[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 16:39:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บทความเรื่อง ไภษัชยคุรุ กับ การเยียวยาสังคม  (อ่าน 1300 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 10.0 MS Internet Explorer 10.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 สิงหาคม 2559 22:58:09 »

http://i1297.photobucket.com/albums/ag39/imgas-namo84000/Dai%20le%20delete/9331718455_6cb9fa35de_b_zpsd41fc9ed.jpg
บทความเรื่อง ไภษัชยคุรุ กับ การเยียวยาสังคม


บทความเรื่อง ไภษัชยคุรุ...กับการเยียวยาสังคม

โดย ศิโรฒน์ รัตนาภรณ์ siroat_07@hotmail.com 28 พฤศจิกายน 2551

"ไภษัชยคุรุ" เป็นชื่อของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในพระพุทธศาสนาคติมหายาน ว่ากันว่าท่านมีปณิธานในการบำบัดเยียวยารักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน



ภิกษุณีธัมมนันทา(อดีตอาจารย์ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์)แห่งวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม ได้กล่าวในบทความลงในวารสารพุทธสาวิกา(ฉบับที่ 28 ตุลาคม-ธันวาคม 2551) ของท่านว่า

"โรคภัยไข้เจ็บที่สำคัญที่พระพุทธเจ้าพระองค์นี้รับสั่งถึงก็คือ โรคแห่งความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน โรคอันเกิดจากตัวตนของเรา ถูกครอบงำด้วยความโลภ ด้วยความโกรธ ด้วยความหลงนี้เป็นโรคภัยไข้เจ็บทางจิตวิญญาณที่พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ตั้งใจที่จะลงมาเยียวยารักษามนุษย์อย่างแท้จริง..."

สังคมในปัจจุบันมีแรงแห่งกิเลสที่รุนแรง และน่าสะพรึงกลัว เราจึงควรบริหารกิเลสให้เป็นและควบคุมมันให้อยู่ในฐานที่ตั้ง มากกว่าจะปล่อยให้มันออกมาแสดงแสงยานุภาพในการประหัตประหาร เข่นฆ่า โกรธเกรียว อันจะนำสังคมให้จมอยู่ในหายนะ

สังคมที่ปล่อยให้กิเลสแสดงแสงยานุภาพอย่างไม่ขีดจำกัด เป็นสังคมที่อยู่ในภาวะเป็นโรคร้าย ถ้าไม่รีบเร่งเยี่ยวยารักษา อาจเกิดความพิบัติอันเกิดจากการสำแดงสัญชาตญาณเดียรัชฉานอันยากที่จะเยี่ยวยารักษาและพินาศล่มจมได้ในที่สุด

โรคแห่งกิเลสน่ากลัวนัก เพราะกิเลสที่ไม่รู้จักบริหาร คือต้นทางแห่งความหายนะ โดยเฉพาะผู้มีอำนาจในสังคมถ้าไม่รู้จักการบริหารกิเลส ก็อาจทำให้เกิดกลียุคอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

ถ้าเราลองนำพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้ามาเป็นสรณะในภาวะวิกฤตินี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ จริงๆแล้ว ไภษัชยคุรุ ก็อาจหมายถึงคุณลักษณะของพระพุทธเจ้าประการหนึ่ง ที่พระองค์เคยเปรียบตัวพระองค์เองเหมือนแพทย์ผู้เยียวยารักษาชาวโลกที่เจ็บไข้ได้ป่วยและเปรียบพระธรรมคำสั่งสอนเหมือนตัวยาขนานต่างๆที่ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์(ปรากฎคำกล่าวในลักษณะนี้หลายแห่งในพระไตรปิฎก เช่น ติกิจฉสูตร อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกทสกนิบาต พระไตรปิฎก ฉบับหลวง พ.ศ. 2525 เล่มที่16 เป็นต้น)

ในเบื้องต้น วิธีการนำพระไภษัชคุรุพุทธเจ้า มาเยี่ยวยาสังคม คือ เราต้องยึดหลักธรรมะ เป็นตัวตั้ง แล้วนำพระธรรม คือ ยาอันดีเลิศเข้าไปสู่ใจของเรา

ธรรมโอสถขนานแรก คือ ความศรัทธา เราต้องมีความตั้งมั่นในใจ เชื่อมั่นว่า ธรรมะ จะสามารถเยี่ยวยาสังคมที่มีแรงแห่งกิเลสเดือดพล่านได้

ธรรมโอสถขนานที่ 2 คือ ทาน (การให้) สังคมที่มีการเผื่อแผ่แบ่งปัน คือ สังคมแห่งสันติสุข การให้มิใช่ว่าเราจะให้แต่วัตถุสิ่งของเท่านั้น ถ้าเราให้ความรู้ที่ถูกต้อง ให้การคุ้มครองดูแลซึ่งกันและกัน ให้วาจาที่ดีงาม ก็ถือเป็นการเยี่ยวยาสังคมที่กำลังเดินไปสู่ความเห็นแก่ตัวและขาดสันติสุขได้

ธรรมโอสถขนานที่ 3 คือ การสำรวจตนเองด้วยศีล เพราะศีลคือบรรทัดฐานในเชิงศาสนาที่วัดความเป็นปรกติของความเป็นมนุษย์ เบื้องต้นของปุถุชนคนธรรมดา คือ การมีศีล 5 ข้อแรก คือ ห้ามใจไม่ให้เข่นฆ่า ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน ข้อ2 คือห้ามใจต่อการคดโกง ลักขโมยของอันเป็นสมบัติของผู้อื่นและสมบัติของสาธารณชน ข้อที่ 3 คือซื่อตรงต่อคนที่เรารักและคู่ครองของตนอันเป็นคุณสมบัติส่วนตัวที่สำคัญอันอาจกระทบถึงผู้อื่น ข้อที่ 4 ไม่กล่าววาจาโกหก หลอกลวงด้วยความเท็จ อันจะนำไปสู่ความเกลียดชังและสุมไฟแห่งความขัดแย้ง การบิดเบือนข้อมูลก็อยู่ในขอบเขตนี้เช่นกัน ข้อที่ 5ไม่เสพของมึนเมาอันเป็นทางมาของการขาดสติและเผยสัญชาตญาณอันไม่พึงประสงค์

ธรรมโอสถขนานที่ 4 คือ มี สติ รู้เท่าทันปรากฏการณ์ทางสังคม รู้เท่าทันอารมณ์ และรู้เท่าทันข่าวสาร มีวิจารณญาณในการฟัง ในการพบเห็น ในการพูด ในการคิดพิจารณา เราต้องมีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา

ธรรมโอสถขนานที่ 5 คือ ความเมตตากรุณา ในภาวะปัจจุบันนี้เรามักพลักไสให้คนที่เห็นต่างจากเราเป็นศรัตตรู พร้อมที่จะเผชิญหน้า และถกเถียงเพื่อเอาชนะคะคาน แต่ถ้าเรามีจิตเมตตากรุณาต่อกัน เปิดใจของเราให้กว้างและวางอคติโดยใช้ความขัดแย้งเปลี่ยนเป็นสนามในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฟัง คิด พูด ทำ ต่อกันด้วยจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตา เชื่อแน่ว่าสนามแห่งความขัดแย้งจะแปลเปลี่ยนเป็นสนามแห่งปัญญา เพราะ ความเมตตา จริงใจ ที่เรามีให้แก่กันและกัน นี้คือเมตตาในเบื้องต้น

ธรรมโอสถขนานที่ 6 คือ ความอดทนอดกลั้น แรงโหมของความขัดแย้งย่อมอาจเกิดการกระทบกระทั่งเป็นธรรมดา ความอดทนเป็นสิ่งที่ควบคุมกิเลสกองความโกรธได้อย่างดี เราจะเห็นได้ว่าไม่ว่าฝ่ายใด พอเกิดความโกรธเข้าแล้วถ้าไม่รู้จักมีความอดทนก็ทำให้เกิดการสูญเสียอย่างน่าเสียดาย

นี้คือ ธรรมโอสถ 6 ประการ ถ้าเรานำยาดี 6 ขนานนี้เข้ามาสู่ใจนั่นคือการเชื้อเชิญพระไภษัชคุรุพุทธเจ้าให้มาเยียวยาสังคมแห่งความเจ็บป่วยให้หายจากความเป็นโรคร้าย จริงแท้แล้ว ไภษัชยคุรุในคัมภีร์มหายานก็อาจเป็นกุศลบายในการสร้างจิตศรัทธาตั้งมั่นในคุณงามความดีในรัตนตรัยคุณ เพราะถ้าเรา ไม่ว่าจะเป็นปัจเจกบุคคล หรือ สังคมมีหลักธรรมแล้วเชื่อแน่ว่าความสันติสุข ความสงบเย็น ศานติภาพก็จะบังเกิดอย่างยั่งยืน.....

อ้างอิง
กรมการศาสนา,พระไตรปิฎก ฉบับหลวง. กรุงเทพ:โรงพิมพ์กรมการศาสนา 2525
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์,ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตสูตร.กรุงเทพ:ศูนย์ไทยธิเบต,2548
ภิกษุจีนวิศวภัทร,พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร.กรุงเทพ:คณะศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่หมื่นคุณธรรมสถาน,2550
ภิกษุณีธัมมนันทา.พระไภษัชยคุรุฯการตั้งปณิธานเพื่อต่อชีวิต.วารสารพุทธสาวิกา ฉบับที่ 28 ตุลาคม-ธันวาคม 2551:หน้า4-6

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.272 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 18 พฤศจิกายน 2567 08:42:50