เหรา เป็นสัตว์หิมพานต์ประเภทจระเข้ ข้อมูล จากหนังสือชุดจิตรกรรมฝาผนังรามเกียรติ์ เรื่องสัตว์หิมพานต์ โดย อุดม ปรีชา อธิบายเอาไว้ว่า
เหรา มีรูปร่างครึ่งนาคครึ่งมังกร โดยหัวกับลำตัวเหมือนนาค แต่มีขาเหมือนมังกร ตัวยาวคล้ายงู มีเกล็ดตลอดตัว
รูปวาดเหราในจิตรกรรมไทยเป็นรูปครึ่งนาคครึ่งมังกร คือ หัวกับลำตัวเป็นนาค แต่มีขา ๔ ขา เหมือนมังกรหรือจระเข้
ตัวยาวมีเกล็ดตลอดตัวพม่านิยมทำรูปเหราประดับพุทธสถาน น่าสังเกตว่า ศิลปกรรมไทยทางภาคเหนือนิยมทำรูปพญานาคถูกเหราคาบไว้ครึ่งตัว
มองจากด้านศีรษะเป็นพญานาค แต่พอลงมาถึงช่วงอกจะเห็นรูปเหราอ้าปากคาบอยู่ และมีขาของเหราด้วย ทำให้เข้าใจว่า เนื่องจากเชียงใหม่เคย
ตกอยู่ในอำนาจของพม่า พม่าจึงให้ทำรูปพญานาคมีเหราหุ้มกัดอยู่เป็นการข่มอำนาจกันในตัว
ในภาษาสันสกฤตคำว่า hira แปลว่า งู หรือจระเข้ ก็ได้
เหราพต ในภาพจิตรกรรม
บางครั้งเราก็เรียก มกร ว่า เบญจลักษณ์ , ตัวสำรอก เนื่องจากในงานศิลปะ มกรมักจะคายหรือสำรอกเอาวัตถุใดๆออกมาทุกครั้ง
เหราในวรรณคดีไทยในวรรณคดีมักจะกล่าวถึงสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า "เหรา" อย่างใน
เรื่องอุณรุท ก็มีกล่าวถึงตอนนางศรีสุดาลงสำเภาไปในทะเลว่า
"เงือกงามหน้ากายคล้ายมนุษย์ เคล้าคู่พู่ผุดในชลฉาน
ราหูว่ายหาปลาวาฬ โลมาผุดพ่านอลวน
พิมทองท่องเล่นเป็นหมู่หมู่ สีเสียดปนอยู่กับยี่สน
จันทรเม็ดแมวม้าหน้าคน ฉลามลอยล่องพ่นวาริน
มังกรเกี้ยวกันกลับกลอก เหราเล่นระลอกกระฉอกกสินธุ์
ช้างน้ำงามล้ำหัสดิน ผุดเคล้านางกรินกำเริบฤทธิ์"
ในเรื่องนี้ไม่บอกว่า เหรา มีรูปร่างเป็นอย่างไร แต่พอจับความได้ว่า เป็น
สัตว์ทะเล ในพจนานุกรมอธิบายไว้ว่า เหรา เป็น "สัตว์ในนิยาย มีรูปครึ่งนาค
ครึ่งจรเข้" อ่านคำอธิบายแล้วยังไม่รู้ว่าครึ่งไหนเป็นอะไร ต้องฟังเพลงโบราณจึงจะรู้ประวัติ เพลงโบราณเล่าถึงประวัติ เหรา ไว้ว่า
"บิดานั้นนาคา มารดานั้นมังกร
มีตีนทั้งสี่ หน้ามีทั้งครีบทั้งหงอน"
เหรายังสามารถแยกย่อยเป็นลูกครึ่งได้อีก 3 ชนิดดังนี้สุบรรณเหรา (ครึ่งครุฑครึ่งเหรา)ลักษณะ ตัวเป็นนกแบบครุฑ หัวเป็นเหรา แข้งขาเป็นสิงห์ ขนหางเป็นนก
ตัวเหรา สัตว์ในป่าหิมพานต์
สกุณเหรา (ครึ่งนกครึ่งมังกร) ลักษณะ ตัวเป็นนก หัวเป็นมังกร มีเขา หางกระหนก ขาและเท้าเหมือนครุฑ
ตัวเหรา สัตว์ในป่าหิมพานต์
อัสดรเหรา (ครึ่งม้าครึ่งเหรา)ลักษณะ ผิวกายสีม่วงอ่อน บางทีก็วาดเหมือนจระเข้ บ้างก็วาดออกมาเหมือนมังกร
ตัวเหรา สัตว์ในป่าหิมพานต์
ความเชื่อเรื่องมกรคายนาคชาวพม่าและล้านนาเชื่อว่า มกร จะเป็นตัวแทนของความไม่รู้ หรือ อวิชชา ที่คายนาคออกมา เพื่อจะก้าวเข้าสู่วิชา
แต่หากเรามองไปในแง่มุมของการเมืองแล้ว พยานาคอันเป็นสัตว์ที่ชาวล้านนาให้ความเคา้รพและสักการะนั้น ถูกกลืนไปโดยมกร
ซึ่งเป็นสัตว์ในความเชื่อของพม่าราวกับว่าเป็นการสร้างเพื่อข่มกัน เพราะเคยตกเป้นเมืองขึ้นของพม่ามาก่อนครับ
ตัวเหรา สัตว์ในป่าหิมพานต์
ตัวเหรา สัตว์ในป่าหิมพานต์
ในทางศาสนาพุทธ เชื่อว่า
...เหรา.....หมายถึง"อุปทาน ความยึดติดในตัวเอง ปรัชญาชีวิตที่เราชอบ วิธีดำรงชีวิตของเราและสิ่งที่เราติดพันหลงไหลอยู่"
,,, นาค.....หมายถึง "ความมีชีวิต ชีวา กาย จิตของเรา"
ถ้าอุปาทานมันจับเรา เราก็เจ็บปวด ดิ้นรน ทุกข์ทรมาน ไม่ว่าเราจะเป็นใคร
บางแห่งเป็นนาคห้าหัว หมายถึงชีวิตที่ประกอบด้วย ร่างกายที่เป็นวัตถุ จิตที่ประกอบด้วยความรู้สึก ความทรงจำ ความคิดจินตนาการ
องค์ความรู้ที่ทำให้รู้ว่าเรามีอยู่
คนรุ่นเก่าให้สติว่า เหนือฟ้ามีฟ้า เก่งแค่ไหน ความยึดติดกัดเอา ทุกข์แน่ๆ ระวังนะ?วิธีแก้คือ ปลุกสติปัญญาดับทุกข์ให้ตื่น
ระวังไม่ให้ทุกข์เกิด เมื่อทุกข์เกิดก็กำหนดรู้และละเสีย(พระวัดอุโมงค์เมตตาอธิบายให้)
(:???:)สัตว์หิพานต์อื่นๆตามศึกษาได้ที่
www.himmapan.com
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=pimonracha&topic=324