[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 ธันวาคม 2567 22:08:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระบรมสารีริกธาตุสัณฐานสวยงามมาก และพระธาตุพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  (อ่าน 5968 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2560 10:36:32 »



ภาพจาก เว็บวัดป่าดอยแสงธรรม

พระบรมสารีริกธาตุสัณฐานสวยงามมาก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 กุมภาพันธ์ 2560 10:00:56 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 กุมภาพันธ์ 2560 10:00:06 »



หลวงปู่เสาร์ กันตสีลมหาเถระ
ปฐมาจารย์ ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ


พระธาตุหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล


ทันตธาตุหลวงปู่เสาร์


พระธาตุหลวงปู่เสาร์ สัณฐานเมล็ดข้าวโพด
(ภาพถ่ายจากเจดีย์หลวงปู่เสาร์ ที่วัดดอนธาตุ จ.อุบลราชธานี)






พระธาตุหลวงปู่เสาร์

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พระผู้เป็นพระอาจารย์กรรมฐานของหลวงปู่มั่นในคราวหลวงปู่มั่นเริ่มออกธุดงค์ ได้บำเพ็ญองค์ท่านเป็นแบบอย่างในการถือธุดงควัตร ซึ่งมี ๑๓ ข้อ ได้แก่

๑.ปังสุกูลิกังคะธุดงค์ ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ผ้าบังสุกุลคือ ผ้าที่เขาทิ้ง ไม่มีเจ้าของ ผ้าตามป่าช้า นำมาต้มซักและย้อมสีจีวร
๒.เตจีวะริกังคะธุดงค์ ถือผ้าสามผืนเป็นวัตร มีสบง จีวร สังฆาฏิ เพียงอย่างละผืน
๓.ปิณฑปาติกังคะธุดงค์ ถือเที่ยวบิณฑบาตรเป็นวัตร
๔.สะปะทานะจาริกังคะธุดงค์ คือเที่ยวบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร มีความเคารพในพระเถระ ไม่แซงหน้าเพื่อหวังอาหารที่ดีกว่า
๕.เอกาสะนิกังคะธุดงค์ ถือฉันจังหันในอาสนะเดียว(ฉันมื้อเดียว) เป็นวัตร
๖.ปัตตะปิณฑิกังคะธุดงค์ ฉันในภาชนะอันเดียว คือฉันในบาตรเป็นวัตร อาหารหวานคาวอยู่ในที่เดียวกันเพื่อสดวกแก่การพิจารณา และไม่ให้ติดในรสชาด
๗.ขลุปัจฉาภัตติกังคะธุดงค์ ถือไม่รับภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร ฉันแต่เฉพาะอาหารที่บิณฑบาตได้ เพื่อตัดนิวรณ์ เป็นผู้สันโดษในอาหาร
๘.อารัญญิกังคะธุดงค์ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร
๙.รุกขมูลิกังคะธุดงค์ ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร
๑๐.อัพโภภาสิกังคะธุดงค์ ถืออยู่อัพโภกาศที่แจ้ง ไม่มีที่มุงบังเป็นวัตร
๑๑.โสสานิกังคะธุดงค์ ถือยู่ป่าช้าเป็นวัตร
๑๒.ยถาสันถติกังคะธุดงค์ ถืออยู่เสนาสนะที่เขาจัดให้เป็นวัตร พอเพียง ไม่ขวนขวายเพื่อที่อยู่ดีกว่า
๑๓.เนสัชชิกังคะธุดงค์ ถือไม่นอนตลอดคืนเป็นวัตร

ท่านได้พาหลวงปู่มั่นท่องเที่ยวไปตามป่าเขาลำเนาไพร ซึ่งร่มรื่นแต่เต็มไปด้วยสิงห์สาราสัตว์ประเภทต่างๆ และไข้ป่า ลำบากอัตคัตในเรื่องข้าวปลาอาหารและที่อยู่อาศัย แต่เหมาะสมกับการปฏิบัติธรรมกรรมฐานอย่างยิ่ง
                                   

ชาติภูมิของท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี
ชาตะเมื่อ พ.ศ.2403 มรณะภาพเมื่อ พ.ศ.2485 ท่านเป็นพระอาจารย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ และเป็นพระวิปัสสนาธุระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยอย่างยอดเยี่ยม ชอบธุดงค์ตามป่าเขา บุคลิกลักษณะสมบูรณ์ สง่าผ่าเผย เกรงขาม พูดน้อย มีกิริยาเมตตาอยู่เสมอ เป็นที่เคารพรักของชาวพุทธที่พบเห็น


 

ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺสีลเถรและคณะสงฆ์อันเป็นศิษยานุศิษย์ ณ วัดข่าโคม ต.หนองขอน อ.เมือง อุบลราชธานี

doisaengdham.org
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 02 มีนาคม 2560 16:29:10 »




หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺตโต
พระผู้เป็นพระบุพพาจารย์สายกรรมฐานในยุคปัจจุบัน

หลวงปู่มั่น ท่านเกิดในสมัยยุคกึ่งพุทธกาล  ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อจันทร์ เพีย (พระยา) แก่นท้าวเป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดีเดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคมพ.ศ.๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ บ้านคำบง ต.สงยาง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี) มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปีท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดงแข็งแรงว่องไวสติปัญญาดี

ปฏิปทา
ท่านมีความเพียรความอดทนเป็นเลิศ รักษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ออกเที่ยวธุดงค์ตามป่าช้า เงื้อมถ้ำ ป่าเขาลึก อันเป็นที่กันดารแต่สงบงบเงียบเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ท่ามกลางความอดอยากอัตคัตและภยันตรายกลางป่าเขา ท่านมีธรรมเท่านั้นเป็นเครื่องคุ้มครอง และที่สุด พระธรรมที่ท่านบำเพ็ญก็นำพาให้ถึงแดนอันปราศจากทุกข์โดยสิ้นเชิง และจากนั้นท่านได้เผยแผ่พระศาสนาโดยเน้นที่การฝึกอบรมพระเป็นหลัก เพื่อให้เกิดพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพื่อเป็นกำลังให้กับพระศาสนา เพื่อจะได้ช่วยบรรเทาทุกข์ภัยในวัฏฏะแก่ผู้ทุกข์ยาก

การบำเพ็ญสมณธรรมอย่างอุกฤษฎ์ และด้วยบุญวาสนาเดิมที่สั่งสมมา ยังให้ท่านมีปัญญาอันกว้างไกลและเป็นเลิศ มีความฉลาดแยบคายในการสอนสั่งผู้คน ทำให้ผู้สัมผัสพบเห็นเกิดความเคารพเลื่อมใสเป็นที่ยิ่ง

จึงมีทั้งบรรพชิตและฆราวาส ออกติดตามเป็นศิษย์อยู่มากมายด้วยใจเทิดทูนบูชา  พระธุดงค์สายกรรมฐานจึงเริ่มเผยแผ่กว้างไกลในขณะนั้น

ท่านมีคณะศิษย์พระกรรมฐานที่ได้รับแบบอย่าง ออกตามออกธุดงค์ตามป่าเขา ได้รับความสงบร่มเย็นใจตามกำลังความเพียร จนถึงพ้นทุกข์สิ้นเชิง   เกิดพระกรรมฐานที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหลายท่าน  การเป็นผู้รักษาศีลสำรวมในสิกขาบทและเป็นผู้มีความเพียรความอดทนยอดเยี่ยม เพื่อชำระกิเลสออกจากใจ ตามแบบอย่างหลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นปฏิปทาพระกรรมฐานอันมหามงคลนี้ ทำให้เป็นที่เคารพเลื่อมใสแก่ผู้รู้จักพบเห็นเป็นอย่างยิ่ง  ครูบาอาจารย์ศิษย์สายหลวงปู่มั่นเหล่านี้ต่อมาจึงเป็นที่ให้ความร่มเย็นจิตใจแก่ชาวพุทธทั้งในไทยและต่างแดนหลายประเทศ ยังศาสนาพุทธให้เจริญในกึ่งพุทธกาล 

กาลเวลาผ่านไป ครูบาอาจารย์เหล่านี้ก็ได้ล่วงลับ ภายหลังฌาปนกิจ อัฐิได้แปรเป็นพระธาตุหลายท่าน

เป็นที่มาของพระปฏิบัติดี ๒๘ องค์ ที่ได้อัญเชิญอัฐิธาตุ และพระธาตุมาบรรจุ ณ พระธุตังคเจดีย์ ที่วัดอโศการามแห่งนี้ พระผู้ปฏิบัติดีเหล่านี้ล้วนมีต้นสายกำเนิดมาจากองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ หลวงปู่มั่นจึงเป็นพระบุพพาจารย์สายกรรมฐานในยุคปัจจุบัน



ส่วนหนึ่งของคณะศิษย์กรรมฐานสายหลวงปู่มั่น


พระธาตุหลวงปู่มั่น (เนื่องจากขณะถ่ายภาพยังไม่ได้บรรจุพระธาตุหลวงปู่มั่น
จึงขอนำภาพจากพิพิธภัณฑ์หลวงปู่มั่น สกลนคร มาลงแทน)


พระธาตุหลวงปู่มั่น จากหนังสือประวัติหลวงปู่มั่น




พระธาตุหลวงปู่มั่น จากวัดสันติธรรม


พระธาตุหลวงปู่มั่น  ประดิษฐาน ณ วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 มีนาคม 2560 09:34:08 »



พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์
(หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม)

วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
"พระอริยเจ้าผู้เป็นยอดขุนพลเอกแห่งกองทัพธรรมกรรมฐาน"

พระเดชพระคุณพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ท่านปฏิบัติเคร่งครัดในวินัยมาก เป็นเสมือนองค์แทนของหลวงปู่เสาร์และท่านพระอาจารย์มั่น และเป็นยอดขุนพลเอกแห่งกองทัพธรรมกรรมฐานภาคอีสาน เป็นหนึ่งในสามพระบูรพาจารย์สายกรรมฐานที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล พระกรรมฐานทั้งมวลล้วนเคยผ่านการอบรมสั่งสอนจากท่านแทบทั้งนั้น

ปีพุทธศักราช ๒๔๕๘ ท่านได้เข้าไปหาพระอาจารย์มั่น ที่วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลฯ เห็นพระอาจารย์มั่นเดินจงกรมอยู่ ท่านจึงนั่งสมาธิรออยู่ที่โคนต้นมะม่วงเมื่อท่านพระอาจารย์เหลือบเห็นพระอาจารย์สิงห์ ท่านจึงเรียกขึ้นไปบนกุฏิแล้วพูดว่า "เราได้รอเธอมานานแล้ว อยากพบและต้องการชักชวนให้มาปฏิบัติธรรมด้วยกัน" ท่านพระอาจารย์สิงห์ได้ฟังเช่นนั้นก็ตอบทันทีว่า "กระผมอยากมาปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มานานแล้ว" แล้วท่านพระอาจารย์มั่นก็สอนให้ท่านพิจารณากายคตาสติกัมมัฏฐานข้อ "ปัปผาสัง" ให้เป็นบทบริกรรม เมื่อท่านได้ฝึกกรรมฐานอย่างที่ท่านพระอาจารย์มั่นสอน วันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังสอนนักเรียนโรงเรียนสร่างโศรกเกษมศิลป์ ท่านพิจารณากรรมฐานข้อนี้แล้วเพ่งไปที่นักเรียนในชั้นนั้นทั้งหมด ปรากฏว่าทุกคนกลายเป็นโครงกระดูก คราวนั้นท่านเกิดสลดจิตเป็นอย่างมาก ตั้งแต่นั้นมาท่านลาออกจากการเป็นครูและติดตามท่านพระอาจารย์มั่นธุดงค์ไปทุกหนทุกแห่ง

ท่านปรารถนาผลอันยิ่งใหญ่คือพุทธภูมิ ท่านได้มุ่งสู่ราวป่าและปฏิบัติตามเยี่ยงพระอริยเจ้าทั้งหลาย ด้วยความวิริยะอุตสาหพยายาม ด้วยวิสัยพุทธบุตร ท่านสามารถรอบรู้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายของกิเลสตัณหาได้อย่างแยบยล ด้วยสติปัญญาและกุศโลบายอันยอดเยี่ยมเข้าพิชิตติดตามฆ่าเสียซึ่งอาสวะกิเลสต่างๆ ที่เข้ามารุมเร้าจิตใจของท่านได้อย่างภาคภูมิ จนสามารถรอบรู้นำหมู่คณะพระกรรมฐานแห่งยุคนั้นออกเที่ยวอบรมสั่งสอนประชาชนผู้โง่เขลาเบาปัญญา ให้หันมานับถือพุทธศาสนา ยึดมั่นในพระไตรสรณคมน์ น้อมจิตให้หันมาประพฤติปฏิบัติธรรม

ครั้งหนึ่งท่านกับพระอาจารย์มหาปิ่นผู้เป็นพระน้องชาย และบรรดาพระอาจารย์ฝ่ายปฏิบัติเดินธุดงค์ผ่านมาถึงจังหวัดปราจีนบุรี ได้เปิดสำนักปฏิบัติธรรมขึ้นแห่งหนึ่งซึ่งบริเวณนั้นเป็นป่าช้า ชื่อเสียงในการสั่งสอนและแสดงพระธรรมเทศนาของท่านลึกซึ้ง จับใจ เป็นที่นิยมของคนในจังหวัดนั้น ได้สร้างความไม่พอใจแก่คนเลวบางคนเป็นยิ่งนัก ถึงขนาดจ้างมือปืนมาฆ่าท่าน แต่ก็เกิดปฏิหาริย์ขึ้นในขณะที่มือปืนเล็งเป้าหมายยิงท่านนั้น ต้นไม้ทุกต้นในบริเวณป่าช้าแกว่งไกวเหมือนถูกลมพัดอย่างรุนแรง ขนาดต้นไม้โตๆ ล้มระเนระนาด ทำให้มือปืนใจชั่วตกใจเหลือกำลังจะวิ่งหนีแต่ขาก้าวไม่ออก ปืนได้ตกลงสู่พื้นดิน มือปืนจึงก้มลงกราบพร้อมกับกล่าวคำสารภาพผิด ท่านได้อบรมจิตใจของมือปืนรับจ้างด้วยความเมตตาและปล่อยตัวไป ซึ่งต่อมาผู้มีอิทธิพลซึ่งจ้างมือปืนฆ่าท่านได้สำนึกและได้รับฟังธรรมะโอวาทจากท่าน เกิดปีติในธรรมะอย่างล้นพ้นเลื่อมใสศรัทธาด้วยจิตใจบิสุทธิ์ จึงพร้อมใจกันฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่าน และได้ชักชวนกันสร้างสำนักสงฆ์อันถาวรถวายท่ายเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงคุณของท่านที่ได้เปิดตาเปิดใจพวกเขาให้ได้รับแสงสว่างในธรรมะและได้ตั้งชื่อไว้ว่า "วัดป่ามะม่วง" หรือ "วัดป่าทรงคุณ"

ท่านเกิดที่บ้านหนองขอน ตำบลหัวทะเล อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู เป็นบุตรของท่านเพีย อัครวงศ์ และนางหล้า บุญโท (เพีย อัครวงศ์ มีตำแหน่งเป็นข้าราชการหัวเมืองลาวกาว - ลาวพวน มีหน้าที่จัดการศึกษาและการพระศาสนา)

บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ในสำนักพระอุปัชฌาย์ป้อง ณ วัดบ้านหนองขอน ตำบลหัวทะเล อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสุทัศนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์

ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ หลวงชาญนิคม ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเลื่อมใสในธรรมของพระพุทธเจ้า และเลื่อมใสในพระธุดงค์กรรมฐานมาก มีประสงค์เป็นอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟูจังหวัดนครราชสีมาให้เป็นศูนย์รวมของพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จึงได้ถวายที่ดินอันเป็นป่าช้าแก่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) สมเด็จจึงนิมนต์พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาโม ให้ไปช่วยสร้างวัดป่าสาลวัน เพื่อให้เป็นวัดป่าต้นแบบของพระฝ่ายวิปัสนาธุระ

ตลอดชีวิตของท่านได้ทุ่มเทกับงานด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนา และการอบรมสั่งสอนพุทธบริษัททั้งหลายได้ตั้งกองทัพธรรมขึ้นที่วัดป่าสาลวัน โคราช ด้วยความมุ่งมั่นและความเป็นผู้เอาจริงเอาจังทุกอย่าง แม้จะมีอุปสรรคมากมายหลายอย่าง แต่ท่านก็ฝ่าฟันเอาชนะมาได้ด้วยธรรม

ท่านละสังขารเข้าสู่แดนอนุปาทิเสสนิพพานเมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๗ เวลา ๑๐.๒๐ น. ด้วยโรคมะเร็งเรื้อรังในกระเพาะอาหาร ณ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา

สิริอายุ ๗๓ ปี ๕๑ พรรษา



อัฐิธาตุของ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม

ข้อมูลจาก: หนังสือพระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์ วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 มีนาคม 2560 11:46:15 »



พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
"พระอริยเจ้าผู้มีความเป็นเลิศในการสอนธรรม"

พระเดชพระคุณหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระสุปฏิปันโนผู้มีโวหารธรรมอันแหลมคม  เป็นเหมือนพี่ชายใหญ่ในสายกรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทฺตโต  ท่านเป็นสหธรรมิกกับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม

ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยเยือกเย็น พูดแต่น้อย รักความสงบเป็นนิตย์ จิตใจใฝ่ในความวิเวกมาก จะเห็นได้ว่าท่านชอบสวดมนต์บท  "อรญฺเญ รุกฺขมูเล วา สุญฺญาคาเร วา ภิกฺขโว..."  แปลความว่า  "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงยินดีการอยู่อาศัยในป่า ในโคนไม้ หรือว่าในเรือนว่าง..."  เมื่อหวงปู่ดุลย์นำข้อธรรมที่รู้เห็นไปกราบเรียน ท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวยกย่องว่า  "ถูกต้องดีแล้ว เอาตัวรอดได้แล้ว นับว่าไม่ถอยหลังอีกแล้ว ขอให้ดำเนินตามปฏิปทานี้ต่อไป"  และท่านพระอาจารย์มั่นได้กล่าวสรรเสริญให้ปรากฏต่อศิษย์ทั้งหลายว่า  "ท่านดูลย์...นี้เป็นผู้มีความสามารถอย่างยิ่ง สามารถมีสานุศิษย์และผู้ติดตามมาประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก"

ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เป็นบุตรของนายแดง และนางเงิน ดีมาก

ปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ อายุ ๒๒ ปี อุปสมบทฝ่ายพระมหานิกาย ณ พัทธสีมา วัดจุมพลสุทธาวาส จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพระครูวิมลศีลพรต (ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบึก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูฤทธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อบวชแล้ว ได้ฝึกกรรมฐานกับพระอาจารย์ โดยจุดเทียนขึ้น ๕ เล่ม แล้วนั่งบริกรรมว่า  "ขอเชิญปีติทั้ง ๕ จงมาหาเรา"  ท่านเพียรอยู่ตลอดแต่ไม่ปรากฏผลอันใดเลย

วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ เมื่อท่านอายุ ๓๐ ปี ได้เข้าญัตติเป็นคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต ณ วัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระมหารัฐ รฏฺฐปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ครั้นออกพรรษาแรก ท่านกับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้พากันไปฟังธรรมเทศนาจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง ซาบซึ้งถึงใจในคำพูดของท่านพระอาจารย์มั่น แต่ละคำมีวินัยแปลกดี ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน จึงเพิ่มความสนใจ ใคร่ประพฤติปฏิบัติทางธุดงค์กัมมัฏฐานมากยิ่งขึ้นทุกที

ครั้นออกพรรษาแล้วท่านได้ติดตามท่านพระอาจารย์มั่นออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ  ได้ปรารภความเพียรอย่างอุกฤษฏ์แรงกล้าจนแสงแห่งพระธรรมบังเกิดขึ้น

ปีพุทธศักราช ๒๔๖๓ ได้ออกธุดงค์ตามหาท่านพระอาจารย์มั่นไปจนถึงบ้านม่วงไข่ ได้แวะที่วัดโพธิ์ชัย พบท่านอาญาคูดี พระอาจารย์กู่ และพระอาจารย์ฝั้น ได้ออกธุดงค์ติดตามจนพบท่านพระอาจารย์มั่น ที่บ้านตาลโกน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ที่วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

สิริอายุ ๙๕ ปี ๖๕ พรรษา




อัฐิธาตุหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

 
อัฐิธาตุและพระธาตุหลวงปู่ดูลย์ อตุโล


ข้อมูลจาก: หนังสือพระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์ วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 71.0.3578.98 Chrome 71.0.3578.98


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 18 มกราคม 2562 15:22:35 »



หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
"พระอริยเจ้าผู้มีดวงตาเห็นธรรม"

พระเดชพระคุณหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นหนึ่งในกองทัพธรรมกรรมฐานใต้ร่มธรรมของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นศิษย์ที่ท่านพระอาจารย์มั่นมอบคำบริกรรมให้โดยเฉพาะ เนื่องด้วยท่านเป็นผู้มีราคะจริต ในเบื้องต้นท่านให้คำบริกรรมว่า  "กายเภทํ กายมรณํ มหาทุกฺขํ"  ต่อมาท่านให้เปลี่ยนบริกรรมว่า  "เยกุชโฌ  ปฏิกุโล"

         ท่านได้รับการยกย่องจากพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสองว่า  "เป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม"  ท่านมีพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร  พระอทาจารย์กงมา จิรปุญโญ เป็นสหธรรมิกในการออกธุดงค์

         ท่านเกิดในวันอังคาร ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีขาล พ.ศ. ๒๔๔๕ ณ บ้านดอนเงิน ตำบลแซแล อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรของนายเมืองกลาง และนางบุญมา กาญวิบูลย์

         เมื่ออายุได้ ๑๖-๑๗ ปี ท่านได้ยินพ่อแม่พูดว่า  "การบวชนี้ได้บุญมาก"  ทำให้ท่านอยากบวชขึ้นมาทันที จึงบอกพ่อแม่ว่า  "ต้องการบวช ถ้าได้บวชแล้วจะไม่สึก"  ดังนั้นพ่อแม่จึงนำท่านไปฝากเป็นศิษย์วัดกับพระครูพิทักษ์คณานุการ วัดจอมศรี บ้านเมืองเก่า อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

         ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ท่านก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ในระยะนั้นมีโอกาสได้พบกับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เกิดศรัทธาเลื่อมใสจึงได้ติดตามหลวงปู่ดูลย์ออกปฏิบัติและศึกษาธรรม

         ปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๔๖๔ อุปสมบทเป็นภิกษุฝ่ายมหานิกาย ณ วัดปะโค อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระอาจารย์จันทา เป็นพระอุปัชฌาย์

         ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๖๖ ได้ออกธุดงค์แสวงหาความสงบวิเวก ปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานอยู่กับหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ยอมมอบกายถวายชีวิตเป็นศิษย์ต่อพระอาจารย์ทั้งสอง ที่วัดบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
   



รูปเหมือนหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

ท่านได้ขอญัตติใหม่จากหลวงปู่เสาร์ และท่านพระอาจารย์มั่น แต่ท่านทั้งสองยังไม่ยินยอม ได้ให้เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามดังนี้ คือ

         ๑. ฝึกภาวนาไปอีก ๑ ปี
         ๒. ต้องท่องหนังสือนวโกวาทให้จบ
         ๓. ต้องท่องพระปาฏิโมกข์ให้จบ

         ด้วยความมุ่งมั่นต้องการที่จะญัตติใหม่ ท่านตั้งใจท่องนวโกวาท ๔ วันจบ ท่องปาฏิโมกข์ ๗ วันจบ จึงได้ญัตติเป็นธรรมยุตเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ อายุได้ ๒๓ ปี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอดิศัย คุณาธาร (คำ อรโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

         ปีพุทธศักราช ๒๔๖๘ ท่านได้จำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่กับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ที่วัดป่าอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

         ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ จำพรรษาที่วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร รวมเวลา ๑๒ ปี

         ปีพุทธศักราช ๒๔๙๖ ได้สร้างวัดป่านิโครธาราม ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี





อัฐิธาตุหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ณ พระธุตังคเจดีย์ วัดอโศการาม

ท่านละสังขารเข้าสู่แดนอนุปาทิเสสนิพพาน ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เวลา ๐๔.๐๐ น.

         สิริอายุ ๘๐ ปี ๕๘ พรรษา



เกศาธาตุหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ


อัฐิธาตุหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
ณ เจดีย์พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

ที่มา www.doisaengdham.org
บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1117


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 74.0.3729.169 Chrome 74.0.3729.169


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 19 มิถุนายน 2562 09:35:40 »




หลวงปู่ชอบ ฐานสโม  
วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย
อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลยเลย
"พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญา"

พระเดชพระคุณหลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอริยเจ้าผู้ทรงอภิญญาญาณ คือ ผู้ทรงความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนา มีคุณสมบัติพิเศษ ๖ อย่าง ๑. อิทธิวิธี  แสดงฤทธิ์ได้  ๒. ทิพโสต  หูทิพย์  ๓. เจโตปริยญาณ  รู้จักกำหนดใจผู้อื่น  ๔. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ  ระลึกชาติได้  ๕. ทิพจักขุ  ตาทิพย์  ๖. อาสวักขยญาณ  รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป

            ท่านมีนิสัยชอบโดดเดี่ยวเที่ยวไปอยู่ในป่า ทำในสิ่งที่บุคคลอื่นทำได้ยาก ไม่ชอบเกี่ยวข้องกับหมู่ชนพระเณร เป็นผู้มีความองอาจเด็ดเดี่ยว อดทนเป็นเลิศ ไม่กลัวความทุกข์ยากลำบาก เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย กล้าได้กล้าเสียในการปราบกิเลส ถึงกับท่านพระอาจารย์มั่นออกปากชมท่ามกลางสภาสงฆ์ "ให้ทุกองค์ภาวนาให้ได้เหมือนท่านชอบสิ ท่านองค์นี้ภาวนาไปไกลลิบเลย"  

          ท่านสามารถแสดงธรรมและสนทนาธรรมเป็นภาษาต่างๆ ได้หมด เพียงกำหนดจิตดูว่าภาษานั้นเขาใช้พูดกันว่าอย่างไร ท่านสามารถแสดงธรรมโปรดเทวดา พญานาค ตลอดจนภพภูมิต่างๆ ได้

             การธุดงค์ของท่านนับว่าโลดโผนมาก ชอบเดินทางในเวลากลางคืนหรือจวนสว่างในคืนเดือนหงาย เที่ยวไปอบ่างอนาคาริกมุนีผู้ไม่มีอาลัยในโลกทั้งปวง บางคราวมีเสือลายพาดกลอนตัวใหญ่สองตัวกระโดล้อมหน้าล้อมหลังเอาไว้ ท่านเร่งสติสมาธิ แผ่เมตตา กำหนดจิตเข้าข้างใน สมาธิลึกเข้าไปจนถึงฐานของจิต ปล่อยวางสิ่งทั้งปวง เมื่อถอนจิตออกมาปรากฏว่าเสือสองตัวได้หายไปแล้ว

          ครั้งหนึ่งท่านเดินทางไปทางอำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง เข้าไปหมู่บ้านกะเหรี่ยงกลางหุบเขาเพื่อโปรดพี่ชายของท่านในอดีตชาติที่รักกันมาก ท่านระลึกชาติได้ว่า เคยเกิดเป็นชาวกะเหรี่ยงที่ประเทศพม่า มีพี่ชายคนหนึ่ง บัดนี้เขาได้มาเกิดเป็นชาวกะเหรี่ยง ชื่อว่า "เสาร์" อยู่ที่ตำบลป่ายาง บ้านผาแด่น อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยจิตเมตตาท่านจึงเดินทางไปโปรดดึงเขาเข้าสู่ทางธรรม และต่อมานายเสาร์ก็ได้บวชเป็นพระติดตามท่านจนตลอดชีวิต



หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

          ท่านเล่าว่าในบางคราวหลงอยู่ในกลางป่าเป็นเวลาหลายๆ วัน  ท่านเป็นที่เคารพรักของเหล่าเทพยดา เดินทางจากประเทศพม่าจะเข้าสู่ไทย หลงป่าเจียนตายเพราะความหิว เทวดาได้นำอาหารทิพย์มาใส่บาตร อาหารนั้นมีรสอร่อยส่งกลิ่นหอม หายเมื่อยหายหิวไปหายหิวไปหลายวัน

          ท่านทำสมาธิทั้งกลางวันกลางคืน บางคราวพายุฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลาก ท่านต้องนั่งกอดบาตรเอาไว้จนสว่าง ท่านพบวิมุตติบรรลุธรรมขั้นสูงสุดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๗ พรรษาที่ ๒๐ อายุ ๔๓ ปี ที่ถ้ำบ้านหนองยวน ประเทศพม่า

          ในระยะที่ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นนั่น ท่านได้รับความไว้วางใจและมอบหมาย ให้ช่วยดูแลพระเณรที่คิดอะไรนอกลู่นอกทาง ไม่ถูกต้องตามครรลองของผู้ทรงศีลธรรมท่านก็จะตักเตือน เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นว่าท่านมีความรู้ภายในว่องไวไม่แพ้หลวงปู่มั่น พระเณรทั้งหลายจึงเกรงกลัวท่านมาก และท่านก็ยังสามารถระลึกชติ รู้อดีตชาติของท่านเองว่าเคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง เช่น เคยเกิดเป็นพระภิกษุรักษาศีลอยู่กับพระอนุรุทธะ เคยเป็นสามเณรน้อยลูกศิษย์พระมาหกัสสปะ เคยเกิดเป็นท้าวมหาพรหมในพรหมโลก และเป็นสัตว์หลายชนิดอีกด้วย หลวงปู่ชอบท่านบำเพ็ญภาวนาอยู่ตามป่าตามเขา ส่วนมากทางภาคเหนือหลายพื้นที่รวมถึงประเทศพม่าด้วย



ในหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงนมัสการหลวงปู่ชอบ

         ท่านเกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู ณ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นบุตรของนายมอ และนางพิลา แก้วสุวรรณ

          บวชสามเณรเมื่ออายุ ๑๙ ปี ณ วัดบ้านนาแก ตำบลบ้านนากลาง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นสามเณรอยู่ถึง ๔ ปีกว่า และได้อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ณ วัดศรีธรรมาราม อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมี พระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์

         ท่านได้พบพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ณ เสนาสนะป่าบ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม หลวงปู่มั่นได้ให่โอวาทสั้นๆ ว่า  "ท่านเคยภาวนามาอย่างไรก็ให้ทำต่อไปเช่นนั้น อย่าได้หยุด  ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงไว้นั้นมันอยู่ที่ใจเรานี่แหละ ถ้าอยากรู้อยากเห็นธรรมเหล่านั้น ก็ให้ค้นหาเอาที่ใจของท่านเอง"  

          ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ขณะท่องเที่ยวธุดงค์อยู่ทางภาคเหนือ สหธรรมิกคือหลวงปู่ขาว อนาลโย ชวนท่านกลับมาอีสาน ท่านจึงได้มาจำพรรษาที่ป่าช้าหินโง้น ปัจจุบันคือ วัดป่าโคกมน

          ปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ มีชาวบ้านถวายที่สร้างวัดกว่าร้อยไร่ ท่านจึงได้รับสร้างเป็นวัดขึ้นมา ปัจจุบันคือ วัดป่าสัมมานุสรณ์ ท่านได้อยู่จำพรรษาที่นี่เรื่อยมาจวบจนวาระสุดท้ายของท่าน

          ปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ อายุ ๗๐ ปี ท่านป่วยเป็นอัมพาต

          ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดป่าสัมมานุุสรณ์ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สิริรวมอายุได้ ๙๓ ปี ๑๑ เดือน ๒๗ วัน ๗๐ พรรษา




อัฐิและพระธาตุของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

ที่มา .doisaengdham.org
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิถุนายน 2562 09:41:00 โดย Maintenence » บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.345 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 19 ธันวาคม 2567 17:39:36