พฤหัสอัศจรรย์ ตามรอยพระพุทธเจ้า ผู้สืบทอดเชื้อสาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารุ่นปัจจุบัน อิ่มบุญ อิ่มใจ ร่วมสนทนาบุญ และตามรอยความรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ไปกับ กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์ ที่จะร่วมสนทนาธรรมกับ พระ ดร.อนิล ธมมสากิโย ศากยวงศ์ พระผู้สืบเชื้อสาย ศากยวงศ์ ในเมืองไทยเพียงรูปเดียว (ตระกูล ศากยวงศ์ คือ ตระกูลที่สืบเชื้อสายมาจากองค์พระพุทธเจ้า) 17 มกราคม 2556
ต้องบอกเลยว่า พระ ดร.อนิล เป็นพระภิกษุเชื้อสาย ศากยวงศ์รูปแรกที่บรรพชา และอุปสมบท สนองงาน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ตั้งแต่เป็นสามเณร รวมถึงเป็นพระรูปแรกที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนส่วนพระองค์ เรียนจนจบปริญญาเอก
งานนี้ ทำเอา “กฤษณ์” ถึงกับอึ้งและทึ่งในความสามารถของ พระ ดร.อนิล ความพิเศษ และมหัศจรรย์ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ พระ ดร.อนิล ยังให้ความรู้เกี่ยวกับพระธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา และความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล ว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไรบ้าง และศาสนาพุทธในประเทศเนปาลต้องประพฤติ ปฏิบัติกันแบบไหน พระ ดร.อนิล จะให้คำตอบแบบละเอียดถี่ถ้วน งานนี้ทำเอาอิ่มบุญ และอิ่มใจไปกับเรื่องราวของพุทธศาสนาทั้งในประเทศไทย และในประเทศเนปาล ห้ามพลาดเด็ดขาด
“พระ ดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย” มองลึกสังคมไทย เชื่อผิดๆ “กรรมนิยม-บุญนิยม” ไม่สอนให้เป็นผู้เป็นคนและรู้เท่าทันโลกเสวนา “หนึ่งจุดหมายหลายหนทาง”กับองค์ดาไลลามะของพระภิกษุและชาวไทย ณ กรุงเดลี ประเทศอินเดีย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 15-16 ธันวาคม 2555โลกที่วุ่นวายในปัจจุบัน ยังคงวุ่นวายอยู่ต่อไป เป็นวงจรที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
หากใช้องค์ความรู้ตลอด 2600 ปีที่ผ่านมาในการพินิจพิจารณาก็จะบอกว่า เป็นเพราะมนุษย์ขาดความเมตตา ขาดความกรุณาต่อเพื่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ปัญหาของโลกจึงมากมายประหนึ่งว่าอีกไม่นานโลกจะต้องแตก หากไม่ร่วมมือร่วมใจกันมาสร้างความยั่งยืนให้กับโลกใบนี้
ด้วยเหตุนี้ การจัดการกับปัญหาของโลกจึงเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ ขณะที่โลกตะวันตกเองยังรับมือไม่ไหว โลกตะวันออกก็พยายามพัฒนาองค์ความรู้ที่มีมาแต่โบราณกาล ซึ่งสามารถเอาวิทยาศาสตร์มาเป็นเครื่องพิสูจน์รับรองว่าได้ผลจริง แก้ปัญหาได้ และเป็นยาสามัญที่สามารถแก้ได้ทุกโรค
ดังที่
“องค์ดาไลลามะ” ผู้นำทางจิตวิญญาณคนสำคัญของโลกยุคปัจจุบัน ได้เคยกล่าวว่า “ปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ ในโลกเกิดขึ้นเพราะเรามองไม่เห็นพื้นฐานความเป็นมนุษย์ที่เรามีร่วมกันและร้อยรวมใจพวกเราเข้าเป็นครอบครัวเดียวกัน เราลืมไปเสียแล้วว่า แม้เราจะมีความต่างกันที่เปลือกนอก คนเราทุกคนมีความปรารถนาที่แท้จริงเดียวกันคือทุกคนต้องการสันติสุข …ดังนั้น ไม่กี่ปีมานี้ข้าพเจ้าพบว่า เรื่องที่เหมาะสมที่จะพูดคือเรื่องความจำเป็นที่จะบ่มเพาะสิ่งที่เรียกว่าจริยธรรมแบบไม่ผูกติดกับศาสนา (secular ethics) ที่เรียกเช่นนี้เพราะทุกคนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดหรือไม่นับถือศาสนาเลย ต่างจำเป็นต้องมีจริยธรรมประเภทนี้ พื้นฐานสำคัญของมนุษยชาติคือความรักและความเมตตา …”
เมื่อความเสื่อมเกิดในทุกๆ จุด การเยียวยาก็ยิ่งเปราะบางมากขึ้น
พระ ดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย (ศากยะ) ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ผู้มีบทบาททางวิชาการด้านพุทธศาสนาและมานุษยวิทยาพระ ดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย (ศากยะ)ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ผู้มีบทบาททางวิชาการด้านพุทธศาสนาและมานุษยวิทยา และมักได้รับอาราธนาเป็นองค์ปาฐกในการประชุมระดับชาติและนานาชาติ ครอบคลุมเนื้อหาทางด้านพุทธศาสนา มานุษยวิทยา เศรษฐกิจ และการเมือง พระ ดร.อนิลมานเป็นหนึ่งในวิทยากรที่ร่วมสนทนาธรรมกับองค์ดาไลลามะ ศาสตราจารย์พระภิกษุซิมดอง รินโปเช อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐบาลทิเบตพลัดถิ่น และวิทยากรรูป/ท่านอื่นๆ ในเสวนา
“หนึ่งจุดหมายหลายหนทาง” กับองค์ดาไลลามะของพระภิกษุและชาวไทย ณ กรุงเดลี ประเทศอินเดีย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 15-16 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา และได้ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวไทยพับลิก้าต่อแนวทางและบทบาทของศาสนาในอนาคตที่จะแก้ปัญหาโลกในยุคปัจจุบัน
ไทยพับลิก้า : บทบาทของพุทธศาสนาจะช่วยให้โลกอยู่อย่างยั่งยืนได้อย่างไรคำถามนี้คงต้องตั้งคำถามใหม่ เพราะว่าสิ่งที่คุณถามว่าโลกยั่งยืนนั้น มันเป็นคำถามที่ผิดคำถามแล้ว เพราะตามหลักพระพุทธศาสนานั้นไม่มีอะไรที่เป็นนิจจัง ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนิจจัง เพราะฉะนั้น ในแง่ที่ว่าโลกยั่งยืนนั้นคงไม่มี เราจะต้องมองว่า เราจะอยู่ในโลกที่มันแปรเปลี่ยน โลกที่มันเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็วอย่างนี้ ให้มันปลอดภัยได้อย่างไร เราจะอยู่อย่างไรให้เป็นสุขได้ ตอนนี้เหมือนกับว่าพวกเราต้องอยู่บนคลื่นน้ำที่มันไหลแรง เพราะฉะนั้น หากเราไม่สามารถรักษาความสมดุลของตัวเราบนแผ่นไม้ หรือเรือ หรืออะไรก็แล้วแต่ เราจะถูกซัดไป
เราจะเห็นว่า โลกปัจจุบันนี้กระแสของกิเลสมันแรงเหลือเกิน และในแง่ของกิเลสอันนี้เราจะครองตัวได้อย่างไร และนี่ก็คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตอบ ไม่ใช่ว่าโลกจะยั่งยืนหรือไม่ยั่งยืน
เพราะในความเป็นมนุษย์ซึ่งแปลว่าผู้มีใจสูง หรือพูดง่ายๆ ว่าความเป็นมนุษย์เราแตกต่างจากสรรพสัตว์ เรารู้จักการปรับเปลี่ยน เรารู้จักอนิจจัง เราก็จะสามารถปรับเปลี่ยนสภาพของเรา ความคิดของเรา การเป็นอยู่ของเรา ให้เข้ากับสภาพนั้นได้ แต่ว่าถ้าเราไม่ทันได้รู้ขึ้นมา เราจะรู้สึกสูญเสีย เช่น ถ้าเราเสียอะไรไป เราจะเกิดการเสียใจ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเรารู้เท่าทันว่า มันก็คือเช่นนั้นแล มันก็เป็นเช่นนั้นแล เราก็บอกว่าเราก็ปรับใจได้ ไม่ได้หมายความว่าตัดใจนะ ถ้าตัดใจแบบไม่มีอุปาทานเลย แบบไม่มีกิเลสก็แบบหนึ่ง ปล่อยวางเลยก็อีกแบบหนึ่ง แต่เราไม่ต้องถึงขั้นนั้น ในชีวิตทุกวันนี้ ถ้าเรารู้เท่าทันว่าชีวิต-ความเปลี่ยนของโลกเป็นอย่างไร เราก็บอกว่า อืม…ทำไงได้ล่ะ นี่คือสิ่งที่เราต้องการ ว่าเราอยู่ในโลกนี้ มันต้องได้ มันต้องเสีย
เวลาพูดกับคนอื่นเราพูดได้ แต่เวลาเกิดกับตัวเองเราลืมคำสอนตัวนั้น คำสอนเหล่านั้น พระพุทธเจ้าไม่เคยบอกว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า
“เทศนา” ในภาษาบาลี คือ คำว่าเทศน์แปลว่าแสดง คือชี้ให้เห็น แสดงว่ามีอยู่แล้ว ข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้ว แต่เราบางทีมองไม่เห็น บางทีลืมที่จะดู
ดังนั้น หน้าที่ของพระพุทธเจ้าหรือพุทธศาสนา คือชี้ข้อเท็จจริงเหล่านั้นให้เราเห็น เตือนเราให้เห็น พอเราถูกเตือน พอเราเห็นขึ้นมา ด้วยสัญชาตญาณความเป็นมนุษย์ ที่ธรรมดาเราก็รู้จักเอาตัวรอด
ดังนั้น คำสอนของพระพุทธศาสนาคือ การที่จะอยู่ในโลกอย่างมีสันติสุขหรือสงบ แต่บางคนอาจจะขยับขึ้นไปว่าจะไม่กลับมาเกิด ก็อีกเรื่องหนึ่ง เป็นพระอรหันต์ก็อีกเรื่องหนึ่ง
แต่ว่าในชีวิตประจำของคนเรา เวลาเราพูดถึงเรื่องของ “โลก” คิดว่าแม้แต่ว่าคำโลกเอง ก็มีนัยยะสำคัญในภาษาบาลี “โลโก ลุชฺชตีติโลโก” หมายถึงธรรมชาติของความเสื่อม เพราะคำว่าโลกในคำภาษาบาลีนั้นไม่ได้หมายถึงโลกของความคิดของชาวบ้านทั่วไป ขณะที่โลกของความคิดชาวบ้านทั่วไปคือที่เป็นอิฐ ดิน ปูน ต้นไม้
แต่พระพุทธเจ้ามองลึกไปกว่านั้น ท่านมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่โลกมีอยู่นั้นมีสภาพเป็นธรรมชาติ คือความเสื่อม
ฉะนั้น คำว่าโลกในภาษาบาลีแปลว่าเสื่อม มีความเสื่อมเป็นธรรมดา การเข้าใจโลกคือเข้าใจอนิจจัง หากเรายืนหลักอนิจจังได้ เราก็อยู่ได้อย่างยั่งยืน มีความสุขอย่างยั่งยืน ไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ก็เท่านั้นเอง
ไทยพับลิก้า : โลกที่เปลี่ยนเร็วมาก ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น การปรับตัวตรงนี้ พุทธศาสนาจะมีส่วนช่วยได้มากน้อยแค่ไหน บทบาทของพุทธศาสนา นอกจากช่วยชี้แล้ว รูปธรรมอื่นๆ ควรเป็นอย่างไรแน่นอน เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงในกระแสหลัก 1. เราต้องมีองค์ความรู้ และเอาองค์ความรู้นั้นมาเตือนตลอดเวลา แต่ถ้าเรามีความรู้เท่าทัน เราก็จะสามารถทำตัวเองได้ ในแง่ที่เรามาประชุมกัน 2 วันนี้ (สนทนาธรรมกับองค์ดาไลลามะ 15-16 ธันวาคม 2555) สิ่งที่ดาไลลามะชี้ให้เห็นชัดเจนเลย ท่านก็บอกว่าคำสอนของพระพุทธศาสนาในพระไตรปิฎก ที่ออกมาเป็นพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ถ้าในประเทศไทยก็ 45 เล่ม ถ้าในทิเบตมีอยู่ 100 กว่าเล่ม สรุปแล้วทั้งสองอัน พระไตรปิฎก พูดกันง่ายๆ คือ มีคัมภีร์ส่วนหนึ่งเป็นพระวินัยคือเรื่องของศีล ส่วนพระสูตรคือเรื่องสมาธิ ส่วนพระอภิธรรมคือเรื่องของปัญญา ดังนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา คืออะไร
ศีลก็คือ ทำให้มองเห็นความสำคัญของคนอื่น ถ้าเราอยู่คนเดียว จำเป็นต้องมีศีลไหม ศีลจำเป็นขึ้นมาเพราะเราอยู่กับคนอื่น การที่เราอยู่กับคนอื่นทำให้เรารู้ เข้าใจกับคำว่า เมตตา กรุณา ว่าอยู่อย่างการุณย์ได้อย่างไร ทำให้มองเห็นคุณค่าของการุณย์ เพราะศีล ดังนั้นศีลไม่ได้แปลว่าข้อห้าม แปลว่าปกติ ปกติโดยธรรมชาติของมนุษย์เรามันอยู่ร่วมกัน ความปกติมันเกิดขึ้นมาจากไหน มนุษย์เราเกิดมาจากมนุษย์อีกคนหนึ่ง ถ้าเกิดมาคนเดียว สมมติหมาพาไปเลี้ยง ก็จะเป็นคนไหมล่ะ ร่างกายมันเป็นคน แต่พฤติกรรมเป็นหมาไปหมด มนุษย์เราโดยธรรมชาติมันต้องอาศัยคนอื่น
ฉะนั้น ความเป็นตัวตนของเรามันเกิดจากไหนล่ะ มันเกิดจากคนรอบข้าง เพราะฉะนั้น เมื่อเราเลือกที่จะอยู่ในสังคมแบบนั้น เราต้องมีอำนาจในระดับหนึ่ง แต่ระดับสูงสุดอาจจะไม่มี เพราะเราเกิดมาก็มีบริเวณหลายๆ อย่างมาบังคับ แต่ว่าเราก็มีอำนาจ มีสิทธิจะอยู่ มีสิทธิจะรับ หรือไม่รับ นั่นคือปัญญา
ซึ่งความปกติในความเป็นมนุษย์ของเราเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติศีล ศีลทำให้เราเห็นคุณค่าของคนอื่น ศีลทำให้เราเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม นั่นคือความเป็นปกติแต่ว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่า นั่นคือความเป็นปกติ ดังนั้น ความเป็นปกติของเราทุกคน การที่จะอยู่ร่วมกันด้วยการุณย์ เมตตา กรุณา อยู่ด้วยความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน นั่นคือธรรมะ นั่นคือความปกติของมนุษย์
ในครอบครัว ถ้าครอบครัวปกติมันต้องมีสิ่งเหล่านี้
นั่นคือธรรมะ คือธรรมชาติ รากศัพท์คือแปลว่าทรงไว้ อะไรก็แล้วแต่ที่มันเกาะกุมกันอยู่ นั่นคือธรรมะ ดังนั้น การเกาะตัวตนของเรานั่นคือธรรมะ ถ้ามันไม่เกาะกุมขึ้นมา แสดงว่าอัตตามันแตกสลาย มันผิดปกติ การที่ครอบครัวไม่อยู่ด้วยกัน นั่นคือการแตกสลาย แสดงว่ามีปัญหาตรงนั้นแล้ว
ดังนั้น ความเป็นปกติเหล่านั้นมันจะทำให้เกิดอยู่ได้ด้วยการรักษาความสมดุลของธรรมชาติ ธรรมะคือการรักษาสมดุลตรงนี้แหละ
แต่การรักษาสมดุล บางทีอยู่ดีๆ ก็ไม่สามารถรักษาสมดุลเอาได้ เพราะจิตใจของคนนั้นเหมือนน้ำ ย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำ ชอบเห็นแก่ตัว ดังนั้นมันต้องมีปัญญา อย่างที่อาตมากล่าวมาข้างต้นว่าธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้ แล้วเราจะปฏิบัติตามนี้อย่างไร เพราะฉะนั้น วินัย ศีล เป็นบัญญัติ มันเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นมา มันเป็นสิ่งสมมติ และเราควรปฏิบัติตามตัวนี้อย่างไร
วินัย ศีล มันเป็นบัญญัติที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อจะได้ประโยชน์จากธรรมชาติให้มากที่สุด อย่างฝนตก เป็นธรรมชาติของฝนตก เราทำราง เราเอาโอ่งมารอง นั่นคือศีลแล้ว ฝนมันตกอยู่ทุกวัน แต่ว่าปัญญามันเกิดขึ้น เราจะใช้น้ำจากน้ำฝนให้เกิดประโยชน์อย่างไร หรือเวลาฝนตกเราควรจะสร้างโอ่งเก็บน้ำไว้ นั่นคือวินัย เราสร้างขึ้นมา เพราะให้เราได้ประโยชน์จากธรรมะ (ธรรมชาติ) เหล่านั้น
เพราะฉะนั้น เราจะเป็นว่าศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเอามาระดับชาวบ้านมันก็คือแค่นั้นเอง คือการที่จะเอามาใช้ในสังคมอย่างไรดังนั้น
คำสอนไม่ว่าจะเป็นเมตตา กรุณา ทาน มันเป็นกลไกให้สังคมเกิดสันติสุขทั้งสิ้น การที่เราบอกให้ทาน ทำบุญนะ เราทำ ทำไม เราไม่ได้เป็นก้อนเป็นกำ คำว่าทำบุญ ในทางบาลีหมายถึงการชำระล้างจิตใจ ไม่ใช่ว่าได้อะไร การที่เราคิดจะให้และให้ปุ๊บมันได้บุญแล้ว เพราะอะไร มันทำให้เราลดความตระหนี่ ทำให้เราลดความยึดมั่นถือมั่น ทำให้เรามีเมตตากรุณา นึกถึงคนอื่นมากขึ้น นี่คือจิตใจที่ปกติแล้ว
ดังนั้น คำสอนของพระพุทธศาสนาคือ เราจะทำตัวอย่างไรในกระแสที่มันเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างนี้ เราจะดึงเอาคำสอนเหล่านั้นมาประยุกต์ให้เราได้ประโยชน์ เป็นวินวิน เรามีความสุข คนรอบข้างมีความสุข คือสร้างสังคมที่มีสันติภาพมีความสุข
ไทยพับลิก้า : อยากให้สังเคราะห์สังคมไทยแน่นอนว่าตอนนี้มีกระแสที่ต้องต่อสู้ มันถูกขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา ความเชื่อเอง ทำให้การดำรงชีวิตคนมันซับซ้อนขึ้น ชีวิตเราเมื่อเศรษฐกิจบังคับ ค่านิยมคนเปลี่ยนแปลงไป ค่านิยมครอบครัวก็เปลี่ยนไป ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเปลี่ยนไปก็อาจจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นทำให้ชีวิตเรามันอยู่อย่างมีความผาสุกไหม
การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าเรารู้เท่าทันเราก็สามารถสร้างความผาสุกได้ แต่ปัญหามันก็คือ เราไปโทษคนอื่น เราไปพึ่งสิ่งอื่นหมด เราลืมมองตัวเราเอง ลืมไปว่าคำว่าสุขหรือทุกข์นั้นมันไม่ได้อยู่ข้างนอกเลยที่เราได้พูดในวงเสวนา ที่ถามเรื่องความสุข
เราจะเอานิยามว่าความสุขคืออะไรบ้าง ฝรั่งเขาบอกว่า happiness ตามรากศัพท์มันแปลว่า”โชค” ดังนั้น เมื่อพูดว่าความสุข มันต้องไล่ล่าความสุขเอา เพราะฉะนั้น ฝรั่งไม่มีวันมีความสุข เพราะเขาไล่ล่าอยู่ตลอดเวลา
แต่ถ้าเรามามองในแง่ของคำว่าสุขและทุกข์ในรากศัพท์ภาษาบาลี ง่ายนิดเดียว สุ มันเป็นพรีฟิกซ์ ทุ มันเป็นพรีฟิกซ์ มันเป็นคำหน้าที่มาผสม ทุ แปลว่ายาก สุ แปลว่าง่าย ทุกข์แปลว่าไม่ดี สุขแปลว่าดี รากศัพท์จริงๆ คือตัว ขะ ตัวข้างหลัง เป็นตัวเดียวกันกับตัวขันติ ความอดทน
เพราะฉะนั้น คำว่าสุขและทุกข์ไม่ได้อยู่ข้างนอกเลย มันขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะปรับหรือเราจะฝึกจิตและร่างกายของเราให้รับได้และทนได้ขนาดไหน ดังนั้นเราต้องปรับใจ แทนที่จะไปหาข้างนอก ปรับด้วยความเข้าใจ ปรับด้วยพุทธะ ถ้าเราทำตรงนี้ขึ้นมา แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงวุ่นวายอย่างไรก็แล้วแต่ในศตวรรษที่ 21 นี้ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
แต่ถ้าเรารู้จักกลับมาหาจุดเดิมตรงนี้ กลับมาเริ่มที่ตัวเอง ความเป็นตัวตนของเรา ไม่ใช่เอาทุกอย่างมา self-center หรือมาเป็นตัวหลัก แต่ความเป็นตัวตนเราเกิดมาจากไหน เกิดมาจากมากมาย เราก็จะมองความสำคัญ ความเห็นแก่ตัวเราก็จะน้อยลง เรามีความเมตตากรุณา คือการรักคนอื่น คือรักตัวเองก็จะมีมากขึ้น“ง่ายๆ เลย อย่างเช่น เวลาบางคนตาย ทำไมเราร้องไห้ แต่บางคนตายเราเฉยๆ เพราะอะไร เป็นความผูกพัน มันหมายถึงว่าเรามีเขาอยู่ในการสร้างตัวตนเรามากน้อยแค่ไหน การสร้างตัวตนของเรา พ่อแม่เสียเราร้องไห้ ไม่ใช่พ่อแม่ตาย เรารู้ว่าวันหนึ่งพ่อแม่ต้องตาย เพราะความเป็นตัวตนของเรามันเป็นก้อนใหญ่ที่เราได้มาจากพ่อหรือแม่ มันหายไปเลยทันที เราจะเวิ้งว้าง จะหาอะไรมาทดแทน เราร้องไห้เพราะตัวตนของเราหายไปเลย ไม่ใช่ร้องไห้เพราะพ่อแม่เสีย ดังนั้น ถ้าเป็นคนสำคัญมาก มันก็ใช้เวลานานในการหาอะไรมาทดแทน ถ้าเป็นคนที่ไม่สำคัญเท่าไหร่ในชีวิต มันแค่เศร้านิดหนึ่ง”
หากเรามองอีกแบบหนึ่ง เราจะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้มันคือปัจจัยที่จะสร้างตัวตนของเรา ถ้าเราไปมองคนอื่นในแง่คนละคนเราจะไม่รู้สึก แต่ว่าเรามองเห็นตัวนั้น การที่ทำลายคนอื่นคือการทำลายตัวเอง
หากเรามีสภาวะจิตความรู้เท่าทันตัวเองได้ เราสามารถจะปรับตัวเองให้อยู่ในโลกนี้ได้ ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร โลกมันต้องเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติ ถ้าขืนนิ่งอยู่โลกนี้มันตายโดยธรรมชาติ พระพุทธเจ้าบอกว่า ธรรมชาติของโลกมันเสื่อมมันก็ต้องเสื่อม เสื่อมคือการเปลี่ยน เปลี่ยนสภาวะไปเรื่อยๆ การเปลี่ยนตรงนั้นเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่อยู่ที่ว่าจะเปลี่ยนไปเร็วหรือช้า และขึ้นอยู่กับความเร็วในการปรับตัวเองนั้นจะมีมากน้อยขนาดไหน
การที่เราเข้าใจธรรมะ มันคือการสร้างความเร็วของความเปลี่ยนให้เท่าทัน หากเท่าทัน เราจะเห็นโลกไม่เปลี่ยน มันวิ่งในระดับที่เท่ากัน
ไทยพับลิก้า : บริบทที่อธิบายมาใช้ได้ทั้งกับคน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การเมืองได้เลยทั้งหมด ตอนนี้ทางสหประชาชาตินิมนต์อาตมาช่วยไปพูดและคิดในเรื่อง
การวางแผนเศรษฐกิจใหม่ new economic paradigm ตอนนี้โลกกำลังหันมาทางนี้ อาตมาพยายามนำเสนอการเปลี่ยนจีดีพีเป็นอย่างอื่น โลกกำลังตื่น แม้เรามองว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปเยอะ ทั้งที่เปลี่ยนในทางที่ดีและไม่ดี แต่เรามองเห็นในสิ่งที่ไม่ดีเยอะ สิ่งที่ดีกว่าจะมองเห็นมันช้า มันจะมีคนที่ตื่นตัวและพยายามหาวิธีว่า ถ้าเราจะเปลี่ยนกระแสของความเปลี่ยนของโลกนี้ เราจะทำอย่างไรให้ยั่งยืน ซึ่งบ้านเราอาจจะเรียกว่าเศรษฐกิจพอเพียง ภูฏาน เรียกกว่า GNH ที่เอาความสุขเป็นเกณฑ์
สิ่งที่อาตมาพยายามเสนอ ไม่ว่า GNH หรือเศรษฐกิจพอเพียง มันคือหลักการที่เราเอามาใช้คำ แต่ที่สำคัญคือความเข้าใจ ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ มันคือมัชฌิมาปฏิปทาที่พระพุทธเจ้าพูดถึง ว่าเราจะรักษาความสมดุลตรงนี้อย่างไรไม่ให้มันสุดโต่ง แค่นั้นเอง หากเรารักษามัชฌิมาปฏิปทาได้ โลกจะเป็นแบบไหน เราปรับอยู่ได้อย่างมีความสุข
ไทยพับลิก้า : นี่คือบทบาทของพุทธศาสนาในการเข้ามาแก้ไขปัญหาหากเป็นมุมมองนักวิเคราะห์ คงลำบากที่จะบอกว่าไม่มีบทบาทอะไร หรือบทบาทน้อย เพราะในแง่ประวัติศาสตร์ ทุกสิ่งทุกอย่าง ความคิดความอ่านของเรา ถูกพุทธศาสนาหล่อหลอมมาทั้งสิ้น แต่พุทธศาสนาที่หล่อหลอมมา
บางครั้งเป็นพุทธศาสนาที่เข้าใจแบบผิดๆ ปัญหาอยู่ตรงนั้นเอง อย่างเช่น บุญนิยม กรรมนิยม เป็นพุทธศาสนาที่ผิดๆ พุทธศาสนาอย่างเอาตัวเองเป็นเกณฑ์ ทำนั้นได้อย่างนั้น ทำอย่างนี้ได้อย่างนี้ ก็กลายเป็นการเน้นอานิสง เน้น
“มาม่า ไวไว” ทำอะไรก็ได้ขอให้ได้เดี๋ยวนั้น เราจะเห็นได้ง่ายๆ เลย อย่างคนจะใส่บาตรตอนเช้า ลงทุนชุดหนึ่ง 30 บาท นิมนต์พระแล้วนั่งอธิษฐาน อ้อนวอน พระจะเปิดบาตรก็เก้ออยู่นั่น ไม่ใส่บาตรเสียที ขอนั่นขอนี่อยู่นั่นแหละ ลงทุน 30 บาท จะขอหวยรางวัลที่หนึ่ง กลายเป็นเรื่องปกติของคนไทย ชี้ให้เห็นว่ามองไม่เห็นเลย
ไทยพับลิก้า : เหมือน”กรรม” สามารถ”ซื้อกรรม”ได้ใช่ เช่น เชื่อว่าล้างกรรมได้ จะกรรมอย่างไร มันกำแล้วไม่ยอมปล่อย จะไปได้อย่างไร นั่นคือการเข้าใจผิดๆ เยอะ พอเข้าใจผิดๆ มันเลยทำให้สังคมวุ่นวาย และในแง่การเรียนการสอนพุทธศาสนาของเรา เจออิทธิพลตรงนี้ (ความเชื่อแบบผิดๆ) การศึกษาส่วนใหญ่ผิด เพราะเราเข้าไม่ถึงพระไตรปิฎก พระสงฆ์เองไม่ได้ศึกษาภาษาบาลีอย่างจริงจัง หรือศึกษาก็ศึกษาแบบท่องจำ ทำให้การตีความพุทธศาสนามันน้อยไป หรือไม่สามารถที่จะตีความให้เข้ากับคน หรือทำให้คนเข้าใจได้ ถ้าเราเข้าใจพุทธศาสนา สิ่งเหล่านั้นมันเป็นสิ่งที่กำลังพูดเรื่องใกล้ตัวมากที่สุดแล้ว และกำลังพูดถึงคนทุกคนอยู่แล้ว
สำหรับบทบาทศาสนาในประเทศไทยนั้นมีอยู่แล้ว เช่น ศิลปะสถาปัตยกรรมทั้งหมดมันก็คือศาสนา แต่พุทธศาสนามีสิ่งที่ไม่ดีก็เยอะ สิ่งที่ดีๆ ก็มีอยู่มาก หากเข้าใจพุทธศาสนาในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมหาชน เราจะเอาคำสอนความรู้เหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างไร
ในแง่การศึกษาที่ท่านดาไลลามะพยายามเน้นการว่า เราจะปรับเปลี่ยนการศึกษาอย่างไรให้มีความมุ่งหมายที่ให้เป็นการศึกษาที่เป็นผู้เป็นคน แต่การศึกษาทุกวันนี้ไม่ได้สอนให้เป็นผู้เป็นคนเลย การศึกษาทุกวันนี้ถูกผลักดันด้วยวัฒนธรรม ผลักดันเศรษฐกิจ ทำให้เกิดกิเลสทั้งนั้น ซึ่งวัฒนธรรมก็ทำให้เราทะเลาะกับเขมร ทะเลาะคนนั้นคนนี้ เพราะอัตตามันสูงขึ้นมา เรื่องเศรษฐกิจทำให้เราโง่มากขึ้น ตลาดต้องการอะไรก็ผลิตนักศึกษาเหมือนโรงงานเลย ออกมาเป็นรุ่นๆ ออกมารุ่นหนึ่งต้องอย่างนี้ๆ อย่างนั้นๆ ถูกบังคับด้วยตัวนั้น ทั้งๆ ที่ศักยภาพมนุษย์นั้นมหาศาล แต่การศึกษาทำให้ศักยภาพของเราถูกครอบงำ
เพราะฉะนั้นเราจะทำอย่างไร การศึกษาของพุทธศาสนา ง่ายๆ เลยคือศึกษาศีล
ศีลคืออะไร คือการที่จะอยู่ในสังคมอย่างไร การศึกษาในปัจจุบันสอนอย่างนี้ไหม ไม่มีเลย ถ้าก่อนที่เราจะส่งเด็กๆ ไปโรงเรียนอนุบาล เราสอนอะไร เราสอนความเมตตากรุณา เรามีขนมแบ่งกันกินนะ เจอผู้ใหญ่ต้องธุนะ ไหว้นะ นั่นคือสิ่งที่เราสอนความเป็นมนุษย์ พอเข้าโรงเรียน สอนอะไร สอนอ่านเขียน วิธีคิดเลข แต่ละอันบอกนะ ต้องแข่งขันนะ ต้องสอบให้ได้ที่ 1 มันเริ่มแล้ว แทนที่จะสอนความมนุษย์ ความเป็นคน แต่มันสอนความอมนุษย์มากขึ้น ยิ่งการศึกษาสูงขึ้นไปเรื่อยๆ สมมติเราเรียนมัธยม 12 ปี วิชาต่างๆ ที่เราได้เรียนมาเราเอามาใช้ในชีวิตสักกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแทบไม่ค่อยได้ใช้ เปลือง และทำให้ความคิดเราถูกครอบงำ ไม่ได้สอนเรื่องของศีล
และไม่สอนเรื่องสมาธิ สมาธิคืออะไร ไม่ได้หมายถึงการนั่งสมาธิ ให้หลับหูหลับตา
สมาธิหมายถึงการที่จะมองสิ่งต่างๆ ให้เกิดนิ่ง พุทธเจ้าบอกว่าเหมือนน้ำในอ่าง ในขวดโหล หากน้ำไหวอยู่ตลอดเวลา เราจะมองเห็นว่าในน้ำมีอะไรไหม ยาก แต่ถ้าเรารอให้น้ำนิ่ง โดยที่เราไม่ต้องทำอะไร เราบังคับน้ำให้นิ่งไหม ก็มองเห็นสิ่งที่อยู่ในน้ำ นั่นคือสภาพจิตใจของเรา แรงกระแสของความอยากได้ ความโมโห ความโกรธ ความคาดหวัง ทำให้จิตใจเราขุ่นมัวตลอดเวลา เพราะฉะนั้น เราจะมองอย่างไรก็มองไม่เห็น พระพุทธเจ้าบอกว่าจะไปมองทำไม ก็รอให้จิตใจมันนิ่ง หายใจเข้า-ออก ง่ายๆ ให้เข้าใจตรงนี้ ให้เข้าใจเห็นอนิจจังของชีวิตว่าชีวิตของเราไม่มีอะไรมากมาย พอทุกอย่างสงบก็มองเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ทันทีเลย ปัญญามันก็เกิด นั่นคือการศึกษา แต่เราจะเห็นว่าการศึกษาปัจจุบันนี้มันไม่ได้สนองเลย
ดังนั้น จะมาโทษว่าพุทธศาสนามีบทบาทอะไร บทบาทตรงนั้นของศาสนามากมาย แต่ว่าปัญหาคือเราอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ บางครั้งเรากลายเป็นทาสของโลกตะวันตก ถ้าเป็นทาสที่ดีก็ไม่ว่าอะไร เพราะตะวันตกมีการพัฒนาอะไรที่ดีมาตั้งมากมาย ถ้าเป็นทาสที่ไม่ดี ที่เราไปเอามา อาทิ เอาสิ่งที่เสื่อมๆ มา ขณะที่อังกฤษ อเมริกา หรือในยุโรป เขามองเห็นคุณค่าของพุทธศาสนา
เขามองพุทธศาสนาเป็นศาสตร์ ไม่ได้เป็นศาสนา เขาเอามาใช้ในการแก้ปัญหาโรคที่มันรุนแรงที่สุดของโลก ซึ่งองค์การอนามัยโลกเขาวิจัยออกมาว่า ภายในปี 2020 โรคที่ร้ายแรงที่สุดในโลกคือโรคเครียด เขาทุ่มเทงบประมาณมหาศาลเพื่อหาทางแก้ ปรากฏว่าไม่มีทางแก้เลย เพราะยาที่เขาคิดขึ้นมาแต่ละอันกลายเป็นมีแต่ยากล่อมประสาทเท่านั้น และไม่มีผลเลย ปรากฏว่าเขามาทดลองเรื่องการเจริญสติตามพระพุทธศาสนา Mindfullness based therapy
ปรากฏว่าเขาทดลองทางวิทยาศาสตร์แล้วหายขาดเลย กลายเป็นว่าเรื่องใหญ่ รัฐบาลทั้งในอเมริกา อังกฤษ ทุ่มเทงบประมาณมหาศาลเพื่อที่จะศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยมากมายในปัจจุบันนี้ บรรจุเป็นหลักสูตร ในอังกฤษการประกันสุขภาพของเขาก็รับรองการรักษาโรคด้วยวิธีนี้เลย คือการเจริญสติ เขาก็สอน อาตมามีเพื่อนที่เป็นหมอจิตแพทย์พวกนี้ เขาชอบมาคุยกับอาตมา เพราะได้ความรู้เยอะและเขาเอาไปใช้ได้ ขณะที่เราเป็นเจ้าของวิชา ใช้อะไรไม่เป็นเลย
อย่างโรงเรียนเล็กๆ ที่แคลิฟอร์เนียกับที่แคนาดา มีโรงเรียนชั้นอนุบาลประมาณ 200 โรง เขาบรรจุหลักสูตรสมาธิเข้าไปแล้ว ฝรั่งเขาทำเอง
ไทยพับลิก้า : เมืองไทยมีไหมมีที่ไหนล่ะ
ไทยพับลิก้า : นี่คือบทบาทของพุทธศาสนาบางทีเราไปเรียนรู้อะไรมา สิ่งที่ดีๆ เราไม่เอามา เอาแต่สิ่งที่ไม่ดีมาใช้ มันก็มีปัญหา หากจะเอามาใช้ เราก็พยายามพูดให้ได้ยินได้เห็นและมองเห็น
โลกทุกวันนี้ถ้าเรามาพูดในเชิงศาสนาอย่างเดียวคนก็ไม่เอา แต่ว่าวิทยาศาสตร์ยินดีที่จะมาสนองงานพุทธศาสนาเต็มที่อยู่แล้ว และพยายามพิสูจน์สิ่งนั้นสิ่งนี้ที่พระพุทธเจ้าพูดให้เห็นชัดเจน เพราะฉะนั้น ถ้าเราเอาสิ่งเหล่านี้มาใช้ เราจะมีบทบาทที่เป็นที่ยอมรับและเป็นประโยชน์กับบ้านเรามากขึ้นอาตมามีเพื่อนคนหนึ่งสอนที่แคลิฟอร์เนีย เขาสอนเด็กอนุบาล เขาให้เด็กอนุบาลนอนกลิ้งไปกลิ้งมา นอนตามสบาย เวลานอนเขาเอาตุ๊กตาหมีตุ๊กตาลิงไปวางบนอก แล้วบอกเด็กเหล่านั้นให้ดูที่ลิงหรือตุ๊กตาที่ตัวเองชอบว่าเกิดอะไรขึ้น ทุกคนก็หลับ นอนหงาย มีตุ๊กตาอยู่บนอก มันเกิดอะไรขึ้นหายใจเข้าหายใจออกตุ๊กตาก็ขึ้นลง ถามว่าเกิดอะไรที่ตุ๊กตา สิ่งที่เด็กมองเห็นคือตุ๊กตาขึ้นลง แทนที่จะบอกว่าหายใจเข้าออก ก็สอนอย่างนี้แทน
หรือการให้นั่งล้อมวงแล้วเขาตีระฆัง เขาบอกว่าใครที่ไม่ได้ยินยกมือขึ้น พอติ๊ง ก็ตั้งใจฟังโดยไม่รู้ตัว และบางคนรีบยกมือ บางคนอีกตั้งนานกว่าจะยกมือ นั่นคือวิธีการฝึกสมาธิ สมถะตรงนั้น ไม่ต้องใช้คำภาษาศาสนาเลย แต่นี่เขาใช้วิธีกิจกรรม เช่น บอกให้ร้องเพลง ตีระฆัง ติ๊งๆๆๆ เอ้า หยุด ให้บาลานซ์ได้ เสริมสร้างความสมดุลในกระแสความวุ่นวาย
สิ่งเหล่านี้คือการสร้างกิจกรรมขึ้นมา เขาเอาหลักพุทธศาสนามาใช้ แต่เขาไม่ใช้คำว่าพุทธศาสนา เขาบอกว่าเป็นสิ่งที่ทำมาเมื่อ 2500 ปีที่แล้ว มันก็คือพุทธศาสนา ปัญหาในโลกตะวันตกคือคำว่าศาสนามีผลทางเชิงลบ เขาไม่เอาแล้ว เขาไม่ใช้ แต่มาใช้ความว่าองค์ความรู้โบราณ 2500 ปี มันก็ยังใช้ได้ ทางนักวิทยาศาสตร์ทางมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดเอง รัฐบาลอังกฤษทุ่มเงินสร้างเป็นศูนย์สติ Mindfullness center เลย เพื่อวิจัยในเรื่องนี้โดยตรงเลย นี่คือสิ่งที่ดีที่โลกตะวันตกเอาไปใช้
แต่เราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะมาถึงเมืองไทย ทั้งๆ ที่เป็นองค์ความรู้ของเรา
ไทยพับลิก้า : ในเมืองไทย ทางสถาบันศาสนาเอาเรื่องนี้ขึ้นมาพูดหรือมีการฝึกอบรมไหม
ไม่มี เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเกิดอะไรขึ้น อาตมาอยู่ในวงการศึกษาฝรั่ง ก็เลยรู้จัก
ไทยพบลิก้า : เมืองไทยควรมีเรื่องนี้ไหมก็ต้องช่วยกันพูดต่อ
ไทยพับลิก้า : คนไปทำบุญกับวัดเยอะมาก บทบาทพระสงฆ์ ช่วยกระจายถูกต้อง แต่สิ่งที่เราสั่งสอนกันอยู่ว่าทำบุญ เดี๋ยวได้ดีขึ้นสวรรค์ มันไปเอาสวรรค์ล่อหมด แทนที่จะทำชาตินี้แต่ไปรอชาติหน้า
ที่ท่านดาไลลามะพูดถึงเรื่องนี้ ที่ว่าคนไปยุ่งกับชาติหน้าอยู่เรื่อยๆ ไปยุ่งทำไม เอาชาตินี้เป็นหลัก อาจจะมีบางวัดทำบ้าง แต่ตัวอย่างแบบนี้ไม่ทราบว่ามีหรือไม่
ไทยพับลิก้า : หลักสูตรหากจะเอามาใช้ต้องประยุกต์
ต้องประยุกต์ ของเราเอง ยังไม่ตื่นตัว
ไทยพับลิก้า : อาจจะเป็นเพราะของไทยแยกศาสนาออกไปเลย
เราพยายามแยก
อาตมาจึงพยายามให้มองว่าศาสนา อย่าไปมอง”ศาสนะ” อยากให้มองเป็น”ศาสตระ” เป็นองค์ความรู้ พอเอาเป็นศาสนาปุ๊บ มันตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อ พุทธศาสนาไม่ให้เชื่อ แต่เราไปตั้งอยู่บนความเชื่อ แต่ถ้าเป็นศาสตร์ องค์ความรู้นั้น ไม่ต้องเชื่อ อันนี้คือรู้ อันนี้คือเชื่อ มันคนละเรื่อง มันคนละขั้ว ” รู้คือพุทธะ เชื่อคืออวิชชา” ตราบใดที่เรายังเชื่ออยู่ เราจะเกิดรู้ได้อย่างไร แต่พระพุทธเจ้า หากเรารู้แล้ว เราจะเชื่อไหมล่ะ แต่ปัญญาเราไปไม่ถึงเลย เราพยายามบอกว่าต้องเชื่อ ต้องศรัทธา ต้องเชื่อหมดเลย อยากให้ใช้คำว่าไว้วางใจพอ ไม่อยากให้ใช้คำว่าเชื่อ เช่น เราไปหาหมอ เราเชื่อหมอไหมล่ะ เราก็แค่ไว้วางใจ หากหมอจ่ายยาผิด เราก็เปลี่ยนหมอ เพราะเขาทำงานในอาชีพนั้น หากเราไว้วางใจ เราก็ศึกษาเอง เราก็จะมีสภาวะ จะทดลองเอง ศึกษาเอง ความรู้ก็จะมากขึ้น ไม่อย่างนั้นเราก็ติดอยู่ซีกของความเชื่อ
จาก
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8367.0.html