิหาร ครั้งนั้น ท่านคิริมานนท์อาพาธ(เจ็บป่วย) หนัก กระสับกระส่ายเพราะพิษไข้ ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลให้เสด็จไปเยี่ยม พระพุทธองค์ตรัสว่า ถ้าอานนท์จะไปเยี่ยมพระคิริมานนท์จงแสดงสัญญา ๑๐ อย่าง ให้พระคิริมานนท์ฟังด้วย เพราะเมื่อฟังจบแล้วจะหายจากโรคาพาธนั้นโดยเร็วพลัน จากนั้นทรงแสดงสัญญา ๑๐ ให้ท่านพระอานนท์ได้เรียนและจดจำเพื่อนำไปแสดงแก่พระคิริมานนท์ต่อไป

สัญญา ๑๐

๑. อนิจจสัญญา
๒. อนัตตสัญญา
๓. อสุภสัญญา
๔. อาทีนวสัญญา
๕. ปหานสัญญา
๖. วิราคสัญญา
๗. นิโรธสัญญา
๘. สัพพโลเกอนภิรตสัญญา
๙. สัพพสังขาเรสุอนิฏฐสัญญา
๑๐. อานาปานสติ

สัญญา หมายถึง ความจำได้, ความหมายรู้ได้, หรือความกำหนดหมาย เป็นสัญญาชั้นสูงที่จะนำไปสู่ปัญญา มี ๑๐ ประการ คือ

๑. อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร หมายถึง การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงของอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดมาแล้วดับไป ผันแปรเปลี่ยนสภาพตลอดเวลา หรือเป็นสิ่งชั่วคราวตั้งอยู่ได้ชั่วขณะ

๒. อนัตตสัญญา กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรม หมายถึง การพิจารณาเห็นความเป็นของมิใช่ตัวตนของอายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) และอายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) ว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นสภาพว่างเปล่าหาสภาวะที่แท้จริงไม่ได้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง หรือไม่อยู่ในอำนาจบังคับของใคร

๓. อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย หมายถึง การพิจารณาร่างกายนี้ทั้งหมด ตั้งแต่พื้นฝ่าเท้าขึ้นไปจนถึงปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีอยู่ในกายนี้ ๓๑ อย่าง เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น พิจารณาจนเกิดเห็นความไม่งามของกายขึ้นในจิต

๔. อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโทษแห่งกาย คือ มีอาพาธต่างๆ หมายถึง การพิจารณาเห็นว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก ความเจ็บไข้ต่างๆ จึงเกิดขึ้นได้ในกายนี้ ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนฤดูกาล, วิบากกรรม, หรือการรักษาสุขภาพร่างกายไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น

๕. ปหานสัญญา กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตก และบาปธรรม หมายถึง การไม่รับเอาอกุศลวิตก ๓ (กามวิตก, พยาบาทวิตก, วิหิงสาวิตก) ที่เกิดขึ้น แต่กลับพยายามละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด และทำให้อกุศลทั้งหลายทั้งปวงไม่ให้เกิดขึ้นได้อีกต่อไป

๖. วิราคสัญญา กำหนดหมายวิราคะ คือ อริยมรรคว่า เป็นธรรมอันละเอียด หมายถึง การพิจารณาเห็นว่า ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด และพระนิพพานเป็นภาวะที่สำรอกกิเลสได้จริง

๗. นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธความดับตัณหา คือ อริยผล ว่าเป็นธรรมอันละเอียด หมายถึง การพิจารณาเห็นว่าภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความดับ และพระนิพพาน เป็นภาวะที่ดับตัณหาได้จริง

๘. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง หมายถึง การละอุปาทานในโลกที่เป็นเหตุตั้งมั่น ยึดมั่น และเป็นอนุสัยแห่งจิต งดเว้นไม่ถือมั่น รู้จักยับยั่งใจไม่ให้ไหลไปตามอำนาจตัณหา

๙. สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง หมายถึง การพิจารณาความไม่ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ จนเกิดความอึดอัด ระอาเบื่อหน่าย รังเกียจในสังขารทั้งปวง

๑๐. อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก หมายถึง การตั้งสติกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปในที่อื่น กำหนดจิตเฉพาะที่ลมหายใจเข้าออก

พระอานนท์ เมื่อได้เรียนทรงจำสัญญา ๑๐ ประการนี้ได้แล้วจึงได้ไปเยี่ยมไข้พระคิริมานนท์ แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ นั้นแก่ท่าน เมื่อฟังจบแล้วท่านพระคิริมานนท์ได้หายขาดจากอาพาธนั้น

การที่ทุกขสัญญาไม่ปรากฏอยู่ในสัญญา ๑๐ ประการ ในคิริมานนท์สูตรนั้น มิใช่หมายความว่าไม่มีเรื่องทุกข์ร่วมอยู่ในที่นั้นด้วย เพราะทุกข์ได้ทรงแสดงไว้ในอาทีนวสัญญา การที่ทรงแสดงทุกข์ด้วยอาทีนวสัญญานั้น ก็โดยมีพระพุทธประสงค์ที่จะให้เหมาะแก่บุคคลผู้รับพระธรรมเทศนา คือ พระคิริมานนท์ผู้กำลังต้องอาพาธอยู่ จึงได้ทรงยกโรคาพาธต่างๆ อันเป็นอาการของทุกข์ขึ้นแสดง โดยความเป็นโทษของร่างกายเสียทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นอันยุติว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทุกข์ไว้ในที่นั้นโดยชื่อว่า อาทีนวสัญญา ฯ

(หนังสือบูรณาการแผนใหม่ นักธรรมชั้นเอก รวมทุกวิชา.กรุงเทพฯ:เลี่ยงเชียง,๒๕๔๗.)อริยสัจ ๔

จาก http://buddhahastaught.blogspot.com/2010/11/blog-post.html



<a href="https://www.youtube.com/v/rnjVIdWsQpc" target="_blank">https://www.youtube.com/v/rnjVIdWsQpc</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/OT3lv52PfCo" target="_blank">https://www.youtube.com/v/OT3lv52PfCo</a>

คิริมานนทสูตร คือหนึ่งในบทสวดที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้พระสาวกนำไปสวดสาธยายเพื่อรักษาตนเองในยามป่วยไข้ ซึ่งปรากฏว่าเมื่อสวดสาธยายและพิจารณาไตร่ตรองไปตามเนื้อหาแห่งพระสูตรแล้ว ทำให้จิตใจร่าเริง เป็นสุข หายจากอาการเจ็บป่วยได้อย่างอัศจรรย์ หนังสือพุทธฤทธิ์ พิชิตโรค คิริมานนทสูตร เล่มนี้ เป็นศาสตร์แห่งการสร้างฤทธิ์เพื่อพิชิตโรคตามแนวทางแห่งพระพุทธเจ้า

Playlist : https://www.youtube.com/playlist?list=PLE5FA110C47AFEE92

อ่านเพิ่มเติม : ข้อความในพระไตรปิฎก "อาพาธสูตร"

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=2597&Z=2711

[๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมา-
*นนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์
อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้
โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา
๑๐ ประการแก่คิริมานันทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับ
โดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐
ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนว
สัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรต
สัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ๑ อนาปานัสสติ ๑ ฯ


Girimananda Sutta: To Girimananda
The Clinical and Hygienic Concerns of Lord Buddha

I have heard that on one occasion the Blessed One was staying near Savatthi, in Jeta's Grove, Anathapindika's monastery. And on that occasion Ven. Girimananda was diseased, in pain, severely ill. Then Ven. Ananda went to the Blessed One and, on arrival, having bowed down to him, sat to one side. As he was sitting there he said to the Blessed One, "Lord, Ven. Girimananda is diseased, in pain, severely ill. It would be good if the Blessed One would visit Ven. Girimananda, out of sympathy for him."

"Ananda, if you go to the monk Girimananda and tell him ten perceptions, it's possible that when he hears the ten perceptions his disease may be allayed. Which ten? The perception of inconstancy, the perception of not-self, the perception of unattractiveness, the perception of drawbacks, the perception of abandoning, the perception of dispassion, the perception of cessation, the perception of distaste for every world, the perception of the undesirability of all fabrications, mindfulness of in-&-out breathing.

read more : http://www.accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.060.than.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.337 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 16 พฤศจิกายน 2567 09:36:32