[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤศจิกายน 2567 14:46:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บางแง่มุม เกี่ยวกับ “พระพิฆเนศวร์” : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี)  (อ่าน 2193 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2559 08:41:30 »



พระพิฆเนศวร์หรือพระคเณศ เป็นเทพฮินดูที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในปัจจุบัน

ครูไมค์ (ไมเคิล ไรท์) ผู้ล่วงลับ แอบทิ้งปริศนาไว้ในหนังสือและงานเกี่ยวกับพระพิฆเนศวร์ของท่านคล้ายจะแย้มพรายให้ชวนคิดต่อ (ตามสไตล์ของท่าน) ว่า

หรือพระคเณศจะมาจากอุษาคเนย์?

ท่านชี้ชวนให้เห็นว่า ไม่ว่าจะอุษาคเนย์หรืออินเดียต่างนับถือช้างมาอย่างเก่าแก่ (ในอินเดีย การนับถือช้างเป็นคติที่มีมาก่อนศาสนาฮินดู)

“ปู่เจ้าสมิงพราย” หรือเจ้าป่าเจ้าเขาของเราไม่รู้ว่าหมายถึงช้างหรือไม่ แต่ช้างดูจะเป็นสัตว์ที่มีความหมายมากๆ ในศาสนาโบราณโดยเฉพาะในเขตร้อนชื้น ก็เพราะช้างเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักรของสัตว์บก น่าเกรงขาม ฉลาดและทรงพลังอำนาจ

แม้แต่ในปัจจุบัน ชาวบ้านเมื่อพูดกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์มักเรียกตนเองว่า “ลูกช้าง”

 

คำนี้น่าสนใจนะครับ ในอินเดียภาคใต้มีชื่อเรียกพระพิฆเนศวร์ด้วยภาษาพื้นเมือง (ทมิฬ) ว่า “ปิลไลยาร์” (เติม ร์ เป็นการแสดงความเคารพ) คำนี้มีผู้แปลว่า “ลูกชาย” แต่บางท่านว่าในเซนส์ของภาษาทมิฬมันหมายถึง “ลูกช้าง” มากกว่า

ผมคิดว่าเราคงไม่ได้รับคติความเชื่อ “ลูกช้าง” มาจากแขกหรอกครับ แต่อย่างน้อยๆ ก็แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อพื้นเมืองของเรากับเขาคล้ายกัน

ด้วยเหตุนี้ความเชื่อเกี่ยวกับพระพิฆเนศวร์จึงสามารถเข้ามาสู่สังคมไทยได้โดยสะดวกตั้งแต่โบราณโดย “ปราศจากอุปสรรค”

ถ้าคิดดังที่ครูไมค์เคยเสนอ อาจเป็นได้ที่คติการนับถือช้างจะส่งจากอุษาคเนย์ไปยังอินเดีย อันนี้ผมไม่กล้ายืนยันเพราะยังมีหลักฐานไม่มากพอ

แต่ก็มิใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เสียเลย เพราะอินเดียเองก็ติดต่อค้าขายกับเรามาช้านาน รับอะไรกันไปๆ มาๆ และมีอะไรตรงกันหลายอย่าง

ชาวอารยันผู้รจนาพระเวทไม่รู้จักช้าง (เพราะมาจากที่ที่ไม่มีช้าง)

ในคัมภีร์พระเวทจึงไม่มีเทพที่มีเศียรเป็นช้าง แม้จะถือกันว่าในมณฑล (เล่ม) ที่สิบแห่งฤคเวทมีบทสวดถึง “คณปติ” ซึ่งเป็นพระนามสำคัญของพระพิฆเนศวร์ แต่ในพระเวทบอกเพียงว่าพระองค์คือเทพของกวีมิได้มีที่ใดเลยที่บอกว่าพระองค์มีรูปร่างอย่างช้าง แม้ในภายหลังจะสวมพระนาม “คณปติ” “พรหมนัสปติ” ให้กับเทพที่มีเศียรเป็นช้างของพื้นเมืองในภายหลัง

กว่าพระคเณศจะกลายเป็นเทพองค์เดียวกับเทพเศียรช้างนั้น ก็ล่วงถึงยุคปุราณะแล้ว

และกว่าจะปรากฏเทวรูปก็ล่วงมาเกือบพุทธศตวรรตที่ 9

แคว้นมหาราษฎร์ซึ่งเป็นแคว้นนับถือพระพิฆเนศวร์มากที่สุดในประเทศอินเดียนั้น พระคเณศองค์สำคัญล้วนแต่เป็นหินธรรมชาติที่มีรูปร่างคล้ายช้าง จะเก่าแก่เพียงไหนไม่มีใครทราบได้ (เว้นเสียแต่องค์สร้างใหม่)

ผมเคยเห็นเวลาพราหมณ์ที่นั่นประกอบพิธีบูชา ท่านจะถวายหญ้า “ทูรวา” หรือหญ้าแพรกที่จัดเป็นพวงไว้บนพระเศียรของเทวรูป

เป็นแบบเดียวกับที่เวลาเราเห็นช้างป่าใช้งวงเด็ดหญ้าแล้วยกไปไว้บนหัว หรือเอาปัดตามตัวแล้วติดไปบนหัวนั่นแหละครับ

นอกจากนี้ ในงานเทศกาลต่างๆ ในแคว้นนั้นยังใช้ “แตรงอน” ซึ่งส่งเสียงแบบเดียวกับการร้องของช้างด้วย



ท่านอาจเถียงผมว่าพระพิฆเนศวร์ไม่ใช่ช้าง อันนั้นคือแง่มุมจากความเชื่อครับ แต่ตามความคติโบราณและความเข้าใจเชิงสัญญวิทยาศาสนา เทพเจ้าก็คือสัตว์พาหนะ สัตว์สัญลักษณ์หรือสัตว์ที่เกี่ยวพันกับเทพนั้นๆ ด้วย พระศิวะก็คือโค พระแม่ก็คือเสือ และพระคเณศก็คือช้าง ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวพันกับการนับถือสัตว์ในฐานะสัญลักษณ์ของเผ่า (คณะ) ในอดีต

พระคเณศจึงเก่าแก่มากในบรรดาเทพฮินดูทั้งหลาย แม้ว่าโดยเทวตำนานเรามักจะคุ้นชินท่านในฐานะที่เป็นเด็กน้อยร่าเริง เพราะอิทธิพลจากตำนานในคัมภีร์ปุราณะ ที่พราหมณาจารย์โบราณรจนาให้ท่านเป็นโอรสของพระศิวะหรือพระแม่ปารวตี

แต่ความจริงแล้ว ในมิติทางประวัติศาสตร์ท่านเป็นผีหรือเทพที่มีมาก่อนศาสนาฮินดูจะสถาปนาขึ้นและหยั่งลึกลงในอินเดีย

ครูไมค์ถึงคล้ายๆ ส่งสัญญาณว่า ด้วยเหตุนี้ คติความเชื่อหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นข้อกำหนดอย่างหนึ่งของศาสนาฮินดูที่ว่า พระคเณศจะต้องได้รับการสักการะบูชาเป็นเบื้องต้น (สันสกฤตว่า อาทิปูชยัม) หรือเป็นองค์แรกเสมอในพิธีกรรมหรือในกิจการต่างๆ นั้น (อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเอ่ยพระนาม) เป็นเพราะท่านเป็นเทพที่เก่าแก่ที่สุดนั่นเอง (ศัพท์สันสกฤตว่า อาทิเทวตา หรือเทวตาที่มีมาแต่แรก) เป็นของที่มีมาแต่เดิม เทพไหนๆ ก็มาทีหลัง

เก่าแก่เพราะเป็นของพื้นเมือง เก่าแก่กว่าเทพของชาวอารยันทั้งหมด

พระคเณศ จึงเป็นเทพที่มีบทบาทหลากหลาย เพราะความเก่าแก่ยาวนานทำให้พระองค์ “ซ่อน” อะไรไว้หลายอย่างรอให้เราตีความ

จากเทพพื้นเมืองในที่สุด ความนิยมนับถือในพระองค์จะทำให้เกิดนิกายของพระองค์เอง คือนิกาย “คาณปัตยะ”

นิกายคาณปัตยะแพร่หลายมากในแคว้นมหาราษฎร์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14-17 นำโดยนักบุญ “โมรยา โคสาวี” ผู้ที่ชาวบ้านนอกจากจะเชื่อกันว่าท่านเป็น “คเณศภักตะ”หรือผู้ภักดีในพระคเณศยังถือกันว่า ท่านและวงศ์วานของท่านอีก 7 รุ่น ล้วนแค่เป็นพระคเณศอวตารทั้งสิ้น

ผมเคยไปสักการะสถานที่สำคัญของพระคเณศแห่งหนึ่งชื่อ “มหาคณปติ” (หมายถึงพระคณปติผู้ยิ่งใหญ่) ตำนานแห่งสถานที่นั้น (สถาลปุราณัม) ชวนให้เพื่อนผู้ร่วมทางฉงน รูปที่ประดับเทวสถานชวนให้ฉงายเข้าไปอีก

เพราะตำนานที่นี่เล่าว่า เมื่อพระศิวะจะทรงปราบอสูร “ตรีปุระ” (ในตำราฝ่ายเราเรียก ตรีบุรัม) แต่อสูรนี้ร้ายนัก ปราบไม่ลงเสียที สุดท้ายพระองค์จึงต้องไปขอพรต่อพระคเณศยังสถานที่ตั้งพระมหาคณปตินี่เอง พระคเณศจึงสอนมนตร์ของพระองค์ให้เพื่อใช้ในการปราบเจ้าอสูรร้ายนั้น สุดท้ายพระศิวะชนะอสูรตรีปุระด้วยมนตร์และอำนาจของพระคเณศ

ภาพในเทวสถานที่บอกเล่าตำนานสถานที่ จึงเป็นรูปพระศิวะกำลังวันทนาการน้อมไหว้พระคเณศ ใครเคยอ่านเทวตำนานพระคเณศมาบ้างก็คงงง เพราะเชื่อมาตลอดว่าพระศิวะเป็นพระบิดา เหตุใดพระบิดาถึงมาไหว้ลูกชายตัวเอง

ตำนานนี้แม้จะคล้ายตำนานจากคัมภีร์ปุราณะอื่นๆ อยู่บ้าง แต่ถูกดัดแปลงและให้ความสำคัญกับพระคเณศเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นตำนานจากปุราณะของนิกายคาณปัตยะโดยเฉพาะ ซึ่งมีอยู่สองปุราณะคือ คเณศปุราณะและมุทคลปุราณะ

สําหรับนิกายคาณปัตยะแล้ว พระ “ปรมาตมัน” หรือพระเป็นเจ้าสูงสุดก็คือองค์พระคเณศ พระปรมาตมันนี้เป็นทั้งผู้สร้าง ผู้รักษา ผู้ทำลายจักรวาล และทรงสำแดงออกเป็นเทพเจ้าทั้งหลาย

และพระปรมาตมันที่เป็นองค์พระคเณศนี้เอง ก็สำแดงพระองค์ออกมาเป็น “พระคเณศ” ในปางต่างๆ รวมทั้งที่เป็นโอรสของพระศิวะด้วย

พระศิวะจึงต้องบูชาพระคเณศ เพราะพระองค์เป็นพระเจ้าสูงสุดสำหรับนิกายนี้ ทรงยิ่งใหญ่กว่าเทพทุกๆ พระองค์

นอกจากบทบาทหรือศัพท์แขกมักใช้อย่างไพเราะว่า “ลีลา” ของพระคเณศจะมีหลากหลาย นับแต่ผีพื้นเมืองของชาวบ้านที่สุดท้ายได้กลายเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุดแห่งสกลจักรวาลสำหรับปราชญ์และพราหมณาจารย์แล้ว พระองค์ยังเป็นที่รักของคนทั้งหลายด้วยว่าพระองค์สำแดงความ “ก้ำกึ่ง” อันเป็นพรมแดนสนธยาของชีวิตและจิตใจของเรา

พระองค์จะเป็นเด็กก็ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ก็ไม่เชิง จะคนก็ไม่สัตว์ก็ไม่ จะชายหรือหญิงก็ดูไม่ออก (พระองค์มีปางสตรีชื่อ ไวนายกี หรือ คเณศวรีด้วย) พระองค์ทรงมหิทธานุภาพหรือทรงขี้เล่น ทรงเรียบง่ายหรือทรงยิ่งใหญ่ ฯลฯ

ในพรมแดนของความก้ำกึ่งนี้ จึงเป็นที่ที่เราสามารถก้าวข้ามไปมา ระหว่างความเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ หลุดพ้นหรือติดข้อง โลกิยะหรือโลกุตระ กลัวหรือกล้า ฯลฯ

พระองค์จึงเป็นทั้งอุปสรรคและเจ้าผู้ขจัดอุปสรรค ไม่มีการก้าวข้ามใดไม่มีอุปสรรคและเมื่อระลึกได้เช่นนั้น อุปสรรคจะกลับกลายเป็นสิ่งผลักดัน

ในอินเดียพระองค์จึงเป็นทวารบาลตามเทวสถานบ้านเรือน เพราะไม่มีที่ใดที่จะเหมาะสมที่พระองค์จะสถิตไปแล้วยิ่งกว่าที่นั้น

ครูไมค์ผู้ล่วงลับถึงได้เคยเขียนในทำนองว่า การเข้าใจเทวตำนานเกี่ยวกับพระคเณศนั้น สะท้อนปมทางจิตวิทยาของเราเอง การทำความเข้าใจเทพเจ้าและเทวตำนานนี้จึงช่วยทำให้เราเข้าใจตัวเองด้วย

ในอินเดีย จึงมีเพียงเทพองค์เดียวเท่านั้นที่ผู้คนกล้าล้อและเล่นสนุกกับพระองค์ ในเทวรูปของเทศกาลใหญ่ๆ ของพระองค์เอง ในป้ายโฆษณา ในแอนิเมชั่นและการ์ตูนในรายการโทรทัศน์ เพราะความก้ำกึ่งที่พระองค์สามารถให้ความบันเทิงรื่นรมย์ทั้งของโลกนี้และโลกอุดรไปพร้อมๆ กัน

นอกจากนี้แล้ว เมื่อพระองค์เสด็จมายังดินแดนนี้ พระองค์ยังกลมกลืมกลับความเป็นพื้นบ้าน และนั่นยิ่งทำให้พระองค์มีลีลาที่หลากหลาย และต่างไปจากอินเดียขึ้นไปอีก

โปรดติดตาม

จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_2490

https://www.matichonweekly.com/magazine-column/ghost-brahmin-buddhism/page/3



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
‘พระพิฆเนศวร์’ ที่อินเดียไม่รู้จัก : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี)
สุขใจ ห้องสมุด
มดเอ๊ก 0 1681 กระทู้ล่าสุด 20 พฤศจิกายน 2559 16:03:27
โดย มดเอ๊ก
‘พระพิฆเณศวร์’ เทพแห่งศิลปวิทยา? : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี)
สุขใจ ห้องสมุด
มดเอ๊ก 0 1718 กระทู้ล่าสุด 20 พฤศจิกายน 2559 16:21:21
โดย มดเอ๊ก
‘ไสยศาสตร์’ ไม่ใช่เรื่อง ‘งมงาย’ : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี)
สุขใจ จิบกาแฟ
มดเอ๊ก 0 1893 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2559 12:29:26
โดย มดเอ๊ก
ความเข้าใจ(ผิด)เกี่ยวกับ “รามายณะ” : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี)
สุขใจ ห้องสมุด
มดเอ๊ก 1 4532 กระทู้ล่าสุด 23 พฤศจิกายน 2559 20:48:12
โดย มดเอ๊ก
เล่าเรื่อง มนตร์ของพราหมณ์ ชนิดและความหมาย : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (เชฟหมี)
บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
มดเอ๊ก 0 1970 กระทู้ล่าสุด 26 ธันวาคม 2559 19:01:54
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.355 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 พฤศจิกายน 2567 22:33:25