อนาคามิมรรค - อนาคามิผลพระถังซัมจั๋งกับสานุศิษย์เดินทางมาสักกึ่งเดือนบรรลุถึงภูเขาสูงขวางหน้าอยู่ พระถังซัมจั๋งให้นึกครั่นคร้าม เห้งเจียเห็นเช่นนั้นจึงปลอบอาจารย์ แล้วล้อว่าอาจารย์ดีแต่ท่องคาถาปัญญาซิมเกงของพระโอเซ้า แต่หาเข้าใจอรรถของคาถานั้นไม่ พระถังซัมจั๋งจึงขอให้เห้งเจียแสดงหัวใจธรรม เห้งเจียหัวเราะงอไปงอมาอยู่พักใหญ่ โดยไม่ได้พูดสักคำเดียว (นิพพาน เป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตนพูดไม่ได้ อธิบายไม่ได้)
ศิษย์และอาจารย์เดินทางรอนแรมโดยแสงเดือนส่องทางมาถึงวัดเป๊ากิมเสียนยี่ ตำบลแป๊ะคีซัวเศรษฐีชื่อกิ๊มโกเซียงผู้อยู่ในเมืองอ๋องเฉีย (เขตอนาคามิมรรค) สร้าง ณ วัดแห่งนี้เมื่อถึงฤดูฝน ฝนจะตกลงมาเป็นเพชรนิลจินดาและทองคำ เส้นทางที่จะออกจากวัดนี้ไปสู่เมืองเทียนเต๊กนั้น ถ้าไปก่อนไก่ขัน(สติ) จะถูกปีศาจตะขาบ (ทุกข์) ทำร้ายต่อเมื่อไก่ขันแล้วจึงไปได้อย่างปลอดภัย
พระถังซัมจั๋งและศิษย์ต้องรอจนกว่าไก่ขัน (สติ) จึงออกเดิน ชมสวนกลางแสงเดือนที่สว่างดุจกลางวัน ได้พบกับท่านสมภารวัดซึ่งเป็นผู้เล่าให้พระถังซัมจั๋งฟังว่า ที่วัดนี้มีพระราชบุตรีของพระราชาเมืองเทียนเต็ก ได้ถูกปีศาจหอบมาทิ้งไว้ พระราชบุตรีแสร้งทำเป็นบ้าใบ้สกปรกมอมแมม และขอให้ท่านสมภารขังไว้ให้พ้นจากการถูกข่มขืนจากพระในวัด ท่านสมภารเล่าให้พระถังซัมจั๋งฟัง แล้วขอร้องให้เห้งเจียช่วยปราบปีศาจให้ด้วย เล่าเรื่องจบเวลาก็จวนสว่าง
ครั้นได้ยินเสียงไก่ขัน พระถังซัมจั๋งและสานุศิษย์ออกเดินทางมุ่งสู่เมืองเทียนเต็ก พระราชาเมืองนี้ทรงพระนามว่าจี้จงฮ่องเต้ ทรงโปรดปรานการเล่นต้นไม้ ไม้ดอก ต้นบอน โกศลต่างๆ
ฝ่ายนางปีศาจกระต่ายในพระจันทร์ผูกอาฆาตพระราชบุตรี ไปทิ้งในวัดเป๊ากิมเสียนยี่ แล้วตนเองแปลงเป็นนางกงจู๋ราชบุตรีแทน นั่งซุ่มเสี่ยง มาลัยเลือกคู่อยู่รอพระถังซัมจั๋ง เพื่อจะได้น้ำสัมภวะของพระถังซัมจั๋งไปทำกระสายยา
พระถังซัมจั๋งกับสานุศิษย์เดินชมเมืองเพลินไปถึงหอเสี่ยงทาย นางปีศาจจำแลงขว้างตะกร้อแพรมาต้องพระถังซัมจั๋ง พระถังซัมจั๋ง มิรู้จะทำประการใดเพราะนางเป็นพระราชบุตรี หากขัดขืนไม่ยอมเป็นพระราชบุตรเขยก็ห่วงว่าคงไม่ได้รับประทับตราหนังสือผ่านเมือง ฝ่ายเห้งเจียคิดอุบายได้แล้ว กระซิบความบอกให้พระถังซัมจั๋งทำทีเป็นยินดี โอนอ่อน ผ่อนตามเป็นพระราชสวามีของนางกงจู๊ เมื่อเป็นดังนั้นพระราชารับสั่งให้ จัดงานเลี้ยงฉลองพระราชบุตรเขยกลางสวนหลวง ต่างคนต่างรื่นเริงสำราญ จนพระถังซัมจั๋งเผลอลุกขึ้นร้องเพลง เล่นโศลกคลอเสียงดุริยางค์ (ความประมาทของพระอริยะเจ้า) ส่วนโป้ยก่ายเผลอตัวสำแดงสันดานเก่าออกมา พระถังซัมจั๋งเห็นเข้าจึงดุด่าเฆี่ยนตี
ฝ่ายกงจู๊พระราชบุตรีแปลง เห็นสบโอกาสจึงกราบทูลให้พระราชา ออกหนังสือเดินทางให้สามพี่น้องออกจากเมืองโดยเร็ว เพื่อจะได้ร่วมรักกับพระถังซัมจั๋ง
เห้งเจียกระซิบความกับพระถังซัมจั๋ง แล้วแสร้งชวนโป้ยก่ายซัวเจ๋ง จูงม้าขาวหาบของออกเดินทางไปพักหนึ่ง แล้วแปลงเป็นผึ้งบินกลับ มาเกาะไหล่พระถังซัมจั๋งทันการ ในขณะที่พระถังซัมจั๋งกำลังทำพิธีวิวาห์กับนางปีศาจกงจู๊
เห้งเจียพิจารณานางกงจู๊ใกล้ชิดแล้ว รู้ชัดว่าเป็นปีศาจปลอมแปลงมาจึงกลายร่างกลับตามเดิม เห้งเจียชักตะบองออกจากหูเข้าตีปีศาจ นางปีศาจเห็นเช่นนั้นรีบถอดร่างเหลือแต่เครื่องแต่งกายทิ้งไว้ แล้วเหาะไปเอาครกบด (กามราคะ - การติดใจในกาม) หินวิเศษรูปร่างคล้ายสาก (ปฏิฆะ - ความขัดเคืองใจ) ออกมาสู้กับเห้งเจีย ต่างไม่แพ้ไม่ชนะ สู้รบกันเอิกเกริกรุกไล่กันจนถึงประตูสวรรค์
ฝ่ายนางปีศาจเห็นสบโอกาสเหาะหนีไปทางทิศอาคเนย์ไปยังภูเขาม้อเถ้าซัว เห้งเจียตีลังกาตามไปเข้าสู้รบ มิทันแพ้ชนะแก่กัน เจ้าแม่ท้าย อิมแชกุน(พระจันทร์)มาทัน ทรงขอชีวิตนางปีศาจไว้จากเห้งเจีย เพราะว่าที่แท้เป็นกระต่ายในดวงจันทร์ ผูกอาฆาตพระราชบุตรีที่เคยตบหน้า นางกระต่ายสมัยเป็นนางฟ้าอยู่บนสวรรค์ มันจึงแอบแปลงเป็นปีศาจมาทำการรังควาน
เห้งเจียทราบความแล้วเหาะกลับเมืองเทียนเต็ก แล้วนำพระราชบุตรีที่ถูกคุมขังเป็นบ้าใบ้อยู่ที่วัดเป๊ากิมเสียนยี่ มาขัดสีฉวีวรรณนางกงจู๊ จนงามเปล่งปลั่งยิ่ง เห้งเจียทูลขอให้พระราชาปล่อยไก่สัก ๑,๐๐๐ ตัว ในตอนกลางคืนเพื่อให้จิกกินตะขาบบนเส้นทางระหว่างวัดกับเมืองเพื่อให้ผู้สัญจรไปมาปลอดภัย
พระราชาทรงทำตามนั้น แล้วให้ช่างวาดรูปพระถังซัมจั๋งและศิษย์ไว้สักการบูชารำลึกถึงบุญคุณ เห้งเจียเปลี่ยนชื่อวัดชื่อภูเขาและชื่อสมภารเสียใหม่แล้ว เสร็จการพร้อมด้วยพระถังซัมจั๋งทูลลาออกจากเมืองเทียนเต็กมุ่งสู่วัดลุยอิมยี่
(ถึงตรงนี้การรู้แจ้ง ก็เข้าสู่ระดับอนาคามี - พระอริยบุคคล ที่ได้ปฏิบัติและได้รับอนาคามิผล - ผลจากการละสังโยชน์ได้อีก ๒ อย่าง คือ กามราคะ และปฏิฆะ อันเป็นสังโยชน์อีก ๒ อย่างคือ ในระดับอันประณีต ที่ระดับอนาคามีพึงต้องละอีก ภายหลังบรรลุเข้าเขตโสดาปัตติผลในระดับสกทาคามีแล้ว ความเพลิดเพลินทำให้เกิดความประมาทของอริยะเจ้า และหลงติดอยู่ไม่เดินทางต่อจำต้องอาศัยสติ ก็จะขจัดสิ้นมลทินส่องสว่างขาวนวลดุจแสงจันทร์ ดูผุดผ่องงามตา
การละสังโยชน์ ๑๐ ได้แก่
๑. กามราคะ - การติดใจในกาม
๒. ปฏิฆะ - ความขัดเคืองใจ
๓. มานะ - การถือตน ความสำคัญตน
๔. ทิฏฐิ - ความเห็นผิด
๕. วิจิกิจฉา - ความลังเล
๖. สีสลัพพตปรามาส - ความงมงาย
๗. ภวราคะ-การติดใจในความมี ความเป็น
๘. อิสสา-ความริษยา ความรู้สึกไม่พอใจเมื่อเห็นเขาได้ดี
๙. มัจฉริยะ - ความตระหนี่
๑๐.อวิชชา - ความไม่รู้)จาก
http://www.khuncharn.com/skills?start=35อีกอัน ไซอิ๋ว ฉบับ อาจารย์ เขมานันทะ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maekai&month=10-07-2008&group=15&gblog=1ลิ้ง สำรอง
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,11974.0.html