[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
22 ธันวาคม 2567 18:17:00 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามรอยศรัทธาธรรม "วัดภูทอก" (เจติยาคีรีวิหาร) พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ  (อ่าน 2525 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5800


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2560 19:48:06 »






ภูทอก (เจติยาคีรีวิหาร)
ภูทอกน้อย อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ

วัดเจติยาคีรีวิหาร ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า วัดภูทอก

ภูทอกในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว เป็นที่ตั้งของวัด เจติยาศรีวิหาร (วัดภูทอก) อยู่ในเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ภูทอกมี ๒ ลูก คือภูทอกใหญ่และภูทอกน้อย ผู้สร้างวัดนี้คือ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒  แต่ก่อนบริเวณนี้เคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ได้เริ่มเข้ามาจัดตั้งเป็นแหล่งบำเพ็ญเพียร เพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่เงียบสงบ

วัดภูทอกตั้งอยู่บนเขาสูงชัน สร้างกุฏิและเสนาสนะตามไหล่เขาถึง ๗ ชั้น โดยสร้างสะพานเดินติดต่อถึงกัน เมื่อแรกตั้งเป็นป่ารกชัฏ เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้าง เสือ หมี กวาง เป็นต้น  ตอนแรกๆ พระอาจารย์จวนได้ให้ญาติโยมมาแผ้วถางป่า พอให้เป็นที่ปักกลด มีท่านพระครูศิริธรรมวัฒน์ (พระอาจารย์ทองพูล สิริกาโม) เจ้าคณะอำเภอบึงกาฬ และเซกา กับชีปะขาวเล็กๆ คนหนึ่งอยู่เป็นเพื่อน

พ.ศ.๒๕๑๓ ได้มีผู้มีจิตศรัทธาสร้างพระประธาน สร้างศาลาชั้นบนและชั้นล่าง เครื่องปั่นไฟ เครื่องสูบน้ำ ถังน้ำประปา ไฟฟ้าแรงสูง พระพุทธรูปทองเหลืองหล่อขนาดใหญ่เป็นพระประธานในถ้ำ

พ.ศ.๒๕๑๔ พระอาจารย์จวนเริ่มสร้างสะพานรอบภูทอกตามหน้าผา ตามแบบที่คิดเองโดยไม่ต้องใช้นั่งร้าน แต่อาศัยหลักตอสองหลัก แล้วใช้ไม้สองลำผูกมัดให้แน่นยื่นออกไปประมาณ ๔ เมตร เอาเชือกผูกปลายไม้ที่ยื่นออกไป แล้วจึงตรึงผูกใส่เสาที่ปักไว้ แล้วเจาะหลุมโดยใช้สิ่ว เมื่อทดสอบเป็นที่แน่ใจว่าปลอดภัยและทำได้แน่นอนแล้ว จึงได้เริ่มระดมกำลังจากพระเณร และชาวบ้านเป็นอาสาสมัครช่วยดำเนินการ จนกระทั่งทำสะพานขึ้นภูทอกสำเร็จ

ในปีต่อมาพระอาจารย์จวน ได้ยกพื้นเก่าๆ ที่ทำมาแล้วให้ได้ระดับเดียวกัน และแน่นหนาถาวรขึ้นกว่าเดิม ได้เพิ่มตัวไม้เข้าไปเป็นจำนวนมาก และได้ทำที่พักผ่อนตามสะพานรอบเขาไปในตัวด้วย

เขาภูทอก บริเวณที่สร้างเป็นวัดนี้มี ๗ ชั้น ชั้นที่มีสะพานมีอยู่ ๓ ชั้น มีชั้นที่ ๔-๕-๖ แต่ละชั้นสูงห่างกันประมาณ ๒๐-๓๐ เมตรก็มี ตามภูเขาและธรรมชาติของเขา ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง ๕ ปีเต็ม บันไดทั้ง ๗ ชั้น แตกต่างกันดังนี้

ชั้นที่ ๑-๒ เป็นบันไดสู่ชั้นที่ ๓ ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขาสภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหินลานหินสุดทาง

ชั้นที่ ๓ มีทางแยกสองทาง ทางซ้ายมือเป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ ๕ ได้เลย เป็นทางชันมาก ผ่านหลืบหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ ๔

ชั้นที่ ๔ ในฤดูแล้งปี พ.ศ.๒๕๑๗ พระอาจารย์จวนได้ทำสะพานชั้นที่ ๔ ชั้นนี้เป็นของแม่ชี สำหรับขึ้นไปทำวิเวกความเพียร มีถ้ำและที่พักผ่อนหลบแดดหลบฝนเป็นแห่งๆ อากาศเย็นสบาย ปลอดโปร่งทุกเวลา ระยะความยาวประมาณ ๒๐ เส้น เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า “ดงชมพู” ทิศตะวันออกจดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา มีสภาพเป็นป่าดิบชื้น มีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลผ่าน มีสัตว์ป่ามากมายอาศัยอยู่โดยเฉพาะมีฝูงกามาอาศัยอยู่มากจึงเรียกว่า“ภูรังกา’’แล้วเพี้ยนมาเป็นภูลังกาในที่สุด บนชั้นที่ ๔ นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ ๔๐๐ เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะๆ

ชั้นที่ ๕ มีที่พักหลบร้อน ตากอากาศได้มากกว่า ๒๐ แห่ง มีอากาศปลอดโปร่งกว่าชั้นที่ ๔ เพราะสูงขึ้นไปอีก วัดโดยรอบได้ ๒๗ เส้น มีทิวทัศน์สวยงามชัดเจน เย็นตาเย็นใจแก่ผู้พบเห็น มีศาลากลางและกุฏิที่อาศัยของพระและเป็นที่เก็บศพของพระอาจารย์จวนไว้ด้วย ตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ เช่น ถ้ำเหล็กไหล ถ้ำแก้ว ถ้ำฤๅษี ตลอดเส้นทางสู่ชั้นที่ ๖  มีที่พักเป็นลานกว้างอยู่ราว ๒๐ แห่ง มีหน้าผาชื่อต่างๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต ถ้ามาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พระวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย มองออกไปจะเห็นเป็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจนและมีบันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นที่ ๖

ชั้นที่ ๖ เป็นชั้นสุดท้ายของบันไดเวียนรอบเขามีความยาว ๔๐๐ เมตร สุดทางที่ชั้นที่ ๗

ชั้นที่ ๗ เป็นป่าไม้ร่มครึ้มสวยงาม

การก่อสร้างสะพานชั้นที่ ๖ ได้เริ่มในปี พ.ศ.๒๕๑๗ เป็นลำดับมา สะพานชั้นนี้มีอากาศบริสุทธิ์กว่าทุกชั้น มีที่พักและถ้ำเงื้อมหินเป็นแห่งๆ รอบเขา มีธารน้ำตกเล็กๆ เป็นสายธารไหลอยู่ตลอดเวลาฤดูฝน ชั้นนี้วัดรอบได้ ๒๐ เส้น

ที่วัดภูทอกนอกจากจะมีสะพานรอบๆ หน้าผาสูงเป็นชั้นๆ จนถึงยอดเขาใช้เวลาก่อสร้างถึง ๒ ปี ซึ่งถือว่าเป็นของแปลกที่ไม่เคยเห็นมาก่อนและเป็นศิลปกรรมของโลกแล้วยังมีพระประธานองค์ใหญ่ ถ้ำพระบนเขาสูง ศาลาธรรม ศาลาหอฉัน ศาลาโรงครัว กุฏิแม่ชี บ่อน้ำพุ พุทธวิหาร อยู่บนชั้นสูงสุดของภูเขา และปูชนียานุสรณ์สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่เพิ่งสร้างเสร็จหลังจากที่พระอาจารย์จวน มรณภาพ และพระราชทานเพลิงศพแล้ว ก็คือ พิพิธภัณฑสถานพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ผู้สร้างวัดภูทอก อันสวยงามเป็นที่สักการบูชาระลึกถึงความดีของพระอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบพร้อมด้วย ทาน ศีล ภาวนาตลอดไป

การเดินทางสู่ภูทอก จากตัวเมืองหนองคาย ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ผ่านอำเภอโพนพิสัย อำเภอปากคาด และอำเภอเมืองบึงกาฬ แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข ๒๒๒ ถึงอำเภอศรีวิไล ระยะทางประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร ระหว่างทางจะมีป้ายบอกทางเป็นระยะๆ แยกเข้าตรงบ้านศรีวิไล สู่บ้านนาคำแคนและเข้าสู่ภูทอก


ภูทอกมีจุดเด่นที่เป็นไฮไลท์อยู่ที่เส้นทางแห่งศรัทธาที่พระ เณร และชาวบ้าน
ได้ร่วมกันสร้างบันไดและสะพานเวียนรอบไหล่ผาไว้ตั้งแต่สมัยพระอาจารย์ก่อตั้งวัด
เส้นทางแห่งศรัทธามีทั้งหมด ๗ ชั้น ก่อสร้างด้วยไม้เป็นหลัก แต่บางช่วงก็นำจุดเด่นของ
สภาพพื้นที่มาผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็นบันไดหินทราย บันไดลอดรูถ้ำ หรือทางเดินใต้เพิงผาถ้ำ
ที่สร้างอิงแอบกับสภาพพื้นที่ไปอย่างกลมกลืน นับเป็นงานวิศวกรรมที่ก่อสร้างด้วยภูมิปัญญา
พื้นบ้านอันน่าทึ่งไม่น้อย ถึงขนาดบางคนยกให้ว่านี่คือความ“มหัศจรรย์แห่งภูทอก”กันเลยทีเดียว




















โปรดติดตามตอนต่อไป

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5800


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 28 พฤษภาคม 2560 18:01:09 »








พระอาจารย์จวน  กุลเชฏโฐ

ประวัติส่วนตัว
พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ เกิดที่บ้านแหล่งมันแกว บ้านเลขที่ ๒๘ หมู่ที่ ๒ ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ จังหวัดอำนาจเจริญ) ในหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า พระอาจารย์จวน เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๒ ซึ่งเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากเว็บไซท์อื่นที่เผยแพร่อยู่ในปัจจุบัน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๖ ในจำนวน ๗ คน บิดาชื่อ นายสา นรมาส  มารดาชื่อนางแหวะ  นามสกุลเดิม “วงจันทร์”

ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คนด้วยกัน มีชื่อตามลำดับดังนี้
๑.นายเหีย นรมาส ถึงแก่กรรม
๒.นายแดง นรมาส
๓.นายโลน นรมาส ถึงแก่กรรม
๔.นางน้อยแสง หมายสิน
๕.นายอ่อนจันทร์ นรมาส.
๖.พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ
๗.นายนวล นรมาส

เมื่อพระอาจารย์จวนอยู่ในวัยเด็ก ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนบ้านโคกกลาง ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ และได้เข้าไปเรียนต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนประจำจังหวัดอุบลราชธานี

ในชีวิตการเรียนสอบได้ที่ ๑ มาตลอด เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖ อายุได้ ๑๘ ปี จึงสมัครเข้ารับราชการที่กรมทางหลวงแผ่นดิน อยู่นานถึง ๔ ปี

อุปสมบท
เมื่ออายุ ๒๒ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกายที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ โดยมีหลวงพ่อบุเป็นพระอุปัชฌาย์ และพระมหาแจ้งเป็นอาจารย์คู่สวดได้รับฉายาว่า “กัลยาณมโน”

บวชได้ ๑ พรรษา สอบไล่ได้นักธรรมตรี แล้วลาสิกขาบทออกมาเป็นฆราวาส สาเหตุที่ลาสิกขาบทเพราะอยากจะบวชใหม่ เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตามสายของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เพราะเลื่อมใสในปฏิปทาของพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ศิษย์องค์หนึ่งของพระอาจารย์มั่นที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติมาก โดยเฉพาะการปฏิบัติตามหลักธุดงควัตรและเป็นผู้แต่งหนังสือไตรสรณคมน์

หนังสือไตรสรณคมน์เล่มนั้นได้กล่าวแนะนำวิธีไหว้พระ ทำวัตรย่อ การแผ่เมตตา และภาวนาด้วยการให้ภาวนา “พุทโธๆ ๆ ๆ”

อุปสมบทใหม่ในฝ่ายธรรมยุต
เมื่อสึกออกมาแล้ว ได้ประกอบอาชีพเป็นช่างเย็บผ้า ทำงานขยันขันแข็งหามรุ่งหามค่ำ จึงล้มป่วยหนักมากเมื่อหายป่วยแล้วได้บวชที่สำนักวัดสำราญวิเวก อำเภออำนาจเจริญ เป็นสำนักของพระอาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐานฝ่ายธรรมยุต เมื่อบวชแล้วก็ท่องปาติโมกข์ได้ภายในเวลา ๑ เดือน

พระอาจารย์จวนได้เริ่มปฏิบัติกรรมฐานโดยบริกรรมด้วยคำว่า “พุทโธ” และงดฉันอาหารประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิด ฉันแต่มังสวิรัตอย่างเดียว เพราะเป็นอาหารธรรมชาติทำให้จิตใจเบาสบาย คลายจากความกำหนัดในกามคุณไม่ตกเป็นทาสของลิ้น

การออกเดินธุดงค์
พระอาจารย์จวนได้ออกเดินธุดงค์ไปยังมุกดาหาร และเลยไปนมัสการพระธาตุพนม ระหว่างทางได้อาศัยศพที่พบเห็นเจริญอสุภกรรมฐาน ได้พิจารณาเห็นความจริงในเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป ตามลำดับ และได้เดินทางแสวงวิเวกไปเรื่อยๆ หยุดพักตามป่าช้าและป่าเปลี่ยวแต่ลำพังผู้เดียว ด้วยจิตใจอันกล้าหาญ

ในระยะที่จำพรรษาที่วัดป่าดอนเมือง บ้านนาจิก ตำบลหนองปิง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดอำนาจเจริญ) ได้ปฏิบัติกรรมฐานถือเคร่งเพื่อสร้างอำนาจทางจิต ด้วยการอธิษฐานไม่ขอหลับนอนตลอดเวลา ๓ เดือน และฉันอาหารมังสวิรัต ปรากฏว่าทำได้สำเร็จได้ผลดีในทางกำลังใจ และมีสติสัมปชัญญะเข้มแข็ง สามารถใช้ "สติ” ควบคุมจิตได้ดีขึ้นตามหลักมหาสติปัฏฐาน

นอกจากนั้นยังได้ออกเที่ยวแสวงวิเวกบำเพ็ญเพียรตามป่าเขาลำเนาไพรแถบเทือกเขาภูพาน ได้ธุดงค์ขึ้นไปทางเชียงใหม่ และเชียงตุงด้วย

พบพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตโต
เจ้าคุณพระอริยคุณาธาร (ปุสฺโส เส็ง) ได้พาพระอาจารย์จวนมาฝากไว้กับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้นมาจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์ บ้านหนองผือนาใน อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร

พระอาจารย์มั่นได้อบรมสั่งสอนพระอาจารย์จวนว่า การปฏิบัติกรรมฐานต้องมุ่งเอา มรรค ผล นิพพาน อย่ามุ่งเอาฤทธิ์เดชเพื่ออวดตน บวชมาแล้วต้องเร่งบำเพ็ญเพียรเจริญธรรม เพื่อความดับสิ้นแห่งกิเลสตัณหา ตัดภพตัดชาติให้ขาดสิ้นในชาตินี้ให้ได้ ต้องมีความเพียรตั้งสัจจะทำจริงอย่างเด็ดเดี่ยวยอมตาย คือไม่ห่วงใยกับสังขาร

การปฏิบัติกรรมฐานนั้น พระอาจารย์มั่น สอนให้พิจารณากายคตาสติ คือให้ใช้สติเพ่งพิจารณาในร่างกาย มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น ให้เห็นว่าเป็นสิ่งปฏิกูล น่าเกลียดต้องคอยบำรุงรักษาอยู่ตลอดเวลา หยุดบำรุงรักษาเมื่อไร ก็สกปรกน่าเกลียดน่าขยะแขยงเมื่อนั้น เมื่อตายไปร่างกายก็เน่าเปื่อย เหม็น น่ารังเกียจ

ด้วยวิธีภาวนาแบบนี้ พระอาจารย์จวนสามารถรวมจิตให้สงบลงได้คล่องแคล่วรวดเร็ว นั่งสมาธิได้ตั้งแต่หัวค่ำยันสว่าง จนจิตผ่องใสสว่างโพลงเป็นปรากฏการณ์ล้ำลึกมหัศจรรย์

การธุดงค์ต่อและการผจญภัย
พระอาจารย์จวนได้ออกธุดงค์ไปยัง ดงบังอี่ ซึ่งเป็นดงใหญ่ขึ้นชื่อในความน่าสะพรึงกลัว มีสัตว์ป่าอันตราย เช่น เสือ หมี ช้าง และผีกองกอย หรือโป่งค่างชุกชุมมาก

เมื่อข้ามดงบังอี่มาได้แล้ว ก็ธุดงค์ไปจำพรรษาที่ดอยสะโกฏ แล้วไปยังภูพาน สกลนคร และต่อมาได้พบกับหลวงปู่ขาว อนาลโย บำเพ็ญเพียรอยู่ที่ดงหม้อทอง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร และได้จำพรรษาอยู่ด้วยกันถึง ๕ พรรษา

ต่อมาพระอาจารย์จวนได้ออกธุดงค์เข้าสู่กลางดงศรีชมพู เขตอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย คราวนี้ได้พบถ้ำจันทน์ เพราะบริเวณนี้มีต้นจันทน์ขึ้นอยู่หนาแน่นมากมาย เป็นดินแดนอันสงบสงัดวังเวงใจ สภาพที่เห็นคล้ายซากเมืองโบราณ มีลานหินยาวคล้ายถนนคอนกรีตยาวเหยียดเกือบ ๒๐ กิโลเมตร ถือว่าเป็นถิ่นอาถรรพ์มีภูตปีศาจสิงอยู่มากมาย เมื่อธุดงค์เข้ามาอยู่ในถ้ำจันทน์ อาจารย์จวนไม่ได้ฉันอาหารถึง ๔ วัน เพราะไม่มีบ้านเรือนมนุษย์เลย มีแต่ครอบครัวคนป่าข่าระแด ซึ่งพูดกันไม่รู้เรื่อง

การบำเพ็ญกรรมฐานอยู่ที่นี่ พระอาจารย์จวนได้ใช้อุบายวิธีแปลกๆ เพื่อฝึกจิตใจให้เข้าสู่ร่องรอยพระโยคาวจร บางครั้งมีการทรมานตนต่างๆ เช่น นั่งสมาธิริมปากเหวลึกให้จิตสงบอย่างหมิ่นเหม่อันตราย ถ้าพลาดก็พลัดตกเหวตาย บางครั้งก็อดข้าวอดน้ำ ไม่ยอมฉันบิณฑบาต ๑๐ วันบ้าง ๑๕ วันบ้าง เพื่อสร้างตบะธรรมให้แก่กล้า

ที่ถ้ำจันทน์นี้ได้พบกับพระอาจารย์ทองพูล สิริกาโม ซึ่งมาบำเพ็ญเพียรแสวงวิเวกเช่นกัน และในเวลาต่อมาพระอาจารย์ทองพูลนี้เองได้พบ ภูทอก แล้วแนะนำให้พระอาจารย์จวนไปบำเพ็ญธรรมที่ภูทอก หลังจากบำเพ็ญจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำจันทน์เป็นเวลาถึง ๔ ปีแล้ว พระอาจารย์จวนได้แสวงวิเวกมาทาง ภูสิงห์ สมัยนั้นยังเป็นป่าทึบชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ยังไม่มีราษฎรเข้าไปอยู่อาศัย ธรรมชาติป่าเขาลำเนาไพร บำเพ็ญเพียรอยู่ได้ ๑ พรรษา จึงได้มุ่งหน้าไปยังภูวัวหรือภูงัว ไม่ไกลจากภูสิงห์มากนัก อยู่ในท้องที่อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย

ภูวัวมีเทือกยาวติดต่อกัน และมีเขาลูกเล็กบ้างใหญ่บ้างสลับซับซ้อนกันจนถึงฝั่งแม่น้ำโขง พระอาจารย์จวนได้ธุดงค์เข้าสู่ภูวัวทางหมู่บ้านดอนเสียด ท่านได้เลือกเอาถ้ำบูชา เป็นที่บำเพ็ญเพียร ความวิเวกสงบของภูวัว ทำให้พระอาจารย์จวนมีจิตละเอียดอ่อนเข้าถึงธรรมะอย่างลึกซึ้ง

พบภูทอก
ต่อมาท่านได้เดินทางออกจากภูวัว ไปยังภูทอกน้อยเมื่อไปถึงก็พบทางขึ้นสู่ยอดเขา ชาวบ้านใกล้เคียงภูทอกคือบ้านนาคำแสน บ้านนาต้อง พระอาจารย์จวนได้เข้าอยู่ภูทอก เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๑๒ โดยปักกลดอยู่ที่ถ้ำเชิงเขา แล้วเริ่มต้นพัฒนาภูทอกน้อย เป็นวัดภูทอกต่อไป โดยทำสะพานขึ้นลงบนยอดเขาให้สามารถเดินทางขึ้นลงได้โดยสะดวก

วิธีทำสะพานของพระอาจารย์จวนนั้น ท่านใช้สิ่วเจาะหินรอบๆ หน้าผา เอาไม้ปักเข้าไปเป็นหลักแขนนาง คือเป็นเสาเพื่อวางทอดสะพานด้วยไม้ทุบเปลือก เสาค้ำใช้ไม้พยุงเพื่อให้ความมั่นคงแข็งแรง

นอกจากสร้างสะพานรอบๆ หน้าผาสูงเป็นชั้นๆ จนถึงยอดเขาใช้เวลาถึง ๒ ปีแล้ว พระอาจารย์จวนยังได้สร้างพระประธานองค์ใหญ่ ได้บูรณะถ้ำพระบนเขาสูงให้เป็นศาลาธรรมประกอบศาสนกิจและสังฆกรรม โดยชักลากเอาไม้จากข้างล่างขึ้นไปสร้าง

ส่วนข้างล่างทางเชิงเขา ได้สร้างศาลาหอฉันต่อเชื่อมเข้ากับปากถ้ำและสร้างศาลาโรงครัว สร้างกุฏิแม่ชี ขุดบ่อน้ำหลายแห่ง และได้พบบ่อน้ำพุ พุ่งขึ้นจากซอกหินแห่งหนึ่ง เป็นตาน้ำจากใต้ดินที่พุ่งแรงมาก

พระอาจารย์จวนเป็นอริยเจ้าชั้นสูง ท่านมีญาณล่วงรู้เหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รู้จิตใจคน มีหูทิพย์ ตาทิพย์

พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ได้ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตก ระหว่างการเดินทางจากอุดรธานี มากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓ และหลังจากวันพระราชทานเพลิงศพแล้ว อัฐของท่านได้แปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุแล้วโดยสมบูรณ์



















บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.381 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 19 ธันวาคม 2567 05:46:35