ท่าน สัตยาไสบาบา เป็น แรงบันดาลใจ ให้ อาจารย์อาจอง ชุมสาย
มาตั้งโรงเรียนทวนกระแสโลก
โรงเรียน สัตยาไส ครับ มีให้ดู ในยูทู๊บด้วย โลกเรียนแห่งโลกยุคใหม่
เด็กจะมีความสุข ครับ
"การเรียนรู้สู่สันติสุข" สัตยาไส - รุ่งอรุณ
โรงเรียนสัตยาไส ไม่เน้นวิชาการแต่ให้ความสำคัญกับความสุข กระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เด็กมีความสุข “เมื่อเขาสุขแล้ว จะเก่งขึ้นมาเอง” ผลสัมฤทธิ์การเรียนของสัตยาไส นักเรียนชั้น ม.ปลาย สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ๑๐๐ %
....
มีคำถามว่า ทำไมถึงมาทำงานด้านการศึกษา?
รศ.ประภาภัทร ท่านตอบว่า “เพราะไม่รู้ว่ามันยากไง”
รศ.ประภาภัทร นิยม อดีตอาจารย์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่อมาท่านได้ออกมาทำโรงเรียน ทำงานด้านการศึกษาระดับพื้นฐาน จึงพบว่าการทำงานด้านการให้การศึกษานั้น ยากและท้าทาย กว่าที่คิดไว้
เราหลับกันมานาน เราทำอย่างที่เคยทำ รู้เท่าที่รู้ สอนเท่าที่มีในหนังสือ ตำรา รูปแบบการจัดการศึกษาของเราแบบนี้นี่เอง ทำให้ระบบการศึกษาตอบโจทย์สังคมใหม่ๆไม่ได้ ในขณะเดียวกันก็แปลกแยกออกไปจากวิถีชีวิตทุกขณะ
คนทำงานด้านการศึกษาในความคิดของ รศ.ประภาภัทร ท่านบอกว่า ต้องมี ๓ประเด็นนี้ คือ
๑. ต้องเคลื่อนไหวระดับจิตวิญญาณ
๒. ตื่นพอที่จะมองเห็น เห็นทั้งตัวเองและสังคม
๓. ตระหนักว่า ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดนิ่ง
ทำไมการศึกษาไม่ทำให้เรา “รู้” ตรงนี้สำคัญ เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในสังคม การศึกษาไม่ได้ทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้เลย ณ ถึงวันนี้เราต้องคิดไปข้างหน้าแล้วว่า เราจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างไร? เราตื่นพอที่จะรู้ว่า สิ่งที่เราสอนอยู่ ว่า “มันไม่ใช่” การศึกษาทางเลือกจะกระตุ้นให้คนได้ตื่น เรียนรู้กับการเปลี่ยนแปลงนั้น
การจัดการศึกษาที่โรงเรียนร่งอรุณพยายามทำใน ๓ อย่าง
๑. เปลี่ยนที่ตัวเราเอง (ครู) สร้างวิธีการเรียนรู้ให้ลึกซึ้ง ทั้งด้านวิธีคิด กระบวนทัศน์ การบ่มเพาะให้เข้าใจ ทัศนคติ มองเห็นความเชื่อมโยง หน้าที่ของนักการศึกษาคือ การบ่มเพาะการเรียนรู้ ประเทศไทยมีทุนด้านศาสนาที่มีพุทธศานาเป็นศาสนาประจำชาติ คุณค่า หรือทุนตรงนี้เป็นทุนที่เอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านจิตวิญญา
๒. ความรู้ที่เกิดจากสถานการณ์จริง ด้วยวิธีคิดที่ว่า เราจะเติบโตอย่างไร? เราจะอยู่กับคนอื่นอย่างไร? รู้เท่าทันอย่างไร? โรงเรียนรุ่งอรุณ จึงพานักเรียนออกไปเรียนรู้ การจัดการหลักสูตรทุก Domain อยู่ในทุกวิชา ที่เราเรียกว่า “บูรณาการ” สอนการดูแลโลก สอนให้ลึกซึ้งถึงวิธีคิด
๓. การสื่อสารที่เป็นสาระ โรงเรียนรุ่งอรุณใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบ การแลกเปลี่ยนความรู้ เรียนรู้จากผู้อื่น เรียนรู้จากการสนทนา เป็นการสื่อสารที่มีสาระ นำความรู้ฝังลึกออกมานำเสนอ สร้างความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา
ทางออก ทางรอดการศึกษา
ดร.อาจอง ฝากในช่วงท้ายบอกว่า เราต้องช่วยกันตั้งแต่ ระดับอนุบาล – อุดมศึกษา สร้างคนดีตั้งแต่ระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานป้อนเข้าสู่มหาวิทยาลัย หากทำเช่นนี้จะช่วยลดภาระมหาวิทยาลัยมากในการเริ่มต้นสร้างคน
ปัจจัย ๒ อย่างที่สัตยาไสให้ความสำคัญ ก็คือ การมีครูที่ดี ครูที่พูดทุกอย่างออกมาจากใจ (ภาษาใจ) สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ฟัง การฝึกสมาธิให้แก่เด็ก การทำสมาธิยกระดับจิตใจเด็กให้สูง รร.สัตยาไสให้เด็กนั่งสมาธิ ๙ ครั้งต่อวัน
รศ.ประภาภัทร ให้ข้อคิดเห็นในมุมของนโยบาย ท่านบอกว่า ต้องมาจากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการต้องเปลี่ยนแปลงระดับนโยบาย หากไม่มีคนเล็กคนน้อยก็เหนื่อยกันต่อไป
คุยเรื่องเเนวคิด แล้วลงสู่การปฏิบัติเป็นไปได้หรือ?
ที่โต๊ะอาหารกลางวันของงานสัมมนาในวันนั้น ผมนั่งพูดคุยประเด็นนี้ต่อกับ ผู้อำนวยการโรงเรียน ๔ – ๕ ท่านที่เข้ามาร่วมรับฟัง ทุกท่านเห็นด้วยและเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ในความเป็นจริงนั้น การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาที่เน้นการสร้างมนุษย์ “สุข ดี เก่ง” ปัจจัยไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนแต่เพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ผู้ปกครองด้วย(ทั้งค่านิยม,ความเชื่อ,ทัศนคติของสังคม) นโยบายก็มีส่วนอย่างมาก โรงเรียนของท่านก็ต้องฝ่ากระแสเหล่านี้ไปให้ได้ หากมองภาพใหญ่ในขณะนี้ก็ตีบตันไปหมด...คิดได้ แต่ ทำยากจัง
ผมก็คิดว่า เราก็ยังไม่สิ้นหวังกันหรอก ในเมื่อเราทำในภาพใหญ่ของโรงเรียนทั้งหมดไม่ได้ แต่การปรับเปลี่ยนวิธีคิดของครูเกี่ยวกับการให้ความรู้ เป็นการสร้างความรู้ การบูรณาการสิ่งเหล่านี้เข้าไปในหลักสูตร-รายวิชา ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ ท่ามกลางความไม่พร้อม ไม่เอื้อด้วยประการทั้งปวงของระบบการจัดการศึกษาของเราในขณะนี้
ผมคิดว่าเราทำได้ และในหลายๆโรงเรียนที่ผมได้ร่วมเรียนรู้ด้วยในเวทีต่างๆ ก็เห็นได้ว่า มีครูเพื่อศิษย์คิดนวัตกรรมการเรียนรู้ใหม่ๆเป็นลักษณะ Best Practice ขึ้นมา เพื่อมุ่งไปข้างหน้าสร้างคน “สุข ดี เก่ง” อยู่แล้ว (มีมากมายด้วย)
คิดต่อว่า เราจะให้สิ่งดีๆที่เราเรียกว่านวัตกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ สื่อสารต่อสาธารณะได้อย่างไร? เราจะสร้างพื้นที่นี้อย่างไร? เราจะให้กำลังใจครูดีเหล่านี้ได้อย่างไร?
โจทย์นี้สามารถทำได้เลย แต่ผู้มีส่วนรับผิดชอบของประเทศต้องให้ความสำคัญด้วยhttp://gotoknow.org/blog/mhsresearch/321726