[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 19:01:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โทษตัวร้าย!! ของความตระหนี่ ทำให้..จากมหาเศรษฐี กลายเป็นขอทานอัปลักษณ์  (อ่าน 2847 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.272 Chrome 50.0.2661.272


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 สิงหาคม 2559 06:32:20 »



โทษตัวร้าย!! ของความตระหนี่ ทำให้..จากมหาเศรษฐี กลายเป็นขอทานอัปลักษณ์

ครั้งหนึ่งสมัยที่สมเด็จพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์ชีพ สมัยนั้นมีเศรษฐีชราผู้หนึ่งนามว่าอานันทเศรษฐี

เขามีทรัพย์มากมายถึง ๘๐โกฏิ (แปดร้อยล้าน)! เศรษฐีผู้นี้แม้จะร่ำรวยเงินทองถึงปานฉะนี้ แต่แทนที่เขาจักใช้ทรัพย์ไปในทางที่ฉลาดอย่างผู้มีปัญญา เช่นบริจาคให้กับคนยากไร้ หรือนำไปสร้างถาวรวัตถุที่เป็นประโยชน์ต่อผู้คนแลสังคม ที่ไหนได้เขากลับมิได้คำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ มิหนำซ้ำยังกระทำไปในทางตรงกันข้าม! ยิ่งมีทรัพย์มากเท่าไหร่ จิตใจเขาก็ยิ่งพอกพูนไปด้วยความโลภมากเท่านั้น

ทุก ๆ กึ่งเดือนเขามักจักเรียกบุตรหลานให้มาประชุมพร้อมกัน เพื่ออบรมตักเตือนมิให้ผู้เยาว์เหล่านั้นนำทรัพย์

ไปใช้ในทางไม่ถูกไม่ควรอยู่เสมอว่า “นี่แน่ะเจ้าพวกผู้เยาว์! ทรัพย์ที่มีอยู่ ๘๐โกฏิพวกเจ้าอย่านึกว่ามันมากมายนักน่ะ ทรัพย์เหล่านี้ไม่ควรจักนำไปใช้ไม่ว่าจักเป็นกรณีใด ๆ ถ้าการนั้นไม่ก่อให้เกิดกำไรขึ้นมา โดยเฉพาะการบริจาคให้กับคนยากไร้หรือพวกนักบวชที่เกียจคร้านไม่ยอมทำมาหากิน ขอจงอย่าได้กระทำเป็นอันขาด! เพราะการให้ทานกับคนพวกนี้มันไม่ได้ทำให้ทรัพย์ของเราเพิ่มขึ้น มีแต่จักทำให้ทรัพย์ที่มีต้องลดน้อยถอยลงไปอีก

จงสังวรไว้ว่าทุกครั้งที่พวกเจ้าใช้ทรัพย์ไปแม้จักเป็นปริมาณเล็กน้อยก็ตาม นั่นก็คือภาวะอันจักนำพวกเจ้าไปสู่การสิ้นทรัพย์ในที่สุด! เพราะทรัพย์จักต้องหมดลงไม่วันใดก็วันหนึ่ง จงจำภาษิตที่ข้าจักกล่าวต่อไปนี้ให้ดี น้ำมันหยอดตาแม้จักใช้ทีละหยดสองหยด แต่เนิ่นวันไปมันย่อมหมดลงได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ฉันใดก็ฉันนั้น ทรัพย์ที่เจ้าใช้ไปทีละนิดทีละหน่อย ฤามันจักอยู่คู่กับเจ้าอย่างไม่มีวันหมดสิ้นไปได้?



ขอพวกเจ้าจงดูจอมปลวกเป็นตัวอย่างเถิด จอมปลวกที่เห็นโตใหญ่ กว่าที่มันจักใหญ่เท่ากับภูเขาเลากาได้ก็ไม่เพราะต้องอาศัยความมานะบากบั่นของปลวกตัวเล็กตัวน้อยค่อยๆก่อค่อยๆสร้างกันมาดอกหรือ? อีกทั้งมธุรสหวานล้ำที่อยู่ในรวงรังผึ้ง กว่าจักถึงซึ่งความมากมาย ฤามิใช่เพราะต้องอาศัยความขยันขันแข็งของเหล่าผึ้งงานทำการเก็บเล็กผสมน้อย จึงมีน้ำหวานได้มากถึงปานฉะนี้! ดังนั้นขอพวกเจ้าจงถือเอาสัตว์ทั้งสองนี้เป็นครู จงพยายามหาทรัพย์มาให้มากที่สุดเท่าที่จักหาได้ แลจงอย่าได้ใช้ทรัพย์ออกไป แม้แต่เพียงเล็กน้อยเป็นอันขาด! ”

เศรษฐีเฒ่าพยายามพล่ามกล่าวตักเตือนบุตรหลานอยู่อย่างนี้เรื่อยมา ต่อมาไม่นานเขาก็ละสังขารไปจากโลกตามอายุขัย แต่เนื่องจากเป็นผู้ที่มากไปด้วยความโลภเป็นสันดาน ก่อนตายจึงมิอาจปล่อยวางในทรัพย์สมบัติได้ดังนั้นพอตายไปจึงไปปฏิสนธิในครรภ์ของหญิงจัณฑาลนางหนึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนคนจัณฑาล ห่างจาก

กรุงสาวัตถีออกไปไม่ไกลนัก

ปกติความเป็นอยู่จัณฑาลนางนี้ก็ถือว่าอัตคัดขัดสนอยู่แล้ว เพราะต้องขอทานเขาเลี้ยงชีพ พอเริ่มตั้งครรภ์สภาพขัดสนที่ว่ากลับต้องลำบากลำบนมากยิ่งขึ้นไปอีกเป็นหลายเท่าตัว และไม่เพียงแต่นางที่ลำบากขึ้น ความลำบากนี้ยังแผ่คลุมไปทุกครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในชุมชนคนจัณฑาลแห่งนี้ด้วยต่างหาก!



ลาภผลจากที่เคยมี พอได้ประทังชีวีกันตามอัตภาพ จู่ ๆ ก็พลันฝืดเคืองลงไป ผู้คนจากเคยทักทายกัน แม้บางมื้อบางวันจักกินเข้าไปก็แทบไม่อิ่มท้อง อยู่ ๆ ก็กลับบึ้งตึงโดยไม่ทราบสาเหตุ ความผิดปกติได้ขยายออกไปเป็นวงกว้างจนคนในชุมชนเริ่มรับรู้ ดังนั้นจึงมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ต่างเห็นว่าจักต้องมีใครคนใดคนหนึ่งในชุมชนเขาที่เป็นคนกาลกินีแน่ เหตุอาเพสนี้ถึงได้เกิดขึ้น!

เมื่อการวิพากษ์วิจารณ์มีมาก เพื่อมิให้เรื่องราวลุกลามใหญ่โต ผู้นำชุมชนจึงเรียกคนในชุมชนมาประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไข แหละผลที่ได้ก็เป็นดังคาด คือในชุมชนพวกเขาจักต้องมีใครคนใดคนหนึ่งที่เป็นคนกลากินีอย่างแน่นอน ฉะนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งคนผู้นี้ผู้นำชุมชนจึงสั่งแบ่งคนออกเป็นสองพวกเท่า ๆ กัน พวกแรกให้ไปขอทานยังด้านทิศเหนือในเช้าพรุ่งนี้ ส่วนพวกที่สองซึ่งมีหญิงจัญฑาลแลสามีร่วมอยู่ด้วย ให้ไปขอทานยังด้านทิศใต้! แล้วตอนเย็นกลับถึงชุมชนให้ผู้นำสองกลุ่มมารายงานผลให้เขาทราบ!

รุ่งขึ้นจัญฑาลสองพวกก็ไปขอทานตามที่ตกลงกัน เย็นนั้นหลังจากที่เลิกขอทานปรากฏพวกที่ไปขอทานยังด้านทิศเหนือต่างก็หัวเราะเริงร่ากันมาตลอดทาง เนื่องจากวันนี้ไม่ทราบเป็นเพราะเหตุใด อยู่ ๆ บรรดาผู้ใจบุญต่างออกมาบริจาคทานกันอย่างมากมายผิดหูผิดตา ทำให้พวกเขาได้ลาภเป็นของกินของใช้ติดไม้ติดมือกันมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงมีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสเป็นพิเศษ!

ส่วนพวกที่ไปขอทานยังด้านทิศใต้หาได้มีโชคดีเยี่ยงนั้น! วันนี้ไม่รู้เป็นวันมหาอุบาทว์อันใด ไม่ว่าพวกเขาจะไปตรอกไหนซอยไหน ก็หาได้มีผู้ใดออกมาบริจาคทานแม้แต่เพียงรายเดียว บรรดาผู้ใจบุญซึ่งเคยมีบ้าง อยู่ ๆ ก็กลับเงียบหายไปเสียยังงั้น ไม่มีเฉียดกรายเข้ามาให้เห็นแม้เงา ดังนั้นพวกเขาจึงต้องกลับบ้านกันด้วยมือเปล่าทุกคน!



และยิ่งมาเห็นพวกแรกสีหน้าระรื่นแจ่มใส กินข้าวกินปลากันอย่างอิ่มหมีพีมัน พวกเขาก็พลันหงุดหงิดขึ้นมาทันที พากันด่าทอถึงความโชคร้ายของตนว่าจักต้องมีคนที่เป็นกาลกิณีอยู่ในกลุ่มพวกเขาแน่ พวกเขาถึงได้อับโชคขนาดนี้!

หลังจากสองกลุ่มกลับถึงชุมชนผู้นำชุมชนจึงเรียกหัวหน้ากลุ่มเข้าไปสอบถาม จากนั้นจึงประกาศให้คนในชุมชนมาประชุมพร้อมกันเพื่อชี้แจงวิธีการขั้นต่อไป “พี่น้องทั้งหลาย บัดนี้ผลได้ประจักษ์แล้ว จักต้องมีพวกเราคนใดคนหนึ่งที่เป็นคนกาลกิณีอย่างแน่นอน แหละคนผู้นั้นก็อยู่ในกลุ่มที่ไปขอทานยังด้านทิศใต้วันนี้! ดังนั้นขอพวกที่ไปขอทานทางด้านทิศใต้จงฟังให้ดี ขอพวกท่านจงแบ่งคนของตนออกเป็นสองกลุ่มเท่าๆกัน แล้วให้พากันไปขอทานยังทางด้านทิศใต้เหมือนเดิม แต่ให้แยกกันไปคนละหมู่บ้านอย่าซ้ำกัน! เย็นพรุ่งนี้ได้ผลอย่างไรมาแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบเป็นการด่วน! สำหรับวันนี้แยกย้ายกันไปพักผ่อนได้แล้ว ”

หลังจากผู้นำชุมชนใช้วิธีแบ่งกลุ่มให้มีขนาดเล็กลง เล็กลงเรื่อย ๆ ในที่สุดหญิงจัณฑาลแลสามีก็จำต้องแยกกันไปขอทานคนละหมู่บ้าน! เย็นวันนั้นหลังจากที่เลิกขอทานปรากฏหน้าบ้านเขาทั้งสองได้มีกลุ่มคนจำนวนมากซึ่งต่างก็เป็นเพื่อนบ้านในชุมชน พากันมายืนรอเพื่อจักดูว่าสามีภรรยาคู่นี้ ผู้ใดแน่ที่เป็นคนกาลกิณี!

และแล้วสิ่งที่ทุกคนรอคอยก็ปรากฏ ด้านซ้ายพวกเขามีชายผู้หนึ่งกำลังมุ่งมาทางบ้านหลังนี้ ในมือหอบหิ้วของกินของใช้มาจนล้นมือ สีหน้ายิ้มแย้มเบิกบาน! ขณะเดียวกันด้านขวาก็เห็นหญิงมีครรภ์นางหนึ่งกำลังมุ่งหน้ามาทางบ้านหลังนี้เช่นกัน มือทั้งสองของนางว่างเปล่า ใบหน้าซีดเซียวแทบไม่เห็นสีเลือด เดินโซซัดโซเซดังราวกับคนไม่มีวิญญาณ ภาพทั้งสองแม้ไม่มีคำบรรยายแต่ทุกคนก็ทราบแล้วว่า ใครคือคนกาลกิณี!



บัดนี้เมื่อเหตุแห่งปัญหาถูกเผยออกมา เพื่อให้ความสงบกลับสู่ชุมชนโดยไว จัณฑาลทั้งหลายจึงมีความเห็น หญิงมีครรภ์นางนี้ต้องออกไปจากชุมชนพวกเขาทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข! เมื่อเสียงส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องชายผู้เป็นสามีก็มิอาจทัดทานใดๆได้ จำต้องให้ภรรยาเก็บข้าวของไปจากชุมชน

ฝ่ายจัณฑาลิณีผู้มีกรรมหลังจากถูกขับออกจากหมู่เพื่อน นางก็ต้องระหกระเหินเร่ร่อนไปตามยถากรรม ค่ำไหนก็นอนนั่น ต้องทนอดมื้อกินมื้อ ลำบากลำบนเหลือที่จักกล่าว แต่ถึงจะทุกข์เพียงใดก็ยังสู้ทนอุ้มท้องบุตรในครรภ์โดยมิเคยตัดพ้อต่อว่าแม้แต่เพียงครั้งเดียว! จนได้เวลาทลิทโทฤกษ์อันเป็นเวลาเกิดของพวกยาจกขอทาน หรือพวกคนเข็ญใจทั้งหลาย จัณฑาลนางนี้ก็คลอดลูกชายออกมาผู้หนึ่ง มีรูปกายที่ทุเรศอัปลักษณ์เกินกว่ามนุษย์จักพึงมี ตลอดหัวจรดเท้าไม่ว่าจักมองมุมไหนก็มิได้เหมือนผู้เหมือนคน แต่ดันพิกลไปเหมือนกับผีกับเปรตเหมือนปีศาจคลุกฝุ่นเสียยังงั้น! ทั้งนี้เพราะกรรมบันดาลให้เป็นไป

แต่ถึงบุตรจักมีหน้าตาน่าเกลียดเพียงใดผู้เป็นแม่ก็หามีใจรังเกียจเดียดฉันท์แม้แต่น้อย นางเฝ้าเลี้ยงดูฟูมฟักทะนุถนอมลูกรักอย่างเต็มกำลังความสามารถเสมอมา จนบุตรน้อยมีวัยพอจักรู้เดียงสา วันหนึ่งจึงเรียกลูกเข้ามา พร้อมกันนั้นก็ยื่นสมบัติล้ำค่าคือกะลาขอทานให้ไป จากนั้นจึงตัดใจสั่งสอนบุตรเป็นครั้งสุดท้ายว่า

“ ลูกเอ๋ย! บัดนี้เจ้าก็เจริญมาด้วยวัยอันควร แม่นี้ไม่มีสิ่งใดจักให้เจ้าไว้เป็นสมบัติติดตัว เห็นอยู่ก็แต่กะลามะพร้าวใบนี้เท่านั้น ขอเจ้าจงใช้มันเป็นเครื่องเลี้ยงชีพสำหรับตนเถิด แลขอเจ้าจงจำไว้ว่า แม้เราจักมีชะตาอาภัพเพียงใด แต่ก็ยังภูมิใจมิเคยที่จักประพฤติตนเป็นโจรฤาคนพาล! ฉะนั้นเจ้าจงใช้กะลาที่แม่ให้นี้ เที่ยวขอทานผู้คนเลี้ยงชีวีเถิดลูกรัก!” บุตรน้อยเมื่อได้รับกะลามะพร้าวจากแม่ก็ดีใจ รีบอำลาผู้เป็นมารดาทันใด จากนั้นก็วิ่งลับหายปะปนไปกับผู้คนตามท้องถนนทันที!



นับแต่แยกจากมารดาขอทานน้อยก็ใช้วิชาที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด เที่ยวขอทานผู้คนเรื่อยมา แต่ก็อดอยากไม่มีใครอยากให้

จนวันหนึ่งเขามาเจอเข้ากับปราสาทหลังหนึ่ง มีความใหญ่โตอลังการเป็นอย่างยิ่ง ในความรู้สึกเขาปราสาทหลังนี้มันช่างคุ้นตาเสียนี่กระไร? ไม่ว่าจักเป็นรูปทรงสีสัน ตลอดจนถึงหน้าต่างประตู  เหมือนว่าจักเคยเห็นมาก่อนเสียอย่างงั้น!

ก็จักไม่คุ้นได้อย่างไร? ในเมื่อปราสาทหลังนี้มันก็คือปราสาทของเขาในชาติที่เป็นเศรษฐีจอมงกนั่นเอง! ดังนั้นพอมาเจอชาตินี้เขาจึงรู้สึกคุ้นเคยผูกพัน มันย่อมเป็นเรื่องธรรมดา

หลังจากพิจารณาอยู่นานว่าเคยเห็นปราสาทหลังนี้มาจากที่ไหน ในที่สุดก็จำได้ว่าปราสาทหลังนี้แท้จริงมันก็คือปราสาทของเขาเมื่อชาติที่แล้วนั่นเอง! ดังนั้นจึงไม่รอช้า รีบสาวเท้าเข้าไปทันใด ขณะนั้นบรรดาข้าทาสที่ทำงานนอกตัวปราสาทเมื่อเห็นขอทานสกปรกมอมแมม หน้าตาน่าเกลียดราวกับผีกับเปรตกับปีศาจคลุกฝุ่นก็มิปาน เดินมุ่งมายังปราสาทตน ต่างก็พากันตะโกนขับไล่ด้วยเกรงว่าเขาจะมาทำให้ปราสาทพวกตนมัวหมอง

แต่ถึงจักขู่ตะคอกเพียงใดก็หาทำให้เด็กหน้าผีมีใจสะทกสะท้านไม่! มิหนำซ้ำยังกลับเดินลิ่วเข้ามาอีกต่างหาก เมื่อเห็นดังนั้นแต่ละคนจึงละจากหน้าที่ เดินไปช่วยกันจับเด็กขอทานเหวี่ยงออกมาจากบ้าน



เพลานั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคได้เสด็จมายังบริเวณนั้นพอดี จึงทันทรงเห็นเหตุการณ์ ด้วยพระเมตตาพระองค์จึงตรัสกับเหล่าข้าทาสว่า “ ดูก่อนท่าน ทั้งหลาย! ขอจงงดโทษให้กับขอทานน้อยผู้นี้ด้วยเถิด เพื่อบาปจักได้ไม่เกิดกับพวกท่านมากไปกว่านี้! ” บรรดาข้าทาสพอฟังจึงหยุดมือลง พร้อมกันนั้นต่างก็ก้มลงกราบยังเบื้องพระพักตร์โดยพร้อมเพรียงกัน

สมเด็จพระศาสดาครั้นทรงเห็นพวกเขาคลายจากโทสะจึงทรงมีพระพุทธบรรหารตรัสกับพวกเขาว่า แท้จริงขอทานผู้นี้ชาติที่แล้วก็คือท่านอานันทเศรษฐีผู้เป็นเจ้าของปราสาทหลังนี้นั่นเอง แต่เพราะกรรมที่เป็นคนตระหนี่ ไม่ยินดีในการบริจาคทาน พอตายไปบาปอกุศลจึงนำให้เขาไปเกิดในสกุลของคนจัณฑาล มีฐานะยากจน ต้องกระเสือกกระสนขอทานผู้คนเลี้ยงชีพ ไม่เพียงแค่นั้นกรรมยังส่งผลให้เขามีรูปร่างหน้าตาที่อัปลักษณ์ เกินกว่าคนธรรมดาทั่วไปจักพึงมีด้วยต่างหาก!

ทีแรกท่านมูลสิริเศรษฐีผู้บุตรก็ยังไม่เชื่อ แต่ขณะนั้นขอทานน้อยได้ฟื้นขึ้นมา ดังนั้นพระองค์จึงทรงให้เขาทดสอบ โดยการพาไปชี้หลุมที่ฝังสมบัติไว้ โดยไม่บอกใครแม้แต่ลูกของตนเอง พร้อมกันนั้นก็ตรัสให้เขาพาคนทั้งหลายที่อยู่ ณ ที่นั้นไปขุดเอาสมบัติที่เขาแอบไปฝังไว้ถึง ๕ แห่ง นำมาแสดงให้กับผู้คนได้เห็นกัน

หลังจากสมบัติถูกขุดขึ้นมาท่านมูลสิริเศรษฐีจึงยอมเชื่อในพระพุทธฏีกา จากนั้นจึงหันมาเลื่อมใสศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาจริงจังมากขึ้น และไม่เพียงตัวเขา ต่อมาเขายังชักจูงบุตรหลานให้หันมาบริจาคทานรักษาศีลตามเขาด้วยต่างหาก เพื่อที่ว่าชาติหน้าฉันใดพอคนเหล่านี้ตายไป จักได้ไม่ต้องเกิดมามีสภาพที่น่าอเนจอนาถเหมือนดังปู่ทวดของตน! ส่วนตัวขอทานน้อยสุดท้ายลงเอยอย่างไร? ในตำรามิได้กล่าวไว้ ฉะนั้นจึงขอจบเรื่องเศรษฐีผู้มีกรรม เอาไว้แต่เพียงเท่านี้ .

จากตัวอย่างคงเห็นอานิสงส์ของการบริจาคทานกันแล้วกระมัง? ฉะนั้นใครที่ยังตระหนี่จนเพื่อนออกปาก  ประเดี๋ยวเกิดมาหน้าเหี่ยวเหมือนขอทานหน้าผีไม่รู้นะ !


อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.dhammathai.org/karma/dbview.php?No=141

สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11917.0.html

<a href="https://www.youtube.com/v/xMHZ5S2bsHc" target="_blank">https://www.youtube.com/v/xMHZ5S2bsHc</a>

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.439 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 20 ธันวาคม 2567 05:15:04